ค้นหาบทความ
ราคาน้ำมันวันนี้
จำนวนนับผู้เข้าเยี่ยมชม
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้533
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้682
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้4164
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว3015
mod_vvisit_counterเดือนนี้9590
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว15525
mod_vvisit_counterรวมผู้เข้าชม2257821

ออนไลน์ (20 นาทีที่แล้ว): 10
หมายเลข IP : 18.223.0.53
MOZILLA 5.0,
วันที่ : 20 •เม.ย.•, 2024
ขณะนี้มีผู้เข้าชม
• เรามี• •16 บุคคลทั่วไป• •ออนไลน์•
ล้านนาแพร่ประชาสัมพันธ์
Vinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo Slider

อ่างเก็บน้ำแม่สอง อำเภอสอง

ร้อยรัดดวงใจเพื่อเทิดไท้องค์ราชัน ที่พระองค์ทรงฝ่าฟันให้ไทยนั้นได้ร่มเย็น "... เรื่องน้ำนี้ ก็เป็นปัจจัยหลักของมวลมนุษย์ ไม่ใช่มนุษย์เท่านั้น แม้สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ทั้งสัตว์ทั้งพืช ถ้าไม่มีก็อยู่ไม่ได้ เพราะว่าน้ำเป็นสื่อ หรือเป็นปัจจัยสำคัญของสิ่งมีชีวิต แม้สิ่งไม่มีชีวิตก็ต้องการน้ำเหมือนกัน มิฉะนั้นก็จะกลายเป็นอะไรไม่ทราบ เช่น ในวัตุถุต่างๆ ในรูปผลึก ก็ต้อง มีน้ำในนั้นด้วย ถ้าไม่มีน้ำก็จะไม่เป็นผลึก กลายเป็นสิ่งที่ไม่มีรูป ฉะนั้น น้ำนี้ก็เป็นสิ่งสำคัญ ที่กล่าวถึงข้อนี้ก็จะให้ได้ทราบถึงว่า ทำไมการพัฒนา ขั้นแรกหรือสิ่งแรก ที่นึกถึงก็คือโครงการชลประทาน แล้วก็โครงการ สิ่งแวดล้อมทำให้น้ำดี สองอย่างนี้อื่นๆ ก็จะเป็นไปได้ถ้าหากว่า ปัญหา ของน้ำนี้ เราได้สามารถที่จะแก้ไข หรืออย่างน้อยที่สุด ก็ทำให้เรามีน้ำใช้ อย่างเพียงพอ ฉะนั้นการพัฒนานั้นสิ่งสำคัญก็อยู่ตรงนี้ นอกจากนั้น ก็เป็นสิ่งที่ต่อเนื่อง เช่นวิชาการในด้านการเพาะปลูก เป็นต้น ตลอดจนถึง การพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม หรือการค้า หรือการคลัง อะไร พวกนี้ก็ต่อเนื่องต่อไป... " พระราชดำรัส วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๓๒ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน โครงการอ่างเก็บน้ำแม่สอง พระราชดำริเมื่อ วันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๒๕ สถานที่ตั้ง บ้านท่อสมาน ต.เตาปูน อ.สอง จ.แพร่ วัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อเป็นแหล่งกักเก็บน้ำไว้ใช้เสริมการเพาะปลูกในฤดูฝนและการปลูกพืชฤดูแล้ง เพื่อเป็นแหล่งกักเก็บน้ำไว้เพื่ออุปโภค-บริโภค เพื่อเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำให้ราษฎรบริโภคและมีรายได้เสริมจากการทำการประมง เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจของราษฎรในบริเวณใกล้เคียง เพื่อเป็นแหล่งเก็บกักน้ำ บรรเทาการเกิดอุทกภัย สภาพทั่วไป เป็นป่าและภูเขา ประโยชน์ที่ได้รับ ช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกในเขตโครงการ ๒๗,๐๐๐ ไร่ ระยะเวลาก่อสร้าง เริ่ม พ.ศ. ๒๕๓๐ เสร็จ พ.ศ.๒๕๓๙

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 02 •ตุลาคม• 2012 เวลา 21:14 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๑๔

การตั้งถิ่นฐานและพัฒนาการของเมืองลองในยุคจารีต ระบบการแต่งตั้ง ที่มาของอำนาจ และการรักษาสถานภาพของกลุ่มผู้ปกครองเมืองลอง เมืองลองมีอิสระเป็นการภายในในการคัดเลือกผู้ที่จะได้เป็นเจ้าเมือง หลังจากนั้นจึงเข้ารับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการจากเจ้าผู้ครองนครลำปาง เมื่อกลับมาถึงเมืองก็จะมีพิธีบอกกล่าวเลี้ยงผีอารักษ์บ้านเมือง พิธีรดสรง และทูลขวัญเจ้าเมืองลองคนใหม่อีกครั้งหนึ่ง การขึ้นเป็นเจ้าเมืองลองประการสำคัญคือ อ้างสิทธิธรรมการสืบเชื้อสายมาจากเจ้าช้างปาน ปฐมบรรพบุรุษของเจ้าเมืองลอง และต้องเป็น “เจ้า” ชั้นใกล้ชิดกับเจ้าเมืองคนก่อน โดยเฉพาะบุตรชายที่ถือกำเนิดจากเจ้าเมืองลองกับชายาเอกจะได้รับการพิจารณาเป็นลำดับแรก เมื่อรับการแต่งตั้งแล้วจะได้รับเครื่องเทียมยศหรือเครื่องสูงประทานจากเจ้านครลำปางเพื่อแสดงความชอบธรรม เช่น กุบละแอจิกคำ จ้องคำ ง้าวคอเงิน หอกคอเงิน ดาบหลูบเงินบั้งคำด้ามงาแกะ มีดหลูบเงินด้ามงา เสื้อกระดุมทองคำ หมอนผา(หมอนสามเหลี่ยม)ปักไหมเงินไหมคำ ขันหมากทารักติดคำพร้อมชุดตลับเงิน น้ำต้น(คนโท)หลูบเงิน สลอบเงิน สลุงเงิน บูยา(กล้องยาสูบ)หลูบเงิน ขันข้าวตอกเงิน ขันข้าวตอกทารักติดคำ ขันโตกทารักติดคำพร้อมชุดสำรับเครื่องเคลือบ และกระโถนทองเหลือง เป็นต้น นอกจากนี้เจ้าเมืองยังต้องสร้างสิทธิธรรมต่างๆ คือ เป็นผู้นำประกอบพิธีกรรมของบ้านเมือง สร้างวัด สร้างถาวรวัตถุถวายแก่บวรพุทธศาสนา เช่น พญาขัณฑสีมาโลหะกิจ(เจ้าหนานคันธิยะ โลหะ) สร้างวัดคันธารส(วัดแม่ลานเหนือ) หรือได้ครอบครองของวิเศษที่เกิดมาคู่บารมี เช่น พญาไชยชนะชุมพูได้ดอกต้นโพธิ์จากครูบาชุมพู(พ.ศ.๒๔๐๐ - ๒๔๑๑) วัดบ้านปิน, หรือได้ครอบครองของวิเศษที่เกิดมาคู่บารมี เช่น พญาขัณฑสีมาโลหะกิจ มีแหวนเป็กมะขูดมหานิลดำ (ครูบาหลวงจันทร์ วัดแม่ลานใต้นำมามอบให้) เล่าสืบมาว่าถ้าสวมแหวนวงนี้เอาหัวแหวนขึ้นจะอยู่ยงคงกระพัน หากเอาหัวแหวนลงจะล่องหนหายตัว ซึ่งมีเรื่องเล่าว่าพญาขัณฑสีมาโลหะกิจ เมื่อออกตรวจตราบ้านเมืองชาวเมืองมักได้ยินแต่เสียงฝีเท้าม้ากระทบพื้นแต่มองไม่เห็นตัวเพราะสวมแหวนวงนี้แล้วเอาหัวลง และยังเชื่ออีกว่าหากสวมแหวนวงนี้เมื่อคนข้าวในครกมอง(ครกกระเดื่อง)สากครกก็จะไม่ตำถูกมือ หรือ ไก่ปู้แก้ว (แสนมิ่งเมืองมูล บ้านนาตุ้มนำมามอบให้) เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นจะขันทั้ง ๔ ทิศๆ ละหนึ่งครั้ง เป็นต้น

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•จันทร์•ที่ 01 •ตุลาคม• 2012 เวลา 11:07 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วัดพระร่วง อำเภอเมืองแพร่

วัดพระร่วง ตั้งอยู่ ณ เลขที่ ๑๓ ถนนพระร่วง ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ เป็นวัดที่เก่าแก่มีมาตั้งแต่โบราณกาล สร้างขึ้นเมื่อ ปี พุทธศักราช ๑๓๑๐ ที่มาของชื่อวัดพระร่วง วัดพระร่วงแต่เดิมสันนิษฐานว่ามิใช่ชื่อนี้ แต่จะเป็นชื่อใดนั้นไม่มีหลักฐานปรากฏ จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ ทราบว่า สมัยก่อนวัดนี้เดิมมีผู้คนเรียกว่า “วัดพญาฮ่วง” “ฮ่วง” ซึ่งเป็นสำเนียงภาษาพื้นเมือง ตรงกับภาษาไทยกลางว่า “ร่วง” เพราะภาษาเหนือออกเสียงตัว “ร” เป็นเสียงตัว “ฮ” เช่น “เรือน” เป็น “เฮือน” “รัก” เป็น “”ฮัก” “เรา” เป็น “เฮา” เป็นต้น ดังนั้นถ้าจะเรียกชื่อวัดนี้เป็นภาษาไทยกลางก็คือ “วัดพญาร่วง” ซึ่งคำๆ นี้จะตรงกับคำที่ชาวไทยล้านนานิยมเรียกชื่อพ่อขุนรามคำแหงว่า “พญาร่วง” คือ “พญาฮ่วง” นั่นเอง (ร่วง แปลว่า รุ่ง,เรือง) ซึ่งน่าจะเป็นไปได้ว่า ผู้สร้างวัดพระร่วง (พญาฮ่วง) คือ พญาลิไท สร้างขึ้น นอกจากจะสืบทอดพระพุทธศาสนาแล้วคงสร้างขึ้นเฉลิมพระเกียรติยศ ถวายเป็นพระราชสดุดีแด่พ่อขุนรามคำแหงตามที่ชาวล้านนานิยมเรียกพระนามว่า “พญาร่วง” ซึ่งเป็น “...พระมหาธรรมราชาผู้ปู่ฯ..) ที่ปรากฏในศิลาจารึกที่สอดคล้องกันทั้งสองหลักคือ ศิลาจารึกวัดป่ามะม่วงและศิลาจารึกวัดป่าแดง วัดพญาฮ่วง จะเปลี่ยนเป็นวัดพระยาฮ่วง หรือวัดพระร่วง เมื่อใดไม่มีหลักฐานปรากฏ แต่ปัจจุบันผู้คนทั่วไปก็จะเรียกชื่อวัดนี้ว่า “วัดพระร่วง” ซึ่งก็เช่นเดียวกับชื่อของวัดหลวงสมเด็จที่พระมหาธรรมราชาลิไทโปรดพระราชทานนามไว้ พอเวลาผ่านมานานผู้คนได้เรียกชื่อวัดว่า “วัดหลวง” โดยตัดคำว่า “สมเด็จ” ออกไป ซึ่งคนรุ่นหลังก็ไม่สามารถหาเหตุผลได้ และ “วัดพระยาฮ่วง” ก็ถูกตัดคำว่า”ยา” ออกไป (คำว่า “พระยา” เป็นคำที่แสดงถึงบรรดาศักดิ์ที่ต่อจาก “พระ” ขึ้นไป) คงเหลือเพียงคำว่า “วัดพระร่วง” ตราบเท่าทุกวันนี้

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

คั่วไก่ ครัวแม่จั๋นแก้ว

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 30 •กันยายน• 2012 เวลา 11:58 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ตำบลสบสาย อำเภอสูงเม่น

ตำบลสบสายมีทั้งหมด ๖ หมู่บ้าน คือ บ้านสบสาย ได้แก่ หมู่ที่ ๑ , ๒ , ๕ และ ๖ บ้านวังวน หมู่ที่ ๓ และบ้านหาดลี่ หมู่ที่ ๔ สภาพทั่วไปของตำบล ตำบลสบสายตั้งอยู่ในเขตอำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ อยู่ทางทิศเหนือของอำเภอสูงเม่น อยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดแพร่ ห่างจากอำเภอสูงเม่น ประมาณ ๕ กิโลเมตร ห่างจากอำเภอเมือง ประมาณ ๘ กิโลเมตร อาณาเขตตำบล ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลร่องกาศ ตำบลเวียงทอง อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ทิศใต้ ติดกับ ตำบลดอนมูล ตำบลบ้านปง อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลดอนมูล อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลเวียงทอง อำเภอสูงเม่น และ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ จำนวนประชากรของตำบล จำนวนประชากรในเขต อบต. ประมาณ ๓,๗๗๔ คน ประชากรชายประมาณ ๑,๘๑๒ คน ประชากรหญิงประมาณ ๑,๙๖๒ คน จำนวนหลังคาเรือน ๑,๑๘๐ หลังคาเรือน ข้อมูลประวัติศาสตร์ตำบลสบสาย ประกอบด้วยชุมชนต่างๆ ดังต่อไปนี้

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 27 •กันยายน• 2012 เวลา 10:32 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๑๓

การตั้งถิ่นฐานและพัฒนาการของเมืองลองในยุคจารีต ระบบโครงสร้างการปกครองภายในเมืองลอง ยุคนี้ตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก เพราะยังอยู่ในสายสกุลวงศ์เจ้าช้างปาน แต่ยศเจ้าเมืองลองเลื่อนขึ้นเป็น “แสนหลวง” หรือ “พญา” เจ้าเมืองต้าเมืองขึ้นเป็น “แสน” นำมาสู่ยศตำแหน่งของขุนนางภายในเมืองหากมีความดีความชอบก็จะเลื่อนสูงขึ้นตามลำดับ คือ หมื่น, หมื่นหลวง, หาญ, ท้าว, แสน, แสนหลวง และพญา โดย “พญาเจ้าเมืองลอง” มีอำนาจราชศักดิ์สูงสุดภายในเมือง เป็น “เจ้าชีวิต” มีอำนาจสั่งประหารชีวิตได้ ตามฐานันดรศักดิ์ชาวเมืองถือว่าเจ้าเมืองเป็น “เจ้า” จึงเรียกว่า “เจ้าพญา” หรือ “พ่อเฒ่าเจ้า” เรียกชายาเอกของเจ้าเมืองว่า “แม่เจ้า” ส่วนเจ้าผู้ครองนครลำปางชาวเมืองลองจะเรียกว่า “เจ้าหอคำ” ความเป็น “เจ้า” ในเมืองลองสืบทอดตามความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเจ้าเมืองเป็นสำคัญและจะสิ้นสุดลงในชั้นหลาน เป็นการจำกัดจำนวน “เจ้า” และผู้ที่มีสิทธิ์ขึ้นเป็นเจ้าเมือง ขณะเดียวกันก็มีการจัดลำดับความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างกัน ของเจ้าผู้ครองนครในราชวงศ์เจ้าเจ็ดตนกับเจ้าเมืองลองในสกุลวงศ์เจ้าช้างปาน ดังเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่มีพระราชอาชญาประหารชีวิตโดยใช้ดาบตัดศีรษะ เจ้าผู้ครองนครลำปางใช้หอกเสียบอก เจ้าผู้ครองนครลำพูนใช้หอกเสียบเอว เจ้าเมืองลองใช้หลาวแทง จัดขบวนพิธีการภายในเมืองเจ้าเมืองลองสามารถนั่งม้ากางจ้องคำแต่ไม่สามารถนั่งช้างเลียบเมืองกางสัปทนได้อย่างเจ้าผู้ครองนคร หรือขุนนางเค้าสนามหลวงในนครประเทศราชจะมียศสูงกว่า “พญา” คือ “เจ้าพญา” ในขุนนางชั้นผู้ใหญ่ระดับรอง “เจ้าพญาหลวง”(พญาหลวง) ระดับพญาพื้นหรือพ่อเมืองทั้ง ๔ (ปฐมอรรคมหาเสนาธิบดี ๑ คน และอรรคมหาเสนา ๓ คน) การปกครองส่วนกลางของเมืองลองมีเค้าสนามอยู่บ้านดอนทราย (อดีตเรียกรวมว่าบ้านฮ่อง อ้อ) มีพญาแสนท้าวนั่งการเมือง ๑๒ ขุนเหนือเค้าสนาม แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม คือ พ่อเมืองทั้ง ๔ และขุนเมืองทั้ง ๘ พ่อเมืองทั้ง ๔ มีอำนาจรองลงมาจากเจ้าเมือง เป็นผู้ช่วยเจ้าเมือง และหัวหน้าขุนนางเค้าสนาม พญาพื้นหรือพ่อเมืองลองทั้ง ๔ กลุ่มสุดท้าย คือ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 23 •กันยายน• 2012 เวลา 19:49 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ตำบลร่องกาศ อำเภอสูงเม่น

ประวัติความเป็นมาของบ้านร่องกาศ บ้านร่องกาศ ตำบลร่องกาศ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ เป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่หมู่บ้านหนึ่ง อยู่ห่างจากตัวเมืองแพร่ไปทางทิศใต้ ระยะห่างจากตัวเมืองประมาณ ๔ กิโลเมตร ชาวบ้านร่องกาศ ตั้งบ้านเรือนอยู่ใน ๓ หมู่บ้านคือ หมู่ที่ ๒, หมู่ที่ ๓ และหมู่ที่ ๔ โดยหมู่ที่ ๒ และหมู่ที่ ๓ ตั้งอยู่ทางฟากตะวันออกของถนนยันตรกิจโกศล ส่วนหมู่ที่ ๔ ตั้งอยู่ทางฟากตะวันตกของถนน จากที่ตั้งดังกล่าวบ้านร่องกาศจึงเป็นหมู่บ้านที่เป็นศูนย์กลางของตำบลร่องกาศ ปัจจุบันจึงได้รับเลือกให้เป็นที่ตั้งของสำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลร่องกาศ จากการศึกษาประวัติหมู่บ้านร่องกาศ ไม่พบหลักฐานเก่าแก่ที่บันทึกเรื่องราว การตั้งถิ่นฐานของชาวบ้านร่องกาศ แต่จากคำบอกเล่าของคนแก่คนเฒ่าในหมู่บ้านและเอกสารพงศาวดารปราบเงี้ยวของกรมศิลปากร ทำให้เชื่อได้ว่าหมู่บ้านนี้ตั้งมานานมากกว่าร้อยปีมาแล้วและบ้านร่องกาศ เป็นหมู่บ้านที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์เมืองแพร่ คือ เหตุการณ์กบฏเงี้ยวเมืองแพร่ ชื่อบ้านร่องกาศ เป็นชื่อที่เขียนและเรียกตามสำเนียงภาษาไทยกลาง แต่ในภาษาคำเมืองซึ่งเป็นภาษาถิ่นที่ชาวบ้านใช้ในชีวิตประจำวัน เรียกชื่อหมู่บ้านของตนว่า “ บ้านฮ่องกาด” ชื่อนี้ได้มาจากการรวมคำ ๒ คำ เข้าด้วยกันคือคำว่า “ ฮ่อง ” และคำว่า “ กาด ” คำว่า “ฮ่อง” ในที่นี้มีความหมายถึง ร่องน้ำที่ไหลเซาะไปตามพื้นดิน คือ ร่องน้ำ ที่แยกลำน้ำสาขาเล็กๆ จากลำห้วยแม่สายซึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้าน จุดแยกของร่องน้ำที่ภายหลังเรียกว่า “ น้ำฮ่องกาด ”

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 22 •กันยายน• 2012 เวลา 19:32 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ขอบคุณนิตยสารออนแพร่

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ให้ความหมายของคำว่า สาร ที่อยู่ในคำนิตยสาร และ วารสาร ว่า หมายถึง หนังสือ  คำว่า นิตยสาร มาจากคำ นิตย+สาร  นิตย- เป็นคำภาษาสันสกฤต แปลว่า เสมอไป, สม่ำเสมอ   พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายว่า หนังสือพิมพ์ที่ออกเป็นรายคาบ เช่น นิตยสารรายเดือน พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน อธิบายว่า นิตยสาร มาจากภาษาอังกฤษว่า magazine ออนแพร่ถือเป็นนิตยสารที่ออกมาสร้างสรรค์มุมมองความเป็นแพร่ได้อย่างลงตัว ถ่ายทอดความเป็นแพร่ให้คนไทยได้เห็น จากที่เคยได้แลกเปลี่ยนมุมมองการนำเสนอจนนำมาลงในนิตยสารออนแพร่ประจำเดือนสิงหาคม ๒๕๕๕ กระผมได้รับความอนุเคราะห์จากสภาวัฒนธรรมส่งมาให้อ่านได้รับวันอังคารที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๕ ขอบคุณที่ถ่ายทอดวัตถุประสงค์ให้ท่านผู้อ่านได้ทราบอีกทางหนึ่ง ทำให้มีกำลังใจในการทำงานเพื่อชุมชนต่อไป ขอบคุณนิตยสารออนแพร่มา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ (ที่ชอบเป็นส่วนตัวมากที่สุดคือเอาศิลปินเพลงที่ผมชอบมากที่สุดหนึ่งเดียวลงในฉบับนี้ด้วยครับ)

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พุธ•ที่ 19 •กันยายน• 2012 เวลา 22:01 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๑๒

ต่อจากตอน (๑๑) ๓ เมืองลองยุคสกุลวงศ์เจ้าช้างแดงถึงเจ้าช้างปานตอนกลาง(พ.ศ.๒๐๖๐ – พ.ศ.๒๒๗๐) ยุคนี้คาบเกี่ยวกัน ๒ ช่วง คือ สกุลวงศ์เจ้าช้างแดงและสกุลวงศ์เจ้าช้างปาน หลังจากเจ้าเมืองลองในสกุลวงศ์เจ้าช้างแดงสิ้นสุดลง ได้ตั้งสกุลวงศ์เจ้าช้างปานขึ้นใหม่เมื่อประมาณพ.ศ.๒๑๔๒ โดย “พญาช้างปาน” ซึ่งตั้งแต่สกุลวงศ์เจ้าช้างแดงถึงตอนกลางของสกุลวงศ์เจ้าช้างปาน ก่อนที่จะมีการสถาปนาราชวงศ์เจ้าเจ็ดตนขึ้นปกครองล้านนาเป็นช่วงที่เมืองลองมีอิสระสูงมาก จึงแบ่งยุคนี้ตั้งแต่พญาช้างแดงถึงพญาขุนท่า(พ.ศ.๒๐๖๐ - พ.ศ.๒๒๗๐) เป็นเจ้าเมืองลอง สาเหตุที่เมืองลองมีความเป็นอิสระสูงเนื่องจาก ตั้งแต่พญาเกสเชษฐราช (กษัตริย์ล้านนา พ.ศ.๒๐๖๙ - ๒๐๘๑) ถึงสมัยพญาเมกุ (กษัตริย์ล้านนา พ.ศ.๒๐๙๔ - ๒๑๐๗) กษัตริย์มีอำนาจไม่มั่นคง ขุนนางสามารถปลดหรือปลงพระชนม์กษัตริย์ได้หรือบางเวลาก็ไม่มีกษัตริย์ปกครอง และเจ้าเมืองลำปางก็ไม่ได้เป็นเชื้อพระวงศ์หรือสืบเชื้อสายเหมือนยุคก่อน แต่ปรากฏมีการโยกย้ายตำแหน่งไปครองเมืองต่างๆ อยู่เสมอ ด้วยความอ่อนแอของศูนย์กลางและ เจ้าเมืองลำปางขาดการสร้างฐานอำนาจภายในเมือง เมืองลองจึงมีความเป็นอิสระระดับหนึ่ง และเพิ่มมากขึ้นหลังจากล้านนาเป็นเมืองขึ้นของพม่าในพ.ศ.๒๑๐๑ เป็นต้นมา พม่าได้ส่งคนพม่าหรือเจ้าฟ้าในรัฐฉานมาเป็นเจ้าเมืองลำปาง ส่วนเมืองลองแม้ว่าจัดให้เป็นหนึ่งใน ๕๗ หัวเมืองของล้านนาที่ขึ้นกับพม่า แสดงถึงเมืองลองเป็นเมืองสำคัญใน สายตาของพม่าระดับหนึ่ง สันนิษฐานว่าเพราะมีแร่เหล็กที่ปรากฏหลักฐานกษัตริย์พม่ามีรับสั่งให้บางหัวเมืองในล้านนาส่งส่วยเหล็กให้ราชสำนักพม่า แต่ด้วยเมืองลองมีขนาดเล็กและได้เป็นเมืองขึ้นของเมืองลำปางอยู่แล้ว พม่าจึงปล่อยให้มีเจ้าเมืองสืบทอดเชื้อสายตามเดิม ขณะที่เจ้าเมืองลำปางก็ไม่ได้เข้ามายุ่งเกี่ยวภายในเมืองลอง แม้การกัลปนาก็ให้มีตัวแทนเข้ามาจัดการ เช่น พญาศรีสองเมือง เจ้าเมืองลำปางกัลปนาพื้นที่ให้สร้างวัดพระธาตุศรีดอนคำพ.ศ.๒๑๖๙ หรือเจ้าฟ้าหลวงลายข้า เจ้าเมืองลำปางกัลปนาเขตพระอุโบสถวัดพระธาตุศรีดอนคำพ.ศ.๒๒๐๑ “รวมอุโบสถทังมวลมี ๕๒๘๒๘ รอมยามทังมวลมี ๖๓๓๙๔๙๖ รอมนาทีทังมวลมี ๔๗๕๔๖๒๒๐ นาที เมื่อเช่นเจ้าฟ้าหลวงเมืองลายข้า ตนเปนลูกเจ้าฟ้าหลวงเสือก่อนฟ้า เปนหลานเจ้าฟ้าหลวงเสือจ้อได้มากินเมืองนคร บังเกิดพระราชสัทธายินดีในแก้วทังสาม จิ่งหื้อข้าในตนชื่อชั้นใน เปนอุปทูต หมื่นหละจิตรสาร เปนอนุทูต จำทูลอาชญามาเวนที่หื้อเปนทานแก่สังฆเจ้าในเมืองลอง ลวงกว้างมี ๒๗ วา ลวงยาวมี ๓๕ วา ได้ตั้งเสาเขตสี่เสาในแจ่งวัดทังสี่ พระสังฆเจ้าทังมวลมีแปดพระองค์ ก็ได้หื้อทานแล้วบอระมวลวันนั้นแล”

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 18 •กันยายน• 2012 เวลา 11:26 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

อาหารเพื่อสุขภาพของผู้เป็นเบาหวาน

สารรักษ์หัวใจตอนที่ ๑๑ การเลือกประเภทอาหารเพื่อสุขภาพของผู้เป็นเบาหวาน ๑. อาหารที่ไม่ควรรับประทาน (๑.๑) น้ำนมรสหวาน เช่น นมปรุงแต่งรสต่างๆ ไมโล โอวัลติน โยเกิร์ตรสผลไม้ นมข้นหวาน ยาคูลท์ (๑.๒) น้ำอัดลมทุกชนิด รวมทั้งเครื่องดื่มชูกำลัง และเครื่องดื่มพลังงานต่ำที่โฆษณาสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน (๑.๓) ของขบเคี้ยวทอดกรอบ เช่น ปาท่องโก๋ กล้วยแขกทอด ข้าวเม่าทอด อาหารชุบแป้งทอดต่างๆ ถั่วลิสงทอด ข้าวเกรียบทอด เมล็ดมะม่วงหิมพานต์อบ (๑.๔) ขนมทุกชนิด เพราะปรุงจากแป้ง น้ำตาล ไข่ เนยสด มาการีน กะทิ มะพร้าว ได้แก่ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง เค้ก คุกกี้ สาคูไส้หมู ขนมเป็นชิ้น เช่น ขนมชั้น สังขยาฯ ข้าวเกรียบปากหม้อ ถั่วแปบ เป็นต้น ขนมราดหน้าด้วยกะทิ เช่น เต้าส่วน ปลากริมไข่เต่า ครองแครง สาคูเผือก-มัน ข้าวเหนียวถั่วดำ ข้าวเหนียวเปียก กล้วยบวชชี แกงบวดฟักทอง เผือก มัน ไอศกรีม ขนมใส่น้ำแข็งราดน้ำเชื่อม (๑.๕) ผลไม้หวานจัด เช่น ทุเรียน มะขามหวาน ลำไย ละมุด น้อยหน่า ขนุน อ้อย องุ่น มะม่วงสุก (๑.๖) ผลไม้เชื่อม-ดอง-กวน เช่น มะม่วงกวน กล้วยเชื่อม มะขามแช่อิ่ม แยมผลไม้ต่างๆ เยลลี่ (๑.๗) น้ำผลไม้ เช่น น้ำส้มคั้น น้ำมะเขือเทศ น้ำอ้อย น้ำผึ้ง น้ำตาลสด น้ำลำไย (๑.๘) ผลไม้ในน้ำเชื่อมบรรจุกระป๋อง เช่น เงาะ ลิ้นจี่ สับปะรด ลำไย แห้ว (๑.๙) ผลไม้ตากแห้ง เช่น กล้วยตาก ลูกเกด ลูกพลับแห้ง อินทผาลัมแห้ง (๑.๑๐) อาหารหมักดอง อาหารตากเค็ม อาหารรสเค็มจัด บรรจุกระป๋องหรือถุง เช่น เต้าเจี้ยว เต้าหู้ยี้ ปลาร้า ผักดอง มันฝรั่งอบกรอบ ถั่วเคลือบแป้ง-กะทิอบ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 16 •กันยายน• 2012 เวลา 22:59 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ตำบลบ้านเหล่า อำเภอสูงเม่น

บ้านเหล่าแต่เดิมพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์มีป่าดงดิบและป่าเบญจพรรณ ด้วยความเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ จึงมีความหนาแน่นของไม้ และเถาวัลย์จึงเป็นเหตุให้เกิดความทึบความรกเป็นป่าเป็นเหล่า จึงเป็นที่มาของคำว่า “เหล่า” (เหล่าเป็น ภาษาถิ่นเหนือ) เนื่องด้วยการทำมาหากิน จึงได้มีกลุ่มคนได้นำสัตว์มาเลี้ยงและมีการทำไร่ทำนาและมีจำนวนมากขึ้นมีการจับจองที่ทำกินมีการสร้างห้างนาห้างไร่นานวันขึ้นก็ปลูกเป็นบ้านออย่างถาวร สันนิษฐานว่าการเข้ามาจับจองและอาศัยอยู่คงจะก่อนสมัยรัชกาลที่ ๖ สังเกตได้จากนามสกุลจะมีคำว่า เหล่าใหญ่,เหล่ากว้าง,เหล่าสูง,เหล่ากอเหล่ายาวและเหล่ากาวี ซึ่งพระราชบัญญัตินามสกุลได้ตราขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่ ๖ การเข้ามาจับจองมีอยู่ ๓ กลุ่ม คือ กลุ่มเหล่าเหนือ กลุ่มเหล่าใต้ กลุ่มน้ำฮอก โดยกลุ่มเหล่าเหนือมีชื่อเรียกว่า เหล่าขามเครือ สาเหตุที่เรียกเพราะมีต้นมะขามขนาดใหญ่เป็นจำนวนมากแต่ละต้นต้นมีกิ่งก้านยาวเลื้อยคล้ายเถาวัลย์พาดไปตามพื้นดิน กลุ่มเหล่าใต้ มีชื่อเรียกว่า เหล่าไฟไหม้

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 16 •กันยายน• 2012 เวลา 09:37 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

พระธาตุวัดมหาโพธิ์

พระธาตุวัดมหาโพธิ์ สร้างสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โดยเจ้าหลวงอินทะวิชัยเป็นเจ้าผู้ครองเมืองโกศัย (แพร่) ในปี ๒๓๘๒ “ประวัติพระธาตุวัดมหาโพธิ์ ตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ จากแผ่ศิลาจารึกในอุโบสถ วัดมหาโพธิ์ ตัวอักษรเดิมเป็นภาษาล้านนา (ภาษาพื้นเมือง ซึ่งเขียนขึ้นเมื่อวันศุกร์ ตรงกับปีเป้า ศักราช ๑๒๕ ตรงกะบ พ.ศ. ๒๓๘๖ เดือน ๖ ขึ้น ๑๕ ค่ำ”  เมื่อปี พุทธศักราช ๒๓๘๒ ตรงกับศักราช ๑๒๐๑ เป็นแผ่นดินของสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งราชวงศ์จักรี ณ เมืองโกศัย (แพร่) มีพระมหาเถระองค์หนึ่ง ซึ่งเป็นพระมหาเถระที่ได้สำเร็จฌาณสมาบัติชั้นสูง มีพระนามว่า พระมหาเถรหรือครูบาสูงเม่น ได้กลับจากการศึกษาเล่าเรียนพระไตรปิฎกและวิปัสนากัมมัฎฐานจากประเทศพม่าของพระมหาเถรหรือครูบาสูงเม่นครั้งนี้ ท่านได้อันเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุพระอรหันต์มาด้วยจำนวนหนึ่ง และได้นำพระธาตุนี้ขึ้นทูลถวายแก่เจ้าผู้ครองนครเมืองโกศัย(แพร่) ซึ่งมีพระนามว่า เจ้าหลวงอินทะวิชัย เจ้าผู้ครองนครเมื่อได้รับพระธาตุจากพระมหาเถรแล้วก็ได้ลงไปพระนครและได้เข้าเฝ้าพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นทรงพระนามว่าเจ้าฟ้ามงกุฎเพราะยังมิได้เสร็จขึ้นครองราชย์สมบัติ และได้ถวายทูลเรื่องราวที่ได้พระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุจากพระมหาเถรให้ทรงทราบ พระเจ้าเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระโกษทองคำให้บรรจุแล้วให้นำไปบรรจุไว้ ณ เมืองโกศัย(แพร่)

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 14 •กันยายน• 2012 เวลา 10:02 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

การต่อต้านสยามของประเทศราชล้านนา

“กบฏเงี้ยว พ.ศ. ๒๔๔๕” การต่อต้านสยามของประเทศราชล้านนา เริ่มที่เมืองลอง เมืองต้า แต่ถูกมองข้าม? จะกล่าวถึงเหตุการณ์ “กบฏเงี้ยว พ.ศ.๒๔๔๕” ถือเป็นบาดแผลลึกทางประวัติศาสตร์ที่ได้ตีตราประทับให้กับ “ชาวล้านนา” และ “คนเมืองแพร่” โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงคือกลุ่มผู้สืบเชื้อสายเจ้านายของเมืองแพร่ ที่เจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่องค์สุดท้ายกลายเป็น “กบฏ” บาดแผลลึกทางประวัติศาสตร์นี้ได้เป็นรอยแผลเป็นที่สืบเนื่องมาจนถึงคนรุ่นปัจจุบัน ดังปรากฏว่าทายาทจำนวนไม่น้อยไม่กล้าที่จะบอกว่าตนเองเป็นลูกหลานของเจ้าหลวงเมืองแพร่๒ แต่ทว่าหากเราสามารถศึกษาทำความเข้าใจกับบริบทเหตุการณ์ของบ้านเมืองในขณะนั้น ก็จะสามารถเข้าใจ รับได้ และถือว่าเป็นเรื่องปกติกับสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งบทความฉบับนี้ผู้เขียนได้เขียนขึ้นเพื่อบอกเล่าถึงเหตุปัจจัยและบริบทเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงขณะเวลานั้น ใช่จะรื้อฟื้นความเจ็บปวดของ “ชาวล้านนา” “คนเมืองแพร่” “ผู้สืบเชื้อสายเจ้านายเมืองแพร่” หรือเน้นย้ำความสำเร็จของ “ชาวสยาม” หากแต่เพื่อต้องการให้เป็นฐานของการศึกษาประวัติศาสตร์ล้านนา ที่รอการศึกษาต่อยอดให้ครอบคลุมและลุ่มลึกมากยิ่งขึ้นในอนาคต ไปพร้อมกับสร้างความเข้าใจโดยมองภาพจากทัศนะของท้องถิ่น ตามบริบทเหตุการณ์บ้านเมืองขณะนั้นให้กับคนในท้องถิ่น ตลอดจนเพื่อเป็นฐานสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันอย่างลึกซึ่งระหว่าง “ส่วนกลาง” กับ “ท้องถิ่น” ทดแทนรอยบาดแผลลึกที่เกิดขึ้น เพราะในปัจจุบันทั้ง “ชาวสยาม” และ “ชาวล้านนา” ต่างก็อยู่บนผืนแผ่นดินเดียวกันที่เรียกว่า “ประเทศไทย” และเป็น “คนไทย” ด้วยกันแล้ว ที่ผ่านมาเรื่องราว “กบฏเงี้ยว” ส่วนใหญ่มีการรับรู้รายละเอียดเฉพาะของเมืองแพร่ ทั้งที่เมืองลองเป็นจุดเริ่มต้น เป็นแหล่งเตรียมการ เป็นปมเงื่อนไขสำคัญของเรื่องราว และได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ครั้งนี้ไม่น้อยไปกว่าเมืองแพร่ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พุธ•ที่ 12 •กันยายน• 2012 เวลา 23:12 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๑๑

การตั้งถิ่นฐานและพัฒนาการของเมืองลองในยุคจารีต ระบบโครงสร้างของเมืองลองแบบจารีต (ก่อนล้านนา – พ.ศ.๒๔๔๒) ระบบโครงสร้างของเมืองลองแบบจารีตสามารถแบ่งออกได้เป็น ๔ ยุค คือ (๑) ยุคสกุลวงศ์เจ้าศรีกุกกุฏฏะ(ก่อนล้านนา - พ.ศ.๒๐๒๐) เป็นช่วงก่อตั้งสร้างความมั่นคง (๒) ยุคสกุลวงศ์เจ้าหัวเมืองแก้ว(ประมาณพ.ศ.๒๐๒๐ - พ.ศ.๒๐๖๐) เป็นช่วงเริ่มถูกดึงอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางเมืองหลวงเชียงใหม่และจัดการปกครองรัดกุมมากขึ้น (๓) ยุคสกุลวงศ์เจ้าช้างแดงถึงสกุลวงศ์เจ้าช้างปานตอนกลาง(พ.ศ.๒๐๖๐ - พ.ศ.๒๒๗๐) เป็นช่วงมีอิสระสูง และ(๔) ยุคสกุลวงศ์เจ้าช้างปานตอนกลางถึงตอนปลาย(พ.ศ.๒๒๗๐ - พ.ศ.๒๔๔๒) เป็นช่วงเจ้านครลำปางเข้าควบคุมอย่างใกล้ชิด (๑) เมืองลองยุคสกุลวงศ์เจ้าศรีกุกกุฏฏะ (ก่อนล้านนา - พ.ศ.๒๐๒๐) เมืองลองเริ่มก่อกำเนิดขึ้นโดยการขยายตัวของกลุ่มผู้ปกครองเมืองเขลางค์นคร นำโดยผู้ที่ตำนานเรียกชื่อว่า “เจ้าศรีกุกกุฏฏะ” โอรสเจ้าเมืองเขลางค์นคร สันนิษฐานว่าเมืองลองระยะแรกอยู่ในลักษณะเป็นบ้านพี่เมืองน้องกับเมืองเขลางค์นคร สะท้อนจากมีชื่อเรียกเมืองลำปางว่า “เมืองกุกกุฏนครไก่เผือก” เรียกเมืองลองว่า “เมืองศิริกุกกุฏไก่เอิ้ก” และเป็นเมืองปลายอาณาเขตของแคว้นหริภุญไชย เมื่อพญามังรายตีได้เมืองหริภุญไชยและเมืองเขลางค์นคร เมืองลองจึงถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนาด้วย แต่เมืองลองก็มีอิสระมากพอสมควรจนกระทั่งหลังจากพญาเป็กขะจา เจ้าเมืองลองสิ้นชีวิต พระเจ้าติโลกราชได้ส่งพญาหัวเมืองแก้วจากเมืองเชียงใหม่มาเป็นเจ้าเมืองลองแทน จึงเป็นครั้งแรกที่ถูกแทรกแซงอำนาจทางการปกครองของเมืองลอง

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 11 •กันยายน• 2012 เวลา 19:55 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

มหกรรมถนนเด็กเดิน ๒๕๕๕

วันจันทร์ ที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๕ นางธิภกร นันทะพงษ์ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดแพร่ จัดงานมหกรรมถนนเด็กเดินต้านยาเสพติดเนื่องในวันเยาวชนแห่งชาติจังหวัดแพร่ ปี ๒๕๕๕ ณ สวนสุขภาพเฉลิมพระเกียรติฯ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้มีส่วนร่วมในการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด และมีเวทีในการแสดงออกในทางสร้างสรรค์ พร้อมกันนี้นายชวลิต เมฆจำเริญ ปลัดจังหวัดแพร่ให้เกียรติมอบรางวัลแก่เยาวชนที่ทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชนอาทิเช่น เยาวชนตำบลหัวเมืองนำโดยนางสาวสุกานดา โคกคำ ประธาน รับรางวัลดีเด่นการจัดการฟื้นฟูด้านภัยพิบัติ เยาวชนตำบลเหมืองหม้อรับรางวัลกลุ่มเยาวชนดีเด่นของจังหวัดแพร่ และอันดับสองบุคคลเยาวชนดีเด่นของจังหวัดแพร่ ทีมข่าวเยาวชน รายงาน

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•จันทร์•ที่ 10 •กันยายน• 2012 เวลา 20:36 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

อาหารเสริมหัวใจดวงเดียวให้แข็งแรง

สารรักษ์หัวใจตอนที่ ๑๐ อาหารดี รักษ์หัวใจ อาหารเสริมหัวใจดวงเดียวให้แข็งแรง หัวใจ คือ ศูนย์กลางของชีวิต แม้จะเป็นอวัยวะมหัศจรรย์ที่ธรรมชาติให้มาก็ตาม แต่หัวใจก็ต้องการสารอาหารมากมาย เพื่อบำรุงการทำงาน เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพของเครื่องกลไกหรือหัวใจดวงนี้ ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ อาหารต้านโรคหัวใจ ข้าวกล้อง ให้สารคาร์โบไฮเดรตในรูปเชิงซ้อน ระบบการย่อยจะค่อยๆ ย่อยจนเปลี่ยนเป็นพลังงานอย่างช้าๆ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่สูง จึงช่วยป้องกันโรคเบาหวาน ลดระดับโคเลสเตอรอล ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดโรคหัวใจ อาหารของหัวใจอื่นๆ ธัญพืช ต้องเป็นธัญพืชเต็มรูป ไม่ขัดสี ได้แก่ ข้าวเจ้า ข้าวฟ่าง ข้าวโอ๊ต ข้าวโพด ข้าวสาลี ลูกเดือย ต้องกินหลายชนิดผสมกัน เพื่อให้ได้รสชาติอร่อย และได้คุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 09 •กันยายน• 2012 เวลา 21:56 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ตำบลดอนมูล อำเภอสูงเม่น

ประวัติบ้านดอนมูล ( ตำบลดอนมูล ) ในอดีตกาลที่ผ่านมาประมาณ ๒๐๐ กว่าปี พวกเราชาวบ้านดอนมูลไม่สามารถทราบว่าบ้านดอนมูลหรือตำบลดอนมูลที่เราอาศัยอยู่ทุกวันนี้มีกำเนิดความเป็นมาอย่างไร กำเนิดชุมชนหรือรากเหง้าบรรพบุรุษมาจากแห่งไหน ที่ใด จากการค้นคว้าศึกษาจากเอกสารต่าง ๆ เช่น หนังสือประวัติศาสตร์เมืองแพร่ ( ฉบับ พ.ศ.๒๕๕๐ ) และ จากคำบอกเล่าของผู้อาวุโสในหมู่บ้านที่พอจะทราบเรื่องราวในอดีตอยู่บ้าง ผู้ค้นคว้าจึงนำมาเรียบเรียงเป็นสาระน่ารู้พอสังเขปดังนี้ เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๒๕ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินธุ์ ได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ และสถาปนากรุงเทพมหานคร เป็นราชธานี เมืองแพร่เป็นเมืองหนึ่งที่อยู่ในอาณาจักรล้านนาเป็นเมืองที่อยู่ในความปกครองของพระองค์ เช่นเดียวกัน เมื่อพระเจ้าปดุง แม่ทัพของพม่าได้ยกกำลังทหารเข้ามาทำสงครามกับกรุงเทพ ฯ โดยแบ่งกองทัพออกเป็น ๕ เส้นทาง ในจำนวนกองทัพที่จัดแบ่งออกนี้ ส่วนหนึ่งได้มอบหมายให้กับทัพเนเมียวสีหบดี และพญายอง ยกทัพออกจากเมืองเชียงแสนมุ่งหน้าผ่านเข้าเมืองเทิง – เมืองเชียงคำ เมืองปง (อำเภอปง) ลัดเลาะลงมาตามลำแม่น้ำยม ผ่านเมืองสอง และเมืองแพร่ เมื่อกองทัพผ่านมาถึงเมืองแพร่ เจ้าหลวงเมืองแพร่คือ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 09 •กันยายน• 2012 เวลา 16:36 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วัดท่าขวัญ อำเภอเมืองแพร่

ประวัติวัดท่าขวัญ พบหลักฐานจาลึกเป็นตัวเขียนภาษาลานนาที่ฐานพระพุทธรูปไม้ทั้ง ๔ องค์ที่อยู่คู่กับวัด เขียนว่าจุลศักราชได้ ๑๑๒๖ พ.ศ. ๒๓๗๗ ตุ๊ลุงอินต๊ะ พยาอาจหนานมหาวัน น้อยมโนอ้าย อ้ายเตียม เป็นผู้สร้างพระพุทธรูปไม้และสร้างวัดท่าข้ามนาปัง เดิมชื่อวัดข้ามนาปัง หมู่ที่ ๑ ตำบลท่าข้าม พ.ศ. ๒๔๘๑ เปลี่ยนชื่อเป็นวัดท่าขวัญที่ตั้งวัดเดิมมีเนื้อที่ตามหลักฐาน ส.ค. ๑๖ ไร่ ๓ งาน แบ่งสร้างโรงเรียน ๓ ไร่ คำเรียกขานว่าท่าข้ามคำเล่าสืบมา ๆ ว่าเป็นเส้นทางเจ้าหลวงเมืองแพร่ ใช้ติดต่อระหว่าง เมืองแพร่ เมืองสอง เมืองงาว เมืองน่าน โดยข้ามบ้านท่าข้ามยวน ส่วนคำเรียกขานที่ว่าท่าข้ามนาปังมีคำบอกเล่าว่ามีผู้คน ๒ กลุ่ม กลุ่มที่ ๑ เป็นชาวยวน กลุ่มที่ ๒ บ้านน้ำคือ บ้านศรีบุญเรือง ตำบลในเวียง ได้มาจับจองที่ดินทำนา ทำสวน ทำไร่ ทางฝั่งตะวันตกแม่น้ำยม ตรงข้ากับบ้านท่าขวัญปัจจุบันทุกปีพอถึงฤดูน้ำหลาก น้ำในแม่น้ำยมจะเอ่อท่วมที่สวนไร่นาเป็นประจำส่วนที่ติดน้ำยมตลิ่งจะพังทลายจำนวนมากทุกปี จนเกิดเป็นแอ่งน้ำซึ่งชาวบ้านเรียกว่าหนองน้ำนาปัง หรือลุ่มในปัจจุบัน ด้วยเหตุการณ์ตลิ่งพังกัดเซาะไปถึงไร่นา สวน ของชาวบ้านจำนวนมากขึ้นทุกปี จึงมีคนขานกันว่า ท่าข้ามนาปัง ปัง เป็นคำพื้นเมืองหมายถึงพัง วัตถุมงคลภายในวัด พระพุทธรูปไม้สักของเก่าคู่วัด ๔ องค์ องค์ที่ ๑ และ ๒ สร้างเมื่อจุลศักราช ๑๑๒๖ เค้าสันปี พ.ศ. ๒๓๐๗ พระปูนปั้น ๑ องค์ สร้าง พ.ศ. ๒๔๖๓ ชื่อหลวงพ่อขวัญชนะมาร พงสิงห์ ๑ องค์ อัญเชิญมาจากเมืองเชียงแสน พ.ศ. ๒๔๘๕

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 07 •กันยายน• 2012 เวลา 23:00 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ชมรมพื้นบ้านล้านนา มช.เชียงใหม่

ประวัติการก่อตั้งชมรมพื้นบ้านล้านนา สโมสรนักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มูลเหตุการก่อตั้งชมรมพื้นบ้านล้านนา ตั้งแต่แรกเริ่มสถาปนาก่อตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในพ.ศ.๒๕๐๗ ซึ่งเป็นสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาแห่งแรกในส่วนภูมิภาคและภาคเหนือของประเทศไทย ที่จัดตั้งขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลและเจตนารมณ์ของประชาชนในภาคเหนือ(ชาวล้านนา) มีปณิธานของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่คือให้เป็นศูนย์กลางทางวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง เพื่ออำนวยประโยชน์แก่ท้องถิ่นและประเทศชาติโดยส่วนรวม เป็นแหล่งสะสม ค้นคว้า วิจัย และถ่ายทอดความรู้ ตามหลักเสรีภาพทางวิชาการ โดยยึดมั่นในสัจธรรมและคุณธรรม เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ การประยุกต์เผยแพร่และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และมีเป้าหมายของมหาวิทยาลัย ๒ ใน ๓ ข้อได้ให้ความสำคัญกับท้องถิ่นคือ “ข้อ ๑ เพื่อขยายการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้มีผลทั่งถึงประชาชนในหัวเมืองของภาคเหนือให้มากยิ่งขึ้น” และ “ข้อ ๓ เพื่อให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำหน้าที่เป็นแหล่งรักษา ถ่ายทอด และเผยแพร่วัฒนธรรมทั้งของชาติและของท้องถิ่น โดยเฉพาะภาคเหนือ” อันเป็นภูมิภาคที่อดีตเคยเป็นอาณาจักรที่มีกษัตริย์ ปกครอง มีภาษา อักษร ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน ดังนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่า “มหาวิทยาลัยเชียงใหม่” ซึ่งตั้งอยู่จังหวัดเชียงใหม่หรืออดีตคือเมืองพระราชธานีของอาณาจักรล้านนา เป็น “มหาวิทยาลัยของล้านนา”

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พุธ•ที่ 05 •กันยายน• 2012 เวลา 23:12 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หัวเมือง

เดิมองค์การบริหารส่วนตำบลหัวเมือง มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดจำนวน ๕ ศูนย์ คือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหัวเมือง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดงเจริญ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในวัดมัทธะ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังฟ่อน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองเสี้ยว ซึ่งได้รับการถ่ายโอนจากกรมพัฒนาชุมชน และกรมศาสนา เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๘ จนถึงปัจจุบัน อาคารและสถานที่ มีความทรุดโทรมประกอบกับ นโยบายของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล หัวเมือง ที่จะส่งเสริมการศึกษา และได้รับงบประมาณจากโครงการยกระดับการศึกษาท้องถิ่น (ก่อสร้างอาคารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก) ของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน ๒,๔๗๔,๐๐๐ บาท เป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขนาดกลาง จึงได้ทำการรวมศูนย์ขึ้น เป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลหัวเมือง ในวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๔ องค์การบริหารส่วนตำบลหัวเมือง ได้ประกาศให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลหัวเมือง ในการเปิดบริการให้รับนักเรียน ภายในตำบลหัวเมือง จำนวน ๑3 หมู่บ้าน และได้เปิดบริการครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๔ โดยมีเด็กนักเรียนจำนวน ๑๑๐ คน หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ๑ คน ครูผู้ดูแลเด็ก 6 คน แม่ครัว ๑ คน และมีพนักงานขับรถรับส่งนักเรียน ๒ คน

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 13 •กันยายน• 2012 เวลา 12:05 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

<< •เริ่มแรก• < •ย้อนกลับ• 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 •ถัดไป• > •สุดท้าย• >>

•หน้า 20 จาก 33•