ค้นหาบทความ
ราคาน้ำมันวันนี้
จำนวนนับผู้เข้าเยี่ยมชม
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้386
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้509
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้1804
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว4342
mod_vvisit_counterเดือนนี้11572
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว15525
mod_vvisit_counterรวมผู้เข้าชม2259803

ออนไลน์ (20 นาทีที่แล้ว): 5
หมายเลข IP : 3.14.70.203
MOZILLA 5.0,
วันที่ : 24 •เม.ย.•, 2024
ขณะนี้มีผู้เข้าชม
• เรามี• •8 บุคคลทั่วไป• •ออนไลน์•
ล้านนาแพร่ประชาสัมพันธ์
Vinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo Slider

วัดทุ่งโห้งใต้ อำเภอเมืองแพร่

วัดทุ่งโห้งใต้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๐ จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ว่า เป็นลาวพวนอพยพมาจากเมืองพวน แขวงเมืองเชียงขวาง อยู่ทางทิศตะวันออกของกรุงเวียงจันทร์ ห่างกันประมาณ ๒๐๐ กิโลเมตร สาเหตุของการอพยพยังไม่ทราบแน่ชัด เป็นการย้ายถิ่นฐานมาทีละชุดชุดแรกเป็นชาวบ้านทุ่งโห้งใต้ อาศัยอยู่นอกกแพงเมืองแพร่ ทิศเหนือบ้านหัวข่วง ทางประตูเลี้ยงม้า ตรงที่ตั้งสาธารณสุขจังหวัดจนถึงวัดสวรรค์นิเวศในปัจจุบัน ยังมีหลักฐานการขุดบ่อน้ำไว้ ๑ บ่อ ชาวบ้านเรียกบ่อน้ำนี้ว่า “บ่อน้ำลาวพวน” บ่อน้ำนี้ยังมีหลักฐานปรากฏอยู่หน้าอุโบสถวัดสวรรค์นิเวศจนถึงปัจจุบัน  ชาวไทยพวนมีนิสัยขยันไม่หยุดนิ่ง เสาะแสวงหาที่ทำเลทำมาหากินตลอดเวลา จนกระทั้งพบลำเหมืองร่องฟอง ซึ่งเป็นร่องน้ำลึกและมีน้ำไหลตลอดทั้งปี จึงอพยพมาตั้งถิ่นฐานอย่างถาวร ณ บ้านทุ่งโฮ้งใต้ เมื่อหลักฐานมั่นคงแล้วจึงสร้างวัดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๓๗๐ โดยการนำของเจ้าหัวจันทร์ด้าง และท่าได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดทุ่งโห้งใต้ด้วย ลำดับเจ้าอาวาสมีดังต่อไปนี้ ๑. เจ้าหัวจันทร์ด้าง ๒. พระอธิการหลวง ๓. พระอธิการเตพทวัง ๔.พระอธิการเตพปรือ ๕.พระอธิการหลวงคำมี ๖. พระอธิการโต ๗. พระอธิการตั๋น ๘. พระอธิการครื้น เขมธโร ๙. พระอธิการผ่วน เขมวโร พ.ศ. ๒๕๑๖ – ๒๕๓๕ ๑๐. พระอธิการพิน พลวโร พ.ศ. ๒๕๓๕ – ๒๕๔๓ ๑๑. พระอธิการมานิตย์ มุนิวํโส พ.ศ. ๒๕๔๓ – ปัจจุบัน

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 10 •มีนาคม• 2013 เวลา 16:57 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

การขจัดความกลุ้มอกกลุ้มใจ และความกังวล

อัลฮัมดุลิลลาฮฺ... พี่น้องที่มีเกียรติที่รักยิ่งครับ... หัวข้อต่อไปเกี่ยวกับเรื่องของ "การขจัดความกลุ้มอกกลุ้มใจ และความกังวล"ครับ... ผู้ที่ศรัทธาเมื่อได้รับการทดสอบด้วยการเจ็บไข้ได้ป่วยหรือมีความยากจนจะพบว่าเขามีความปลาบปลื้มใจ "เขาจะมองผู้ที่มีฐานะต่ำกว่า เขาจะไม่มองผู้ที่มีฐานะสูงกว่า" และบางทีความปลาบปลื้ม ความเบิกบานใจ ความสบายใจของเขาจะมีมากกว่าผู้ที่ได้รับสิ่งต่างๆที่ต้องการทั้งหมดในโลกนี้ ในทำนองเดียวกัน เมื่อเขาเป็นผู้ที่ไม่ได้รับความพึงพอใจในสิ่งที่อัลลอฮฺ(ซ.บ)ทรงจัดสรรให้ เขาจะพบว่านั่นมิได้ตามศรัทธาที่ได้กำหนดไว้ เมื่อเขาได้รับการทดสอบด้วยความยากจนเพียงเล็กน้อย หรือไม่ได้รับสิ่งที่ต้องการเกี่ยวกับโลกนี้ เขาจะมีความทุกข์ทรมานและยากลำบาก อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ เมื่อมีเหตุแห่งความกลัว และสิ่งรบกวนต่างๆมาประสบกับมนุษย์ก็จะพบว่า "ผู้ที่มีการศรัทธาที่ถูกต้องจะมีหัวใจที่มั่นคง จิตใจที่สงบสุข" สามารถทำให้เรื่องราวที่มาคุกคามนี้ดำเนินไปด้วยความคิด คำกล่าว และการกระทำ เขาจะปักหลักสู้กับสิ่งทีมารบกวน และนี่เป็นสภาพต่างๆที่ทำให้มนุษยย์เกิดความสบายใจและทำให้จิตใจของเขามีความมั่นคง เช่นเดียวกัน ท่านจะพบว่า "คนที่ไม่มีศรัทธานั้น มีสภาพที่ตรงกันข้าม คือ เมื่อมีความกลัวเกิดขึ้น ก็จะเกิดความอึดอัด ประสาทต่างๆของเขาจะตรึงเครียด ความคิดของเขาจะแตกกระจายฟุ้งซ่าน พร้อมทั้งมีความหวาดกลัว ตระหนก ตกใจ" ทำให้ไม่สามารถจะอธิบายได้ และมนุษย์ประเภทนี้ หากไม่อาศัยการฝึกฝนมาอย่างหนัก พลังของเขาก็จะพังทลายลง ประสาทจะตึงเครียดเนื่องจากว่าขาดการศรัทธาที่จะทำให้เขามีความอดทน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพที่คับขัน และสภาพที่นำมาซึ่งความโศกเศร้าเสียใจต่าง ๆ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 09 •มีนาคม• 2013 เวลา 12:57 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

กำเนิดคนขี้โกงและคนที่ไม่เห็นคุณค่า

หลังจากที่พระเจ้าได้บัญชาให้อับราฮัมให้ถวายอิสอัคแด่พระเจ้าและพระองค์ก็ได้ให้การอวยพรของพระองค์แก่เชื้อสายของอับราฮัมโดยผ่านเชื้อสายของเขากับนางซาราห์ก็คือ อิสอัค และเมื่ออิสอัคได้เติบใหญ่ขึ้นถึงเวลาที่อิสอัคจะต้องมีภรรยาซึ่งเป็นคู่ชีวิต จะสังเกตได้ว่าอับราฮัมไม่ได้ให้อิสอัคแต่งานกับคนต่างชาติ จึงได้ส่งคนรับใช้ให้ไปหาลูกสะไภ้จากเชื้อสายของพี่น้องของเขาเองที่เมืองฮาราน ซึ่งได้ไปพบกับหลานสาวของอับราฮัมเองผู้หญิงซึ่งได้รับพรผู้นี้ คือ นางเรเบคาห์ ซึ่งพี่ชายของเธอมีชื่อว่า ลาบัน จดจำชายที่ชื่อลาบันให้ดี เพราะว่า เขาแสบมาก แล้วจะเล่าให้ฟัง  ในบทความทีชื่อว่า “เหนือโกงยังมีโคตรโกง”  แต่เอาเป็นว่าตอนนี้เรากำลังจะพูดถึงชายหนุ่มผู้มีนามว่าอิสอัคจะได้แต่งงานกับหญิงสาวผู้มีชื่อเรเบคาห์ ซึ่งมาจากชนเผ่าเดียวกัน  และความรักของเขาและเธอได้เติบโตขึ้น แต่ทว่านางเรเบคาห์ภรรยากลับมาดันเป็นหมันอีกคนเหมือนกับนางซารายผู้เป็นแม่ของอิสอัค แต่พระเจ้าผู้ทรงตั้งต้นแล้วต่อให้มีอะไรเป็นอุปสรรคก็ไม่มีอะไรหยุดยั้งได้ จนได้ถือกำเนิดฝาแฝดผู้ที่จะสร้างความปั่นป่วน น่าปวดหัวอย่างไรบ้าง แต่ถึงอย่างไรหนึ่งในท่ามกลางพี่น้องจะมีคนหนึ่งที่เขาจะถูกเรียกว่า “ชนชาติของพระเจ้า” ซึ่งชนชาติของถูกเลือกให้เป็นชนชาติที่จะเป็นพรต่อคนทั่วโลกต่อไป

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 07 •มีนาคม• 2013 เวลา 23:10 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

เชิญร่วมค่ายศิลปินรุ่นเยาว์ด้านเทคนิคถ่ายภาพ

ประชาสัมพันธ์.....สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ขอเชิญเด็กและเยาวชนระดับมัธยมศึกษา จำนวน ๕๐ คน สมัครร่วมค่ายศิลปินรุ่นเยาว์ด้านเทคนิคถ่ายภาพ วิทยากรโดย อาจารย์สมชาย ครองสมบูรณ์ ผู้ดำเนินรายการ Photo Story Cheeze และรายการสะพายกล้องท่องเที่ยว ทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง ๕ ผู้บริหารบริษัท โฟโต้ฮัทกรุ๊ป และทีมงานมาถ่ายทำรายการในจังหวัดแพร่ (ได้ออกทีวีด้วยนะครับ) ในวันที่ ๒๖-๒๗ มีนาคม ๒๕๕๖ ณ อุทยานแห่งชาติแพะเมืองผี จังหวัดแพร่ สมัครได้ด้วยตนเองที่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ หรือดาวโหลดใบสมัครได้ที่นี่* สอบถามรายละเอียด เบอร์โทรศัพท์ ๐๕๔-๖๒๕๔๙๖

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 07 •มีนาคม• 2013 เวลา 07:04 น.• )

 

ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๓๒

ชาวบ้านเปลี่ยนวิถีการผลิตแบบยังชีพสู่ระบบทุนนิยมเพิ่มขึ้น เดิมการปลูกพืชภายในเมืองลองต้องอาศัยน้ำจากลำห้วยและน้ำฝนเป็นหลัก เหมืองฝายก็เป็นฝายไม้ขนาดเล็กเจ้าฝายต้องเกณฑ์ซ่อมทุกปี ในหน้าแล้งน้ำในลำห้วยก็แห้งขอดจึงมีการเพาะปลูกได้เฉพาะบางช่วง เมื่อเริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ การชลประทานมีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ เพื่อให้ชาวบ้านสามารถเพาะปลูกได้ตลอดปี จึงมีโครงการจัดสร้างฝายคอนกรีตแทนฝายไม้ ขุดเจาะอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กตามหมู่บ้านต่างๆ ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนให้ปลูกพืชเพื่อการค้าแทนการผลิตเพื่อพอยังชีพ ส่งเสริมการใช้ปุ๋ย การใช้เทคนิคใหม่ ตลอดจนแนะนำการปลูกพืชไร่เชิงพาณิชย์ควบคู่กับการทำนา จึงเกิดการขยายตัวของการผลิตพืชผลทางการเกษตรเพิ่มมากขึ้น มีการบุกเบิกลำห้วยขนาดสายเล็กเปลี่ยนเป็นที่นา เวียงเก่าถูกรื้อเป็นที่นา

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 05 •มีนาคม• 2013 เวลา 16:54 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

การเสด็จพระราชดำเนิน ครั้งที่ ๗

วันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๔ เพื่อทอดพระเนตรอ่างเก็บน้ำห้วยแม่หยวก บ้านแม่ทราย อำเภอร้องกวาง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชีนินาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ เสด็จฯ โดยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งจากตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ถึงบริเวณที่ตั้งโครงการอ่างเก็บน้ำแม่หยวก บ้านแม่ทราย ตำบลแม่ทราย อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ทรงปล่อยปลานิล ปลาไน ปลาซ่ง ปลายี่สกเทศ และปลาตะเพียนขาว ลงในอ่างเก็บน้ำ การเสด็จฯ มาครั้งนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะแพทย์ที่ตามเสด็จฯ มาช่วยแพทย์หลวงที่เดินทางล่วงหน้ามาตั้งหน่วยตรวจรักษาผู้ป่วยและทรงรับผู้ป่วยหนักไว้เป็นคนไข้ในพระบรมราชานุเคราะห์ แล้วทรงเยี่ยมราษฎรที่มาเฝ้าฯรับเสด็จ เป็นจำนวนมาก ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับราษฎรอย่างใกล้ชิด มีราษฎร พ่อค้า คหบดี ได้แสดงความจงรักภักดี ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย จากนั้น เสด็จฯ ทอดพระเนตรอ่างเก็บน้ำและพระราชทานพระราชดำรัสแก่

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•จันทร์•ที่ 18 •มีนาคม• 2013 เวลา 10:01 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จโรงเรียนร้องแหย่งวิทยาคม

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจที่โรงเรียนร้องแหย่งวิทยาคม วัดวุฒิมงคล ตำบลดอนมูล อำเภอสูงเม่น เวลา ๑๒.๓๐ น. (วันที่ ๒๓ ก.พ. ๕๓) เสด็จไปยังโรงเรียนร้องแหย่งวิทยาคม วัดวุฒิมงคล หมู่ที่ ๖ ตำบลดอนมูล อำเภอสูงเม่น เสด็จภายในอุโบสถทรงจุดธูปบูชาพระรัตนตรัยทรงประเคนเครื่องไทยธรรมถวายเจ้าอาวาสผู้จัดการโรงเรียนร้องแหย่งวิทยาคมถวายพระพุทธรูป จำนวน ๑ องค์ เสด็จออกจากอุโบสถทรงถวายของพระราชทานสำหรับโรงเรียนแก่พระผู้ปฏิบัติหน้าที่ครูใหญ่ ทรงพระดำเนินไปด้านหน้าศาลาการเปรียญประธานกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในโครงการตราพระราชดำริจังหวัดแพร่ทูลรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานของกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม ทรงพระดำเนินไปยังห้องสมุดทอดพระเนตรกิจกรรมภายในห้องสมุดและการจัดการการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์เสด็จเข้าห้องทรงงานลงพระนามาภิไธยในสมุดที่ระลึกพระราชทานของที่ระลึกแก้ผู้มีอุปการคุณ ๓๐ ราย ทรงทอดพระเนตรโครงงานวิทยาศาสตร์และผลงานหัตถกรรมของนักเรียนสามเณรกิจกรรมสหกรณ์และการการสาธิตการเรียนการสอนภาษาล้านนาทรงพระเนินไปห้องประกอบภัตตาหารเพลทอดพระเนตรผลการดำเนินงานโครงการภัตตาหารเพลและนมผงพระราชทานผละผลการตรวจสุขภาพอนามัยของสามเณรในกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรมจังหวัดแพร่ และทรงเยี่ยมราษฎรก่อนประทับรถยนต์พระที่นั่งเสด็จไปยังท่าอากาศยานแพร่ประทับเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งเสด็จฯไปยังจังหวัดน่าน

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 02 •มีนาคม• 2013 เวลา 14:06 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

การเสียสละที่นำไปสู่คำพยากรณ์การไถ่ของมนุษยชาติ

สวัสดีอีกครั้งครับพี่น้องชาวจังหวัดแพร่ที่รักครับ และรวมไปถึงพี่น้องประชาชนคนไทยและที่อยู่ทั้งประเทศไทยและทั่วโลกที่กำลังดูเว็ปไซต์นี้นะครับ  วันนี้ผมจะกล่าวถึงเรื่องราวของการเสียสละที่สำคัญของคนคนหนึ่งที่เป็นจุดเริ่มต้นของคำพยากรณ์ของการเสียสละแห่งอนาคตที่ที่จะนำความรอดมาสู่มวลมนุษยชาติ  คุณยังคงจดจำความตอนเดิมที่พระเจ้าทรงประทานลูกชายแท้ที่เกิดจากนางซาราห์ผู้เป็นหมันผู้เป็นภรรยาของอับราฮัมได้ใช่มั้ยครับ  ถ้าจำได้ท่านจะทราบว่า พระเจ้าเคยบอกว่าพระเจ้าจะอวยพรให้อับราฮัมเป็นชนชาติใหญ่ มีลูกหลานมากมายดุจเม็ดทรายบนพื้นดิน และดวงดาวบนท้องฟ้าซึ่งไม่สามารถนั่งนับได้  แต่ปรากฏว่าพระเจ้าประทานลูกชายที่เกิดจากพระสัญญาของพระองค์คือ อิสอัค  ซึ่งเราก็ทราบว่าอับราฮัมก็ได้ให้กำเนิดบุตรชายคนหนึ่งกับทาสตามวิธีของมนุษย์เด็กชายคนนั้นคือ อิชมาเอล อย่างที่ทราบกันคือเข้าคือผู้ที่เป็นบรรพบุรุษของศาสนาอิสลาม  เอาล่ะครับ ประเด็นที่เราจะพูดไม่ใช่ประเด็นนี้แต่ประเด็นที่เราจะพูดมันเกี่ยวข้องกับการเสียสละอย่างไร

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 01 •มีนาคม• 2013 เวลา 10:57 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จโรงเรียนวังฟ่อนวิทยา

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังโรงเรียนวังฟ่อนวิทยา พระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ทอดพระเนตรการเรียนการสอนของโรงเรียน (เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ เวลาประมาณ ๑๖.๐๐ น.) ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อปี ๒๕๓๙ รับเด็กด้อยโอกาสทั้งในพื้นที่และต่างจังหวัดเข้าศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ถึงตอนปลาย มีนักเรียนสามเณร เข้าศึกษา ๙๑ รูป มีชาวม้งร่วมด้วย โดยทรงรับเข้าโครงการตามพระราชดำริ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งด้านการศึกษา และความเป็นอยู่ เน้นสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น และความพอเพียง มีปราชญ์ชาวบ้านมาสอนประดิษฐ์นกคุ้ม การตัดตุง สืบชะตา การเขียนจารธรรมบนใบลาน งานช่างสิบหมู่ ทำกระถางลดโลกร้อนจากขุยมะพร้าว ด้านอาชีพ สอนทำน้ำยาอเนกประสงค์ไม้กวาดดอกหญ้า ดอกไม้จันทน์, ส่วนผลการเรียนมีการพัฒนาดีขึ้น ทั้งส่งเสริมให้เข้าสอบนักธรรม-บาลี อย่างต่อเนื่อง โดยเข้าสอบ B-NET ซึ่งเป็นการวัดความรู้ทางพระพุทธศาสนาโดยตรง นอกจากนี้ ยังจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เช่น เปรียบเทียบอายุการเก็บพริกหยวกในหนังสือพิมพ์กับใบตอง พบว่าการเก็บในใบตองมีอายุการเก็บนานกว่า ส่วนต้นไม้ที่รดด้วยน้ำมนต์เจริญเติบโตดีกว่ารดน้ำในบ่อธรรมชาติเล็กน้อย เพื่อต่อยอดการศึกษาการเจริญเติบโตของต้นไม้จากการเปิดเพลงให้ฟัง, โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน มีการปลูกผัก และเพาะเห็ดนางฟ้า ได้ผลผลิตพอเพียงมาประกอบภัตตาหารเพลร่วมกับอาหารอื่นที่ได้รับพระราชทาน นอกจากนี้ ยังได้รับรางวัลต่าง ๆ อาทิ รางวัลหนึ่งแสนครูดีจากครุสภา และสถานศึกษาแห่งกวีสงเคราะห์ ชุมชนและอบรมศีลธรรม และรางวัลโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเหรียญเงิน ทั้งยังจัดงานบวชภาคฤดูร้อน และปฎิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ เพื่อสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นประจำทุกปี

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 01 •มีนาคม• 2013 เวลา 09:38 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

เหตุที่ทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่นาน

เหตุที่ทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่นาน

"สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ป่าไผ่ ใกล้เมืองมิถิลา ลำดับนั้น ท่านพระกิมพิละ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคม นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่งแล้ว กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่ทำให้พระสัทธรรมไม่ตั้งอยู่ยืนในเมื่อพระตถาคตเจ้าปรินิพพานแล้ว." "ดูก่อนกิมพิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในพระธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพ ไม่ยำเกรง ในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในการศึกษา ไม่เคารพยำเกรงกันและกัน. นี้แล กิมพิละ เป็นเหตุปัจจัยที่ทำให้พระสัทธรรมไม่ตั้งอยู่ได้นานในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว."

ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๒๗๕

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พุธ•ที่ 27 •กุมภาพันธ์• 2013 เวลา 13:32 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร

วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ ๑๖ ถนนเจริญเมือง ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของศาลากลางจังหวัด เป็นวันที่เกิดจากการรวม ๒ วัดคือ วัดพระบาทและวัดมิ่งเมือง เป็นวัดพระบาทมิ่งเมือง ต่อมาได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ยกฐานะจากวัดราษฎ์ ให้เป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดวรวิหาร วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร มีพื้นที่ ๖ ไร่ ๓๒ ตรารางวา (โฉนดที่ดินเลขที่ ๒๑๑๕) มีอาณาเขตทิศเหนือติดถนนเจริญเมือง ความยาว ๑๔๘ เมตร อยู่ตรงข้ามสำนักงานที่ดินจังหวัดแพร่ ที่ทำการไปรษณีย์จังหวัดแพร่ และสำนักงานพาณิชย์จังกวัดแพร่ ทิศใต้ติดกับถนนพระบาทมิ่งเมือง ความยาว ๑๕๖ เมตร อยู่ตรงข้ามกับโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่ ทิศตะวันออก ติดถนนพระร่วงความยาว ๕๒ เมตร อยู่ตรงข้ามกับร้านคาพาณิชย์ ทิศตะวันตก ติดถนนคุ้มเดิม ความยาว ๗๖ เมตร อยู่ตรงข้ามสวนสุขภาพเฉลิมพระเกียรติ ร.๙

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 23 •กุมภาพันธ์• 2013 เวลา 08:41 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ฮิจเราะห์ศักราช

มีพี่น้องต่างศาสนิกบางท่านถามมาว่า ประเทศมุสลิมเขานับปีแบบไหนเช่นประเทศไทยนับเป็น พ.ศ. ขอตอบแบบนี้ครับ...  ศักราชของอิสลามใช้คำว่าฮิจเราะห์ศักราช ใช้ตัวอักษรย่อว่า “ฮ.ศ.” คำว่า ฮิจเราะฮ์ หมายถึง “การอพยพ” คือ การอพยพของท่านนะบีมุฮัมมัด และบรรดามุสลิมจากเมืองมักกะห์สู่เมืองมะดีนะห์ หลังจากที่ท่านนะบีมุฮัมมัด ได้เสียชีวิต ท่านเคาะลีฟะฮ์อุมัร อิบนุคอฎฎ็อบ ผู้ปกครองอาณาจักรอิสลามคนที่สองต่อจากท่านอบูบักร์ ได้ปรึกษากันว่า อิสลามควรจะต้องมีการนับศักราชเพื่อใช้ในการกำหนดวัน เดือน ปี เช่นเดียวกับคริสตศักราช แต่การเริ่มศักราชของอิสลามจะเริ่มเมื่อใดนั้น ได้มีบรรดาอัครสาวกที่ใกล้ชิดของท่านนะบีมุฮัมมัด และบรรดาผู้นับถือศาสนาอิสลามในเวลานั้นเสนอแนวทางในการกำหนดศักราชอิสลาม 4 แนวทางด้วยกัน คือ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 23 •กุมภาพันธ์• 2013 เวลา 08:48 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

เมืองแห่งความพินาศและเสาเกลือแห่งความดื้อรั้น

สวัสดีครับพี่น้องชาวจังหวัดแพร่ที่รักและเคารพ และพี่น้องประชาชนคนไทยทุกคนที่อยู่ในประเทศไทยและทั่วโลกทุกท่านครับ สัปดาห์ที่แล้วเราได้เรียนรู้ต้นกำเนิดชาวอาหรับและชาวยิวไปแล้วเพราะ 2 คนนี้ล้วนเป็นลูกชายของอับราฮัมด้วยกันทั้งคู่เลยแต่มีเพียง คนเดียวเท่านั้นที่จะเป็นผู้รับพรเท่านั้นผ่านมาทางอิสอัคเท่านั้น เอาล่ะ ขอย้อนเรื่องราวซักนิดนึงเกี่ยวกับคในครอบครัวของอับราฮามตอนแรกนั้นก็มีหลานชายคนหนึ่งของพี่ชายติดตามมาด้วยคือ โลต ซึ่งติดตามกันมาได้พักนึงเราก็เริ่มทะเลาะกันแย่งชิงดินแดน ส่วนอับราฮามก็มีท่าทีที่ดีคือไม่ชวนทะเลาะด้วยก็เลยตัดสินใจแยกจากหลาน โดยให้หลานเลือกดินแดนก่อน จากนั้นอับราฮามจึงเดินทางไปยังดินแดนที่พระเจ้าสัญญาไว้ และสถานที่ที่โลตเลือกนั้นคือดินแดนที่อยู่ฝั่งแม่น้ำจอร์แดน และโลตเองก็ได้ตั้งเต้นต์พำนักบริเวณใกล้ๆกับเมืองโสโดมและโกโมราห์ หลังจากนั้นไม่นานในช่วงเวลาที่แต่ละคนได้กระจัดกระจายไปตามทางของตนก็มีทูตของพระเจ้า 3 ตนได้มาหาอับราฮัม เพื่อที่จะมาอวยพรอับราฮัมเรื่องลูกที่จะเกิดขึ้นตามพระสัญญาที่จะเกิดกับนางซาราห์ที่เป็นหมัน แต่ในขณะเดียวกันนั้น ทูตสวรรค์ทั้งสามนั้นได้มาทำอีกภาระกิจอีกอย่างคือทำลายเมืองโสโดมและโกโมราห์ซึ่งจะต้องเป็นเมืองที่จะมาถึงความพินาศ แล้วเมืองโสโดมและเมืองโกโมราห์เป็นอย่างไร เมืองโสโดมและเมืองโกโมราห์เป็นเมืองที่เต็มไปด้วยความบาปมากมายเมืองโสโดมมีทั้งหมดประมาณ 5 เมือง แล้วก็เป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรือง ร่ำรวยมาก มีเหลือกินเหลือใช้ มั่งคั่ง แต่ว่าเขาไม่เคยสนใจ คนขัดสน ยากจน และอนาถาไม่ได้ช่วยเหลือ แล้วก็เย่อหยิ่ง จองหอง อวดดี นั่นคือสิ่งที่พระคัมภีร์ บรรยายคนที่เมืองโสโดม

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 22 •กุมภาพันธ์• 2013 เวลา 09:28 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ขอบคุณอาจารย์ภูเดช แสนสา

ขอบคุณอาจารย์ผูเดช แสนสา ที่ส่งหนังสือ “ร้อยเรียงร้อยเรื่องเมืองลอง” ให้กับทางเว็บไซต์ ซึ่งอาจารย์ได้เป็นเจ้าของบทความเมืองลองที่ได้นำเสนอให้ผู้ชมได้รับความรู้เกี่ยวกับเมืองลองในด้านประวัติศาสตรเมืองลอง หัวเมืองบริวารในล้านนาประเทศอีกด้วย อาจารย์ได้กล่าวบทนำในหนังสือ “ร้อยเรียงร้อยเรื่องเมืองลอง” ไว้ว่าหนังสือเล่มนี้ ได้เกิดขึ้นจากข้อมูลที่ผู้เขียนได้เก็บรวบรวมไว้หลายปีมีจำนวนหลากหลายเรื่องเกี่ยวกับเมืองลองที่นำมาร้อยเรื่องราวเข้าไว้ด้วยกัน โดยได้แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๓ ภาค ภาคแรกชื่อ “ร้อยเรียงหลากเรื่องเมืองลอง” กล่าวถึงเรื่องราวต่าง ๆ ของเมืองลองตั้งแต่ตำนานของเมืองลองยุคโบราณมาจนถึงเรื่องราวยุคช่วงร่วมร้อยปีที่ผ่านมา ภาค ๒ ชื่อ “ร้อยเรียงเรื่องเชื้อเครือเมืองลอง” สืบเนื้อจากหนังสือ “ประวัติศาสตร์เมืองลอง หัวเมืองบริวารล้านาประเทศ” ซึ่งได้เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์อยู่ ณ ปัจจุบัน ซึาฃ่งเล่มนี้ได้จัดทำประวัติต้นตระกูลสำคัญต่าง ๆ ของเมืองลองจำนวน ๓๐ ตระกูลพร้อมทายาท ภาค ๓ ชื่อ “ร้อยเรียงเรื่องศิลป์เมืองลอง” อาจารย์ภูเดช แสนสาได้เลือกนำเอาผลงานวิจัยเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๗ เรื่อง “ลวดลายสลักไม้คันทวยประดับโบสถ์วิหาร ในเขตอำเภอลอง จังหวัดแพร่” อันเป็นฝีมือทางเชิงช่างของผู้ชายชาวเมืองลองมาสรุปนำเสนอประกอบไว้ภายในเล่ม พร้อมเรื่องราวและลวดลายของผ้าซิ่นตีนจกเมืองลอง อันเป็นฝีมือทางเชิงช่างของผู้หญิงชาวเมืองลอง

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 19 •กุมภาพันธ์• 2013 เวลา 22:28 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จโรงเรียนพุทธโกศัยวิทยา

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจที่โรงเรียนพุทธโกศัยวิทยา วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร เมื่อเวลา ๐๙.๓๐ น. (๒๓ ก.พ. ๕๓) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังโรงเรียนพุทธโกศัยวิทยา วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร อำเภอเมืองแพร่ ทรงจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยภายในพระอุโบสถและประเคนเครื่องไทยธรรมถวายแด่พระมหาโพธิวงศาจารย์ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๖ เจ้าอาวาสวัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร จากนั้นพระราชทานของที่ระลึกแก่ผู้มีอุปการคุณแก่โรงเรียนจำนวน ๗๐ ราย จากนั้นทรงพระดำเนินไปยังโรงประกอบภัตตาหาร ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารประกอบภัตตาหารซึ่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่สร้างถวาย ทอดพระเนตรกิจกรรมการประกอบภัตตาหารทอดพระเนตรกิจกรรมการประกอบภัตตาหารทอดพระเนตรกิจกรรมการประกอบอาหารเพล จากนั้นทรงพระดำเนินไปทอดพระเนตรการสาธิตการเทศน์มหาชาติแบบพื้นเมืองล้านนานิทรรศการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระและนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายกเสด็จเข้าห้องทรงงานลงพระนามาภิไธยในสมุดที่ระลึก ทรงพระดำเนินยังหอไตรโบราณทอดพระเนตรผลงานด้านต่างๆของนักเรียนสามเณรทรงปลูกต้นยมหิน จำนวน 1 ต้น ทรงพระดำเนินยังพระวิหารมิ่งเมืองเสด็จเข้าพระวิหารทรงจุดเทียนบูชาพระรัตนตรัยทอดพระเนตรแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมของโรงเรียนเสด็จออกจากพระวิหารทรงเยี่ยมราษฎรทรงพระดำเนินไปยังศาลากลางจังหวัดแพร่

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 19 •กุมภาพันธ์• 2013 เวลา 21:56 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จโรงเรียนร้องเข็มวิทยา

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงติดตามความก้าวหน้า ผลการดำเนินงาน โครงการในพระราชดำริ โรงเรียนร้องเข็มวิทยา อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่  (๒๙ ก.พ.๒๕๕๕) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน ไปทรงติดตามความก้าวหน้า ผลการดำเนินงานโครงการในพระราชดำริ โรงเรียนร้องเข็มวิทยา วัดร้องเข็ม ตำบลร้องเข็ม อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ซึ่งเป็น ๑ ใน ๗ โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ของจังหวัดแพร่ ในการนี้ทรงรับฟังการทูลรายงาน ผลการดำเนินงานของโรงเรียนและความก้าวหน้าของโรงเรียน ในโครงการตามพระราชดำริ กลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ซึ่งสามเณรเป็นนักเรียนชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง กระเหรี่ยง อาข่า ไทยใหญ่ ไทยลื้อ ไทยพวน เนปาล และชนเผ่าพื้นเมือง ซึ่งด้อยโอกาส โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับไว้เป็นโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริ พร้อมพระราชทาน ภัตตาหารเพล นมผงธาตุเหล็ก มีพระราชดำริให้ดูแลด้านสุขภาพพลนามัย และโภชนาการ ทรงเน้นให้ส่งเสริมการสอบนักธรรม ตรี โท และ เอก พร้อมพระราชทานทุนการศึกษา ส่งผลให้สามเณร มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงขึ้น มีความสามารถในการเล่าเรียน มีผลการสอบระดับชาติ เพื่อวัดคุณภาพทางการศึกษา ดีขึ้น

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 19 •กุมภาพันธ์• 2013 เวลา 11:39 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จโรงเรียนสัมฤทธิบุญ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ที่โรงเรียนสัมฤทธิบุญวิทยา ตำบลแม่เกิ๋ง อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ เมื่อเวลา ๑๔.๐๐ น. วันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๕ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการดำเนินงานของโรงเรียนสัมฤทธิบุญวิทยา พระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ตำบลแม่เกิ๋ง อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ในการนี้ทรงประเคนสิ่งของพระราชทานสำหรับโรงเรียน ถวายเจ้าอาวาสผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนสัมฤทธิบุญวิทยา จากนั้นเสด็จเข้าห้องรับรอง ทรงลงพระนามาภิไธยในสมุดที่ระลึก เสด็จไปยังห้องบรรยายสรุป ผู้จัดการโรงเรียนสัมฤทธิบุญวิทยา ทูลรายงานประวัติและความเป็นมาของโรงเรียน ผลการดำเนินงานของโรงเรียน และความก้าวหน้าของโครงการพระราชดำริ ทรงทอดพระเนตรนิทรรศการดำเนินงานของโรงเรียน

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 15 •กุมภาพันธ์• 2013 เวลา 09:27 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๓๑

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ : การขยายตัวของรัฐไทยอย่างเข้มข้น อำเภอลองเริ่มเข้าสู่ยุคการพัฒนาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งเริ่มต้นใช้ฉบับแรกเมื่อพ.ศ.๒๕๐๔ เป็นต้นมา ช่วงนี้จึงมีการการจัดตั้งหน่วยงานราชการขึ้นจำนวนมาก เช่น สำนักงานศึกษาธิการอำเภอลอง, สำนักงานประถมศึกษาอำเภอลอง, สำนักงานสรรพสามิตอำเภอลอง, สำนักงานปศุสัตว์อำเภอลอง, สำนักงานพัฒนาอำเภอลอง, สำนักงานสัสดีอำเภอลอง, สำนักงานที่ดินอำเภอลอง, สำนักงานป่าไม้อำเภอลอง, สำนักงานสหกรณ์อำเภอลอง, สำนักงานเกษตรอำเภอลอง, สำนักงานสาธารณสุขอำเภอลอง, สำนักงานสรรพากรอำเภอลอง, สำนักงานไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอลอง, ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขอำเภอลอง, ประมงอำเภอลอง และหมวดการทางอำเภอลอง ฯลฯ นำมาสู่การพัฒนาด้านต่างๆ ภายในอำเภอลองให้เป็นสัดส่วน มีระบบระเบียบแบบแผนทางราชการมากกว่ายุคสมัยที่ผ่านมา ที่พิจารณาจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ เนื่องจากการปกครองรูปแบบใหม่ของอำเภอลองนั้นเน้นนโยบายที่ป้อนเข้ามาจากส่วนกลางหรือภายนอก ต่างจากระบบเมืองแบบจารีตที่สามารถจัดการหล่อเลี้ยงตนเอง ประกอบกับอำเภอลองอยู่ห่างไกลจากศูนย์กลางพัฒนา(กรุงเทพฯ,เชียงใหม่,แพร่) ดังนั้นลำพังเฉพาะชาวบ้านเองหากไม่ได้รับแรงกระตุ้นจากภาครัฐก็จะยังคงมีวิถีชีวิตแบบดังเดิมแบบค่อยเป็นค่อยไป แม้ว่าการพัฒนาในอำเภอลองจะได้ผลช้าไม่เป็นไปตามช่วงปีแผนพัฒนา แต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ก็เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิดการพัฒนารูปแบบใหม่ในยุคนี้ ซึ่งจะพิจารณาตามผลของการพัฒนาภายในอำเภอลองเป็นหลัก สามารถแบ่งออกเป็น ๒ ช่วง คือ (๑) สมัยพัฒนาช่วงที่ ๑ พ.ศ.๒๕๐๔ – ๒๕๒๙ เริ่มเข้าสู่ความเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คน และ(๒)สมัยพัฒนาช่วงที่ ๒ พ.ศ.๒๕๓๐ – ๒๕๔๙ เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตอย่างเข้มข้น

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วัดมณีวรรณ อำเภอเมืองแพร่

วัดมณีวรรณ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖ เดิมชื่อว่า “วัดน้ำล้อม” หรือ “วัดป่าแมต” ที่เรียกชื่อว่า “วัดน้ำล้อม” ก็เนื่องจากตั้งอยู่ต่ำกว่าน้ำห้วยผาคำไหลท่วมทุกปี ศรัทธาประชาชนมีความลำบากในการเดินทางมาทำบุญ จึงได้ย้ายวัดมา ณ ที่ตั้งปัจจุบัน พ่ออินตา คนหลัก ได้บริจาคที่นาถวายให้สร้างวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖ ตุเจ้ากันทาเป็นผู้เริ่มสร้างถวายร่วมกับพระอธิการศิริ (ตุ๊ลุงกุย อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีชุม และได้ตั้งชื่อว่า “วัดป่าแมต” ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น  “วัดมณีวรรณ” สิ่งปลูกสร้างและถาวรวัตถุมีอุโบสถ กุฏิ ศาลาการเปรียญ หอไตร หอกลอง พระเจดีย์ ลำดับเจ้าอาวาส ๑.หลวงพ่ออ้น (มหาวรรณ), ๒.หลวงพ่อจ๋อย, ๓.หลวงพ่อศิริ สิริโย, ๔.พ่อบุญยืน, ๕.พระสุเนตร (คดีโลก), ๖.พระบุญปั้น ปนฺนภาโร (จันตาคำ) พ.ศ.๒๕๐๘ – ๒๕๓๒, ๗.พระอธิการน้อย จนฺทวํโส พ.ศ. ๒๕๓๒ – จนถึงปัจจุบัน

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 17 •กุมภาพันธ์• 2013 เวลา 22:02 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

คุณค่าแห่งสัญญานิรันดร์

คุณค่าแห่งสัญญานิรันดร์ และความผิดพลาดเพราะไม่ไว้ใจ เอาล่ะครับพี่น้อง เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเราได้รู้จักชายคนหนึ่งจากหลายหลายคนที่กระจัดกระจายไปทั่วโลกที่มีชิอว่าอับราฮามและพระเจ้าได้เลือกเขาให้เป็นผู้ที่เป็นตัวแทนของกานำการอวยพรโดยการนำให้ชาวโลกนั้นกลับคืนดีกับพระเจ้า โดยให้พระสัญญาของพระองค์ผ่านทางเชื้อสายอับราฮามนั้นเอง อยากรู้ที่มาแห่งพระสัญญาของอับราฮัมกรุณากลับไปดูบทความของสัปดาห์ที่แล้วครับ ซึ่งพระสัญญานั้นมันโยงใยมาถึงพระเยซูคริสต์ ที่เกี่ยวข้องกับชาวยิว และต่างชาติ (คริสเตียน) ซึ่งเกี่ยวข้องกับอิสลามด้วย แล้วอะไรคือจุดเปลี่ยนของเหตุการณ์เหล่านี้ให้เรามาติดตามกันต่อครับ ให้เรามาดูก่อนว่าอะไรคือพระสัญญาของอับราฮัม คือพระเจ้าจะให้เขาเป็นชนชาติใหญ่ ใหญ่อย่างไร ให้เรามาวิเคราะห์กันว่าเป็นอย่างไร

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 21 •กุมภาพันธ์• 2013 เวลา 10:48 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

<< •เริ่มแรก• < •ย้อนกลับ• 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 •ถัดไป• > •สุดท้าย• >>

•หน้า 12 จาก 33•