ค้นหาบทความ
ราคาน้ำมันวันนี้
จำนวนนับผู้เข้าเยี่ยมชม
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้517
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้657
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้3528
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว6353
mod_vvisit_counterเดือนนี้18634
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว27825
mod_vvisit_counterรวมผู้เข้าชม2431684

ออนไลน์ (20 นาทีที่แล้ว): 30
หมายเลข IP : 3.141.35.27
MOZILLA 5.0,
วันที่ : 21 •พ.ย.•, 2024
ขณะนี้มีผู้เข้าชม
• เรามี• •22 บุคคลทั่วไป• •ออนไลน์•
ล้านนาแพร่ประชาสัมพันธ์
Vinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo Slider

วันเข้าพรรษา ๒๕๕๗

โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคยังมิได้ทรงบัญญัติการจำพรรษาแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นเที่ยวจาริกไปตลอดฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน. คนทั้งหลายจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร จึงได้เที่ยวจาริกไปตลอดฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน เหยียบย่ำติณชาติอันเขียวสด เบียดเบียนอินทรีย์อย่างหนึ่งซึ่งมีชีวะ ยังสัตว์เล็กๆ จำนวนมากให้ถึงความวอดวายเล่า ก็พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านี้เป็นผู้กล่าวธรรมอันต่ำทราม ยังพัก ยังอาศัยอยู่ประจำตลอดฤดูฝน อนึ่ง ฝูงนกเหล่านี้เล่าก็ยังทำรังบนยอดไม้ และพักอาศัยอยู่ประจำตลอดฤดูฝน ส่วนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ เที่ยวจาริกไปตลอดฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน เหยียบย่ำติณชาติอันเขียวสด

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

พิธีหล่อเทียนพรรษา ๕๗

วันศุกร์ที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๗ โรงเรียนวังฟ่อนวิทยาได้จัดพิธีหล่อเทียนจำนำพรรษาขึ้นโดยมีนายอำเภอสองเป็นประทานในพิธี ศาสนา พราหมณ์-ฮินดู นับถือวัวเพราะถือว่า วัวเป็นพาหนะของพระอิศวร เมื่อวัวตาย จะเอาไขจากวัวมาทำเป็นน้ำมันเพื่อจุดบูชาพระผู้เป็นเจ้าที่ตนเคารพ

ศาสนาพุทธนั้นในพระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๙ หน้าที่ ๖๔ ข้อที่ ๑๑๓ - ๑๑๕  พระพุทเจ้าได้กล่าวไว้ว่าภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างสมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา หนึ่งในนั้นคือพิธีทำพิธีเบิกแว่นเวียนเทียน

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 04 •กรกฏาคม• 2014 เวลา 13:16 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

บ้านลองลือบุญ

ตำบลบ้านหนุน อำเภอสอง จังหวัดแพร่ อาจารย์พัฒน์ คำเหลือง เรียบเรียง บ้านลองลือบุญ เป็นหมู่บ้านที่ตั้งขึ้นมาเมื่อประมาณ พ.ศ. 2435 โดยกลุ่มบุคคลกลุ่มใหญ่ที่เป็นแกนนำในการจัดตั้งหมู่บ้าน เป็นผู้ที่อาศัยอพยพครอบครัว มาจากอำเภอลอง จังหวัดแพร่ เท่าที่ผู้เฒ่า ผู้แก่ได้เล่าสืบ ๆ กันมาได้ความว่า พื้นเพเดิมของบุคคลกลุ่มนี้อยู่ที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย แล้วอพยพไปอยู่อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปางและอำเภอลอง จังหวัดแพร่ตามลำดับ ต่อมาบริษัททำไม้ชื่อบริษัทเอเชียติค ได้รับสัมปทานในการทำไม้ที่จังหวัดแพร่จึงได้ว่าจ้างคนงานตัดฟันไม้ จากอำเภอลอง ไปตัดฟันไม้ที่ห้อยแม่มาน และบริเวณป่าอื่น ๆ ในอำเภอสูงเม่น โดยให้คนงานพักอยู่ที่บ้านหัวดง ตำบลดอนมูล อำเภอสูงเม่น เมื่อทำไม้ที่อำเภอสูงเม่นเสร็จแล้ว ก็ได้ย้ายมาทำต่อที่อำเภอสอง โดยอาศัยพื้นที่ใกล้บริเวณแม่น้ำยม เป็นแหล่งรวมหมอนไม้ นอกจากนั้นบริษัทยังได้ว่าจ้างคนงานจากอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ และบ้านหาดเสี้ยว จังหวัดสุโขทัย มาทำไม้ด้วย โดยคนงานจากอำเภอลองส่วนใหญ่เป็นผู้รับจ้างตัดฟัน กลุ่มลับแลและหาดเสี้ยวเป็นผู้ชักลาก ใช้พาหนะในการชักลากคือ ล้อเกวียนและช้าง ใช้สถานที่บริเวณทุ่งต้นศรี เป็นปางล้อเกวียน บริเวณฝั่งแม่น้ำยมทางทิศตะวันตกของวัดหนุนเหนือ เป็นปางช้าง ผู้รับสัมปทานได้ตั้งแค้มป์สำนักงานไว้บริเวณนั้นด้วย จนชาวบ้านเรียกบริเวณนั้นว่า บ้านห้างซึ่งหมายถึงบ้านพักของนายห้างบริษัททำไม้

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

น้ำตาที่เราได้ร้องไห้มาแล้วทั้งหมด

ภิกษุทั้งหลาย ถูกละ ๆ พวกเธอทราบธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ ถูกแล้ว น้ำตาที่หลั่งไหลออกของพวกเธอ ผู้ท่องเที่ยวไปมา คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจโดยกาลนาน นี้แหละ มากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย.

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 26 •มิถุนายน• 2014 เวลา 17:40 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ร้อยเรียงร้อยเรื่องเมืองลอง ตอนที่ ๓๐

เมืองลองจากจดหมายเหตุ (ต่อ) หลังจากเกิดเหตุการณ์กบฏเงี้ยวขึ้นในปีพ.ศ.๒๔๔๖ ก็ได้ตั้งโรงพักมีตำรวจภูธรมาประจำการที่เมืองลอง(บ้านห้วยอ้อ) และเมืองต้า(บ้านผาลาย) มีบัญชีตำรวจภูธรดังนี้คือ เมืองลอง นายสิบเอก ๑ นาย นายสิบโท ๑ นาย นายสิบตรี ๑ นาย และพลตำรวจ ๘ นาย เมืองต้า นายสิบเอก ๑ นาย นายสิบโท ๑ นาย นายสิบตรี ๑ นาย และพลตำรวจ ๘ นาย ส่วนถัดมาในปีพ.ศ.๒๔๔๗ มีการตั้งโรงพักตำรวจเพิ่มที่แคว้นวังชิ้น และเพิ่มตำรวจที่เมืองลอง และบ้านต้า แคว้นเวียงต้า แขวงเมืองลอง เมืองลอง นายร้อยตรี ๑ นาย จ่านายสิบ ๑ นาย นายสิบเอก ๑ นาย นายสิบโท ๑ นาย นายสิบตรี ๑ นาย และพลตำรวจ ๒๐ นาย บ้านต้า นายสิบเอก ๑ นาย นายสิบโท ๑ นาย นายสิบตรี ๑ นาย และพลตำรวจ ๑๐ นาย แคว้นวังชิ้น นายสิบเอก ๑ นาย นายสิบโท ๑ นาย นายสิบตรี ๑ นาย และพลตำรวจ ๘ นาย

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

การดำรงชีพชอบโดยทิศ ๖ ของฆราวาส

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ในอริยวินัย มีการนอบน้อมทิศทั้งหกอย่างไร พระเจ้าข้า ! พระองค์จงทรงแสดงธรรมที่เป็นการนอบน้อมทิศทั้งหกในอริยวินัยเถิด”

คหบดีบุตร ! เมื่อใด อริยสาวกละเสียได้ซึ่งกรรมกิเลส ๔ ประการ ไม่กระทำกรรมอันเป็นบาปโดยฐานะทั้งสี่ และไม่เสพทางเสื่อม (อบายมุข) แห่งโภคะ ๖ ทาง, เมื่อนั้น เขาชื่อว่า เป็นผู้ปราศจากกรรมอันเป็นบาป รวม ๑๔ อย่าง เป็นผู้ปิดกั้นทิศทั้งหกโดยเฉพาะแล้ว;

ด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่า เขาปฏิบัติแล้วเพื่อชนะโลกทั้งสอง, ทั้งโลกนี้และโลกอื่น เป็นอันเขาปรารภกระทำครบถ้วนแล้ว(อารทฺโธ), เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ภายหลังแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย, ดังนี้.

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 20 •มิถุนายน• 2014 เวลา 11:49 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

พิธีไหว้ครูปีการศึกษา ๒๕๕๗

วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๗ โรงเรียนบ้านวังฟ่อนได้จัดให้มีการไหว้ครูขึ้นเพื่อเริ่มการเรียนในปีการศึกษา ๒๕๕๗ ซึ่งเป็นประเพณีนิยมที่แต่ละโรงเรียนมีการจัดพิธีไหว้ครูในวันพฤหัสบดี กลางเดือนพฤษภาคม-กลางเดือนมิถุนายนของทุกปี พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ให้คำสอนเกี่ยวกับการบูชาครูบาอาจารย์ไว้ในการดำรงชีพชอบโดยทิศ ๖ ของฆารวาสไว้ว่า

คหบดีบุตร ! พึงทราบว่า ทิศทั้งหกเหล่านี้ มีอยู่คือพึงทราบว่า มารดาบิดา เป็นปุรัตถิมทิศ (ทิศเบื้องหน้า), พึงทราบว่า อาจารย์ เป็นทักขิณทิศ (ทิศเบื้องขวา), พึงทราบว่าบุตรภรรยา เป็นปัจฉิมทิศ (ทิศบื้องหลัง), พึงทราบว่า มิตรสหายเป็นอุตตรทิศ (ทิศเบื้องซ้าย), พึงทราบว่า ทาสกรรมกร เป็นเหฏฐิมทิศ (ทิศเบื้องต่ำ), พึงทราบว่า สมณพราหมณ์ เป็นอุปริมทิศ (ทิศเบื้องบน).

หน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อทิศเบื้องขวาคหบดีบุตร ! ทิศเบื้องขวา คือ อาจารย์อันศิษย์พึงปฏิบัติต่อโดยฐานะ ๕ ประการ คือ :-

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 19 •มิถุนายน• 2014 เวลา 10:36 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ร้อยเรียงร้อยเรื่องเมืองลอง ตอนที่ ๒๙

เมืองลองจากจดหมายเหตุ (ต่อ) การลงไปครั้งนี้ก็เพื่อขอให้แต่งตั้งให้แสนหลวงคันธิยะเป็นเจ้าเมืองลองแทน เพราะเจ้าเมืองลองทราบว่าจะมีพระราชพิธีโสกันต์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชในเดือนมกราคม พ.ศ.๒๔๓๓ และก็สันนิษฐานว่าลงไปทูลเรื่องไม่ยอมรับคำตัดสินเดิมในปี พ.ศ.๒๔๓๒ ที่ให้เมืองลองขึ้นเมืองนครลำปางตามเดิม แต่เมื่อแสนหลวงคันธิยะและแสนท้าวเมืองลองไปถึงกรุงเทพฯ วันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ.๒๔๓๓ ประกอบกับมีพระราชพิธีโสกันต์และรับเสด็จพระเจ้าซารวิก รัสเซีย จึงได้รออยู่ที่กรุงเทพฯ ดังนั้นปลายปี พ.ศ.๒๓๓๔ จึงโปรดเกล้าฯ ถึงเจ้าพระยาบดินทร์ ว่า

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

สังสารวัฏ ไม่ปรากฏที่สุดแก่สัตว์ผู้มีอวิชชา

ภิกษุทั้งหลาย กัปหนึ่งนานแล มิใช่ง่ายที่จะนับกัปนั้นว่า เท่านี้ปี เท่านี้ร้อยปี เท่านี้พันปี หรือว่าเท่านี้แสนปี ฯ ภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า ภูเขาหินลูกใหญ่ ยาวโยชน์หนึ่ง กว้างโยชน์หนึ่ง สูงโยชน์หนึ่ง ไม่มีช่องไม่มีโพรง เป็นแท่งทึบ บุรุษพึงเอาผ้าแคว้นกาสีมาแล้วปัดภูเขานั้น ๑๐๐ ปีต่อครั้ง ภูเขาหินลูกใหญ่นั้น พึงถึงการหมดไปสิ้นไป เพราะความพยายามนี้ ยังเร็วกว่าแล ส่วนกัปหนึ่งยังไม่ถึงการหมดไปสิ้นไป กัปนานอย่างนี้ แล.

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

พิธีเลี้ยงเจ้าป้อ ดงอาฮัก

๖ มิถุยายนพุทธศักราช ๒๕๕๗ ความเชื่อและพิธีเลี้ยงเจ้าป้อดงอาฮักมีอยู่คู่กันคนในชุมชนวังฟ่อนมานานนับตั้งแต่แรกตั้งชุมชน โดยมีความเชื่อกันว่าเจ้าป้อดงอาฮักมีพลังเหนือธรรมชาติ เป็นผู้ปกปักรักษาผืนป่าที่คนในชุมชนเรียกว่าผืนดง และเจ้าป้อมีพลังอำนาจที่ให้คุณและโทษได้ เมื่อมีการก่อตั้งชุมชน ขยายพื้นที่ทำกินไปทางผืนดงใหญ่คนในชุมชนจึงมีพิธีกรรมในการเซ่นไหว้เกิดขึ้น เพื่อเป็นการแสดงความเคารพ ขอขมาที่มีการล่วงเกิน และขออำนาจบารมีในการปกปักคุ้มครองคนในชุมชนให้ภัยจากอำนาจธรรมชาติและสิ่งเหนือธรรมชาติ  แต่หากว่ามองอีกมุมหนึ่ง และอีกแนวคิดหนึ่ง  ความเชื่อ พิธีกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งเป็นเสมือนการตอบสนองทางจิตใจ เป็นการปลอบประโลมใจ หรือการหาหลักประกันในชีวิตและจิตใจของคนในชุมชน ในยุคที่มีขีดจำกัดในองค์ความรู้แขนงต่างๆที่จะสามารถอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัวจึงได้เกิดความเชื่อในสิ่งที่อาจถือว่าเป็นอำนาจเหนือธรรมชาติขึ้นมา และด้วยความเชื่อดั่งเดิมสั่งสมผ่านกาลเวลาก่อเกิดเป็นรากฐานของชุมชน เป็นวัฒนธรรมความเชื่อของชุมชน และเป็นประเพณีของชุมชน มาจนถึงในยุคปัจจุบันพุทธศักราช ๒๕๕๗

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 07 •มิถุนายน• 2014 เวลา 07:30 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

กัลยณมิตร คือ อริยมรรค

อานนท์ ! ภิกษุผู้ชื่อว่า มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ย่อมเจริญทำให้มาก ซึ่งอริยมรรคมีองค์แปด โดยอาการอย่างไรเล่า ?

อานนท์ ! ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเจริญทำให้มาก ซึ่งสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ชนิดที่วิเวกอาศัยแล้ว ชนิดที่วิราคะอาศัยแล้ว ชนิดที่นิโรธอาศัยแล้ว ชนิดที่น้อมไปรอบเพื่อการสลัดคืน.

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ร้อยเรียงร้อยเรื่องเมืองลอง ตอนที่ ๒๘

เมืองลองจากจดหมายเหตุ (ต่อ)

ในระหว่างเรื่องราวยังไม่ได้ตัดสินเด็ดขาด จึงให้เมืองลองขึ้นตรงต่อข้าหลวงสามหัวเมืองก่อน(อยู่มาจนถึงข้าหลวงห้าหัวเมือง) และห้ามเจ้านครลำปาง เจ้านายบุตรหลาน และพระยาท้าวแสนเมืองนครลำปางเข้าไปเกี่ยวข้องทุกๆ ประการกับเมืองลอง สรุปเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งเมืองลองฟ้องเรื่องนครลำปาง และทางนครลำปางฟ้องเรื่องเมืองลอง

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 01 •มิถุนายน• 2014 เวลา 11:38 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

รู้จักเลือก : "สังฆทานดีกว่า !"

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ทานประจำสกุลวงศ์ข้าพระองค์ยังให้อยู่ แต่ว่าทานนั้นข้าพระองค์ให้เฉพาะหมู่ภิกษุผู้เป็นอรหันต์ หรือปฏิบัติอรหันตมรรค ที่อยู่ป่า ที่ถือบิณฑบาต ที่ถือผ้าสุกุล เป็นวัตร."

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

หลักดำรงชีพเพื่อประโยชน์สุข ในเวลาถัดต่อมา

พ๎ยัคฆปัชชะ ! ธรรม ๔ ประการเหล่านี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขของกุลบุตรในสัมปรายะ (ในเวลาถัดต่อมา) ๔ ประการ อย่างไรเล่า ?

๔ ประการคือ :-

สัทธาสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยศรัทธา)

สีลสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยศีล)

จาคสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยการบริจาค)

ปัญญาสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยปัญญา)

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ร้อยเรียงร้อยเรื่องเมืองลอง ตอนที่ ๒๕

เมืองลองจากจดหมายเหตุ เมืองลองได้ผ่านเรื่องราวทั้งดีและร้ายมาหลายยุคหลายสมัย และเศษเสี้ยวของเหตุการณ์เหล่านี้ก็ถูกบันทึกไว้บนแผ่นกระดาษเก่าๆ ที่เรียกในปัจจุบันว่าจดหมายเหตุ ซึ่งถือว่าเป็นเอกสารที่มีคุณค่าต่อประวัติศาสตร์ ทำให้เห็นภาพของการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เนื่องจากเอกสารต่างๆ ของล้านนา คือ พื้นเมือง และตำนานต่างๆ มักจะบันทึกเหตุการณ์จบลงก่อนพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ดังนั้นเหตุการณ์ต่อจากนี้จึงต้องใช้เอกสารจดหมายเหตุมาเติมเต็มให้สมบูรณ์ แม้ว่าเอกสารเหล่านี้จะเต็มไปด้วยคติและความคิดของส่วนกลางก็ตาม แต่ก็ให้ข้อมูลได้ชัดเจนและใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุดจึงถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ยากแก่การละเลยไม่นำมาประกอบการศึกษา

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 01 •มิถุนายน• 2014 เวลา 11:07 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วันวิสาขบูชาโลก ๒๕๕๗

ภาพวันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ณ หมู่บ้านวังฟ่อน ต.หัวเมือง อ.สอง จ.แพร่ วันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลกเป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งพ้องตรงกันในวันเดียวกันอย่างน่าอัศจร­รย์ และเป็นวันที่องค์การสหประชาชาติประกาศยกย­่องให้เป็น"วันสำคัญสากลของโลก" อันสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของพระสัมมาส­ัมพุทธเจ้า มหาบุรุษเอกของโลกผู้บังเกิดขึ้นมา เพื่อนำประโยชน์์ใหญ่มาสู่มวลมนุษยชาติด้ว­ยคำสอนอันเป็นความรู้สากล ที่เป็นไปเพื่อการพ้นทุกข์ได้อย่างแท้จริง

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 13 •พฤษภาคม• 2014 เวลา 12:08 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

จาริกธุดงค์เผยแผ่พุทธธรรมวัดนาหลวง

สำนักงานคณะกรรมการเผยแพร่พุทธศาสนนาแห่งชาติ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติและจังหวัดอุดรธานี ได้แจ้งเรื่องการดำเนินงานโครงการจาริกธุดงค์เผยแผ่พุทธธรรมวัดนาหลวง(อภิญญาเทสิตธรรม)ตำบลคำด้วง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี โดยมีพระราชสิทธาจารย์ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๘ เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้พระภิกษุสามเณรได้ถือธุดงควัตร เจริญศีล สมาธิ ปัญญา และเผยแผ่คำสั่งสอนทางพุทธศาสนาให้แพร่หลายไปยังวัด บ้าน โรงเรียน พื้นที่ต่างๆ เส้นทางในจังกวัดแพร่คือ บ้านดอนชัยสักทอง ดอนชัย ป่าเลา นาไร่เดียว พระธาตุพระลอ ทุ่งน้าว หนองเสี้ยว หัวเมือง ย่านยาว เวียงตั้ง มหาโพธิ์ เวียงทอง ผาสุข หาดลี่ พงหัวหาด วัดพงป่าหวาย แพร่ธรรมาราม สิ้นสุดที่วัดเด่นชัยเด่นชัย

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ร้อยเรียงร้อยเรื่องเมืองลอง ตอนที่ ๒๔

ลักษณะการตั้งถิ่นฐานของชุมชนในเขตแอ่งลอง – วังชิ้น (ต่อ) จากตำแหน่งการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณในแอ่งลอง – วังชิ้น จะเห็นได้ว่ามีการตั้งถิ่นฐานกระจุกตัวอยู่ตอนกลางของแอ่งลอง – วังชิ้น ด้านฝั่งตะวันตกของแม่น้ำยม เนื่องจากเป็นพื้นที่ราบขนาดกว้างขวางเหมาะแก่การตั้งถิ่นฐาน อีกทั้งมีลำห้วยสาขาใหญ่ของแม่น้ำยมไหลจากตะวันตก – ตะวันออกลงสู่แม่น้ำยมโดยฝั่งตะวันออกของแม่น้ำยมเป็นที่ราบขนาดเล็กและแคบติดเชิงเขา จึงทำให้ไม่มีการตั้งถิ่นฐานแถบนี้ในระยะแรก แต่ชุมชนโบราณที่ปรากฏคูน้ำคันดินนั้น จะตั้งกระจุกตัวอยู่ตั้งแต่บ้านนาหลวง ตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง ลงมาทางใต้จนถึงบ้านแม่บงเหนือ ตำบลแม่ป้าก อำเภอวังชิ้น (ห่างจากชุมชนโบราณเหล่ารัง บ้านแม่รัง ตำบลบ่อเหล็กลอง อำเภอลอง ประมาณ ๓ กิโลเมตร ซึ่งมีแนวคูน้ำคันดินเชื่อมต่อกัน) และจะปรากฏอยู่ตอนเหนือสุดของแอ่งเป็นบริเวณที่ราบขนาดเล็กไกลออกไปเป็นที่ตั้งเวียงต้า ส่วนตอนใต้สุดไกลออกไปเป็นบริเวณตอนกลางของอำเภอวังชิ้นปัจจุบัน คือเมืองตรอกสลอบ เนื่องจากมีแม่น้ำยมไหลผ่านและมีพื้นที่ราบกว้างขวางกว่าส่วนอื่นๆ ในช่วงตอนท้ายแอ่ง และที่น่าสังเกตก็คือเหนือจากเหล่าเวียง(บ้านนาหลวง) จะปรากฏชุมชนโบราณอยู่ซึ่งเป็นแหล่งที่พบพระพุทธรูปทองสำริด พระพุทธรูปหินทราย และพระพุทธรูปแก้วจำนวนมาก คือชุมชนโบราณบ้านบ่อและชุมชนโบราณห้วยแม่สวก กลับไม่พบมีการสร้างคูน้ำคันดิน พบแต่มีการก่อสร้างโบราณสถานกระจายตัวตามลำห้วยหลายแห่ง สันนิษฐานว่าเนื่องจากมีที่ราบแคบและเป็นที่สูงไกลจากแม่น้ำยม หรือลำห้วยสาขาใหญ่ๆ ของแม่น้ำยม ดังนั้นจึงพบว่ามีการสร้างคูน้ำคันดินอีกแห่งหนึ่งตั้งอยู่บริเวณเหนือขึ้นไปจนสุดแอ่งคือเวียงต้า ซึ่งมีห้วยแม่ต้าเป็นลำห้วยสาขาใหญ่ของแม่น้ำยมไหลผ่าน และตอนใต้ของแอ่งก็มีการตั้งชุมชนโบราณถึงเพียงตอนกลางของเขตอำเภอวังชิ้นปัจจุบัน(เมืองตรอกสลอบ)

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

เหตุเสื่อมและเหตุเจริญแห่งทรัพย์

พ๎ยัคฆปัชชะ ! ปากทางแห่งความเสื่อม ๔ ประการ ของโภคทรัพย์ที่เกิดขึ้นพร้อมแล้วอย่างนี้มีอยู่ คือ :-

ย่อมมีทางเสื่อม ๔ ประการ คือ :-

(๑) ความเป็นนักเลงหญิง

(๒) ความเป็นนักเลงสุรา

(๓) ความเป็นนักเลงการพนัน

(๔) ความมีมิตรสหายเพื่อนฝูงเลวทราม

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วาจาที่ไม่มีโทษ

 

 

วาจาที่ไม่มีโทษ

ภิกษุทั้งหลาย วาจาอันประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ เป็นวาจาสุภาษิต ไม่เป็นวาจาทุพภาษิต เป็นวาจาไม่มีโทษ และวิญญูชนไม่ติเตียน. องค์ ๕ ประการอย่างไรเล่า ? ๕ ประการ คือ :-

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

<< •เริ่มแรก• < •ย้อนกลับ• 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 •ถัดไป• > •สุดท้าย• >>

•หน้า 2 จาก 33•