ค้นหาบทความ
ราคาน้ำมันวันนี้
จำนวนนับผู้เข้าเยี่ยมชม
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้702
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้657
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้3713
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว6353
mod_vvisit_counterเดือนนี้18819
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว27825
mod_vvisit_counterรวมผู้เข้าชม2431869

ออนไลน์ (20 นาทีที่แล้ว): 20
หมายเลข IP : 18.221.93.167
MOZILLA 5.0,
วันที่ : 21 •พ.ย.•, 2024
ขณะนี้มีผู้เข้าชม
• เรามี• •19 บุคคลทั่วไป• •ออนไลน์•
ล้านนาแพร่ประชาสัมพันธ์
Vinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo Slider

ขอบคูณ ๘๐,๐๐๐ กำลังใจ

ทุกกำลังใจที่ท่านได้เข้ามาเยี่ยมชมชุมชนเล็ก ๆ ที่กำลังพัฒนาทำให้เรามีกำลังใจที่จะทำสิ่งดี ๆ ต่อไปวังฟ่อนดอทคอมได้เรียนเชิญผู้ใหญ่ประยุทธ ประเวช เป็นตัวแทนของพวกเรากล่าวขอบพระคุณทุกท่าน

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•จันทร์•ที่ 11 •กรกฏาคม• 2011 เวลา 22:35 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

พระธาตุช่อแฮ

วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง ตั้งอยู่เลขที่ ๑ หมู่ ๑๑ ตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่  อยู่ห่างจากตัวเมืองแพร่ประมาณ ๘ กิโลเมตร  ในบริเวณวัด ประดิษฐานพระธาตุช่อแฮ ซึ่งเป็นหนึ่งในพระธาตุประจำปีเกิดสิบสองราศี   คือพระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีขาล (ปีเสือ) องค์พระธาตุช่อแฮ  มีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองบุด้วยทองดอกบวบ สูง ๓๓ เมตร ฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ ๑๑ เมตร ศิลปะแบบเชียงแสน ตามหนังสือตำนานพระเจ้าเลียบโลก  กล่าวว่าสมัยครั้งพุทธกาลพระพุทธเจ้าได้เสด็จมา ณ ดอยโกสิยะแห่งนี้

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 28 •มกราคม• 2012 เวลา 09:12 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วัดพระนอน

บันทึกที่ท่านจะได้อ่านต่อไปนี้ เป็นบันทึกที่ได้จากการบอกเล่าของเจ้าอาวาสวัดพระนอน รูปปัจจุบัน คือ ท่ารพระครูนิพันพธ์กิจจาทร ซึ่งท่านได้เล่าไว้ดังนี้  ท่านพระครูได้พบตำนานวัดพระนอนจากหนานขัดซึ่งเป็นคนเชียงใหม่และเคยอยู่วัดพระสิงห์ ได้พบตำนานวัดพระนอนจากใบลาน ซึ่งได้บันทึกเกี่ยวกับวัดพระนอนไว้ว่าวัดพระนอนสร้างโดยเจ้าพระยาชัยชนะสงครามและพระนางเจ้าอู่ทองศรีพิมพา เมื่อ จ.ศ.๒๓๖ (ปีจุลศักราช (จ.ศ.) เป็นศักราชที่เริ่มเมื่อ พ.ศ. ๑๑๘๑ (ค.ศ. ๖๓๘) นับรอบปีตั้งแต่ ๑๖ เมษายน ถึง ๑๕ เมษายน (ผู้กำหนดให้ใช้จุลศักราช คือ พระยากาฬวรรณดิศ เมื่อคราวประชุมกษัตริย์ในล้านนา) ที่ได้ทำการประชุมเหล่ากษัตริย์ทำการลบศักราชปีมหาศักราช แล้วตั้งจุลศักราชขึ้นมาแทน เดิมเข้าใจกันว่าเป็นศักราชของพม่า ปรากฏอยู่ตามตำราโหราศาสตร์ แต่ทว่าปีที่ตั้งจุลศักราชนั้น เป็นเวลาก่อนปีที่พระเจ้าอโนรธามังช่อ จะประสูติ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 28 •มกราคม• 2012 เวลา 09:28 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วัดหัวข่วง

วัดหัวข่วง คาดว่าสร้างขึ้นในสมัย พ่อขุนหลวงพล เมื่อท่าน อพยพ มาจากเมืองสิบสิงปันนา (น่านเจ้า) ทางตอนใต้ของ จีน ท่าน ลงมาตั้งที่ บริเวณ อำเภอร้องกวาง แต่ก็ พบว่ามีผู้ปกครองอยู่แล้ว คือ เจ้าวงพระถางเฒ่า จึง ย้ายมาบริเวณอำเภอเมืองแพร่ เมื่อท่านมาสร้างชุมชน ใน บริเวณ ลุ่มน้ำยมแล้ว ท่านแม่ของ พ่อขุนหลวงพล ท่านเป็น คนที่รักเด็ก มาก ให้เด็กๆ มาเรียนหนังสือ แล้ว หาที่บริเวณที่เป็น ข่วง หรือแปล ว่าที่ลานกว้าง สร้างวัดหัวข่วง เอาไว้ ก่อนหน้านั้น ท่านได้สร้าง วัดหลวงไว้ ก่อนด้วย ( วัดหลวง คือ บริเวณ หน้า ศาลเาวชนและครอบครัวจังหวัดแพร่ ในปัจจุบัน) ที่ตั้งวัด อยู่ที่ตำบลในเวียง  อำเภอเมือง  เป็นวัดเก่าแก่เชื่อกันว่าสร้างในสมัยเดียวกันกับพระธาตุช่อแฮ และวัดพระหลวงธาตุเนิ้ง เมื่อปี พ.ศ. ๑๓๘๗ ขุนหลวงเจ้าเมืองพล (เมืองแพร่)  ชราภาพแล้ว

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 28 •มกราคม• 2012 เวลา 09:22 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วัดหลวง

วัดหลวงเป็นวัดที่ชาวแพร่รู้จักกันดีในฐานเป็นวัดเก่าแก่ที่มีประวัติการก่อสร้างคู่กับเมืองแพร่ กรมศิลปากร ได้ขึ้นทะเบียนเป็นวัดโบราณสถานของชาติที่มีอายุนับพันปี และเป็นที่ตั้งหอวัฒนธรรมเมืองแพร่ซึ่งรวบรวมศิลปวัตถุในท้องถิ่นซึ่งมีมาแต่อดีต วัดหลวงเป็นวัดเก่าแก่ของแพร่ ประวัติความเป็นมาของวัดกล่าวไว้ว่าวัดหลวงสร้างมานานนับพันปี โดยในระยะเริ่มแรกของการสร้างเมืองในบริเวณที่ราบฝั่งแม่นำยมซึ่งมีชื่อว่าเมืองพลนคร โดยพ่อขุนหลวงพล มีการสร้างวัดขึ้นในบริเวณทิศตะวันตกของคุ้มเจ้าหลวง เมื่อปี พ . ศ . ๑๓๗๒ คือมีการสร้างวิหารหลวงพลนคร เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าแสนหลวงพระประธานของเมืองพลนคร

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 28 •มกราคม• 2012 เวลา 09:24 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วัดศรีชุม

บริเวณที่ตั้งวัดศรีชุม แต่เดิมนั้นคงเป็นไม้สักที่มีความร่มเย็น และอุดมสมบูรณ์ มีฤๅษีจำนวน ๕ ตน บำเพ็ญตบะ อยู่ที่แห่งนี้ ฤๅษีได้ใช้ความรู้ด้านยาสมุนไพรช่วยรักษาชาวบ้านที่เจ็บป่วยโดยไม่หวังผลตอบแทน ต่อมาบ้านเมืองเจริญขึ้นประชาชนชาวเมืองได้ตั้งบ้านเรือนเยอะขึ้นทำให้บริเวณแห่งนี้ไม่เหมาะกับการบำเพ็ญสมาธิภาวนา จึงได้ย้ายที่บำเพ็ญในสถานที่แห่งใหม่ ในสมัยขุนหลวงพล เจ้าผู้ครองนครแพร่ได้สร้างวัดและเจดีย์ขึ้น ณ ที่แห่งนี้ทรงโปรดให้ชื่อว่า “วัดฤๅษีชุม” กล่าวว่าเป็นวัดที่มีความงดงามมาก เจดีย์ห่มด้วยทองคำและมีความยิ่งใหญ่ประชากรอยู่เย็นเป็นสุข กาลเวลาต่อมากองทัพพม่ายึดอาณาจักรล้านนาแล้วยกทัพบุกเมืองแพร่ซึ่งเป็นเมืองประเทศราชได้ทำลายวัดและได้ลอกเอาทองคำกลับไปทำให้วัดศรีชุมกลายเป็นวัดร้างจากการบันทึกหลักฐานทางประวัติศาสตร์

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 28 •มกราคม• 2012 เวลา 09:40 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

บ้านวงศ์บุรี

วังฟ่อนดอทคอมได้มีโอกาสเข้าไปเยี่ยมชมบ้านบ้านวงศ์บุรี ซึ่งเป็นบ้านของแม่เจ้าบัวถา มหายศปัญญา ภรรยาคนแรกของเจ้าพิริยเทพวงศ์ เจ้ามือแพร่องค์สุดท้าย ซึ่งได้แยกมาจากคุ้มเจ้าหลวงแล้วมาสร้างบ้าน วงศ์บุรี  ตอนนี้ยังเป็นสมบัติของทายาทที่ยังดูแลบ้านให้อยู่ในสภาพเดิมที่สุด ในเมืองแพร่ยังมีศิลปกรรมแบบกึ่งคลาสสิคที่สร้างเมื่อราวร้อยกว่านี่เองก็คือ บ้านวงศ์บุรี เป็นบ้านของเจ้าพรหมสุนันตา วงศ์บุรี (หลวงพงษ์พิบูลย์) ผู้สืบเชื้อสายมาจากอดีตเจ้าเมืองแพร่ บ้านหลังนี้สร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๔๐ โดยช่างชาวจีนมาจากมณฑลกวางตุ้ง เมือง แพร่ก็เหมือนกับหัวเมืองต่าง ๆ ในเขตแคว้นแดนล้านนา สิทธิและอำนาจการปกครองและการบริหารบ้านเมืองทั้งหมดตกอยู่กับเจ้าผู้ครอง นครแต่ผู้เดียว มีขุนนางระดับพญา หรือ แสนหลวง เป็นผู้กำกับดูแล

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 28 •มกราคม• 2012 เวลา 09:33 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วัดศรีบุญเรือง

ประวัติผู้สร้างวัด จากการสืบค้นหาประวัติของการสร้างวัดศรีบุญเรืองไม่ปรากฏเอกสาร หรือหลักฐานใด ๆ ยืนยันแน่ชัดเจนว่า ใครเป็นผู้สร้างและสร้างในสมัยใด แต่จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ที่เชื่อถือได้ วัดศรีบุญเรืองสร้างมานานกว่า ๒๐๐ ปีขึ้นไป และได้มีการเริ่มต้นบันทึกกันเริ่มที่ พญาแสนศรีขวาเป็นผู้บูรณปฏิสังขรณ์  บุตรของพญาแสนศรีขวาคือ พญาประเสริฐชนะสงครามราชภักดีต่อมา “แม่เจ้าคำป้อ” ซึ่งเป็นบุตรของพระยาประเสริฐฯ ได้สมรสกับ “พระวิชัยราชา” (นามเดิมว่า ขัติ หรือเจ้าหนานขัติ) เป็นกำลังสำคัญในการบูรณะซ่อมแซม และอุปการะวัดนี้มาตลอดอายุขัยของท่านทั้งสอง

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 28 •มกราคม• 2012 เวลา 09:35 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

เจ้าหลวงพิริยะเทพวงศ์

เจ้าหลวงพิริยะเทพวงศ์ มีนามเดิมว่า เจ้าน้อยเทพวงศ์ เป็นราชบุตรของ เจ้าหลวงพิมพิสาน กับ แม่เจ้าธิดา มีอัคคชายาเป็นแม่เจ้าทั้งสิ้น ๓ นาง คือ แม่เจ้าบัวถา แม่เจ้าบัวไหล แม่เจ้าบัวแก้ว มีเพียงแม่เจ้าบัวไหลเท่านั้นที่มีบุตรและธิดา ส่วนแม่เจ้าอีกสองนางไม่มี ส่วนบุตรธิดาอื่นๆนั้นกำเนิดแต่ภรรยาสามัญชนทั้งหมด เจ้าน้อยเทพวงศ์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น พระยาอุปราช เมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๑ ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่ในปี พ.ศ. ๒๔๓๒ มีนามพระราชทานว่า พระยาพิริยวิไชย อุดรพิสัย วิบผารเดช สยามมิศร์สุจริตภักดี โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงถือเสมือนเป็นขุนนางในราชสำนักสยาม เพราะมีความใกล้ชิดเป็นพิเศษ สืบเนื่องจากเจ้าหลวงพิมพิสานพระบิดาของเจ้าน้อยเทพวงศ์ขาพิการข้างหนึ่ง ไม่สะดวกไปเฝ้าที่กรุงเทพ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 01 •ตุลาคม• 2011 เวลา 12:23 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่

คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ ถนนคุ้มเดิม ปัจจุบันคือจวนผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๓๕ โดยเจ้าหลวงพิริยชัยเทพวงศ์ คุ้มหลวงถูกรัฐบาลสยามยึด..และเปลี่ยนเป็นที่ว่าการเมือง...จนมาถึงยุคของผู้ว่าราชการจังหวัด ก็ได้ใช้เป็นจวนผู้ว่าฯ... แต่ไม่มีผู้ใดจะอาศัยอยู่ได้..เนื่องจากข้างล่างใต้ดินเป็นคุกขังนักโทษ...จึงร่ำลือกันว่า ผีดุนัก... ปัจจุบันจวนผู้ว่าฯสร้างขึ้นใหม่ใกล้ๆกับคุ้มหลวง..ส่วนคุ้มหลวงกลายเป็นพิพิธภัณฑ์..แต่ไม่มีสิ่งของที่เป็นสมบัติของเจ้านายเหลืออยู่เลย....เนื่องจากถูกนำไปเป็นของใช้ส่วนตัวของผู้ที่ผลัดกันเข้ามาอยู่อาศัย..ถูกหยิบยืมไปบ้าง... ของที่อยู่ในคุ้มตอนนี้..ได้มาจากการบริจาคของชาวบ้าน...และมีแท่นบรรทมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อคราวเสด็จเยี่ยมเมืองแพร่เท่านั้น... จึงเป็นที่อนาถใจยิ่งนัก.... ทางจังหวัดได้วิงวอนร้องขอให้ผู้ที่นำไปเอามาส่งคืน แต่ ๓ ปีผ่านไปแล้ว..ยังไม่มีผู้ใดนำมาแสดงสักชิ้นเดียว คุ้มหลวงดังกล่าวนี้....หากรัฐบาลไม่ยึดเสีย..ก็คงตกเป็นสมบัติของเจ้าอินแปลง...และอาจสืบทอดต่อมายังคุณโชติ....แต่ทว่า....คงเป็นไปไม่ได้... หากไม่มีกบฎเจ้าหลวงเมืองแพร่...เจ้าอินแปลงคงไม่ได้ลงมาอยู่ที่กรุงเทพฯ..คงไม่ได้พบนางจ้อย....และคงไม่มีโชติ แพร่พันธุ์...หรือ ยาขอบ นักประพันธ์ผู้โด่งดัง..โดยเฉพาะนวนิยายเรื่อง ผู้ชนะสิบทิศ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 28 •มกราคม• 2012 เวลา 09:54 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

เซ่นไหว้เจ้าพ่อดงอาฮัก ๒๕๕๔

ดงอาฮักมีเจ้าป่ออาฮักรักษาอยู่ตามความเชื่อของชาวบ้านวังฟ่อนสมัยยุคก่อตั้งหมู่บ้าน ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นผู้รักษาป่าบริเวณทิศใต้ของหมู่บ้านไม่ให้ใครมาบุกรุกทำลาย จนเป็นป่าชุมชนที่มีต้นไม้ใหญ่อายุมากกว่า ๑๖๐ ปี และช่วยรักษาหมู่บ้านให้อยู่เย็นเป็นสุข ความเชื่อของชาวบ้านสมัยนั้นโดยหลวงราช ใจกุม และทวดเตบ แก้วโมลี ยุคสร้างหมู่บ้านได้ประกอบพิธีเส้นไหว้เจ้าป่ออาฮัก

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พุธ•ที่ 30 •พฤษภาคม• 2012 เวลา 20:27 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

รักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน

วันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๔ เวลา ๑๕.๓๐ น. ญาติของนายปาน กุณวงศ์ อายุ ๗๗ ปี บ้านเลขที่ ๓๘ ม. ๑๒ ตำบลหัวเมือง แจ้งทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านวังฟ่อน ถึงอาการผู้ป่วยปวดกระดูกอย่างแรง ทางโรงพยาบาลโดยนางสมคิด ฟูคำมี ได้รีบตรวจอาการพร้อมให้การรักษา และบอกให้ญาติดูแลอย่างใกล้ชิด

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ระดับน้ำยม ๑๒ พ.ค. ๕๔

ระดับน้ำยมในวันพฤหัสบดี ที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ได้ลดลงจากเมื่อกลับคืนสู่สภาวะที่ไม่น่าเป็นห่วง บริเวณที่น้ำได้ไหลท่วมข้าวโพดเกษตรกรต้อนนี้น้ำขังอาจจะทำให้ข้าวโพดเสียหายได้ โดยภาพอากาศช่วงเช้าถึงบ่ายมีอากาศร้อน ไม่มีเมฆฝน เกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดต่างนำรูปภาพและเอกสารแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ อบต.หัวเมือง ซึ่งภาครัฐจะทำการช่วยเหลือเป็นลำดับต่อไป

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ความเสื่อมของพระพุทธศาสนา

ในฐานะเป็นหมู่บ้านของชาวพุทธ วังฟ่อนดอทคอมขอยกบทความของ พระราชวิสุทธิกวี ที่ได้เรียบเรียงไว้ในหนังสือ ทำไม พระพุทธศาสนา จึงเสื่อมจากอินเดีย เพื่อเป็นแนวทางการทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้คงอยู่กับเราต่อไป

ความเสื่อมของพระพุทธศาสนา ในอินเดีย พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึง มูลเหตุที่ทำให้ พระศาสนาเสื่อม เพราะพระสัทธรรม เลอะเลือน ดังนี้:-

1) พวกภิกษุเล่าเรียน สูตรอันถือกันมาผิด ด้วยบทพยัญชนะ และความหมาย อันคลาดเคลื่อน.

2) พวกภิกษุ เป็นคนว่ายาก ไม่อดทน ไม่ยอมรับคำตักเตือน โดยความเคารพหนักแน่น.

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พุธ•ที่ 11 •พฤษภาคม• 2011 เวลา 13:58 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ประวัติการวัดนาหลวง

สร้างตามแบบฉบับ ของพระสังฆราชมหินทะเถระ วัดป่าหนองท่า เมืองสะปุงลำพูน อันได้สืบทอดมาจากพระสังฆราชเจ้าในพุกามประเทศ ในสมัยพระเมืองแก้วเจ้าหลวงเชียงใหม่ องค์ที่ ๑๔ แห่งราชวงค์ละวะจังกะราช (ราชวงค์มังราย) ในพ.ศ. ๒๐๔๖ เมื่อ ๕๐๗ ปีที่ผ่านมา และได้นำมาประยุกต์กับตำราทางภาคกลางเล็กน้อยให้เข้า กับยุคสมัย เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นการสร้างต้องให้แล้วเสร็จภายใน ๒๔ ชั่วโมงคือทำให้แล้วเสร็จภายในวันเดียว

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ยะข้าวรีดเคราะห์๕๔

เป็นประเพณีที่ทำติดต่อกันมาเป็นระยะเวลานานโดยสมัยก่อนหมู่บ้านได้มีความเชื่อเรื่องผี หรือสิ่งชั่วร้ายต่าง ๆ ที่เข้ามาในหมู่บ้าน เมื่อมีความเชื่อเช่นนั้นจึงได้พึ่งคนทรงเจ้าช่วยทำพิธี โดยได้ทำพิธีที่ศาลตรงสี่แยกกลางหมู่บ้าน มีการนำสายสินมาเชื่อมกันไปปแต่ละบ้านจนครบทั่วทุกหลังคาเรือน เพื่อขับไล่สิ่งไม่ดีออกนอกหมู่บ้าน

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ประกวดนางสงกรานต์บ้านวังฟ่อน

ภาพกิจกรรมประกวดนางสงกรานต์หมู่บ้านวังฟ่อน ครั้งที่ ๓๒  ประจำปี ๒๕๕๔ ซึ่งได้จัดขึ้นในวันที่ ๑๖ เมษายน ซึ่งมีการจัดขบวนแห่รอบหมู่บ้านเป็นไปอย่างสนุกสนานของพี่น้องชาววังฟ่อน

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 01 •กันยายน• 2011 เวลา 10:30 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ประเพณีขนทรายเข้าวัด

ประเพณีขนทรายเข้าวัด การขนทรายเข้าวัดของประชาชนวังฟ่อนมีมาแต่โบราณแล้ว   นิยมขนทรายในวันเนาว์  หรือวันที่  14  เมษายน สาเหตุแห่งการขนทรายเข้าวัดของหมู่บ้านในอดีต คือ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 15 •เมษายน• 2011 เวลา 12:55 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

๑๓ เมษายน ๒๕๕๔

เทศกาล สงกรานต์นี้ชาววังฟ่อนเรียกว่า ปเวณีปีใหม่หรือปาเวณีปีใหม่ (อ่าน"ป๋าเวนีปี๋ใหม่") ในช่วงเทศกาลนี้ซึ่งกินเวลา ๕ วัน ประชาชนจะหยุดงานทั้งสิ้นเพื่อเฉลิมฉลองวาระนี้ทั้งในแง่ศาสนาและพิธีกรรม ในวันที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๕๔ พ่อแม่พี่น้องในหมู่บ้านได้จัดงานแห่วัฒนธรรม ดำหัวผู้สูงอายุ ตั้งแต่เวลา ๑๐.๐๐ น. จนถึงช่วงบ่าย จากนั้นก็ได้เฉลิมฉลองสงกรานต์กับญาตพี่น้อง หรือเพื่อนฝูง

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 14 •เมษายน• 2011 เวลา 10:38 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

สุข ทุกข์ที่เราได้ประสบมาแล้วทุก ๆ รูปแบบ

ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุด เบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้นมีตัณหาเป็นเครื่องผูกพัน ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ เธอทั้งหลายเห็นทุคตบุรุษ ผู้มีมือและเท้าไม่สมประกอบ หรือ เห็นบุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยความสุข มีบริวารคอยรับใช้ พึงลงสันนิษฐานในบุคคลนี้ว่า เราทั้งหลายก็เคยเสวยทุกข์หรือเสวยสุข เห็นปานนี้มาแล้วโดยกาลนานนี้.

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

<< •เริ่มแรก• < •ย้อนกลับ• 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 •ถัดไป• > •สุดท้าย• >>

•หน้า 30 จาก 33•