ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๒๕
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 15 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 23:12 น.• -
??Author: Administrator??
ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๒๕ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ.๒๔๕๗ – ๒๕๐๓ เมื่อมีการสร้างเส้นทางรถไฟตัดผ่านแขวงเมืองลอง ได้ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงหลายด้าน โดยเฉพาะระบบเศรษฐกิจที่เริ่มเปลี่ยนไปเป็นระบบทุนนิยม การขยายตัวของเมืองและเริ่มเปลี่ยนวิถีการผลิต : เมื่อทางรถไฟตัดผ่านพ.ศ.๒๔๕๗ สภาพเศรษฐกิจเมืองลองก่อนเส้นทางรถไฟตัดผ่าน(ช่วงก่อน พ.ศ.๒๔๕๗) สภาพเศรษฐกิจเมืองลองเดิมอยู่ในระบบเศรษฐกิจแบบพอยังชีพ ผลิตเพื่อไว้อุปโภคบริโภคภายในครัวเรือน เมื่อเหลือจากนั้นจึงนำไปแลกเปลี่ยนกับผลผลิตที่ตนขาดแคลนหรือไม่สามารถผลิตเองได้ เพราะสภาพภูมิประเทศแอ่งลองเป็นป่าไม้และภูเขามีที่ราบในการเพาะปลูกเพียงประมาณ ๑๖๖,๗๒๖ ไร่ หรือประมาณ ๑๐.๒๓% ของพื้นที่ทั้งหมด ด้วยเหตุนี้จึงใช้วิธีเพาะปลูกพืชอื่นแทนข้าวหรือใช้วิธีทำข้าวไร่ โดยแต่ละชุมชนจะมีผลผลิตต่างกัน เช่น กลุ่มกะเหรี่ยงถนัดปลูกข้าวไร่จึงนำมาแลกกับชุมชนคนไต(คนเมือง)ที่ผลิตเครื่องปั้นดินเผาหรือเครื่องมือเหล็ก ฯลฯ •แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•จันทร์•ที่ 24 •ธันวาคม• 2012 เวลา 21:38 น.• ) การเลือกใช้น้ำมันให้เหมาะสม
•วัน•เสาร์•ที่ 06 •ตุลาคม• 2012 เวลา 21:42 น.• -
??Author: Administrator??
สารรักษ์หัวใจตอนที่ ๒๓ การเลือกใช้น้ำมันให้เหมาะสม การเลือกใช้น้ำมันพืช ปัจจุบันน้ำมันพืช มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันมาก เนื่องจากคุณแม่บ้านส่วนใหญ่ เลือกใช้น้ำมันพืชเป็นหลัก ในการประกอบอาหาร เนื่องจากหาซื้อได้สะดวกกว่าน้ำมันหมู ที่เคยใช้รับประทานมาแต่เก่าก่อน และยังมีคุณค่ามากกว่า ท่านผู้อ่านอาจจะเคยทราบค่ะว่า น้ำมันพืชมีประโยชน์กว่าน้ำมันหมู แต่ท่านจะทราบหรือไม่ว่า น้ำมันพืชนั้น มีอยู่หลายชนิด แต่ละชนิด มีข้อดี ข้อเสียต่างกัน หากเราเลือกใช้อย่างเหมาะสม ก็จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง คือได้ทั้งอาหารที่อร่อยปลอดภัย และป้องกันโรคได้ด้วย น้ำมันพืชที่มีขายในท้องตลาด มี ๒ ชนิด คือ •แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•จันทร์•ที่ 24 •ธันวาคม• 2012 เวลา 21:35 น.• ) วัดพระธาตุถิ่นแถนหลวง อำเภอเมือง
•วัน•เสาร์•ที่ 22 •ธันวาคม• 2012 เวลา 12:27 น.• -
??Author: Administrator??
วัดพระธาตุถิ่นแถนหลวง สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๙ มีประวัติสังเขปดังนี้ เดิมพื้นที่นี้มีสภาพเสื่อมโทรมแห้งแล้ง เป็นบ่ขุดดินลูกลังขาย ทางหมู่บ้านสงวนไว้เป็นสาธารณะประโยชน์ประมาณ ๓ ไร่ พระครูวิจิตรธรรมมาภรณ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดหลวง และคณะผู้นำท้องถิ่นโดยมีนายทรงวุฒิ งามมีศรี อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ นางรัตนา งามมีศรี อดีตนายกเหล่ากาชาดจังหวัดแพร่ นางธัญญาลักษณ์ จ้อยจรูญ อดีตผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดแพร่ นายชุมพล ปราชญ์วีระกุล นายกพุทธสมาคมจังหวัดแพร่ นายตาล อภัยกาวี ธรรมสรางกูร นายคำมูล ถิ่นสุข คณะกำนันอาวุโส และบุคคลผู้เป็นกำลังสำคัญอีกหลายท่าน ตลอดถึงข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน นักเรียน นักศึกษา พร้อมใจกันเลือกบริเวณเนินเขาดอยเด่นนางฟ้า ตำบลบ้านถิ่น เป็นสถานที่จัดตั้งพุทธอุทยาน พระบรมธาตุถิ่นแถนหลวงเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ เนื่องในปีกาญจนาภิเษก ครองราชย์ครบ ๕๐ ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชมหาราช ทำการก่อสร้างเมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๓๙ โดยมีพระเดชพระคุณหลวงปู่มหาโพธิวงศาจารย์ ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๖ วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหารเป็นฝ่ายสงฆ์ ท่านพระครูศรีมงคลชยาภรณ์ เจ้าคณะอำเภอเมืองแพร่ วัดชัยมงคล เป็นรองประธาน •แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 23 •ธันวาคม• 2012 เวลา 12:31 น.• ) นารีคู่อุปถัมภ์และหายนะเพราะการไม่เชื่อ ๓
•วัน•เสาร์•ที่ 22 •ธันวาคม• 2012 เวลา 09:38 น.• -
??Author: Administrator??
สวัสดีครับพี่น้องชาวแพร่ที่รักและพี่น้องที่ติดตามผลงานบทความของผมที่เคารพครับ วันนี้ผมก็จะยังคงพูดถึงซีรีย์เรื่อง “นารีคู่อุปถัมภ์และหายนะเพราะความไม่เชื่อ ตอน คำสาปแช่งและทางออก อยากจะทบทวนอีกรอบเกี่ยวกับการทรงสร้างเริ่มต้น คือ พระเจ้าทรงสร้างโลกนี้พระองค์ก็ย่อมเป็นผู้ปกครองโลกนี้ แต่พระเจ้าทรงสร้างโลกนี้เพื่อประทานสิทธิทั้งหมดในการปกครองโลกนี้ให้แก่มนุษย์ ด้วยความรักและการเชื่อใจ แต่ก็ต้องมีการทดสอบกันหน่อย แต่รู้ทั้งรู้มนุษย์ก็พลาด แต่พระองค์ก็ยังทรงทำตามนี้เพื่อมนุษย์จะถูกพิสูจน์ว่าจริงๆแล้วชีวิตของเขามีอยู่เพื่อพระองค์หรือไม่ •แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 23 •ธันวาคม• 2012 เวลา 09:15 น.• ) ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๒๔
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 15 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 23:10 น.• -
??Author: Administrator??
ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๒๔ ผลกระทบของการจัดการปกครอง : “กบฏเงี้ยว” การต่อต้าน “ฟื้นสยาม” ของเมืองลอง เมืองต้า พ.ศ.๒๔๔๕(ต่อ) การต่อต้านสยามครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมทั้ง “เงี้ยว” (ไทใหญ่ ไทเขิน ไทลื้อ(ไทยอง) ไทเหนือ) ไท ยวน(คนเมือง) พม่า ขมุ ต่องสู้ กะเหรี่ยง ลาว รวมถึงพระสงฆ์สามเณร หรือแม้แต่คนสยามเองก็เข้าร่วมด้วย เช่น พระไชยสงคราม(นายจอน) ซึ่งได้เป็นราชบุตรเขยของเจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์ ก็ได้เกณฑ์ข้าวทุกหลังคาเรือนให้เงี้ยวไว้เป็นเสบียง แต่ภายหลังด้วยการขาดความร่วมมือระหว่างหัวเมืองต่างๆ ของล้านนาอย่างจริงจังจึงกระทำการไม่สำเร็จ สยามจึงได้ทำการปราบปรามและลงโทษผู้ต่อต้านที่นครแพร่อันเป็นเมืองเกิดเหตุการณ์ชัดเจนกว่าเมืองนครประเทศราชอื่นอย่างรุนแรงดังนี้คือ •แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 18 •ธันวาคม• 2012 เวลา 09:23 น.• ) เมนูชูสุขภาพ
•วัน•เสาร์•ที่ 06 •ตุลาคม• 2012 เวลา 21:27 น.• -
??Author: Administrator??
สารรักษ์หัวใจตอนที่ ๒๒ เมนูชูสุขภาพ อ้วนแล้วก็ต้องลดถูกต้องที่สุดค่ะ ฉบับนี้เรากลับมาคุยกันอีกครั้งว่ามีเมนูอาหารอร่อยๆ ช่วยลดอ้วนอะไรบ้างที่หากันง่ายๆ ตามพื้นบ้านและยังเป็นเมนูชูสุขภาพช่วยบำรุงหัวใจ และอย่าลืมว่าการควบคุมอาหาร ไม่ใช่การอดอาหาร หากแต่เป็นการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต พฤติกรรมการกิน ลดไขมันในอาหาร และจำกัดปริมาณอาหาร • กินข้าวให้กินกับ.... • กับข้าว มีผัก ไม่มันจัด เค็มจัดหรือหวานจัด • เน้นปรุง ต้ม ปิ้ง ย่าง ยำ อบ น้ำพริก • ผัดและแกงกะทิ ใช้น้ำมันและกะทิพอควร •แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 16 •ธันวาคม• 2012 เวลา 23:09 น.• ) การเสด็จพระราชดำเนิน ครั้งที่ ๑
•วัน•อาทิตย์•ที่ 16 •ธันวาคม• 2012 เวลา 15:40 น.• -
??Author: Administrator??
วันที่ ๑๕-๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ เพื่อทรงเยี่ยมราษฎรที่สวนป่าห้วยเป๊าะ ที่ว่าการอำเภอสอง ศาลากลางจังหวัดแพร่ สนามหลวง วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร วัดพระธาตุช่อแฮ ที่ว่าการอำเภอ ร้องกวาง บ้านร่องกาศ อำเภอสูงเม่น สนามหน้าที่ว่าการอำเภอสูงเม่น การเสด็จประพาสเยี่ยมเยียนราษฎรจังหวัดภาคเหนืออย่างเป็นทางการครั้งแรกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีขึ้นระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ เริ่มต้นที่จังหวัดเชียงใหม่ แล้วเสด็จฯ ต่อไปยังจังหวัดอื่นๆ ในภาคเหนือรวมทั้งจังหวัดแพร่ •แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•จันทร์•ที่ 17 •ธันวาคม• 2012 เวลา 11:45 น.• ) วัดหนุนใต้ อำเภอสอง
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 11 •ตุลาคม• 2012 เวลา 19:04 น.• -
??Author: Administrator??
ไม่ปรากฏหลักฐานว่าชุมชนบ้านหนุนเหนือได้ก่อตั้งมาตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่ผู้คนในชุมชนเชื่อว่าเกิดขึ้นมาพร้อม ๆ กับเวียงสรองในตำนานพระลอ จากที่ชุมชนริมฝั่งน้ำมีการขยายจำนวนประชากรและการย้ายเข้ามาอยู่ใหม่จากชุมชนในเวียงแพร่ จากคำพูดของผู้เฒ่าผู้แก่ที่ล่วงลับไปแล้วตอนยังมีชีวิตอยู่กล่าวว่าไม่สามารถบอกได้เลยว่าชุมชนแห่งนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อไหร่ โดยเฉพาะวัดหนุนใต้เดิมอยู่ใกล้ริมน้ำประสบกับสายน้ำที่เปลี่ยนทิศเข้ามาใกล้วัดมากขึ้นพอเจออุทกภัยน้ำท่วมใหญ่ทำให้อุโบสถเดิมถล่มทำให้พระประธานแตกหักไม่สามารถบูรณะได้ ยังมีศิลาจารึกที่ยังอยู่ แต่ถูกประชาชนได้นำมากั้นน้ำที่นาและทำตกลงแม่น้ำศูนย์หายไป ที่เหลือปรากฏมีพระพุทธรูปที่ประดิษฐาน ณ ศาลาการเปรียญวัดหนุนใต้เดิม ประชาชนได้อันเชิญประดิษฐานไว้ที่เจดีย์วัดหนุนใต้ปัจจุบัน ส่วนพื้นที่เดิมนั้นเป็นป่าสักไปแล้ว วัดหนุนใต้สร้างขึ้นใหม่ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ หลังจากไปฟ้าและปะปาเข้าหมู่บ้าน ๓ ปี และได้รับการอุปถัมภ์จากศัทธาประชาชนบ้านหนุนใต้มาโดยตลอด •แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 15 •ธันวาคม• 2012 เวลา 08:42 น.• ) ตำบลแม่หล่าย อำเภอเมือง
•วัน•ศุกร์•ที่ 14 •ธันวาคม• 2012 เวลา 10:21 น.• -
??Author: Administrator??
ประวัติตำบลแม่หล่าย บทที่ ๑ ความเป็นมาของตำบลแม่หล่าย สถานที่ตั้ง ตำบลแม่หล่ายตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอเมืองแพร่ อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๑๒ กิโลเมตร มีพื้นที่ทั่วไปเป็นที่ราบประมาณ ๗๐% ของพื้นที่ทั้งหมด และมีพื้นที่เป็นป่าละเมาะ ประมาณ ๓๐% พื้นที่ทั้งหมดของตำบลมีประมาณ ๑๓.๕๒ กิโลเมตร หรือ ๘,๔๕๐ ไร่ มีแม่น้ำยมและแม่น้ำแม่หล่ายไหลผ่านหลักฐานการก่อตั้งตำบลแม่หล่าย สันนิษฐานไม่แน่นอน ตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ เล่าให้ฟังว่ามีคนหลายท้องถิ่นหลายพื้นที่เข้ามาอาศัยอยู่ เพราะเห็นว่าภูมิประเทศของตำบลมีแม่น้ำไหลผ่านเหมาะแก่การทำมาหากินด้านการเกษตร บางคนก็บอกว่ามีคนพวกหนึ่งอพยพมาจากในเวียง(เมืองแพร่) จากเชียงราย จากบ้านถิ่น จากบ้านเหมืองหม้อและจากบ้านแม่คำมี ฯลฯ แก่นสารในพระพุทธศาสนา
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 06 •ธันวาคม• 2012 เวลา 21:35 น.• -
??Author: Administrator??
" บุคคลบางคนอออกบวช มีลาภสักการะชื่อเสียงเกิดขึ้น ก็ไม่อิ่มใจ ไม่เต็มปรารถนาด้วยลาภสักการะชื่อเสียงนั้น ได้ความสมบูรณ์ด้วยศีล ก็อิ่มใจ แต่ไม่เต็มปรารถนาด้วยสีลสัมปทา (ความสมบูรณ์ด้วยศีล) นั้น ได้ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ ก็อิ่มใจแต่ไม่เต็มปรารถนาด้วยสมาธิสัมปทา (ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ) นั้น ได้ญาณทัสสนะ (หรือปัญญา) ก็อิ่มใจ แต่ไม่เต็มปราถรนาด้วยญาณทัสสนะนั้น ไม่ยกตน ข่มผู้อื่นเพราะญาณทัสสะนั้น คุณธรรมอื่น ๆ ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าญาณทัสสนะ ก็ปลูกความพอใจ พยายามเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งคุณธรรมนั้น ๆ ไม่มีความประพฤติย่อหย่อนหละหลวม ดูก่อนพราหมณ์ ธรรมอะไรบ้าง ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าญาณทัสสนะ ดูก่อนพราหมณ์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เข้าปฐมฌาน๔ (ฌานที่ ๑) เข้าทุติยฌาน (ฌานที่ ๒) เข้าตติยฌาน (ฌานที่ ๓) เข้าจตุตถฌาน (ฌานที่ ๔) เข้าอากาสานัญจายตนะ (อรูปฌาน กำหนดอากาศไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์) เข้าวิญญาณัญจายตนะ (อรูปฌาน กำหนดวิญญาณไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์) เข้าอากิญจัญญายตนะ (อรูปฌาน กำหนดว่าไม่มีอะไรแม้แต่นิดหน่อย) เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ (อรูปฌาน ที่มีสัญญาความจำได้หมายรู้ ก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญา ก็ไม่ใช่) เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ (สมาบัติชั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา ซึ่งเมื่อเข้าแล้วทำให้ดับสัญญาความจำได้หมายรู้ และเวทนาความเสวยอารมณ์สุขทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุขได้) อาสวะของภิกษุนั้นสิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา คุณธรรมเหล่านี้แล ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าญาณทัสสนะ ดูก่อนพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลนี้ ว่าเปรียบเหมือนผู้ต้องการแก่นไม้ ก็ตัดเอาแต่แก่นไม้ไปฉะนั้น" •แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 14 •ธันวาคม• 2012 เวลา 14:46 น.• ) |
นารีคู่อุปถัมภ์และหายนะเพราะการไม่เชื่อ ๒
•วัน•พุธ•ที่ 12 •ธันวาคม• 2012 เวลา 15:13 น.• -
??Author: Administrator??
สวัสดีครับพี่น้องชาวจังหวัดแพร่ที่รักทุกท่าน และพี่น้องที่ติดตามบทความของผม วันนี้ผมอยากแบ่งปันบทความ ที่สืบเนื่องมาจากตอนที่แล้วในหัวข้อ นารีคู่อุปถัมภ์และหายนะเพราะความไม่เชื่อ ภาค ๒ จะว่าไปแล้วมันคือความบาปครั้งแรกที่อุบัติขึ้นบนโลกมนุษย์นี้ ถ้าท่านจะจำเหตุการณ์ ๓ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ •แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 13 •ธันวาคม• 2012 เวลา 09:51 น.• ) ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๒๓
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 15 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 23:05 น.• -
??Author: Administrator??
ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๒๓ ผลกระทบของการจัดการปกครอง : “กบฏเงี้ยว” การต่อต้าน “ฟื้นสยาม” ของเมืองลอง เมืองต้า พ.ศ.๒๔๔๕ ที่ผ่านมาเรื่องราว “กบฏเงี้ยว” ส่วนใหญ่มีการรับรู้รายละเอียดเฉพาะของเมืองแพร่ ทั้งที่เมืองลองเป็นจุดเริ่มต้น เป็นแหล่งเตรียมการ เป็นปมเงื่อนไขสำคัญของเรื่องราว และได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ครั้งนี้ไม่น้อยไปกว่าเมืองแพร่ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น มีเหตุผลสำคัญอะไรถึงต้องหลีกเลี่ยงจะกล่าวโทษ “กบฏ” ที่เมืองลอง ดังนั้นผู้เขียนจึงพยายามหาคำตอบโดยการวิเคราะห์เชื่อมโยงหลักฐานต่างๆ ตามมิติเวลาและบริบทของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ด้วยการสถาปนาโครงสร้างการปกครองรูปแบบใหม่ในพ.ศ.๒๔๔๒ เพื่อรวบอำนาจไว้แห่งเดียวที่กษัตริย์สยาม หรือที่เรียกว่าการปกครองระบอบ “สมบูรณาญาสิทธิราชย์” เนื่องจากสยามถูกบีบจากสถานการณ์การล่าอาณานิคมของชาวตะวันตก ไปพร้อมกับความต้องการปฏิรูปโครงสร้างการปกครองของสยามเองให้รัดกุมมากยิ่งขึ้น จึงส่งผลโดยตรงต่อการเบียดขับกลุ่มผู้ปกครองล้านนาที่เคยมีอิสระปกครองตนเองที่ถือว่าเป็นอีกประเทศหนึ่งเหมือนกับ “ล้านช้าง(ลาว)” “กัมพูชา” “มลายู” เพียงแต่อยู่ในฐานะ “เมืองประเทศราช” คือยอมรับอำนาจที่เหนือกว่าของสยามในระบบจารีตออกไป •แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 11 •ธันวาคม• 2012 เวลา 09:08 น.• ) วิ่งเพื่อสุขภาพ หรือทำลายสุขภาพ
•วัน•เสาร์•ที่ 06 •ตุลาคม• 2012 เวลา 21:21 น.• -
??Author: Administrator??
สารรักษ์หัวใจตอนที่ ๒๑ “วิ่งเพื่อสุขภาพ หรือทำลายสุขภาพ” สืบเนื่องจากการเล่าเรื่อง โรคอ้วนลงพุง หลายต่อหลายคนคงคิดจะออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนัก หรือลดพุง แต่ครั้งหนึ่งได้มีผู้ป่วยที่เป็นข้าราชการตำรวจ เกิดอาการวูบมา และเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเฉียบพลันขณะ ทดสอบสมรรถภาพประจำปี ผมจึงเป็นห่วง หลายๆท่านที่อ้วน หรือมีโรคหัวใจ หรือโรคหลายอย่าง ควรจะรู้ข้อควรปฏิบัติ และ การออกกำลังกายที่ถูกวิธี ดังนี้ กลุ่มแรกคือผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือ โรคอ้วน ๑. ผู้ป่วยเหล่านี้ต้องควบคุมอาการ ควบคุมความดัน หรือระดับน้ำตาล ให้ดีก่อน หรือคนอ้วนก็ควรจะต้องไปตรวจวัดความดัน หรือเจาะระดับน้ำตาลก่อน เพื่อรักษาให้ดี ก่อนจะไปออกกำลังกาย •แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•จันทร์•ที่ 10 •ธันวาคม• 2012 เวลา 10:34 น.• ) วัดเหมืองหม้อ อำเภอเมือง
•วัน•จันทร์•ที่ 19 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 14:08 น.• -
??Author: Administrator??
วัดเหมืองหม้อ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๖ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น การก่อสร้างในสมัยแรก เสนาสนะต่าง ๆ เช่น กุฏิ วิหาร หอไตร จะเป็นสถาปัตยกรรมศิลปะแบบมอญผสมไทยใหญ่ มีพุทธศิลป์อ่อนช้อยงดงามมากวัดหนึ่งในจังหวัดแพร่และภาคเหนือ เพราะต้นศรัทธาผู้สร้างในสมัยนั้นเป็นคหบดีชาวไทยใหญ่เมื่อกาลเวลาผ่านไปสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ได้ทรุดโทรมลง เมื่อถูกรื้อถอนแล้วปลูกสร้างขึ้นใหม่ จึงไม่เหลือศิลปะอันงดงามเหล่านั้นให้เห็น ปัจจุบันการก่อสร้างวิหารมักถือตามแบบสถาปัตยกรรมภาคกลาง วัดเหมืองหม้อปัจจุบัน ตั้งอยู่เลขที่ ๑๑๑ บ้านเหมืองหม้อ หมู่ที่ ๘ ตำบลเหมืองหม้อ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๔๙๙ เขตวิสุงคามสีมากว้าง ๒๗.๒ เมตร ยาว ๑๔.๕ เมตร ประกอบพิธีผูกพัทธสีมา เมื่อพ.ศ. ๒๕๐๐ ที่ดินวัดเนื้อที่ ๕ ไร่ ๒ งาน ๕ ตารางวา มีเอกสิทธิ์เป็น น.ส. ๔ ก. เลขที่ ๓๑๓๕๖ สิ่งปลูกสร้างที่สำคัญมี หอไตรปิฎก พระเจดีย์ อุโบสถ •แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 09 •ธันวาคม• 2012 เวลา 11:34 น.• ) ความสะอาดและการทำความสะอาด
•วัน•เสาร์•ที่ 08 •ธันวาคม• 2012 เวลา 10:15 น.• -
??Author: Administrator??
สัปดาห์นี้เรามาเรียนรู้เกี่ยวกับความสะอาด และการทำความสะอาดกันครับ เพราะอิสลามเน้นหนักในเรื่องของความสะอาด ความสะอาด ( اَلطَّهَارَةُ ) เป็นหลักการสำคัญในศาสนาอิสลาม เป็นกึ่งหนึ่งหรือครึ่งหนึ่งของการศรัทธา เป็นเอก ลักษณ์และลักษณะนิสัยที่โดด เด่นของมุสลิมผู้ศรัทธา อิสลามได้กำหนดบทบาทหน้าที่ประจำวันของมุสลิม ตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงเข้านอนให้ครอบคลุมและผูกพันกับ การรักษา ความสะอาด ทั้งร่างกาย,เสื้อผ้า,อาหารและอื่น ๆ ทั้งส่วนตัวและสาธารณะ และอิสลามยังกำหนดให้ความสะอาดนั้นเป็นเงื่อนไขสำคัญที่มี ผลผูกพันกับการ ปฏิบัติศาสนกิจของผู้ศรัทธาหลายประการ เช่น การละหมาดและการฏอวาฟเป็นต้น ท่านอาบูมาลิกกะอฺ บินอาศิมอัลอัช อะรีย์ ร่อฎิยัลลอ ฮุอันฮุ รายงานว่า ท่านรอซูลุลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า الطُّهُورُ شَطْرُالإِيْمَانِ “ การทำความสะอาด–ตามศาสนบัญญัติ–เป็นครึ่งหนึ่งของการศรัทธา ” บันทึกโดยมุสลิม •แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 09 •ธันวาคม• 2012 เวลา 16:54 น.• ) น้ำพริกฮ้า ครัวแม่จั๋นแก้ว
•วัน•เสาร์•ที่ 08 •ธันวาคม• 2012 เวลา 11:58 น.• -
??Author: Administrator??
ตำบลเหมืองหม้อ อำเภอเมือง
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 22 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 21:49 น.• -
??Author: Administrator??
อัตลักษณ์ท้องถิ่นตำบลเหมืองหม้อ บทที่ ๑ ความเป็นมาของตำบลเหมืองหม้อ สถานที่ตั้ง ตำบลเหมืองหม้อตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองแพร่ ประมาณ ๓ กิโลเมตร ตำบลเหมืองหม้อมีประวิติความเป็นมาที่ยาวนานตั้งแต่อดีตกาล ประมาณปี พ.ศ.๑๓๗๙ ได้อพยพมาจากบ้านหนองหม้อเมืองไชยบุรี เชียงแสน มาตั้งรกรากที่ริมห้วยแม่แคม บริเวณนี้มีลำธารเล็กๆแยกจากห้วยแม่แคมไปทางขวา ชาวบ้านเรียกว่าลำเหมือง จึงเอาคำว่าหนองหม้อรวมกับคำว่าเหมือง กลายเป็นเหมืองหนองหม้อ จนในที่สุดกร่อนคำกลายเป็น “เหมืองหม้อ” ซึ่งเป็นชื่อของตำบลเหมืองหม้อในปัจจุบัน สภาพทางภูมิศาสตร์ของตำบล ลักษณะภูมิประเทศของตำบลเหมืองหม้อเป็นพื้นที่ราบและที่ราบลุ่มแม่น้ำ มีพื้นที่ลาดเอียงจากทิศตะวันออกสู่ทิศตะวันตก มีลำห้วยแม่แคมเป็นแหล่งน้ำสายใหญ่ไหลผ่านตำบลเหมืองหม้อ มีคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งซ้ายของกรมชลประทานเป็นแหล่งน้ำสายหลักของตำบล อาณาเขตติดต่อ ทิศเหนือ ติดกับตำบลบ้านร่องฟองตำบลน้ำชำ ทิศใต้ ติดกับตำบลกาญจนาราม ตำบลนาจักร ทิศตะวันออก ติดกับตำบลบ้านถิ่น ทิศตะวันตก ติดกับตำบลทุ่งกวาว ตำบลในเวียง •แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 07 •ธันวาคม• 2012 เวลา 10:42 น.• ) ชาวแพร่ถวายพระพรชัยมงคล
•วัน•พุธ•ที่ 05 •ธันวาคม• 2012 เวลา 22:21 น.• -
??Author: Administrator??
"คำอวยพรเเละคำปฏิญาณสัญญา ที่ทุกท่านได้กล่าวนั้น เป็นที่ประทับใจมาก ขอขอบพระทัยเเละขอบใจท่านทั้งหลาย ตลอดจนประชาชนชาวไทยทุกคน ที่พรั่งพร้อมกันมาด้วยความปรารถนาดีเเละไมตรีจิต ความปรารถนาดีเเละความพร้อมเพรียงกันของทุกท่าน อย่างที่ได้เห็นกันในวันนี้ ทำให้ข้าพเจ้าปลื้มใจ มีกำลังใจมากขึ้น ด้วยมีความเชื่อเสมอมาว่า ความเมตตาปรารถนาดีต่อกันนี้ เป็นปัจจัยอย่างสำคัญ ที่จะยังความพร้อมเพรียงให้เกิดมีขึ้น ทั้งในหมู่คณะเเละชาติบ้านเมือง เเละถ้าคนไทยเรายังมีคุณธรรมข้อนี้ประจำอยู่ในจิตใจ ก็มีความหวังได้ว่า บ้านเมืองไทยไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใดๆ ก็จะอยู่รอดปลอดภัยเเละดำรงมั่นคงต่อไปได้ตลอดรอดฝั่งอย่างเเน่นอน ขออำนาจเเห่งคุณพระรัตนตรัยเเละสิ่งศักดิ์สิทธิ์จงคุ้มครองรักษาท่านเเละชาติไทยให้มีเเต่ความผาสุกร่มเย็นยั่งยืนไป" •แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 07 •ธันวาคม• 2012 เวลา 11:31 น.• ) การเสด็จพระราชดำเนินจังหวัดแพร่
•วัน•อังคาร•ที่ 04 •ธันวาคม• 2012 เวลา 21:35 น.• -
??Author: Administrator??
การเสด็จพระราชดำเนินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพื้นที่จังหวัดแพร่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎร รวม ๘ ครั้ง ๑. วันที่ ๑๕ - ๑๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๑ ๒. วันที่ ๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๑๔ ๓. วันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๖ ๔. วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๑ ๕. วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๒๒ ๖. วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๒๓ ๗. วันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๒๔ ๘. วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๕ •แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พุธ•ที่ 05 •ธันวาคม• 2012 เวลา 22:42 น.• ) รองผู้ว่าย้ายรับตำแหน่งเชียงราย
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 06 •ธันวาคม• 2012 เวลา 14:49 น.• -
??Author: Administrator??
นายเอกชัย วงศ์วรกุล ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ มอบของที่ระลึกแก่นายมนัส โสกันธิกา รองผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ที่ย้ายไปรับตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เมื่อวันอังคารที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๕ ณ สวนอาหารรุ่งนภา |
<< •เริ่มแรก• < •ย้อนกลับ• 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 •ถัดไป• > •สุดท้าย• >>
•หน้า 16 จาก 33•