ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๓๕
•วัน•จันทร์•ที่ 01 •เมษายน• 2013 เวลา 20:48 น.• -
??Author: manager??
การเริ่มก่อตัวมี “สำนึกท้องถิ่น” “สำนึกรักบ้านเกิด” ที่มีผลทำให้เกิดการสร้างและรื้อฟื้นตัวตนของเมืองลอง มีปัจจัยสำคัญทั้งภายในและภายนอก ๓ ประการ คือ (๑) ประเพณี พิธีกรรม และคติความเชื่อ เป็น “เครื่องมือ” และ “กลไก” ทางวัฒนธรรมที่สามารถยึดโยงสายสัมพันธ์ของกลุ่มคนเมืองลองเข้าไว้ด้วยกัน โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับพระธาตุทั้งห้าองค์(พุทธ)และผีบ้านผีเมืองที่มาจากบุคคลสำคัญและเจ้าเมือง(ผี) ที่ยังสืบทอดไว้อย่างมั่นคงโดยการนำของกลุ่มพระสงฆ์ กลุ่มเชื้อสายเจ้านายขุนนาง และกลุ่มปราชญ์ท้องถิ่น(เค้าผี, เจ้าเหมืองเจ้าฝาย, ผู้นำประกอบพิธีกรรม ฯลฯ) เช่น ในพิธีกรรมล่องวัดเดือนหก(ไหว้พระธาตุแหลมลี่) ยังคงรักษาให้หัววัดบ้านนาหลวงผู้เป็นข้าวัดนำขบวนก่อน หรือโครงสร้างตำแหน่งหน้าที่ผู้ประกอบพิธีเลี้ยงผีเมืองลอง(บ่อเหล็ก) ทั้งตำแหน่งผู้นำเลี้ยงผีเมืองที่มีเจ้าน้อยศรีสองเมือง ณ ลำปาง เป็นองค์ประธานแทนเจ้าผู้ครองนครลำปางในช่วงพ.ศ.๒๔๔๙ – ๒๔๙๗ ปัจจุบันหลานเขยก็ยังทำหน้าที่เป็น “พ่อเมือง” นำพลีกรรมเลี้ยงผีเมืองลองและนำเลี้ยงผีขุนน้ำแม่ลอง (หากไปไม่ได้ก็ให้หลานสาวเป็น “แม่เมือง” นำเลี้ยงผีเมืองแทน) รวมถึงตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ ก็ยังคงอยู่ เช่น หมื่นกลางโฮง แสนบ่อ หมอง่อน ช่างม่วน กวาน และข้าผีเมือง ฯลฯ ซึ่งพิธีกรรมความเชื่อเหล่านี้ได้มีการผลิตซ้ำอยู่อย่างสม่ำเสมอในรูปประเพณี ๑๒ เดือนของเมืองลอง ประกอบกับก่อนช่วงทศวรรษ ๒๕๑๐ แอ่งลองมีลักษณะเป็นเมืองปิดติดต่อกับภายนอกได้ยากลำบาก จึงยังคงไว้ซึ่งพลังเครือข่ายของท้องถิ่นที่เหมือนหรือคล้ายคลึงแบบจารีต เช่น ศรัทธาหมวดหัววัด หมวดอุโบสถ กลุ่มเหมืองฝาย ระบบเครือญาติ ระบบกลุ่มลูกหลานผีปู่ย่า และกลุ่มหมวดเอามื้อเอาแรง ฯลฯ หรือแม้แต่ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในรูปตำนานของเมืองลองที่ผูกติดกับ คติการทานธรรม ก็ยังปรากฏมีการจารในคัมภีร์ใบลานหรือเขียนลงพับสาด้วยอักษรธรรมล้านนาจนกระทั่งถึงในช่วงของทศวรรษนี้ •แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 02 •เมษายน• 2013 เวลา 06:48 น.• ) อุปสมบท ณ วัดหัวเมือง
•วัน•จันทร์•ที่ 01 •เมษายน• 2013 เวลา 10:39 น.• -
??Author: manager??
ภาพบรรยากาศ งานบรรพชา อุปสมบท บ้านหัวเมือง ประจำปี ๒๕๕๖ สนับสนุนโดย องค์การบริหารส่วนตำบลหัวเมือง ๕๐,๐๐๐ บ. โดยวันที่ ๓๑ มี.ค. ๕๖ เป็นวันดา วันที่ ๑ เมษายน เวลา ๐๙.๐๐ น. เรียกขวัญนาค เสร็จแล้วรับประทานอาหารร่วมกัน ๑๓.๐๐ น. โดยประมาณ ทำพิธีบรรพชาอุปสมบท วัดหัวเมืองถือได้ว่าเป็นวัดที่อายุเก่าแก่ของจังหวัดแพร่วัดหนึ่งตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านสันนิษฐานว่าเริ่มก่อสร้างเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๐๐ โดยมีกลุ่มชาวบ้านซึ่งไม่ทราบที่มาชัดเจนว่าได้ย้ายถิ่นฐานมาจากที่ใด ที่เข้ามาปักหลักทำมาหากินอยู่ในเขตพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำยมในสมัยนั้น ประวัติวัดหัวเมือง เดิมวัดหัวเมืองตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยม ห่างจากที่ตั้งปัจจุบันไปทางทิศใต้ประมาณ ๓๐๐ เมตร แต่เนื้องจากสภาพการไหลของแม่น้ำยมนั้นได้เปลี่ยนทิศทางอยู่เสมอจนได้กัดเซาะตลิ่งซึ่งติดบริเวณวัดหัวเมืองเดิมทำให้พื้นที่วัดได้รับความเสียหาย ทางเจ้าอาวาสคือพระอธิการพรมจักร แก่นเรณู และผู้นำหมู่บ้านโดยแกนนำของขุนเสนา ไข่คำ จึงได้พร้อมใจกันย้ายวัดมาอยู่ ณ ที่ตั้งปัจจุบันเมื่อวันจันทร์ที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๖ ตรงกับวันขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๑๐ เหนือ เดือน ๘ ใต้ นับตั้งแต่ย้ายวัดเป็นต้นมา ชาวบ้านต่างก็พร้อมใจกันสร้าวัดขึ้นใหม่ โดยเริ่มจากการใช้ไม้ไผ่ในการสร้างกุฏิและวิหาร เพราะในสมัยนั้นวัสดุก่อสร้างล้วนแล้วแต่เป็นของราคาแพงและค่อนข้างหายากสำหรับแถบชนบท ต่อมาในสมัยของพระอธิการพรหมจักร พรหมจกฺโก เจ้าอาวาสวัดหัวเมือง และคณะศรัทธาก็ได้พร้อมใจกันสร้างพระประธานเพื่อสักการบูชาในวิหารไม่ไผ่ ซึ่งเดิมทีทางวัดมีเพียงพุทธรูปองค์เล็ก ๆ ไม่กี่องค์เท่านั้น โดยได้ฤกษ์ก่อสร้าง เมื่อวันพุธ ที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๘ มีพ่อาล่าอุ๊ เวียงโกศัย ช่างผู้ก่อสร้าง โดยมีลักษณ์เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน ใช้ไม้ขนุนเป็นแกนโครงสร้างด้านใน ศิลปะล้านนาแบบเมืองแพร่โบราณ •แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 02 •เมษายน• 2013 เวลา 06:49 น.• ) วัดทุ่งกวาว อำเภอเมืองแพร่
•วัน•เสาร์•ที่ 30 •มีนาคม• 2013 เวลา 15:17 น.• -
??Author: manager??
วัดทุ่งกวาว สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๐ เดิมชื่อว่า “วัดโต่งกว๋าว” ประชาชนที่เข้ามาปักหลักอาศัยอยู่ในพื้นที่ ทุ่งกวาวและทุ่งป่าดำร่วมกันสร้างวัด แห่งแรกวัดอยู่ทางทิศตะวันตกของวัดปัจจุบัน ห่างกันประมาณ ๒๐๐ เมตร ผ่านมาประมาณ ๓๐ ปี ณ ที่ดินได้รับถวาย ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งวัดปัจจุบัน ห่างกันประมาณ ๒๐๐ เมตร ผ่านมาประมาณ ๓๐ ปี พ่อฮ้อยคำมาตย์ แม่เลี้ยงคำป้อ ได้ถวายที่ดินให้กับวัด ครูบาวงศ์ จึงได้ย้ายวัดออกมาสร้างใหม่ได้ประมาณ ๑๐ ปี ครูบาวงศ์ได้ถึงแก่มรณภาพลง แม่เลี้ยงคำป้อ ซึ่งเป็นศรัทธาเก๊าได้ถวายความอุปถัมภ์วัดมาโดยตลอด เมื่อสิ้นบุญแม้เลี้ยงคำป้อไปแล้ว แม่เลี้ยงบุญปั๋น ซึ่งเป็นลูกสาว ได้ช่วยส่งเสริมทนุบำรุงวัดสืบแทนแม่ ล่วงไปได้ ๑๘ ปี ครูบาอุตตมะ ได้ถึงแม่มรณภาพลง ทางการสงฆ์จึงได้แต่งตั้ง พระก๋าวิชัย (โก๋) เป็นเจ้าอาวาสสืบแทน แม่เลี้ยงบุญปั๋น ซึ่งเป็นเจ้าช้าง ได้ทุ่มเทอุปการะวัดอย่างเต็มที่ ได้สร้าวิหารหลังใหม่ครอบหลังเก่า ใช้เสาร์ไม้ถากซ่อมเป็นเหลี่ยม ลงรักปิดทองลวดลายสวยงามดังที่ปรากฏในปัจจุบัน เมื่อเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้วแม่เลี้ยงบุญปั๋นได้เป็นศรัทธาเก๊า ฉลองวิหารเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๓ ซึ่งเป็นการฉลองครั้งยิ่งใหญ่มโหฬารที่สุดไม่มีใครทำได้ในสมัยนั้น โดยมีเจ้าหลวงเมืองแพร่มาเป็นประธานพอเสร็จงานแล้วมีการจุดบอกไฟนับหมื่นส่งท้าย มีคำกล่าวว่าบอกไฟหลวงบอกนี้ใช้ต้นตาลเป็นกระบอกใช้ดินไฟ(ดินประสิว)ประมาณ ๓๐ กก.เตรียมสร้างบอกไฟอยู่ ๙ เดือนก่อนจะนอกบอกไฟไปจุดแม่เลี้ยงผู้เป็นแม่ออกเก๊าได้ให้เจ้าตำราบอกไฟนุ่งขาวห่มขาวนำข้าวตอกดอกไม้ไปเชิญกลองหลวง(กล๋องปูจา)ไปร่วมแห่ด้วย คำเชิญกลองหลวงว่า •แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•จันทร์•ที่ 01 •เมษายน• 2013 เวลา 10:57 น.• ) หัวใจพระคริสต์ ตอน “ เหนือโกงยังมีโคตรโกง”
•วัน•พุธ•ที่ 27 •มีนาคม• 2013 เวลา 18:31 น.• -
??Author: Administrator??
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วได้พูดถึงเรื่องราวของผู้ชายผู้หนึ่งที่ชื่อ ยาโคบ ผู้ที่ถูกได้ชื่อว่าเป็นจอมขี้โกงไปแล้ว ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องของเอซาวที่ไม่เห็นคุณค่าของสิ่งที่พ่อเขาจะให้ แล้วเขาก็พลาดสิ่งนั้นโดยที่ยาโคบได้ใช้ความขี้โกงของเขาแย่งเอาการอวยพรของพ่อมาเป็นของตัวเอง แต่ลักษณะนิสัยเสียแห่งความขี้โกงยาโคบก็ยังเป็นเรื่องของความขี้โกงที่จะปล่อยไว้ไม่ได้ •แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 31 •มีนาคม• 2013 เวลา 14:03 น.• ) สัปปุริสทาน ๕ พร้อมทั้งอานิสงส์
•วัน•อังคาร•ที่ 12 •มีนาคม• 2013 เวลา 18:40 น.• -
??Author: Administrator??
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน (การให้ของคนดี) ๕ อย่างเหล่านี้ คือ ๑. ให้ทานด้วยศรัทธา (ความเชื่อศรัทธาอย่างมีเหตุผล) ๒. ให้ทานด้วยความเคารพ ๓. ให้ทานตามกาล ๔. ให้ทานมีจิตอนุเคราะห์ ๕. ให้ทานไม่กระทบตน ไม่กระทบผู้อื่น" •แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พุธ•ที่ 27 •มีนาคม• 2013 เวลา 18:38 น.• ) คริสตจักรที่ 1 แพร่กิตติคุณ
•วัน•เสาร์•ที่ 23 •มีนาคม• 2013 เวลา 12:40 น.• -
??Author: Administrator??
ประวัติโดยสังเขปของคริสตจักรที่ 1 แพร่กิตติคุณ คริสตจักรที่ 1 แพร่กิตติคุณ มีความหมายถึงเป็นคริสตจักรแห่งแรกในจังหวัดแพร่ และเป็นจุดเริ่มต้นของการแพร่ขยายของพระกิตติคุณไปสู่ที่อื่น ๆ ในเขตจังหวัดแพร่และอุตรดิตถ์ ซึ่งการเข้ามาของพระกิตติคุณในจังหวัดแพร่มีความเป็นมาดังต่อไปนี้ •แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พุธ•ที่ 27 •มีนาคม• 2013 เวลา 18:40 น.• ) ปัจฉิมนิเทศนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๓
•วัน•ศุกร์•ที่ 22 •มีนาคม• 2013 เวลา 14:30 น.• -
??Author: Administrator??
นายสุกิจ ยาพรม รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต ๑ ให้เกียรติกล่าวปัจฉิมนิเทศโอวาทแก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบ้านวังฟ่อน (สิทธิราษฎร์บำรุง) ซึ่งได้สำเร็จการศึกษาภาคบังคับ และมอบประกาศนียบัตรแก่นักเรียนที่จบการศึกษาชั้นสูงสุดของสถาบันนี้ พร้อมกันนี้ได้มอบประกาศเกียรติคุณให้คณะกรรมการสถานศึกษาชุดเดิมและชุดปัจจุบัน โดยมีนายสมบัติ เสนวิรัช ผู้อำนวยการโรงเรียนกล่าวรายงาน มีคณะครู คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียนและผู้ปกครองเข้าร่วมงาน โรงเรียนบ้านวังฟ่อน (สิทธิราษฎร์บำรุง) เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ มีนโยบายในการจัดการเรียนการสอนให้เด็กเป็นคนดี คนเก่ง คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ในปี ๒๕๕๕ มีนักเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ จำนวน ๒๓ คน เป็นนักเรียนชาย ๙ คน นักเรียนหญิง ๑๔ คน ผลงานล่าสุดที่ปรากฎชัดและเป็นความภาคภูมิใจให้กับโรงเรียนและตัวนักเรียนเองคือคะแนนรวมเฉลี่ยของผลการสอบ Onet ได้อันดับที่ ๑ (O – NET คือ แบบสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน เป็นการวัดผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับในช่วงชั้นที่ ๔ จัดสอบ ๕ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ ๑ ภาษาไทย ๒ คณิตศาสตร์ ๓ วิทยาศาสตร์ ๔ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ๕ ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)) •แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 09 •เมษายน• 2013 เวลา 13:37 น.• ) ความแตกต่างระหว่างการงานที่ดี และที่ไม่ดี
•วัน•ศุกร์•ที่ 22 •มีนาคม• 2013 เวลา 07:41 น.• -
??Author: Administrator??
"อัลฮัมดุลิลลาฮฺ" พี่น้องที่มีเกียรติที่รักครับ วันนี้เรามาต่อกันที่หัวข้อนี้นะครับ " ความแตกต่างระหว่างการงานที่ดี และที่ไม่ดี " อัลกุรอ่าน ได้แยกแยะให้เห็นว่า การงานที่ดีนั้น ประกอบไปด้วย 3 ประการ และเมื่อใดที่ขาดหายไปแม้เพียงประการเดียว การงานนั้นจะไม่ยังประโยชน์ให้กับผู้กระทำแต่อย่างใด ในวันกียามะฮฺ (วันสิ้นโลก) •แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 22 •มีนาคม• 2013 เวลา 15:33 น.• ) ตอน “บันไดของเบธเอล”
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 21 •มีนาคม• 2013 เวลา 08:59 น.• -
??Author: Administrator??
สวัสดีครับพี่น้องชาวจังหวัดแพร่และพี่น้องชาวไทยที่อยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทยและต่างประเทศทั่วโลกที่ได้ติดตามบทความของผมในเว็บไซต์นะครับ ความเดิมตอนที่แล้วก็เกิดเหตูการณ์ศึกสายเลือดไปแล้วระหว่าง เอซาว กับ ยาโคบ ผู้แย่งชิงมรดกจากพ่อ ซึ่งไม่ใช่เงินทอง อับราฮัมจนมาถึงอิศอัค และบัดนี้แทนที่จะได้เป็นของเอซาวผู้พี่ แต่ดันกลับกลายมาเป็นของน้องผู้มีนามว่า ยาโคบ แทน แล้วพี่น้องคิดว่าถ้าเหตูกาณ์แบบนี้จะเกิดอะไรขึ้นครับ ใช่แล้ว ยาโคบก็ต้องเผ่นนะสิครับ แต่พ่อแม่จึงแนะนำให้ไปในที่แม่เขาจากมาที่นั่นคือ ปัดดานุอาร์ม และแล้วเก็บเสื้อผ้าใส่กระเป๋า แล้วต้องรับจรลีเผ่นไปให้ไกลที่สุดก่อนที่หัวจะหลุดจากบ่า และแล้วในระหว่างทางนั้นก็มีเรื่องอัศจรรย์เกิดขึ้น คือในช่วงเวลาเย็นช่วงค่ำ ๆ ในระหว่างที่เดินทางมาเหน็ดเหนื่อยจึงได้แวะพักผ่อนระหว่างทาง ก็ได้จัดแจงที่ทาสำหรับนอนและเอาหินมาเป็นหมอนหนุน และในช่วงเวลาเย็นนั้นเองในขณะที่ ยาโคบ ได้หลับตาลง ๆ ๆ และสนิท ในทันใดนั้นก็เกิดเหตุการณ์บางอย่างได้เกิดขึ้น มีบันได้อันหนึ่งได้ส่งความยาวของบันได ได้สูงขึ้นเรื่อย ๆ และขึ้นไปสู่อาณาจักรสวรรค์ และที่บันไดนั้นมีทูตสวรรค์เต็มไปหมดนี่กำลังเดินขึ้นเดินลงอย่างเมามันส์ท่ามกลางสง่าราศรีเป็นส่วนใหญ่ •แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 21 •มีนาคม• 2013 เวลา 15:04 น.• ) ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๓๔
•วัน•จันทร์•ที่ 18 •มีนาคม• 2013 เวลา 22:57 น.• -
??Author: Administrator??
การสร้างและรื้อฟื้นความเป็นเมืองลอง ผ่านมรดกทุนวัฒนธรรม : ประเพณี พิธีกรรม และความเชื่อ พ.ศ.๒๔๙๕ - ๒๕๕๔ “เมืองลอง” ในอดีตไม่สามารถหวนกลับคืนมาได้อีกแล้ว แต่สำนึกในความเป็นเมืองลอง ที่ถูกหล่อเลี้ยงด้วยการผลิตซ้ำทางประเพณี พิธีกรรม และคติความเชื่อ ทำให้คนรุ่นต่อมายังคงเหลือความทรงจำบางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับบ้านเมืองของตน จึงมีการสร้างและรื้อฟื้นตัวตนของความเป็นเมืองลองภายใต้รูปหน่วยอำเภอลอง อันเป็นการปกครองหน่วยหนึ่งแบบราชการไทยที่อยู่ชายขอบของจังหวัดแพร่และสังคมไทยขึ้นมา โดยใช้ทุนหรือทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่เคยจรรโลงความเป็นเมืองลองในยุคจารีตกลับมาสร้างและรื้อฟื้นความเป็นตัวตนของเมืองลองขึ้นอีกครั้ง ที่เชื่อมโยงกับการนิยามความเป็น “คนเมืองลอง” อีกชั้นหนึ่ง ลักษณะวิธีของการนำเอาทุนมรดกทางวัฒนธรรม กลับมาสร้างและรื้อฟื้นความเป็นเมืองลองใช่ว่าจะถูกนำมาใช้ทั้งหมด แต่ได้ผ่านการเลือกสรรบางเศษเสี้ยว บางแง่มุม ของความเป็นเมืองลองที่เคยธำรงอยู่ในยุคจารีต และสิ่งนั้นสามารถสนองตอบต่อการดำรงชีวิตของคนเมืองลองในยุคปัจจุบัน จึงถูกหยิบยกกลับขึ้นมาสร้างและรื้อฟื้นเพื่อแสดงถึงความมีตัวตนของท้องถิ่น “เมืองลอง” ในสังคมไทย อีกทั้งเป็นการให้ความหมายแก่ตัวตนของคนในพื้นที่ เพื่อคนที่ได้นิยามตนว่าเป็น “คนเมืองลอง” จะสามารถมีส่วนเข้าใช้ทรัพยากรของเมืองลอง ไปพร้อมกับทำให้เกิดความภาคภูมิใจในตนเองและท้องถิ่น รู้สึกมี “ความหมาย” และมี “คุณค่า” ในสังคม แต่ขณะเดียวกันบางสิ่งบางอย่างที่ไม่สามารถตอบสนองหรือมีประโยชน์ต่อผู้คนในยุคปัจจุบัน สิ่งเหล่านั้นก็ไม่ได้รับการหยิบยกขึ้นมาสร้างและรื้อฟื้นในความเป็นเมืองลอง แต่กลับจะถูกปล่อยให้ลับเลือนลางจางหายจากความทรงจำของท้องถิ่นเมืองลองไปตามกาลเวลา |
การเสด็จพระราชดำเนิน ครั้งที่ ๘
•วัน•จันทร์•ที่ 18 •มีนาคม• 2013 เวลา 09:50 น.• -
??Author: Administrator??
วันอังคารที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๕ เพื่อทอดพระเนตรอ่างเก็บน้ำห้วยเป๊าะ บ้านลูนิเกต ตำบลห้วยหม้าย อำเภอสอง เวลา ๑๓.๒๐ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จากลานเฮลิคอปเตอร์ ภูพิงค์ราชนิเวศน์ ไปทอดพระเนตรโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยเป๊าะ* ซึ่งตั้งอยู่ที่ บ้านลูนิเกต ตำบลห้วยหม้าย อำเภอสอง จังหวัดแพร่ เมื่อเสด็จฯ ถึงโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยเป๊าะ ทรงปล่อยพันธุ์ปลานิล ปลาไน ปลาตะเพียน ปลาลิ่น และกุ้งก้ามกราม จำนวนรวม ๖๙,๐๐๐ ตัว ลงในอ่างเก็บน้ำ เพื่อขยายพันธุ์เป็นอาหารแก่ราษฎรต่อไป จากนั้นเสด็จฯ ทอดพระเนตรบริเวณอ่างเก็บน้ำ ซึ่งกรมชลประทานดำเนินการสร้างสนองพระราชดำริ สามารถส่งน้ำให้กับพื้นที่เพาะปลูกในเขตหมู่บ้านลู บ้านทุ่งกว้าง และหมู่บ้านใกล้เคียงในเขตตำบลห้วยหม้าย เป็นเนื้อที่ประมาณ ๓,๐๐๐ ไร่ สามารถเพาะปลูกได้ทั้งในฤดูฝน ฤดูแล้ง มีน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคตลอดปี และยังช่วยป้องกันความเสียหายแก่คลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวาของโครงการชลประทานแม่ยม ซึ่งมีน้ำหลากพัดพาตะกอนทรายเข้ามาได้อีกด้วย •แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•จันทร์•ที่ 18 •มีนาคม• 2013 เวลา 23:13 น.• ) สภาวัฒนธรรม มีนาคม ๕๖
•วัน•ศุกร์•ที่ 15 •มีนาคม• 2013 เวลา 15:41 น.• -
??Author: Administrator??
นายเอกชัย วงศ์วรกุล ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ ร่วมพิธีเปิดและมอบทุนสนับสนุนกิจกรรมโครงการ “พี่ช่วยน้อง ๕๖” จำนวน ๔๐,๐๐๐ บาท เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๖ ณ หอประชุมผึ้งหลวง โรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่ •แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•จันทร์•ที่ 18 •มีนาคม• 2013 เวลา 10:53 น.• ) วัดต้นห้า อำเภอเมืองแพร่
•วัน•อาทิตย์•ที่ 10 •มีนาคม• 2013 เวลา 10:06 น.• -
??Author: Administrator??
วัดต้นห้าก่อสร้างเมื่อปี ๒๕๑๘ โดยมีผู้ใหญ่สวัสดิ์ กันกา ร่วมกับพระครูไพสันต์ สุตาคม เจ้าอาวาสวัดน้ำโค้ง อดีตเจ้าคณะตำบลป่าแมต เป็นประธานในการก่อสร้างเพราะแต่เดิมชาวบ้านต้นห้าไปทำบุญที่วัดสุพรรณขณะนั้นการคมนาคมไม่สะดวกการไปมาลำบาก อีกประการบ้านต้นห้าได้แยกหมู่บ้านเป็นหมู่ที่ ๘ ออกจากบ้านสุพรรณ จึงได้สร้างวัดประจำหมู่บ้านขึ้น ด้วยเหตุที่บริเวณที่สร้างวัดมีต้นห้า (ต้นห้าเป็นไม้ยืนต้นเนื้อแข็ง อยู่ในตระกูลเดียวกับต้นหว้า มีผลโตเท่าหัวแม่มือผลดิบมีรสฝาด ผลสุกแดงปนดำมีรสหวานอมเปรี้ยวผลสุก มีผู้นำไปทำผลิตภัณฑ์ไวน์ มีคุณภาพระดับสี่ดาว) ขึ้นจำนวนมากและมีต้นสูงใหญ่อยู่กลางหมู่บ้าน เมื่อสร้างวัดเสร็จ จึงตั้งชื่อตามชื่อของหมู่บ้านว่า “วัดต้นห้า” มาจนบัดนี้ ลำดับเจ้าอาวาส ๑. พระอุดร ปญฺญาสาโร พ.ศ. ๒๕๑๘ – ๒๕๒๔ ๒. พระวิเชียร วชิรปญฺโญ พ.ศ. ๒๕๒๔ – ๒๕๒๕ ๓. พระสวัสดิ์ ธมฺมวโร พ.ศ. ๒๕๒๕ – ๒๕๒๖ ๔. พระแก่น สิริธมฺโม พ.ศ. ๒๕๒๖ – ๒๕๒๗ ๕. พระวิเชียร วชิรปญฺโญ พ.ศ. ๒๕๒๗ – ๒๕๒๘ ๖. พระนวล พ.ศ. ๒๕๒๘ – ๒๕๓๐ ๗. พระอธิการรัชชานนท์ สิริธมฺโม ๘. พระอธิการอรรถพล กตปุญฺโญ พ.ศ. ๒๕๔๒ – ปัจจุบัน วัดต้นห้าตั้งอยู่เลขที่ ๘๖ ตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ สังกัดคณะสงฆ์มนานิกาย ได้รับพระราชทานวิสูงคามสีมา เมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๕ ไร่ ๑ งาน ๒๑ ตารางวา มีเกสารเป็นโฉนดเลขที่ ๔๑๖๖๐ และ ๔๔๐๙๗ •แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•จันทร์•ที่ 18 •มีนาคม• 2013 เวลา 10:08 น.• ) ตำมะฝาง ครัวแม่จั๋นแก้ว
•วัน•เสาร์•ที่ 16 •มีนาคม• 2013 เวลา 10:31 น.• -
??Author: Administrator??
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล มี.ค. ๕๖
•วัน•ศุกร์•ที่ 15 •มีนาคม• 2013 เวลา 19:09 น.• -
??Author: Administrator??
วันศุกร์ที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๖ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านวังฟ่อน จัดทำโครงการรณรงค์ตรวจมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ในสตรีอายุ ๓๐ – ๖๐ ปี มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ๑๓๖ คน มีเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเขตอำเภอสองมาช่วยกิจกรรมโครงการดังนี้ นางแพรวพรรณ วงค์ตุ้ย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.สต. บ้านลูนิเกตุและนางจิรธนี จินดากูล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.สต. ทุ่งน้าว •แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 16 •มีนาคม• 2013 เวลา 16:33 น.• ) สิ่งที่จะมาขจัดความกลุ้มอกกลุ้มใจ
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 14 •มีนาคม• 2013 เวลา 23:04 น.• -
??Author: Administrator??
อัลฮัมดุลิลลาฮฺ .... พี่น้องที่รักครับ อาทิตย์นี้เราลองมาทำความรู้จักกับหัวข้อต่อไปนะครับ คือ <สิ่งที่จะมาขจัดความกลุ้มอกกลุ้มใจ> สิ่งที่จะมาขจัดความกลุ้มอกกลุ้มใจ ความเศร้าหมองและความกังวลให้หมดไปได้ คือ การทำดีต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยคำพูด การกระทำ และสิ่งที่เป็นความดีอื่นๆอีก ทั้งหมดนั้นเป็นการทำดีเป็นการทำสิ่งที่เป็นกุศลซึ่งอัลลอฮฺ(ซ.บ)จะทรงใช้ขจัดความกลุ้มอกกลุ้มใจและความเศร้าหมอง ให้หมดไปจากทั้งคนดีและคนชั่ว ตามขนาดผลงานของแต่ละคน แต่ทว่าผู้ศรัทธานั้นจะได้รับสิ่งที่ครบถ้วนสมบูรณ์กว่า"ด้วยการทำความดีของเขานั้นเกิดขึ้นจากความบริ้สุทธิ์ใจและหวังในกุศลผลบุญจากอัลลอฮฺ(ซ.บ)"พระองค์ก็ทรงทำให้การทำดีมีความสะดวกง่ายดายแก่เขา และขจัดสิ่งที่ไม่เป็นที่ปรารถนาให้หมดไปจากเขา ด้วยการมีความบริสุทธิ์ใจและหวังในผลตอบแทนของพระองค์ ดังที่พระองค์ ลลอฮฺ(ซ.บ)ทรงตรัสไว้ว่า.. "ไม่มีความดีใดๆในการกระซิบกระซาบกันมากมายของพวกเขา นอกจากผู้ที่ใช้ให้ทำทาน ทำความดี หรือปรับปรุงแก้ไขกันในระหว่างผู้คนทั้งหลาย และผู้ใดที่กระทำการดังกล่าว โดยหวังในความพึงพอพระทัยของอัลลอฮฺ(ซ.บ)แล้วดังนั้น เราจะให้กุศลผลบุญอันยิ่งใหญ่แก่เขา" (อันนิซาอ์:114) •แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 15 •มีนาคม• 2013 เวลา 19:34 น.• ) โรงเรียนบ้านวังฟ่อน มีนาคม ๕๖
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 14 •มีนาคม• 2013 เวลา 11:25 น.• -
??Author: Administrator??
เมื่อวันพุธที่่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๖ นายสมบัติ เสนวิรัช ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านวังฟ่อน (สิทธิราษฎร์บำรุง) และคณะครู นำนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเดินทางไกลที่ค่ายลูกเสือจังหวัดแพร่ โดยมีคุณครูฤกษ์ชัย จักรพรพงษ์ และคุณครูกาญจนา จักรพรพงษ์พร้อมทีมงานเป็นวิทยากร •แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 14 •มีนาคม• 2013 เวลา 23:07 น.• ) พรของฉันหายไปไหน ? และการจากไปของผู้รับพรตัวจริง
•วัน•พุธ•ที่ 13 •มีนาคม• 2013 เวลา 18:59 น.• -
??Author: Administrator??
เมื่อคราวที่แล้วท่านได้รู้จักแล้วว่าใครคือ คนที่ขี้โกง คนนั้นคือ ยาโคบ และอีกคนผู้ที่ไม่รู้จักคุณค่าของสิทธิ์แห่งการอวยพรของพระเจ้าในฐานะสิทธิ์บุตรหัวปีผู้นั้นก็คือ เอซาว นั้นเอง และแล้วเมื่อเวลาสำคัญได้ใกล้มาถึง คือเวลาที่สำคัญที่อิสอัคจะได้ส่งมอบพระพรที่พระเจ้าของอับราฮัมต่อให่ทายาทรุ่นต่อไปซึ่งสิทธิ์นั้น ควรเป็นของเอซาวในฐานะบุตรหัวปีหรือลูกชายคนโต เพราะอิสอัคก็ชรามากแล้วดวงตาขุ่นมัวมองไม่ชัด หรือเทียบเท่ามองไม่เห็นนั่นเอง ใช้วิธีสำผัสเอาว่าใครเป็นใคร ซึ่งบุคคลที่อิสอัคคุ้นเคยที่สุดก็คือลูกชายหัวแก้วหัวแหวนคือ เอซาว ผู้ที่มีลักษณะมีขน และเขาเป็นคนที่มักออกไปล่าสัตว์และทำอาหารมาให้พ่อของเขาทานเสมอ และแน่นอนเอซาวรู้ว่า เขาได้แน่ๆ เขาจึงไม่ค่อยสนใจมากแล้วปล่อยตัวปล่อยใจไปตามใจของตัวเองโดยไม่เห็นคุณค่าอะไรเลย เพราะพ่อของเขาได้เรียวเอซาวให้เข้าพบและบอกกับเขาว่า “"ดูเถิด พ่อแก่แล้ว พ่อไม่รู้วันตายของพ่อ เจ้าจงเอาอาวุธของเจ้า คือแล่งธนูและคันธนูออกไปที่ท้องทุ่ง หาเนื้อมาให้พ่อ จัดเตรียมอาหารอร่อยมาให้พ่อ อย่างที่พ่อชอบนั้น และนำมาให้พ่อกิน เพื่อจะได้อวยพรแก่เจ้าก่อนพ่อตาย" จากนั้นเอซาวผู้กระหยิ่มยิ้มย่องในสิ่งที่ตัวเองจะได้ก็ได้ออกไปเพื่อล่าสัตว์ และกลับมารับพรจากพ่อ ทายซิว่าคนที่ไม่ค่อยรู้จักคุณค่าอย่างเขาจะรีบไปรีบมาหรือเปล่า •แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 14 •มีนาคม• 2013 เวลา 12:04 น.• ) ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๓๓
•วัน•จันทร์•ที่ 11 •มีนาคม• 2013 เวลา 20:23 น.• -
??Author: Administrator??
๒. ช่วงที่ ๒ พ.ศ.๒๕๓๐ – ๒๕๔๙ เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตอย่างเข้มข้น ผลจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับก่อนหน้าที่ผ่านมาจึงเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างเข้มข้นต่อวิถีชีวิตของคนอำเภอลองในหลายๆ ด้าน ทั้งวิถีการผลิต การดำเนินชีวิต จารีตประเพณีและพิธีกรรม ฯลฯ เมื่อเริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ ๖ (พ.ศ.๒๕๓๐ – ๒๕๓๔) จึงมีการสานต่อและพัฒนาอย่างรวดเร็วจนเป็นแบบ “ก้าวกระโดด” •แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 12 •มีนาคม• 2013 เวลา 18:20 น.• ) สกุลที่มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำอยู่
•วัน•อาทิตย์•ที่ 20 •มกราคม• 2013 เวลา 16:21 น.• -
??Author: Administrator??
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภายในเรือนแห่งตระกูลใด บุตรๆ บูชามารดาบิดา ตระกูลนั้นชื่อว่ามีพระพรหม ภายในเรือนแห่งตระกูลใด บุตรๆ บูชามารดาบิดา ตระกูลนั้นชื่อว่ามีเทวดาตนแรก ภายในเรือนแห่งตระกูลใด บุตรๆ บูชามารดาบิดา ตระกูลนั้นชื่อว่ามีอาจารย์คนแรก ภายในเรือนแห่งตระกูลใด บุตรๆ บูชามารดาบิดา ตระกูลนั้นชื่อว่ามีบุคคลผู้ควรนำของมาบูชา คำว่า พระพรหม เทวดา บูรพาอาจารย์ และ ผู้ควรนำของมาบูชา เป็นชื่อของมารดาบิดา เพราะมารดาบิดาเป็นผู้อุปการะมาก เป็นผู้คุ้มครองเลี้ยงดูบุตร แสดงโลกนี้แก่บุตร" อิติวุตตก ๒๕/๓๐๓ •แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 05 •พฤษภาคม• 2013 เวลา 20:57 น.• ) |
<< •เริ่มแรก• < •ย้อนกลับ• 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 •ถัดไป• > •สุดท้าย• >>
•หน้า 11 จาก 33•