ค้นหาบทความ
ราคาน้ำมันวันนี้
จำนวนนับผู้เข้าเยี่ยมชม
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้844
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้657
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้3855
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว6353
mod_vvisit_counterเดือนนี้18961
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว27825
mod_vvisit_counterรวมผู้เข้าชม2432011

ออนไลน์ (20 นาทีที่แล้ว): 14
หมายเลข IP : 18.117.71.213
MOZILLA 5.0,
วันที่ : 21 •พ.ย.•, 2024
ขณะนี้มีผู้เข้าชม
• เรามี• •20 บุคคลทั่วไป• •ออนไลน์•
ล้านนาแพร่ประชาสัมพันธ์
Vinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo Slider

พระราชหฤทัย ห่วงใยสุขภาพ

วันอังคารที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕ นายวัชรพงษ์ แสนใจยา นักโภชนาการโรงพยาบาลแพร่ ให้ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารแก่ประชาชนบ้านวังฟ่อน ตำบลหัวเมือง อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ในโครงการสนองน้ำพระราชหฤทัยในหลวงทรงห่วงใยสุขภาพประชาชน และกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนกลุ่มเสี่ยง โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคสมองขาดเลือด กับประโยคยอดฮิตที่ว่า “ไม่เป็นไรกินมื้อเดี่ยวเอง  เกิดมาทั้งที่ต้องกินให้ได้ กินเท่านี้ไม่ถึงกับตายหรอ กินให้มันตายๆๆไปซ่ะ” นอกจากนี้ยังมีนาย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขาพ บ้านหนองเสี้ยวให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวานในครั้งนี้ด้วย สนับสนุนงบประมาณโดยกองทุนประกันสุขภาพตำบลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านวังฟ่อน

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 12 •มิถุนายน• 2012 เวลา 17:43 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

On Phrae Magazine

On Phrae Magazine เมืองแพร่ตัวจริงเผยโฉมเล่มแรก ฉบับเดือนมีนาคม ๒๕๕๕ สารบัญในเล่มประกอบด้วย จากบรรณาธิการ สังคม On Phrae เรื่องจากปก โน่น นี่ นั่น?! ปฏิทินท่องเที่ยว Why? กินดี อยู่ดี อู้กำเมือง Super Model Forword Mail วัดในเมืองแพร่ มองเมืองแพร่ ดวงรายเดือน Exclusive สะ-หวา-ปาม ยานยนต์ Sport สามารถเป็นเจ้าของฟรีได้ที่ ร้านฮังเลคอฟฟี่, ร้านโซฟาย ,ร้านอาหารอ.ฉัตรชัย , ร่มไม้ กาแฟสด (ข้างสหกรณ์ออมทรัพย์ครูแพร่), เฮือนกาแฟ , อเมซอน ปั้มปตท.พลกฤต(ถ.ซุปเปอร์ไฮเวย์-เด่นชัย) , อเมซอน ปั้มปตท.เอปิโตรเลียม(ป่าแมต) , ร้านฟิลล์ คอฟฟี่ ถ.พยาพล , สวนอาหารบ้านฝ้าย , วีนา สวีท คาเฟ่(ใกล้สามแยกบ้านฝ้าย ห่างจากสารพัดช่างแพรประมาณ ๒๐๐ ม.) , ร้านอินทนิล ๖๕ กาแฟสด (ห้าแยกประตูมาร)่, RAC แพร่ , ซี เค ยางยนต์ แอนด์ เซอร์วิส (ถ.ซุปเปอร์ไฮเวย์ เส้นทางไปแยกร่องฟอง) , ฮังเล คอฟฟี่(หลัง ร.ร.นารี) อยากรู้จักเมืองแพร่ให้ครบทุกเรื่อง อ่าน On Phrae Magazine บทความต่อไปเราจะพาท่านไปรู้จักเจ้าของ Magazine On Phrae Magazine กันครับ แต่ตอนนี้เข้าไปกด Like ได้ที่ http://www.facebook.com/pages/ออนแพร่/383400935043480 ก่อนเลยครับพี่น้อง ขอบคุณ On Phrae Magazine ที่ให้เกียรติกับล้านนาแพร่ดอทคอมครับหวังเล็ก ๆ จะมี Magazine ออนไลน์บ้างครับทางล้านนาแพร่จะได้โหลดมาอ่านให้จุใจเลยครับ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 12 •มิถุนายน• 2012 เวลา 16:50 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

เมื่อเจ้าเชียงใหม่ต้อนรับฝรั่ง

ตอนที่ดร.แดเนียล แมคกิลวารี มิชชั่นนารีคนแรกเดินทางไปถึงเชียงใหม่ เจ้าหลวงเผอิญไม่อยู่ เจ้าหลานชายที่มีหน้าที่รับผิดชอบแทนไม่ทราบจะตัดสินใจอย่างไรก็เลยหลบไปบ้านนอก แต่ในที่สุดเมื่อเจ้าหลวงกลับมาก็ได้จัดการต้อนรับตามสมควรจนกระทั่งเดินทางกลับ การเดินทางครั้งนั้นถือว่าไปสำรวจเพื่อเตรียมไปทำงานเผยแพร่ต่อไป ต่อมาอีกสามปีจึงได้พากันเดินทางขึ้นไปเป็นคณะ ทั้งนี้โดยทางกงสุลอเมริกันได้ติดต่อขอความช่วยเหลือจากเสนาบดีกระทรวงต่างประเทศ ช่วยนำหนังสือขึ้นทูลเกล้าถวายในหลวง ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเปิดสำนักขึ้นที่เชียงใหม่ ในหลวงทรงให้คำตอบว่า อำนาจใจเรื่องนี้มิได้อยู่ที่พระองค์ท่าน เพราะพระองค์ท่านยังไม่สามารถจะบังคับประชาชนชาวเชียงใหม่ในเรื่องงของมิชชั่นได้ ขณะนั้นเจ้าหลวงก็ยังพักอยู่ในกรุงเทพฯ ถ้าเจ้าหลวงยินยอมรัฐบาลไทยก็ไม่ขัดข้อง เพราะฉะนั้น ขอให้ไปเฝ้าพระเจ้าเชียงใหม่ ซึ่งในหลวงโปรดเกล้าให้พนักงานไปด้วยคนหนึ่ง เพื่อจะได้กลับไปรายงานกราบบังคมทูลให้ทรงทราบ ดังนั้นหมอแดเนียลกับคณะจึงพากันไปที่ท่าน้ำซึ่งกระบวนเรือของเจ้าเชียงใหม่จอดอยู่ ในเช้าวันเสาร์ พระเจ้ากาวิโลรศพระเจ้าเชียงใหม่ ก็แต่งกายแบบพื้นเมืองตามสบายของท่าน คือนุ่งผ้าแต่ไม่สวมเสื้อ มีผ้ายี่โป้พาดบ่า มีไม้ถืออันเล็ก ๆ ออกมาต้อนรับนายแพทย์ชาวอเมริกันที่ท่าน้ำ...

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วัดห้วยขอน

วัดห้วยขอนตั้งอยู่เลขที่ ๓๐๖ บ้านห้วยขอน ตำบลห้วยหม้าย อำเภอสอง จังหวัดแพร่ เบอร์โทรศัพย์ ๐๕๔-๕๘๖๒๒๒, ๐๘๖-๖๐๕๐๘๒๙, ๐๘๔-๔๘๔๕๘๒๘ วัดห้วยขอนสร้างเมื่อ วันที่ ๕ เดือน เมษายน พ.ศ ๒๔๘๑ วัดห้วยขอน ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ ๒๔๘๖ สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๔ ไร่ มีอาณาเขต ทิศเหนือ ติดกับ โรงเรียนบ้านห้วยขอน ทิศใต้ ติดกับ ลำห้วยห้วยขอน ทิศตะวันออก ติดกับบ้านห้วยขอนหมู่ที่ ๑๑ ทิศตะวันตก ติดกับบ้านห้วยขอนหมู่ที่ ๓ ประวัติโดยย่อของการสร้างวัดห้วยขอน ก่อนนั้นบ้านห้วยขอนเป็นเพียงหมู่บ้านป่าเล็กๆ หมู่บ้านหนึ่งเท่านั้นยังไม่มีวัดวาอารามดัง เช่นปัจจุบัน ชาวบ้านห้วยขอนแต่ก่อนนั้นถ้าหากจะทำบุญตักบาตรก็ต้องไปที่วัดหล่ายร้คง (วัดห้วยหม้ายเดิม) เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๑๓ วัดหล่ายร้องถูกน้ำยมท่วมพระวิหารและกุฏิถูกน้ำพัดเสียหายหมดจึงได้ย้ายมาสร้างที่วัดห้วยหม้ายในปัจจุบันนี้

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 08 •มิถุนายน• 2012 เวลา 17:05 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ขอบคุณเดลินิวส์

เว็บไซต์รวมถึงทีมงานขอบคุณเดลินิวส์หนังสือพิมพ์รายวันและเว็บไซต์ http://www.dailynews.co.th/ ที่เห็นความสำคัญของชุมเล็ก ๆ ในจังหวัดแพร่ทำให้เราทุกคนมีกำลังใจที่จะบอกเล่าเรื่องราวข่าวสารในท้องถิ่นโดยไม่หวังผลกำไรต่อไป สังคมเมืองแพร่ยังต้องการผู้ที่เสียสละเห็นแก่ปะโยชน์ของชุมชนอีกมาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ทำให้เราเห็นได้ว่ายังมีสื่อที่ให้ความสำคัญต่อชุมชนเสมอมา ผมขออนุญาตกล่าวประวัติหนังสือพิมพ์เดลินิวส์เพื่อเป็นการขอบคุณครับ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 06 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 17:28 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

๒,๖๐๐ ปี พุทธชยันตี

วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ตรงกับวันจันทร์ที่ ๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๕ หมู่บ้านวังฟ่อนทำบุญเนื่องในวันวิสาขบูชา ซึ่งเป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และร่วมรำลึกพุทธชยันตี  โอกาสครอบรอบ ๒,๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้ ขององค์ตถาคตอีก เมื่อ ๔๕ ปี ก่อนพุทธศักราช (พุทธปรินิพพาน) พุทธชยันตี หรือสัมพุทธชยันตี (Sambuddha jayanthi) เป็นเทศกาลสำคัญทางพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท เกี่ยวเนื่องกับวันวิสาขบูชา คำว่า พุทธชยันตี มาจากศัพท์ พุทธ+ชยันตี (สันสกฤต: जयंती) ที่แปลว่า วันครบรอบ (Anniversary) ในภาษาสันสกฤต พุทธชยันตีจึงแปลว่า การครบรอบวันเกิดของพระพุทธเจ้า หรือวันครบรอบชัยชนะของพระพุทธเจ้าก็ได้ "พุทธชยันตี" ใช้เรียกการจัดกิจกรรมในปีที่ครบรอบวาระสำคัญของพระพุทธเจ้า เช่น ครบรอบ ๒,๕๐๐ ปี แห่งปรินิพพาน หรือ ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ ในแต่ละประเทศ อาจใช้ชื่อต่างกันไปบ้างเช่น ศรีสัมพุทธชันตี สัมพุทธชยันตี แต่ทั้งหมดก็คือการจัดกิจกรรมพุทธชยันตี เพื่อมุ่งหมายการถวายเป็นพุทธบูชาในปีที่ครบรอบวาระสำคัญของพระพุทธเจ้า เวลา ๒๑.๐๐ น. ทางวัดวังฟ่อนได้จัดกิจกรรมเวียนเทียนเพื่อรำลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•จันทร์•ที่ 04 •มิถุนายน• 2012 เวลา 22:39 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

เจ้าหญิงเชียงใหม่กับกุลวาขาว

พระเจ้ากาวิโลรศพระเจ้าเชียงใหม่มีราชบุตรีสององค์ทรงนามว่า เจ้าหญิงทิพเกสร กับเจ้าหญิงอุบลวรรณา เจ้าหญิงทั้งสองทรงคุ้นเคยกับดร.แดเนียล แมคกิลวารี เป็นอย่างดีดังได้เคยเล่าให้ฟังบทความก่อนหน้า ดังนั้น ตอนที่หมอแดเนียลขึ้นไปเชียงใหม่ ก็หวังพึงเจ้าหญิงว่าคงช่วยเพ็ดทูลเจ้าพ่อของเธอ เพื่อเป็นแนวทางแก่การก่อสร้างสถานีเผยแพร่ศาสนาแต่ไป แต่มีผลไม่มากเพราะเจ้าหญิงก็ไม่ได้ทรงอำนาจเด็ดขาด เพียงแต่รับปากว่าผู้ถือศาสนาคริสเตียนจะไม่ถูกข่มเหงเบียดเบียนแต่อย่างใด แต่เรื่องหนานชัยกับหนานน้อยสัญญาเป็นเรื่องเหลือวิสัยที่เจ้าหญิงจะทรงช่วยได้ เพราะสองคนนั่นละเมิดคำสั่งของเจ้าชีวิต

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 02 •มิถุนายน• 2012 เวลา 23:27 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วัดลูนิเกต

บันทึกเหตุการณ์วัดบ้านลูตั้งอยู่บนฝั่งขวา ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำยมในเขตตำบลห้วยหม้าย (เดิมขึ้นกับตำบลบ้านหนุน) อำเภอสอง จังหวัดแพร่ วัดลูนิเกตเดิมเรียกสั้น ๆ ว่า วัดลู แต่มีสร้อยออกไปว่า วัดลูนิเกต นั้นเป็นนามที่เพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ทางเจ้าคณะจังหวัดแพร่เพิ่มให้วัดนี้ เมื่อมาตั้งครั้งแรกได้ขนานนามชื่อวัดไปตามชื่อของหมู่บ้าน ตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ทราบว่า เดิมนำยมได้พังเข้ามาติดกับตลิ่งหรือกับฝั่งที่อยู่หน้าวัดทุกวันนี้แต่ตอนตะวันตอนตะวันตกเฉียงเหนือของวัดขึ้นไปมีน้ำวังน้ำลึกและตรงฝั่งมีรูลึกเข้าไป แต่จะลึกเข้าไปเท่าไหร่นั้นไม่ปรากฏและวังน้ำนั้นยังถูกเรียกว่าวีงรูด้วยในขณะนั้นนั้นยังมีปูลูอยู่ด้วยเป็นจำนวนมากจึงเรียกว่าบ้านลูอีกในหนึ่งก็เรียกไปตามปูลูแต่ต่อมาที่ตรงนั้นก็กลายเป็นหนองน้ำไปสังเกตไม่ได้ว่ารูจะอยู่ที่ตรงไหนเพราะเมื่อน้ำยมได้ย้ายไปเดินฝากตะวันออก ยังฝั่งซ้ายที่นั้นจึงกลายเป็นหนองน้ำไปและถูกโคลนและหินทรายทับถมจึงตื้นเขินไปหมดจึงเป็นอันยุตติว่าประชาชนผู้ตั้งบ้านเรือนที่แรกได้ขนานนามว่า บ้านรู วัดจึงถูกเรียกชื่อวัดไปตามบ้านจนถึงปัจจุบัน หมายเหตุการณ์เปลี่ยนชื่อ รู เป็น ลู นั้นในปัจจุบันมันมีความหมายว่าภาษาไทยว่า ร นั้นคือ ภาษาพายัพเราเรียกว่า ฮู ซึ่งมีความหมายที่ไม่แน่ชัดจึงเปลี่ยนชื่อเป็นลู  ต่อมาต้องการเปลี่ยนชื่อใช้เป็นสิริมงคลและสวยงามจึงเติมคำตามหลังหรือสร้อย จึงมีชื่อว่า ลูนิเกต

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 02 •มิถุนายน• 2012 เวลา 12:46 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

เซ่นไหว้เจ้าป่อดงอาฮัก ๒๕๕๕

วันอังคารที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ออก ๙ ค่ำ เดือน ๙ หมู่บ้านวังฟ่อนกลุ่มอนุรักษ์ทำพิธีเซ่นไหว้เจ้าป่อดงอาฮัก เจ้าป่อองค์ทิพย์ เจ้าป่อหลาวเหล็ก เจ้าป่อหลาวทอง นางเตวี ซึ่งเป็นประเพณีประจำหมู่บ้านที่จัดขึ้นทุกปี เป็นเวลายาวนานกว่า ๑๖๐ ปี สมัยป่อใหญ่ราษนำกลุ่มชาวบ้านมาตั้งบ้านแปงเฮือนบริเวณหมู่บ้านแห่งนี้ เนื้อที่ป่ากว่า ๘๔ ไร่ เป็นผืนป่าชุมชนที่ทางหมู่บ้านได้อนุรักษ์ไว้ให้คงอยู่ชั่วลูกชั่วหลาน เจ้าป่อก็เป็นความเชื่อในยุคที่บ้านเมืองขาดความเจริญ ขาดไฟฟ้า โรงพยาบาล โรงเรียน ถนน ประชาชนต่างหาที่พึ่งยึดเหนี่ยวจิตใจและเป็นการทำกิจกรรมที่ทำให้เกิดความสามัคคีไม่เกิดความแตกแยกในชุมชน ระหว่างที่องค์ลง (เจ้าป่อเข้าร่างทรง) ทีมงานได้ขอให้เจ้าป่อพูดไปถึงพี่น้องที่อยู่ต่างบ้านต่างเมืองเจ้าป่อบอกให้ดูแลรักษาสุขภาพให้ดี มีปัญหาเดือดเนื้อร้อนใจมีสิ่งไม่สบายใจก็ให้จุดธูปสามดอกให้ระลึกถึงเจ้าป่อแล้วเจ้าป่อจะได้ช่วยปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายออกไป นอกจากเจ้าป่อจะกล่าวปราศรัยกับชาวบ้าน ผอ.โรงเรียน สอนเด็กนักเรียนให้ทำแต่ความดี แล้ว ทางผู้นำหมู่บ้านก็ถือโอกาสนี้ถมทรายตามทางเข้าศาลเจ้าพ่อเพื่อให้รถผ่านได้สะดวก ถือเป็นการพัฒนาพื้นที่ป่าไปในตัว

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พุธ•ที่ 30 •พฤษภาคม• 2012 เวลา 20:25 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วัดและบ้านแม่คำมีตำหนักธรรม

บ้านตำหนักธรรมหรือบ้านแม่คำมีตำหนักธรรมเดิมชื่อบ้านไฮ่...บ้านไร่ เหตุที่ชื่อว่าบ้านไร่ เพราะราษฎรที่มาตั้งถิ่นฐานครั้งแรกอพยพมาจากบ้านเหมืองค่า  บ้านสบู   อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ และบ้านตอนิมิต อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ราษฎรเหล่านั้นได้มาทำไร่ทำสวนปลูกฝ้าย ปลูกอ้อย ปลูกข้าว ฯลฯ ซึ่งติดกับบริเวณลำห้วยแม่คำมีประมาณ ๒๐ หลังคาเรือน แล้วเรียกชื่อหมู่บ้านตัวเองว่าบ้านไร่  ประมาณปี  พ.ศ.  ๒๕๒๐  ต่อมามีชาวบ้านคนหนึ่งชื่อนายเต๋ ได้นำแพะมาเลี้ยงที่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้าน และมีร่องน้ำเล็กๆ อยู่ข้างบ้านจึงเรียกว่าร้อง(ร่อง) ปู่เต๋ ต่อมามีราษฎรมาอาศัยมากขึ้น แล้วพร้อมใจกันตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านแม่คำมีแพะ” ทั้งนี้เพราะมีการเลี้ยงแพะกันมากนั่นเอง เมื่อตั้งหมู่บ้านขึ้นแล้ว ก็ได้ตั้งวัดขึ้นเป็นครั้งแรกในบริเวณท่าร้างซึ่งอยู่ในซอย ๓  ตรงกันข้ามโรงเรียนแม่คำมีตำหนักธรรม  (ตำหนักธรรมวิทยาคาร)

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 14 •กุมภาพันธ์• 2014 เวลา 20:10 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ชัยชนะของแมคกิลวารี

สุภาพบุรุษผิวขาวผู้สูงอายุนั้น เป็นสิ่งแปลกประหลาดมหัศจรรย์สำหรับชาวนครพิงค์ยิ่งนักเขามีรูปร่างอันสูงใหญ่ มีเครายาวสีทอง มีดวงตาสีน้ำเงินแกมเทาอ่อนๆเต็มไปด้วยแววความปราณี ศีรษะล้านเถิกเข้าไป แต่สวนหลังยังมีปอยผมสีทองปกคลุมอยู่มากและมีผิวเนื้อเป็นสีชมพูเรื่อไปทั้งตัว จมูกโด่งแหมเป็นของุ้ม ไม่มีส่วนใดที่จะคล้ายคลึงกับ “คนเมือง” ทั่วไปแม้แต่น้อย มันเป็นวันหนึ่งในฤดูร้อนขณะที่เรือใหญ่สองลำบรรทุกบุคคลแปลกหน้ารวมทั้งสัมภาระถูกบังคับให้ลอยทวนน้ำมาขึ้นบกที่เกาะน้อยทางทิศใต้ของนครพิงค์เชียงใหม่สองบุรุษสตรีผู้มาจากถิ่นไกลได้ก้าวขึ้นจากเรือเหยียบลงแผ่นดินซึ่งไม่เคยรู้จักมาก่อนด้วยปณิธานอันแน่วแน่และพลังใจอันแข็งแกร่งที่จะต่อสู้กับทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อศาสนกิจของ “พระผู้เป็นเจ้า”

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 20 •พฤษภาคม• 2012 เวลา 14:15 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

อเมริกันคนแรกที่ไปเชียงใหม่

สมัยก่อนระยะทางกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ต้องใช้เวลาเดินทางถึงสามเดือน อเมริกันถึงกรุงเทพฯ ใช้เวลาเพียง ๑๐๐ วันก็ถือว่าเก่งที่สุดแล้วท่านเขียนเล่าไว้ในหนังสือเล่มหนึ่งว่า “ข้าพเจ้ามาอยู่ในกรุงเทพฯแล้ว  ดูราวข้าพเจ้าหลับไป แล้วตื่นขึ้นมาอยู่ในโลกใหม่ ... ในกรุงเทพฯ ที่ซึ่งข้าพเจ้าหวังจะยึดเป็นภูมลำเนาของข้าพเจ้าต่อไป”  ดร.แดเนียล แมคกิลวารี สุภาพบุรุษนักบุญอเมริกันคนแรกที่ไปเชียงใหม่ผู้กล่าว หรือที่ชาวเมืองชอบเรียกกันว่าพ่อครูเฒ่าและเป็นผู้ที่มีส่วนเปลี่ยนแปลงโฉมหน้านครเชียงใหม่อยู่ไม่น้อย นอกเหนือจากงานเผยแพร่ศาสนาแล้วยังมีอย่างอื่นที่น่าสนใจอีกเป็นอันมาก  หมอแมคกิลวารีและภรรยาได้มีโอกาสเข้าเฝ้าเจ้านายเชียงใหม่สมัยโน้นแล้วเขียนไว้ในบันทึก ทำให้เราได้ทราบถึงจริยาวัตรของเจ้านายเชียงใหม่บางพระองค์สมัยโน้น ใครโง่ ใครฉลาด ใครมีแนวคิดเห็นเป็นอย่างไรต่อความเจริญแผนใหม่ ก็จะได้รู้จากบันทึกของท่าน ในปี ค.ศ. ๑๘๕๘ ซึ่งตรงกับปีพุทธศักราช ๒๔๐๑ ที่นายแพทย์หนุ่มโสดชาวอเมริกันเดินทางมาถึงสยามประเทศ วันที่ ๒๐ มิถุนายน ซึ่งขณะนั้น หมอบลัดเลย์ได้เข้ามาอยู่ในกรุงเทพก่อนแล้ว หมอบลัดเลย์มีที่พักอยู่ใกล้ ๆ กับวัดอรุณราชวราราม และก็ที่ลานวัดอรุณชาวบ้านทั่วไปแรกว่าวัดแจ้ง ก็เป็นที่พักจอดเรือของเจ้านายทางเชียงใหม่พร้อมทั้งบ่าวไพร่บริวารที่เดินทางมาเยือนพระนครหลวง จากความพยายามของหมอบลัดเลย์พวกเจ้าจึงได้เข้าไปรู้จักสนิทสนมกับเจ้านายฝ่ายเหนือได้ไม่ยากนัก พยายามเป็นเพื่อนที่ดี เชื้อเชิญให้ไปเที่ยวโรงพิมพ์และที่บ้าน ปลูกฝีให้เมื่อท่านเหล่านั้นต้องการจะปลูก และแล้วก็เลยเล่าถึงกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ ตอนนั้นตรงกับการปกครองของพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยุคที่เริ่มคบหากับฝรั่ง

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 19 •พฤษภาคม• 2012 เวลา 08:57 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

อนุสรณ์และวัดวังหงส์ อำเภอเมือง

ประวัติของบ้านวังหงส์นั้นไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดเป็นลายลักษณ์อักษรของการตั้งหมู่บ้านเป็นตำนานสืบสานเล่าต่อกันมาว่า บ้านวังหงส์ตั้งขึ้นมาก่อน พ.ศ.๒๔๔๐มีอายุถึงปัจจุบัน ๒๐๐กว่าปี ราษฎรที่อาศัย      ที่ตั้งหลักฐานดั้งเดิม ซึ่งเป็บรรพบุรุษของชาวตำบลวังหงษ์ ตามประวัติอพยพมาจากบ้านน้ำคือ บ้านเชตะวัน บ้านประตูมาร ตำบลในเวียงอำเภอเมือง จังหวัดแพร่ โดยมาประกอบอาชีพทำไร่ข้าวโพด ปลูกข้าวและพืชไร่อื่น ๆ ในพื้นที่ใกล้กับหนองน้ำซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ มีน้ำใสสะอาด และลึกมาก เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วังน้ำลึก หนองน้ำดังกล่าวเกิดจากการเปลี่ยนทิศทางของแม่น้ำยม ในหนองน้ำมีสัตว์นานาชนิดอาศัยอยู่มากมาย บริเวณรอบ ๆ หนองน้ำมีป่าไม้ขนาดใหญ่นานาชนิดขึ้นหนาแน่นเขียวชะอุ่มอยู่ตลอดปี ในสมัยก่อนหมู่บ้านแห่งนี้ยังไม่มีนามบ้าน และยังไม่ได้จัดตั้งเป็นหมู่บ้านและตำบลเช่นทุกวันนี้ อยู่มาวันหนึ่งมีหงษ์ขาวบริสุทธิ์รูปร่างสวยงามมาก จำนวนสองตัว ตัวผู้กับตัวเมีย พากันบินลงมาเล่นน้ำอย่างสนุกสนาน แล้วจึงบินลับไป ซึ่งเป็นภาพที่มหัศจรรย์ที่ชาวบ้านไม่เคยพบเห็นมาก่อน จึงปรึกษากันว่าจะตั้งชื่อหนองน้ำนี้ว่า "หนองหงษ์" และตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านหนองหงษ์"

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 22 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 16:01 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วัดโทกค่า

วัดโทกค่า ตำบลแดนชุมพล อำเภอสอง จังหวัดแพร่ เป็นวัดที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องจากคณะศรัทธาในหมู่บ้านและต่างจังหวัด ผมได้มีโอกาสได้เข้าไปบันทึกภาพวันที่ศรัทธาจากกรุงเทพได้มีการถวายพระพุทธรูป และมีโอกาสได้ถามเรื่องราวประวัติปรากฎว่าทางวัดยังไม่ได้ทำประวัติจึงฝากให้ทางผู้นำช่วยกันทำขึ้นมาครับเพื่อลูกหลานจะได้ศึกษาเรียนรู้ถึงเรื่องราวในชุมชนฝากทางอำเภอสองช่วยประสานด้วยนะครับ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 15 •พฤษภาคม• 2012 เวลา 07:59 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

พญาจ่าบ้าน ขุนศึกใจสิงห์

พญาจ่าบ้านคนนี้มีศักดิ์เป็นน้าชายเจ้ากาวิละ และเป็นผู้ต้นคิดชักชวนให้เจ้ากาวิละกระทำการกอบกู้อิสรภาพจากการปกครองของพม่า เพราะความเจ็บช้ำน้ำใจที่ถูกพม่ากดขี่ข่มเหงประชาชนตามวิสัย “ใครมาเป็นเจ้าปกครอง คงจะต้องบังคับขับไส” ขณะที่ทางกรุงศรีอยุธยาก็ถูกกองทัพอันเกรียงไกรของอะแซหวุ่นกี้รุกเข้าตีแตก เผาผลาญบ้านเมือง กวาดต้อนเอาครอบครัวและทรัพย์สมบัติไปเป็นอันมาก ทางเชียงใหม่ก็หวานอมขมกลืนอยู่ใต้อำนาจของพม่าอย่างน้ำตาตกใน เมื่ออภัยคามินีที่ครองเมืองเชียงใหม่ถึงแก่กรรม โป่มะยุง่วนที่เรียกกันง่าย ๆ ว่า “โป่หัวขาว” เพราะชอบโพกศีรษะด้วยผ้าขาว ได้มาครองเมืองเชียงใหม่แทน โป่หัวขาวผู้นี้โหดร้ายใจอำมหิตชอบกดขี่ทำทารุณกรรมต่อชาวเมืองอยู่เสมอจึงเกิดปะทะกันขึ้นบ่อย ๆ ระหว่างชาวเมืองเชียงใหม่ผู้รักษาเกียรติศักดิ์เสรี ดังเช่นครั้งแรกก็มีจักกายน้อยพรม ซึ่งหาญเข้าปะทะกับพม่ากลางเมืองกระทั่งตัวเองต้องถึงแก่ชีวิตในการต่อสู้ ครั้งที่สองก็คือพญาจ่าบ้านปะทะกับโป่มะยุง่วนในขณะที่ตัวเองอยู่ในสภาพเปรียบเหมือนลูกแกะน้อยที่อยู่ในอำนาจของราชสีห์ การต่อสู้กันอย่างดุเดือดกลางเมืองครั้งนั้น พญาจ่าบ้านเป็นฝ่ายแพ้และนีไปหาโป่สุพลาที่เมืองล้างช้างพร้อมกับทหารคู่ใจจำนวนหนึ่ง “ตอนนั้นกองทัพไทยก็ตั้งอยู่ที่กำแพงเพชรแต่การจะหนีไปแค่กำแพงเพชร พญาจ่าบ้านท่านก็คงคิดแล้วว่าโป่มะยุง่วนคงไปตามจับตัวได้แน่ๆจึงตัดสินใจหนีไปหาโป่สุพลา ซึ่งโป่มะยุง่วนยำเกรงมากพอไปอยู่กับโป่สุพลาไม่นานพระเจ้าตากสินก็ยกกองทัพเข้าไปประชิดเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ.๒๓๑๔ ทรงตั้งค่ายล้อมอยู่ได้ ๙ วันก็ถอยทัพกลับไป

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 15 •พฤษภาคม• 2012 เวลา 10:05 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

อบรมคุณธรรมจริยธรรมเยาวชน

ภาพกิจกรรมองค์การบริหารส่วนตำบลหัวเมืองจัดทำโครงการอบรมคุณธรรมจริยธรรมเยาวชนตำบลหัวเมืองขึ้น  ณ อุทยานแห่งชาติดอยผากลองในวันพุธ ที่ ๙ - วันพฤหัสบดี ที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เพื่อพัฒนาคนโดยเฉพาะเยาวชน ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนให้ประเทศพัฒนา ให้เป็นผู้ที่มีคุณธรรมจริยธรรมและเรียนรู้การใช้ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุดและรักษาสิ่งแวดล้อมพร้อมทั้งลดมลพิษ  ยึดหลักความพอเพียงของวิถีชีวิตที่มีความสัมพันธ์และการพึ่งพิงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐  มีทิศทางการพัฒนาโดยกำหนดขึ้นบนพื้นฐานการเสริมสร้างทุนของประเทศทั้งทุนทางสังคม ทุนเศรษฐกิจ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 15 •พฤษภาคม• 2012 เวลา 10:40 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

เจ้าเมืองแพร่ ลำดับที่ ๔๘

"ข้าพเจ้า จะรักษาไว้ซึ่ง ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ข้าพเจ้าจะปฏิบัติตนอยู่ในกรอบของกฎหมายยึดความสงบ ความสันติ และรู้รักสามาคคี ข้าพเจ้าจะปกครอง ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ด้วยชีวิต" คํากล่าวปฎิญาณตนที่ผู้ว่าราชการเปิดโครงการจังหวัดเคลื่อนที่ ขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และหน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน ทุกครั้ง นายเกษม วัฒนธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ลำดับที่ ๔๘ เกิดวันอาทิตย์ ที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๕ สำเร็จการศึกษาจากรัฐศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมดี) จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อบรมหลักสูตรนายอำเภอ รุ่นที่ ๒๗ อบรมหลักสูตรนักปกครองระดับสูง รุ่นที่ ๒๘ ปัจจุบันท่าได้พักอยู่ ณ จวนผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ตำแหน่งที่สำคัญเฉพาะ (ตั้งแต่ระดับ๘ ขึ้นไป)

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พุธ•ที่ 09 •พฤษภาคม• 2012 เวลา 20:48 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วัีดแม่คำมีรัตนปัญญา

ประวัติการสร้างวัดแม่คำมี วัดแม่คำมีเป็นวัดที่เก่าแก่วัดหนึ่งของอำเภอร้องกวาง ซึ้งตั้งอยู่เลขที่ ๑ หมู่ที่ ๓ ตำบลแม่คำมี อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ (ปัจจุบันเป็นอำเภอหนองม่วงไข่) โดยเริ่มสร้างขึ้นก่อน พ.ศ. ๒๔๐๕ ประมาณ ๖๐ ปี ได้มีการพัฒนาโดยลำดับ ในสมัยนั้นชาวบ้านแม่คำมีเรียกกันว่า “บ้านอ้องพ้อง” โดยมีชาวบ้านอพยพมาจากในตัวจังหวัดแพร่ อยู่กันเป็นหย่อม ๆ จึงมีชื่อเรียกกันอย่างนั้น ชาวบ้านเริ่มจับจองพื้นที่ถางป่าเพื่อใช้ทำการเกษตรเลี้ยงชีพ เมื่อมีประชากรมาอยู่รวมกันมากขึ้น ชาวบ้านจึงพากันสร้างวัดขึ้นเพื่อทำนุบำรุงศาสนา และใช้ในการประกอบศาสนพิธีตามวิถีแห่งพุทธ ต่อมาภายหลังบ้านอ้องพ้องก็เปลี่ยนชื่อเป็น “บ้านแม่คำมี” ตั้งตามชื่อของลำน้ำแม่คำมี โดยที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ อดีตเจ้าคณะจังหวัดแพร่ เป็นผู้ตั้งให้ ต่อมาวัดแม่คำมีได้ขึ้นทะเบียนเป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๔๐๕ โดยมีพระมโนธรรมเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 14 •กุมภาพันธ์• 2014 เวลา 20:10 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วีรบุรุษกาวิละ (ตอนกู้อิสรภาพ)

ฝ่ายเจ้าคำโสมและพี่น้อง พอทราบข่าวว่าพม่าจับตัวบิดาไปจำคุกไว้ก็ตกใจเกรงว่าพม่าจะฆ่าเจ้ากาวิละให้คิดอ่านแก้ไขแต่เจ้ากาวิละกลับบอกว่า ข้าศึกก็เป็นมนุษย์เดินดินเหมือนกัน เราจะยกทัพไปรบกับมันส่วนบิดาเรานั้นหากว่าบุญเรามีก็คงได้พบกันหากว่าบุญไม่มี ก็แล้วแต่บุญแต่กรรมเถิด นับว่าเจ้ากาวิละเห็นแก่ประโยชน์ของชาติบ้านเมืองยิ่งกว่าเรื่องส่วนตัว แล้วเจ้ากาวิละก็เร่งเตรียมทัพไปต้อนรับทัพกรุศรีอยุธยาแต่เจ้าคำโสมผู้น้องเป็นห่วงบิดาอยู่ ก็จัดสิ่งของเครื่องบรรณาการแต่งผู้คนที่ฉลาดในการเจรจาไปยังเมืองเชียงใหม่ พร้อมกับจดหมายถึงโป่มะยุง่วนฉบับหนึ่งมีใจความว่า เจ้ากาวิละเกิดทะเลาะกับจักกายศิริจอสูถึงกับฆ่าฟันกันนั้น ก็เพราะเจ้ากาวิละวิกลจริต พวกข้าพี่น้องทั้งหกหารู้เห็นเป็นใจด้วยไม่ ขออย่าทำโทษฆ่าบิดาของข้าพเจ้าทั้งหกเลย โป่มะยุง่วนก็ให้งดลงอาญาเจ้าฟ้าชายแก้วแต่ให้เอาตัวจำคุกไว้ก่อน ขณะนั้นกองทัพไทยยกมาถึงลำปางแล้ว เจ้ากาวิละจึงแต่งให้เจ้าดวงทิพย์ผู้น้องออกไปรับทัพไทยก่อน ส่วนตัวเจ้ากาวิละนำเสบียงอาหารออกไปต้อนรับทัพหลวงแล้วนำกองทัพหลวงแล้วนำกองทัพหลวงมายังเชียงใหม่ โดยเดินทัพมาทางดอยดินแดงและดอยบา เพื่อสมทบกับกองทัพของพระยากำแพงเพชรและพระสุระที่พญาจ่าบ้านนำขึ้นมา

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 04 •พฤษภาคม• 2012 เวลา 19:05 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ทานที่ให้แล้วในสงฆ์แบบใด จึงมีผลมาก

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๘ จำพวกเหล่านี้ เป็นผู้ควรแก่ของบูชา ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า. ๘ จำพวกอะไรบ้างเล่า ? ๘ จำพวก คือ :-

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 03 •กรกฏาคม• 2014 เวลา 21:54 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

<< •เริ่มแรก• < •ย้อนกลับ• 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 •ถัดไป• > •สุดท้าย• >>

•หน้า 24 จาก 33•