ค้นหาบทความ
ราคาน้ำมันวันนี้
จำนวนนับผู้เข้าเยี่ยมชม
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้231
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้731
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้3463
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว4342
mod_vvisit_counterเดือนนี้13231
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว15525
mod_vvisit_counterรวมผู้เข้าชม2261462

ออนไลน์ (20 นาทีที่แล้ว): 7
หมายเลข IP : 3.133.87.156
MOZILLA 5.0,
วันที่ : 27 •เม.ย.•, 2024
ขณะนี้มีผู้เข้าชม
• เรามี• •13 บุคคลทั่วไป• •ออนไลน์•
ล้านนาแพร่ประชาสัมพันธ์
Vinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo Slider

การศรัทธาและการงานที่ดี

รากฐานที่สำคัญที่สุดสำหรับความสุข(ในการดำรงชีวิตของอิสลาม) คือ การศรัทธาและการงานที่ดี ดังที่อัลลอฮุ(ซ.บ)ทรงตรัสไว้ ว่า "ผู้ใดทีีได้กระทำการงานที่ดี ทั้งชายและหญิงในฐานะที่เขาเป็นผู้ศรัทธา เรา (อัลลอฮุ) จะให้เขามีความเป็นอยู่ที่ดี และเราจะให้ผลตอบแทนแก่พวกเขา ด้วยสิ่งที่ดีที่สุดที่พวกเขาได้กระทำไว้" (อัลนะฮลุ:97) อัลลอฮุ(ซ.บ) ได้ทรงสัญญาแก่ผู้ที่ได้รวมการศรัทธาและการงานที่ดีไว้ด้วยกันว่า อัลลอฮุ (ซ.บ) จะทรงให้ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีและผลตอบแทนที่ดีที่สุดแก่เขา ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า บรรดาผู้ที่ศรัทธาต่ออัลลอฮุ(ซ.บ)อย่างถูกต้องนั้น การงานที่ดีจะส่งผลให้สามารถปรับปรุงจิตใจและจรรยามารยาททั้งในโลกนี้และโลกหน้า พวกเขาจะมีหลักสำคัญซึ่งเป็นรากฐานที่จะต้องเผชิญในสิ่งต่างๆ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 15 •กุมภาพันธ์• 2013 เวลา 09:28 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ก.พ. ๕๖

วันอังคารที่ ๕ ก.พ. ๕๖ สำหรับตรวจเลือด คือ สุขภาพประจำปีสำหรับผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง หรือ yearly checkup ขอบคุณเจ้าหน้าที่ วีรภัทร กันหมุด รพ สต หนองเสี้ยว, เกียรติสกุล ทองประไพ รพสตหัวเมือง, รัตน์ชรีญาภรณ์ ฤทธิศาสตร์ รพสต แดนชุมพล ในการช่วยให้บริการประชาชนครับ: วันอังคารที่ ๑๒ ก.พ. ๕๖ มหกรรมสุขภาพดี หุ่นสวย เอวบาง สร้างได้ด้วยฮูลาฮูปพร้อมกันทั่วประเทศ ๑๒ กพ เพื่อสร้างกระแสออกกำลังกายต้านโรคเรื้อรัง และเพื่อสร้่างสถิติโลกลงกินเนสบุค วันพุธที่ : ๑๓ ก.พ. ๕๖ บริการตรวจสุขภาพประจำปีนักเรียนสามเณรโรงเรียนวังฟ่อนวิทยา มีบริการตรวจวัดน้ำตาลในเลือด ตรวจฟัน วัดความดัน ส่วนสูง และน้ำหนัก แนวคิดการทำงาน : สุขภาพนั้นเป็นกระแสคลื่น (Spectrum) ที่ต่อเนื่องและเชื่อมโยงกัน ตั้งแต่ขณะที่ไม่เจ็บป่วย ไม่มีอาการ มีอาการ เจ็บป่วยเฉียบพลัน และเจ็บป่วยรุนแรง และในบางรายมีภาวะผิดปกติที่เรื้อรัง ไม่หายขาด กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน บางภาวะก็จะไม่มีอาการผิดปกติทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ บางภาวะก็จะมีอาการผิดปกติ ขึ้นๆ ลงๆ ขึ้นกับระยะการป่วยและการดูแลสุขภาพ แต่คนที่มีโรคเรื้อรังมิได้แปลว่าเขาจะเป็นคนที่ป่วยตลอดเวลา หรือจะมีอาการผิดปกติตลอด เขาสามารถมีภาวะที่สุขภาพดีแม้ว่าบางส่วนของร่างกายจะมีพยาธิสภาพ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 14 •กุมภาพันธ์• 2013 เวลา 14:37 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ค่ายศิลปินรุ่นเยาว์นักสร้างหนังสั้น

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ กำหนดจัดค่ายศิลปินรุ่นเยาว์นักสร้างหนังสั้น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชน มีความรู้ ได้แสดงความคิดเห็น ทัศนคติ มุมมอง แง่คิดในการดำเนินชีวิต ตามแบบวิถีไทย และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยถ่ายทอดเรื่องราวสู่สาธารณชนผ่านสื่อหนังสั้น กำหนดดำเนินการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่เด็กและเยาวชนที่มีความสนใจ จำนวน ๕๐ คน ในวันที่ ๒๑ - ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ณ โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่ และห้องอินทนิล ศูนย์ฝึกอบรมที่ ๑ (แพร่) ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พุธ•ที่ 13 •กุมภาพันธ์• 2013 เวลา 14:32 น.• )

 

ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๓๐

สร้างความเป็นไทยให้คนเมืองลอง(เมืองต้า) ผ่านการศึกษา รัฐพิธี และสื่อต่าง ๆ การศึกษาในระบบจารีตของเมืองลองจะสัมพันธ์กับพุทธศาสนา เป็นกระบวนการถ่าย ทอดความรู้ตามธรรมเนียมจารีตท้องถิ่นที่สืบมาแต่โบราณจากรุ่นสู่รุ่น โดยใช้วัดเป็นสถานศึกษาและมีพระภิกษุเป็นครูผู้ถ่ายทอดวิชาความรู้ที่เรียน เช่น อักษรธรรมล้านนา พระธรรมตำนาน จารคัมภีร์ใบลาน เขียนพับสา โหราศาสตร์ หมอยา และงานช่างแขนงต่างๆ ฯลฯ เมื่อชายใดผ่านการบวชแล้วถือว่าเป็น “คนสุก” ก็จะได้รับการยกย่องทางสังคม มีโอกาสสูงที่จะได้เลื่อนสถานะทางสังคมเป็นไพร่ชั้นดีหรือรับตำแหน่งขุนนางเมือง เนื่องจากผู้ที่ได้ผ่านการบวชเรียนในอดีตมีจำนวนน้อยเพราะทำให้ครอบครัวขาดแรงงาน จึงนิยมให้เด็กบรรพชาเป็นสามเณรมากกว่าให้ชายหนุ่มฉกรรจ์บวชเป็นพระภิกษุ หากเคยบรรพชาเป็นสามเณร(บวชพระ)จะมีคำนำหน้านามบ่งบอกสถานะหรือระดับทางการศึกษาว่า “น้อย” บวชเป็นภิกษุ(เป็กข์ตุ๊)จะมีคำว่า “หนาน(ขนาน)” และหากเคยเป็นเจ้าอาวาส(ตุ๊หลวง)หรือครูบาจะได้รับการนับถือมากเรียกว่า “หนานหลวง”(ขนานหลวง)

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•จันทร์•ที่ 26 •สิงหาคม• 2013 เวลา 21:47 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ความเสื่อม ความเจริญ

ความเสื่อมที่เลวร้าย ความเจริญที่เป็นยอด " ความเสื่อมจากญาติ ยังนับว่าเป็นความเสื่อมเพียงเล็กน้อยดอก ภิกษุทั้งหลาย ความเสื่อมที่นับว่าเลวร้ายยิ่งกว่าความเสื่อมทั้งหลาย ก็คือ ความเสื่อมจาก ปัญญา"

" ความเจริญด้วยญาติ ยังนับว่าเป็นความเจริญเพียงเล็กน้อยดอก ภิกษุทั้งหลาย ความเจริญที่เรากล่าวว่าเป็นยอด คือความเจริญด้วยปัญญา. เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้เจริญด้วย ปัญญาวุฑฒิ(ความเจริญด้วยปัญญา) ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล"

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 10 •กุมภาพันธ์• 2013 เวลา 20:15 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ผู้สนับสนุนเว็บไซต์ปี ๕๖ ลำดับที่ ๕

นโยบายของรัฐบาลให้ทุกหมู่บ้านจัดประชาคมเพื่อจัดทำแผนชุมชนร่วมกันโดยเน้นการมีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหาสาเหตุและวิธีการแก้ไขโดยรวมกันทุกฝ่ายทุกหน่วยงานและองค์กรในชุมชนและองค์กรของรัฐในการจัดหางบประมาณช่วยแก้ปัญหาในส่วนโครงสร้างพื้นฐานด้านต่างๆในชุมชน บ้านวังฟ่อนหมู่ที่๒จึงมีการจัดประชาคมชาวบ้านตามนโยบายของรัฐ เพื่อแนวทางหรือวิธีการป้องกันและแก้ปัญหาในชุมชนโดยการให้ความร่วมมือกันทุกฝ่าย บ้านวังฟ่อน หมู่๒ ตำบลหัวเมือง อำเภอสอง จังหวัดแพร่ จึงขอนำเสนอผลงานการจัดทำประชาคมชาวบ้านหมู่๒ บ้านวังฟ่อนเพื่อขอรับการชี้แนะแนะนำจากท่านผู้อ่านเพื่อเป็นแนวทางแก้ไขปรับปรุงในการดำเนินการของบ้านวังฟ่อน หมู่๒ให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 05 •กรกฏาคม• 2013 เวลา 21:31 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

คุณธรรมแห่งวิถีการดำเนินชีวิต

พี่น้องในหนทางแห่งอัลลอฮุทุกท่าน... ขอความสันติสุข จงมีแด่ท่าน...หลังจากที่ห่างหายไปหลายสัปดาห์ เนื่องจากติดภารกิจบางประการ เรามาเริ่มกันต่อนะครับ เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศของวันแห่งความรักในอาทิตย์หน้า ซึ่งในทัศนะของอิสลามไม่มีวันวาเลนไทน์ แต่อิสลามมีวันแห่งความรักทุก ๆ วันครับ... วันนี้เรามาพูดถึงความรักในแบบฉบับของอิสลามบ้างนะครับ... มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ, ประชาชาติอิสลามต่างเห็นพ้องว่า แบบอย่างแห่งวิถีการดำเนินชีวิตที่ดีที่สุดของมนุษย์คือแบบฉบับการดำเนินชีวิตของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮูอะลัยฮิวะสัลลัม และผู้ที่ปฏิบัติตามวิถีการดำเนินชีวิตของเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่ดีที่สุด คือ บรรดาเศาะหาบะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม มาเถิด! เรามาย้อนกลับไปดูสังคมในสมัยของท่านเราะสูลศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แล้วเราจะพบกับคุณธรรมแห่งวิถีการดำเนินชีวิต นั่นคือ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 09 •กุมภาพันธ์• 2013 เวลา 08:25 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ตัวแทนของผู้ถูกเลือก ความหวังของโลกนี้

ตัวแทนของผู้ถูกเลือกและความหวังของโลกนี้ สวัสดีครับพี่น้องที่รักทุกท่าน คราวนี้พี่น้องคงทราบว่า การเกิดชนชาติและภาษาต่างๆที่เกิดขึ้นบนโลกนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร และประเทศไทยก็เป็นชนชาติและภาษาที่สวยงาม และมีคุณค่าอย่างมากอีกภาษาหนึ่งที่เราได้มาจากการกระจัดกระจายของมนุษย์จากที่หอบาเบลจนถึงปัจจุบัน ซึ่งนี่เป็นไปตามแผนการของพระเจ้าตั้งแต่ต้นแล้วว่าพระเจ้า ต้องการให้มนุษย์เกิดผลเป็นพรจนเต็มแผ่นดิน ไม่ใช่กระจุกกันเป็นชุมชนแออัดทั้งๆที่แผ่นดินโลกก็กว้างใหญ่ไพศาล ในที่สุดก็ทำให้เรารู้ว่า มนุษย์อย่าหาญกล้าต่อสู้กับพระเจ้า

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 09 •กุมภาพันธ์• 2013 เวลา 16:24 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๒๙

การสร้างสำนึกใหม่ในหน่วยอำเภอลองของรัฐไทย เมืองลองแม้ว่าไม่สามารถพัฒนาขึ้นเป็น “อาณาจักร” ได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดหลายประการ ทั้งตั้งอยู่แอ่งที่ราบขนาดเล็กมีพื้นเพาะปลูกน้อยตลอดถึงมีไพร่พลเบาบาง จึงไม่สามารถสั่งสมอำนาจได้เหนือกว่าเมืองอื่นที่ตั้งอยู่ในแอ่งที่ราบขนาดใหญ่กว่า เช่น เมืองเชียงใหม่ เมืองลำปาง เมืองแพร่ ฯลฯ แต่ทว่าเมืองลองก็เป็นเสมือน “รัฐ” ขนาดเล็กที่สามารถสถาปนาความเป็นเมืองศูนย์กลางขึ้นเหนือกว่าเมืองตรอกสลอบ เมืองต้า และเมืองช้างสารที่ตั้งอยู่ภายในแอ่งเดียวกัน ด้วยเมืองลองมีชัยภูมิตั้งอยู่กึ่งกลางแอ่ง มีที่ราบในการเพาะปลูก กำลังไพร่พล และทรัพยากรต่างๆ มากกว่า เมืองลองและเมืองบริวารเหล่านี้แต่ละเมืองจะมีอิสระจัดการปกครองภายใน ตลอดถึงมีประวัติศาสตร์และความทรงจำของตนเอง ซึ่งเมืองลองสามารถคงความเป็นเมืองอยู่ได้ตลอด ส่วนเมืองต้าก็ฟื้นฟูขึ้นเป็นระยะๆ และฟื้นฟูครั้งหลังสุดก็คงความเป็นเมืองมาได้ร่วมศตวรรษเศษ เมื่อจัดปฏิรูปการปกครองพ.ศ.๒๔๔๒ มีการนำระบบราชการไทยเข้ามา เมืองลอง เมืองต้าถูกจัดวางตำแหน่งแห่งที่ขึ้นใหม่ ในรูปของการปกครองระบบจังหวัด(เปลี่ยนคำว่าเมืองเป็นจังหวัดพ.ศ.๒๔๕๖) ความเป็น “เมืองลอง” “เมืองต้า” ถูกทำลายลงกลายเป็นเพียงอำเภอและตำบลหนึ่งของสยาม

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 05 •กุมภาพันธ์• 2013 เวลา 16:33 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ตรวจพื้นที่เตรียมรับเสด็จ

วันจันทร์ที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ เวลา ๑๑.๐๐ น. พลเอกวารมย์ มนัสรังสี รองสมุหราชองครักษ์ และคณะ มาตรวจเยี่ยมพื้นที่โรงเรียนวังฟ่อนวิทยา วัดวังฟ่อน ตำบลหัวเมือง อำเภอสอง จังหวัดแพร่ เพื่อเตรียมรับเสด็จ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยมีนายชวลิต เมฆจำเริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ และนายวิชชา จิรภิญญากุล นายอำเภอสอง ให้การต้อนรับ กำหนดการ "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี" เสด็จ ณ โรงเรียนวังฟ่อนวิทยา ในวันอังคารที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ช่วงบ่าย

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 05 •กุมภาพันธ์• 2013 เวลา 16:35 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

“วันกิ๋นขนมเส้นเมืองแป้” ประจำปี ๒๕๕๖

จังหวัดแพร่ ร่วมกับ สภาวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ หอการค้าจังหวัดแพร่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ร่วมกันจัดงาน “วันกิ๋นขนมเส้นเมืองแป้” ประจำปี ๒๕๕๖ อย่างยิ่งใหญ่ เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ณ บริเวณหน้าคุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวพัฒนาการหมุนเวียนทางด้านเศรษฐกิจในจังหวัดแพร่ และสนับสนุนการจัดงานการแข่งขัน กีฬานักเรียน นักศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ ๓๔ “เมืองแพร่เกมส์” โดยภายในงานมีร้านขนมเส้น(ขนมจีน) ชื่อดังของแต่ละอำเภอในจังหวัดแพร่กว่า 20 ร้าน มาบริการในราคาถ้วยละ 5 บาท กิจกรรมการประกวดหนูน้อยขนมเส้น โดยผลการประกวด รางวัลชนะเลิศการ ได้แก่ เด็กหญิงสุธิดา ชมเชย รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๑ ได้แก่ เด็กหญิงขวัญชนก ปลาเงิน และรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๒ ได้แก่ เด็กหญิงกีรติยา คำนาน การแข่งขันกินขนมเส้นซึ่งผู้ชนะสามารถกินขนมเส้นได้ถึง ๑๒ ถ้วยและกิจกรรมการแสดงทางวัฒนธรรมต่างๆ มากมาย ซึ่งในปีนี้ได้รับความสนใจจากประชาชนและนักกีฬาจากต่างจังหวัดเป็นจำนวนมาก และในงานนี้ และในงานนี้ นายเอกชัย วงศ์วรกุล ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ มอบเงินรางวัลพร้อมสายสะพายให้แก่ผู้ชนะเลิศการประกวดหนูน้อยขนมเส้น ได้แก่ เด็กหญิงสุธิดา ชมเชย รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๑ ได้แก่ เด็กหญิงขวัญชนก ปลาเงิน และรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๒ ได้แก่ เด็กหญิงกีรติยา คำนาน

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

เจี๋ยวไข่แมงมัน ครัวแม่จั๋นแก้ว

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วัดสุพรรณ อำเภอเมืองแพร่

วัดสุพรรณ เดิมเป็นวัดร้างติดแม่น้ำยม วัดร้างแห่งนี้ไม่มีหลักฐานความเป็นมาอย่างไรไม่มีผู้ใดรู้แน่ชัด ต่อมาได้มีชาวบ้านที่มีภูมิลำเนาในเขตเมืองฝั่งตะวันออกแม่น้ำยมได้อพยพเข้ามาจับจองแนวป่า บุกป่าถางพงทำเป็นสวน ไร่ นา นานวันเข้าจึงลงหลักปักฐานสร้างบ้านเป็นชุมชนเล็ก ๆ ขึ้น ประมาณ ๓๐ หลังคาเรือน ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านสุพรรณปากห้วย” และได้สร้างวัดขึ้นมาในชุมชน โดยมีกลุ่มชาวบ้านสุพรรณจำนวน ๑๒ คน พร้อมกับชาวบ้านพากันถางป่าเถาวัลย์ ที่ปกคลุมซากอุโบสถ เจดีย์ที่ผุพังทับถมด้วยก้อนดิน บูรณะพระประธานในอุโบสถที่หักพังเหลือเพียงครึ่งท่อนจนแล้วเสร็จแล้วยกขึ้นเป็นวัดโดยสมบูรณ์เรียกชื่อวัดตามชื่อหมู่บ้านว่า “วัดสุพรรณ” ตามตำนานเล่าต่อๆมาว่า เริ่มตั้งแต่บูรณะวัดร้างแล้วยกขึ้นเป็นวัดสุพรรรณเฉพาะอุโบสถสร้างถึง ๔ ครั้ง ๔ หลัง เนื่องด้วยถูกไฟไหม้บ้างถูกน้ำท่วมเสียหายบ้าง ปรับเปลี่ยนทิศทางอุโบสถบ้าง อุโบสถหลังปัจจุบัน(๒๕๔๗)เป็นหลังที่ ๔ สร้างเมื่อ ๑๕ มีนาคม ๒๕๒๓ เสร็จเมื่อปลายปี พ.ศ.๒๕๒๕ ทำบุญฉลองเมื่อ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ อนึ่งที่เรียกชื่อว่า “บ้านสุพรรณ” “วัดสุพรรณ” เป็นชื่อที่เรียกกันภายหลังเดิมหมู่บ้านนี้มีชื่อว่า “บ้านสุพรรณปากห้วย” เหตุมีชื่ออย่างนี้ก็เนื่องจากลำห้วยขมิ้นและลำห้วยผาดำได้ไหลลงสู่แม่น้ำยมที่บ้านนี้ตั้งอยู่และต่อมาได้ชื่อว่า “บ้านสุพรรณดาวเรือง” เหตุแห่งชื่อนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดและจากนั้นมาก็ได้ชื่อว่า “บ้านสุพรรณศรีถ้อย” เหตุมีชื่ออย่างนี้อีกชื่อหนึ่ง ก็เนื่องจากชาวบ้านได้ปลูกต้นโพธิ์ไว้บนฝั่งแม่น้ำยม นอกวัดเป็นแถวจึงได้ชื่อดังกล่าว (ภาษาชาวบ้าน ต้นโพธิ์ เรียกว่า ต้นศรี หรือต้นสะหรี แถวเรียกว่าถ้อย รวมความว่า ศรีถ้อย หรือ โพธิ์แถว) พอมาถึงปัจจุบันนี้ชื่อเดิมๆของหมู่บ้านดังกล่าวได้ลืมเลือนไปและไม่มีใครพูดถึงคงรู้จักเพียงชื่อ “บ้านสุพรรณ” เท่านั้น

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

การเสด็จพระราชดำเนิน ครั้งที่ ๖

วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๓ ทอดพระเนตรฝายทดน้ำฝายปลาฝา ตำบลสวนเขื่อน และอ่างเก็บน้ำ ร่องฮ่าง บ้านถิ่น ตำบลบ้านถิ่น อำเภอเมืองแพร่ ซึ่งเป็นโครงการในพระราชดำริ เวลา ๑๓.๕๐ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ เสด็จฯโดยเครื่องบินพระที่นั่งจากจังหวัดเชียงใหม่มายังสนามบินจังหวัดแพร่ จากนั้นประทับรถยนต์พระที่นั่งเสด็จฯไปยังบ้านแม่แคม ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมืองแพร่ ทอดพระเนตรโครงการฝายทดน้ำฝายปลาฝาซึ่งกรมชลประทานได้ก่อสร้างฝายหินก่อปิดลำน้ำแม่แคม พร้อมทั้งบังคับน้ำปากเหมืองส่งน้ำ และขุดเหมืองส่งน้ำไปเชื่อมกับเหมืองส่งน้ำเดิมของราษฎร ตามพระราชดำริสามารถส่งน้ำให้กับพื้นที่เพาะปลูกในเขตพื้นที่ตำบลสวนเขื่อน เป็นเนื้อที่ประมาณ ๒,๐๐๐ ไร่ ได้ตลอดทั้งปี ในการนี้ทรงเยี่ยมราษฎรที่เฝ้าฯ อยู่ ณ บริเวณฝายทดน้ำ จากนั้นได้เสด็จฯ ต่อไปยังบ้านถิ่น ตำบลบ้านถิ่น อำเภอเมืองแพร่ ทอดพระเนตรโครงการอ่างเก็บน้ำร่องฮ่าง ตามพระราชดำริ ที่กรมชลประทานสร้างเขื่อนดินปิดกั้นห้วยร่องฮ่าง พร้อมอาคารประกอบ คือ ท่อบังคับน้ำปากเหมืองส่งน้ำสำหรับส่งน้ำให้ราษฎรในเขตพื้นที่บ้านถิ่น ทำการเพาะปลูกทั้งในฤดูฝนฤดูแล้งในเนื้อที่ประมาณ ๑,๐๐๐ ไร่ และมีน้ำอุปโภคบริโภคตลอดปี ทรงพระราชทานถุงขวัญแก่เจ้าหน้าที่ประจำโครงการฯ เสด็จฯเยี่ยมราษฎรที่เฝ้าฯอยู่เป็นจำนวนมาก ณ บริเวณนั้น โดยมีคณะแพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลแพร่ โรงพยาบาลแพร่คริสเตียน เหล่ากาชาดจังหวัดแพร่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่ และมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ร่วมกันจัดตั้งหน่วยแพทย์และหน่วยพยาบาล เพื่อบริการตรวจรักษาราษฎรที่เจ็บป่วยอย่างทั่วถึง สมควรแก่เวลาจึงเสด็จฯกลับมายังสนามบินจังหวัดแพร่ ต่อจากนั้นจึงประทับเครื่องบินพระที่นั่งเสด็จฯกลับจังหวัดเชียงใหม่ ถึงพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ เมื่อเวลา ๒๐.๑๐ น.

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 08 •กุมภาพันธ์• 2013 เวลา 17:43 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

เจ้าผู้ครองนครแพร่ยุคประเทศราชของสยาม

เจ้าผู้ครองนครใน “ล้านนาประเทศ” ช่วงเป็นประเทศราชของ “สยามประเทศ” หรือที่นิยมเรียกทั่วไปว่า “เจ้าหลวง” ในมุมมองของสยามผู้เป็นเจ้าอธิราชถือว่าเป็น “เจ้าเมือง(เจ้าประเทศราช)” ส่วนมุมมองของล้านนารวมถึงในเมืองนครแพร่ถือว่าเป็น “กษัตริย์” ดังปรากฏพระนามแทนเจ้าหลวงนครแพร่แต่ละองค์ว่า “พระกระสัตราธิราช” หรือ “พระองค์สมเด็จพระบรมบัวพิตองค์เปนเจ้า”(เจ้าหลวงอินทวิไชยราชา) หรือ “องค์สมเด็จมหาราชหลวง” หรือ “สมเด็จพิมพิสารมหาราช”(เจ้าหลวงพิมพิสารราชา) แต่ทว่าเท่าที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันเจ้าหลวงนครแพร่ยังมีความคลาดเคลื่อน ทั้งที่มาของต้นปฐมราชวงศ์ จำนวนองค์เจ้าหลวงที่ขึ้นครองนคร ลำดับการครองนคร ระยะเวลาที่ขึ้นครองนคร ตลอดจนถึงความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับเจ้าหลวงองค์ก่อนหน้า เนื่องจากข้อจำกัดด้านหลักฐานและในเมืองแพร่เพิ่งเริ่มค้นคว้าถึงเจ้าหลวงองค์ก่อนเจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์ เจ้าหลวงนครแพร่องค์สุดท้ายช่วงทศวรรษ ๒๕๒๐ เป็นต้นมา

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 01 •กุมภาพันธ์• 2013 เวลา 13:11 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

หอสูงเทียมฟ้ากับภาษาที่พูดกันไม่รู้เรื่อง

สวัสดีอีกครั้งนะครับ มาพบกันอีก วันนี้ผมมีบทความที่นำมาจากพระคริสต์ธรรมคัมภีร์ได้บันทึกประวัติศาสตร์ของมวลมนุษย์ชาติที่เป็นจุดเปลี่ยนและจุดหักเห ที่ทำให้ทำให้เรารู้ว่า ทำไมเราต้องมีหลายชนชาติและหลายภาษา เรื่องราวมีดังนี้ว่า เมื่อครั้งหลังน้ำท่วมโลกเป็นเหมือนต้องมานั่งเริ่มกันใหม่หมดจากลูกหลานโนอาห์คือเชื้อสายของเชม ฮาม และยาเฟต จนเขาได้เกิดลูกหลานมากมายเต็มแผ่นดินในเวลานั้น แต่เงื่อนไขของพระเจ้าคือให้เขากระจัดกระจายออกไปจนเต็มแผ่นดินโลกตามแผนการของพระเจ้า แต่มนุษย์มักดื้อดึงและกบฏชอบคิดว่าตัวเองถูกและต้องการสิ่งที่ตัวเองคิดจะทำ ไม่สนใจพระสัญญาและแผนการของพระองค์ทั้งๆที่รู้ว่าสิ่งเหล่านี้คือการอวยพรทั้งนั้น และเนื่องจากเวลานั้นมนุษย์ยังคงมีภาษาเดียวกันและพูดคุยกันรู้เรื่องอยู่เวลานั้น ก็ทำให้เขาเหล่านั้นต่างพากันเห็นพ้องต้องกัน และร่วมมือกันทำสิ่งต่างๆได้ดี ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องดีมิใช่หรือที่มนุษย์ปรองดองกัน แต่ ทำไมพระเจ้าไม่โอเคล่ะ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 31 •มกราคม• 2013 เวลา 10:34 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

มอบถ้วยรางวัลมหกรรมอาหารปลอดภัย

นายอภิชาติ โตดิลกเวชช์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ มอบถ้วยรางวัลแก่ผู้ชนะเลิศการประกวดอาหารพื้นเมือง ในงาน “มหกรรมอาหารปลอดภัย” ครั้งที่ ๗ โดยทีมชนะเลิศได้แก่ ทีมซอยบ้านมื่น บ้านพันเชิง ต.ช่อแฮ ทีมรองชนะเลิศอันดับที่ ๑ ได้แก่ ทีมบ้านแม่ลัว ต.ป่าแดง ทีมรองชนะเลิศอันดับที่๒ ได้แก่ ทีมแม่ครัวอาสาบ้านเวียงทอง เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๕ ณ เวทีหน้าเทศบาลเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๒๘

การขยายตัวของชุมชนใหม่กับความผันแปรของสำนึกความเป็นเมืองลอง เมืองลองก่อนที่ระบบราชการไทยจะเข้ามา เป็นสำนึกร่วมของชาวเมืองที่มีความหมายมากกว่าหน่วยทางการเมืองการปกครอง แต่เป็นหน่วยที่มีชีวิต ตัวตน และจิตวิญญาณ (ดังกล่าวแล้วในบทที่ ๒) มีอิสระจัดการปกครองภายใน มีความทรงจำ มีตำนานทั้งลายลักษณ์อักษรและมุขปาฐะอธิบายประวัติศาสตร์ความเป็นมาของบ้านเมือง ผู้คนจะผูกโยงพื้นที่ที่อาศัยร่วมกันกับความเชื่อเพื่อเป็นตัวกำหนดการใช้สอยพื้นที่ในส่วนต่างๆ ของเมือง และมีความทรงจำผูกพันกับพื้นที่โดยมีตำนานเป็นตัวกำหนดขอบเขตปริมณฑลของเมือง เมืองตามสำนึกของคนเมืองลองยุคจารีตจึงมีการจัดวางตำแหน่งแห่งที่ของตนว่าอยู่จุดไหนของเมืองลอง ที่เป็นเสมือนจักรวาลหรือโลกใบหนึ่ง โดยเฉพาะมโนทัศน์เรื่องจักรวาลที่คลี่คลายสืบเนื่องมาจากคติพราหมณ์และพุทธ ซึ่งปราชญ์ล้านนาอธิบายในคัมภีร์อรุณวดีสูตรว่า “...ชื่ออันว่าโลกธาตุอันหนึ่งนั้นมีทวีปใหญ่ ๔ อัน มีเขาสิเนรุราชตั้งอยู่ท่ามกลาง..ทวีปน้อย ๒ พันอันเปนบริวาร มีดอยขอบจักรวาลเปนที่สุดรอดทุกกล้ำ ได้ชื่อว่าจักวาลอันหนึ่งแล...” ดังนั้นจักรวาลทัศน์ของคนล้านนาจึงมีหลายจักรวาล เมื่อสร้างบ้านแปลงเมืองหรืออาณาจักรขึ้นตามหุบเขาใหญ่น้อยทั้งหลาย จึงจำลองจักรวาลน้อยใหญ่ให้เกิดขึ้นภายในเมืองหรือชุมชนนั้นๆ โดยสร้างศูนย์กลางชุมชนให้เป็นรูปธรรม ซึ่งเมืองลองใช้พระธาตุศรีดอนคำเป็นศูนย์กลางจักรวาลของเมืองมีการแบ่งพื้นที่ออกเป็นหัวเมือง กลางเมือง และหางเมืองอย่างชัดเจน และมีเขาที่ล้อมรอบทั้ง ๔ ทิศเป็นกำแพงจักรวาล ซึ่งจักรวาลทัศน์นี้ไม่ใช่มีเฉพาะในหน่วยเมืองแต่ยังซ้อนในระดับเล็กลงไปตั้งแต่หมู่บ้าน(หัวบ้าน กลางบ้าน หางบ้าน) เรือน(หัวเรือน กลางเรือน หางเรือน) จนถึงตัวคนที่อาศัยที่มีการแบ่งศักดิ์ของร่างกาย ดังเมืองลองสะท้อนถึงความคิดเรื่องตัวตนคนที่สัมพันธ์กับบ้านเมืองว่า “...ข้าน้อยรัสสะภิกขุกาวิไชยยนต์หงส์ ..เทวดารักสานอกตนในตนขนหัวปลายตีนแห่งข้า ..แลเทวดารักสาขอบขัณฑสีมาบ้านเมืองเหมืองฝายชู่ตนชู่องค์...”

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พุธ•ที่ 30 •มกราคม• 2013 เวลา 10:30 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ผู้สนับสนุนเว็บไซต์ปี ๕๖ ลำดับที่ ๔

ขอบคุณผู้นำบ้านวังฟ่อน หมู่ ๑๒ ที่ให้การสนับสนุนเว็บไซต์โดยนายเดช ยี่ดวง ผู้ใหญ่บ้านสบทบทุนเช่าพื้นที่เว็บไซต์ผ่านทางนายสมพล พุ่มพวง กำนันตำบลหัวเมือง เพื่อมอบให้กับทางเว็บไซต์ดำเนินการต่อไป บ้านวังฟ่อน หมู่ ๑๒ ตำบลหัวเมือง อำเภอสอง จังหวัดแพร่ มีจำนวนประชากรชาย ๒๘๒ คน หญิง ๓๑๖ คน รวม ๕๙๘ คน จำนวนบ้าน ๑๘๘ หลังคาเรือน ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรสมัยใหม่ สามารถปลูกข้าวอย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง ในโอกาสนี้ขอแสดงความยินดีกับผู้ใหญ่เดช ยี่ดวง ผู้ใหญ่บ้านคนใหม่เราพร้อมสนับสนุนกิจกรรมทุกกิจกรรมที่ทำประโยชน์ให้กับชุมชน พัฒนาชุมชนสู่การพัฒนาเมือง

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 21 •กรกฏาคม• 2013 เวลา 16:49 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วัดสุนทรนิวาส (ห้วยม้า) อำเภอเมือง

วัดสุนทรนิวาสหรือวัดสุนทรรังสี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๙ นั้น ตั้งอยู่ ณ โรงเรียนห้วยม้า (สุนทรนิวาส) เป็นเวลา ๗ ปี กระทั้ง ๒๔๐๖ จึงย้ายมาตั้งอยู่ ณ ปัจจุบันโดยมีครูบายานะเป็นผู้เริ่มสร้างอุโบสถ หลังจากครูบายานะถึงแก่มรณภาพในปี ๒๔๘๒ ครูบาอินต๊ะวิชัย ได้บูรณะซ่อมแซมอุโบสถและสร้างพระพุทธรูปแบบสุโขทัยไว้องค์หนึ่ง (คือองค์กลางในวิหารปัจจุบัน) หลังจากครูบาอินต๊ะวิชัยมรณภาพในปี ๒๔๙๒ ขุนอนุกุลราชกิจ (เมือง ชมพูมิ่ง) พร้อมด้วยนางเฮือนแก้ว ทนันไชย ผู้เป็นบุตรี ก็ได้สร้างอุโบสถจนเสร็จสมบูรณ์ ในปี ๒๕๐๑ เป็นงบประมาณทั้งสิ้น ๑๘,๘๘๘ บาท (หนึ่งหมื่นแปดพันแปดร้อยแปดสิบแปดบาทถ้วน) ในปี ๒๕๓๐ พระแก้ว เตชวโร เจ้าอาวาสและคณะศรัทธาได้นำการบูรณะอุโบสถอีกครั้งหนึ่งจนถึงปัจจุบันนี้ ลำดับเจ้าอาวาส (เท่าที่ทราบ) ๑. ครูบายานะ ผู้เริ่มก่อสร้าง พ.ศ. ๒๔๐๖ ๒.ครูบาอินต๊ะวิชัย ผู้ซ่อมแซมพระประธาน พ.ศ. ๒๔๒๘ ๓.ครูบายาลังสี ๔.ครูบาเทพชัย ๕.พระอธิการดำ ๖.ครูบาธรรมสร ๗.ครูบาเปียง ๘.พระครูบายาลังสี ๙.พระอธิการคำ (ฟ้าเลิศ) ๑๐.พระอธิการประชุม ชยมงฺคโล พ.ศ. ๒๔๘๗ – ๒๕๐๖ ๑๑.พระผาบ (ใจเวียง) พ.ศ.๒๕๐๗ ๑๒.พระคำปัน เตชวโร พ.ศ.๒๕๐๘ ๑๓.พระสมบูรณ์ เขมจาโร พ.ศ.๒๕๐๙ ๑๔.พระแก้ว เตชวโร พ.ศ.๒๕๑๒ ๑๕.พระอธิการลอน เลขธมฺโม ๑๖.พระณรงค์ จนฺทสาโร ๑๗.พระอธิการฐิติพงษ์ ฐิตธมฺโม  พ.ศ.๒๕๔๒ – ปัจจุบัน

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 27 •มกราคม• 2013 เวลา 09:44 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

<< •เริ่มแรก• < •ย้อนกลับ• 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 •ถัดไป• > •สุดท้าย• >>

•หน้า 13 จาก 33•