ฉลอง พินิจสุวรรณ เป็นแบบของครูช่างเป็นคนใฝ่เรียนใฝ่รู้ สนใจสิ่งแวดล้อมทั้งทางกายและจิตใจ มานะพยายามที่จะสร้างสรรค์แสดงออกถึงความมีตัวตนและความรักในงานศิลปะรอบทิศทาง ฉลองมีความอดทนที่จะสร้างสรรค์แสดงออกถึงความมีตัวตนและความรักในงานศิลปะรอบทิศทาง ฉลองมีความอดทน พากเพียร วิริยะ ขยันหมั่นเพียร ในการเติมเสริมไฟศิลปะให้โชนพะเนียงอยู่บนก้นเส้าศิลปะ ของเขาอย่างสืบเนื่อง ฉลองเฝ้ามองดูดซับกำซับเอาไว้ทุกสุนทรียรสของศิลปะของเขาอย่างสืบเนื่องไม่ว่าจะเป็นจิตกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม วรรณกรรม และดนตรีน่าสนใจที่การทำงานของฉลอง และระเบียบของจิตเปรียบประดุจกลีบเกสรของดอกไม้และเรณูร้อยบุปผาสุมาลัยอังสุมาลิน ผู้วางระเบียบกระจุกดาวบนทางช้างเผือกฉลองสอนศิลปะในโรงเรียนมัธยม อย่างยอดเยี่ยงครูศิลปะคนเก่าแก่ก่อนฉลองทำงานฝีมือเชิดช่างได้ทุกหมู่เหล่าในแวดวงช่าง

ทำพวงหรีด เขียนป้าย ทำกระทง แกะสลักเทียน ทำริ้วขบวน ตุงกระด้าง แกะสลักไม้ทำหน้าบ้าน คันทวย กาแล สัตราภัณฑ์ ตัดโละหะทำฉัตรและงานมัณฑนศิลป์หลากทำนอง เขียนภาพด้วยปากกา บันทึกชีวิต เรื่องราวเป็นกระจกรอบข้างในระดับประเทศ จนมาถึงตำบลเล็กๆ งานฉลองคือสื่อประสมความคิดอิสระความจัดเจนในฝีมือความรอบรู้ที่มีรากเหง้ามาจากสายวัฒนธรรมโบราณ เหนือสิ่งอื่นใดคุณสมบัติพิเศษอันเป็นวิเศษของฉลองคือความจริงใจ ความซื่อตรง เรียบง่าย สมถะ สันโดษ อ่อนน้อมถ่อมตน หากเปี่ยมไปด้วยความรัก ความเมตตา ปรี่แปล้ไปด้วยความเห็นอกเห็นใจมวลมนุษย์ การทำงานของฉลองทุกสาขาที่รังสรรค์ในปัจจุบัน จึงแปรเป็นความรักปรากฏอยู่ งดงามด้วยเส้นสาย สีสัน และเสน่ห์ของความจริงใจตรงไปตรงมา ชี้ลง ตรงกลางดวงจิตเปิดเผยและอ่อนหวานเหมือนดอกไม้ป่าบนภูเขาสูงเหมือนน้ำในห้วยระหว่างหินผาระริกเต้นและเยียบเย็นเหมือนแดดอุ่นยามเช้าอุษาโยค ใสบริสุทธิ์เหมือนเหมยหมอก

ลมหายใจของขุนเขาบ้านของฉลอง ห้องทำงานของฉลองสะท้อนภาวะจิตที่มีระบบเป็นระเบียบด้วยงานหลากทำนองของการสร้างสรรค์ ในห้าปีหลังของการทำงานศิลปะ ผมและฉลองกับผองเพื่อนได้เข้ามาทำงานใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น เริ่มจากงานรับรองแขกบ้านแขกเมืองของจังหวัดเชียงรายที่ไร่แม่ฟ้าหลวงที่บ้านดำนางแล ฉลองเป็นหัวเรี้ยวหัวแรงแข็งขันในการช่วยสร้างสรรค์อย่างมีระบบเราช่วยกันสักลายดิบลงบนเนื้อหนังผู้คนพลทหาร ในงานมหกรรมศิลปะหลายครั้งจนถึงสักลายถวายสัตราภัณฑ์คนแก่สมเด็จพระเทพรัตนฯ เมื่อพระองค์ได้เสด็จเยี่ยมชมไร่แม่ฟ้าหลวง กาแลบ้านดำ หางหงส์บ้านในเวียง ค้ำยันคันทวยหลาย หมู่ที่บ้านผมเป็นฝีมือของฉลองแล้วเราร่วมกันจัดนิทรรศการงานศิลปกรรมของช่างล้านนา ครั้งแรกที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ อันเป็นงานต้นแบบความอลังการของ ขบวนการทางศิลปะพื้นบ้านที่หล่อหลอมเอาดวงใจของช่างที่ทางล้านนาเรียกว่า “สล่า” ทุกสาขาเข้ามาประจุไว้ในงานจุลมหกรรมศิลป์ไตยวน ครั้งแรกปี พ.ศ.2532 ครั้งนั้นนับเป็นครั้งแรกที่งานของฉลองได้เข้าร่วมมรรควิถีของศิลปะร่วมสมัยอย่างองอาจ สง่างามและเปี่ยมพลัง ความจริงใจ ศรัทธาที่แน่วแน่มนสิการที่ไม่หวั่นไหวไปกับแบบอย่างไพรัชรสนิยม ทำให้งานของฉลองไม่ว่าจะเป็นวาดเส้น แกะสลักไม้โดดเด่นเต็มศักยภาพ ผู้คนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศโดยเฉพาะภัณฑารักษ์ของพิพิทธภัณฑ์ศิลปะทางมานุษย์วิทยาและธรรมชาติ แห่งบร้องซ์ นิวยอร์ค ได้ซื้อผลงานฉลองเก็บไว้ในพิพิทธภัณฑ์ จนมาถึงวันนี้ อีกผลงานแกะสลักไม้ของฉลองโดยภัณฑารักษ์พิเศษจากพิพิทภัณฑ์ลูร์ฟ แห่งปารีส ฝรั่งเศส อีกหลายนักสะสมชาวไทยและต่างชาติที่ชื่นชมในความสามารถที่ฉลองประคับประคอง ประทีปแก้วของจิตวิญญาณล้านนา ชะลอช้อนภูมิปัญญาชาวบ้านมาฉลองชัยให้กับทิพย์ สุนทรีย์แก่บ้านเมืองเป็นเกียรติประวัติของตนและวงศ์สกุล น้ำใจของฉลองนั้นเป็นเลิศ ด้วยเมตตาธรรม ฉลองเป็นตัวตั้ง ตัวตี ติดต่อประสานงานกับกิจกรรมบรรดามทุกฝ่ายนับตั้งแต่งานแสดงเก่าสล่าเชียงราย หาทุนสร้างศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ร่วมกลุ่มสล่าล้านนาจัดนิทรรศการศิลปะที่บ้านดำนางแล เป็นสื่อกลางให้กับนักเขียนซีไรท์ ศิลปินแห่งชาติได้พบกับช่างเขียน สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น จัดแสดงนัดหมายพบกัน ด้วยน้ำใจไมตรี ให้หัวใจแก่ท้องถิ่นเหมือนมิตรสหายผู้มาเยือน ด้วยมหาสมุทรเมตตาธรรมของฉลองมาตลอด งานเขียนหนังสือนั้น สะท้อนสภาวะทางจิตของการใฝ่รู้ ใฝ่เรียนของฉลองมาโดยตลอดเวลาที่หมั่นฝึกฝน คิดอ่านตรึกตรองแล้วปรากฎออกมาดังๆ กับตัวเองและผู้อื่นผ่านสายตาและกระแสจิตของครูช่าง สล่าผู้สร้างสรรค์ สะสมสืบเนื่องมานานฉนำในหลากหลายหนังสือพิมพ์มีสยามรัฐ มติชน ศิลปวัฒนธรรม เป็นอาทิ สารคดี ปกิณกะ บทความเกี่ยวกับความเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงทัศนคติที่ฉลองมีต่อชีวิตและโลก ถ่ายทอดออกมาเป็นตัวหนังสือเหล่านี้บันทึกครูช่างสล่าล้านนา กระจกสะท้อนสังคมไทย

ฉลอง พินิจสุวรรณ อาจมิใช่ศิลปินกระเดื่องนามปรัชญาเมธีระดับชาติ หากแต่แวววามของการสร้างสรรค์เหมือนหิ่งห้อยส่องก้นตัวเองของเขานั้น องอาจงดงามยิ่งนัก ยิ่งน้ำใจอันใสสะอาดของเขานั้น ขับประกายให้งานสร้างสรรค์ของเขาเปล่งรุ้งร้อยสายอัจกลับดวงน้อยนี้เปล่งประกายอยู่ในความมืดมิด และชี้นำทางไปสู่ความรัก ความเข้าใจ ร่วมกันในมวลมนุษยชาติ

ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติ ๒๕๔๔

นายฉลอง พินิจสุวรรณ

เกิด ๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๙๕ ณ บ้านเลขที่ ๔๕/๑ บ้านแม่ใจปง ตำบลแม่ใจ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย (ปัจจุบันคือ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา)

บิดา – มารดา นายบุญมี นางคำมา พินิจสุวรรณ เป็นบุตรคนที่ ๕ จำนวนพี่น้อง ๖ คน (องอาจ,สว่าง,แสวง,ถวิล,ฉลอง,เฉลิม)

การศึกษา  ประถมศึกษา โรงเรียนบ้านแม่ใจ,โรงเรียนวัฒนวิทยากร จังหวัดเชียงราย(ขณะนั้น)

มัธยมศึกษา โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม จังหวัดเชียงราย

ประโยควิชาชีพ แผนกวิจิตรศิลป์ โรงเรียนสิริกรศิลปวิทยา เชียงใหม่

ประโยควิชาชีพชั้นสูง แผนกศิลปกรรม วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ

ศิลปะมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาทัศนศิลป์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่

(เคยรับราชการครูโรงเรียนมัธยม กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ รวม ๒๘ ปี และได้ลาออกจากราชการเพื่อการทำงานศิลปะ)

สถานภาพ สมรสกับนางปรารถนา พินิจสุวรรณ มีบุตร-ธิดา ๒ คน ไกรชนม์,ชนนิกานต์

ปัจจุบัน  “หอศิลป์ไตยวน” ๒๕๐ หมู่ที่ ๑๕ ถนนราชโยธา ซอย ๓ ตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ๕๗๐๐๐ โทร ๐๕๓-๗๑๒๑๓๗ E-mail: •อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน•

ประวัติร่วมแสดงผลงานศิลปกรรม (พ.ศ.๒๕๓๒ – ๒๕๕๕)

พ.ศ.๒๕๓๒ - นิทรรศการจุลมหกรรมศิลปวัฒนธรรมล้านนา ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ

พ.ศ.๒๕๓๓ - นิทรรศการศิลปกรรมร่วมสมัย “กลุ่มศิลปะไทย ๒๓” ธนาคารไทยพานิชย์กรุงเทพฯ

พ.ศ.๒๕๓๔ - นิทรรศการศิลปกรรมเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ณ จังหวัดเชียงราย

- นิทรรศการศิลปกรรมเพื่อการศึกษาศูนย์ศิลปาชีพ ณ บ้านดำนางแล เชียงราย

พ.ศ.๒๕๓๕ - นิทรรศการศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านแม่ฟ้าหลวงฯ จังหวัดสุโขทัย

- นิทรรศการ “๙ สล่าเชียงราย” ณ โรงแรมดุสิตไอส์แลนด์รีสอร์ท เชียงราย และโรงแรมดุสิตธานี

พ.ศ.๒๕๓๖ - นิทรรศการ “๑๗ สล่าเชียงราย” ณ หอศิลป์อหิงสาเชียงราย

พ.ศ.๒๕๓๘ - นิทรรศการ “๒๐ สล่าเชียงราย” ณ หอศิลปวัฒนธรรม จังหวัดเชียงราย

- นิทรรศการศิลปกรรม “ชีวิตกับงาน ๔๐ สล่าล้านนา” ณ หอศิลป์กาดสวนแก้ว เชียงใหม่

พ.ศ.๒๕๓๙ - นิทรรศการศิลปกรรม “เจ็ดร้อยเอด็ดปีในแดนล้านนา” ณ หอศิลป์ครูเทพ เชียงใหม่

พ.ศ.๒๕๔๐ - นิทรรศการศิลปะศิษย์เก่าศิลปกรรม วิทยาเขตภาคพายัพ

- Asian Arts and Crafts Exhibition, Fukuoka Art Museum Japan

พ.ศ.๒๕๔๑ - Contemporary Art for Amazing Thailand, Chiangmai

พ.ศ.๒๕๔๒ - นิทรรศการศิลปกรรม “๒๕ ปี สถาบันราชภัฎเชียงราย”

- นิทรรศการฮอมปอยศิลปะ ณ ศูนย์ประชุมชนจังหวัดลำปาง

- นิทรรศการศิลปะ กลุ่มครูศิลป์แพร่ (ศิลปินรับเชิญ)

- นิทรรศการศิลปกรรมเทิดพระเกียรติ ๗๒ พรรษา ณ หอศิลป์สถาบันราชภัฎอุตรดิตถ์

พ.ศ.๒๕๔๓ - นิทรรศการศิลปะ ๒๐๐๐ ณ หอศิลป์คนเมือง

พ.ศ.๒๕๔๔ - นิทรรศการ “ศตวรรศศิลปะส่วยสรวง” ณ หอศิลป์สถาบันราชภัฎเชียงราย

- นิทรรศการศิลปกรรม “จากบ้านสู่ลับแล” ณ หอศิลป์สถาบันราชภัฎอุตรดิตถ์

- นิทรรศการศิลปะ “ปอยครูศิลป์แผ่นดินล้านนา” ณ หอศิลป์สถาบันราชภัฎเชียงราย

พ.ศ.๒๕๔๕ - นิทรรศการศิลปะเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกล้านนา ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

- นิทรรศการศิลปกรรม “๖๐ ปีสถาบันราชภัฎอุตรดิตถ์”

- นิทรรศการศิลปะ “เชียงรายเมืองศิลปิน” ณ เทศบาลเมืองเชียงราย

- นิทรรศการ “สล่าเชียงรายเฉลิมพระเกียรติในหลวง ๗๕ พรรษา” ณ เทศบาลเมืองเชียงราย

พ.ศ.๒๕๔๖ - นิทรรศการศิลปกรรมนำชัยดอกไม้เมืองเหนือ ณ กองดีแกลเลอรี เชียงใหม่

- นิทรรศการศิลปะ “ตามฮีต โตยฮอยสล่าเมือง” ครั้งที่ ๒ ณ หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

- นิทรรศการศิลปะ “ปอยครูศิลป์แผ่นดินล้านนา” ครั้งที่ ๒ จังหวัดแพร่

พ.ศ.๒๕๔๗ - นิทรรศการศิลปะบนลานดิน ครั้งที่ ๑๒ ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ

- นิทรรศการเชียงรายเพื่อหอศิลป์ ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ หอศิลป์กรุงเทพฯ

- นิทรรศการศิลปะ “ตามฮีต โดยฮอยสล่าเมือง” ครั้งที่ ๓ ณ หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

- นิทรรศการศิลปะ “ปอยครูศิลป์แผ่นดินล้านนา” ครั้งที่ ๓ ณ หอศิลป์ สถาบันราชภัฎอุตรดิตถ์

- นิทรรศการศิลปะ “สายใย สายใจ ศิลปกรรม” สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

- นิทรรศการศิลปะ “ฮอมปอยสล่า บ้านไม้คำ” หางดง เชียงใหม่ (ศิลปินรับเชิญ)

- นิทรรศการ “ศิลปะกับสังคม ๒๕๔๗” ๓๐ ปีแนวร่วมศิลปินแห่งประเทศไทย ณ สถาบันปรีดี พนมยงค์ กรุงเทพฯ

- นิทรรศการศิลปะ “๑๗ ศิลปินเชียงราย” เพื่อ Chiangrai Art Museum มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย

พ.ศ.๒๕๔๘ - นิทรรศการบุญกับศิลปะ ณ หอศิลป์หนองหม้อ เชียงราย

- นิทรรศการศิลปะ “กลุ่มครูศิลป์แผ่นดินล้านนา” ครั้งที่ ๔  ณ หอศิลป์วัฒนธรรม จังหวัดลำปาง

- นิทรรศการศิลปะ “ต๋ามฮีต โตยฮอยสล่าเมือง” ครั้งที่ ๔ ณ หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

- นิทรรศการศิลปกรรมร่วมสมัย “สรวยศิลป์ – ศิลปินเมืองเหนือ” ณ PCC Art Gallery กรุงเทพฯ

พ.ศ. ๒๕๔๙ – นิทรรศการศิลปกรรมร่วมสมัย “๔๙ ศิลปินไทยในแดนล้านนา” ณ หอศิลป์ไตยวน เชียงราย

- นิทรรศการศิลปกรรมร่วมสมัย “กลุ่มครูศิลป์แผ่นดินล้านนา” ครั้งที่ ๕ ณ หอศิลป์ริมน่าน จังหวัดน่าน

- นิทรรศการศิลปะ “ตามฮีต ตามฮอยสล่าเมือง” ครั้งที่ ๕ ณ หิศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

- นิทรรศการศิลปกรรม ในวาระครบรอบ “๑๐ ปีหอวัฒนธรรมนิทัศน์” จังหวัดพะเยา

- นิทรรศการศิลปะ “ล้านนา – ล้านช้าง” ณ หอศิลป์ริมน่าน จังหวัดน่าน

- นิทรรศการศิลปกรรม “สล่าเชียงราย เพื่อครูจูหลิง” ณ สำนักงานศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

- นิทรรศการศิลปะ “ฉลองสิริราชสมบัติ ๖๐ ปี : ๖๐ ศิลปินเชียงราย” ณ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

- นิทรรศการศิลปะ ศิลปินชั้นนำของประเทศ “MIND 2006” ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี กรุงเทพฯ

พ.ศ.๒๕๕๐ - “LANNA – UTARA” An Exhibition by Thai & Malaysian Artists (Chiangrai, Thailand: Penang Malaysia)

- นิทรรศการศิลปกรรม “กลุ่มครูศิลป์แผ่นดินล้านนา” ครั้งที่ ๖ ณ หอศิลปวัฒนธรรม จังหวัดเชียงใหม่

- นิทรรศการศิลปะ “ตามฮีต โตยฮอยสล่าเมือง” ครั้งที่ ๖ ณ หอศิลป์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

- นิทรรศการศิลปกรรมร่วมสมัย “ร่วมศิลป์ ถิ่นโกศัย เทิดไท้องค์ราชันย์” ณ คุ้มเจ้าหลวง จังหวัดแพร่ (ศิลปินรับเชิญ)

- นิทรรศการศิลปะศิลปกรรมอนุภูมิภาคลุ่มแม่โขง จีน – ไทย : ยวีซี – ล้านนา มณฑลยูนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน

- นิทรรศการศิลปกรรม “๘๐ ศิลปิน ๘๐ พรรษา” ณ หอศิลป์เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์

พ.ศ.๒๕๕๑ - “INTERNATION ART CHANGE THAILAND-USA-CHAINA 2008” Changrai Thailand

- นิทรรศการศิลปะ “กลุ่มครูศิลป์แผ่นดินล้านนา” ครั้งที่ ๗ ณ ศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก

- นิทรรศการศิลปะ “๖๐ ปี อุดม ธราวิจิตรกุล” ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่

พ.ศ. ๒๕๕๒ - นิทรรศการศิลปะ “กลุ่มครูศิลป์แผ่นดินล้านนา” ครั้งที่ ๘ ณ หอศิลป์ไตยวน เชียงราย

- นิทรรศการศิลปะ “ตามฮีต โตยฮอยสล่าเมือง” ครั้งที่ ๗ ณ หอศิลปวัฒนธรรม หมาวิทยาลัยเชียงใหม่

- นิทรรศการศิลปะ “สุนทรียะแห่งสรีระ” เดอะ สีลมแกลอรี กรุงเทพฯ

- นิทรรศการวัฒนธรรมแห่งสายน้ำ สานสัมพันธ์ลุ่มน้ำโขง ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาลัยเขตหนองคาย

- นิทรรศการศิลปะ “๖๐ ปี ผศ.อุดมศักดิ์ อรรถโกวิท” ณ หอศิลป์เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

- นิทรรศการศิลปะนานาพันธุ์ “อภิวัฒน์สู่สังคม” “Change to Peace” ณ สถาบันปรีดี พนมยงค์ กรุงเทพฯ

- นิทรรศการแลกเปลี่ยนศิลปะ อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง : ล้านนา – สิบสิงปันนา ณ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

พ.ศ. ๒๕๕๓ - นิทรรศการศิลปกรรมร่วมสมัย “กลุ่มครูศิลป์แผ่นดินล้านนา” ครั้งที่ ๙ ณ หอศิลป์เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

- 6 International Art Festival And Art Workshop in Thailand 2010

- “แต้มฟ้า ปั้นดาว สลักเดือน สานทอฝัน สล่าล้านนา” ณ ดิเอ็มโพเรียม ชอบปิ้งคอมแพล็กซ์ กรุงเทพฯ

- แลกเปลี่ยนศิลปกรรมอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง : สิบสิงปันนา – ล้านนา ณ เขตการปกครองตนเอง ชนชาติไตลื้อสิบสิงปันนา มณฑลยูนาน สาธารณะรัฐประชาชนจีน

- นิทรรศการล่าล้านนา “ทิพหย้องภูมิผญา ล้านนาสล่าเมือง” ณ เชียงใหม่แอร์พอร์ต

- นิทรรศการศิลปะกับสังคม ในวาระครบรอบ ๑๑๐ ปี รัฐบุรุษอาวุโส ปรีดีพนมยงค์ : Change To Peace

- นิทรรศการค่ายเยาวชนสร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัย (ทัศนศิลป์) ณ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ กรุงเทพฯ (ศิลปินรับเชิญ)

- นิทรรศการศิลปกรรม “สานใจ สานใย ศิลปกรรม” เนื่องในวาระเกษียณอายุราชการ ผศ. สุรสิทธิ์ เสาว์คง ณ หอศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พ.ศ. ๒๕๕๔ - นิทรรศการศิลปะอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ไทย – จีน, ล้านนา – สิบสิงปันนา ณ หิศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

- โครงการปฏิบัติการทัศนศิลป์ และนิทรรศการศิลปะนานาชาติครั้งที่ ๗ ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ (เฉพาะช่าง) กรุงเทพฯ

- นิทรรศการศิลปะ โครงการเปิดบ้านศิลปินเชียงราย (๑๓ หลัง) สนง. วัฒนธรรม จังหวัดเชียงราย

- นิทรรศการศิลปะ “ศาสตร์ ศิลป์ ถิ่นล้านนา” จัดโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และเซนทรัลเชียงราย (แสดงเดี่ยว)

- นิทรรศการศิลปกรรม “๔ เชียงราย” จัดโดยเซนทรัลพลาซ่าเชียงราย

- นิทรรศการศิลปกรรม “เชียงรายเมืองศิลปิน ฉลอง ๗๕๐ ปี เมืองเชียงราย” หอศิลป์ มหาลัยราชภัฏเชียงราย

- นิทรรศการศิลปะ “๘๔ พรรษาเฉลิมพระเกียรติ” ณ เซนทรัลเชียงราย จัดโดยสำนักงานวัฒนธรรม จังหวัดเชียงราย

พ.ศ. ๒๕๕๕ - นิทรรศการศิลปะ “กลุ่มครูศิลป์แผ่นดินล้านนาครั้งที่ ๑๑” ณ วิทยาลัยอาชีวศึกษาศึกษา จังหวัดแพร่

- โครงการปฏิบัติการทางทัศนศิลป์ และนิทรรศการศิลปะนานาชาติครั้งที่ ๘ ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลรัตนโกสินทร์(เฉพาะช่าง) และวิหารหลวง บ้านดำนางแลเชียงราย

- นิทรรศการศิลปกรรมเฉลิมฉลองเชียงราย ๗๕๐ ปี ณ 9 Art Gallery

- นิทรรศการศิลปะคือชีวิต ฉลอง พินิจสุวรรณ “๖๐ ปี ไอเหมือนฟานโขก” ณ หอศิลป์ไตยวน เชียงราย

เกียรติคุณที่เคยได้รับ

- ผู้ให้การส่งเสริมกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏเชียงราย (พ.ศ. ๒๕๔๒)

- ศิลปินดีเด่นจังหวัดเชียงราย สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) คณะกรรมการวัฒนธรรม แห่งชาติ (พ.ศ. ๒๕๔๒)

- ครูผู้ชำนาญด้านศิลปศึกษา กลุ่มโรงเรียนกรมสามัญศึกษาจังหวัดเชียงราย (พ.ศ. ๒๕๔๓)

- ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม สาขาสื่อมวลชน (หนังสือพิมพ์) คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (พ.ศ. ๒๕๔๓)

- ครูดีเด่นผู้ส่งเสริมและพัฒนาการใช้ภาษาไทย สถาบันภาษาไทย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. ๒๕๔๔)

- ประธานกลุ่มครูศิลป์แผ่นดินล้านนา (๑๒ จังหวัด) พ.ศ. ๒๕๔๔ – ปัจจุบัน

- ครูดีเด่นด้านการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดเชียงราย (พ.ศ. ๒๕๔๕)

- ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์เหรียญจักรพรรคมาลา (พ.ศ. ๒๕๔๕)

- ผู้มีผลงานดีเด่นด้านการอนุรักษ์ สร้างสรรค์ และสืบทอด ผลงานจิตรกรรม จาก สมาคมชาวเหนือ (พ.ศ. ๒๕๔๘)

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 20 •สิงหาคม• 2013 เวลา 18:07 น.• )