ค้นหาบทความ
ราคาน้ำมันวันนี้
จำนวนนับผู้เข้าเยี่ยมชม
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้417
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้499
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้2334
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว4342
mod_vvisit_counterเดือนนี้12102
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว15525
mod_vvisit_counterรวมผู้เข้าชม2260333

ออนไลน์ (20 นาทีที่แล้ว): 4
หมายเลข IP : 18.226.166.214
MOZILLA 5.0,
วันที่ : 25 •เม.ย.•, 2024
ขณะนี้มีผู้เข้าชม
• เรามี• •16 บุคคลทั่วไป• •ออนไลน์•
ล้านนาแพร่ประชาสัมพันธ์
Vinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo Slider

ตำบลท่าข้าม อำเภอเมือง

บทที่ ๑ ความเป็นมาของตำบลท่าข้าม สถานที่ตั้ง ตำบลท่าข้ามตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองแพร่ประมาณ ๑๓ กิโลเมตร จากคำบอกเล่าของบรรพบุรุษผู้เฒ่าผู้แก่ชาวตำบลท่าข้าม เล่าสืบกันมาว่า ตำบลท่าข้ามเริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อไรนั้น ไม่สามารถหาพยานหลักฐานยืนยันแน่ชัดได้ แต่พอจะทราบได้ว่าตำบลท่าข้ามตั้งขั้นภายหลังจากตั้งเมืองแพร่เสร็จแล้ว โดยสันนิษฐานจากการอพยพของประชาชน มาจากคนในเมืองแพร่ที่อพยพมาอยู่บ้านท่าข้าม เพื่อเสาะแสวงหาแหล่งทำมาหากิน เพราะบ้านท่าข้ามเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำยม เหมาะแก่การประกอบอาชีพทำการเกษตรเป็นอย่างยิ่ง อาณาเขตติดต่อ ทิศเหนือ ติดกับตำบลวังหงส์ ทิศใต้  ติดกับตำบลวังธง ทิศตะวันออก ติดกับแม่น้ำยม ทิศตะวันตก ติดกับอำเภอลองจังหวัดแพร่ ตำบลท่าข้าม มีภูมิประเทศเป็นที่ราบและเชิงเขามีป่าชุมชน และป่าสงวนมีต้นไม้ใหญ่ขึ้นอย่างหนาแน่น เช่น ต้นสักทอง , ต้นเต็ง , ตันรัง ต้นไม้เบญจพรรณ ตำบลท่าข้าม มีถนนสู่ตัวอำเภอและจังหวัดอยู่ ๒ สาย สายไผ่ล้อมถึงวัดสวรรคนิเวศ อยู่ในความรับผิดชอบของ อบจ.แพร่ อีกสายหนึ่งจากบ้านท่าข้ามผ่านบ้านมหาโพธิ์สู่เขตอำเภอเมืองแพร่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท ประชาชนในตำบลท่าข้ามประกอบอาชีพทางการเกษตรเป็นส่วนมาก เช่น ทำไร ทำนา เลี้ยงสัตว์ ฯลฯ

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

เรียนผู้มีอุปการะคุณทุกท่าน

เรียนผู้มีผู้มีอุปการะคุณ ทางเว็บไซต์ขอแจ้งเปลี่ยนช่องทางการส่งบทความหรือข่าวสารทาง e - mail : •อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน• เนื่องจาก e - mail เดิมมีปัญหาไม่สามารถรับบทความหรือข่าวสารของท่านได้ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ทางหมายเลขโทรศัพท์ ๐๘ - ๖๗๒๘ - ๗๕๔๘ เว็บไซต์ยินดีให้บริการทุกท่านที่รักบ้านเกิดเมืองแพร่ของเราต่อไป ขอบคุณครับ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พุธ•ที่ 09 •มกราคม• 2013 เวลา 12:18 น.• )

 

คำขวัญวันเด็ก ๒๕๕๖

คำขวัญวันเด็ก ๒๕๕๖ คือ  “รักษาวินัย ใฝ่เรียนรู้ เพิ่มพูนปัญญา นำพาไทยสู่อาเซียน” วันเด็กแห่งชาติ กำหนดให้ตรงกับวันเสาร์ที่ ๒ ของเดือนมกราคมของทุกปี ในปี ๒๕๕๖ วันเด็กแห่งชาติ ตรงกับวันเสาร์ที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๖ คำขวัญวันเด็ก เป็น คำขวัญที่นายกรัฐมนตรีมอบให้เด็กไทย เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติของทุกปี โดยคำขวัญวันเด็กมีขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙ ในสมัยที่จอมพล ป.พิบูลสงครามดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๒ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ให้คุณค่าความสำคัญของเด็ก จึงมอบคำขวัญให้เป็นข้อคติเตือนใจสำหรับเด็กปีละ ๑ คำขวัญ (ก่อนถึงวันเด็กแห่งชาติ) นายกรัฐมนตรีสมัยต่อมา จึงได้ถือเป็นธรรมเนียมสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เห็นคุณค่าความสำคัญ ของเด็กจึงมอบคำขวัญให้เป็นข้อคิด สำหรับเด็ก นายกรัฐมนตรี ในสมัยต่อ ๆ มา จึงได้ถือปฎิบัติสืบต่อมาดังต่อไปนี้

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พุธ•ที่ 09 •มกราคม• 2013 เวลา 10:45 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

พิธีมอบของพระราชทาน

วันศุกร์ที่ ๔ มกราคม ๒๕๕๖ นายวิชชา จิรภิญญากุล นายอำเภอสอง เป็นประธาน พิธีมอบของพระราชทาน ให้กับโรงเรียนวังฟ่อนวิทยา พระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในโครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ณ. วัดวังฟ่อน ตำบลหัวเมือง อำเภอสอง จังหวัดแพร่

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ประกวดร้องเพลงพระราชนิพนธ์

นายเอกชัย วงศ์วรกุล ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ มอบเงินรางวัลให้กับนางสาวภัทราพร สติดี จากโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่ ชนะเลิศระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และเด็กหญิงชุติกาญจน์ ใจนันท์ โรงเรียน อนุบาลแพร่ ชนะเลิศระดับประถมศึกษา จากการประกวดร้องเพลงพระราชนิพนธ์ เวทีวัฒนธรรมถนนคนเดิน เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๖ มกราคม ๒๕๕๖ ณ เวทีวัฒนธรรมถนนคนเดิน

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

แกงอ่อมจี้นควาย ครัวแม่จั๋นแก้ว

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

มอบของขวัญปีใหม่แก่ผู้ว่า

นายเอกชัย วงศ์วรกุล ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ มอบของขวัญปีใหม่ให้แก่นายอภิชาติ โตดิลกเวชช์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ในงานเลี้ยงต้อนรับปีใหม่ ๒๕๕๖ ภายใต้ชื่องาน “เพื่อประโยชน์สุข ของประชาชนจังหวัดแพร่” เมื่อวันที่ ๓ มกราคม ๒๕๕๖ ณ จวนผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

การเสด็จพระราชดำเนิน ครั้งที่ ๓

วันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๖ เพื่อถวายผ้าพระกฐินต้น (กฐินส่วนพระองค์) และทรงเยี่ยมราษฎร ณ วัดหนองม่วงไข่ ตำบลหนองม่วงไข่ อำเภอหนองม่วงไข่ ๐๙.๐๕ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิรินธรฯ และพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ ประทับเครื่องบินพระที่นั่งไปยังสนามบินจังหวัดแพร่ แล้วเสด็จฯโดยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งถึงโรงเรียนม่วงไข่พิทยา (ปัจจุบันคือโรงเรียนม่วงไข่พิทยาคม) เมื่อเวลาประมาณ ๑๑.๐๐น. แล้วเสด็จฯ โดยรถยนต์พระที่นั่งต่อไปยังวัดหนองม่วงไข่ เมื่อรถยนต์พระที่นั่งถึงวัดหนองม่วงไข่ นายนิทัศน์ โสภารัตน์ กำนันตำบล หนองม่วงไข่ เป็นตัวแทนของพสกนิกรที่เข้าเฝ้าฯ รับเสด็จกล่าวรายงานถวายการต้อนรับ จากนั้นเสด็จฯเข้าในพระอุโบสถวัดหนองม่วงไข่ ทรงนมัสการพระประธานในพระอุโบสถและถวายพระกฐินต้น ทรงเจิมช่อฟ้า และมีพระราชปฏิสันถารกับพระมหาเมธังกร เจ้าอาวาสวัดหนองม่วงไข่ และพระราชรัตนมุนี (พระมหาโพธิวงศาจารย์) แล้วจึงเสด็จฯ ออกมาทรงเยี่ยมราษฎรหลายอำเภอที่มารับเสด็จเป็นจำนวนมาก

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 18 •มกราคม• 2013 เวลา 18:59 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่

บ้านน้ำชำ หมู่ที่ ๑ - ๔ ตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ คำขวัญตำบลน้ำชำ "แพะเมืองผีลือเลื่อง เฟื่องฟูภูมิปัญญา พัฒนาเกษตรอินทรีย์ วิถีชีวิตพอเพียง  หลีกเลี่ยงยาเสพติด พิชิตความยากจน  ชุมชนพึ่งตนเอง" "แพะเมืองผีลือเลื่อง" หมายความว่า ตำบลน้ำชำมีแหล่งท่องเทียวเกิดขึ้นตามธรรมชาติซึ่งเป็นแหล่งท่องเทียวที่สำคัญของตำบลน้ำชำและจังหวัดแพร่ "เฟื่องฟูภูมิปัญญา" หมายความว่า ตำบลน้ำชำมีการพัฒนาศักยภาพของชุมชนจากพื้นฐานและภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติ ขยายผลจากชุมชนสู่ชุมชนสร้างความเชื่อมโยงการพัฒนาที่ยึดชุมชนเป็นหลัก กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น "พัฒนาเกษตรอินทรีย์" หมายความว่า ประชากรในชุมชนตำบลน้ำชำ ส่วนมากประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้พัฒนาการเกษตรที่เน้นความสมดุลการเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนการผลิต โดยใช้เกษตรอินทรีย์ ทำปุ๋ยธรรมชาติใช้เองใช้แรงงานตนเองปลูกพืชหมุนเวียน "วิถีชีวิตพอเพียง" หมายความว่า ประชากรในชุมชนตำบลน้ำชำ สามารถดำรงชีวิตด้วยความพอเพียง รู้จักประมาณตนเอง มีเหตุมีผลในการใช้จ่าย และดำรงชีวิตในทางสายกลางคือรู้จักความพอดี พอเหมาะ "หลีกเลี่ยงยาเสพติด" หมายความว่า ประชาชนและเยาวชนในตำบลน้ำชำรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่นการสร้างอาชีพเสริม รวมกลุ่มเล่นดนตรี และเล่นกีฬาเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการมั่วสุมอบายมุขต่างๆ "พิชิตความยากจน" หมายความว่า ประชาชนในชุมชนตำบลน้ำชำสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองให้มีความมั่นคง ดำรงชีวิตโดยการใช้หลักความอดทน ความขยันและรู้จักประหยัดอดออม "ชุมชนพึ่งตนเอง" หมายความว่า ชุมชนตำบลน้ำชำได้จัดทำกลุ่มที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เช่นกลุ่มแปรรูปถั่วเหลือง กลุ่มกล้วยหลอด กลุ่มข้าวแต๋นโบราณ กลุ่มข้าวแคบ ฯลฯขึ้นเป็นต้น เพื่อเป็นการสร้างอาชีพในชุมชนให้เป็นชุมชนที่เข้มแข็งและสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 04 •มกราคม• 2013 เวลา 09:08 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วัดเมธังกราวาส อำเภอเมือง

วัดเมธังกราวาส เป็นวัดที่สร้างมานาน ไม่มีประวัติที่จะค้นหาหลักฐานได้ จากคำบอกเล่าของหนานน้อย ศรีจันทรากูล อายุ ๙๔ ปี (เมื่อวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๔๓) ซึ่งเป็นกรรมการอาวุโสของวัดเล่าว่า วัดเมธังกราวาสแต่เดิมเรียกกันว่า วัดนาเหลียว เข้าใจว่านางเหลียวเป็นผู้ถวายที่ดินให้เป็นที่ตั้งวัดในสมัยแรกเพราะในปัจจุบันศรัทธาวัด เมื่อมีการทำพิธีไหว้เจ้าที่ของวัดก็จะพูดว่าไปไหว้เจ้านางเหลียว และด้วยเหตุที่ที่เขตวัดที่ตั้งวัดติดกับคูเมือง(คือเมือง) ชาวบ้านเรียกว่าน้ำคือ จึงเรียกชื่อวัดนี้ว่า “วัดน้ำคือ” ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดเมธังกราวาส” โดยเปลี่ยนตามสมณศักดิ์ของเจ้าอาวาส ที่พระราชาคณะพระมหาเมธังกร ซึ่งได้รับแต่ตั้งเป็นเจ้าคณะจังหวัดแพร่ จากคำบอกเล่าของนางยุพยง ศรีสวัสดิ์ อายุ ๘๑ ปี (๒๕๔๗) ว่าได้มีการประชุม คณะกรรมการให้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดเมธังกราวาส”และจากคำบอกกล่าวของนางอำนวย วิชาวุฒิพงษ์ อายุ ๗๗ ปี (๒๕๔๗)อดีตข้าราชการครูซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของพ่อหนานนวล ทองด้วง อดีตมัคนายกคนหนึ่งของวัด ทำให้ทราบว่าที่ดินของวัดนั้นเดิมทีอาณาเขตถึงหน้าตลาดสดเทศบาลเมืองแพร่ ต่อมาทางการต้องการสร้างถนนรอบเมืองจึงได้ขออนุญาตจากทางวัดสร้างเป็นถนนและวัดก็ได้จัดสร้างอาคารพาณิชย์ปัจจุบันมีจำนวน ๑๗ ห้อง เพื่อเป็นผลประโยชน์ให้แก่วัด จากความทรงจำของผู้เฒ่าผู้แก่หลาย ๆ ท่าน ที่เป็นศรัทธาของวัดที่ได้เล่าให้ฟังถึงเจ้าอาวาสที่ปกครองวัดตามลำดับจึงน่าวิเคราะห์ได้ว่า วัดนี้สร้างราวปี พ.ศ. ๒๓๒๕ ซึ่งในกาลครั้งนั้นลักษณะเป็นวัดขนาดเล็กที่ตั้งอยู่นอกกำแพงเมือง เข้าใจว่าผู้สร้างวัดคือตระกูล “วังซ้าย”

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 03 •มกราคม• 2013 เวลา 07:19 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ทำบุญในวันขึ้นปีใหม่ ๒๕๕๖

ภาพการทำบุญ วันอังคารที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เริ่มต้นปีใหม่โดยการทำบุญเข้าวัดรับศีล ๕ เป็นอุบาสก (สาวกที่มิได้บวช) อุบาสิกา (สาวิกาที่มิได้บวช) ผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัย ผู้นับถือศาสนาพุทธ เพื่อความเป็นศิริมงคลแก่ชีวิตตลอดปี ๒๕๕๖ " สวัสดีปีใหม่ " มารับศีลห้ากันเถิด เพราะศีลนำมาซึ่งความสุข

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พุธ•ที่ 02 •มกราคม• 2013 เวลา 11:22 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

สวดมนต์ข้ามปี ๒๕๕๕ - ๒๕๕๖

เวลา ๒๓.๓๐ น. ของวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๕ ถึง ๑๒.๓๐ น. ของวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๖ ชาววังฟ่อนสวดมนต์ทำจิตใจให้สงบเพื่อต้อนรับปีใหม่ ปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ ๓ ซึ่งผลตอบรับดีมากผู้เข้าร่วมสวดมนต์มากกว่าปีที่ผ่านมา ผลของการเริ่มต้นปีใหม่ที่ดีนั้นจะทำให้จิตที่สงบราบเรียบละเอียดอ่อนจากการสวดมนต์ จะทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิดที่เปี่ยมล้นด้วยพลังแห่งความดีงาม ย่อมส่งผลดีต่อร่างกายได้ จิตที่สงบสุขย่อมอยู่ในร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากความอ่อนแอ ในขณะเดียวกันร่างกายที่มีโรคภัยไข้เจ็บ ย่อมจะทำให้จิตใจอ่อนแอตามไปด้วย ขอให้ทุกท่านยึดถือตามหลักของศาสนาของแต่ละท่านเพื่อการดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท มีสติตลอดปี

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 01 •มกราคม• 2013 เวลา 16:30 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ผู้สนับสนุนเว็บไซต์ปี ๕๖ ลำดับที่ ๑

วันอังคารที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๖ นายสมพล พุ่มพวง กำนันตำบลหัวเมือง มอบทุนสมทบค่าเช่าพื้นที่เว็บไซต์แห่งนี้ให้มีการคงอยู่ต่อไป เพื่อเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ของคนจังหวัดแพร่ และผู้สนใจทั่วไป ซึ่งถือว่ากำนันได้เป็นสนับสนุนเว็บไซต์ประจำปี ๒๕๕๖ อย่างเป็นทางการ โดยมีนายวิทยา ใจกุม สอบต.หัวเมืองเป็นตัวแทนรับทุนจำนวน ๑,๐๐๐ บาท เว็บไต์มีค่าใช้จ่ายในการเช่าพื้นที่และชื่อเว็บรายปี ปีละ ๓,๕๐๐ บาท

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 01 •มกราคม• 2013 เวลา 21:23 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ทำอย่างไรเรียกว่าดำเนินชีวิตให้เหมาะสม

สารรักษ์หัวใจตอนที่ ๒๔ ทำอย่างไร..เรียกว่าดำเนินชีวิตให้เหมาะสม โรคหัวใจถึงจะร้ายแรงแต่ป้องกันได้ เพียงแค่ดำเนินวิถีชีวิตให้เหมาะสม ก็สามารถลดความเสี่ยงต่อโรคได้ไม่ยาก ลดน้ำหนักลง คนที่น้ำหนักเกินมาตรฐานมักจะตามมาด้วยความดันเลือดสูงขึ้น รวมทั้งระดับโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดก็สูงตามไปด้วย แถมยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน หากร่างกายคุณไม่สามารถใช้อินซูลินเพื่อเปลี่ยนอาหารให้เป็นพลังงานได้ ซึ่งโรคเบาหวาน จะไปเพิ่มโอกาสในการเป็นหลอดเลือดอุดตันและหัวใจวาย ดังนั้น การลดน้ำหนักให้อยู่ในระดับมาตรฐานจะช่วยคุมระดับโคเลสเตอรอล และความดันเลือด และยังทำให้ร่างกายใช้อินซูลินอย่างได้ผลด้วย

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•จันทร์•ที่ 31 •ธันวาคม• 2012 เวลา 17:37 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ทำบุญศาลเจ้าป้อดงอาฮัก

วันอาทิตย์ที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ประชาชนหมู่บ้านวังฟ่อนร่วมทำบุญศาลเจ้าป้อดงอาฮักที่มีการทำขึ้นใหม่แทนของเดิม จากความเชื่อที่สืบทอดกันมาเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์รูปแบบเทพารักษ์ หรือรุกขเทวดา ที่รักษาผืนป่าชุมชนและลูกหลานมาตั้งแต่การตั้งหมู่บ้าน ซึ่งชาวบ้านต่างให้ความเคารพและสืบทอดพิธีกรรมที่มีมานาน เพื่อไม่ให้สูญหายและเป็นรอยต่อสำหรับประวัติศาสตร์ของคนรุ่นหลัง ซึ่งผลของการสืบทอดความเชื่อทำให้ต้นไม้ในผืนป่าแห่งนี้มีอายุยืนนานหลายร้อยปี ประชาชนในชุมชนมีความสามัคคีกัน และเป็นที่พึ่งทางใจของอีกหลายคน

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 30 •ธันวาคม• 2012 เวลา 19:28 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วัดน้ำชำ อำเภอเมือง

วัดน้ำชำ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๒ โดยครูบาสุวรรณ วัดเหมืองหม้อร่วมกับครูบากันทา พ่อหลักคำ คำวงจันทร์ ผู้ใหญ่บ้าน ร่วมกับพ่อหนานกาวีคำปันปู่ และคณะศรัทธาบ้านน้ำชำได้ช่วยกันสร้างวัดเป็นอารามโครงไม้มุงด้วยหญ้าคา จนต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๓๘ จึงได้สร้างอุโบสถด้วยอิฐผสมปูนหลังคามุงด้วยกระเบื้องไม้ (แป้นเกล็ด) พ.ศ. ๒๔๘๑ ได้สร้างกุฏิเพิ่มประกอบด้วยเสาก่ออิฐผสมปูนพื้นและฝาไม้กระดานหลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา ต่อมามีผู้บูรณะและพัฒนาวัดขึ้นเป็นลำดับคือ ครูบาธรรมา พ่อขุนระบือ คำยวง กำนัน พ่อหลักวงค์ สกุลเอ๋ ผู้ใหญ่บ้าน พ่อหยัน ภัคดี และคณะศรัทธาชาวบ้านได้รื้ออุโอสถหลังเก่าและได้สร้างหลังใหม่ในวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๗ จากนั้นจึงมีบูรณะอุโบสถเปลี่ยนหลังคา ช่อฟ้าใบระกาและทาสีจนถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๒ – ปัจจุบัน พระประธานในวัดได้สร้างขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ ๙ กุมภาพันธ์ เดือน ๕ เหนือ ขึ้น ๑๕ ค่ำ พ.ศ. ๒๔๑๒ โดยครูบาสุวรรณ ปู่เงิน ปู่สม ปู่หนานไชยสาน และปู่หนานตั๋นสุคนธ์และมีการบูรณะอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันอังคารที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๑๗ วัดน้ำชำตั้งอยู่เลขที่ ๕๔ หมู่ที่ ๒ ตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๑ เขตสีมากว้าง ๑๗ เมตร ยาว ๒๐.๕๐ เมตร ประกอบพิธีผูกพัทธสีมาในปีเดียวกัน ที่ดินวัดเนื้อที่ ๓ ไร่ ๓ งาน ๕ ตารางวา

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 29 •ธันวาคม• 2012 เวลา 22:24 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

เมืองแพร่แห่ระเบิด จริงหรือตลก

“เมืองแพร่แห่ระเบิด” เหตุเกิดขึ้นจริงหรืออิงตลก คำล้อเลียน “เมืองแป้แห่ระเบิด” หรือ “เมืองแพร่แห่ระเบิด” เป็นสำนวนที่คนจังหวัดแพร่เมื่อออกไปพบปะกับผู้คนต่างจังหวัดมักได้รับการทักทายเมื่อพบหน้าด้วยสำนวนนี้ รวมไปจนถึงในวงเหล้าที่มีเพื่อนฝูงมาจากต่างจังหวัดกันก็นิยมยกขึ้นมาแซวกันสนุกปาก อย่างน้อยช่วงพ.ศ.๒๕๐๐ ก็พบว่าได้เกิดคำล้อเลียนนี้ขึ้นแล้ว โดยเฉพาะคนจังหวัดที่อยู่ใกล้เคียงกับจังหวัดแพร่ เช่น จังหวัดน่านก็นิยมล้อเลียนในช่วงนี้ คนเมืองแพร่ที่ถูกทักทายด้วยสำนวนนี้ บางคนก็รู้สึกงง บางคนก็รู้สึกเฉยๆ บางคนก็รู้สึกตลกขบขัน บางคนก็รู้สึกอาย หรือบางคนก็รู้สึกโกรธ แล้วแต่บุคคลและสถานการณ์ ส่วนที่รุนแรงก็คือเคยมีการนำเอาสำนวนนี้ไปกล่าวกระทบกระทั่งกันในที่ประชุมผู้บริหารระดับประเทศในวันที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๕ และเกิดกรณีพิพาทออกสื่อดังไปทั่วประเทศอยู่หลายวัน ซึ่งก็ยังไม่มีใครอธิบายได้ชัดเจนว่าสำนวนนี้จริงๆ แล้วจากไหน จนกระทั่งช่วงพ.ศ.๒๕๕๓ จึงเกิดการค้นคว้าที่มาทำการอธิบายใหม่เพื่อตอบโจทย์และตอบโต้กับคำล้อเลียนนี้ว่า “ระเบิดที่แห่มีจริง ไม่ได้แห่เพราะการไม่รู้จักระเบิดจนแตกตายไปครึ่งเมือง แต่ระเบิดที่กล่าวถึงคือระเบิดสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ (พ.ศ.๒๔๘๔ – ๒๔๘๘) นำแห่ไปถวายวัดเพื่อทำระฆังที่อำเภอลอง จังหวัดแพร่” และกลายเป็นคำอธิบายกระแสหลักที่คนทั้งประเทศรับรู้ เพราะมีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ผลิตซ้ำอยู่อย่างสม่ำเสมอทั้งทางโทรทัศน์ นิตยสาร วารสาร หนังสือพิมพ์ เอกสาร แผ่นพับ เว็บไซต์ต่างๆ ตลอดจนถึงการเดินทางมาเที่ยวชมในสถานที่จริง แต่ในมุมมองของผู้เขียนกลับไม่เห็นด้วยกับคำอธิบายนี้ เพราะอะไร แล้วคำล้อเลียนนี้มาจากไหน เป็นเรื่องที่เกิดจากการแห่ระเบิดไปทำระฆังจริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงคำล้อเลียนเพื่ออิงความตลกขบขัน ท่านผู้อ่านลองพิจารณาไปทีละประเด็นได้ตามที่ผู้เขียนนำมาเสนอในบทความฉบับนี้ ประเด็นพิจารณาเรื่องเมืองแพร่แห่ระเบิดเหตุเกิดจริงหรืออิงตลก

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 28 •ธันวาคม• 2012 เวลา 23:10 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

จะไปนรกหรือสวรรค์กันดี

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่าง ย่อมตกนรกเหมือนถูกนำตัวไปวางไว้ ธรรม ๕ อย่างคือ :- ๑. เป็นผู้มักฆ่าสัตว์ ๒. เป็นผู้มักลักทรัพย์ ๓. เป็นผู้มักประพฤติผิดในกาม ๔. เป็นผู้มักพูดปด ๕. เป็นผู้มักตั้งอยู่ในความประมาท ด้วยการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่างเหล่านี้แล ย่อมตกนรกเหมือนถูกนำตัวไปวางไว้." ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๑๙๑

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 28 •ธันวาคม• 2012 เวลา 23:11 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ตำบลบ้านถิ่น อำเภอเมือง

อัตลักษณ์ท้องถิ่นตำบลบ้านถิ่น อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ คำขวัญ “ บ้านถิ่นไทลื้อ ลือชื่อของเก่า ที่สักการะของเราเจ้าคุณโอภาสฯ พระธาตุถิ่นแถน ค้าขายทั่วแดน สุขแสนทั่วหน้า ประชาร่วมใจ” ตำบลบ้านถิ่น ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองแพร่ไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๗ กิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ทางด้านตะวันออกเป็นภูเขาสูง พื้นที่ทั้งหมด ๑๗,๒๓๐ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๑๐,๗๖๘.๗๕ ไร่ อาณาเขตติดต่อ ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลร่องฟองและตำบลน้ำชำ ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลสวนเขื่อนและตำบลกาญจนา ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลสวนเขื่อน ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลร่องฟองและตำบลเหมืองหม้อ เขตการปกครอง ตำบลบ้านถิ่น มี ๑๑ หมู่บ้าน โดยมีผู้ใหญ่บ้าน เป็นผู้ปกครองดูแลตามรายชื่อ ดังนี้ หมู่ที่ ๑ บ้านถิ่นใน มี ร.ต.ต.สุพจน์ ถิ่นสุข(หมดวาระเดือน ก.ย.๒๕๕๕) หมู่ที่ ๒ บ้านถิ่นนอก มี นายธัชพงศ์ ถิ่นศรี หมู่ที่ ๓ บ้านถิ่น มี นายสิรวิชญ์ ยะถิ่น หมู่ที่ ๔ บ้านโป่งศรี มี นายดวงพงษ์ ถิ่นหลวง หมู่ที่ ๕ บ้านถิ่น มี นายไตรเดช พรมวัง หมู่ที่ ๖ บ้านโป่งศรี มี นายวินัย สมันจิต หมู่ที่ ๗ บ้านทุ่งโอภาส มี นายรุ่งโรจน์ พายัพ หมู่ที่ ๘ บ้านถิ่น มี นายทอมสันต์ จูงใจ หมู่ที่ ๙ บ้านถิ่น มี นายอภิชัย ถิ่นจันทร์ หมู่ที่ ๑๐ บ้านโป่งศรี มี นายอินทรีย์ โป่ง หมู่ที่ ๑๑ บ้านถิ่น มี นายบันเทิง ถิ่นฐาน (กำนัน)

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พุธ•ที่ 26 •ธันวาคม• 2012 เวลา 23:13 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

การเสด็จพระราชดำเนิน ครั้งที่ ๒

วันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๔ เมื่อครั้งเกิดอุทกภัยในเขตอำเภอสูงเม่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานความช่วยเหลือแก่ราษฎรที่ประสบอุทกภัย และเสด็จฯ ทรงเยี่ยมราษฎรที่บ้านป่าผึ้ง ตำบลหัวฝาย อำเภอสูงเม่น เวลา ๑๓.๒๕ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ โดยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งจากท่าอากาศยานจังหวัดลำปาง ถึงบ้านป่าผึ้ง* ตำบลหัวฝาย อำเภอสูงเม่น เวลา ๑๔.๐๐ น. นายปฐม สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ พร้อมด้วยข้าราชการเฝ้าฯ รับเสด็จ ทรงเยี่ยมราษฎรซึ่งมาคอยเฝ้าฯ รับเสด็จฯ ทรงมีพระราชปฏิสันถารแก่ราษฎร อย่างใกล้ชิด

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พุธ•ที่ 26 •ธันวาคม• 2012 เวลา 23:15 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

<< •เริ่มแรก• < •ย้อนกลับ• 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 •ถัดไป• > •สุดท้าย• >>

•หน้า 15 จาก 33•