ค้นหาบทความ
ราคาน้ำมันวันนี้
จำนวนนับผู้เข้าเยี่ยมชม
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้357
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้657
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้3368
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว6353
mod_vvisit_counterเดือนนี้18474
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว27825
mod_vvisit_counterรวมผู้เข้าชม2431524

ออนไลน์ (20 นาทีที่แล้ว): 26
หมายเลข IP : 13.59.129.141
MOZILLA 5.0,
วันที่ : 21 •พ.ย.•, 2024
ขณะนี้มีผู้เข้าชม
• เรามี• •23 บุคคลทั่วไป• •ออนไลน์•
ล้านนาแพร่ประชาสัมพันธ์
Vinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo Slider

โครงการ หน้าบ้าน น่ามอง ๒๕๕๘

ภาพกิจกรรมประกวดโครงการหน้าบ้านน่ามอง วันพุธที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๘ วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะภายในบ้าน เพื่อรณรงค์ปลูกจิตสำนึกในการดูแลรักษาไม่ให้บ้านเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ส่งเสริมให้ปลูกผักไว้กินเองที่บ้านรวมถึงการทำปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง ตลอดถึงความสวยงามของพืชหรือดอกไม้ไว้ตามบ้านเรือน

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 20 •กันยายน• 2015 เวลา 21:20 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

คุ้มวิชัยราชา

จากหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานฉลองวัดศรีบุญเรือง อำเภอเมืองแพร่ ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้กล่าวถึงประวัติวัดไว้ตอนหนึ่งว่า ไม่ปรากฏหลังฐานแน่ชัดว่า ใครเป็นผู้สร้างวัดนี้และสร้างในสมัยใด แต่ประมาณว่า สร้างกันมาหลายร้อยปีแล้ว จาการบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ ที่มีอายุยืนยาวและพอชื่อถือได้ว่า ประมาณ ๒๐๐ ปีเศษที่ล่วงมาแล้ว ผู้บูรณะซ่อมแซมวัดในครั้งกระโน้น คือ “พญาแสนศรีขวา”   ผู้เป็นเชื้อพระวงศ์ของเจ้านายฝ่ายเหนือ และบุตรของท่านชื่อ “พระยาประเสริฐชนะสงครามราชภัคดี” ได้เป็นผู้อุปถัมภ์ บูรณปฏิสังขรณ์วัดนี้สืบเรื่อยมา ต่อมา “แม้เจ้าคำป้อ” ซึ่งเป็นบุตรของพระยาประเสริฐฯ  ได้สมรสกับ “พระวิชัยราชา” (นามเดิมว่า ขัติ หรือเจ้าหนานขัติ) ผู้เป็นบุตรของเจ้าแสนเสมอใจลูกหลานคนหนึ่งของเจ้าหลวงเทพวงศ์ ลิ้นทอง เจ้าผู้ครองนครเมืองแพร่ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๖๑ ถึง ๒๓๗๓ เจ้าหนานขัติเองเป็นต้นตระกูล “แสนสิริพันธ์”

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 28 •มกราคม• 2012 เวลา 09:49 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ปั่นจักรยานเฉลิมพระเกียรติแม่ของแผ่นดิน ๕๘

ภาพกิจกรรมจักรยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม 2558 เนื่องในโอกาสมหามงคลสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 83 พรรษา วันที่ 12 สิงหาคม 2558 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงมีพระราชปณิธานที่จะจัดกิจกรรมจักรยานเฉลิมพระเกียรติ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 28 •สิงหาคม• 2015 เวลา 18:44 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วันอาสาฬหบูชา ๒๕๕๘

วันอาสาฬหบูชาเริ่มเมือปี พ.ศ. ๒๕๐๑ การบูชาในเดือน ๘ พระพุทธองค์ได้ตรัสเอาไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาสายกลางที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น เป็นไฉน?

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 11 •สิงหาคม• 2015 เวลา 16:33 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

แก่งเสือเต้น อุทยานแห่งชาติแม่ยม

แก่งเสือเต้น อุทยานแห่งชาติแม่ยม มีความเป็นมาในปลายปี พ.ศ. ๒๕๒๕ นายณรงค์ วงศ์วรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (สมาชิกสภาผู้แทนจังหวัดแพร่) ดำริให้กรมป่าไม้ทำการสำรวจป่าสงวนแห่งชาติแม่ปุง-แม่เป้า จังหวัดแพร่ ซึ่งมีไม้สักที่อุดมสมบูรณ์ขึ้นเองตามธรรมชาติอย่างหนาแน่น และมีทิวทัศน์ธรรมชาติอื่นๆ ที่สวยงามหลายแห่ง ให้จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปทำการสำรวจเบื้องต้นปรากฏว่า บริเวณป่าแม่ปุงและป่าน้ำงาว น้ำสวด มีป่าสักที่สมบูรณ์ยิ่งในภาคเหนือ สภาพป่าโดยทั่วไปสมบูรณ์ดี เป็นป่าต้นน้ำลำธารของแม่น้ำยม ทั้งยังมีทิวทัศน์ และเอกลักษณ์ทาง ธรรมชาติที่สวยงาม เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้มีมติในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๒๗ เมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๒7 เห็นสมควรให้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยใช้ชื่อว่า “อุทยานแห่งชาติแม่ปุง” ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “อุทยานแห่งชาติแม่ยม” เพื่อให้เหมาะสมตามลักษณะของพื้นที่ซึ่งมีแม่น้ำยมไหลผ่าน และลักษณะเด่นที่สวยงามของอุทยานแห่งชาติแม่ยมแห่งนี้เกิดจากแม่น้ำยม โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่บริเวณที่ดินป่าแม่ปุง ป่าแม่เป้าและป่าแม่สอง ในท้องที่ตำบลเตาปูน ตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ และป่าแม่งาวฝั่งซ้าย ในท้องที่ตำบลแม่ตีบ อำเภองาว จังหวัดลำปาง ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๓๔ ลงวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๒๙ เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ ๕๑ ของประเทศ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•จันทร์•ที่ 11 •มีนาคม• 2013 เวลา 19:39 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วัดสันปู่สี


วัดสันปู่สีจังหวัดแพร่ (watsunpusee) ตั้งอยู่ที่ เลขที่ ๙ หมู่ที่ ๖ ตำบลหัวเมือง อำเภอสอง จังหวัดแพร่ เป็นที่กำลังพัฒนาซึ่งเป็นวัดที่ก่อตั้งขึ้นประมาณปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ซึ่งแต่เดิมมานั้นวัดได้ตั้งอยู่ทิศตะวันตกของหมู่บ้านต่อมาก็ร้างไปเพราะไม่มีพระจำพรรษาอยู่และอยู่ห่างไกลจากหมู่บ้านด้วยจึงทำให้ย้ายวัดมาตั้งอยู่ในที่ปัจจุบัน

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 02 •กันยายน• 2011 เวลา 18:44 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วันวิสาขบูชา ๒๕๕๘

ตถาคตอุบัติในโลกนี้ ได้เป็นผู้ไกลจากกิเลส รู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึกอย่างหาคนอื่นยิ่งกว่ามิได้ เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้แจกธรรม ตถาคตนั้นทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนโลกนี้ทั้งเทวดา มาร พรหม ทุกหมู่สัตว์ ทั้งสมณะ และพราหมณ์ ทั้งเทวดาและมนุษย์ให้รู้ทั่ว แสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ในท่ามกลางในที่สุด พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์บริบูรณ์ สิ้นเชิง

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•จันทร์•ที่ 22 •มิถุนายน• 2015 เวลา 13:50 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วัดหัวเมือง

วัดหัวเมืองถือได้ว่าเป็นวัดที่อายุเก่าแก่ของจังหวัดแพร่วัดหนึ่งตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านสันนิษฐานว่าเริ่มก่อสร้างเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๐๐ โดยมีกลุ่มชาวบ้านซึ่งไม่ทราบที่มาชัดเจนว่าได้ย้ายถิ่นฐานมาจากที่ใด ที่เข้ามาปักหลักทำมาหากินอยู่ในเขตพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำยมในสมัยนั้น ประวัติวัดหัวเมือง เดิมวัดหัวเมืองตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยม ห่างจากที่ตั้งปัจจุบันไปทางทิศใต้ประมาณ ๓๐๐ เมตร แต่เนื้องจากสภาพการไหลของแม่น้ำยมนั้นได้เปลี่ยนทิศทางอยู่เสมอจนได้กัดเซาะตลิ่งซึ่งติดบริเวณวัดหัวเมืองเดิมทำให้พื้นที่วัดได้รับความเสียหาย ทางเจ้าอาวาสคือพระอธิการพรมจักร แก่นเรณู และผู้นำหมู่บ้านโดยแกนนำของขุนเสนา ไข่คำ จึงได้พร้อมใจกันย้ายวัดมาอยู่ ณ ที่ตั้งปัจจุบันเมื่อวันจันทร์ที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๖ ตรงกับวันขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๑๐ เหนือ เดือน ๘ ใต้ นับตั้งแต่ย้ายวัดเป็นต้นมา ชาวบ้านต่างก็พร้อมใจกันสร้าวัดขึ้นใหม่ โดยเริ่มจากการใช้ไม้ไผ่ในการสร้างกุฏิและวิหาร เพราะในสมัยนั้นวัสดุก่อสร้างล้วนแล้วแต่เป็นของราคาแพงและค่อนข้างหายากสำหรับแถบชนบท ต่อมาในสมัยของพระอธิการพรหมจักร พรหมจกฺโก เจ้าอาวาสวัดหัวเมือง และคณะศรัทธาก็ได้พร้อมใจกันสร้างพระประธานเพื่อสักการบูชาในวิหารไม่ไผ่ ซึ่งเดิมทีทางวัดมีเพียงพุทธรูปองค์เล็ก ๆ ไม่กี่องค์เท่านั้น โดยได้ฤกษ์ก่อสร้าง เมื่อวันพุธ ที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๘ มีพ่อาล่าอุ๊ เวียงโกศัย ช่างผู้ก่อสร้าง โดยมีลักษณ์เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน ใช้ไม้ขนุนเป็นแกนโครงสร้างด้านใน ศิลปะล้านนาแบบเมืองแพร่โบราณ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•จันทร์•ที่ 10 •กันยายน• 2012 เวลา 21:18 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

บ้านหนองเสี้ยว

ความเป็นมาของหมู่บ้านหนองเสี้ยว   ตำบลหัวเมือง   อำเภอสอง   จังหวัดแพร่   แต่เดิมที่ตั้งของหมุ่บ้านอยุ่ติดกับฝั่งแม่น้ำยม  ในปัจจุบัน  ต่อมาได้อพยพมาตั้งบ้านเรือนอยุ่รวมกันในหมุ่บ้านปัจจุบันสาเหตุเพื่ออพยพเพราะเห็นว่าเป็นเนื้อที่สำหรับ ทำนา ทำสวน ทำไร่ อาศัยว่าพื้นที่นี้อุดมสมบุญทั้งอาหารและที่ทำกินจึงได้พากันอยพพาข้ามมาจากบ้านต้นหนุนคนแรกได้แก่พ่อเฒ่าหน้อยยวนค์ แพทย์สมาน

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 02 •กันยายน• 2011 เวลา 18:39 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วัดดงเจริญ

ประวัติวัดดงเจริญ

วัดดงเจริญ   ก่อตั้งครั้งแรกเมื่อ  พ.ศ.   ๒๔๙๒   เป็นสำนักสงฆ์ จึงได้ขึ้นทะเบียนเป็นวัดดงเจริญแล้วใน   วันที่   ๑๓     มกราคม    พ.ศ.  ๒๕๓๗  ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา   เมื่อก่อนนี้บ้านดงเจริญขึ้นอยู่ เป็น ต.บ้านหนุน  อ.สอง  บ้านดงเจริญ  ย้ายมาจากบ้านต้นผึ้ง  และบ้านหัวเมืองบางส่วน  พ่อใหญ่ตุ้ยเป็นคนแรกที่พาพรรคพวกย้ายมา  และก่อนนั้นเข้าเรียกว่าวัดดงจ้อย  เพราะว่ายังเป็นป่า  ดงเสือ    ช้าง   เป็นป่าดงดิบทึบ  ต่อมาเปลี่ยนเป็น ชื่อดงเจริญ  มาจนถึงทุกวันนี้

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 02 •กันยายน• 2011 เวลา 18:41 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ประกวดนางสงกรานต์ ๒๕๕๘

ภาพกิจกรรมประกวดนางสงกรานต์หมู่บ้านวังฟ่อน ครั้งที่ ๓๕ ประจำปี ๒๕๕๘ จัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๘ ประเพณีประกวดนางสงกรานต์หมู่บ้านเกิดขึ้นเมื่อ ๓๕ ปีก่อนมีนักศึกษาจากธรรมศาสตร์ (พัฒนาสังคมและชุมชน) ได้นำเสนอให้หมู่บ้านได้จัดขึ้นสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน นางสงกรานต์ประจำปี ๒๕๕๗ ได้แก่นางสาวชัญนุช เหมืองหลิ่ง หมายเลข ๓ ตามพระบาลีฝ่ายรามัญว่า ครั้งหนึ่งนานมาแล้วมีเศรษฐีคนหนึ่งรวยทรัพย์แต่ไม่มีบุตรไว้สืบสกุล โดยบ้านของเศรษฐีคนนี้ตั้งอยู่ใกล้กับนักเลงสุราที่มีบุตรสองคน วันหนึ่งนักเลงสุราต่อว่าเศรษฐีที่ไม่มีบุตร จนกระทั่งเศรษฐีน้อยใจ จึงได้บวงสรวงพระอาทิตย์ พระจันทร์ ตั้งจิตอธิษฐานขอบุตร แต่แม้ว่าเศรษฐีจะตั้งจิตอธิษฐานอยู่นานกว่าสามปี ก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะมีบุตร กระทั่ง วันหนึ่งเป็นช่วงที่พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ เศรษฐีได้พาบริวารไปยังต้นไทรริมน้ำ พอไปถึงก็ได้นำข้าวสารลงล้างในน้ำเจ็ดครั้ง แล้วหุงบูชาอธิษฐานขอบุตรกับรุกขเทวดาในต้นไทรนั้น รุกขเทวดาเห็นใจเศรษฐีจึงเหาะไปเฝ้าพระอินทร์ ไม่ช้าพระอินทร์ก็มีเมตตาประทานเทพบุตรให้องค์หนึ่งนาม "ธรรมบาล" ลงไปปฏิสนธิในครรภ์ภรรยาเศรษฐี ไม่ช้าเทพบุตรก็คลอดออกมา เศรษฐีจึงตั้งชื่อให้กุมารน้อยนี้ว่า "ธรรมบาลกุมาร"

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•จันทร์•ที่ 22 •มิถุนายน• 2015 เวลา 13:36 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ขนทรายเข้าวัด

ภาพกิจกรรมประเพณีขนทรายเข้าวัด การขนทรายเข้าวัดของชาววังฟ่อนแต่อดีตมาเพื่อต้องการทำบุญในการร่วมสร้างวัดวังฟ่อนให้เป็นวัดที่สวยงาม ปัจจุบันทางปกครองและบริหารได้ให้ความสำคัญในประเพณีขนทรายจึงมีการจัดงานวัฒนธรรมในช่วงเช้าและขนทรายเข้าวัดในช่วงบ่ายเป็นต้นไป

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 21 •มิถุนายน• 2015 เวลา 21:09 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วัดรัตนสุนทร

วัดของหมู่บ้านน้ำรัดแต่ดั่งเดิม ตั้งอยู่ในเขตของ      หมู่ที่ 4 ของตำบลน้ำรัด ฟากตะวันออก ของถนนสายบ้านสุพรรณ –หัวเมืองชื่อว่า  “วัดหนองน้ำรัด” มีเนื้อที่ 6ไร่ 3 งาน 98 ตารางวา น.ส.3 ครุฑเขียว( 7ไร่ 2 งาน 69 ตารางวา) บริเวณที่ตั้งวัดมีอาณาเขตติดกับลำแม่น้ำยม สร้างขึ้นเมื่อใด และมีเจ้าอาวาส ปกครองดูแลมาจำนวนเท่าใด ไม่ปรากฏประวัติที่แน่ชัดมาก่อน เท่าที่ทราบและเป็นที่ยืนยันได้แน่นอนและจากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ที่เล่าสืบต่อกันมาที่พอเชื่อถือได้เช่น จากการสัมภาษณ์ พ่อเฒ่าตุ้ย  มหาวัน อายุ 94ปี และ แม่เฒ่า ไฮ  วังแก้ว อายุ 89 ปี (ขณะที่ได้บันทึกคือ วันที่ 10 สิงหาคม 2538 ) ปัจจุบันนี้บุคคลทั้งสองนี้ได้เสียชีวิตแล้ว ทำให้ทราบว่าในช่วงหนึ่ง วัดหนองน้ำลัดมีเจ้าอาวาสและสามเณร จำพรรษาอยู่ต่อมา มีดังนี้

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 14 •กุมภาพันธ์• 2014 เวลา 20:09 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

แห่วัฒนธรรม ปี ๒๕๕๘

ภาพกิจกรรมวันแห่วัฒนธรรมหมู่บ้านวังฟ่อนปีนี้จัดตรงกับวันที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๕๘ วัฒนธรรม เป็นภาษาบาลีและสันสกฤต "วัฒน" เป็นภาษาบาลี แปลว่า "เจริญงอกงาม" ส่วนคำว่า "ธรรม" เป็นภาษาสันสกฤต หมายถึง "ความดี" ซึ่งถ้าแปลตามรากศัพท์ก็คือ "สภาพอันเป็นความเจริญงอกงามหรือลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม" วัฒนธรรมเป็นวิถีชีวิตหรือการดำเนินชีวิตของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งหมายรวมถึงความคิด ศิลปะ วรรณคดี ดนตรี ปรัชญา ศีลธรรม จรรยา ภาษา กฎหมาย ความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณีและสิ่งต่างๆที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งได้ถ่ายทอดให้กับคนรุ่นต่อๆมา เป็นเรื่องของการเรียนรู้จากคนกลุ่มหนึ่งไปยังคนอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งถ้าสิ่งใดดีก็เก็บไว้ สิ่งใดควรแก้ก็แก้ไขกันให้ดีขึ้น เพื่อจะได้ส่งเสริม ให้มีลักษณะที่ดีประจำชาติต่อไป ในลักษณะนี้วัฒนธรรมจึงเป็นการแสดงออกซึ่งความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดีงามของประชาชน

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 21 •มิถุนายน• 2015 เวลา 20:40 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วัดหนองม่วงไข่

วัดหนองม่วงไข่ ตามประวัติได้เริ่มสร้างเมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๑๘ สถานที่ก่อตั้งวัดในอดีต ตั้งอยู่บริเวณข้างหนองน้ำซึ่งเคยเป็นร่องน้ำยมมาก่อน ปัจจุบันนี้แม่น้ำยมได้ไหลเปลี่ยนทิศทางไป บริเวณนี้ในอดีตมีต้นมะม่วงอยู่ตามฝั่งหนองน้ำมากมาย แล้วมีไก่ป่ามาอาศัยอยู่และวางไข่ตามใต้ต้นมะม่วง จึงเป็นเหตุให้ชาวบ้านถือเอาเป็นชื่อของวัดและชื่อของหมู่บ้านว่า “วัดหนองม่วงไข่” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา วัดหนองม่วงไข่ในปัจจุบัน ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๑ เทศบาลตำบลหนองม่วงไข่ อำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ เป็นวัดที่อยู่ในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ ๖ ไร่ ๓ งาน ๕๖ ตารางวา มีอาณาเขต กว้าง ๒ เส้น ยาว ๒ เส้น วัดหนองม่วงไข่สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๘ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๖ ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๒ ใต้ เดือนยี่เหนือ ได้รับพระทานกฐินต้น จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ตามเสด็จด้วย

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•จันทร์•ที่ 14 •พฤษภาคม• 2012 เวลา 23:31 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ผ้าป่ารุ่น ๒๕๕๘

ประมวลภาพผ้าป่ารุ่นประจำปี ๒๕๕๘ ผ้าป่ารุ่นจัดขึ้นเป็นประจำวันที่ ๑๓ เมษายน ของทุกปีเพื่อให้ศิษย์เก่าได้รำลึกถึงสถาบันการศึกษาช่วยกันระดมทุนจัดทำห้องโสตทัศนูปกรณ์และสื่อเทคโนโลยีสำหรับการเรียนการสอน เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านวังฟ่อน (สิทธิราษฎร์บำรุง) การจัดงานในแต่ละครั้งได้รับความร่วมมือจากศิษย์เก่าที่รักสถาบันด้วยดีตลอดมา

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 21 •มิถุนายน• 2015 เวลา 14:10 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วัดย่านยาว

ประวัติวัดย่านยาวและบ้านย่านยาว                   
เมื่อประมาณปีพุทธศักราช ๒๔๔๕ มีพ่อค้าชาวบ้านพระนอน บ้านศรีชุม และบ้านวัดหลวง อำเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ได้นำสินค้าจำพวก พริก เกลือ กระเทียม ฯลฯ ลงเรือแจวขึ้นไปขายแถวอำเภอสอง โดยอาศัยแม่น้ำยมเป็นเส้นทางในการขนส่งและค้าขาย เมื่อค้าขายเสร็จก็กลับแลเห็นที่ราบริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำยม ซึ่งยังไม่มีใครเป็นเจ้าของ และเป็นที่อุดมสมบูรณ์ จึงชวนเพื่อพ่อค้าด้วยกันร่วมกับชาวบ้านพระนอน บ้านวัดหลวง

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 26 •เมษายน• 2011 เวลา 20:13 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วัดวังหลวง

ประวัติหมู่บ้าน(จากการสอบถามผู้เฒ่า ผู้แก่ บางท่าน กล่าวว่า) การก่อตั้งชุมชนบ้านวังหลวงเริ่มแรกมีชาวบ้านหัวข่วง จังหวัดแพร่ ได้มาอาศัยพื้นที่ป่าบริเวณนี้ เพราะอุดมสมบูรณ์ ประจวบกับใกล้ภูเขา (ดอยม่อนนาบ่อ) และแพะเปียง  สภาพพื้นที่ป่าเป็นป่าไม้สักทอง เต็ง รัง เป็นที่อาศัยของสัตว์ป่า ชาวบ้านจึงล่าสัตว์เพื่อการยังชีพ และบริเวณใกล้ฝั่งแม่น้ำยมมีดินอุดมสมบูรณ์ น้ำเป็นทรัพยากรพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์  ในอดีตแม่น้ำยมเป็นแม่น้ำ ที่สะอาด และมีสัตว์น้ำนานาชนิดโดยเฉพาะบริเวณบ้านวังหลวงที่มีแม่น้ำยมไหลผ่าน บริเวณไหนที่มีน้ำลึก จะเรียกว่า “วัง” เช่น วังเครือบ้า  วังอีตุ  วังเคียน  วังพระเจ้า (ที่วัดร้างตลาดสด) สันนิษฐานว่าเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน “วังหลวง”

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 06 •กันยายน• 2011 เวลา 21:23 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ประวัติบ้านทุ่งแค้ว

ประวัติบ้านทุ่งแค้ว ๑. ความเป็นมาของชื่อบ้าน คำว่า “ทุ่งแค้ว” แปลว่า “แคบ” เรียกตามลักษณะและภูมิประเทศ ซึ่งเป็นที่ราบแคบ ๆ และยาวตามลำน้ำยม อยู่ระหว่างแม่น้ำยมกับเนินเขาเตี้ย ๆ ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำยม การตั้งหลักฐานของหมู่บ้านตามที่ได้ค้นคว้าและสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ในท้องถิ่น พอที่จะรวบรวมได้ดังนี้ เดิมทีเดียว(ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน) มีครอบครัวหนึ่งมาจากบ้านประตูม้า(บ้านหัวข่วง อ. เมืองในปัจจุบัน) ได้พาครอบครัวมาทำไร่ทำสวนเพื่อหาเลี้ยงชีวิต บุคคลผู้นั้นคือ “เจ้าน้อย ธรรมลังกา” ภรรยาท่านชื่อ “แม่เฒ่าบัวคำ” (บ้านเดิมอยู่บ้านสองแคว) ได้มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านทุ่งต้อม (บริเวณซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของป่าช้าบ้านทุ่งแค้วในปัจจุบัน) โดยอาศัยลำน้ำห้วยแม่แฮด ช่วยในการเพาะปลูก การทำไร่ทำสวนของครอบครัวนี้ก็เพื่อพืชผลไปขายที่ในเมือง โดยอาศัยการเดินเท้าบ้างและบรรทุกเรือแจวล่องลงไปตามลำน้ำยมบ้าง เป็นประจำทุกปี ต่อมาก็มีญาติ พี่น้องจากทางบ้านประตูม้าในต้นตระกูลธรรมลังกาอีกหลายครอบครัว ได้อพยพมาอยู่ร่วมด้วย อยู่ได้ประมาณ ๑๔ - ๑๕ ปี จึงได้ย้ายถิ่นฐานจากบ้าน”ทุ่งต้อม” ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้าน”วังไฮ” (ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของบ้านทุ่งแค้วในปัจจุบัน) อยู่ที่นั่นได้ประมาณ ๕ - ๖ ปีและได้มองเห็นว่าบริเวณดังกล่าวเป็นที่คับแคบไม่อาจจะขยายเป็นบ้านเมืองที่ใหญ่โตได้ จึงได้เคลื่อนย้ายมาตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มของแม่น้ำยม

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พุธ•ที่ 03 •เมษายน• 2013 เวลา 07:29 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

พระธาตุตุงคำ

พระธาตุตุงคำ ตั้งอยู่บนเนินเขา ซึ่งชาวบ้านเรียกกันว่า ดอยด้วน  เดิมบริเวณดอยด้วนเป็นป่าไม้ใหญ่ดงดิบ  อุดมสมบูรณ์ร่มเย็น  ซึ่งแต่ก่อนเมื่อยังเป็นป่าอุดมสมบูรณ์มักมีพระภิกษุชาวม่าน  หรือภิกษุชาวเงี้ยวเข้ามาพักจำพรรษาอยู่บนดอยแห่งนี้เป็นประจำมิได้ขาด  มีผู้เฒ่าผู้แก่ในบ้านทุ่งแค้วในสมัยนั้น  ยังได้ไปถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุเหล่านั้นอยู่เสมอ ๆต่อมาในสมัยเงี้ยวปล้นคลังจังหวัดแพร่  ได้นำเงินที่ปล้นมาแจกหรือหว่านให้ชาวบ้านแถบนั้นเก็บเอา แล้วบอกว่า “ให้สูเจ้าเอาเงินสี่บาทเจ้าคืนไป” ผู้ที่ไม่กลัวก็เข้าไปเก็บเอาเงินที่โจรเงี้ยวหว่าน ส่วนเงินที่เหลือเงี้ยวก็แบ่งกันไปซ่อนคนละทิศละทาง

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 22 •ตุลาคม• 2015 เวลา 11:04 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

<< •เริ่มแรก• < •ย้อนกลับ• 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 •ถัดไป• > •สุดท้าย• >>

•หน้า 1 จาก 33•