ค้นหาบทความ
ราคาน้ำมันวันนี้
จำนวนนับผู้เข้าเยี่ยมชม
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้477
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้657
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้3488
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว6353
mod_vvisit_counterเดือนนี้18594
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว27825
mod_vvisit_counterรวมผู้เข้าชม2431644

ออนไลน์ (20 นาทีที่แล้ว): 30
หมายเลข IP : 3.133.124.161
MOZILLA 5.0,
วันที่ : 21 •พ.ย.•, 2024
ขณะนี้มีผู้เข้าชม
• เรามี• •27 บุคคลทั่วไป• •ออนไลน์•
ล้านนาแพร่ประชาสัมพันธ์
Vinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo Slider

ปัจฉิมนิเทศ ปีการศึกษา ๒๕๕๖

นายสุกิจ ยาพรม รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต ๑ ให้เกียรติกล่าวปัจฉิมนิเทศโอวาทแก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบ้านวังฟ่อน (สิทธิราษฎร์บำรุง) ซึ่งได้สำเร็จการศึกษาภาคบังคับ และมอบประกาศนียบัตรแก่นักเรียนที่จบการศึกษาชั้นสูงสุดของสถาบันนี้ โดยมีนายสมบัติ  เสนวิรัช ผู้อำนวยการโรงเรียนกล่าวรายงาน มีคณะครู คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียนและผู้ปกครองเข้าร่วมงาน โรงเรียนบ้านวังฟ่อน (สิทธิราษฎร์บำรุง) เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ มีนโยบายในการจัดการเรียนการสอนให้เด็กเป็นคนดี คนเก่ง คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ในปี ๒๕๕๖ มีนักเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ จำนวน ๑๒ คน เป็นนักเรียนชาย ๘ คน นักเรียนหญิง ๔ คน

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พุธ•ที่ 19 •มีนาคม• 2014 เวลา 20:52 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ดร.ปาริชาติกับตำบลไฮเทค

วันอังคารที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๗ ทีมงานกลุ่มสารสนเทศการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดแพร่ นำโดย ดร.ปาริชาติ บุญญาวิวัฒน์ หัวหน้ากลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน อำเภอสอง อำเภอร้องกวาง และผู้นำตำบลประชุมปรึกษาหารือเพื่อเตรียมการดำเนินงานไอทีของชุมชนตามโครงการริเริ่มสร้างสรรค์ (๑+๑ เป็น ๑) "ตำบลไฮเทค ๑ in ๑"

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 18 •มีนาคม• 2014 เวลา 17:21 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

โรงเรียนสีขาว ต้านยาเสพติด

วันอังคารที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๗ พันตำรวจโท พลภูมิ แสดงสกุลสุนทร รอง ผกก.(ป.) สภ.สอง นำเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.สอง จ.แพร่ สุ่มตรวจสารเสพติดในปัสาวะ ประเภทแอมเฟตามีน ตามโครงการโรงเรียนสีขาวปลอดยาเสพติด ณ โรงเรียนบ้านวังฟ่อน สิทธิราษฎร์บํารุง โดยการร่วมมือกัน ๔ ภาคส่วนคือ ปกครองอำเภอสอง สภ.สอง โรงเรียนบ้านวังฟ่อน รพ.สต.บ้านวังฟ่อน เพื่อนำไปสู่การปลอดสารเสพติดภายในโรงเรียนสร้างภูมิคุ้มกันเยาวชนให้ห่างไกลยาเสพติด

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 18 •มีนาคม• 2014 เวลา 17:14 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

โครงการช่วยภัยแล้งเขต ต.หัวเมือง

วันจันทร์ที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๗ นายสมพล พุ่มพวง ตัวแทนผู้นำหมู่บ้านและชาวเกษตรกรผู้ปลูกพืชฤดูแล้ง พื้นที่ตำบลหัวเมือง กราบขอบพระคุณไปยัง ธกส. สาขาสอง ที่มีโครงการ ธกส สู้ภัยแล้ง นำโดยคุณบุญทัน เทพแก้ว ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์จำกัด สาขาสอง นำเงินมาช่วยเหลือ ๗๐,๐๐๐ บาท (เจ็ดหมื่นบาทถ้วน) เพื่อนำมาซื้อน้ำมันใส่เครื่องสูบน้ำ และขอขอบคุณไปยัง อบต.หัวเมือง นำโดย คุณสาคร จิตชู นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหัวเมืองที่นำเงินมาช่วยเหลือ จำนวน ๕๐,๐๐๐ บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) ขอบคุณนายเกียรติศักดิ์ หนูแก้ว กรมชลประทานในการจัดหาเครื่องสูบน้ำขนาด ๘ " จำนวน ๑ เครื่อง ขอบนายอนุวัธ วงศ์วรรณ นายก อบจ.แพร่ ในการจัดหาเครื่องสูบน้ำขนาด ๖ " จำนวน ๑ เครื่อง สุดท้ายขอบคุณปลัดนิกร ยะกะจาย ปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง อำเภอสอง ที่ห่วงใยประชาชนถึงพื้นที่ประสบภัย

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

เมืองพระลอ

เสียงลือเสียงเล่าอ้าง อันใดพี่เอย   เสียงย่อมยอยศใคร ทั่วหล้า    สองเขือพี่หลับไหล ลืมตื่น ฤาพี่   สองพี่คิดเองอ้า อย่าได้ ถามเผือ ลิลิตพระลอเป็นเรื่องซึ่งเกิดขึ้นระหว่าง 2 เมือง คือ "เมืองสรวง" กับ "เมืองสรอง" โดยเมืองสรวงมีเจ้าเมืองผู้ครองนคร ชื่อว่า "ท้าวแมนสรวง" มีพระชายาพระนามว่า "พระนางบุญเหลือ" ทั้งคู่มีโอรสพระองค์หนึ่งรูปงามมาก นามว่า "พระลอ" ส่วนเมืองสรองนั้นตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองสรวงมีเจ้าเมืองชื่ว่า "ท้าวพิมพิสาคร" ท้าวพิมพิสาครผู้นี้มีพระโอรสชื่อว่า "ท้าวพิไชยพิษณุกร" มีพระชายาชื่อว่าพระนางดาราวดี และมีพระธิดาสวยสดงดงามยิ่งชื่อว่า "พระเพื่อน กับพระแพง" คราวหนึ่งท้าวแมนสรวงได้ยกทัพไปตีเมืองสรอง ท้าวพิมพิสาคร ยกทัพไปต่อต้านจนตัวต้องสิ้นชีพไปบนคอช้าง ท้าวพิไชยพิษณุกรผู้เป็นโอรสจึงกันพระศพพระบิดาเข้าเมืองแล้วปิดประตูเมืองรักษาเมืองสรองไว้ได้ ฝ่ายท้าวแมนสรวงเห็นว่าตีเมืองสรองไม่ได้แน่จังยกทัพกลับคืนพระนคร

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

สิ่งที่ทุกคนปรารถนาจะได้

คหบดี ! ธรรม ๔ ประการนี้ น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก. ธรรม ๔ ประการ เป็นอย่างไรเล่า ? คือ :-

ขอโภคะจงเกิดขึ้นแก่เราโดยทางธรรม นี้เป็นธรรม ประการที่ ๑ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก. เราได้โภคะทั้งหลายโดยทางธรรมแล้ว

ขอยศจงเฟื่องฟูแก่เราพร้อมด้วยญาติและมิตรสหาย นี้เป็นธรรม ประการที่ ๒ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจหาได้ยากในโลก. เราได้โภคะทั้งหลายโดยทางธรรมแล้ว ได้ยศพร้อมด้วยญาติและมิตรสหายแล้ว

ขอเราจงเป็นอยู่นาน จงรักษาอายุให้ยั่งยืน นี้เป็นธรรม ประการที่ ๓ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก. เราได้โภคะทั้งหลายโดยทางธรรมแล้ว ได้ยศพร้อมด้วยญาติและมิตรสหายแล้ว เป็นอยู่นานรักษา อายุให้ยั่งยืนแล้ว เมื่อตายแล้ว

ขอเราจงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ นี้เป็นธรรม ประการที่ ๔ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก.

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ร้อยเรียงร้อยเรื่องเมืองลอง ตอนที่ ๒๑

เมืองลองจากจารึก พงศาวดาร และวรรณกรรม (ต่อ) และหลังจากปีที่โอนอำเภอลองจากจังหวัดลำปางมาขึ้นกับจังหวัดแพร่ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๗๔ สำนึกเรื่องนี้ของคนเมืองลองก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง เช่น “...จันทยสรัสสะภิกขุ เขียนปลางเมื่ออยู่ปฏิบัตวัดสรีดอนไชยแม่ลองแก้วกว้าง ทางกลางเมืองลองวันนั้นแล...” ต่างไปจากเมืองขึ้นอื่นๆ ของลำปาง เช่น เมืองแจ้ห่ม จากการสำรวจจารึกท้ายคัมภีร์ใบลานวัดผาแดงหลวง พบว่าคนภายในเมืองจะระบุตำแหน่งของเมืองแจ้ห่มเป็น “หัวเมืองนคร” คือเป็นหัวเมืองของเมืองลำปาง เช่น “...กัญจนภิกขุลิขิตปางเมื่อปฏิบัตสำราญครูบาหลวงอินทะ วัดผาแดงแก้วกว้าง ทางหัวเวียงนคอรไชย...”

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ฆราวาสชั้นเลิศ

คหบดี ! ในบรรดากามโภคีเหล่านั้น กามโภคีผู้ใดแสวงหาโภคทรัพย์โดยธรรม โดยไม่เครียดครัดด้วย, ครั้นแสวงหาโภคทรัพย์โดยธรรม โดยไม่เครียดครัดแล้วทำตนให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำด้วย, แบ่งปันโภคทรัพย์บำเพ็ญบุญด้วย, ไม่กำหนัด ไม่มัวเมา ไม่ลุ่มหลง มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก บริโภคโภคทรัพย์เหล่านั้นอยู่ด้วย;

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ร้อยเรียงร้อยเรื่องเมืองลอง ตอนที่ ๒๐

เมืองลองจากจารึก พงศาวดาร และวรรณกรรม ๑. เมืองลองจากจารึกต่างๆ เมืองลองก็เป็นเมืองหนึ่งที่อุดมไปด้วยหลักฐานต่างๆ แต่ทว่าหลักฐานเหล่านี้ได้กระจัดกระจายอย่างมาก ดังเช่นจารึกในเมืองลองจารึกที่เป็นอักษรสุโขทัยมีจำนวน ๒ หลัก แต่ชำรุดเสียหายมากอีกทั้งไม่ระบุปีศักราชไว้ พอสันนิษฐานได้เพียงว่าในสมัยสุโขทัยเจ้าเมืองลองมีตำแหน่งเป็นขุนเช่นเดียวกับเจ้าเมืองตรอกสลอบ ดังที่ปรากฏในศิลาจารึกว่า “...ออกขุน (เนี)ยรพาน ก่อน...” นอกจากนั้นจารึกเก่าที่สุดก็เป็นจารึกในพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ที่กล่าวถึงการทำบุญและเหตุการณ์ต่างๆ ไว้ ดังที่มีจารึกฐานพระพุทธรูปไม้ และจารึกท้ายคัมภีร์ใบลาน ที่เป็นการบันทึกเหตุการณ์ร่วมสมัยภายในเมืองลอง

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

มนุษย์ผี

คหบดีและคหปตานีทั้งหลาย การอยู่ร่วม ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นอย่างไรเล่า ? คือ :-

(๑) ชายผีอยู่ร่วมกับหญิงผี  (๒) ชายผีอยู่ร่วมกับหญิงเทวดา (๓) ชายเทวดาอยู่ร่วมกับหญิงผี (๔) ชายเทวดา อยู่ร่วมกับหญิงเทวดา

คหบดีและคหปตานีทั้งหลาย ! ก็ชายผีอยู่ร่วมกับหญิงผีอย่างไร ?

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 08 •มีนาคม• 2014 เวลา 13:01 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ร้อยเรียงร้อยเรื่องเมืองลอง ตอนที่ ๑๘ - ๑๙

ร้อยเรียงร้อยเรื่องเมืองลอง ตอนที่ ๑๘ การรับรู้เรื่องเมืองลองผ่านตำนานต่างถิ่น ตำนานในล้านนามีจำนวนมากมาย ทั้งที่เป็นตำนานฝ่ายวัดและตำนานฝ่ายเมืองหรือพื้นเมือง แต่ทว่าตำนานฝ่ายเมืองมีจำนวนน้อยกว่าตำนานฝ่ายวัดมาก ตำนานฝ่ายเมืองเช่น พื้นเมืองเชียงแสน, พื้นเมืองเชียงราย เชียงแสน, คำมะเกล่าเมืองเชียงแสน,พื้นเมืองน่าน และพื้นเมืองเชียงราย เป็นต้น โดยจะสังเกตได้ว่าพื้นเมืองเหล่านี้ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับเมืองลองโดยตรง กรอปกับเมืองลองเป็นเมืองเล็ก อีกทั้งศูนย์กลางการเขียนตำนานอยู่ไกลจากเมืองลอง ดังนั้นพื้นเมืองที่กล่าวมาข้างต้นจึงไม่ปรากฏเรื่องราวหรือชื่อของเมืองลองอยู่เลย โดยพื้นเมืองเหล่านี้จะกล่าวรวมว่าเมืองลคอร(ลำปาง) โดยไม่ให้รายละเอียดถึงเมืองเล็กๆ ที่ขึ้นต่อเมืองลคอรเลย หรือแม้แต่พื้นเมืองเชียงใหม่ในส่วนของเรื่องสมัยราชวงศ์มังราย ก็ไม่กล่าวถึงชื่อเมืองลองหรือเมืองต้าไว้เลย มีระบุไว้เพียงแต่พระแม่กุเคยใช้เป็นเส้นทางทรงเดินทางกลับเมืองเชียงใหม่หลังจากรบศึกชวา(หลวงพระบาง)ที่เชียงแสนผ่านเมืองแพร่ และพัก ๑ คืนที่น้ำต้า เมื่อปีพ.ศ.๒๑๐๑ เป็นที่น่าสังเกตว่าช่วงเวลานี้ทำไมตำนานถึงไม่เรียกที่พระแม่กุพักแรมว่าเมืองต้า หรือเวียงต้า เพราะน้ำแม่ต้าก็ไหลผ่านเมืองต้าอยู่แล้ว

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

พิธีกรรมศพแบบพุทธแท้ ตอนที่ ๙

อรรถกถายสวัตถุ บทว่า ปุพฺพานุปุพฺพกานํ มีความว่า เก่าแก่เป็นลำดับด้วยอำนาจความสืบสายกัน. ข้อว่า เตน โข ปน สมเย เอกสฏฺฐิ โลเก อรหนฺโต โหนฺติ มีความว่า ภายในพรรษาเท่านั้น มีมนุษย์เป็นพระอรหันต์ ๖๑ องค์ คือ พวกก่อน ๖ องค์ และพวกนี้อีก ๕๕ องค์. บรรดามนุษย์เหล่านั้น ยสกุลบุตร เป็นต้น มีบุพประโยคดังต่อไปนี้:- ดังได้ยินมา ในอดีตกาล สหาย ๕๕ คน จะทำบุญร่วมพวกกัน จึงเที่ยวช่วยกันจัดการศพคนอนาถา. วันหนึ่งพวกเขาพบทญิงมีครรภ์ทำกาลกิริยาคิดว่า จักเผา จึงนำไปยังป่าช้า. ในพวกเขา เว้นไว้ที่ป่าช้า ๕ คน สั่งว่า จงช่วยกันเผา ส่วนที่เหลือพากันเข้าบ้าน. พ่อยศผู้ทรามวัย แทงและพลิกศพนั้น ให้ไหม้อยู่ ก็ได้อสุภสัญญา.

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

รักต้นฉบับ

พระธรรม 1 โครินทร์ 13:4-7 4ความรักนั้นก็อดทนนานและกระทำคุณให้ ความรักไม่อิจฉา ไม่อวดตัว  ไม่หยิ่งผยอง ไม่หยาบคาย ไม่คิดเห็นแก่ตนเองฝ่ายเดียว ไม่ฉุนเฉียว ไม่ช่างจดจำความผิด ไม่ชื่นชมยินดีเมื่อมีการประพฤติผิด แต่ชื่นชมยินดีเมื่อประพฤติชอบ ความรักทนได้ทุกอย่างแม้ความผิดของคนอื่น และเชื่อในส่วนดีของเขาอยู่เสมอ และมีความหวังอยู่เสมอ และทนต่อทุกอย่าง

ความรักคืออะไร และความรักมาจากไหน หลายคนไม่รู้เลยหรืออาจจะยังไม่เคยคิดเลยว่าความรักคืออะไรและความรักมาจากไหน รู้อยู่อย่างเดียวว่า ฉันต้องการความรัก มีพระคัมภีร์ตอนหนึ่งบอกว่า “พระเจ้าทรงประทานความรักแก่เราทั้งหลาย (1ยอห์น 3:1) พระเจ้าประทานความรักให้กับเรา ทำให้เราทั้งหลายจึงรู้จักความรัก (1ยอห์น3:16) ว่ามาจากไหน พระเจ้าทรงเป็นแหล่งแห่งความรัก (1ยอห์น4:7) ทำให้ความรักของเรานั้นสมบูรณ์ (1ยอห์น4:17) แต่ความรักที่เราแสดงออกมาบิดเบี้ยวก็เพราะว่าเราเป็นคนบาป ความรักของเราจึงไม่สมบูรณ์ แต่ความรักของพระเจ้านั้นไม่มีที่ติ พระองค์ทรงเป็นต้นฉบับหรือแบบฉบับแห่งความรัก ซึ่งเราสามารถเห็นได้จากพระธรรมตอนนี้ 6 ประการ คือ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 16 •กุมภาพันธ์• 2014 เวลา 10:30 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ความรัก หนึ่งในคุณสมบัติของมุสลิมที่แท้จริง

ความรักคืออะไร?

ความรัก คือความรู้สึกทางจิตใจอันลึกซึ้ง ละเมียดละไมที่มีต่อกันระหว่างบุคคลที่มีศรัทธาต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญ คนเราเมื่อศรัทธาในสิ่งใดก็จะค่อย ๆ โน้มน้าวจิตใจให้เกิดความรู้สึกรัก โดยพัฒนามาเป็นขั้น ๆ อันประกอบด้วยความเมตตา ความอาทร ความหวังดี และให้อภัยเป็นประการสำคัญ

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ที่รักที่เจริญใจในโลก

 

ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก. ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ในที่นี่. ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี่. รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ สิ่งที่ทำหน้าที่รู้ (วิญญาณ) ทางตา สิ่งที่ทำหน้าที่รู้ทางหู...ทางจมูก...ทางลิ้น...ทางกาย...ทางใจ.

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ติดตามการจัดการเรียนการสอน

วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557 ผอ.สุรศักดิ์ เพิ่มผล ผู้อำนวยการสถาบันทางไกลและคณะ ผอ.สนิท กาญจนประดิษฐ์ ผอ.กศน.แพร่ และคณะบุคลากร กศน แพร่ ติดตามการจัดการเรียนการสอนแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ณ กศน.อำเภอสูงเม่น, กศน.อำเภอเด่นชัย และ กศน.อำเภอหนองม่วงไข่ จารุบัณณ์ คันธวัง ฝ่ายประชาสัมพันธ์ รายงาน

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พุธ•ที่ 12 •กุมภาพันธ์• 2014 เวลา 17:35 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

พิธีกรรมศพแบบพุทธแท้ ตอนที่ ๘

ติโรกุฑฑสูตร ว่าด้วยการให้ส่วนบุญแก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่พระเจ้าพิมพิสาร เป็นคาถาว่า [๘] ฝูงเปรตพากันมายังเรือนของตน ยืนอยู่ที่นอกฝาเรือนบ้าง ยืนอยู่ที่ทาง ๔ แพร่ง ๓ แพร่งบ้าง ยืนอยู่ใกล้บานประตูบ้าง. เมื่อข้าวน้ำ ของเคี้ยว ของกินเขาวางไว้เป็นอันมาก ญาติไร ๆ ของเปรตเหล่านั้น ก็ระลึกไม่ได้ เพราะกรรมของสัตว์ทั้งหลายเป็นปัจจัย. ชนเหล่าใด เป็นผู้เอ็นดู ชนเหล่านั้นย่อมให้น้ำข้าว อันสะอาด ประณีต อันสมควร ตามกาล อุทิศเพื่อญาติทั้งหลาย อย่างนี้ว่า ขอทานนี้แล จงมีแก่ญาติทั้งหลาย ขอญาติทั้งหลาย จงมีสุขเถิด.

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 06 •กุมภาพันธ์• 2014 เวลา 21:12 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

คู่บุพเพสันนิวาส และภรรยา ๗ จำพวก

คู่บุพเพสันนิวาส ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภรรยาและสามีทั้งสองพึงหวังพบกันและกันทั้งในปัจจุบัน และในสัมปรายภพ ทั้งสองเทียวพึงเป็นผู้มีศรัทธาเสมอกัน มีศีลเสมอกัน มีจาคะเสมอกัน มีปัญญาเสมอกัน ภรรยาและสามีทั้งสองนั้น ย่อมได้พบกันและกันทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายภพ.

ภรรยาและสามีทั้งสอง เป็นผู้มีศรัทธา รู้ความประสงค์ของผู้ขอ มีความสำรวม เป็นอยู่โดยธรรมเจรจาคำที่น่ารักแก่กันและกัน ย่อมมีความเจริญรุ่งเรืองมาก มีความผาสุกทั้งสองฝ่าย มีศีลเสมอกัน รักใคร่กันมากไม่มีใจร้ายต่อกัน ประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว ทั้งสองเป็นผู้มีศีลและวัตรเสมอกัน ย่อมเป็นผู้เสวยกามารมณ์เพลิดเพลินบันเทิงใจอยู่ในเทวโลก.

จตุกฺก. อํ. ๒๑/๘๑/๕๖

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 30 •มกราคม• 2014 เวลา 20:29 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

พิธีกรรมศพแบบพุทธแท้ ตอนที่ ๗

๑๐. นารทสูตร ว่าด้วยฐานะ ๕ ที่ใคร ๆ ในโลกไม่พึงได้ [๕๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระนารทะอยู่ที่กุกกุฎาราม ใกล้พระนครปาตลีบุตร ก็สมัยนั้น พระนางภัททาราชเทวี ผู้เป็นที่รัก เป็นที่พอพระทัยแห่งพระราชาพระนามว่ามุณฑะ ได้ทิวงคต เมื่อพระนางภัททาราชเทวี ผู้เป็นที่รักเป็นที่พอพระทัย ทิวงคตไปแล้ว พระราชาก็ไม่สรงสนาน ไม่ทรงแต่งพระองค์ ไม่เสวย ไม่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจ ทรงซบเซาอยู่ที่พระศพพระนางตลอดคืนตลอดวัน ครั้งนั้น พระราชาได้ตรัสสั่งมหาอำมาตย์ชื่อว่าโสการักขะผู้เป็นที่รักว่า ท่านโสการักขะผู้เป็นที่รัก ท่านจงยกพระศพพระนางภัททาราชเทวีลงในรางเหล็กที่เต็มด้วยน้ำมัน แล้วปิดด้วยรางเหล็กอันอื่นอีก เพื่อให้เราได้เห็นพระศพพระนางนานได้เท่าไรยิ่งดี โสการักขะมหาอำมาตย์รับสนองพระบรมราชโองการแล้ว ก็ได้จัดการยกพระศพพระนางลงในรางเหล็กที่เต็มด้วยน้ำมัน แล้วปิดด้วยรางเหล็กอันอื่นอีก ครั้งนั้นโสการักขะมหาอำมาตย์จึงคิดว่า เมื่อพระนางภัททาราชเทวี ผู้เป็นที่รัก ที่พอพระทัย แห่งพระเจ้ามุณฑะนี้ ได้ทิวงคตไปแล้ว พระราชาไม่สรงสนาน ไม่ทรงแต่งพระองค์ ไม่เสวย ไม่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจ ทรงซบเซาอยู่ที่พระศพพระนางตลอดคืนตลอดวัน พระราชาพึงเสด็จเข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์รูปใดหนอ ได้ทรงสดับธรรมแล้ว จะพึงทรงละลูกศร คือความโศกได้ ลำดับนั้น โสการักขะมหาอำมาตย์จึงคิดว่า ท่านพระนารทะรูปนี้ อยู่ที่กุกกุฏาราม ใกล้พระนครปาตลีบุตร ก็กิตติศัพท์อันงามของท่านพระนารทะขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า เป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา เป็นพหูสูต มีถ้อยคำวิจิตร มีปฏิภาณดีงาม เป็นวุฑฒบุคคล และเป็นพระอรหันต์ จึงควรที่พระเจ้ามุณฑะจะเสด็จเข้าไปหา เพื่อบางทีได้ทรงสดับธรรมของท่านแล้วพึงทรงละลูกศร คือ ความโศกได้.

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ห้ามผู้อื่นให้ทาน ชื่อว่าไม่ใช่มิตร

วัจฉะ ! ผู้ใดห้ามผู้อื่นซึ่งให้ทาน ผู้นั้นชื่อว่า เป็นอมิตร ผู้ทำอันตรายสิ่ง ๓ สิ่ง คือ :- ทำอันตรายต่อบุญของทายก (ผู้ให้ทาน), ทำอันตรายต่อลาภของปฏิคาหก (ผู้รับทาน), และตัวเองก็ขุดรากตัวเองกำจัดตัวเองเสียตั้งแต่แรกแล้ว. วัจฉะ ! ผู้ที่ห้ามผู้อื่นซึ่งให้ทาน ชื่อว่าเป็นอมิตร ผู้ทำอันตรายสิ่ง ๓ สิ่ง ดังนี้แล.

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

<< •เริ่มแรก• < •ย้อนกลับ• 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 •ถัดไป• > •สุดท้าย• >>

•หน้า 4 จาก 33•