ค้นหาบทความ
ราคาน้ำมันวันนี้
จำนวนนับผู้เข้าเยี่ยมชม
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้496
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้689
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้496
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว5376
mod_vvisit_counterเดือนนี้20978
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว27825
mod_vvisit_counterรวมผู้เข้าชม2434028

ออนไลน์ (20 นาทีที่แล้ว): 17
หมายเลข IP : 18.117.145.67
MOZILLA 5.0,
วันที่ : 24 •พ.ย.•, 2024
ขณะนี้มีผู้เข้าชม
• เรามี• •13 บุคคลทั่วไป• •ออนไลน์•
ล้านนาแพร่ประชาสัมพันธ์
Vinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo Slider

วันออกพรรษา ๒๕๕๕

วันออกพรรษา เป็นวันสำคัญของพุทธศาสนา หลังจากวันออกพรรษาพระสงฆ์ได้รับพระบรมพุทธานุญาตให้จาริกไปค้างแรมที่อื่นได้ เมื่อออกพรรษาแล้วพระสงฆ์จะได้นำความรู้จากหลักธรรมและประสบการณ์ที่ได้รับระหว่างพรรษาไปเผยแผ่แก่ประชาชน ในวันออกพรรษาพระสงฆ์ได้ทำปวารณา เปิดโอกาสให้เพื่อนพระภิกษุว่ากล่าวตักเตือนเรื่องความประพฤติของตนเพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ ความเคารพนับถือและความสามัคคีกัน พุทธศาสนิกชนได้นำแบบอย่างไปทำปวารณาเปิดโอกาสให้ผู้อื่นว่ากล่าว ตักเตือนตนเองเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาตนและสร้างสรรค์สังคมต่อไป. ประชาสัมพันธ์ถึงท่านชมเว็บ เว็บไซต์ขอนำเสนอบทความ "พระพุทธเจ้าตรัสอะไรบ้าง" จากการคัดลอกมาจากพระไตรปิฎก ทุกวันขึ้น ๑๕ ค่ำ โดยพระธมฺมานุสารี เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าถึงคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ง่ายขึ้น และเพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 30 •ตุลาคม• 2012 เวลา 10:27 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ผักช่วยลดโคเลสเตอรอล

สารรักษ์หัวใจตอนที่ ๑๕ ผักอะไรบ้างที่ช่วยลดโคเลสเตอรอลและช่วยลดความดันโลหิต มีผักหลายชนิดที่ช่วยลดไขมัน ลดโคเลสเตอรอล และช่วยลดความดันโลหิต ซึ่งในบ้านเราหารับประทานได้ง่าย และไม่มีอันตราย ได้แก่ ๑. แครอท มีคุณสมบัติช่วยลดโคเลสเตอรอล ซึ่งป้องกันไม่ให้เกิดภาวะเส้นเลือดแดงแข็ง และความดันโลหิตสูง ๒ . คึ่นฉ่าย ถ้ากินสดๆต้องระวังความสะอาดด้วย โดยล้างน้ำให้สะอาดเสียก่อน หรืออาจกินกับปลานึ่ง ใส่ในอาหารประเภทข้าวต้มปลา ซึ่งนอกจากจะเพิ่มรสชาติแล้วยังช่วยป้องกันความดันโลหิตสูงได้อีกด้วย ๓. หัวหอมและต้นหอม เป็นสมุนไพรโบราณช่วยรักษาโรคหวัดและโรคหืด หัวหอมเพิ่มไขมันชนิดดีในเลือดให้มากขึ้น ๔. ผักโขม มีวิตามิน เกลือแร่ ธาตุต่างๆ รวมทั้งแคลเซียม จึงช่วยลดความดันโลหิตได้

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•จันทร์•ที่ 29 •ตุลาคม• 2012 เวลา 09:20 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วัดโศภนาลัย อำเภอเมืองแพร่

ประวัติวัดโศภนาลัย ตำบลทุ่งกวาว อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ วัดโศภนาลัย ตั้งอยู่เลขที่ ๑๒๙ บ้านนาแหลมใต้ หมู่ที่ ๒ ตำบลทุ่งกวาว อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ได้รับอนุญาตสร้างวัดเมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๒ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๙๔ ประกอบพิธีผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิต เมื่อวันที่ เดือน พ.ศ. ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๒ ไร่ ๓ งาน ๙๓ ตารางวา มีเอกสารสิทธิ์เป็นตามโฉนดที่ดินเลขที่ ๖๓๑๑๒ เล่มที่ ๖๓๒ หน้า ๑๒ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ จำนวน ๒ ไร่ ๓ งาน ๙๓ ตารางวา และที่ธรณีสงฆ์ ๒ แห่ง คือ แห่งแรก ตามโฉนดที่ดินเลขที่ ๖๓๗๓๒ เล่มที่ ๖๓๘ หน้า ๓๒ ( ปัจจุบันสถานีอนามัยตำบลทุ่งกวาว ขออนุญาตสร้าง ) และแห่งที่สอง ตามโฉนดที่ดินเลขที่ ๖๓๖๘๔ เล่ม ๖๓๗ หน้า ๘๔ เป็นสถานที่ทำการของกลุ่มพัฒนาสตรีแม่บ้าน ) มีอาณาเขตติดต่อมีดังนี้ ทิศเหนือ ติดกับถนนบ้านนาแหลม - เหมืองหม้อ ทิศใต้ ติดกับสถานีอนามัยตำบลทุ่งกวาว ทิศตะวันออก ติดกับวัดนาแหลมเหนือ ทิศตะวันตก ติดกับ สวรรคนิเวศ มีถาวรวัตถุภายในวัด คือ อุโบสถ ๑ หลัง สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๐ ศาลาการเปรียญ ๑ หลัง สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๙ กุฎิหลังเก่า สร้างเมื่อ พ.ศ. กุฎิหลังใหม่ สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๓ ได้ดำเนินบูรณปฏิสังขรณ์อุโบสถ โดยทำการเปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคาใหม่ ลำดับเจ้าอาวาสเท่าที่สืบถามจากท่านผู้รู้ทั้งหลาย แต่มาประมวลเหตุการณ์ต่างๆ ตามที่สร้างวัดขึ้นมา คือ (๑) ครูบาปินใจ ไม่ทราบ พ.ศ.ที่แน่นอน (๒) ครูบาอภิชัย ไม่ทราบ  พ.ศ.ที่แน่นอน (๓) พระครูกองแก้ว ปญญาพโล ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๔ ถึง พ.ศ.๒๕๔๐ (๔) พระครูพิบูลพัฒนโกศล  ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๑ ถึงปัจจุบัน

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 26 •ตุลาคม• 2012 เวลา 10:29 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

แกงแคหอยจูบ ครัวแม่จั๋นแก้ว

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ตำบลเวียงทอง อำเภอสูงเม่น

เมื่อราวประมาณ พ.ศ.๑๒๕๐ พญาลาวะ จังกะราชแห่งเมืองเงินยางเชียงแสน ได้ส่งบุตรชายชื่อว่าลาวก๋อ ซึ่งเป็นเจ้าเมืองเวียงพางคำ ปกครองถึงแคว้นกวางซึ่งอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำแม่สาย(บ้านกวางช้างมูบ) ต่อมาได้เกิดอุทกภัยแม่น้ำแม่สายได้ท่วมเมืองทั้งหมด ชาวเมืองบางส่วนที่อยู่ลุ่มแม่น้ำได้ถูกน้ำป่าพัด กระจัดกระจายตายและสูญหาย พญาลาวก๋อ จึงแสวงหาชัยภูมิใหม่ที่มีความปลอดภัยและอุดมสมบูรณ์ โดยอาศัยอยู่ตามที่ราบริมฝั่งแม่น้ำยม ตั้งเมืองใหม่ชื่อว่า “เวียงทอง” เพราะบริเวณนี้มีแร่ทองอยู่พอสมควร คำว่าเวียงทอง หมายถึง เวียงที่แข็งแรงอย่างกับทอง และได้สร้างวัดขึ้นคือ วัดหลวงเชียงแสน ปัจจุบันเป็นวัดร้างบริเวณโรงเรียนบ้านเขื่อนสุนทร และวัดหลวงเวียงทอง(บริเวณวัดร้างทองเกศ) ต่อมาพญาลิ้นตองได้มาสร้างวัดเวียงตองฝั่งหมิ่น (วัดทองเกศเก่า) และได้มีการขุดคูเมืองตั้งแต่แม่น้ำยมบริเวณบ้านเขื่อนคำลือ ผ่านหลังวัดน้ำบ่อจรดบ้านไชยามาตย์ ปัจจุบันยังมีร่องรอยคูเมืองอยู่เป็นบางแห่ง ขณะที่กำลังขุดคูสร้างเมืองอยู่นั้น ภรรยาของพญาลิ้นทองได้ไปทำพิธีลอยสังขารตรงหน้าวัดหลวงเวียงทองได้พลัดตกไปในวังน้ำลึกและจมน้ำตาย ชาวบ้านจึงขนานนามวังน้ำลึกดังกล่าวว่า วังแม่เจ้า จนถึงปัจจุบันนี้

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 25 •ตุลาคม• 2012 เวลา 09:11 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๑๗

ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๑๗ การตั้งถิ่นฐานและพัฒนาการของเมืองลองในยุคจารีต การรักษาเสถียรภาพของเมืองลองเมื่อรัฐไทยขยายตัวเข้ามา พ.ศ.๒๔๒๕ - ๒๔๔๒ ยุคจารีตเมืองศูนย์กลางอำนาจกับเมืองบริวารจะมีความสัมพันธ์กันแบบหลวมๆ มีความยืดหยุ่นและเปราะบางสูง อาจเปลี่ยนแปลงไปตามเวลาและเหตุการณ์ที่เมืองนั้นๆ กำลังเผชิญอยู่ ที่เกิดจากการขยายอิทธิพลเข้ามาของเมืองที่มีอำนาจมากกว่าหรือเมืองศูนย์กลางเดิมอ่อนแอลง ซึ่งเมืองลองภายหลังสยามเข้าแทรกแซงการปกครองของ “กษัตริย์” หรือ เจ้าผู้ครองนครประเทศราชทั้ง ๕ ในล้านนา คือ นครเชียงใหม่ นครลำปาง นครลำพูน นครน่าน และนครแพร่ จึงพยายามแยกตนเป็นอิสระจากเมืองนครลำปางเพื่อเลื่อนสถานะ ที่เดิมเมืองลองมีสถานะเป็นหัวเมืองชั้นรองมีอิสระภายในสูง แต่ในยุคราชวงศ์เจ้าเจ็ดตนที่อาศัยความสัมพันธ์เชิงเครือญาติระหว่าง “กษัตริย์(เจ้าผู้ครองนคร)” กับ “เจ้าเมือง” หัวเมืองขึ้นต่างๆ เป็นสำคัญ ทำให้เมืองลองที่มีเจ้าเมืองเป็นสกุลวงศ์ท้องถิ่นถูกลดสถานะลงเป็นหัวเมืองขึ้นระดับชั้นต่ำสุด กอปรกับในช่วงนี้เมืองลองมีจารีตพุทธศาสนาที่สั่งสม จนมีครูบามหาเถระที่แตกฉานในพระธรรมเป็นศูนย์กลางการเข้ามาศึกษาของพระสงฆ์สามเณรต่างเมือง รวมถึงผลประโยชน์ป่าไม้ที่กลุ่มผู้ปกครองเมืองลองควบคุมอยู่กลายเป็นสินค้ามีราคาในช่วงนี้ และการค้าระหว่างกลุ่มผู้ปกครองเมืองลองกับพ่อค้า “เงี้ยว” โดยเฉพาะนครเชียงตุงกำลังเฟื่องฟู มีผลต่อการอุปถัมภ์พระศาสนาทั้งสร้างศาสนสถานและการศึกษาของพระสงฆ์ ซึ่งการเป็นทั้งศูนย์กลางทางศาสนาหรือศูนย์กลางการศึกษาของพระสงฆ์สามเณรและระบบเศรษฐกิจของเมืองลองที่ขยายตัว ควบคู่กับมีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ทั้งแร่เหล็ก ทองคำ และเงิน เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้เจ้าเมืองลองมีความมั่นใจจะยกสถานภาพของตนเองขึ้นเป็นเจ้าประเทศราช ดังนั้นเมื่อมีมหาอำนาจสยามเข้ามาแทรกแซงอำนาจเจ้าผู้ครองนครประเทศราชล้านนามากขึ้น กลุ่มผู้ปกครองเมืองลองจึงขอเป็นเมืองประเทศราชขึ้นตรงกับสยาม ที่กำลังทวีอำนาจเหนือเจ้าผู้ครองนครประเทศราชทั้ง ๕ ขึ้นทุกขณะ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 23 •ตุลาคม• 2012 เวลา 07:41 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

อาหารผู้ป่วยความดันโลหิตสูง

สารรักษ์หัวใจตอนที่ ๑๔ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงควรรับประทานอาหารชนิดใดบ้าง อาหารที่เรารับประทานเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการควบคุมความดันโลหิต อาหารที่ควรรับประทานก็คืออาหารที่ไม่ทำให้อ้วน คือให้พลังงานต่ำ เช่น ผัก ผลไม้ เมล็ดพืช ธัญพืชต่างๆ ปกติบ้านเราจะกินข้าวเป็นอาหารหลัก ถ้ากินข้าวขาวจะสู้กินข้าวกล้องไม่ได้ เพราะข้าวกล้องมีเส้นใยทำให้ความดันโลหิตลดลง ถ้ากินขนมปังก็ควรจะกินขนมปังที่ทำจากข้าวกล้อง ซึ่งสีจะไม่ขาวจัดเหมือนขนมปังทั่วไป ควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงซึ่งมีผลดีต่อร่างกายทำให้ลดความดันโลหิต และยังเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกด้วย ถ้าตอนเช้าท่านเคยดื่มชา กาแฟ ลองหันมาเปลี่ยนเป็นดื่มนมสักแก้ว ก็จะมีประโยชน์มาก เพราะมีแคลเซียมสูงยิ่งเป็นนมสดยิ่งดี นอกจากนมแล้วยังมีอาหารที่มีแคลเซียมคือปลาตัวเล็กทอดกรอบทั้งตัว สำหรับอาหารพวกเนื้อสัตว์ควรรับประทานเนื้อปลา ซึ่งจะมีไขมันประเภทที่ไม่เป็นอันตรายต่อเส้นเลือด สิ่งที่สำคัญที่สุดอีกอย่างหนึ่งของอาหารที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูงก็คือ ความเค็มหรือเกลือ เราต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่มีเกลือให้มากที่สุด คือพยายามลดความเค็มในอาหารที่กิน อาหารที่ช่วยลดไขมัน ได้แก่ ลูกเกด ผักสดทุกชนิด ผลไม้สดทุกอย่าง อาหารที่ทำจากถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้ ถั่วงอก ถั่วลันเตา ข้าวกล้อง ข้าวโพด ยิ่งเรากินเค็มมากจะยิ่งส่งเสริมให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นมากด้วย หรือเพิ่มโอกาสต่อการเป็นความดันโลหิตสูงนั่นเอง การกินเค็มนอกจากจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นแล้วยังทำให้อัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มตามไปด้วย

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•จันทร์•ที่ 22 •ตุลาคม• 2012 เวลา 08:42 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

อักป๋า ครัวแม่จั๋นแก้ว

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วัดท่อสมาน อำเภอสอง

เนิ่นนานมาแล้วเกินที่จะจำได้ บ้านเตาปูนและบ้านก้นต้อ อยู่รวมกันที่บ้านปงเก้าผึ้งบริเวณตรงข้ามโรงเรียนบ้านเตาปูนในปัจจุบัน และมีวัด ๆ หนึ่ง ที่ใช้ประกอบศาสนกิจร่วมกันเป็นวัดม่าน (พม่า) สร้างสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐาน มีเจ้าปู่จันฑิมาเป็นเจ้าอาวาส อยู่บริเวณโรงเรียนบ้านเตาปูนในปัจจุบัน เนื่องจากหมู่บ้านบางส่วนไปตั้งรกรากอยู่ทางทิศใต้ คือบ้านเตาปูนปัจจุบัน มีบางส่วนย้ายขึ้นมาอยู่ที่ทางทิศเหนือโดยการนำของพ่อแคว่นวงศ์ คำเกตุ ได้นำพาสมัครพรรคพวก สมัยนั้นมีตระกูลเก่าแก่ของหมู่บ้านประมาณ ๒๐ ครอบครัว คือ ตะกูล ขันฑิมา, คำตั๋น, คำต้น, คำแข่ง, ใจหลัก, ใจอูป, อุ่นใจ, ปินใจ, ใจพรม, ยาวิราช,หมื่นสาม มาตั้งหมู่บ้านบริเวณบ้านปงและรายรอบวัดท่อสมานและบ้านห้วยรังในปัจจุบัน ซึ่งตอนนั้นได้ตั้งชื่อตามสภาพพื้นที่ คือมีท่อไม้ขขนาดใหญ่อยู่ทางทิศเหนือของหมู่บ้านบริเวณท่อลอดห้วยรัง จึงเรียกว่า บ้านก้นต้อ และทำการสร้างวัดขึ้น เรียกว่าวัดก้นต้อ เป็นวัดซึ่งดัดแปลงมาจากศาลาประชาคม โดยมีพระสงฆ์รูปแรก คือ ตุ๊เจ้าจันตาเป็นผู้ก่อตั้งวัดก้นต้อ ต่อมา ตุ๊เจ้าก๋วน คำต้น, ตุ๊เจ้าจี๋ คำแข่ง, ตุ๊เจ้ามา กิติวงศ์, และตุเจ้าน้อย คำเกต ตามลำดับ มีสามเณร ๓ รูป คือเณรแก้ว ใจอูป, เณรแก้ว หมื่นสาม และเณรแก้ว ยาวิราช ต่อมาตุ๊เจ้าน้อยลาสิขาบท ทำให้วัดไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาจึงเป็นวัดร้างตั้งแต่นั้นมา สมัยนั้นใครจะบวชจะเรียนหรือทำศาสนกิจต้องไปทำที่วัดเตาปูนอยู่หลายปี สำหรับชื่อหมู่บ้านหลายปีให้หลังมีการก่อสร้างท่อคอนกรีตทดแทนท่อไม้ชำรุด โดยอาศัยทุนทรัพย์จากชาวบ้าน เกิดความสมัครสมานสามัคคีกันเป็นอย่างดี จึงเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านใหม่เป็น “บ้านท่อสมาน” วัดท่อสมานได้รับการฟื้นฟูบูรณะอีกครั้งโดย ผู้ใหญ่สี ปันดิ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘ เห็นว่าชาวบ้านได้มีการสามัคคีกันมากขึ้นการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นเห็นสมควรนิมนต์พระมาจำพรรษาที่วัดท่อสมานเพื่อทำนุบำรุงศาสนาให้ประชาชนได้เข้าถึงพระธรรมได้สะดวกขึ้น โดยนิมนต์ตุ๊ลุงเหมย สุจิตโต จากวัดดอนมูล จังหวัดลำปาง มาจำพรรษาอยู่ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ได้ร่วมกับชาวบ้านบูรณะวัด สร้างกำแพง สร้างพระประธาน จนถึงสมัย ผู้ใหญ่วิญญู ธราวรรณ สร้างกุฏิ มีการบวชสามเณรขึ้นมาหลายรูป สมัยตุ๊ลุงเหมย สุจิตโต ได้สร้างวัดจนสำเร็จ ได้ผูกพันธสีมา พ.ศ. ๒๕๓๕ ปี ๒๕๓๖ ตุ๊ลุงเหมย สุจิตโต ได้มรณภาพลง จึงได้นิมนต์พระครูวิจารณ์ สันติธรรม จากวัดเตาปูน มาเป็นเจ้าอาวาสเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๖ จนท่านได้มรณภาพเมื่อปี ๒๕๔๗

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 18 •ตุลาคม• 2012 เวลา 20:17 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ตำบลพระหลวง อำเภอสูงเม่น

ตำนานวัดพระหลวง ได้ถูกเรียบเรียงขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙ โดยพระครูปัญญาพิชัย เจ้าอาวาสรูปที่ ๑๓ ได้กล่าวว่า แต่เดิมบริเวณชุมชนและวัดพระหลวงเคยเป็นป่าใหญ่ดงหลวงมาก่อน มีต้นไม้น้อยใหญ่ขึ้นหนาทึบ มีสัตว์ป่าชุกชุม ซึ่งในจำนวนนั้นก็มีงูใหญ่อยู่ตัวหนึ่งที่มีความดุร้ายจะคอยจับสัตว์ต่างๆกินเป็นอาหารแม้แต่สัตว์เลี้ยงของชาวบ้านหากพลัดหลงเข้าไปในป่านั้นก็จะถูกงูกัดกินเป็นอาหารทุกคราวไป ครั้งหนึ่งมีพ่อค้าชาวฮ่อ (จีนฮ่อ) นำสินค้าบรรทุกหลังม้ามาขายและพากันพักแรมที่บ้านสูงเม่น แล้วปล่อยให้ม้าหากินเองบริเวณใกล้เคียง ม้าบางตัวที่ล่วงล้ำเข้าไปในดงหลวงก็จะถูกงูใหญ่กัดกินเป็นอาหาร เมื่อเหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นหลายครั้งก็ทำความเสียหายและสร้างความโกรธแค้นให้กับพ่อค้าชาวฮ่อเป็นอย่างมาก จึงช่วยกันหาวิธีกำจัดงูใหญ่นั้นเสีย โดยช่วยกันตัดไม้ไผ่มาผ่าแล้วเหลาเอาผิวไม้มาสานขัดแตะเป็นตาแสง ๖ เหลี่ยม ซึ่งชาวเหนือเรียกว่า “ ตาแหลว ” กะให้รูบ่วงตาแหลวมีขนาดกว้างพอๆกับขนาดของงู แล้วนำไปปิดปากรูที่งูอาศัยอยู่ ตอกหลักยึดเงื่อนตาแหลวไว้ให้ตรึงแน่นหนา ครั้นรุ่งขึ้นก็พากันมาดูแล้วพบว่า งูใหญ่ติดอยู่ที่บ่วงตาแหลว จึงช่วยกันฆ่างูนั้นเสีย แล้วตัดซากงูออกเป็นท่อนๆกองไว้ใกล้รูงูนั้น หลังจากนั้นพ่อค้าชาวฮ่อก็นำสินค้าไปขายตามปกติ ครั้นเมื่อขายสินค้าหมดก็เดินทางกลับแล้วพากันไปดูซากงูที่กองไว้ ก็ปรากฏเป็นที่อัศจรรย์ยิ่งเพราะซากงูนั้นกลายเป็นท่อนเงินท่อนทอง จึงตกลงแบ่งท่อนเงินท่อนทองนั้นออกเป็น ๓ ส่วน

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พุธ•ที่ 17 •ตุลาคม• 2012 เวลา 15:39 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๑๖

ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๑๖ การตั้งถิ่นฐานและพัฒนาการของเมืองลองในยุคจารีต โครงสร้างการปกครองสงฆ์ของเมืองลอง พุทธศาสนาในเมืองลองสันนิษฐานว่ามีการผสมผสานทั้งนิกายดั้งเดิมสมัยหริภุญไชย ที่เข้ามาพร้อมกับการขยายตัวของกลุ่มคนลุ่มน้ำปิงลุ่มน้ำวังราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ (พ.ศ.๑๖๐๑ – ๑๗๐๐) นิกายรามัญวงศ์ผ่านเมืองศรีสัชนาลัย นิกายรามัญวงศ์(พระสุมนเถระ วัดสวนดอก) และนิกายลังกาวงศ์(พระมหาญาณคัมภีร์ วัดป่าแดง)เมืองเชียงใหม่ผ่านเมืองลำปางราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ (พ.ศ.๑๙๐๑ – ๒๐๐๐) ขณะที่พระสงฆ์เมืองลองก็ออกไปศึกษาตามหัวเมืองใหญ่อยู่เสมอ เช่น พระมหาพุทธคุณเถระ วัดพระธาตุแหลมลี่ เคยศึกษาในสำนักพระมหาโพธิสมภารเมธังกร เมืองเชียงใหม่ พระสงฆ์วัดนาตุ้มศึกษาที่สำนักราชครูหลวงป่าซาง เมืองลำพูน เรียนในสำนักครูบามหาป่าเกสรปัญโญอรัญวาสี(ช่วงพ.ศ.๒๒๒๐) วัดไหล่หิน เมืองลำปาง หรือภายหลังพระเจ้ากาวิละทรงฟื้นฟูตั้งเมืองนครเชียงใหม่(พ.ศ.๒๓๓๙) ได้ ๘ ปีก็มีพระสงฆ์เมืองลองไปเรียนถึงเมืองนครเชียงใหม่ เช่น พระกาวิละ วัดนาตุ้ม เมืองลองไปเรียนในสำนักครูบาอรินทะ วัดเกตการาม เมืองนครเชียงใหม่ เมื่อพ.ศ.๒๓๔๗ จึงทำให้ภายหลังราวพุทธศตวรรษที่ ๒๔ (พ.ศ.๒๓๐๑ – ๒๔๐๐) เป็นต้นมา

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พุธ•ที่ 17 •ตุลาคม• 2012 เวลา 15:43 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

เป็นเบาหวานถ้าเป็นโรคหัวใจ

สารรักษ์หัวใจตอนที่ ๑๓ เป็นเบาหวานถ้าเป็นโรคหัวใจ ...จะเป็นอย่างไร ? อาการเจ็บหน้าอกของโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ที่เป็นเบาหวานมักไม่ชัดเจนหรือไม่มี เนื่องจากมักมีปัญหาปลายประสาทรับความรู้สึกเสื่อมสภาพร่วมด้วย ทำให้วินิจฉัยโรคได้ยากกว่าปกติ อาการอื่นที่ทำให้สงสัยว่าอาจเป็นโรคหัวใจ ได้แก่ อาการแน่น อึดอัด บริเวณกลางหน้าอก หน้าอกข้างซ้าย หรือลิ้นปี่ คล้ายอาการจุกเสียด อาหารไม่ย่อย อาการปวดร้าวที่ท้องแขนด้านใน หน้ามืด วิงเวียน เหงื่อออก ตัวเย็น ใจสั่น จะเป็นลม หรือหมดสติ อาการอาจมีหลายอย่างเกิดขึ้นเวลาใดก็ได้ อาจมีภายหลังจากที่รับประทานอาหารในปริมาณมาก ตื่นนอนตอนเช้าอากาศเย็น หลังออกกำลังกาย ขณะเบ่งถ่ายอุจจาระ (ในรายที่ท้องผูก) เป็นต้น อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณอันตรายที่ต้องรีบมาพบแพทย์

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 13 •ตุลาคม• 2012 เวลา 23:00 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วัดเตาปูน อำเภอสอง

ประวัติวัดเตาปูน ก่อนปี พ.ศ. ๒๔๖๔ ประมาณ ๑๐ กว่าปี เดิมมีชื่อว่า “วัดศรีบุญเรือง” สร้างขึ้นมานานแล้ว โดยการบอกเล่าต่อ ๆ กันมา มีครูบาอุด มาจำพรรษาอยู่เพราะว่าเป็นวัดร้างจากการถูกพม่ามาโจมตี ในวัดแห่งนี้มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่อยู่องค์หนึ่งที่พื้นใต้ศาลานั้นมีถ้ำอยู่ลักษณะเป็นวังลึกมาก จากคำบอกเล่าคนโบราณเอาไม้ยาวประมาณ ๑๐ เมตร หยั่งลงไปก็ยังไม่ถึงพื้นดิน หลังจากนั้นมีฝนตกหนักมากติดต่อกันหลายวันทำให้ดินทรุดตัวทั้งศาลาและพระพุทธรูปองค์ใหญ่พังทลายลงไปในถ้ำน้ำลึก ช่วงนั้นมีครูบาจันทิมาอยู่ด้วย เดิมทีวัดศรีบุญเรืองตั้งอยู่ที่โรงเรียนบ้านเตาปูนตั้งอยู่ปัจจุบัน หลังศาลาและพระพุทธรูปจมน้ำ ครูบาจันทิมาจึงย้ายวัดมาตั้งใหม่ชื่อ “วัดเตาปูน” เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๕ จากคำบอกเล่าของพ่อใหญ่ตี้ สุขสาด (ผู้สูงอายุบ้านเตาปูน) เมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๔๙

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 11 •ตุลาคม• 2012 เวลา 19:33 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ตำบลบ้านกวาง อำเภอสูงเม่น

ความเป็นมา พื้นที่ตำบลบ้านกวางเป็นพื้นที่ซึ่งเป็นป่าเขาลำเนาไพรและมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากเช่น ลิง ค้าง เสือ และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยเฉพาะกวาง เป็นสัตว์ที่มีมากในตำบลบ้านกวาง ซึ่งอดีตตอนนั้นตรงกับสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ประมาณปีพุทธศักราช ๑๙๐๐ พญาลิไททรงเป็นกษัตริย์ปกครองพระนคร พระองค์ทรงเลื่อมในและศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ทรงทราบว่าวัดวาอารามในภาคเหนือ ชำรุดทรุดโทรมเป็นอย่างมาก พระองค์จึงมีพระราชดำริทีจะบูรณปฏิสังขรณ์ ให้ดีขึ้น เหมือนเดิม โดยเฉพาะพระเจดีย์ที่บรรจะพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้บูชา พระองค์ทรงยกลี้พลข้าราชบริพารโดยใช้ช้างเป็นพาหนะ ใกนารบรรทุกสิ่งของและเงินทองจำนวนมาก เพื่อนำไปบูรณพระเจดีย์ที่ชำรุดเหล่านั้น พระองค์ทรงเสด็จจากกรุงสุโขทัยขึ้นไปทางเหนือจนกระทั่งเสด็จมาถึงบ้านกวางในเวลาพลบค่ำ จึงทรงหยุดประทับแรมอยู่ ณ ที่นี้ และในคืนนั้นได้เกิดเหตุการณ์เศร้าสลดขึ้น คือมีช้างพังเชือกหนึ่ง ชื่อ ช้างพังหราสีหนุศรีกุญชร ซึ่งเป็นช้างที่พญาลิไท ได้ทรงโปรดปรานมาก เพราะรับใช้พระองค์มานานหลายปี ได้ล้มตายลง ในลักษณะหมอบ (มูบ) กับพื้น อันเนื่องมาจากสาเหตุการบรรทุกของหนักและเดินทางมาไกลประกอบกับมีอายุมากแล้ว พระองค์ทรงให้ข้าราชบริพารทำการปลงซากช้างไว้ก่อน รุ่งขึ้นจึงเสด็จไปยังดอยลูกหนึ่งซึ่งอยู่ใกล้กับบ้านกวาง ชื่อว่า ดอยจวนแจ้ง อันเป็นที่ตั้งของพระธาตุจอมแจ้ง ในปัจจุบันพระองค์ทรงทำการบูรณปฏิสังขรณ์จนเสร็จสมบูรณ์ ก่อนที่พระองค์จะเสด็จขึ้นไปทางภาคเหนือ พระองค์ทรงระลึกถึงบุญคุณของช้างพังเชือกนั้น จึงได้เสด็จมาสร้างวิหารแล้วปั้นรูปช้างพังเชือกนั้น ในลักษณะหมอบกับพื้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งคุณความดีนับตั้งแต่นั้นมา บ้านกวางจึงได้ชื่อว่า “ บ้านกวาง - ช้างมูบ ” และต่อมาจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้น จึงได้ทำการแยกหมู่บ้านจากหมู่ที่ ๑ เป็นหมู่ที่ ๒ และ๓, ๔, ๕, ๖ ตามลำดับ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 09 •ตุลาคม• 2012 เวลา 22:44 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

อุทยานเพลง "บ้านมนต์รักลูกทุ่ง"

“เพลงเป็นเสียงและสื่อภาษาที่มนุษย์เราได้สร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อขับกล่อม ตอบโต้ถึงความรู้สึกนึกคิด รัก ชอบ น้อยใจ ยากไร้ ต้อยต่ำ รำพึง รำพันถึงชีวิตต่าง ๆ นานา แทนความรู้สึก ของแต่ละบุคคลไม่ว่าจะเป็นการประทับใจบุคคล ประทับใจสถานที่ ยากที่จะลืมเลือนได้ก็ปล่อยหัวใจลงในบทกลอน ถ่ายทอดเป็นบทเพลงขับกล่อมบรรเลงขับขานแทนความรู้สึกให้รู้สึกถึงแก่นสารในความหมายของคำว่าเพลง” คำกล่าวของวิรัช งามสุข เจ้าของอุทยานเพลงบ้านมนต์รักลูกทุ่ง กว่า ๑๗ ปี กับบ้านที่เจ้าของที่รักและชื่นชอบเสียงเพลงลูกทุ่งมากมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก หลงใหลในเพลงลูกทุ่งต้องการสะสมเทปเพลง, แผ่นเสียง, เครื่องเสียงโบราณ และเครื่องมือเครื่องใช้ของคนสมัยก่อน สะสมหนังสือเพลงตั้งแต่ราคา ๒ บาท กว่า ๒๐๐ เล่ม เทปเพลงมากกว่า ๖๐๐ ม้วน แผ่นเสียงครบทุกแนวเพลงกว่า ๑๐,๐๐๐ แผ่น วิทยุทรานซิสเตอร์ประมาณ ๖๐ เครื่อง ฯ จึงก่อตั้งอุทยานเพลงบ้านมนต์รักลูกทุ่งหลังแรกของประเทศไทยในปี ๒๕๓๘ เป็นที่สนใจของสื่อระดับประเทศเช่น หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ข่าวสด ITV (สมัยนั้น) ช่อง ๕ และครูเพลงระดับประเทศอีกหลายท่าน รางวัลแห่งความภาคภูมิอาทิ คนดีศรีเมืองแพร่ งานถ้าไม่เกิดจากใจก่อนคงไม่ยั่งยืน วิรัช งามสุข เกิดวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๐๗ ณ ตำบลบ้านสา อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ปัจจุบันเป็นเขยแพร่ ณ บ้านเลขที่ ๑๐๗/๑ หมู่ที่ ๔ ตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โทร ๐๘-๙๕๕๓-๒๒๖๓ (ที่ตั้งอุทยานเพลง) อาชีพพนักงานสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดแพร่ ถนนยันตรกิจโกศล ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ โทรศัพท์ ๐-๕๔๕๑-๑๖๗๗ งานสร้างสรรค์ไม่ได้เกิดขึ้นมาได้ง่าย ๆ ยิ่งการรักษาไว้คนชนรุ่นหลังได้ศึกษายิ่งไม่ใช่เรื่องง่าย ขอเป็นกำลังใจให้พี่รักษาความดีนี้ต่อไปครับ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 25 •มิถุนายน• 2015 เวลา 16:24 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๑๕

การตั้งถิ่นฐานและพัฒนาการของเมืองลองในยุคจารีต ระบบการเกณฑ์ไพร่พลในเมืองลอง (๑) เกณฑ์ทำศึกสงคราม หัวศึกเมืองลอง(แม่ทัพ) มีสิทธิ์ขาดในการเกณฑ์ชายฉกรรจ์และเสบียงจากหมู่บ้านต่างๆ ส่วนแสนบ่อจะเกณฑ์ช่างแต่ละหมู่บ้านทำอาวุธ ซึ่งเอกสารมักบันทึกภาพรวมว่าเป็นกองทัพเมืองลำปาง แต่แท้จริงแล้วเป็นลักษณะกองทัพผสมที่มาจากหัวเมืองขึ้น รวมถึงกองทัพเมืองลองและกองทัพเมืองต้าด้วย เช่น พ.ศ.๒๓๐๘ ร่วมกับกองทัพเมืองนครลำปางของเจ้าชายคำสม (ภายหลังเป็นเจ้าผู้ครองนครลำปางองค์ที่ ๔) เจ้าน้อยธรรมลังกา (ภายหลังเป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๒) และกองทัพไทใหญ่ พม่า เข้าตีกรุงศรีอยุธยาจนแตกได้รับชัยชนะในพ.ศ.๒๓๑๐ เกณฑ์รบพม่าที่เมืองเชียงแสนช่วงพ.ศ.๒๓๔๕ - ๒๓๔๗ หรือ พ.ศ.๒๓๖๙ เกณฑ์กำลังปราบเจ้าอนุวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเวียงจันทน์ ที่ทำการ “ฟื้นสยาม” หรือประกาศอิสรภาพจากสยาม เป็นต้น

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 07 •ตุลาคม• 2012 เวลา 18:02 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

โรคเบาหวานกับหัวใจเกี่ยวข้องกัน

สารรักษ์หัวใจตอนที่ ๑๒ โรคเบาหวานกับหัวใจเกี่ยวข้องกันอย่างไร เมื่อเอ่ยถึงโรคหัวใจขาดเลือดแล้ว หลายๆท่านคงคิดถึงแต่ไขมัน โคเลสเตอรอล แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไขมันยังร้ายน้อยกว่าโรคเบาหวาน ผู้ป่วยไขมันในเลือดสูงไม่จำเป็นต้องเป็นโรคหัวใจขาดเลือดทุกราย แต่หากเป็นเบาหวานแล้ว รับรองได้ว่าหากท่านไม่ดูแลตัวเองให้ดี หรือแม้แต่ดูแลอย่างดีแล้ว ก็ยังมีโอกาสเกิดโรคหัวใจขาดเลือด ในอัตราที่สูงมาก ดังนั้นเบาหวานจึงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่น่ากลัว อีกอย่างหนึ่งสำหรับโรคหัวใจขาดเลือด โรคเบาหวานเป็นความผิดปกติเนื่องจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในร่างกายไปใช้ได้อย่างเต็มที่ สาเหตุเนื่องจากขาดฮอร์โมน อินซูลิน หรือ ไม่ขาด ฮอร์โมน แต่ร่างกายไม่ตอบสนองต่อฮอร์โมนตัวนี้ ผลที่ตามมาคือระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ  ปัจจุบัน หากระดับน้ำตาลในเลือดที่เจาะหลังงดอาหาร ๘ ชั่วโมงแล้ว ยังสูงกว่า ๑๒๖ มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร เราก็เรียกได้ว่าเป็น "โรคเบาหวาน" ได้แล้ว ระดับน้ำตาลที่สูงนี้เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหา ต่างๆตามมา ที่สำคัญคือเป็นตัวการเร่งให้เกิดการเสื่อม ของหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย ทั้งหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงสมอง หัวใจ ตา ไต แขน-ขา รวมทั้ง หลอดเลือดแดงเล็กๆที่เลี้ยง ปลายประสาทอีกด้วย ทำให้เกิดการตีบตันของหลอดเลือดแดงเหล่านี้ ดังนั้นจะเห็นว่า "โรคเบาหวาน" เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อ โรคทางสมอง อัมพาต โรคระบบประสาท โรคหัวใจ โรคไต โรคตา ( ไตเปลี้ย เสียขา ตาบอด)แม้กระทั่งโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ด้วย

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•จันทร์•ที่ 08 •ตุลาคม• 2012 เวลา 09:54 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ยำม่าหนุน ครัวแม่จั๋นแก้ว

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วัดแดนชุมพล อำเภอสอง

วัดแดนชุมพล สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๗ ในสมัยนั้นยังเป็นสำนักสงฆ์ และยังใช้ชื่อเป็น วัดสาละวัน และได้มีสามเณรรูปแรกของบ้านแดนชุมพล (จำฮั่ง) คือสามเณร เขียน ปลงใจ ในพ.ศ. ๒๔๙๘ คณะศรัทธาได้สร้างกุฏิไม้ตอนนั้นยังไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ต่อมาได้ไปนิมนต์พระสงฆ์มาจำพรรษาอยู่ ที่วัดแดนชุมพล (สาละวัน) ต่อมาได้สร้างสาลาการเปรียญหนึ่งหลังในปี พ.ศ. ๒๕๐๔ ต่อมาสร้างพระอุโบสถในปีพ.ศ. ๒๕๓๐ และได้ผูกพัธสีมาในปี พ.ศ.๒๕๔๒ และสร้างกุฏิปูนในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ หลักฐานทางวัตถุ พระอุโบสถวัดแดนชุมพลสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๓, หอระฆังวัดแดนชุมพลสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ลำดับเจ้าอาวาสรูปที่ ๑ - ปัจจุบัน ดังนี้

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 04 •ตุลาคม• 2012 เวลา 21:23 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ตำบลหัวฝาย อำเภอสูงเม่น

เดิมเกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้านที่ได้สร้างทำนบกั้นน้ำในสมัยนั้นการลงตีฝาย และบริเวณริมฝั่งลำน้ำที่กั้นฝายได้มีชาวบ้านไปอาศัยอยู่เรียกว่า “หัวฝาย” ก่อนปี พ.ศ.๒๔๒๑ “หัวฝาย” เป็นชื่อหมู่บ้านที่ขึ้นตรงต่ออำเภอเมืองแพร่ ต่อมาได้ยกระดับเป็นตำบล เมื่อพ.ศ.๒๔๓๖ และในปีพ.ศ.๒๔๔๖ ตำบลหัวฝายขึ้นกับอำเภอแม่พวกภายหลังเปลี่ยนชื่ออำเภอแม่พวกเป็นอำเภอสูงเม่น หรือสูงเม่นตั้งแต่พ.ศ.๒๔๖๐ จนถึงปัจจุบัน ในด้านประชากรแต่เดิมเป็นที่อาศัยของคนพื้นเมืองกับชนเผ่าต่างๆหลายชนเผ่า เช่น เผ่าหล๊ะ เผ่าแจ๊ะ ขมุ เงี้ยว ไทใหญ่ (ดังปรากฏในหนังสือประวัติศาสตร์เมืองแพร่) เช่น ชาวไทใหญ่เข้ามาอาศัยอยู่บ้านป่าผึ้ง ต.หัวฝาย อ.สูงเม่น จ.แพร่ ก่อนพ.ศ.๒๔๓๖ เข้ามาครอบครองที่ดินที่อาศัยทำมาหากินและถือเป็นพลเมืองแพร่และคนที่มีสถานะเป็น “เฮดแมน” หรือ หัวหน้าชาวไทใหญ่ ชื่อพะก่าหม่อง นับตามรายงานของรัฐบาลในเวลานั้น กล่าวว่า ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านป่าผึ่ง อ.สูงเม่น มีครอบครัวลูกหลานและที่ดินที่นาจนถึงปัจจุบันนี้ก็ยังมีหลักฐานอยู่ สภาพทั่วไปของตำบลหัวฝาย ตำบลหัวฝายอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอสูงเม่นประมาณ ๑ กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดแพร่ประมาณ ๑๕ กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลสูงเม่น ตำบลดอนมูล ตำบลบ้านเหล่า อำเภอสูงเม่น ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลแม่จั๊วะ อำเภอเด่นชัย ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลบ้านกวาง อำเภอสูงเม่น อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลน้ำชำ อำเภอสูงเม่น

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พุธ•ที่ 03 •ตุลาคม• 2012 เวลา 21:57 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

<< •เริ่มแรก• < •ย้อนกลับ• 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 •ถัดไป• > •สุดท้าย• >>

•หน้า 19 จาก 33•