ค้นหาบทความ
ราคาน้ำมันวันนี้
จำนวนนับผู้เข้าเยี่ยมชม
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้114
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้784
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้2585
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว3753
mod_vvisit_counterเดือนนี้1397
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว14709
mod_vvisit_counterรวมผู้เข้าชม2264337

ออนไลน์ (20 นาทีที่แล้ว): 7
หมายเลข IP : 18.227.0.192
MOZILLA 5.0,
วันที่ : 03 •พ.ค.•, 2024
ขณะนี้มีผู้เข้าชม
• เรามี• •7 บุคคลทั่วไป• •ออนไลน์•
ล้านนาแพร่ประชาสัมพันธ์
Vinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo Slider

วัดพงษ์สุนันท์

วัดพงษ์สุนันท์ ตั้งอยู่บนถนนคำลือ ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดิน ของวัดมีเนื้อที่ ๓ ไร่ ๓๑.๔๐ ตารางวา โฉนดที่ ๑๖๖๔๙ วัดนี้สร้างมาก่อนปี ๒๔๗๒ แต่เดิมเรียกว่า วัดปงสนุก มีวัดร้างอยู่ปงนี้ แผ่จากวัดไปถึงเขตบ้านพ่อมา แม่เกี๋ยง วังซ้าย อยู่ทางทิศตะวันออก บริเวณด้านใต้ของวัดมีสระลึกเล่ากันว่ามี เต่าน้อย อองคำอยู่ แม่คำปวน ซึ่งเป็นชาวหงสาวดีมีความประสงค์อยากได้เต่าน้อย จึงลงสระไปหา แต่ก็ประสบอุบัติเหตุจมน้ำตายส่างตาด เพื่อนของแม่นางจึงสร้างเจดีย์ขนาดเล็กไว้และ สร้างเต่า ๔ ตัว ประดิษฐานรอบเจดีย์ กาลต่อมาพ่อเจ้าบุรีศรีปัญญาได้สร้างวิหารขึ้น โดยใช้หญ้าคามุงหลังคา เพราะสมัยก่อนบ้านเมืองยังไม่เจริญ และต่อมาเกิดอัคคีภัย เกิดจากการจุดเทียนบูชาพระทิ้งไว้ พระยาบุรีรัตน์ (บุตรชายเจ้าบุรีศรีปัญญา) จึงบูรณปฏิสังขรณ์วัดต่อ เพื่อใช้ในการทำสังฆกรรมได้ ต่อมา พ.ศ. ๒๔๗๒ ผนังวิหารได้พังทลายลงเพราะ เกิดน้ำท่วมทำสังฆกรรมไม่ได้หลายปี หลวงพงษ์พิบูลย์ (พรหม วงศ์พระถาง) และภรรยาของท่าน คือ เจ้าสุนันตา มหายศปัญญา จึงได้เป็นผู้นำ ในการก่อสร้างวิหารใหม่ และพระมหาโกศล อคฺควีโรได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดพงษ์สุนันท์ถึงปัจจุบันและได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ จากเจ้าไข่มุกต์และเจ้าทองด้วง วงษ์บุรีซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของหลวงพงษ์พิบูลย์ และแม่เจ้าสุนันตา วงศ์บุรี ได้ร่วมกับคณะศรัทธาทั่วไปอุปถัมภ์วัดนี้ตลอดมาถึงปัจจุบัน ภายในอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปางมราวิชัย ชื่อว่าพระเจ้าแสนสุข มีอายุราว ๕๖๘ ปี เสนาสนะภายในบริเวณวัด มีพระนอนสีทองอร่าม ซุ้มประตูมงคล ๑๙ ยอด และเจดีย์บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุ พระพุทธรูปเก่าแก่ และวัตถุมงคลต่างๆ เพื่อความเป็นศิริมงคลแก่ผู้มากราบสักการบูชา โดยได้มีการจัดงานสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุ งานไหว้สาพระธาตุพงษ์สุนันท์มงคลเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนกุมภาพันธ์

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

พระเจ้าอาทิตยราชกับพญากาเผือก

เรื่องนี้สืบเนื่องมาจากเมื่อครั้งที่เมืองลำพูนมีไก่ขาววิเศษภายหลังจากที่พระเจ้าอาทิตยราชทรงมีชัยชนะต่อกรุงละโว้ แล้วต่อมาทรงมีรับสั่งให้พวกช่างเนาวกรรมทำปราสาทขึ้นใหม่หลังหนึ่งแล้วปลูกหอจัณฑาคารที่ลงพระบังคนไว้ ณ ที่ใกล้ปราสาทนั้น ครั้นสำเร็จเสร็จเรียบร้อยและเสด็จขึ้นประทับบนปราสาทหลังใหม่ พระเจ้าอาทิตยราชก็ได้ประสบกับสิ่งแปลกประหลาดเป็นที่ยิ่งเนื่องจากมีกาตัวหนึ่ง คอยตามรบกวนเวลาที่พระองค์เสด็จไปลงพระบังคนที่หอนั้น ทุกครั้งที่พระเจ้าอาทิตยราชเสด็จไปเพื่อกิจดังกล่าว การเจ้ากรรมตัวนั้นก็จะบินโฉบไปโฉบมาเหนือพระเศียรเป็นที่น่ารำคาญยิ่งนัก ทิวากาลวันหนึ่ง พระเจ้าอาทิตยราช เสด็จไปลงพระบังคนตามปกติ กานั้นก็โผโฉบเฉียดพระเศียรไปมาดุจแกล้ง ซ้ำยังสลัดสิ่งสกปรกตกต้องพระเศียรเสียอีก พระเจ้าอาทิตยราชทรงพิโรธถึงขีดสุด จึงมีรับสั่งให้อำมาตย์ราชบุรุษเข้ามาเฝ้ายังที่ประทับ ณ ปราสาทแห่งใหม่นั้น

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

พระเจ้าเม็งรายกำเนิด

ครั้นนั้น เมืองหิรัญนครเงินยางมีพวกราชวงศ์สืบต่อมาจากขุนเจื๋องได้ครองสมบัตินับตั้งแต่ลาวเงินเรือง ราชบุตรขุนเจื๋องครองราชย์สมบัติได้ ๒๖ ปีก็ทิวงคตไป สืบต่อมาก็มีโอรสนัดดาสืบราชสมบัติขัตติวงศากันต่อ ๆ มาจนถึงสี่ชั่วราชวงศ์ จนมาถึงรัชสมัยของพระยาลาวเมืองได้ครองราชย์สมบัติ ครองเมืองหิรัญนครเงินยางเชียงราวอันยิ่งใหญ่ ประกอบไปด้วยเดชานุภาพบุญญาบารมี ด้วยราชวงส์ขุนเจื๋องนั้นเป็นที่เลื่องลือมาตั้งแต่บรรพบุรุษคือขุนเจื๋องซึ่งเคยปราบข้าศึกศัตรูมาตลอดรัชสมัยของพระองค์กระทั่งต้องอาวุธสูญเสียพระชนม์ชีพในที่รบเมื่อพระชนมายุได้ ๗๗ พรรษา พระยาลาวเมืองและพระมเหสี

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 21 •มกราคม• 2012 เวลา 23:17 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วัดสวรรคนิเวศ

วัดสวรรคนิเวศก่อสร้างโดยพระครูอุทธิยะ เจ้าอาวาสวัดศรีชุม ได้รับบริจาคที่ดินจากพ่อเลี้ยงเขียว แม่เลี้ยงนวล ได้รับวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒ วิหารเริ่มแรกมุงด้วยหญ้าคาพื้นปูด้วยฟาก ต่อมามีพ่อค้าชาวอังกฤษ “มิสเตอร์ เอสยาส” พ่อเจ้าแก้ว เมืองมา แม่เจ้าคำ ปันดี (ขัติยวงศษา) สระแสง ไดร่วมกันสร้างพระอุโบสถสถาปัตยกรรมแบบล้านนา สร้างด้วยไม้สัก วัดสรรคนิเวศเป็นวัดที่อยู่นอกกำแพงเมืองแพร่ทางทิศเหนือ แต่เดิมเป็นที่อยู่ของพวกชาวไทยพรวน ต่อมาเจ้าหลวงเมืองแพร่ ได้สั่งให้พวกชาวไทยพรวนอพยพไปตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านทุ้งโฮ้งในปัจจุบัน

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 21 •มกราคม• 2012 เวลา 23:20 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ผู้สนับสนุนเว็บไซต์ ปี ๒๕๕๕

www.wungfon.com หรือ lannaphrae.com เข้าสู่ปีที่สามจากการเริ่มเปิดเว็บไซต์ในวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ภายใต้วัตถุประสงค์คือการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบเอกสาร บทความ ข่าวสาร ผ่านสื่ออินเตอร์เน็ต ที่พยามยามนำความเป็นวิถีชีวิตของชุมชนทางภาคเหนือเป็นหลัก ทั้งเป็นความพยายามที่จะเป็นสื่อเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของเมืองแพร่ และเมืองเหนือของเราโดยเป็นสื่อที่ไม่มุ่งหวังผลกำไร ที่ผ่านมาเรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ทางนายอำเภอสองและนายอำเภอหนองม่วงไข่ได้เห็นความสำคัญและไว้วางใจเราให้ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของอำเภอ รวมถึงสภาวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ที่ให้เกียรติสื่อของเราโดยไม่ถือว่าเป็นสื่อขนาดเล็ก

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 26 •มกราคม• 2012 เวลา 16:24 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

มหาราชองค์แรกผู้พิชิตขอม

พุทธศาสนากาลล่วงแล้วได้ ๑๔๖๑ พรรษา มหานครโยนกภายใต้การปกครองของพระองค์พังคราช หย่อนอำนาจลง พวกขอมเมืองเสลากลับกำเริบตั้งแข็งเมืองขึ้น เจ้านครโยนกไม่สามารถจะปราบปรามเอาชนะได้ พวกขอมซึ่งมีกำลังรีพลกล้าแข็งก็ยกเข้าตีป้อม เอานครโยนกไว้ได้ พระยาขอมขับพระองค์พังคราชกับราชเทวีออกไปอยู่ที่เวียงสีทวงริมน้ำแม่สายทิศตะวันตกเฉียงเหนือแห่งโยนกแล้วขอมก็เข้าเมืองเป็นใหญ่อยู่ในเวียงโยนกตั้งแต่บัดนั้นหนึ่งปีที่เมืองเวียงสีทวง ราชเทวีแห่งองค์พังคราชก็ประสูติราชกุมารองค์หนึ่ง พระบิดาผู้นิราศจากวังเวียงออกมาอยู่ ณ เวียงน้อยทรงปรารภกับชายาว่า “ลูกเราเกิดมาในยามที่เราได้รับทุกขเวทนาต้องพลัดที่นาคลาที่อยู่ จำจะให้ชื่อว่า เจ้าชายทุกขิตกุมาร” องค์พังคราชทรงเอ็นดูพระโอรสองค์นี้มาก เพราะทรงรู้สึกผิดที่ทำให้พระราชเทวีและพระโอรสต้องลำบากเพราะความ ไม่เข้มแข็งของพระองค์ พระเจ้าพังคราช ทรงรวบรวมไพร่พลและชาวบ้านที่จงรักภักดี สถาปนาเมืองใหม่ ตั้งอยู่ ณ ที่ เวียงสีทวง นี้ โดยเป็นเมืองขึ้น ที่ต้องส่งส่วยแก่ขอม และขอมจะไม่ยกทัพมารุกรานอีกหากเวียงสีทวงยังคงส่งส่วยไปให้ตามกำหนด

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 19 •กุมภาพันธ์• 2012 เวลา 13:48 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ขุนเจื๋อง วีรบุรุษแห่งการสงคราม

ขุนเจื๋องราชบุตรผู้เกิดมาในราศีอันประเสริฐของขุนจอมธรรมแห่งเมืองภูกามยาวหรือพะเยา ผู้เกิดมามีเทพยาดานำเอาแส้ทิพ ดาบทิพ และคณฑีทิพ มาวางไว้ข้างพระวรกาย และผู้เป็นที่โหรทำนายว่าจะได้เป็นจักรพรรดิราชปราบชมพูทวีป “ขุนเจื๋องเป็นวีรบุรุษแห่งการสงคราม” เมื่อพระองค์มีพระชนมายุได้สามขวบปี พระมารดาก็ประสูติราชบุตรอีกองค์หนึ่งพระบิดาพระราชทานนามว่า “ขุนชอง” พระกุมารทั้งสองครั้นเจริญวัยขึ้นมาก็ได้ศึกษาศิลปศาสตร์เชิงช้างเชิงม้าและเพลงอาวุธต่าง ๆ จนเชี่ยวชาญชำนาญ พอพระชนมายุได้สิบหกพรรษา ขุนเจื๋อง ได้ออกไปคล้องช้างที่เมืองน่าน พระยาน่านชื่อว่า “พละเทวะ” เกิดชอบพอพระทัยจึงยกราชธิดาทรงนามว่า “จันทรเทวี” ให้เป็นชายาของขุนเจื๋อง ต่อมาขุนเจื๋องเสด็จคล้องช้างที่เมืองแพร่ พระยาแพร่ก็ยกธิดาชื่อว่า “นางแก้ว” กษัตรีให้เป็นชายาอีก ขณะนั้นพระองค์ยังมีอายุเพียงสิบกว่าปีถือว่ายังเยาว์วัยมาก (คนโบราณเขาว่าสูงใหญ่กว่าคนปัจจุบันมาก)

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พุธ•ที่ 11 •มกราคม• 2012 เวลา 21:17 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

พระพุทธวิชิตมาร

พระพุทธวิชิตมาร" เดิมเรียกว่า "ตุ๊เจ้าหัวกุด"  "หลวงพ่อเศียรขาด" เป็นพระพุทธรูปประจำโรงเรียนการป่าไม้แพร่ ซึ่งเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของนักศึกษาที่เข้าไปเรียนในโรงเรียนป่าไม้แพร่ หรือโรงเรียนการป่าไม้ ปัจจุบัน ได้ยกเลิกโรงเรียนป่าไม้แพร่เปลี่ยนสถานะไปเป็นศูนย์อบรมและพัฒนาข้าราชการสังกัดกรมป่าไม้กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พระพุทธวิชิตมารประดิษฐานอยู่ ณ บริเวณโรงเรียนการป่าไม้แพร่ ตั้งอยู่เลขที่ ๓๓ ถนนคุ้มเดิม ต.ในเวียง อ.เมือง จ.แพร่ เป็นพระพุทธรูปที่ได้รับการบันทึกว่าเป็นพระพุทธรูปที่สวยงาม ๑ ใน ๒๐ พระพุทธรูปของประเทศไทย

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 28 •มกราคม• 2012 เวลา 09:21 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

การก่อสร้างทำนบกระสอบทราย

วันจันทร์ ที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๔ นายวิชชา จิรภิญญากุล นายอำเภอสอง ให้การต้อนรับนายเกษม วัฒนธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่คนใหม่ ที่ให้เกียรติมาเป็นประธานการก่อสร้างทำนบกระสอบทรายชั่วคราว เพื่อกั้นน้ำยมตามโครงการแก้ปัญหาภัยแล้ง ซึ่งชาวบ้านเก็บกักน้ำเพื่อใช้อุปโภค – บริโภค ณ.จุดสูบน้ำพลังไฟฟ้า หมู่ ๗ ตำบลห้วยหม้าย อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ( ดอยผี ) ดอยผีเป็นจุดสูบน้ำเข้าเหมืองชลประทาน เพื่อใช้ประโยชน์ทางการเกษตรชุมชนที่ได้รับผลประโยชน์เช่น บ้านหนุน ห้วยหม้าย อำเภอสอง ทุ่งแค้ว น้ำรัด อำเภอหนองม่วงไข่ วังหงษ์ อำเภอเมือง เป็นต้น รวมถึงชุมชนที่อยู่ใต้แหล่งน้ำทั้งหมด

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 10 •มกราคม• 2012 เวลา 15:44 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

สวัสดีปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๕

เค้าดาวน์ แบบชาวพุทธสวดมนต์สร้างกุศลข้ามปี เพื่อสิ่งดี ๆ นำมาฝากทุกคน ในวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๔ – ๑ มกราคม ๒๕๕๕ วัดวังฟ่อนจัดกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี ส่งท้ายปีเก่า –  ต้อนรับปีใหม่ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต สร้างความสงบให้แก่จิตใจ เป็นการเริ่มสิ่งใหม่ในปี ๒๕๕๕ อย่างงดงาม จากนั้นก็มีการปล่อยโคมลอยสู่ท้องฟ้ายามเที่ยงคืนกว่ากับบรรยากาศที่เงียบสงบร่มเย็นเหมือนบ่งบอกว่าชีวิตมีแต่ความร่มเย็นจากนี้เป็นต้นไป พร้อมกันนี้เรานำภาพการจัดผ้าป่าเพื่อการทำบุญทุนที่ได้รับนำมอบให้วัดวังฟ่อนเพื่อใช้ในศาสนกุศล ในวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๕ โดยมีนายวิชชา จิรภิญญากุล นายอำเภอสอง ให้เกียรติเป็นประธาน มีนายแพทย์นิยม วิวรรธนดิฐกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดแพร่ นายศฤงคาร นันตา สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด อำเภอสอง ให้เกียรติร่วมงานในครั้งนี้ด้วย ณ โอกาสนี้ Happy new year 2012 สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๕ ขอให้คุณพระศรีรัตนตรัยจงบันดาลให้ทุกท่านใช้ชีวิตอย่างมี สติ นำคำสอนของศาสดาของท่านทั้งหลายมาใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อก่อให้เกิดสติปัญญา ก้าวผ่านอุปสรรคทั้งหลาย สู้ความสำเร็จทุกท่านเทอญ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พุธ•ที่ 02 •มกราคม• 2013 เวลา 08:52 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ปิดตำนานเงี้ยวปล้นเมือง

เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี แม่ทัพใหญ่นอกจากได้รับมอบอำนาจทางการทหารแล้ว ยังได้รับมอบอำนาจจากกระทรวงกระทรวงยุติธรรมจัดการเกี่ยวกับการศาล  และมีอำนาจลงโทษตั้งแต่ประหารชีวิตลงมา การพิจารณาคดีผู้กระทำผิดก่อการจลาจลครั้งนี้ ในชั้นแรกมีพระราชดำริจะให้จัดตั้งศาลทหารแต่เพียงศาลเดียว ตามบทพระอัยการ และตามคำแนะนำของเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ แต่มิสเตอร์เบคเคต กงสุลอังกฤษยืนยันว่าคนในบังคับอังกฤษ ต้องพิจารณาในศาลต่างประเทศ ตามสัญญาเชียงใหม่ ค.ศ. ๑๘๘๓ ก็จำต้องปฏิบัติตาม สำหรับคนในบังคับสยาม มิสเตอร์โรบินซ์ให้ความเห็นว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะตั้งศาลทหารขึ้น เพื่อจะใช้อำนาจรวบรัดพิจารณาแก่เขาเหล่านั้นได้ เป็นการไม่เป็นธรรม เพราะผู้ที่ถูกจับได้ล้วนแต่เป็นลูกน้องตัวเล็กๆ ทั้งนั้น และไม่ได้จับขณะที่ต่อต้านอำนาจทางการ หรือกรณีอื่นใดที่แสดงออกมาว่า

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 12 •มกราคม• 2012 เวลา 11:43 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ประชุมศูนย์ปฏิบัติการพลังแผ่นดิน

วันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๔ นายวิชชา จิรภิญญากุล นายอำเภอสอง เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการ ศูนย์ปฏิบัติการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดอำเภอสอง เพื่อดำเนินงานโครงการ ๘๔ พรรษาเทิดไท้องค์ราชัน เอาชนะยาเสพติด และระดมพลังชุมชนเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ณ.ห้องประชุมอำเภอสอง

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

เจ้าหลวงเมืองแพร่ไม่ได้เป็นกบฏ

เปิดตำนานเงี้ยวของเมืองแพร่ เมืองแพร่ เป็นเมืองโบราณเมืองหนึ่งทางภาคเหนือ มีเจ้าผู้ครองนคร เหมือนเมืองเชียงใหม่ เมืองลำปาง เมืองลำพูน และเมืองน่าน แต่จะสร้างในสมัยใดนั้นไม่มีหลักฐานบันทึกไว้ค้นหาที่ไหนก็ไม่พบ มีแต่คนแพร่เล่าสืบมาไม่ปรากฏหลักฐานด้านวรรณกรรมแต่มีความชื่อถือได้สังเกตจากภาษาเมืองที่เราพูดอยู่ก็ไม่ได้สูญหายไปไหนเด็กระดับอนุบาลก็ยังให้ภาษาที่ผู้ใหญ่วัยหกสิบใช้กัน และถ้าคำนวณจากการสันนิษฐานที่ว่าเมืองแพร่มีอายุพันกว่าปีนั้นก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรเมื่อเทียบกับความยาวของอายุขัยของคนผ่านมาไม่กี่ช่วงดังนั้นเรื่องเล่าจึงเชื่อถือได้ ส่วนด้านวัตถุนั้นเช่นกำแพงเมืองเก่า ประตูเมือง และวัดวาอารามที่เก่าแก่ ก็ยังคงตั้งอยู่ให้ผู้สนใจได้มาศึกษา ที่สำคัญมีเจ้าครองนคร ณ แพร่ แต่ต่อมา ณ แพร่หายไป คือเปลี่ยนจากนามสกุล ณ แพร่ มาเป็น มหายศปัญญา หัวเมืองแก้ว

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 12 •มกราคม• 2012 เวลา 11:44 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

เหตุการณ์ร้ายแรงหลังเงี้ยวปล้นเมือง

เหตุการณ์ร้ายแรงหลังเงี้ยวปล้นเมือง นายร้อยเอก มาควอร์ด เย็นเซ่น เป็นชาวเดนมาร์ค เกิดในประเทศเดนมาร์คเมื่อปี ค.ศ. ๑๘๗๘ (พ.ศ. ๒๔๒๑) เมื่อโตใหญ่ก็เข้ามารับราชการในประเทศสยาม คงติดตามนายพันโท พระวาสุเทพ (G. Schau) ชาวเดนมาร์ค เจ้ากรมตำรวจภูธรมา ถูกส่งไปเป็นครูฝึกตำรวจภูธรที่เชียงใหม่ เมื่อเงี้ยวก่อการจลาจลในมณฑลพายัพเมื่อเดือน กรกฎาคม ๑๒๑ (พ.ศ. ๒๔๔๕) ได้รับคำสั่งจากพระยานริศรราชกิจ ข้าหลวงใหญ่นครเชียงใหม่ ให้คุมตำรวจจากเชียงใหม่จำนวน ๕๐ นายเดินทางไปช่วยป้องกันเมืองนครลำปาง ซึ่งเงี้ยวส่งข่าวคุกคามขู่จะปล้นเมือง อย่างที่ปล้นเมืองแพร่สำเร็จมาแล้ว

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 12 •มกราคม• 2012 เวลา 11:41 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

จักรวรรดินิยมตะวันตกสู่ล้านนา

จักรวรรดินิยมตะวันตกเริ่มแผ่อิทธิพลสู่สยามประเทศในปลายราชกาลที่ ๒ ในขณะนั้นประเทศในยุโรปได้ผ่านการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ และการปฏิวัติอุตสาหกรรมมาแล้วสภาพเศรษฐกิจการเมือง และสังคมในยุโรปเปลี่ยนแปลงมากมาย กล่าวคือ ด้านเศรษฐกิจกิจการอุตสาหกรรมและการค้าเสรีเฟื่องฟูมาก ด้านการเมือง ชนชั้นกลางและนายทุนอุตสาหกรรมมีบทบาททางการเมือง และมีการปกครองในระบบประชาธิปไตย ด้านสังคมการเกิดขึ้นของพลังชาตินิยมที่ต้องการสร้างเกียรติภูมิของชาติให้แผ่ขยายออกไป และมีแนวคิดมนุษย์นิยมของชนผิวขาว ที่จะสร้างความเจริญให้หมู่ชาติที่ล้าหลัง จากปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าว ได้ผลักดันให้เกิดนโยบายระดับชาติในยุโรปที่เห็นความจำเป็นของการยึดครองดินแดนนอกทวีปยุโรปที่มีระดับความเจริญด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมตำกว่า เพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบและตลาดการค้า เสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความเข้มแข็งทางการเมือง ขยายเกียรติภูมิและศักดิ์ศรีให้แก่ประเทศของตน ด้วยปัจจัยดังกล่าวทำให้เกิดการแสวงหาดินแดนและการติดต่อค้าขายในเขตสยาม ชาติอังกฤษและฝรั่งเศสมีบทบาทสำคัญต่อการคุกคามสยามประเทศโดยอังกฤษขยายเข้ามาทางตะวันตก ส่วนฝรั่งเศสขยายเข้ามาทางตะวันออก ดินแดนล้านนาเป็นจุดเดี่ยวในประเทศไทย ที่เผชิญการคุคามของสองชาติดังกล่าว การคุกคามของจักรวรรดินิยมตะวันตก ทำให้สยามและล้านนาเกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ จนถึงผลึกดินแดนให้เป็นประเทศเดียวกัน การเข้ามาของจักรวรรดินิยมตะวันตกทำให้รัฐแบบจารีตเสื่อมสลายตัวลง พร้อมกับการนำไปสู่การสถาปนารัฐไทยสมัยใหม่ โดยอาศัยการคุกคามของจักรวรรดินิยมและการปฏิรูปการปกครองของรัชกาลที่ ๕ เป็นจุดแบ่งยุคสมัย

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 28 •เมษายน• 2012 เวลา 18:35 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

หล่มด้ง

ในอุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย มีสถานที่สวยงาม ที่น่าเที่ยวน่าทึ่งมากมาย  หลายคนเคยได้ยิน เรื่องเล่าของแก่งเสือเต้น  ถ้าฝนตกหนักเมืองแพร่ เมื่อใด ก็จะพากันนึกถึงแก่งเสือเต้น  นึกถึงว่าเราน่าจะเก็บน้ำฝนเหล่านั้นไว้ ไม่ให้ไหลล้นตลิ่งแบบนี้    แต่มีคนกี่คน จะเคยเข้าไปถึงแก่งเสือเต้น  เคยเข้าไปสัมผัสว่า แก่งเสือเต้นมีสิ่งสำคัญ สิ่งมหัสจรรย์ อย่างใด เมื่อเราเข้าสู่บริเวณอุทยานแห่งชาติ แม่ยม ซึ่งเป็นสถานที่ที่เรียกว่า แก่งเสือเต้น  หลายคนก็ตั้งคำถามว่า แก่งเสือเต้น คืออะไร  มีเสืออยู่ไหม ทำไมถึงเรียกว่า แก่งเสือเต้น   เสือสำราญอะไรหนักหนาถึงได้มาเต้นอยู่แถวนี้  แน่แหละ ที่นี่ตอนนี้ไม่มีเสืออยู่ แล้วอะไรละที่ทำให้ชื่อว่า เป็นแก่งเสือเต้น ลัดเลาะไปตามลำน้ำ  ต้นน้ำลำน้ำแม่ยม บริเวณอุทยานแห่งชาติแก่งเสือเต้น ผ่านแก่งหินน้อยใหญ่  วางขวางลำน้ำ ทำให้เกิดเสียงน้ำกระทบหิน ชวนน่าฟัง  สองฝั่งน้ำ ก็มีต้นไม้น้อยใหญ่ สะบัดใบแกว่งไปมา เหมือนคอยโบกทักทายตลอดทาง เมื่อเลียบลำน้ำขึ้นไปเรื่อยๆ ห่างออกไปไม่ไกลนัก เราก็จะเห็นโขดหิน ซึ่งมีลักษณะแปลก ซึ่งมองดูแล้ว ชวนให้คิดว่า รอยเท้าอะไรน่ะ  วิ่งผ่านจะหินเป็นรอย  ซึ่งเจ้าหน้าที่นี่บอกว่า นี่แหละ คือ รอเท้าเสือ  ทำให้ที่นี่จึงมีชื่อที่ใครๆ เรียกว่า แก่งเสือเต้น นอกจากนั้น บริเวณอุทยานแห่งชาติแม่ยมนี้ ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่ออีกอย่างหนึ่ง  และมีคำกล่าว ถึงสถานที่นี้ว่า  “ เมื่อน้ำท่วมหล่มด้งวันใด น้ำจะท่วมปากพญานาคช่อแฮ คนเมืองแพร่ จะตายจมน้ำ”

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 13 •ธันวาคม• 2011 เวลา 12:16 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

บ้านวังหงส์ กับ นามสกุล หงส์...

เมืองแพร่  หรือเมืองแป้ เมืองเล็ก ๆ ในภาคเหนือ เป็นเมืองที่มีความน่ารักและมีเสน่ห์ ในตัวเอง  แม้ว่าจะไม่ได้เป็นเมืองท่องเที่ยวที่ติดอันดับ ติดอยู่ในโปรแกรมท่องเที่ยวภาคเหนือในระดับต้น ๆ  แต่ถ้าใครที่ได้เข้าเยี่ยมเยือนเมืองแพร่ ก็ต้องติดใจ และต้องหาโอกาสมาเยือนที่แห่งนี้อย่างแน่นอน เมื่อได้มีโอกาสได้เยือนเมืองแพร่ และทำความรู้จักเมืองแพร่มากยิ่งขึ้น  ทำให้เกิดข้อสงสัยอย่างมากมาย คนแพร่ หลายคน นามสกุลที่มีความพ้องกันอยู่ อย่างเช่น นามสกุลที่ขึ้นต้นด้วยคำว่าหงส์  เช่น หงส์หนึ่ง หงส์สอง      หงส์สาม เรื่อยไปจนถึง หงส์สามสิบแปด และก็มีนามสกุล ปราบหงส์ และมีคำว่าหงส์ไปเป็นส่วนหนึ่งของอีกหลาย ๆ สกุล

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ถวายพระพรวันพ่อแห่งชาติ ๕๔

องค์การบริหารส่วนตำบลหัวเมืองจัดพิธีถวายพระพร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิรา บรมนาถบพิตร ณ วัดวังฟ่อน โดย นายเฉลิมวุฒิ รักขติวงศ์ นายอำเภอสอง เป็นประธานในพิธี ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ มีผู้นำฝ่ายบริหารนำโดยนายสาคร จิตชู นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหัวเมือง ฝ่ายปกครองนำโดยนายสมพล พุ่มพวง กำนันตำบลหัวเมือง ข้าราชการ ประชาชน เข้าร่วมพิธีในครั้งนี้ด้วยความจงรักภัคดี

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 09 •ธันวาคม• 2011 เวลา 11:05 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

การปราบปรามเงี้ยว

ข่าวเงี้ยวปล้นเมืองแพร่รู้ถึงกรุงเทพ ฯ ทางโทรเลขเมื่อ ๒๖ กรกฎาคม ๑๒๑ หลังเกิดเหตุ ๑ วัน จากมณฑลพายัพโดยการรายงานทางโทรศัพท์ของนายเฟื่องผู้พิพากษาเมืองแพร่ที่หนีไปเมืองต้า และจากมณฑลพิษณุโลกโดยนายสีดา นายพุ่ม บุรุษเดินเมล์สายแพร่ – อุตรดิตถ์หนีกลับมารายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในเวลานั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประทับพักผ่อนพระอิริยาบถทรงสบายอยู่ ๒ วัน ณ พระราชวังบางประอินพร้อมเสนาบดีต่างประเทศและมหาดไทย ทรงตระหนักดีถึงความยุ่งยากในการที่มีคนในบังคับอังกฤษมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนี้ จึงทรงให้เสนาบดีต่างประเทศเจรจากับอุปทูตอังกฤษ มิสเตอร์ ว. อาเชอร์ เป็นประการแรกทันที ตามข้อความทรงแนะนำดังนี้ “ในเรื่องผู้ร้ายเงี้ยวรายนี้ บัดนี้ได้ความปรากฏชัดว่า หัวหน้าเป็นคนอยู่ในบังคับอังกฤษซึ่งกงสุลเองก็รู้จัก เป็นการสมควรที่เราจะขอให้เขาประกาศห้ามบรรดาคนในบังคับอังกฤษอย่าให้เข้าเป็นพรรคพวกผู้ร้ายได้ถนัด ขอให้เธอคิดอ่านเจรจามับมิสเตอร์อาเชอร์ให้ได้ออกประกาศดังเช่นที่ว่านี้แล้ว การปราบปรามข้างฝ่ายเราจะเป็นการง่ายสะดวกขึ้นได้มาก เราจะต้องถือว่าไม่มีคนในบังคับอังกฤษอยู่ในพวกผู้ร้ายเหล่านี้ โดยว่าจะไปถูกคนในบังคับอังกฤษเข้าบ้าง ผู้นั้นคงเป็นคนขัดขืนประกาศของกงสุลอังกฤษ การเรื่องนี้เป็นข้อสำคัญมาก เธอต้องพยายามทำให้สำเร็จ”

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 12 •มกราคม• 2012 เวลา 11:39 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

พิธีส่งแถน

"แถน" เป็นคำที่ใช้เรียกพ่อเกิดแม่เกิดของมนุษย์ ชาวเหนือเชื่อกันว่าคนที่จะเกิดเป็นมนุษย์ได้ก็เพราะมีผู้กำหนดหรือส่งให้มาเกิด ผู้ที่ส่งให้มาเกิดนี้เรียกว่าปู่แถนย่าแถน (ปู่สังสี ย่าสังไส้) อาศัยอยู่บนสวรรค์ชั้นฟ้า มีอำนาจดลบันดาลให้มนุษย์อยู่ดีมีสุขหรือมีอันเป็นไปต่าง ๆ นานาโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัยเด็ก พอเกิดมาพ่ออม่ก็นำใส่กระโด่งนำไปไว้ที่ชานบ้านหรือหัวบันไดบ้าน แล้วตะโกนบอกว่า “ถ้าเป็นลูกมึงก็ฮื้อรีบมาฮับเอาไปเสีย ถ้าป้นวันนี้ไปแล้วถือเป็นลูกเฮาแล้ว” เมื่อเลี้ยงกันมาแล้วเด็กได้รับเคราะห์ร้ายเจ็บป่วยจะทำพิธีส่งแถน เพราะเชื่อกันว่าปู่แถนย่าแถนโกรธที่ให้เกิดมาแล้วไม่ส่งอะไรมาให้ ดังนั้นชาวเหนือจึงนำเครื่องเซ่นไปสังเวยหรือเป็นการบอกกล่าว ขออภัยปู่แถนย่าแถน แต่ถ้าหากปู่แถนย่าแถนไม่ให้อภัยก็จะเอาตัวกลับคืนไป ผู้ที่เคราะห์ร้ายหรือเจ็บป่วยนั้นอาจถึงตายได้  บ้างครั้งก็เชื่อกันว่า

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 02 •ธันวาคม• 2011 เวลา 16:33 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

<< •เริ่มแรก• < •ย้อนกลับ• 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 •ถัดไป• > •สุดท้าย• >>

•หน้า 27 จาก 33•