ค้นหาบทความ
ราคาน้ำมันวันนี้
จำนวนนับผู้เข้าเยี่ยมชม
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้284
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้689
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้284
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว5376
mod_vvisit_counterเดือนนี้20766
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว27825
mod_vvisit_counterรวมผู้เข้าชม2433816

ออนไลน์ (20 นาทีที่แล้ว): 14
หมายเลข IP : 3.131.13.24
MOZILLA 5.0,
วันที่ : 24 •พ.ย.•, 2024
ขณะนี้มีผู้เข้าชม
• เรามี• •20 บุคคลทั่วไป• •ออนไลน์•
ล้านนาแพร่ประชาสัมพันธ์
Vinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo Slider

วิธีปฏิบัติทางจิต เมื่อถูกติเตียนหรือถูกทำร้ายร่างกาย

ผัดคุนะ ! ถ้ามีใครกล่าวติเตียนเธอต่อหน้า;

ผัดคุนะ ! ในกรณีเช่นนั้นเธอพึงละฉันทะและวิตกชนิดที่เป็นวิสัยแห่งชาวบ้านเสีย.

ผัดคุนะ ! ในกรณีเช่นนั้นเธอพึงทำความสำเหนียกอย่างนี้ว่า “จิตของเราจักไม่แปรปรวน เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะในภายใน” ดังนี้.

ผัดคุนะ ! เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้.

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วีรบุรุษกาวิละ

“กาวิละ” ผู้ซึ่งเป็นต้นตระกูล ณ เชียงใหม่ผู้มีบทบาทมากที่สุดในการต่อสู้ดิ้นรนเพื่อพ้นจากการปกครองของพม่า วีรกรรมของ “พญากาวิละ” ที่ได้กอบกู้อิสรภาพของล้านนาไทยไว้ได้ กระทั่งได้มารวมกับไทยกลางจนทุกวันนี้ นับตั้งแต่พระยาสุละวะนาไชยสงคราม (ทิพช้าง) ได้ทำการขับไล่ข้าศึกคือท้าวมหายศแตกกระเจิงไปแล้ว ก็ได้ครองเมืองลำปางแทนพ่อเมืองคนเก่า พระยาสุละวะ ฯ มีบุธิดารวมหกคนกับเจ้าแม่พิมมะลาผู้ภริยา บุตรชายคนหนึ่งชื่อ “ชายแก้ว” หรือ “ฟ้าชายแก้ว” เจ้าชายแก้วผู้นี้คือบิดาของเจ้ากาวิละ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 11 •พฤษภาคม• 2012 เวลา 20:45 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ศรีวิไจยโข้ ผู้มีมโนภาพอันบรรเจิด

“อนาถจิตคิดไปไม่ประจักษ์ ทรลักษณ์ตาทะเล้นไม่เห็นหน เดินก็ได้พูดก็ดังชั่งวิกล มามืดมนนัยน์ตาบ้าบรม” เพชรเม็ดงามของชาวแพร่ ด้วยความเป็นกวีที่มีพรสวรรค์มาตั้งแต่กำเนิด ศรีวิไจย (โข้) มีชื่อเดิมว่า “ศรีไจย” เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๐ ณ บ้านสีลอ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ เป็นบุตรคนที่ ๔ ของเจ้าน้อยเทพ และนางแก้ว เทพยศ ชาวบ้านมักจะเรียกท่านว่า ศรีวิไจยโข้ บางทีก็เรียกว่า “พ่อต๋า” ภรรยาคนแรก ชื่อ นางตุ่น มีบุตร ๒ คน ชีวิตวัยเด็ก ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรอยู่ ๔ – ๕ พรรษา ณ วัดศรีบุญเรือง จังหวัดแพร่หลังจากนั้นลาสิกขาบทออกมา แล้วได้แต่งกาพย์ธรรมะ ซึ่งพรรณนาถึงความทุกข์ของคน ชื่อว่า “กาพย์ฮ่ำตุ๊ก” แต่เดิมท่านประกอบอาชีพค้าจนกระทั้งภรรยาคนแรกเสียชีวิตลง จึงได้นำบุตรชายไปฝากพี่สาวอุปการระ ส่วนตัวเองเดินทางไปค้าขายที่จังหวัดน่าน กระทั่งล้มป่วยด้วยกามโรค จึงกลับมาอยู่จังหวัดแพร่ แล้วต่อมานัยน์ตาท่านก็บอด เมื่ออายุ ๒๕ ปีชีวิตต่อจากนั้น ท่านได้รับจ้างเขียนค่าว – ฮ่ำ อย่างเดียว แต่ปัญหาผู้ว่าจ้างท่าเขียนค่าว – ฮ่ำ ต้องนั่งจดตามคำบอก จึงทำให้ผู้อยากได้บทกวีแต่ไม่มีเวลาต้องเสียโอกาส ท่านศรีวิไจย (โข้) จึงได้ภรรยามาเป็นคู่ชีวิต คู่ทุกข์คู่ยากของท่านคนหนึ่งชื่อ “จันทร์สม” เป็นหญิงสาวที่มีรูปร่างหน้าตาไม่เลวนักและคุณสมบัติอันประเสิรฐยิ่งยากที่จะหาได้ในสตรีสมัยนั้นก็คือ จันทร์สมผู้นี้เป็นคนมีความรู้ในทางเขียนอ่านคล่องแคล่วเป็นพิเศษสามารถถ่ายทอดบทกวีที่กลั่นกรองจากสมองของท่านจอมกวีออกมาเป็นตัวอักษร ทั้งเจ้าหล่อนก็คงจะเป็นคนหนึ่งซึ่งซาบซึ้งในมธุรสพจน์ประพันธ์ของท่านกวีศรีวิไจยโข้

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 22 •เมษายน• 2012 เวลา 10:06 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

แห่สงกรานต์บ้านวังฟ่อน ๕๕

กว่า ๓๑ ปี ที่นักศึกษาฝึกงานมหาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพ ที่เข้ามาทัศนะศึกษาเชิงพัฒนาสังคมและชุมชน ได้ร่วมกลุ่มกับผู้นำหมู่บ้านวังฟ่อนจัดการประกวดนางสงกรานต์วังฟ่อนขึ้นเป็นครั้งแรก และเป็นประเพณีสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ในปี ๒๕๕๕ การประกวดภายใต้ภาพการอนุรักษ์ประเพณีเมืองแพร่โดยให้นางสงกรานต์แต่งชุดหม้อฮ่อมอันสวยงาม ขบวนรถตกแต่งไปด้วยเครื่องใช้ไม้สอยสำหรับคนสมัยก่อน นำขบวนด้วยแตรวง ล้วนแล้วทำให้นึกถึงการจัดประกวดนางสงกรานต์เมื่อครั้งอดีต SODA & วังฟ่อนดอทคอม  ถ่ายภาพ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พุธ•ที่ 18 •เมษายน• 2012 เวลา 16:23 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วันพญาวัน ๒๕๕๕

วันจันทร์ ที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๕๕ วันพญาวันชาววังฟ่อนถือว่าวันนี้คือวันที่ดีที่สุดของปี ะทำบุญอไรก็ถือฤกษ์เอาวันนี้  เริ่มต้นของเช้าวันที่ 15 ล้านนาก็จะเตรียมขันข้าว  ขนม อาหาร ผลไม้ สำรับชุดใหญ่เต็มที่อย่างดีที่สุด ไปวัดเพื่อตานขันข้าว ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้คนที่ล่วงลับไปแล้วและคนทำก็ได้บุญด้วยเช่นกัน (นำสำรับนี้ไปโรงครัว)   ส่วนในวิหารก็จะมีการใส่ขันแก้วทั้งสาม (บูชาพระรัตนนรัย) มีดอกไม้ ธูปเทียน ขมิ้นส้มป่อย กัณฑ์เทศน์ รับศิลรับพรจากพระสงฆ์ ช่วงบ่ายร่วมกันสรงน้ำพระซึ่งปฏิบัติกันมาเป็นประจำทุกปี ความเป็นมาของการสรงน้ำพระ ในกาลครั้งนั้นองค์สมเด็จพุทธเจ้า เสด็จประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหาร พร้อมภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป พระเจ้าปัสเสนทิโกศล พร้อมด้วยมหาอำมาตย์ทั้งหลาย ได้นำ เครื่องสักการะทั้งหลาย เข้าไปสู่พระเชตะวันมหาวิหาร ถวายอภิวาท แด่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 17 •เมษายน• 2012 เวลา 11:41 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ประเพณีขนทรายเข้าวัด ๕๕

วันเสาร์ ที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๕๕ วัดวังฟ่อนจัดประเพณีขนทรายเข้าวัด การขนทรายเข้าวัดของประชาชนวังฟ่อนมีมาแต่การก่อตั้งหมู่บ้านแต่โบราณแล้ว สาเหตุแห่งการขนทรายเข้าวัด การขนทรายเข้าวัดมีสาเหตุหลายประการคือ วัด มีการก่อสร้างถาวรวัตถุ เช่น โบสถ์ วิหาร เป็นต้น สมภารจึงขอแรงชาวบ้านที่ยังหนุ่มและสาวช่วยกันขนทรายเข้ามากองไว้ในคราว เทศกาลสงกรานต์ซึ่งเป็นวันที่ชาวบ้านว่างงานการทั้งหลาย และน้ำในแม่น้ำแต่ละสายแห้งขอดเขินเนินทรายสามารถนำทรายขึ้นฝั่งได้ง่าย คนสมัยก่อนไม่นิยมสวมรองเท้าเข้าวัดทิ้งรองเท้าไว้นอกวัด ต้องเดินเท้าเปล่าเข้าวัด ขึ้นไปบนวิหาร วัดที่มีทรายมากย่อมไม่เปื้อนเท้าเพราะทรายมากย่อมไม่เปื้อนเท้าเพราะทราย เป็นเครื่องเช็ดถูเปอะตมได้เป็นอย่างดี ให้ภายในวัดวาอารามไม่เป็นเปอะตมเฉอะแฉะ ประชาชนสามารถเดินเข้าไปมาได้สะดวก ในคราวมาทำบุญ วัดเป็นสถานที่รื่นรมย์ที่เรียกกันว่าอาราม การมีทรายอยู่ในวัดมาก ทำให้วัดสะอาดน่าอยู่ ประชาชนจึงนิยมขนทรายเข้าไปในวัดกันเสมอมา วัดที่มีทรายมากป้องกันไม่ให้หญ้าขึ้น หรือมีหญ้าขึ้นบ้างก็ถอนง่ายกว่าหญ้าที่ขึ้นบนดินล้วน ๆ วัดทุกวัดของล้านนาจึงนิยมนำทรายเข้าวัดเพื่อป้องกันหญ้าขึ้น โซดาถ่ายภาพ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 15 •เมษายน• 2012 เวลา 08:46 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ผ้าป่ารุ่น ๒๕๕๕

วันเสาร์ ที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๕๕ โรงเรียนบ้านวังฟ่อน (สิทธิราษฎร์บำรุง) จัดงานผ้าป่ารุ่นเพื่อนำรายได้ไปพัฒนาโรงเรียนในส่วนที่งบประมาณยังขาดแคลน ซึ่งปี ๒๕๕๕ โรงเรียนมีแผนการนำเงินที่ได้จากผ้าป่ามาสร้างห้องโสตทัศนูปกรณ์เพื่อใช้ในการเรียนการสอน  การประชุมนำเสนอผลงานของนักเรียนและโรงเรียน ผลการดำเนินงานจะแจ้งให้ทราบต่อไป ยอดรวมของผ้าป่า ๑๐๔,๐๐๐ บาท เป็นกิจกรรมที่ทำให้พวกเราได้พบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันหลังจากที่ไม่ได้เจอกันมา ๑ ปี แต่ยังไงวังฟ่อนดอทคอมขอให้ทางผู้จัดงานได้ตระหนักถึงประเพณีที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ไม่ควรทอดทิ้งคือการขนทรายเข้าวัดเราซึ่งตรงกับวันผ้าป่ารุ่น ขอให้ท่านผู้จัดงานได้ให้ความสำคัญตรงนี้ครับ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 14 •เมษายน• 2012 เวลา 21:25 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วันวัฒนธรรมหมู่บ้านวังฟ่อน

วันที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๕๕ หมู่บ้านวังฟ่อนร่วมกันจัดพิธีแห่วัฒนธรรมธรรมซึ่งได้จัดมาอย่างต่อเนื่องเป็นประเพณีประจำหมู่บ้าน ปี ๒๕๕๕ ได้รับงบสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลหัวเมือง กิจกรรมมีการแห่ขบวนวัฒนธรรม รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ การละเล่นพื้นบ้าน การประกวดสุขภาพดีกับทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ซอ ร้องเพลงมะเก่า รับพรจากผู้สูงอายุ ทำให้ชุมชนเกิดความรักความสามัคคีกันมากขึ้นลดช่องว่างระหว่างวัย เด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ รัฐบาลในสมัย พล.เอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของผู้สูงอายุ และปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ วันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๒๕ อนุมัติให้วันที่ ๑๓ เมษายน ของทุกปี เป็นวันผู้สูงอายุ และได้เลือก "ดอกลำดวน" เป็นสัญลักษณ์ของผู้สูงอายุ โซดา & วังฟ่อนดอทคอม ถ่ายภาพ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 14 •เมษายน• 2012 เวลา 12:15 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

การอยู่กรรม (วุฏฐานวิธี)

วันพุธ ที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๕ พระภิกษุ สามเณรใหม่ อยู่กรรมครบกำหนด ได้ออกบิณฑบาตร อวยพรแก่ชาวหมู่บ้านวังฟ่อน “ปริวาส” หมายถึง “การอยู่ใช้” หรือ “การอยู่รอบ” หรือเรียกสามัญว่า “การอยู่กรรม”(วุฏฐานวิธี) คือ อยู่ให้ครบ กระบวนการ สิ้นสุดกรรมวิธีทุกขั้นตอนของการอยู่ปริวาสกรรมทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้อยู่ใช้กรรมหรือความผิดที่ได้ล่วงละเมิดพระวินัย ต้องอาบัติ  “สังฆาทิเสส” ซึ่งอาจจะล่วงละเมิดโดยความตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจ หรืออาจล่วงละเมิดโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ดีนั้น ให้พ้นมลทิน หมดจดบริสุทธิ์ไม่มีเหลือเครื่องเศร้าหมองอันจะเป็นอุปสรรคในการประพฤติปฏิบัติบำเพ็ญในทางจิต ของพระภิกษุสงฆ์ ประโยชน์และวัตถุประสงค์ของ ”ปริวาสกรรม”

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

สืบชะตาหมู่บ้านวังฟ่อน ๕๕

วันจันทร์ ที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๕ เวลา ๙.๐๐ น. หมู่บ้านวังฟ่อนทำพิธี สืบชะตาหมู่บ้าน พิธีสืบชะตาเป็นประเพณีสำคัญอย่างหนึ่งของชาววังฟ่อนที่เชื่อกันว่าเป็นการต่ออายุหรือต่อชีวิตของหมู่บ้านหรือของคนในหมู่บ้านให้ยืนยาว มีความสุข ความเจริญ ตลอดจนเป็นการขจัดภัยอันตรายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นให้แคล้วคลาดปลอดภัย พิธีสืบชะตาแบบพื้นเมืองของหมู่บ้านวังฟ่อนได้ยึดถือและปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านาน คนในหมู่บ้านต่างรู้จักและยึดมั่นปฏิบัติกันอยู่ เพราะเชื่อว่าทุกข์ภัยทั้งหลายที่จะเกิดขึ้นกับตัวเอง และญาติพี่น้องจะหมดหายไปชีวิตก็จะยืนยาวยิ่งขึ้น อีกทั้งเชื่อว่าก่อให้เกิดขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่การงานพร้อมที่จะสู้กับชะตาชีวิตต่อไป พิธีกรรมนี้หมู่บ้านวังฟ่อนได้นำเอาไม้ค้ำสรี (ไม้ก๊ำสะหลี) โดยนัดหมายให้ชาวบ้านร่วมกันไปหาไม้ค้ำซึ่งจะมีขนาดใหญ่แล้วตกแต่งให้งาม จากนั้นจึงทำพิธีแห่ไม้ค้ำนั้นร่วมขบวนกันเพื่อไปถวายวัดและนำไปค้ำต้นโพธิ์ เทศกาลสงกรานต์ขอให้ผู้อ่านได้รับบุญกุศลนี้ไปพร้อม ๆ กันครับ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•จันทร์•ที่ 09 •เมษายน• 2012 เวลา 23:02 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

มหากวีผู้กล่อมล้านนาไทย

เขาเป็นยอดกวีที่มีประวัติชีวิตพิสดารยิ่งกว่าทุกคนในล้านนาประเทศ คล้ายกับมหาหวีศรีปราชญ์ในบางเรื่อง ละม้ายกับท่านสุนทรภู่ในบางตอนและบางทีก็ทำท่าว่าจะใกล้เคียงกับเจ้าฟ้าธรรมมาธิเบศร์ (กุ้ง) แห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา ผู้นั้นคือ “พรหมมินทร์” จินตกวีเอกแห่งล้านนาไทย หรือ “พญาพรหมโวหาร” แห่งราชสำนักเชียงใหม่ ราชสำนักลำปางและราชสำนักแพร่ผู้มีชีวิตอยู่ในระหว่างปีพุทธศักราช ๒๓๔๕ – ๒๔๒๖ ผู้ซึ่งเสียงกวีของเขาแผ่คลุมไปตลอดลุ่มน้ำแม่ระมิงค์ แม่น้ำวัง แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน แม้ในปัจจุบันนี้ ชื่อเสียงของเขา ก็ยังก้องกังวานเช่นเดียวกับชื่อเสียงของมหากวีแห่งกรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์ที่ได้ออกนามและพระนามมาแล้ว

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

บรรพชาอุปสมบท ปี ๒๕๕๕

วันพุธ ที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๕ หมู่บ้านวังฟ่อนทำพิธีการ บรรพชาอุปสมบท โดยมีนายนายวิชชา จิรภิญญากุล นายอำเภอสอง เป็นประธานในพิธี ก่อนที่เราจะไปศึกษาในเรื่องของขั้นตอนการบวชพระ จะขอกล่าวถึงพิธีการบวชพระที่ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งมีอยู่ ๒ แบบด้วยกัน  คือ แบบอุกาสะ และแบบเอสาหัง  โดยคำว่า "อุกาสะ"  แปลว่า ขอโอกาส  ส่วนคำว่า "เอสาหัง" แปลว่า ข้าพเจ้านั้น ในประเทศไทยการบวชพระแบบอุ กาสะนั้น จะใช้กันในคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ซึ่งเป็นแบบเดิมที่ใช้กันมาแต่โบราณกาล ส่วนการบวชพระแบบเอสาหัง จะใช้ในคณะสงฆ์ธรรมยุตินิกาย โดยการประยุกต์มาจากแบบอุกาสะเพื่อย่อขั้นตอนให้สั้นขึ้น  มีใช้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ พระบาลสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยยึดรูปแบบมาจากพระสงฆ์ประเทศพม่า ขั้นตอนการบวชพระ ในที่นี้จึงจะขอกล่าวถึงเฉพาะพิธีการบวชพระแบบอุกาสะเท่านั้น เนื่องจากเป็นการบวชแบบเดิมที่มีมาแต่โบราณ แม้ว่าการบวชในประเทศไทยจะมี 2 แบบ แต่ก็ยึดหลักการบวชตามพุทธบัญญัติทุกประการ ต่างกันเพียงข้อปลีกย่อยบางข้อเท่านั้น ขั้นตอนการบวชพระแบบอุกาสะ มีดังนี้

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พุธ•ที่ 04 •เมษายน• 2012 เวลา 23:50 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ประเพณีบวชนาค

วันอังคาร ที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๕ หมู่้บ้านวังฟ่อนได้มีการจัดงานประเพณีบวชนาค ในสมัยพระพุทธเจ้า มีพญานาคตนหนึ่งนั่งฟังธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าแล้วได้เกิดศรัทธา จึงได้แปลงกายเป็นมนุษย์ขอบวชเป็นพระภิกษุ แต่อยู่มาวันหนึ่งเข้านอนในตอนกลางวัน หลังจากหลับแล้วมนต์ได้เสื่อมกลายเป็นงูใหญ่ จนพระภิกษุรูปอื่นไปเห็นเข้า พระพุทธเจ้าต้องมาเจรจากับนาคว่า ผู้ที่มาบวชในศาสนาของเราสงวนไว้สำหรับมนุษย์เท่านั้น ขอท่านพึงกลับสู่บ้านเกิดเมืองนอนของท่านเถิด นาคตนนั้นผิดหวังมาก จึงขอถวายคำว่า นาค ไว้ใช้เรียกผู้ที่เข้ามาขอบวชในพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นอนุสรณ์ในความศรัทธาของตน พระพุทธองค์เห็นแก่ความศรัทธาของนาคจึงทรงอนุญาต ต่อจากนั้นมาพระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติไม่ให้สัตว์เดรัจฉาน ไม่ว่าจะเป็นนาค ครุฑ หรือสัตว์อื่นๆ บวชอีกเป็นอันขาด เพราะก่อนที่อุปัชฌาย์จะอุปสมบทให้แก่ผู้ขอบวชจะต้องถาม อันตรายิกธรรม หรือข้อขัดข้องที่จะทำให้ผู้นั้นบวชเป็นพระภิกษุไม่ได้ รวม 8 ข้อเสียก่อน ในจำนวน 8 ข้อนั้น มีข้อหนึ่งถามว่า  “ มนุสฺโสสิ ” แปลว่า "ท่านเป็นมนุษย์หรือเปล่า" และผู้บวชต้องรับว่า “ อามะ ภันเต ” ขอรับ เจ้าข้า ...

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 05 •เมษายน• 2012 เวลา 16:50 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

งานราชการทุกอย่าง ย่อมมีความสำคัญ

"งานราชการทุกอย่าง ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ง่ายหรือยาก ย่อมมีความสำคัญอยู่ในงานของแผ่นดินด้วยกันทั้งสิ้น อีกทั้งงานทุกด้านทุกสาขาย่อมสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน เป็นปัจจัยเกื้อกูลส่งเสริมกันและกันอยู่ ข้าราชการทุกคน ทุกฝ่าย ทุกระดับ จึงต้องไม่ถือตัวแบ่งแยกกัน หากต้องพิจารณาให้เห็นความสำคัญของกันและกัน แล้วร่วมงานประสานสัมพันธ์กัน ด้วยความเป็นมิตร ด้วยความเข้าใจเห็นใจกัน และด้วยความเมตตาปรองดองกัน งานของแผ่นดินทุกส่วน จักได้ดำเนินก้าวหน้าไปพร้อมเสมอกัน และยังประโยชน์ที่พึงประสงค์ คือความเจริญมั่นคง ให้เกิดแก่บุคคล แก่งาน และแก่ส่วนรวมได้แท้จริง"

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานพระบรมราโชวาท เนื่องในวันข้าราชการพลเรือน วันอาทิตย์ ที่ ๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๕

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•จันทร์•ที่ 02 •เมษายน• 2012 เวลา 07:45 น.• )

 

ข้าวตอกงานปอย

หมู่บ้านวังฟ่อนช่วงวันที่ ๑ – ๔ เมษายน ๒๕๕๕ ต้องคิดถึงงาน “ปอยหลวง” ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี กลายเป็นการปฏิบัติที่สืบเนื่องกันมาจากความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาการ ชายที่มีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์จะต้องเข้าพิธีอุปสมบท (บวชพระ) การอุปสมบทเป็นประเพณีที่มีความสำคัญมากอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะชายที่มีอายุครบ ๒๐ ปี เป็นวัยที่เข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ซึ่งจะต้องมีความรับผิดชอบในชีวิตของตนมากยิ่งขึ้น ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจความจริงของชีวิต เพราะพระพุทธศาสนาเป็นหลักคำสอนแห่งความจริงในโลก ที่สอนให้มนุษย์รู้สาเหตุของการเกิด แก่ เจ็บ และตาย  ช่วยให้มนุษย์มีสติสัมปชัญญะที่จะนำไปสู่ในทางที่ดีที่ชอบ การอุปสมบทจึงมีความสำคัญโดยเฉพาะต่อผู้ที่จะเป็นหลักของครอบครัว อีกทั้งผู้บวชยังได้ศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นพระบรมครูของเรา ผู้บวชสามารถนำข้อปฏิบัติที่ได้จากการบวชพระมาใช้ในการดำรงชีวิตสืบต่อไปได้อย่างมีความสุข

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

แพร่ ยูไนเต็ด Phrae United

ก่อตั้งครั้งแรกปี 2552 (2009) ซึ่งใช้ในนาม สโมสรฟุตบอลแพร่ เอฟซี การบริหารการจัดการโดย อบจ.แพร่ ซึ่งได้ จัดส่งลงทำการแข่งขันลีกภูมิภาค โซนภาคเหนือ เป็นครั้งแรก และต่อมาหลังเสร็จสิ้นการแข่งขัน สโมสรได้ปรับเปลี่ยนการบริหารการจัดการขึ้นมาใหม่โดยใช้ ในนามสโมสรฟุตบอล แพร่ ยูในเต็ด การบริหารจัดการโดย ทางสมาคมกีฬาจังหวัดแพร่ และนายพงศ์สวัสดิ์ ศุภศิริ ประธานสโมสร เป็นผู้ดูแล และจัดการโดยจัดตั้งเป็น บริษัท ฟุตบอลแพร่ ยูในเต็ด จำกัด โดยให้ฉายาว่า (ม้าคะนองศึก) โดยใช้สี แดง - เขียว สีประจำจังหวัดแพร่ เป็นสีชุดการแข่งขัน โดยใช้สนามกีฬาเทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง เพื่อร่วมในการจัดการแข่งขัน ตามกฎระเบียบของสมาคมฟุตบอล แห่งประเทศไทยในครั้งนี้.

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 31 •มีนาคม• 2012 เวลา 09:09 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

สายน้ำมรณะ

แม่น้ำยมช่วงระหว่างหนองเสี้ยว วังฟ่อน สภาพแม่น้ำทอดยาวบางจุดลึกไม่สามารถเดินผ่านได้ บางจุดตื้นสามารถเดินข้ามได้ จุดที่ผมจะพูดถึงคือจุดทางเข้าป่าช้าหมู่บ้านวังฟ่อน ตำบลหัวเมือง อำเภอสอง จังหวัดแพร่ วันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๕ ตลอดสายน้ำยมช่วงที่ระบุนี้ประชาชนได้ปลูกข้าวโพดตลอดแนวริมฝั่งน้ำ ในวันที่เราไปถ่ายภาพได้พบเจ้าของไร่ข้าวโพดกำลังทำกิจกรรมสูบน้ำให้ข้าวโพดตามปกติ สาเหตุที่ตั้งชื่อว่าแม่น้ำสายมรณะนั้นได้มีเรื่องเล่าจากผู้ประสบด้วยตัวเองคือช่วงกลางวันนั้นปกติเหมือนแม่น้ำปกติทั่วไป แต่ในช่วงเวลาตะวันลับขอบฟ้าบางครั้งคนที่ยังสูบน้ำอยู่จะได้ยินเสียงบางสิ่งบางอย่างกระโดนลงแม่น้ำหรือเล่นน้ำบริเวณนี้ เหมือนมีคนเล่นน้ำอยู่ตลอดทั้งคืนแต่ก็ไม่มีใครกล้าที่จะไปดู และเหตุการณ์ล่าสุดสายน้ำแห่งนี้ได้พรากเอาชีวิตน้องเมท วรกฤษณ์ วังสมอ วัย ๒๑ ปี (เกิดวันศุกร์ ที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๓๔)

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 31 •มีนาคม• 2012 เวลา 21:46 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

เจ้าเมืองล้านช้างครองเมืองล้านนา

เวียงจันทร์จะมีความสัมพันธ์กับเชียงใหม่ในทางใดทางหนึ่งเพราะมีหลายสิ่งหลายอย่างที่คล้ายกันมาก ผิวพรรณ รูปร่างหน้าตา ตลอดจนภาษาพูดและตัวหนังสือ “หนังสือเมือง” ของภาคเหนือ ของภาคเหนือนั้นมีข้อแม้อยู่นิดหนึ่งต้องอธิบาย เพราะตัวอักษรพื้นเมืองปัจจุบันที่มีรูปร่างคล้ายคลึงกับตัวหนังสือพม่าแต่ตัวหนังสือเวียงจันทน์มีส่วนคล้ายกับ “ตัวหนังสือฝักขาม” อันเป็นตัวอักษรพื้นเมืองแบบเก่ามีผู้รู้ท่านหนึ่งสันนิษฐานว่าตัวหนังสือแบบฝักนั้นมีมาก่อนที่เชียงใหม่จะตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า “ความสัมพันธ์” ในรัชสมัยของพระเมืองเกษเกล้าเจ้านครเชียงใหม่มีพระธิดาทรงพระนามว่าเจ้าหญิงยอดคำทิพหรืออีกชื่อหนึ่งเรียกกันว่า “พระนางหอสูง” พระบิดาจัดการให้อภิเษกสมรสกับพระโพธิสาราช ผู้เป็นราชโอรสของพระเจ้ากรุงศรีรัตนาคนหุตล้านช้าง พระนางได้ให้กำเนิดโอรสธิดาหลายพระองค์กับเจ้าชายพระองค์นั้นและองค์ที่มีความสำคัญมีชื่อเสียงมากก็เจ้าชายเชษฐวงศ์ ซึ่งเป็นโอรสองค์แรกในจำนวนโอรสและธิดาทั้งหมดรวมห้าองค์

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 29 •มีนาคม• 2012 เวลา 16:05 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ศึกท้าวซ้อย

“ในการศึกสงคราม ไม่มีคำว่ายุติธรรม” เรื่องนี้ก็เกิดขึ้นในสมัยรัชสมัยเจ้าติโลกราชพอขึ้นครองราษฐ์ไม่นานก็เกิดเรื่องไม่หยุดครั้งแรกแสนขานเป็นกบฏต่อมาก็ท้าวซ้อย ท้าวซ้อยหรือท้าวสิบนี่เป็นน้องสุดท้องของพระเจ้าติโลกราชเอง พระเจ้าติโลกราชหรือท้าวลกคิดปฏิวัติรัฐประหาร แย่งราชสมบัติมาจากพระเจ้าสามฝั่งแกนผู้บิดา แล้วเนรเทศไปไว้ที่เมืองสาด “ทีนี้ความรู้ถึงหูท้าวซ้อยที่ครองเมืองฝางอยู่ได้ทราบว่าท้าวลกผู้พี่กระทำการแย่งชิงราชสมบัติก็แค้นเคืองเป็นยิ่งนักรับสั่งการให้เสนาอาตย์เดินทางไปรับเสด็จพระเจ้าสามฝั่งแกนมาจากเมืองสาดพามาประทับที่เวียงเมืองฝางและก็ตระเตรียมไพร่พลไว้รับมือกับพี่ชายคงจะมีการท้าทายกัยอยู่ในทีด้วยพร้อมกับตั้งแข็งเมืองไม่ยอมอ่อนน้อมต่อพระเจ้านครพิงค์องค์ใหม่ ทีนี้ทางฝ่ายเจ้าติโลกราชเจ้านครพิงค์พอรู้ว่าเจ้าท้าวซ้อยแข็งเมืองมิหนำซ้ำยังไปรับพระบิดาเข้าไว้ในเวียงฝางเป็นการท้าทายเข้าไปอีกก็กริ้วนักจึงรีบสั่งให้หมื่นหาญต่อท้องผู้ครองนครเขลางค์ ถือพลหนึ่งหมื่นหาญแต่ท้องผู้ครองนครเขลางค์ถือพลหนึ่งหมื่นยกไปตีเมืองฝาง

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 24 •มีนาคม• 2012 เวลา 09:01 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วัดคุ้มครองธรรม

วัดคุ้มครองธรรม ตั้งอยู่เลขที่ ๗๔ บ้านคุ้ม หมู่ที่ ๑๒ ตำบลบ้านกลาง อำเภอสอง จังหวัดแพร่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเน้อที่ ๕ ไร่ ๓ งาน ๓๐ ตารางวา และตอนนี้กำลังขยายพื้นที่ออกไปโดยกำลังศรัทธาและการบริจาค วัดคุ้มครองธรรมสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๒๗๕ ได้รับวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๖ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร เหตุที่ได้นามว่า “วัดคุ้ม” เพราะที่ตั้งวัดมีศาลเจ้า (เจ้าพ่อเลี้ยงกุมภัณฑ์) ตั้งอยู่ คนเมืองเหนือเขาเรียกที่อยู่ของเจ้าว่า “คุ้ม” พอมีคนมาตั้งบ้านเรียนก็เลยให้ชื่อบ้านว่า “บ้านคุ้ม” วัดก็เลยใช้ชื่อว่า “วัดคุ้ม” ตามชื่อของหมู่บ้าน อีกนัยหนึ่งมีเรื่องเล่าสืบต่อกันว่า สมัยโบราณที่วัดคุ้มรองธรรมเคยเป็นที่ประทับของเจ้าหลวงเมืองแพร่

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

<< •เริ่มแรก• < •ย้อนกลับ• 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 •ถัดไป• > •สุดท้าย• >>

•หน้า 25 จาก 33•