หาญยอดใจเพชร นายทหารเอก
•วัน•จันทร์•ที่ 09 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 14:38 น.• -
??Author: Administrator??
ปี พ.ศ.๒๕๐๓ ได้มีโรงเรียนสอนฟันดาบทางฝั่งธนบุรี จัดละครโทรทัศน์ประวัติศาสตร์ขึ้นโรงเรียนหนึ่ง มีนายทหารชาวนครพิงค์คนหนึ่งมีนามว่า "หาญยอดใจเพชร"อยู่ในรัชสมัยพระเจ้าสามฝั่งแกนเป็นนายทหารดาบเขนซึ่งมีฝีมือเป็นเยี่ยม และเหตุที่จะทไให้หาญยอดใจเพชรได้มีชื่อปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์ก็เพราะในสมัยพระเจ้าสามฝั่งแกนเกิดมีกรณีแตกแยกระหว่างพี่น้องขึ้น อันทำให้เกี่ยวเนื่องไปถึงพระเจ้าไสยลือไทยแห่งกรุงสุโขทัยจนเรื่องเล็กกลายเป็นเรื่องใหญ่ดังนี้ ครั้งนั้นเมื่อสิ้นพระเจ้าแสนเมืองมาพระชาบิดาแล้ว ราชบุตรสองพระองค์ต่างมารดากันองค์พี่มีนามว่า "เจ้าชายยี่กุมกาม" พระบิดาให้ไปครองเมืองเชียงรายแต่ครั้งมีประชนมายุได้ ๑๕ พรรษา ส่วนองค์น้องนั้นมีนามว่า "เจ้าชายสามฝั่งแกน" เหตุที่ได้ชื่อเช่นนี้ก็เพราะเมื่อพระราชมารดาทรงครรภ์ได้ ๓ เดือน พระราชบิดาได้พาเสด็จประพาสตามหัวเมืองต่างๆจนถึงเมืองสิบสองพันนาลื้อ จนเวลาล่วงไปได้เจ็ดเดือน กลับมายังพันนาฝั่งแกนจึงได้ประสูติพระกุมาร ณ ที่นั้น ส่วนเจ้าชายยี่กุมกามนั้น ประสูติที่เวียงกุมกามจึงได้ชื่อว่า "ยี่กุมกาม" พอพระเจ้าแสนเมืองมาถึงพิราลัย •แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 15 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 08:06 น.• ) วัดกลาง อำเภอสอง
•วัน•พุธ•ที่ 04 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 20:14 น.• -
??Author: Administrator??
วัดกลาง ตั้งอยู่เลขที่ ๑๗๙ หมู่ ๕ ตำบลบ้านกลาง อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ห่างจากี่ว่าการอำเภอสอง ๒๐๐ เมตร มีเนื้อที่ ๔ ไร่ ๒ งาน ๗ ตารางวา เป็นวัดเก่าแก่ แต่โบราณกาล ประวัติทางการระบุไว้ว่าก่อตั้งมาเมื่อวันที่ ๕ มีนาคม ๒๓๒๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา วันที่ ๑ กุมภาพัน ๒๔๘๘ ผูกสีมา ๑ กุมภาพัน ๒๔๘๙ ได้ทำการเปิดสอนพระปริยัติธรรม ซึ่งเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๐ มีการสร้างอุโบสถเมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๖ โดยมีเจ้าอธิการเดช(มูล) อุตตโม เป็นประธานในการก่อสร้าง สร้างเสร็จเมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ๓๕๐,๔๐๙ บาท ต่อมามีการบูรณะเปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคาและเปลี่ยนช่อฟ้าใบระกา ใช้งบประมาณจากการบริจาคจำนวน ๗๔๙,๗๖๕ บาท โดยมีท่านพระครูวิสุทธิธรรมธารีเป็นประธานในการบูรณะ ต่อมาให้สร้างพระพุทธรูปองค์พระประธานใหญ่ปี ๒๕๐๐ วัดกลางมีเจ้าอาวาสปกครองวัดมาตั้งต้นดังนี้ ๑. ครูบาอุด อุตตโม ๒. ครูบาปุ๊ด พุทธวํโส ๓. ครูบาเทพ เทพรํสี ๔. ครูบาภิชัย อภิชยโย ๕. เจ้าอธิการเดช(มูล) อุตตโม พ.ศ. ๒๔๗๔ – ๒๕๐๒ ๖. พระครูวิสุทธิธรรมธารี (วิสิทธิ์ วิสุทโธ) พ.ศ. ๒๕๐๓ – ๒๕๔๘ ๗. พระครูกันตสีลพิธาน (พระอธิการนิพนธ์ กนฺตสีโล) พ.ศ. ๒๕๔๘ – ปัจจุบัน •แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 14 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 08:49 น.• ) ขอบคุณนิตยสารเพื่อนเดินทาง
•วัน•พุธ•ที่ 11 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 13:56 น.• -
??Author: Administrator??
ขอบคุณนิตยสารเพื่อนเดินทาง vol.๓๔ เล่มที่ ๓๙๐ ประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยมีนางแบบคือชมพู่ อารยา, ไอซ์ อภิษฎา, เอมมี่ มรกต ที่ได้นำเสนอสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ในจังหวัดแพร่ จังหวัดที่มีอายุกว่า ๑,๐๐๐ ปี เต็มไปด้วยอุ่นไอรัก เรียบง่าย ผู้คนมีน้ำใจ บวกกับความงามของนางแบบสาวสวยทำให้ปรากฏภาพที่ชวนให้มาเที่ยว ท่านสามารถหาซื้ออ่านเป็นเจ้าของได้ตามแผงหนังสือทั่วไป ในเล่มมีการแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของเมืองแพร่ ประวัติเมืองแพร่ พร้อมภาพที่สวยงาม ราคานิตยสาร ๙๕ บาท กระดาษที่ใช้ทำนิตยสารคุณภาพดีมากครับ ขอบคุณภาพจาก facebook : http://www.facebook.com/travellers.companion •แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พุธ•ที่ 11 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 14:13 น.• ) ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๒ บทนำ
•วัน•พุธ•ที่ 04 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 07:30 น.• -
??Author: Administrator??
การศึกษาที่ผ่านมาเกี่ยวกับเมืองลอง งานการศึกษาที่เขียนเกี่ยวกับเมืองลองและเมืองต้าโดยตรงนั้นมีจำนวนน้อยมาก แต่เพื่อเป็นการปูพื้นฐานทั้งการนำมาใช้เป็นหลักฐานและกรอบแนวความคิด จึงได้สำรวจงานการศึกษาทุกแขนงวิชาที่เกี่ยวข้องกับเมืองลองและเมืองต้า เพื่อสำรวจสถานภาพงานการศึกษาที่ผ่านมาของเมืองลอง งานการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์เมืองลองจัดจำแนกออกได้เป็น ๔ กลุ่มหลักตามประเด็นที่ศึกษา โดยผู้ศึกษาได้เชื่อมโยงและวิพากษ์วิจารณ์งานกลุ่มต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษา และทำให้เห็นภาพการศึกษาเกี่ยวกับเมืองลองที่ผ่านมา •แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 10 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 07:23 น.• ) เมื่อวานยังดี ๆ อยู่เลย วันนี้ตาย !
•วัน•อาทิตย์•ที่ 08 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 11:51 น.• -
??Author: Administrator??
สารรักษ์หัวใจตอนที่ 2 เมื่อวานยังดี ๆ อยู่เลย วันนี้ตาย หมอบอกเป็นโรคหัวใจ คำกล่าวนี้พบเห็นกันบ่อยๆ ที่หน้าห้องผู้ป่วยหนักอายุรกรรม หรือห้องไอ ซี ยู ท่านคงสงสัยว่าโรคหัวใจอะไรกันที่ทำให้ตายกะทันหัน ขนาดเมื่อวานดี วันนี้ตาย ผมจะยกตัวอย่างโรคหัวใจที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ ที่น่าเศร้าแบบนี้มาให้ท่านผู้อ่านทราบ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันเฉียบพลัน โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันเฉียบพลัน [Acute coronary syndrome] เป็นโรคเดียวกันกับโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตัน หรือโรคเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอเฉียบพลัน โรคนี้เป็นสาเหตุการเสียชีวิตกะทันหันในผู้ใหญ่สูงถึง 80% สาเหตุเกิดจากการมีคราบไขมันที่สะสมอยู่ที่ผนังหลอดเลือดหัวใจมาหลายปี (โดยที่เราไม่รู้ตัวมาก่อน หรืออาจจะรู้ตัวมาก่อนแต่ดูแลรักษาไม่ดี) ได้แตกออกทำให้ไขมันแตกเข้าไปในท่อหลอดเลือดแล้วกระตุ้นให้มีเกล็ดเลือดและลิ่มเลือดมาอุดตันท่อหลอดเลือดหัวใจจนตีบตันทันที •แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 15 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 21:04 น.• ) เจ้าหญิงดารารัศมี
•วัน•จันทร์•ที่ 11 •มิถุนายน• 2012 เวลา 14:21 น.• -
??Author: Administrator??
“เจ้าในวัง” คำพูดติดปากของคนที่อยู่ในสมัยพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ท่านเป็นราชบุตรีของพ่อเจ้าชีวิตอินทวิชยานนท์ มารดาคือเจ้าหญิงทิพย์เกสรผู้เป็นพระธิดาของพระเจ้าวิโลรศสุริยวงศ์นับเป็นผู้สืบสายโลหิตจากพระเจ้าเชียงใหม่โดยตรง เมื่อเล็ก ๆ ทรงมีชื่อรวมกันในพระญาติวงศ์ว่า “เจ้าหญิงอึ่ง” ครั้นเจริญพระชันษาก็ได้รับพระนามจากพ่อเจ้าชีวิตว่า “เจ้าดารารัศมี” พระองค์มีพี่ร่วมอุทรด้วยอีกสององค์แต่สิ้นพระชนม์ไปเสียก่อน เจ้าหญิงจึงเป็นที่สนิทเสน่หาของพ่อเจ้าและแม่เจ้าเป็นอย่างยิ่ง เจ้าหญิงดารารัศมีประสูติเมื่อวันอังคารขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๑๐ เหนือ ปีระกา ตอนที่เจ้าหญิงดารารัศมีตามเสด็จเจ้าชีวิตอินทวิชยานนท์ผู้บิดาลงไปกรุงเทพฯ ก่อนหน้านั้นเมื่อปี ๒๔๒๖ พ่อเจ้าชีวิตโปรดให้มีงานพระราชทานพระนามและต้องเข้าพิธีโสกันต์ พระบาทสมเด็จพระจุลเจ้าเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าให้พระเจ้าน้องยาเธอฯ เสด็จไปช่วยในงานนี้พร้อมกับนำเอาตุ้มพระกรร ณ กับพระธำมรงค์เพชร มอบให้เป็นของขวัญแก่เจ้าหญิงดารารัศมีในโอกาสนั้นด้วย คงจะเป็นการมั่นหมายไว้ในพระทัยเพราะหลังจากนั้นมาอีกสามปี เจ้าชีวิตอินทวิชัยนนท์ก็เสด็จไปราชการที่กรุงเทพฯ และได้โปรดให้พระราชธิดาเจ้าหญิงดารารัศมีได้เสด็จไปด้วย พระบาทสมเด็จพระจุลเจ้าเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสู่ขอต่อพ่อเจ้าชีวิตตอนนั้นโปรดให้ประทับที่พระที่นั่งจักรีในพระบรมมหาราชวัง เจ้าหญิงดารารัศมีจึงได้ถวายตัวตั้งแต่ครั้งนั้น •แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 08 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 07:29 น.• ) บ้านและวัดวังช้าง อำเภอเมือง
•วัน•พุธ•ที่ 13 •มิถุนายน• 2012 เวลา 16:43 น.• -
??Author: Administrator??
ประวัติบ้านวังช้าง ตำบลแม่คำมี อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ จากคำบอกเล่าของอดีตพ่อกำนันเครือ กันยะมี ได้บอกเล่าลงในหนังสือ ประวัติของจังหวัดแพร่ดังนี้ บ้านวังช้างสร้างทีหลังบ้านสันป่าสักและต้นม่วงสองสามปี แต่เดิมมีต้นต่ออยู่บ้านสันป่าสักตำบลหนองม่วงไข่ แต่ไม่สะดวกหลายด้านเกี่ยวกับน้ำท่วมบ้างและช้างบ้างซึ่งเป็นช้างของเจ้าหลวงที่มีจำนวนมากมารบกวนพืชผลที่ปลูกไว้ ไม่รู้จะทำยังไงก็เลยย้ายมาฝั่งปัจจุบันนี้ โดยการย้ายที่ทำไร่ทำสวนตามริมน้ำพอนานเข้ากลายเป็นชุมชนหมู่บ้านโดยตั้งชื่อว่าบ้านวังช้างมีแม่น้ำแม่คำมีซึ่งบริเวณน้ำมีวังลึกเป็นดงช้างเผือกมาอาศัยดื่มน้ำที่วังแห่งนี้ (เป็นคำบอกเล่าข้องผู้เฒ่าผู้แก่สืบกันมา) ผู้ใหญ่บ้านคนแรกคือนายวิชิน สุขทั่วญาติเป็นผู้ใหญ่คนแรก คนที่สองคือ นายวิชา เสนาสุทธิพรรณ •แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 10 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 22:44 น.• ) คุ้มวิชัยราชาขอบคุณ Bangkok Post
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 05 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 17:33 น.• -
??Author: Administrator??
ขอบคุณหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ (Bangkok Post) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษ ฉบับวันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม 2555 กับประวัติความเป็นมาของคุ้มวิชัยราชา จังหวัดแพร่ ภาคภาษาอังกฤษ ซึ่งมีเนื้อหาดังต่อไปนี้ History tangled in vines and red tape Khum Wichai Racha is an ancient teak house that played an eminent role in the country's past, yet just one man seems to want to save it Published: 1/07/2012 at 01:56 AMNewspaper section: News The grand old teak house has witnessed incursions, revolutions and invasions for more than 100 years and every joint, knot and plank reeks of Thai history. •แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 06 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 17:26 น.• ) ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๑
•วัน•เสาร์•ที่ 30 •มิถุนายน• 2012 เวลา 09:13 น.• -
??Author: Administrator??
ความสำคัญของเมืองลองที่ต้องศึกษา สภาพภูมิศาสตร์ของดินแดนตั้งแต่ภาคเหนือตอนบนขึ้นไป มีลักษณะเป็นแอ่งที่ราบทั้งขนาดใหญ่และเล็ก ที่ถูกล้อมรอบด้วยเทือกเขาสูงเป็นแอ่งที่ราบระหว่างภูเขา(Intermontane Basins) อันเกิดจากรอยเลื่อนของแผ่นธรณี จากการสำรวจของนักวิชาการทางโบราณคดีที่ผ่านมา พบร่องรอยมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์เข้ามาอาศัยกระจายอยู่ทั่วไป ต่อมาเมื่อผู้คนรวมกลุ่มกันขึ้นภายในแต่ละแอ่งเหล่านี้จึงพัฒนาก่อรูปขึ้นเป็นชุมชนเป็นบ้านและเมือง โดยขนาดของแอ่งและที่ราบจะมีความสัมพันธ์กับขนาดของเมืองด้วย ดังนั้นบางเมืองที่ตั้งอยู่แอ่งที่ราบขนาดใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์จึงเป็นเมืองใหญ่ และพัฒนาขึ้นเป็นเมืองศูนย์กลางของแคว้นหรืออาณาจักร แต่บางเมืองที่ตั้งอยู่แอ่งที่ราบขนาดเล็กก็ยังคงมีสถานภาพเป็นเมืองเล็กเมืองน้อยที่เป็นเมืองบริวารของเมืองขนาดใหญ่ •แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 03 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 07:07 น.• ) อาจารย์ ภูเดช แสนสา
•วัน•จันทร์•ที่ 02 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 20:32 น.• -
??Author: Administrator??
บทความประวัติศาสตร์เมืองลองที่ท่านผู้อ่านกำลังจะได้อ่านต่อไปนี้ เป็นงานเขียนที่ผู้เขียนได้ทำการปรับปรุงเพิ่มเติมจากหนังสือของผู้เขียนเรื่อง “ประวัติศาสตร์เมืองลอง หัวเมืองบริวารในล้านนาประเทศ” ที่ตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๔ จำนวน ๑,๐๐๐ เล่ม แต่ก็ยังไม่เพียงพอสำหรับผู้สนใจ ดังนั้นเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจในวงกว้าง สะดวกในการเข้าถึงข้อมูลและการสืบค้น ตลอดจนง่ายต่อการทำความเข้าใจในเนื้อหา ผู้เขียนจึงได้นำมาจัดแบ่งออกเป็นตอนย่อยๆ ได้จำนวน ๕๐ ตอน เพื่อเผยแพร่บนเว็บไซต์ของ www.lannaphrae.com ซึ่งบทความประวัติศาสตร์เมืองลองทั้ง ๕๐ ตอนนี้ จะนำเสนอภาพความเป็นเมืองลอง ฐานะหัวเมืองบริวารขนาดเล็กของล้านนาประเทศในยุคจารีต จนกระทั่งความเป็นเมืองลองแบบจารีตได้ล่มสลายลงเมื่อรวมเข้ากับสยาม และเกิดการสร้างและรื้อฟื้นตัวตนความเป็นเมืองลองกลับขึ้นใหม่ |
แมคกิลวารีสู่เมืองแพร่
•วัน•ศุกร์•ที่ 29 •มิถุนายน• 2012 เวลา 16:24 น.• -
??Author: Administrator??
บ้านร้อยปีเป็นอาคารเก่าสร้างด้วยไม้สัก ตั้งอยู่ในบริเวณโรงพยาบาลแพร่คริสเตียน อ. เมือง จ. แพร่ สร้างโดยคณะมิชชั่นลาวในสังกัดคริสตจักรเพรสไบทีเรียนที่สหรัฐอเมริกา (the Laos Mission of the Presbyterian Church in the United States of America) ที่เข้ามาตั้งศูนย์เผยแผ่ศาสนาที่จังหวัดแพร่ตั้งแต่พ.ศ. ๒๔๓๖ (ค.ศ. ๑๘๙๓) เพื่อเป็นที่พักและสำนักงานของครอบครัวมิชชันนารีที่เข้ามาดูแลงานด้านการเผยแผ่ศาสนา การศึกษา และการพยาบาล ในจังหวัดแพร่ บ้านเก่าในโรงพยาบาลแพร่คริสเตียนและบ้านเก่าในบริเวณศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยถูกย้ายจากศูนย์มิชชั่นเดิมที่บ้านเชตวันมาปลูกในที่ตั้งปัจจุบัน บ้านทั้งสองหลังจึงมีอายุร้อยสิบเก้าปีแล้วใน พ.ศ. ๒๕๕๕ นี้ •แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 30 •มิถุนายน• 2012 เวลา 23:28 น.• ) เข้าสู่ประวัติศาสตร์เมืองลอง
•วัน•เสาร์•ที่ 30 •มิถุนายน• 2012 เวลา 11:35 น.• -
??Author: Administrator??
พบกับประวัติศาสตร์เมืองลองกับอาจาีรย์ภูเดช แสนสา ทุกวันอังคารในเว็บแห่งนี้ ท่านผู้อ่านจะได้สัมผัสเมืองในแบบจารีตคือหน่วยทางการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมอย่างสมบูรณ์ เป็นการจัดพื้นที่ผ่านแบบแผนของผู้ที่อาศัยอยู่ ประกอบกันขึ้นจากหน่วยปกครองพื้นที่เล็กๆ ลงไปเข้าไว้ด้วยกัน อันเกิดจากการประสานระบบทางกายภาพของพื้นที่เข้ากับระบบความเชื่อ เพื่อเป็นสายใยเชื่อมโยงให้เกิดความเป็นกลุ่มก้อนของผู้คนภายในเมือง ดังนั้น “เมือง” ของคนกลุ่ม “ไท” จึงอาจหมายถึงอาณาจักรขนาดใหญ่ที่มีอำนาจเข้มแข็ง เมืองหลวง หรือเมืองเล็กเมืองน้อยที่อยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของแคว้นหรืออาณาจักรอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งเมืองเหล่านี้จะมีความสัมพันธ์กันในรูปของเมืองเล็กเมืองน้อยขึ้นต่อเมืองใหญ่เป็นลำดับชั้นขึ้นไป เป็นรูปแบบการปกครองที่มีลักษณะร่วมกันของรัฐในหุบเขาดังเช่น ล้านนา สิบสองพันนา สิบสองจุไท และฉานของไทใหญ่ ไทเขิน ไทเหนือ ซึ่งสิบสองจุไทของไทดำ ไทขาว ไทแดง ก็มีการแบ่งเมืองออกเป็น ๔ ระดับจากเมืองใหญ่ถึงเมืองเล็ก •แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 30 •มิถุนายน• 2012 เวลา 13:36 น.• ) วัดสันป่าสัก อำเภอเมือง
•วัน•ศุกร์•ที่ 15 •มิถุนายน• 2012 เวลา 19:47 น.• -
??Author: Administrator??
วัดสันป่าสัก เลขที่ ๑๒๘ หมู่ที่ ๘ ตำบลแม่คำมี อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ๕๔๐๐๐ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ได้รับพระราชทาน วิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๒๕ เขตวิสุงสีมากว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร ประกอบพิธีผูกพัทธศรีมา ฝังลูกนิมิต เมื่อวันที่ ๒๓-๒๖ เมษายน ๒๕๒๖ มีเนื้อที่ ๔ ไร่ ๒ งาน ๒๖ ตารางวา มีเอกสารสิทธิ์ เป็นโฉนดเลขที่ ๑๖๘ ถ่ายทางอากาศหมายเลข ๕๐๔๐ แผ่นที่ ๔๐ พ่อเปียง วิใจคำ อายุได้ ๘๐ ปี เกิดที่บ้านสันป่าสักหมู่ที่ ๑ ตำบล แม่คำมี อำเภอ เมือง จังหวัด แพร่ ได้เล่าประวัติบ้านสันป่าสัก ได้รับฟังมาจากคนเฒ่าคนแก่ว่าเดิมทีย้ายมาจากไหนก็ไม่รู้มาตั้งอยู่บริเวณฝั่งขวาตอนหนึ่งของแม่น้ำคำมี บริเวณเป็นป่าสักใหญ่เท่าที่ตอมันปรากฏอยู่ไม้สักแต่ละต้นอายุประมาณ ๑๐๐ ปี เลยตั้งชื่อว่า บ้านสันป่าสัก อยู่ได้นานกี่ปีก็ไม่รู้ พอสร้างวัดแล้วตอนหลัง ๆ อยู่ไม่ได้เพราะว่าน้ำท่วมเลยย้ายมาอีกฝากหนึ่งคือบ้านปัจจุบันนี้ ตอนนี้พอจะสืบได้ว่าประมาณ ๑๐๕ ปี เพราะตอนนี้ย้ายมาจากฝากโน้นมานี้ก็มาสร้างวัดปีนั้นเลย ดูจากทะเบียนวัดจากเจ้าคณะอำเภอว่า วัดสันป่าสัก นี้สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑ เมื่อย้ายมาตั้งบ้านใหม่ก็ยังใส่ชื่อว่าบ้านสันป่าสักอย่างเดิมทั้งที่มีต้นสักเลยตอนย้ายมา ใหม่ยังเอาต้นสักมาปลูก ๒ - ๓ ต้น ตอนนั้นบ้านสันป่าสักมี ๒๑๒ หลังคาเรือน มีประชากร ๑๐๐๐ กว่าคนประกอบอาชีพทำไร่ทำนา ปลูกข้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง ปลูกยาสูบและเลี้ยงสัตว์ •แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 10 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 22:43 น.• ) สานใจ...เพื่อคนเมืองแพร่
•วัน•ศุกร์•ที่ 29 •มิถุนายน• 2012 เวลา 22:53 น.• -
??Author: Administrator??
พบกับบทความโรคหัวใจจากเครือข่ายโรคหัวใจจังหวัดแพร่นำทีมโดยนายแพทย์มงคล มะระประเสริฐศักดิ์ อายุรแพทย์โรคหัวใจโรงพยาบาลแพร่ทุกวันจันทร์ทางเว็บไซต์แห่งนี้ เพื่อสุขภาพหัวใจชาวแพร่และผู้เข้าชมทุกคนครับ .....สิ่งละอัน พันละน้อย ค่อยค่อยสร้าง ไร้สินจ้าง รางวัล ให้กังขา จุดประกาย ด้วยจิต ทิศอุรา เพื่อประชา ตั้งดวงจิต อุทิศตน จุดเริ่มต้น ด้วยคนไข้ ไร้ที่พึ่ง มาคิดถึง ทำอย่างไร ให้เกิดผล ได้ก่อตั้ง กลุ่มงาน ในบัดดล มารวมพล คนรักษ์ใจ เทอดไท้องค์ แพทย์ มงคล มะระประเสริฐศักดิ์ รวมพลพรรค อายุรกรรม นำประสงค์ ปี ๔๖ เริ่มต้นงาน สานมั่นคง ด้วยบรรจง จึงบรรเจิด กำเนิดการ •แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 29 •มิถุนายน• 2012 เวลา 23:06 น.• ) On Phrae Magazine June 55
•วัน•ศุกร์•ที่ 29 •มิถุนายน• 2012 เวลา 15:52 น.• -
??Author: Administrator??
สวัสดีแฟน ๆ ออนแพร่ทุกคนนะครับ เข้าฤดูฝนกันแล้วครับขอให้รักษาสุขภาพกันด้วย ออนแพร่ฉบับเดือนมิถุนายนออกมาเป็นเล่มที่ ๔ แล้ว เนื้อหาในเล่ม ๑ ๒ ๓ ติดตามได้ที่ Facebook/ออนแพร่ นะครับทางทีมงานได้อัพลงที่หน้าเพจของออนแพร่ได้เลยครับ ใครอยากรู้เรื่องอะไรอยากไปเที่ยวที่ไหน หรืออยากแนะนำสิ่งใดติดต่อมาได้ครับ ออนแพร่ฉบับนี้อยากจะชวนทุกคนมารู้จักกับคุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่และบ้านวงศ์บุรีในอีกแง่มุมจากที่เราคอยทราบกันมาครับ จากคอลัมภ์สะ – หวา – ปาม ขอปรับเปลี่ยนเป็นแนะนำร้านอาหารที่มีความอร่อยและราคาถูกครับ แต่ยังคงเป็นเนื้อหาตามสไตล์ออนแพร่ นิตยสารเพื่อความสุนทรีย์ส่วนท่านใดที่อยากให้ออนแพร่ไปเก็บสะสมนั้น ขอบอกที่วางออนแพร่สำหรับแจกอีกครั้งนะครับ คือ สนง.ททท.แพร่. ร้านกาแฟอะเมซอนในปั้ม ปตท. ทุกที่ในเมืองครับ ตามร้านลูกค้าออนแพร่ทุกที่ครับ ฯลฯ หรือติดตามได้ใน Facebook นะครับว่าที่งานจะนำไปวางไว้ที่ไหนเพิ่มเติมบ้างนะครับ แล้วต้องขอฝากออนแพร่ด้วยนะครับ สุดท้ายนี้ขอให้ทุกท่านที่ให้ความช่วยเหลือให้ทุก ๆ ด้านด้วยครับ ขอบคุณครับ วัดนาบุญ
•วัน•ศุกร์•ที่ 15 •มิถุนายน• 2012 เวลา 08:55 น.• -
??Author: Administrator??
วัดนาบุญ ตำบลหัวทุ่ง อำเภอลอง จังหวัดแพร่ เดิมทีนั้นเป็นวัดที่มีความเก่าแก่ มีตำนานเล่าขานกันว่า สมัยพุทธกาลแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาเพื่อเผื่อแผ่พระพุทธศาสนาพร้อมพระอรหันตสาวก ได้เดินทางมาถึงสถานที่ตั้งของวัดนาบุญ เนื่องจากภูมิประเทศที่เป็นป่าเขา และมีลำห้วยที่ไหลผ่านใช้ในการบริโภคได้มาเสด็จมาถึง ก็เกิดอาการเมื่อยล้าพระวรกาย จึงได้เสด็จประทับอยู่ ณ บริเวณของวัดนาบุญ เมื่อชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณนั้นทราบข่าวว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับ ประจวบกับฤดูหนาวที่มีอากาศหนาวเย็น ชาวบ้านจึงพากันหาฟืนมาจุดไฟเป็นพุทธบูชา และเพื่อเป็นการคลายความหนาวเย็น พระองค์ทรงยื่นพระบาทมาผิงไฟ ใช้ผ้าลนกันเปลวไฟและนำมาประกบบริเวณน่องของพระองค์ หมู่บ้านเล็กแห่งนี้จึงเป็นที่เรียกขานกันว่า “บ้านนาอุ่มน่อง” (คำว่าอุ่ม เป็นภาษาพื้นเมืองของทางภาคเหนือหมายความว่า กิริยาอาการที่ใช้มือประกบสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง) ต่อมาก็เรียกกันเพี้ยนไปเป็น นาอุ่นน่อง หมู่บ้านบริเวณนี้ในปัจจุบันจึงมีชื่อว่า “บ้านนาอุ่นน่อง” หลังจากนั้นพระองค์ทรงได้มีพุทธทำนายไว้ว่า “ต่อนี้ไปในภายภาคหน้าสถานที่แห่งนี้จะเป็นที่เจริญรุ่งเรืองในบวรพระพุทธศาสนา เปรียญดังนาบุญของบริษัททั้งหลาย” ต่อมาในพระพุทธศักราช ๒๔๒๑ ชาวบ้านได้พบซากโบราณสถานแห่งหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของห้วยแม่ลอง ห่างจากวัดนาบุญประมาณ ๑ กิโลเมตร ชาวบ้านจึงได้ปรึกษากันสร้างที่พำนักสงฆ์ขึ้นมาเพื่อเป็นสถานจำพรรษาของพระภิกษุ - สามเณร โดยการนำของ นายบุญมา สมภาร โดยได้นิมนต์ พระประสาน เอ้ยวัน มาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก •แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 29 •มิถุนายน• 2012 เวลา 21:29 น.• ) On Phrae Magazine May 55
•วัน•พุธ•ที่ 20 •มิถุนายน• 2012 เวลา 20:48 น.• -
??Author: Administrator??
On phrae Magazine นิตยสารเดือนพฤษภาคม เป็นเล่มที่สามแล้วเนื้อหาในเล่มนี้ขอเสนอเรื่องที่ทุกคนคุ้นเคย ชาวแพร่ทุกคนจะต้องเคยไปยืน ณ สถานที่นั้นเกือบทุกคนและต้องมีความทรงจำที่ต้องจดจำในชีวิต เมื่ออ่านแล้วจะต้องได้กลับไปย้อนดูว่าประตูชัยยังคงมีชีวิตชีวาดังในอดีตอยู่ เสน่ห์ของมันยังมีครบถ้วน แม้วันเวลาเลยผ่านเปลี่ยนหน้าตาเรื่องราวต่าง ๆ มากมายพร้อมที่จะเติมเต็มความคิดถึงแก่ทุกท่าน เนื้อหาในเล่มนี้จะมีความเข้มข้นมากขึ้น พยายามจะนำสิ่งในจังหวัดแพร่ไม่ว่าจะเป็นศิลปวัฒนธรรมประเพณีใกล้ตัวมาปัดฝุ่น เรียบเรียงเรื่องราวจากข้อมูลและประวัติในอดีต แม้จะพบจะเห็นกันอยุ่เป็นประจำ บางเรื่องอาจจะทราบบางเรื่องได้ยินได้ฟังมา เข้าใจความหมายกันผิด ๆ เลยอยากพยายามหาข้อมูลจากหลาย ๆ แห่งสอบถามจากผู้รู้ให้มากขึ้น •แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พุธ•ที่ 20 •มิถุนายน• 2012 เวลา 21:47 น.• ) หนังสือเดินทางของพ่อเจ้าชีวิต
•วัน•อาทิตย์•ที่ 10 •มิถุนายน• 2012 เวลา 14:27 น.• -
??Author: Administrator??
ทำไมทางทางรถไฟถึงแค่เชียงใหม่ ทำไมไม่สร้างต่อไปให้ไกลจนถึงแม่ฮ้องสอนหรือไปถึงไทยใหญ่กันเลย คำตอบคือไม่รู้ครับเพราะไม่ใช่ผู้บัญชาการรถไฟและไม่ได้เป็นรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม เรื่องที่จะเล่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับนโยบายการเมืองในสมัยโน้นแสดงให้เห็นถึงวิธีการของพวกล่าเมืองขึ้น ซึ่งล้วนแต่มีกลวิธีต่าง ๆ กัน อันที่จริงสมัยนั้นแต่ละประเทศก็มุ่งแสวงหาหาอาณานิคมของตนเองทั้งนั้น เชียงใหม่เผอิญเป็นประเทศราชแห่งหนึ่งซึ่งมีความสำคัญไม่น้อย คือภายหลังจากที่ได้เข้าปกครองพม่าแล้วราวสิบปี ทางรัฐบาลอังกฤษก็ดำริที่จะเปิดการค้าระหว่างพม่ากับเชียงใหม่และเชียงรุ้งซึ่งเป็นหัวเมืองฝ่ายใต้ของจีนขึ้น จึงได้จัดส่งคนให้ไปสำรวจเส้นทางดังกล่าวโดยคาดว่าจะได้รับประโยชน์ทางการค้าอย่างมหาศาลถ้าสร้างทางได้สำเร็จ แต่ครั้นแล้วเรื่องก็เงียบไป คงจะมีอุปสรรคอะไรสักอย่างกาลเวลาล่วงไปเนิ่นนานจนกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๔๒๒ ฝรั่งเศสได้แผ่อิทธิพลเข้ามาในเอเชียตะวันออก ได้พยายามทุกวิถีทางที่จะทำลายอิทธิพลของอังกฤษ ในแหลมอินโดจีนสมัยนั้น พ่อค้าวาณิชของอังกฤษในพม่าจึงมีความกระตือรือร้นที่จะให้รัฐบาลอินเดียของอังกฤษเปิดเส้นทางบกระหว่างพม่ากับเชียงใหม่ขึ้น ที่คิดกันคือเพื่อป้องกันมิให้สินค้าของท้องถิ่นหลังไหลผ่าไปออกทางเมืองท่าของฝรั่งเศสในแคว้นตังเกี๋ย ซึ่งอาจมีผลกระทบกรเทือนต่อการค้าของอังกฤษได้ ด้วยเหตุนี้คณะพ่อค้าจึงได้ติดต่อขอให้ มร.ฮอลต์ เอส.ฮอลแลตต์ ซึ่งเป็นข้าราชการเก่าเป็นหัวหน้านำคณะเดินทางขึ้นไปสำรวจภูมิประเทศทางลานนาไทยอีกครั้งหนึ่ง จึงเป็นเป็นที่มาของเรื่องหนังสือเดินทางของพ่อเจ้าชีวิต ที่ทรงออกให้แก่ฝรั่งนักสำรวจคณะนั้น เพราะว่านายฮอลแลตต์แกต้องไปอาศัยครูแมคกิลวารีให้ช่วยทูลขออนุญาตพ่อเจ้าชีวิต ซึ่งท่านและเจ้านายทางฝ่ายเหนือ ก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี สำหรับพ่อเจ้าชีวิตนั้นไม่ยอมเชื่อว่า •แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 16 •มิถุนายน• 2012 เวลา 21:05 น.• ) วัดต้นม่วง อำเภอเมือง
•วัน•พุธ•ที่ 13 •มิถุนายน• 2012 เวลา 18:04 น.• -
??Author: Administrator??
วัดต้นม่วง ตั้งอยู่ตำบลแม่คำมี อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ อยู่ทิศเหนือสุดเขตอำเภอเมือง เหตุที่ชื่อต้นม่วงเพาะในที่ใกล้จะสร้างวัดได้มีต้นม่วงกล้วยต้นหนึ่งใหญ่ประมาณ ๒๐ กำสูงประมาณ ๒๐ วาเศษ มีกิ่งก้านสาขา เป็นที่ร่มเย็นมาก ชาวบ้านถือเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ จึงขนานนามว่าวัดต้นม่วง อีกในหนึ่งคือตั้งอยู่ใกล้น้ำแม่คำมี ได้เริ่มสร้างขึ้นเมื่อเดือน ๑๐ เหนือ ปีจอ ตรงกับ ร.ศ. ๑๐๕ จ.ศ. ๑๒๔๘ พ.ศ. ๒๔๒๙ หลักฐานเหล่านี้ปรากฏตามศิลาจารึก อันพญาคำลือได้จารึกไว้ที่ฐานพระประธาน ว่าจุลศักราช ๑๒๔๘ ตัวปีวาย (เสร็จปีจอ) เดือนยี่เป็ง (สิบสองเป็งวัน ๔ พุธ) ไตยกาบสี มูลศรัทธาเจ้าคำลือเป็นเก้า พร้อมด้วยลูกเต๋า (บุตรธิดา) ทุกคน หนปายนอกมายมี ปู่หนานปั๋นติ ปู่แฮด หนานอุต หนานยาวิไชย หนานทิ หนานธัมมะลังกา นางสา นางเกี้ยว สร้างยังพระพุทธรูปเจ้าขึ้น องค์หนึ่งไว้หื้อเป็นตี่ไหว้ เมื่อเดือน ๑๐ เหนือ ขึ้น ๑๔ ค่ำ วันอังคาร พ.ศ. ๒๔๒๙ พญาคำลือ เป็นหัวหน้าได้ไปนิมนต์ พระเตชะ เตชปญฺโญ อันเป็นพระหลานชายของตน ได้อุปสมบทอยู่ที่วัดสันป่าสัก ตำบลเดียวกัน มาเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดต้นม่วง วัดต้นม่วงสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๘๑ เขตวิสุงคามสีมากว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร ประกอบพิธีผูกพัทธเมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๓ ที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ประมาณ ๓ ไร่ ๑ งาน ๐.๓ ตารางวา ตามเอกสารสิทธิ์โฉนดเลขที่ ๑๑๓๐ มีสิ่งปลูกสร้างคือ อุโบสถ กุฏิเจ้าอาวาส กุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ หอฉัน โรงเก็บเก้าอี้ หอกลอง บ่อน้ำ ประปา เวจกุฏิ (สุขา) แท้งน้ำ ห้องวัสดุ รายนามเจ้าอาวาส •แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 10 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 22:44 น.• ) On Phrae Magazine April 55
•วัน•อังคาร•ที่ 12 •มิถุนายน• 2012 เวลา 17:01 น.• -
??Author: Administrator??
On Phrae Magazine นิตยสารแจกฟรี ฉบับประจำเดือนเมษายน เป็น On Phrae ฉบับที่สองแล้ว นำเสนอเนื้อหาสาระในรูปแบบของภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งเรื่องราวในเล่มส่วนใหญ่เกี่ยวกับจังหวัดแพร่ ทั้งการท่องเที่ยว พักผ่อน ศิลปวัฒนธรรม วัดในเมืองแพร่ รวมถึงอาหารการกินและกีฬาด้วย แลเราเพิ่มเติมเนื้อหาความบันเทิงด้านอื่น ๆ คัดสรรมาฝากให้ท่านผู้อ่านได้อ่าคลายเครียดกัน เนื้อหาเดือนเมษาเน้นอ่านสนุก สุขสำราญคลายร้อน แนะนำวิธีดับร้อนหลากหลานสไตล์ ให้ซัมเมอร์เมษานี้มีสีสัน นำเสนอแหล่งท่องเที่ยวเช่นอ่างแม่ถาง ที่ อ.ร้องกวาง ท่านสามารถเดินทางไปนั่งทอดอารมณ์บนแพท่ามกลางบรรยากาศธรรมชาติกลางสายน้ำและทิวเขา เสนอความรู้เรื่องวิถีชีวิตจากคนเก่าแก่ที่สืบทอดกันมาเกี่ยวกับ “น้ำส้มป่อย” ด้วยให้ทราบถึงที่มาและประเพณีอันเป็นสิริมงคล ส่วนคอลัมน์มองเมืองแพร่เรานำวัฒนธรรมและความเป็นมาของชาวไตลื้อเล่าสู่กันฟัง |
<< •เริ่มแรก• < •ย้อนกลับ• 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 •ถัดไป• > •สุดท้าย• >>
•หน้า 23 จาก 33•