เงี้ยวเป็นคนกลุ่มน้อยในเมืองจีนเป็นชนชาติไทยเผ่าหนึ่ง ถูกจีนเจ้าของประเทศขยายตัวรุกมาทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนหนักเข้า ก็อพยพหนีลงใต้ พอพ้นแดนจีนก็ปักหลักตั้งถิ่นฐาน ณ ที่นั้นจนปัจจุบันนี้ ขับไล่มอญเขมรที่อยู่เดิมออก ชาวเหนือมณฑลพายัพเรียกกันว่า “เงี้ยว” ไทยน้อยหรือไทยสยาม เรียกกันว่า “ไทยใหญ่” แต่จีนเรียกว่า “ชาน” ชานเป็นคำจีนแปลว่า “ภูเขา” ซึ่งเป็นการถูกต้องตรงกับความเป็นจริงที่สุด ชานคือ “คนภูเขา” หรือ “ชาวเขา” เพราะมีถิ่นที่อยู่ในเทือกทิวเขาสลับซับซ้อน ในระดับสูง ๒,๐๐๐ – ๘,๐๐๐ ฟุตจากระดับน้ำทะเล ณ ระดับ ๓,๐๐๐ ฟุตนี้ ประกอบเป็นเนื้อที่ส่วนใหญ่ของสามเหลี่ยมทองคำ สภาพดินฟ้าอากาศเหมาะแก่การปลูกพืชชนิดหนึ่งคือ ฝิ่น ซึ่งในช่วงนั้นผลิตได้ปีละ ๗๐๐ ตัน ขณะนั้นฝิ่นเป็นพืชที่ปลูกได้ถูกต้องตามกฎหมาย รัฐบาลเป็นผู้รับซื้อตามราคาที่กำหนด แต่เป็นส่วน้อยและไม่สูง ส่วนใหญ่จึงลักลอบเข้าสู่ตลาดโลกที่ได้ราคาดีกว่า โดยผ่านประเทศไทยพลอยได้รับชื่อเสีย (ง) ไปด้วยวิทยุบีบีซีอังกฤษรายงานว่า เมื่อผ่านกรรมวิธีผลิตเป็นเฮโรอินแล้ว ก็เป็นธรกิจการค้าของโลก มีมูลค้าปีละ ๒ แสนล้านเหรียญ

ในดินแดนเงี้ยวมีการแลกเปลี่ยนทองคำแท่งเหลืองอร่ามจับตา การห่อฝิ่นทำโดยการห่อใบตองนึ่งแห้งกรอบชั้นนอกหลายชั้น ข้างในหุ้มด้วยกระดาษสาอีกหลายชั้น ห่อหุ้มวัสดึสีดำยางไม้ชนิดหนึ่งดำเมี่ยมเป็นแท่งฝิ่นดิบ ขณะนั้นยังไม่มีถุงพลาสติก ทำการแลกเปลี่ยนระหว่างทองคำกับทองคำ เงี้ยวชักรอกตาเต็งใหญ่เข้ากับขื่อบ้าน จานชั่งข้างหนึ่งใส่ทองคำแท่งอีกข้างหนึ่งห่อใบตองตึงแห้ง ซึ่งเหมือนของไม่มีค่าควรคู่กับทองเลย ผู้ซื้อผู้ขายต่างเจรจาต่อตามกันจนบรรลุการตกลงได้ด้วยความพอใจทั้ง ๒ ฝ่าย

ดินแดนเงี้ยว มีเนื้อที่ ๑ ใน ๔ของพม่าทางซีกตะวันออก มีขนาดอังกฤษกับเวลส์รวมเข้าด้วยกัน เนื้อที่ ๖๐,๔๑๖ ตารางไมล์ ด้านเหนือจดจีน ด้านใต้จดมณฑลพายัพไทย ตะวันออกจดลาว ตะวันตกจดพม่าภาคกลาง จากปินมะนาถึงชเวโบ

พลเมืองเมื่อ ค.ศ. ๑๙๐๑ (ร.ศ. ๑๒๐ พ.ศ. ๒๔๔๔) ๑,๒๓๖,๓๕๗ คน นับว่าน้อยมากเมื่อเที่ยบกับพื้นที่ ทั้งนี้เป็นผมสืบเนื่องจากการรบราฆ่าฟันทำลายล้างเผ่าพันธุ์กันเอง กับกะเหรี่ยงและคะฉิ่นบ้าง ตลอดเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมา ต่อมาอีก ๑ ปี ศ.ศ. ๑๙๐๒ คือเมื่องเงี้ยวก่อการจลาจล มีเงี้ยวอยู่ทุกเมืองในมณฑลพายัพราว ๒๐,๐๐๐ คน ๓๐ ปีต่อมา ค.ศ. ๑๙๓๑ อัตรเพิ่มของประชากร ๑๘ – ๑๙ คนต่อ ๑๐๐,๐๐๐ คน พลเมืองมีมากแถบที่ราบลุ่มแม่น้ำใหญ่อิระวดี สาละวินและแม่น้ำโขง และแถบแม่น้ำแควมีน้ำเล น้ำคา นำเต็ง น้ำปอน น้ำตู น้ำเมา และน้ำนามปิลู ในดินแดนเงี้ยว มีประชากรชาติอื่นอาศัยอยู่ด้วย มีประชากรเงี้ยวไม่ถึงครึ่งหนึ่ง แบ่งออกเป็นสัดส่วนดีงนี้ เงี้ยว ๔๖.๙๑ % ,พม่า ๑๒.๘๑ % ,กะเรี่ยง ๑๑.๙๙ % ,ปะหล่อง – ว้า ๑๑.๕๐ % ,โลโล – มูโช ๕.๖๗ (โลโลเชื้อสายธิเบต – พม่า) ,จีน ๔.๓๓ % ,คะฉิ่น ๔.๒๙ % ,อินเดีย ๒.๑๙ % ,อื่น ๆ .๑๒ % ,ยุโรปและเองโกลอินเดียน .๐๗ %

พืชผลทางการเกษตรมีข้าวเจ้า ข้าววีท มันฝรั่ง ใบชา ส้ม กะหล่ำปลี ใบยาสูบ กระเทียม คราม ฝ้าย ไม้สักซึ่งมีอยู่ในระดับความสูงต่ำกว่า ๓,๐๐๐ฟุต และยังมีไม้เนื้อแข็งอีกมากมาย อุตสาหกรรมในครัวเรือน ทอผ้าไหม ย่าม เครื่องดินเผา เครื่องเขิน เครื่องเงิน หมวกเงี้ยว เรียกว่ากาม๊อกหรือกุบ สานด้วยดอกไม้ไผ่ ดาบเงี้ยว และตุ๊กตาแกะสลักชนเผ่าต่าง ๆ ของพม่า

ประวัติศาสตร์ของเงี้ยว ไม่มีเวลาเป็นไทยแก่ตัวเองเลย ต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจจีนหรือพม่าตลอด เมื่ออังกฤษได้พม่าเหนือเป็นเมืองขึ้นเมื่อ พฤศจิกายน ๑๘๘๕ (พ.ศ. ๒๔๒๘) ต่อมาอังกฤษก็ผนวกดินแดนเงี้ยวเข้ากับอินเดียไปด้วยเมื่อ ๑ มกราคม ๑๘๘๖ (พ.ศ. ๒๔๒๘) เงี้ยวมีการปกครองแบ่งแยกเป็นเมือง ๆ มีสภาพคล้ายรัฐ ต่างมีอิสรเสรีไม่ขึ้นแก่กันมีเจ้าฟ้าเป็นผู้ครองเมือง มีสิทธิเสรีในการจัดการปกครองในบ้านเมืองของตน เมืองใหญ่ที่มีเจ้าฟ้าปกครองมีอยู่ ๑๘ เมือง แต่ที่ใหญ่และสำคัญจริง ๆ ที่อังกฤษยกย่องโดยการยิงสลุตให้เกียรติโดยจำนวนปืน ๙ กระบอก มีอยู่ ๕ เมือง คือ เชียงตุง ,สีป่อ ,เมืองนาย ,ยองเว ,ตองเพ็ง และรายชื่อ ๑๘ เมืองที่มีเจ้าฟ้าปกครองอยู่ คือ เชียงตุง มีชื่อคลาสสิกว่า เขมรรัตน์ ตังคบุรี ,สีป่อ ดุตาวดี ,เมืองนาย สตุรัมภา หรือนันทัพวา ,ยองเว คัมพอสารรัตน์ ,ตองเพ็ง ปัพพัตสาร ,แสนหวีใต้ ,แสนหวีเหนือ (หรือเรียกทั้งสองเมืองว่าศิริรัตน์ หรือโกสัมพี) ,เมืองมิต คันธาราวัต ,เมืองปาย ,ลายขา หงสาวดี ,มอกใหม่ ลอกะวดี ,เมืองปัน ธนาวดี ,เมืองปอน ราชาวดี ,แมงลัน จัมบุรารัตน์ ,คันธารวดี ,สามกา ,เมืองกุง ลังกาวดี ส่วนเมืองเล็ก ๆ ขึ้นแก่เจ้าฟ้าปกครอง ก็มีเมียวซา เงกุนมู ปกครองลดหลั่นกันไปตามลำดับ

ก่อนอังกฤษผนวกเงี้ยว ย้อนถอยหลังไป ๓ ศตวรรษ เงี้ยวต้องรบราฆ่าฟันกันเองแย่งชิงความเป็นใหญ่ซึ่งกันและกัน และรบกับกะเหรี่ยงและคะฉิ่นอีกด้วยอยู่ตลอดเวลา อันเป็นไปตามนโยบายปกครองทำลายล้างผลาญของพม่า “แบ่งแยกแล้วปกครอง” เจ้าฟ้าผู้ครองเมืองทุกเมืองต้องส่งบุตรีหรือภคินี หรือนัดดา ปนัดดา ในราชวงศ์เมืองนั้น ๆ ไปถวายกษัตริย์พม่า อย่างน้อย ๑ นาง กับต้องส่งราชบุตรหรืออนุชาไปเป็นตัวประกันหรือจำนำอยู่เมืองพม่ากรุงอังวะ เพื่อจะได้ไม่กบฎ และจงรักภักดีซื่อสัตย์ไม่แปรพักตร์จากพม่าอีกด้วยเมื่อถึงคราวได้ปกครองเมือง พม่าได้ตั้งผู้สำเร็จราชการไปประจำอยู่ที่เมืองนาย อันเป็นศูนย์กลางปกครอง ควบคุมดูแลเงี้ยวทั้งหมด และตั้งขุนนางพม่าไปประจำเมืองที่เจ้าฟ้าปกครองอยู่เมืองละคน รับคำบังคับบัญชาจากเจ้าเมืองอีกทอดหนึ่ง เจ้าฟ้าไม่มีอำนาจอันใด ต้องอยู่ภายใต้อำนาจขุนนางพม่าทั้งมวล ขุนนางที่ส่งมาควบคุมดูแล แทนที่จะช่วยรักษาความสงบสันติสุข กลับพยายามปั่นหัวยุยงให้แย่งอำนาจหรือคิดคดทรยศบ่อนทำลายอำนาจกันเอง ยุแยงไม่ให้เจ้าฟ้าต่องเมืองกันมีสัมพันธ์ไมตรีต่อกัน กันการรวมหัวแข็งเมืองต่อสู้พม่า เมืองไหนมีทีท่าจะมีกำลังกล้าแข็งขึ้นก็ยุให้เมืองอื่นเข้าทำลายล้างเสีย แม้ในเมืองเดียวกันก็สนับสนุนยุยงปั่นหัวให้เจ้านายหรืออำมาตย์เมืองนั้นแย่งชิงความเป็นใหญ่ต่อกัน ปล่อยให้ฆ่าฟันกันเอง ล้มตายไป ฝ่ายไหนชนะพม่าก็จะตั้งให้เป็นเจ้าครองเมืองแทน

การต่อสู้รบกันก็กระทำแบบสงครามดึกดำบรรพ์ คือยกพลกรูกันไปไม่ให้อีกฝ่ายรู้ตัวถ้าโจมตีทันทีไม่ได้ก็ตั้งค่าย ยกหอรบขึ้นยิงกัน ล้อมเมืองไว้เพื่อให้คนในเมืองอดข้าว หรือตรงข้าม คนในเมืองก็หาวิธีตัดสะเบียงอาหารให้ฝ่ายศัตรูอดเหมือนกัน  เมื่อคนในเมืองออกไปหาเสบียง ก็ยกกรูกันเข้าปล้นเมือง เมื่อเข้าได้ปล้นสะดมไล่ฆ่าฟันผู้คนแม้กระทั่งเด็ก จุดไฟเผาบ้านเรือนให้วอดวาย พร้อมการเทครัวขนเชลยผู้คนทรัพย์สิ่งของที่ปล้นได้กลับไป ยิ่งเป็นพม่าเข้าไปปราบเมืองที่แข็งข้อด้วยแล้ว จะเผาทำลายทุกสิ่งทุกอย่าง รวมทั้งกำแพงค่ายคูเชิงเทินหอรบให้พินาศราบเรียบโล่งเตียนไปกับพื้นดินให้หมดสิ้นไปด้วย เมื่อเกิดสงครามสู้รบกัน ชายฉกรรจ์ต้องถูกเกณฑ์เข้ากองทัพ พลรบมีข้าวกับเกลือเป็นเสบียงพอกินได้ ๙ – ๑๐ วัน ใส่ไถ้หรือย่ามสะพายหลังติดตัวไป เมื่อเสบียงหมดก็ให้วิธีปล้นตามรายทางที่ผ่านไป หากพ่ายแพ้พรรคพวกเดียวกัน ก็จะหันเข้าเล่นงานพวกเดียวกันซ้ำเติมเข้าอีก อันเป็นนิสัยสันดานดิบเดิมของเงี้ยว ระบายออกซึ่งความคลั่งแค้นที่พ่ายมา เงี้ยวชอบตัดศีรษะศัตรูที่ฆ่าตาย เอาเสียบไมประจานไว้นอกค่ายหรือนอกเมือง เป็นการข่มขวัญศัตรูเพื่อไปขอรับเงินรางวัลจากเจ้านายตัวอีกด้วย ในยามสงครามเงี้ยวมีความเหี้ยมโหดดุร้ายพยาบาท สามารถฆ่าได้แม้เด็กชายตัวเล็ก ๆ แต่ในยามสงบ ก็เป็นคนร่าเริง โอบอ้อมอารี พร้อมที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เหตุการณ์เป็นเช่นนี้นับเป็นศตวรรษ ต้องศูนย์เสียทรัพยากรผู้คนพลเมืองไปอยู่ตลอดเวลา จึงมีพลเมืองน้อย มีเมืองร้างมากมาย การสร้างเมืองใหม่แทนเมืองที่ถูกทำลายไปจึงมีขึ้นเรื่อย ๆ ประกอบกับเงี้ยวมีจิตใจพลุ่มพล่ามร้อนรุ่มอยู่ไม่ติดที่ ชอบพเนจรย้ายที่อยู่เป็นเนืองนิตย์ การสร้างเมืองใหม่จึงต้องประสงค์

เมื่ออังกฤษเข้าปกครอง ได้จัดแบ่งหัวเมืองเงี้ยวฝ่ายเหนือและเงี้ยวฝ่ายใต้ อยู่ในการปกครองดูแลของ Governor General หัวเมืองใหญ่สำคัญมี Superintendent ปกครอง ส่วนหัวเมืองเล็กมี Commissioner ปกครอง นอกจากนี้อังกฤษยังได้จัดการขบวนการยุติธรรมทั้งเพ่งและอาญาออกใช้ รวมทั้งกฎหมายเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีสรรพากรอีกด้วย

เงี้ยวเป็นชาวเขาโดยกำเนิด จึงมีคุณสมบัติพิเศษในการต่อสู้กับธรรมชาติอันมีสภาพภูมิประเทศไม่เอื้ออำนวยให้มีทุกสิ่งที่จำเป็นในการดำรงชีวิตอยู่ได้ครบครัน แต่เนื่องด้วยช่ำชองในการค้า จึงสามารถเสาะแสวงหาสิ่งที่ขาดหรือจำเป็นแก่ชีวิตที่หาไม่ได้ในบ้านเมืองของตนมาเพิ่มพูนชดเชยแทนได้ เงี้ยวมีพรสวรรค์ในการค้า แต่เป็นการค้าเล็ก ๆ น้อย ๆ ใช้วัวต่างหรือหาบต่างเที่ยวท่องแดนพม่าเข้ามาในมณฑลพายัพของไทย ออกไปหลวงพระบาง เข้าแดนเงี้ยวไปยุนนาน ทำการค้าพืชผลเกษตร อัญมณี สินค้าจากมะละแหม่งมีทอลายดอกแบบวินเชสเตอร์และเบอร์มิงแฮมอังกฤษ สินค้าโลหะจากเยอรมัน มีด ไม้ขีดไฟ เข็มเย็บผ้า กระดุม ทองแดง อัดพิมพ์รูปพระนางวิกตอเรียอังกฤษ ขากลับก็ซื้อสินค้าพื้นเมืองมี ไหมดิบ ขี้ผึ้ง หนังเขาสัตว์ กำยาน กระวาน สีเสียด คราม กลับไป การค้าขายจำกัดวงอยู่ในบริเวณภาคเหนือระหว่ามะละเหม่ง มณฑลพายัพ หลวงพระบาง จนถึงยุนนาน เพราะการเดินบกติดต่อกันสะดวกสบายมาก ที่ไม่ค้าขายติดต่อกับกรุงเทพ ฯ ก็เพราะปัญหาเรื่องการหาเรือบรรทุกยุ่งยากมาก เสียค่าใช้จ่ายสูง และใช้เวลามาก เงี้ยวเป็นคนไม่เอาไหน ไม่ชอบทำงาน จนกว่าจะถึงคราวจำเป็นจริง ๆ ส่วนสตรีทำงานหนักตลอดฤดูร้อนในนาข้าว เมื่ออยู่บ้านก็ทอผ้าอย่างขยันขันแข็ง

เงี้ยวนับถือศาสนาพุทธ แต่มีนิสัยชอบการพนันเป็นชีวิตจิตใจ แม้แต่เด็ต่ำกว่า ๑๐ ขวบ ก็หมกมุ่นยอมให้เล่นได้ จึงอาศัยวัดและวันสำคัญทางพุทธศาสนาเป็นการออกตอบสนองนิสัยชอบโดยจัดงานปอยขึ้นในวัดพร้อมเปิดบ่อนการพนัน ปีหนึ่ง ๆ เมืองใหญ่จะมีปอย ๔ ครั้ง หรือกว่าคือปอยวันขึ้นปีใหม่ เดือนเมษายน ปอยวันเข้าพรรษา เดือน กรกฎาคม ซึ่งเรียกว่าปอยเดือน ๔ หรือลอนซี ปอยวันออกพรรษา เดือนตุลาคม และปอยนมัสการพระเจเย์ที่สำคัญ เดือน ตุลาคม – มีนาคม ปอยหลงมี ๑๐ – ๑๕ วัน รายได้จากการเปิดบ่อนพนันคืนกนึ่งกว่าหมื่นจั๊ดตกอยู่แก่เจ้าฟ้าเมืองนั้น ๆ เงินที่เก็บหอมรอมริบหรือหาได้มาของเงี้ยว จะมลายสูญสิ้นไปกับบ่อนพนันในปอยใดปอนหนึ่ง ๒- ๓ สัปดาห์ก่อนเปิดบ่อนพนัน จะไม่มีการทำอะไรอื่นใด นอกจากเตรียมเนื้อเตรียมตัวเล่น ในระหว่างปอยก็จะไม่มีการพูดคุยกันในเรื่องอื่นใดนอกจากเรื่องพนัน ๒ – ๓ สัปดาห์หลังจากบ่อนปิดสิ้นสุดลงแล้ว ก็จะใช้ไปในการพักฟื้นร่งกายและจิตใจที่ถูกกระทบกระเทือนอย่างหนัก การสูญเสียไปกับบ่อนการพนัน สรุปแล้วคือปอยหนึ่ง ๆ จะใช้เวลา ๒ เดือนกว่าจะคืนกลับสู่สภาพเดิม วนเวียนอยู่เช่นนี้ งานปอยผู้คนจะออกมาเที่ยวหมดทั้งครอบครัว แต่งตัวสาวงามด้วยผ้าที่ดีทีสุดประดับด้วยอัญมณีประกวดประชันกัน พ่อค้าแม่ค้าวางของขาย ตั้งเพิงขายอาหาร เสื้อผ้า เคื่องประดับ ของกระจุกกระจิก จุดตะเกียงน้ำมันก๊าดยามค่ำคืน แสงไฟวอมวามเป็นบรรยากาศพื้น ๆ ดั้งเดิม งานปอยเป็นงานที่หนุ่มสาวได้มาพบปะกันมีโอกาสจับคู่กันตามอัธยาศัย ทำให้มีการสมรสตามมามากหลายเกิดขึ้น หญิงยังไม่ได้แต่งงานมีอิสระในการเลือกคู่มาก ไท่สือสากัน เปลี่ยนคู่ได้มากมาย จนกว่าจะถูกใจ เมื่อแต่งงานแล้วคล้ายเป็นกฎทำเนียบประเพณี จะเป็นภรรยาที่ดีสื่อสัตย์ต่อสามี การละเมิอฝ่าฝืนกฎม่โทษทัณฑ์ถึงตาย

วัดเงี้ยวแทนี่จะเป็นลานเรียบโล่งเตียน ร่มรื่นไปด้วยแมกไม้สงบร่มเย็น กลับรุงรังไปด้วยคอกสัตว์พาหนะ ระเกะระกะไปด้วยเกวียนและปศุสัตว์ วัดเป็นเจ้าของบางแห่งตกเป็นป้อมปราการป้องกันโจรผู้ร้ายมากกว่าเปนวัด ตุ๊เจ้าก็ถือศัสตราวุธถือปืนไฟยามเดินทางไกล พรสงฆ์ในเมืองเชียงรุ้งยังสวมตุ้มปี่กะโหลก สูบบุรี่ปุ๋ยมวน ทำการค้าขายในที่ต่าง ๆ เงี้ยวเลื่อมใสศัทธาประสาทะในการบวชสามเณรเด็ก ซึ่งเรียกว่าบวชลูกแก้ว มากกว่าบวชอุปสมบท ผู้ใหญ่เป็นพระภิกษุ งานบวชลูกแก้วจึงจัดเป็นงานใหญ่ สิ้นเปลืองมาก บ้านใดกระทำได้ก็เป็นที่นับหน้าถือตาของเพื่อนบ้าน กระทำในราวเดือนเมษายน ลูกแก้วจะโกนหัวนุ่งห่มเครื่องแต่งตัวกระทั่งผ้าโผกหัวเป็นแบบประโคมไปรอบเมือง มีสัปทนกางบังแดด การบวชคราวหนึ่ง ๆ มักจะทำพร้อมกันหลาย ๆ คน ขบวนแห่ลูกแก้ว จะแวะเยี่ยมตามบ้านผู้ที่เคารพนับถือ ก็ได้รับการต้อนรับผู้ผูกข้อมือให้เงินให้ทองเป็นการทำบุญทำกุศลร่วมกัน นำไปบวชที่วัด จะมีงานฉลองที่บ้านและที่วัด ผู้ที่บวชแล้วจะมีคำนำหน้าชื่อเป็นการยกย่องว่า “ส่าง” ซึ่งเป็นคำเงี้ยวแปลว่าน้อย นัยหนึ่งคือผู้ที่ได้บวชเป็นเณรแล้ว บ้านเรือนเงี้ยวเป็นเรือนไม้ ใต้ถุนสูง ๑ เมตรขึ้นไป เสาไม้จริง พื้นกระดาน ฝาไม้ไผ่ขัดแตะสาน มีลวดลายสวยงามมาก แต่ละหลังไม่ซ้ำกัน หลังคามุงด้วยใบตองตึงหรือแฝก หน้าต่างเล็ก หรือไม่ค่อยมีเนื่องจากอากาศหนาว “กล่าวกันว่าบ้านของเงี้ยวสะอาดกว่าของพม่า ในระดับชนชั้นเดียวกัน” รูปร่างลักษณะหน้าตาของเงี้ยวคล้ายกับพม่าและไทยสยาม แต่ผิวผ่องกว่า รูปร่างได้รูปทรง มีกล้าม สูงกว่าอย่างน้อย ๑ นิ้วโดยเฉลี่ย ใบหูเล็ก ตายาว จมูกเล็กมากกว่าแบน สันจมูกโด่ง ปากกว้าง กินหมาก ทำให้ฟันเงือกดำ ผมยาวเหยียดตรงไม่ค่อยมีสีอื่นนอกจากดำ เงี้ยวแถบซิสสาละวินสักลงมาถึงครึ่งน่องและตามลำตัวมาสูงกว่าพม่า สมัยก่อนผู้คุ้มกันเจ้าฟ้าสักจากลำคอลงมาจรดข้อเท้า  การสักเพื่ออยู่ยงคงกระพันหรือกฤตยาคมด้วยสีแดงที่หน้าอก หลัง และแขน พม่าสักเช่นเดียวกันนี้ กล่าวกันว่าช่างสักเงี้ยวมีฝีมือดีกว่าช่างสักพม่า ทั้งที่ได้รับอิทธิพลมาจากพม่านั้นเอง คนไทยสยามไม่สัก สมัยก่อนคนพื้นเมืองมณฑลพายัพมีพุงดำ เพราะการสักด้วยหมึกสีดำตามแบบอย่างพม่า ที่เคยครองครองอยู่ช่วงระยะหนึ่ง ส่วนนพื้นเมืองแถบแม่น้ำโขงมีพุงขาวเนื่องจากไม่มีการสัก

การแต่งกายของเงี้ยว ชายมีเสื้อและกางเกง ทั้งชุดเป็นแบบจีน แต่เป้าหย่อนลงมาถึงข้อเท้า พองใหญ่เหมือนกระโปรงมากกว่าเป็นกางเกง ไว้ผมยามเกล้ามวย มีผ้าโพกหัว ทางเหนือสีขาว ทางใต้มีหลายสี เงี้ยวจีนย้อมสีครามและสีทึม ๆ สวมหมวกปีกกว้าง สานด้วยฟางนิยมใช้ในอาณาเขตอังกฤษ แต่หมวกฟางทำในเมืองจีน เงี้ยวไม่นิยมสวม เงี้ยวไทยก็เช่นเดีวกัน ฤดูฝนหรือร้อนนิยมสวมหมวกรูปทรงกรวยแหลมปีกใหญ่ การแต่งกายของสตรีในปัจจุบันถูกวัฒนธรรมพม่ากลืนไปหมดสิ้น จึงแต่งแบบพม่าแม้ทรวมวยผม นุ่งซิ้นที่เรียกว่า “ทะเมง” เสื้อแขนสั้นแขนคับป้ายขวากระดุม ๓ เม็ด เรียกว่า “เองยี” ผ้าพันหัว หรือใช้ผ้าขนหนูเช็ดหน้าผืนเล็กหรือเช็ดตัววางแหมะไว้ก็มี สมัยโบราณในหัวเมืองตอนเหนือมณฑลพายัพ เผยอกแบบสาวล้านนา ในเมืองเงี้ยวของอังกฤษใช้สไบพันรอบอก

เมืองแพร่มีซอเงี้ยวบทหนึ่ง ทั้งทำนองเพลงและเนื้อร้องไพเราะมากดังนี้ “เสเรเมา หนูน้อยกิ๋นมะแต๋งช้าง ย้ำตำย้ำค้างเต่าเปียกกับใจ๋ จะฮื้อตั๋วน้อยกิ๋นลงคอจะเป็นจะใด เฮย ป้อ เฮย ผ้าสีปูเลยเกิ่งปาดเกิ่ง ไปเจียงแสนกาลุง ไปเจียงตุงกะนาย ก็ไปเจียงฮายกาน้อง ตั๋วปี้น้อยหาบก้อง ฮื้อตั๋วน้องหาบก๋อง หาบหม้อนึ่งกะหลาหม้อตอง ยองป้อยอง บ้านสันปาตองยองข้างตลิ่ง เสเรเมา ข้าฮักนายงามเลิศล้ำ กั๋วแก้มแม่จุ๊จ้ำ น้องว่าเอากาว่าบ่อเอา เฮยนายเฮยเหน็บดอกปูเลยงามแต้งามว่า” หลับตาวาดภาพการแต่งตัวของหญิง ผ้าสีปูเลยตุ้มเกิ่งปาดเกิ่ง นึกเท่าไหร่ก็นึกภาพไม่ออก เพราะเท่าที่เห็นทุกคนใส่เสื้อมิดชิด จนได้เห็นภาพอดีตการล้านนา จึงได้รู้ว่าทั้งเงี้ยวและชาวเหนือมณฑลพายัพใช้ผ้าแถบสีไพรหุ้มอกไว้กึ่งหนึ่ง พาดไว้กึ่งหนึ่ง บางนางก็ใส่ผ้าคล้องคอห้อย ๒ ชายลงมาข้างหน้าเท่านั้น ไม่ปกปิดอะไร เพิ่งจะมาปิดมิดชิดตอนกองทัพสยามฝ่ายใต้ขึ้นมาปราบเงี้ยวเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๕ คราวนี้นี่เอง

ตามกาดมั่วตอนเช้าชาวเหนือทุกแห่ง จะเห็นลูกค้ายืนซดขนมเส้นน้ำเวี้ยวควันฉุยอย่าเอร็ดอร่อย ก็ข้องใจว่าน้ำเงี้ยวใช้อะไรเป็นกระสาย จึงได้ชื่อเช่นนั้น ตำราสุภาพสตรีแห่งชาติได้กล่าวว่า เครื่องปรุงมีมะเขือเทศชนิดเปรี้ยว กระดูกซี่โครงหมู เนื้อวัวบด เลือดเป็ด เลือดหมู ต้นหอม ผักชี พริกป่น น้ำปลา กระเทียมเจียว เครื่องน้ำพริกมี พริกแห้ง กะปิ หอม เกลือ ขมิ้นผง ถั่วเหลืองแห้ง แผ่นกลม (ถั่วเน่า) ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับเงี้ยว ส่วนน้ำพริกตำขนานแท้แบบเงี้ยว นึกภาพแม่บ้านเงี้ยวเก็บมะเขือส้มลูกเล็กกับพริกชี้ฟ้าที่ขึ้นอยู่ตามริมรั้วข้างคอกวัว ซึ่งฝนตกกระเซ็นดินมูลวัวขึ้นไปจับติดลูกและเม็ด โดยไม่ต้องล้างน้ำทำความสะอาด ใส่ครกไม้ซึ่งคว่ำไว้ข้างคอกกระบะไฟ ใส่งาปิ (กะปิ) กระเทียม พริก ถั่วเน่า มะเขือส้ม เหยาะน้ำนิด ตำเข้ากันดี ควักใส่ถ้วยคว่ำครกไว้ดั่งเดิมไม่มีการล้างครก คงจะเก็บไว้เป็นเชื้อในคราวต่อไป กระบองจ่อ เปล่า ไม่ใช่อาวุธกระบองคอยจ่อจ้องเล่นงานใคร  หากแต่เป็นชื่อขนมของโปรดของโปรดเงี้ยวชนิดหนึ่ง เป็นเผือกหั่นชิ้นเล็กทอดในน้ำมันงา

เงี้ยวเวลาโจมตีจะใช้ฆ้องตีเป็นสัญญาณแล้วตะโกนโห่ร้อง “วัดแล่ ๆ” ตีรัวเร็วขึ้นหมายถึงให้เร่งมือหนักขึ้น อย่าที่เขาพลึง ตีรัวถี่ ๆ เป็นการเร่งระดมยิงกองทหารไทยพระยาพิชัยมากยิ่งขึ้น ผลก็คือเงี้ยวตาย ๒๓ ไทย ๒ ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรุงเทพ ฯ ห้องอาวุธเลขที่ ๒๔ มีฆ้องเงี้ยวของพะก่าหม่องตั้งแสดงไว้ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใช้ตีคราวปล้นแพร่หรือลำปาง

ที่เมืองหาง เมืองเงี้ยวเล็ก ๆ เคยขึ้นกับเชียงใหม่ ต่อมาถูกยกให้อังกฤษไปพร้อมกับเมืองต่วนเองจวดเมืองทา สมัยราชกาลที่ ๕ พบเจดีย์องค์หนึ่งปรักหักพังไม่มียอด ปกคลุมไปด้วยเถาวัลย์พืชพันธุ์ไม้รกทึบหนาแน่นอยู่ริมห้วย มองไม่ออกว่าลักษณะรูปทรงเดิมเป็นอย่างไร เงี้ยวบอกว่าเป็นอนุสรณ์เจดีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชของไทย ซึ่งเสด็จมาสิ้นพระชนม์ ณ เมืองนี้ด้วยพระโรคไข้ทรพิษ เป็นปูชนียสถานสำคัญยิ่งของชาวไทยอยู่นอกดินแดนไทย นอกจากถูกปล่อยให้ชำรุกทรดโทรมผุพังไปตามกาลแวลาแล้ว ยังไม่ยอมให้มีการบูรณะซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพอันดีอีกด้วย ยิ่งเงี้ยวที่ออกไปต่อตีเพื่อเอกราชของชนกลุ่มน้อยของเขา จะไปบวงสรวงขอความมีชัย ณ ปูชนียสถานนี้ทุกครั้ง ก็ประสพชัยชนะกลับมาครั้งแล้วครั้งเล่า เมื่อเป็นเช่นนี้จึงถูกเกรดไถราบเรียบไปเสียแล้ว

คราวนี้หันมาดูทางฝ่ายไทยบ้าง พระมงคลบพิตรที่อยุธยา ต้องประทับนั่งตากแดดกรำฝนมาร่วม๒ ศตวรรษ ในท่ามกลางซากปรักพังของวิหารโล่งแจ้ง ปราศจากหลังคาและผนังกำแพง พระพาหาขวาหายไปจนถึงพระอังสกุฎ เพราะการสุมไฟเมื่อลอกทองคำองค์พระไป ไม่เหมือนพระศรีสรรเพชรญ์ซึ่งเป็นพระพุทธรูปยืนองค์ใหญ่สูง ๔๒ ฟุต หน้าตักกว้าง ๑๔ ฟุต บาทหวงเดอชัวสีชาวฝรั่งเศสบันทึกไว้ว่าหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์หนัก ๕๓,๐๐๐ ชั่ง แล้วหุ้มด้วยทองคำหนา ๓ นิ้วอีกชั้นหนึ่ง หนัก ๒๘๖ ชั่ง สร้า ๓ ปีเสร็จ ทำพิธีฉลองในแผ่นดินพระรามาธิบดีที่ ๒ จึงถูกสุมไฟลอกทองออกพินาศย่อยยับไปทั้งองค์ เหลือแต่แกนภายใน รัชกาลที่ ๑ อันเชิญแกนมากรุงเทพ แล้วทรงสร้างเจดีย์หุ้มไว้ คือพระเจดีย์สรรเพชญ์ในวัดพระเชตุพน พอถูกขอร้องให้บูรณะซ่อมแซมเพื่อลบรอยการกระทำป่าเถื่อน ฝ่ายไทยก็ดีใจหาย รีบกุลีกุจอซ่อมแซมใหม่ให้ รวมทั้งวิหารอย่างฉับพลัน เสร็จเมื่อปี ๒๕๐๐ ทำให้หมดคุณค่าทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ไปในทันที อย่างไม่มีอะไรมาทดแทนความสูญเสียนี้ได้เลย

คำนำหน้าชื่อ

พะก่า เป็นคำพม่า เป็นคำยกย่องผู้สร้าง ซ่อม บูรณะเจดีย์
หม่อง เป็นคำพม่า แปลว่า นาย
ปู่ เป็นคำเงี้ยวและต้องซู่ แปลว่า คนแก่
ส่าง เป็นคำเงี้ยวและต้องซู่ แปลว่า น้อย คือผู้ที่ได้บวชเป็นเณรแล้ว
น้อย เป็นคำเงี้ยวและคำเมือง  คือผู้ที่ได้บวชเป็นเณรแล้ว
สล่า เป็นคำเมือง แปลว่า ช่าง
หนาน เป็นคำเมือง หมายความว่าผู้ได้อุปสมบทเป็นภิกษุแล้ว
โป เป็นคำพม่า แปลว่า คนแก่ คนสูงอายุ
อี อ้าย บ่า เป็นคำเมืองและต้องซู่ ใช้เรียกชื่อบุตร

หมู่บ้านเงี้ยวเมืองบินลอง

บวชลูกแก้ว

Portrait เงี้ยวเฮดแมน

แม่หญิงและละอ่อนเงี้ยว

ตลาดเงี้ยวเืมืองยองเว

กระบองจ่อ

พระมงคลบพิตร อยุธยา ในสภาพเดิม

ค่ายไทยพระยาพิไชย

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 12 •มกราคม• 2012 เวลา 11:57 น.• )