ค้นหาบทความ
ราคาน้ำมันวันนี้
จำนวนนับผู้เข้าเยี่ยมชม
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้1
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้784
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้2993
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว3943
mod_vvisit_counterเดือนนี้1284
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว14709
mod_vvisit_counterรวมผู้เข้าชม2264224

ออนไลน์ (20 นาทีที่แล้ว): 8
หมายเลข IP : 18.118.1.232
MOZILLA 5.0,
วันที่ : 03 •พ.ค.•, 2024
ขณะนี้มีผู้เข้าชม
• เรามี• •9 บุคคลทั่วไป• •ออนไลน์•
ล้านนาแพร่ประชาสัมพันธ์
Vinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo Slider

อำเภอสองจับกุมผู้ลักลอบขนไม้

วันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๕๔ เวลา ๐๓.๐๐ น. นายเฉลิมวุฒิ รักขติวงศ์ นายอำเภอสองได้สั่งการให้ นายนิกร ยะกะจาย ปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายความมั่นคงอำเภอสอง พร้อมด้วยนายสุพจน์ ปราบหงส์ เจ้าหน้าที่ปกครอง และสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนที่ ๒ อำเภอสอง  จับกุมผู้ลักลอบขนไม้ในพื้นที่ตำบลเตาปูน อำเภอสอง      ได้ตัวผู้ต้องหา ๑ ราย คิอ นายจำรัส บุญประกอบ ชาวบ้านหมู่ ๑๑ บ้านท่อสมาน ตำบลเตาปูน อำเภอสอง จังหวัดแพร่  ของกลางเป็นไม้สักท่อนจำนวน ๒ ท่อน รถจักรยานยนต์ ๑ คัน  จึงนำตัวผู้ต้องหาพร้อมของกลาง ส่งให้ สภ.สอง ดำเนินคดีต่อไป

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 06 •ตุลาคม• 2011 เวลา 10:53 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ค๊าแย๊ะ แย๊ะ เออ

ประเพณีไล่ผี อาข่า เรียกว่า “ค๊าแย๊ะ แย๊ะ เออ” จัดขึ้นเดือนตุลาคมของทุกปี(วันที่ ๒-๓ ตุลาคม ๒๕๕๔นี้) ตรงกับช่วงที่พืชมีผลผลิต และเริ่มเก็บเกี่ยว เช่น ข้าวโพด พืชผักต่างๆ ประเพณีนี้จัดขึ้นมาเพื่อขับไล่สิ่งไม่ดีออกจากชุมชน เช่น ภูตผีปีศาจ เชิญวิญญาณ สิ่งชั่วร้าย ที่อาศัยอยู่ในชุมชน อาข่าเรียกว่า “แหนะ” รวมไปถึงโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ โดยมีการแกะสลักไม้เนื้ออ่อน เป็นดาบ หอก ปืน เรียกอุปกรณ์ว่า “เตาะมา” เป็นเครื่องหมายที่ใช้ในการขับไล่สิ่งไม่ดีออกจากชุมชน มีการตะโกนร้องดัง ๆ โดยเด็ก ๆ ในหมู่บ้าน

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 29 •มิถุนายน• 2012 เวลา 21:39 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

เจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์ (ทายาท)

เจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์ (พระยาพิริยวิไชย)  เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของเมืองแพร่ (พ.ศ. ๒๔๓๒ – ๒๔๔๕) เจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์ เป็นโอรสเจ้าหลวงพิมพิสาร (พิมสาร) กับแม่เจ้าธิดา มีนามเดิมว่า เจ้าน้อยเทพวงศ์ เมื่อได้รับการสถาปนาขึ้นครองเมืองแพร่ พ.ศ. ๒๔๓๒ ในฐานะหัวเมืองประเทศราชของสยาม มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาพิริยวิไชย จนกระทั่งเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๙ ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น “เจ้าพิริยเทพวงศ์” เจ้าผู้ครองนครแพร่ เจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์ มีชายาคนแรกนาม “แม่เจ้าบัวถา” มหายศปัญญา (ธิดา เจ้าบุรีเฒ่า กับแม่เจ้าเฮือนแก้ว) ไม่มีบุตรธิดาด้วยกัน ได้รับเจ้าสุนันตา วงศ์บุรี (ธิดา เจ้าบุรีรัตน์ กับแม่เจ้าคำ มาเป็นบุตรบุญธรรม)  เจ้าเทพวงศ์กับชายาคนที่สองมีนามว่า “แม่เจ้าบัวไหล” หรือแม่เจ้าหลวง เป็นธิดาเจ้าไชยสงครามกับแม่เจ้าอิ่น  มีโอรสธิดาด้วยกัน ๗ คน คือ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 06 •ตุลาคม• 2011 เวลา 16:23 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ผลงานผ้าป่ารุ่น ๕๔

ผลจากการจัดผ้าป่ารุ่นเมื่อสงกรานต์ที่ผ่านมา โรงเรียนบ้านวังฟ่อน (สิทธิราษฎร์บำรุง) โดยผู้อำนวยการสมบัติ เสนวิรัช ได้ดำเนินการจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้สำหรับห้องเรียนในแต่ละชั้น ตั้งแต่อนุบาลจนถึงมัธยมศึกษารวมทั้งหมด ๑๒ เครื่อง ราคาเครื่องละ ๑๑,๐๐๐ บาท รวมเป็นเงิน ๑๓๒,๐๐๐ บาท พร้อมรองรับสัญญาณอินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย เพื่อให้ครูและนักเรียนใช้งานง่ายขึ้น

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 01 •ตุลาคม• 2011 เวลา 10:02 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

เจ้าหลวงพิมพิสาร (พิมสาร หรือขาเค)

เจ้าหลวงพิมพิสาร เป็นโอรสของเจ้าวังขวาเฒ่า กับแม่เจ้าปิ่นแก้ว ซึ่งเป็นน้องสาวของเจ้าอินทวิชัย ได้ประสูติและเจริญวัยในเมืองแพร่อย่างเต็มตัว ปกครองเมืองแพร่ต่อจากเจ้าหลวงอินทวิชัยผู้เป็นลุง ระหว่าง พ.ศ.๒๔๑๕ – ๒๔๓๑ เจ้าหลวงพิมพิสาร เป็นเจ้าเมืองที่ปลูกฝังนิสัยเรื่องการประหยัด และการรู้จักประมาณตนแก่ชาวเมืองแพร่เป็นอย่างดี ดังมีเรื่องเล่ากันว่า หม้อน้ำที่ท่านตั้งไว้ข้างถนนสำหรับผู้สัญจรนั้น จะมีกระบวยใหญ่และกระบวยเล็กอย่างละ ๑ หากใครใช้กระบวยใหญ่ตักดื่มน้ำแล้ว

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 20 •กันยายน• 2011 เวลา 14:52 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

วันที่ ๖ - ๗ กันยายน ๒๕๕๔ นายวิทิต เที่ยงไทย ปลัดอำเภอหัวหน้าบริหารงานฝ่ายปกครองอำเภอสอง (ป.อาวุโส) เป็นประธานพิธีเปิด โครงการ "รณรงค์ป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด" ณ องค์การบริหารส่วนตำบลหัวเมือง ร่วมกับศูนย์พัฒนาครอบครัว นายสาคร จิตชู นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหัวเมืองรายงานการจัดโครงการในครั้งนี้ ซึ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมอบรมคือตัวแทนหมู่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุข ประธานแม่บ้าน สมาชิก อบต. นำโดยกำนันสมพล พุ่งพวง การอบรมในครั้งนี้เพื่อวิเคราะห์ปัญหายาเสพติดในชุมชน ๑๓ หมู่บ้าน และหาแนวทางป้องกัน แก้ไข บำบัด สำหรับผู้มีความเสี่ยง ร่วมกัน

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

เจ้าหลวงอินทวิชัย (อินต๊ะวิชัย)

เจ้าหลวงอินทวิชัย (อินต๊ะวิชัย) มีชื่อและตำแหน่งเดิมว่า หลวงวิชัย หรือหลวงวิชัยราชา เป็นโอรสของเจ้าทพวงศ์และแม่เจ้าสุชาดา เกิดที่ลำปางแล้วมาช่วยเจ้าเทพวงศ์ทำงานในเมืองแพร่ได้ปกครองเมืองแพร่ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๗๓ – ๒๔๑๔ ในยุคที่พวกยุโรปกำลังล่างเมืองขึ้นและต้องการเมืองไทยเป็นอาณานิคมอังกฤษพยายามอย่างยิ่งที่จะยึดเมืองแพร่ เพราะมีป่าไม้สักกที่อุดมสมบูรณ์จำนวนมหาศาล จึงขอเข้าทำกิจการป่าไม้ในเมืองแพร่คือบริษัท อิสต์ เอเชียติก เจ้าหลวงอินทวิชัย ดำเนินวิทโยบายอย่างสุขมรอบคอบ พยายามมิให้เกิดปัญหาขัดแย้งกับชนต่างชาติ อันเป็นชนวนให้เกิดสงคราม เมืองแพร่จึงอยู่รอดปลอดภัยตลอดมา

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 17 •กันยายน• 2011 เวลา 17:38 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

เจ้าเจ็ดตน

หลังจากพม่าครองเมืองเชียงใหม่และหัวเมืองในอาณาจักรล้านนาเป็นระยะเวลากว่า ๒๑๖ ปี (พ.ศ. ๒๑๐๑ – ๒๓๑๗) ล้านนาได้หมดสภาพเป็นอาณาจักร แต่ละเมืองปกครองกันโดยอิสระขึ้นต่อพม่า จนถึงช่วงปลายอาณาจักรพม่าอ่อนแอลง มีการต่อต้านอำนาจพม่าของชาวล้านนานั้นก็คือเมืองเชียงใหม่ เป็นการก่อการกบฏต่อพม่า และต่อสู้อย่างโดดเดี่ยวสาเหตุเนื่องจากโดนกดขี่ข่มแหงจากข้าหลวงพม่า ส่วนเมืองลำพูนนั้น ท้าวมหายศซึ่งเป็นเจ้าเมืองได้เรียกเก็บภาษีจากชาวบ้านอย่างน่าเลือดใครบ้านไหนไม่ให้ก็ทำร้าย ส่วนกลุ่มผู้นำเมืองลำปางได้อ้างอิงอำนาจพม่า พ่อเจ้าทิพย์ช้างต้นราชวงศ์เจ้าเจ็ดตนเดิมเป็นพรานป่าได้อาสาชาวเมืองลำปางต่อสู้กับกองทัพท้าวมหายศแห่งเมืองลำพูนจนได้รับชัยชนะชาวเมืองลำปางจึงยกพ่อเจ้าทิพย์ช้างเป็นเจ้าเมืองลำปาง โดยครองเมือง ๒๗ ปี (พ.ศ. ๒๒๗๕ – ๒๓๐๒) พ่อเจ้าทิพย์ช้างยังอิงอำนาจพม่าเพราะกลุ่มอำนาจเก่า “ท้าวลิ้นก่าน” ซึ่งเป็นบุตรเจ้าเมืองลำปางเดิม พยายามกลับสู่อำนาจ เพื่อความชอบธรรมในการปกครอง

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 01 •กันยายน• 2011 เวลา 21:30 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

เจ้าหลวงเทพวงศ์ลิ้นตอง (ลิ้นทอง)

เจ้าหลวงเทพวงศ์ หรือเจ้าหลวงเทพวงศ์ลิ้นตอง (ลิ้นทอง) ตระกูลเจ้าหลวงเมืองแพร่ ๔ องค์สุดท้าย เป็นตระกูลใหญ่สืบเชื้อสายมาจากเชื้อเจ้าเจ็ดตน ที่ปกครองหัวเมืองต่าง ๆ ในภาคเหนือ หรือล้านนา เจ้าหลวงเทพวงศ์ หรือเจ้าหลวงเทพวงศ์ลิ้นตอง (ลิ้นทอง) (พ.ศ. ๒๓๖๑ – ๒๓๗๓) เป็นโอรสเจ้าฟ้าชายสามแห่งนครเชียงตุง (ไทยเขิน) เจ้ากาวิละ เจ้าหลวงนครลำปาง (ภายหลังได้ไปปกครองเมืองเชียงใหม่) ได้ไปรับมาไว้ที่ลำปางเนื่องจากเป็นญาติกันแล้วส่งมาปกครองที่เมืองแพร่เมื่อ พ.ศ.๒๓๖๑ (จากหนังสือฉลองเมืองแพร่ ๗๐๕ ปี) ต่อไปนี้เป็นคำบอกเล่าของเจ้าน้อยหนู รสเข้ม มหาเสวกเอกพระยาบุรุษรัตน์ราชวัลลภเป็นผู้บันทึก (ได้แก้ไขเพิ่มเติมตามที่ค้นพบบ้าง)

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 09 •ตุลาคม• 2012 เวลา 22:46 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

"ยาขอบ" คำนึงถึงเมืองแพร่

“เขาเป็นบุคคลที่สวรรค์ให้ลงมาเกิดเป็นจาวแพร่ หากวาสนาหายอมให้เขาเป็นเช่นนั้นไม่ ทั้ง ๆ ที่เมื่อลำดับศักดิ์ในสกุลวงศ์แล้วเขาก็คือทายาทโดยชอบธรรมของผู้เจ้าครองนครแพร่ แต่เมือเขาไม่ได้เป็นจ้าวในราชวงษ์ครองนคร เขากลับเป็นได้ยิ่งใหญ่กว่า คือเป็นราชาแห่งวงการประพันธ์ภายใต้นามปากกา “ยาขอบ” คนผู้นั้นคือ “โชติ แพร่พันธุ์” ปัจจุบันดำรงตำแหน่งนายกสมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ในหนังสือ “นครแพร่” ยาขอบได้เปิดเผยและประกาศตนเป็นลูกหลานเมืองแพร่โดยสมบูรณ์ เขามีความรู้สึกอย่างไรต่อปิตุภูมินั้น จากข้อเขียนสั้น ๆ ของ “ยาขอบ” ชิ้นนี้คงจะได้ทิ้งความสะเทือนอย่างรุนแรงไว้ด้วยถ้อยคำจากน้ำใจจริง” ต่อหน้ากองทัพข้าศึกซึ่งกำลังจะเข้าประจัญบานกันนั้น มาควิสแห่งชานปิงให้ชักธงประจำตัวขึ้น จารึกว่า จูล่ง ชาวเมืองเสียงสาน เขามิได้สนใจแก่ตำแหน่งยศแต่เขาหยิ่งต่อกำพืชเดิม และอยากให้ขึ้นชื่อลือชาปรากฏไปว่าเป็นฝีมือของชาวเมืองใด หากมาควิสแห่งชานปิงกระทำเช่นนั้นในสนามรบเป็นการถูกต้อง ในสนามหนังสือข้าพเจ้าก็ควรที่จะชักธงขึ้นว่า โชติชาวเมืองแพร่ แทนที่จะบอกว่า โชติ แพร่พันธุ์

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 28 •มกราคม• 2012 เวลา 09:53 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ถึงคุณโชติ แพร่พันธุ์ (ยาขอบ)

“ทุกคนต้องอดทนต้องรับผิดชอบตัวของตัวเอง การที่หนังสือพิมพ์ทุกวันนี้มีเสรีภาพอย่างเต็มที่ และได้ประโคมข่าวกันอย่างครึกโครมตลอดเวลา ข้าพเจ้าไม่เห็นจะรู้สึกผิดระบอบการปกครองแต่อย่างใด ตรงกันข้ามเห็นเป็นการกันมิให้ใคร ๆ ทำอะไรผิดตามใจตัวเอง แต่ต้องตามใจประชาชนในทางเป็นธรรม” ตามที่คุณโชติ แพร่พันธุ์จะได้พิมพ์หนังสือ “นครแพร่” ขึ้น และได้ให้เกียรติยศอย่างสูงแก่ข้าพเจ้าได้มีส่วนร่วมในการเขียนด้วย ข้าพเจ้าขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง แต่การเขียนอะไรให้มากไป ก็มีความสงสัยอยู่มาก เพราะท่านยาขอบซึ่งได้ประพันธ์เรื่อง ผู้ชนะสิบทิศนั้น ถ้าเป็นจริงดังที่ในวงสังคมกล่าวว่าคือคุณ โชติ แพร่พันธุ์ และหากเป็นจริงดังที่กล่าวนี้แล้ว การเขียนของข้าพเจ้าก็ยังห่างไกลกับท่านผู้เขียนผู้ชนะสิบทิศนั้นมาก ข้าพเจ้าได้ยินการชมเชยท่านยาขอบในเรื่องผู้ชนะสิบทิศอยู่ทั่วไป แม้ภรรยาข้าพเจ้ายังชมเชยในถ้อยคำหลายตอนอยู่จนกระทั้งบัดนี้

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 21 •สิงหาคม• 2011 เวลา 14:57 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

บวชป่าดงอาฮัก ๒๕๕๔

วันพฤหัสบดี ที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๔ หมู่บ้านวังฟ่อนร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลหัวเมือง จัดโครงการปลูกป่า บวชป่า และพัฒนาป่าชุมชน ดงอาฮัก หมู่ที่ ๑๒ เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตต์ พระบรมราชินีนาถ โดยเฉลิมวุฒิ รักขติวงศ์ นายอำเภอสองเป็นประธานในโครงการ หน่วยงานที่เข้าร่วมได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลหัวเมือง นำโดยนายกสาคร จิตชู พร้อมเจ้าหน้าที่ ,โรงเรียนบ้านวังฟ่อน (สิทธิราษฎร์บำรุง) ,โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านวังฟ่อน ,โรงเรียนวังฟ่อนวิทยา ,กศน อำเภอสอง ,นายแพทย์นิยม วิวรรธนดิฐกุล สส.จังหวัดแพร่ และทางหมู่บ้านได้รับได้รับเกียรติจากหน่วยป้องกันรักษาป่าที่ พร. ๙ (แม่แฮด) ได้นำต้นไม้เข้ามาปลูกในครั้งนี้ พร้อมการลงนามถวายพระพร วันแม่แห่งชาติ ,การรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษา ทางหมู่บ้านวังฟ่อน นำโดยนายสมพล พุ่มพวง ขอขอบคุณทุกท่านมา ณ โอกาสนี้

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 11 •สิงหาคม• 2011 เวลา 23:30 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์

ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดวังฟ่อน เปิด ทำการเรียนการสอน  มาตั้งแต่ ๒๕๔๘  จนถึงปัจจุบัน ก่อตั้งโดย หลวงพ่อพระครูอินทปัญญาภรณ์  อดีตเจ้าอาวาสวัดวังฟ่อน วัตถุประสงค์  เพื่อให้นักเรียนผู้สนใจในชุมชนได้ศึกษาเรียนรู้หลักธรรมคำสั่งสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าได้ และได้ทำหน้าที่ของชาวพุทธ  การอยู่ร่วมกันในสังคม อย่างมีความสุข

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•จันทร์•ที่ 08 •สิงหาคม• 2011 เวลา 15:42 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

พัฒนาคุณภาพงานแพทย์แผนไทย

วันพุธ ที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ โรงพยาบาลสอง จัดอบรมโครงการพัฒนาคุณภาพบริการงานแพทย์แผนไทย โดยคุณวีระพงษ์ ชมพูมิ่ง ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอสอง เป็นประธานพิธีเปิดการอบรม คุณแสงดาว วงษ์มี เจ้าพนักงานสาธารณสุขปฏิบัติงาน ,คุณศิริญญา ขอนวงค์ และคุณสุมาลี แจ้ปัญญา นักกายภาพบำบัด เป็นวิทยากรจากโรงพยาบาลสอง และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาประจำตำบล บ้านวังฟ่อน เป็นวิทยากรดำเนินรายการ การจัดอบรมครั้งนี้เน้นการฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต การให้ความรู้กับ อสม. หมู่บ้าน การออกกำลังการสำหรับผู้ป่วย

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พุธ•ที่ 03 •สิงหาคม• 2011 เวลา 22:31 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วังฟ่อนจูเนียร์ทำบัตร

นายอำเภอเฉลิมวุฒิ  รักขติวงศ์ เข้าทักทายเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านวังฟ่อน (สิทธิราษฎร์บำรุง) ขณะที่เด็กกำลังต่อคิวถ่ายบัตรประจำตัว ตามพระราชบัญญัติ บัตรประจําตัวประชาชน(ฉบับที่ ๓) พ.ศ.  ๒๕๕๔ มาตรา ๕ ผู้มีสัญชาติไทยซึ่งมีอายุตั้งแต่เจ็ดปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกินเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ และมีชื่อในทะเบียนบ้านต้องมีบัตรตามที่กําหนดในพระราชบัญญัติ ต้องทำบัตรประจำตัวประชาชน

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 02 •สิงหาคม• 2011 เวลา 19:41 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ตรวจเยี่ยมหน่วย อปต.

วันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๔ พระราชปัญญาภรณ์ (สิงห์คำ ชยวํโส ป.ธ.๙) วัดนางชี แขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร รองเจ้าคณะภาค ๖ อันดับที่ ๑ ,พระราชวรมุนี (พล อาภากโร ป.ธ.9)วัดสังเวชวิศยาราม แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร องเจ้าคณะภาค ๖ อันดับที่ ๑ ,พระวิสุทธิธีรพงศ์ เลขานุการรองเจ้าคณะภาค

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 31 •กรกฏาคม• 2011 เวลา 20:51 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

เจ้าเมืองแพร่ ยุคปู่พญาพล

ย้อนอดีตก่อนก่อตั้งเมืองแพร่ เป็นชุมชนเมืองเก่าอยู่ในลักษณะเมืองทางผ่านเหมือนปัจจุบัน โดยเชื่อมต่อเมืองต่าง ๆ ซึ่งแต่ละเมืองปกครองอิสระมีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครอง ไม่ขึ้นต่อเมืองใด แนวคิดนี้เห็นได้จากวันพระนอนซึ่งมีอายุมากกว่าเมืองแพร่ แน่นอนต้องมีชมชนที่ตั้งอยู่ก่อนแล้ว อาจจะเป็นเพราะการประสบกับภัยธรรมชาติ โรคระบาด รวมถึงสงคราม ซึ่งยุคนั้นมีจีนแผ่นดินใหญ่เทียบได้ว่าเป็นผู้ครองโลกอยู่ก็ว่าได้ ดังนั้นสภาพของชุมชนเมืองแพร่คงไม่ใช่ชนเผ่าอย่างแน่นอนเห็นได้จากวัดพระ นอน(สร้างขึ้น พ.ศ. ๑๑๘๑) กำแพงเมืองเก่าซึ่งหลวงพลได้มีการบูรณะขึ้นมาใหม่จากยุคหลวงพลจนถึงลูกใน ช่วงเวลานั้นปรากฎหลักฐานกำแพงเมืองที่สูง ๗ เมตร กว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๔,๐๐๐ เมตร

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 28 •มกราคม• 2012 เวลา 09:11 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

พระธาตุดอยเล็ง

พระธาตุดอยเล็ง อยู่บนภูเขา(ดอย) ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของพระธาตุช่อแฮ ประมาณ ๒ กิโลเมตร มีงานนมัสการพระธาตุเป็นประเพณีทุกปี ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ โดยมีธรรมเนียมว่า เมื่อมาสักการะพระธาต ุช่อแฮ แล้วในวันสุดท้าย(วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖) พระธาตุดอยเล็ง เป็นปูชนียสถานที่สำคัญของจังหวัดแพร่อีกแห่งหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่บนภูเขาสูงทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของพระธาตุช่อแฮประมาณ ๓ กิโลเมตร ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ พระธาตุจอมแจ้งประมาณ ๔ กิโลเมตร สร้างมาพ.ศ. ใด นั้น ไม่ปรากฏแน่ชัด แต่มีมาคู่กับพระธาตุช่อแฮและพระธาตุจอมแจ้ง ทั้ง ๓ พระธาตุนี้จะคู่กันมาหลายร้อยปี

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 28 •มกราคม• 2012 เวลา 09:30 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วันอาสาฬหบูชา"วังฟ่อน" ๕๔

การเรียนสรรพวิชาใด ๆ ก็ตาม ผู้ที่จะแตกฉานลึกซึ้งในความรู้นั้นได้มีความจำเป็นต้องศึกษาแม่บทให้แตกฉานก่อน เช่น ถ้าเป็นวิชาคำนวณในทางโลกต้องใช้สูตรคูณเป็นแม่บท ในทางธรรมก็เช่นเดียวกัน การที่จะศึกษาธรรมะให้แตกฉาน ต้องศึกษาธัมมจักกัปปวัตตนสูตรเป็นแม่บททางธรรมปู่ย่าตายายท่านจับหลักตรงนี้ได้เมื่อถึงวันอาสาฬหบูชา ท่านจึงขวนขวายไปวัดเพื่อฟังพระธรรมเทศนาเรื่องธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เพื่อเป็นการทบทวนแม่บทธรรมะทั้งหมดใน พระพุทธศาสนาให้เข้าใจและซาบซึ้งยิ่งขึ้น

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 24 •กรกฏาคม• 2011 เวลา 11:03 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

โครงการสถานศึกษาสดใสฯ

วันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๔ นายเฉลิมวุฒิ  รักขติวงศ์ นายอำเภอสองเป็นประธานเปิดโครงการสถานศึกษาสดใสวัยรุ่นเมืองสองห่างไกลยาเสพติด ณ โรงพยาบาลสอง อำเภอสอง จังหวัดแพร่ มีผู้เข้าร่วม ๕๐ คน อายุตั่งแต่ ๑๕- ๒๐ ปี นพ.วันชัย วันทนียวงค์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสอง กลุ่มงานบริการทางการแพทย์ หมอเนา เนาวราวรรณ นาพรม พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ งานประกันสุขภาพ รพ.สอง และคณะบุคลากรดำเนินโครงการ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 14 •กรกฏาคม• 2011 เวลา 12:29 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

<< •เริ่มแรก• < •ย้อนกลับ• 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 •ถัดไป• > •สุดท้าย• >>

•หน้า 29 จาก 33•