“อันชาติใดไร้ช่างชำนาญศิลป์ เหมือนนารินไร้โฉมประโลมสง่า” ผู้เอ่ยคำนั้นออกมาเป็นชายหนุ่ม ซึ่งศึกษาอยู่ในวิทยาลัยเทคนิคแผนกอุตสาหกรรมศิลป และจากคำว่า “ช่าง” นี้เองทำให้นึกไปถึง “ช่างเอก” ในรัชสมัยพระเจ้าเมงรายมหาราช ซึ่งเป็นยุคที่ราชสำนักพระเจ้าเมงรายกำลังรุ่งเรืองด้วยเดชานุภาพอันเกรียงไกรของกษัตริย์แห่งล้านนาประเทศ พระองค์ทรงสร้างความเจริญให้แก่ล้านนาไทยเป็นอันมาก แม้จะทรงเป็นนักรบผู้แกร่งกล้า ก็มิได้ทรงหลงลืมที่จะสร้างความเจริญในด้านศิลปวิทยา ด้านศาสนา และในด้านสร้างสรรค์บ้านเมือง รวมทั้งการแสวงหาผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาการต่าง ๆ เข้ามาในบ้านเมืองเป็นจำนวนมาก

กาลครั้งหนึ่ง ทางเมืองใต้ได้ทราบข่าวความรุ่งเรืองเปรื่องปราดของราชสำนักเม็งราย ก็ใคร่ได้ทดลองให้เห็นประจักษ์ จึงได้ส่งฑูตเป็นแขกเมืองนำช่างผู้สามารถมาท้าแข่งวิชาต่อช่างชาวล้านนาไทย พระเจ้าเม็งรายก็รับสั่งให้ฑูลนำช่างผู้นั้นขึ้นมาเข้าเฝ้าตรัสถามว่า “สูเจ้ามีวิชาสิ่งใดที่จะนำมาแสดงแก่เรา”  “ข้าพเจ้าได้นำช่างผู้มีความสารถเหลาหวายยาวยี่สิบวาให้เล็กกระทั่งสนเข็มได้มาแสดงถวายพระเจ้าข้า” ว่าแล้วก็สั่งให้ช่างผู้นั้นทำการเหลาหวายถวายต่อพระพักตร์กษัตริย์แห่งล้านาไทยพระเจ้าเม็งรายได้ทอดพระเนตรแล้วก็ทรงเรียกให้นายช่างกาดโถม ช่างเอกของพระองค์เข้ามาเฝ้าแล้วเสด็จถามว่า “แน่ะ เจ้ากาดโถม ช่างเมืองใต้เขาสามารถที่จะเหหลาเส้นหวายยาวยี่สิบเส้นเล็กจนสนเข็มได้” ตัวเจ้าก็เป็นนายช่างเอก จะสามารถทำได้ดังนี้หรือไม่” นายช่างกาดโถมทูลว่า “ไหว้สาพระยาเจ้า อันชาวใต้สามารถเหลาหวายยาวยี่สิบวาสนเข็มได้ดังนี้ แม้นข้าบาทเจ้าจะเหลาให้ถึงร้อยวาก็ยังจะได้ ข้าบาทเจ้าจะขอสำแดงความรู้ความสามารถด้วยวิธีอื่น ให้แขกเมืองได้ประจักษ์แก่สายตาพระเจ้าข้า” “เจ้าจะสำแดงวิธีใดหรือเจ้ากาดโถม” พระเจ้าเม็งรายตรัสถาม “ข้าบาทจะขอสำแดงวิชาดำน้ำถากไม้ทั้งต้นให้แขกเมืองชม ขอพระยาเจ้าเชิญแขกเมืองไปดูให้เห็นประจักษ์ในวันพรุ่งนี้ ที่แม่น้ำระมิงค์ตรงสะพานกุมกามพระเจ้าข้า” พระเจ้าเม็งรายตรัสอนุญาต นายช่างกาดโถมก็ถวายบังคมลามาจัดเตรียมการอันจัดสำแดงคุณวิชาของตน โดนกระทำกลอุบายหาไม้มาท่อนหนึ้งยาวสามวา ถากแต่งไว้เรียบร้อยเกลี้ยงเกลาแล้วลอบนำเอาไปจมไว้ในแม่น้ำเหนือสะพานกุมกามแล้วห่อสะเก็ดถากออกใส่กรวยมิดชิด เอาลงไปไว้ใต้ท้องน้ำโดยไม่มีใครทราบครั้นรุ่งขึ้นถึงเวลานัดหมายพระเจ้าเมงรายก็เสร็จมาเป็นประธาน พร้อมกับเหล่าข้าราชบริพารและแขกเมืองกับนายช่างชาวใต้ มาคอยดูการแสดงถากไม้ในท้องน้ำของช่างกาดโถดก็สั่งให้ไพร่พลชักลากไม้ทั้งเปลือกต้นหนึ่งยาวสามวาลงไปในแม่น้ำตัวเองถือขวานที่ลับเอาไว้คมกริบโดดลงน้ำดำหายไปท่ามกลางสายตาผู้คนที่มาล้อมคอยดูอยู่เนืองแน่น ขณะที่สายตาของทุกๆคนกำลังรวมกันเป็นจุดเดียวที่ลำน้ำปิงอันไหลเรื่อยอยู่นั้นก็มีสะเก็ดไม้และเศษฝอยของมันลอยขึ้นมาเป็นแพแสดงว่านายช่างเอกกำลังถากไม้อยู่ใต้น้ำสักพักใหญ่ๆช่างกาดโถมก็โพล่ขึ้นจากน้ำ ตรงเข้าถวายบังคมพระเจ้าเมงรายกลราบทูลว่า บัดนี้การถากมันไดสำเร็จแล้วขอให้สั่งคนชักลากไม้นั้นขึ้นมาทอดพระเนตรเถิด พระเจ้าเมงรายได้ฟังก็สั่งให้ไพร่พลช่วยกันชักลากต้นไม้ต้นนั้นขึ้นมา ก็ปรากฏแก่สายตาของทุกๆคน รวมทั้งแขกเมืองและช่างชาวใต้ผู้นั้นว่า ไม้ต้นทั้งเปลือกยาวสามวาต้นนั้นได้รับการถากแต่งเสียจนเรียบร้อยเกลี้ยงเกลางามประชาชนชาวเมืองก็ชื่นชมยินดียิ่งนัก ฝ่ายแขกเมืองก็ทูลขออนุญาตสำแดงฝีมืออีกครั้งหนึ่ง ครั้งนี้ได้ให้ช่างผู้เหลาหวายทำการสลักเมล็ดข้าวสารเม็ดเดียวเป็นรูปช้างสองตัวชนกัน แล้วนำขึ้นถวายพระเจ้าเมงรายให้ทอดพระเนตรพระเจ้าเมงรายทอดพระเนตรแล้วก็ส่งประทานให้แก่นายช่างกาดโถมดู พร้อมกับตรัสว่า “ช่างชาวใต้เขาสลักได้อย่างนี้ เจ้ายังจะทำได้เหมือนกับเขาหรือไม่” ช่างกาดโถมก็ทูลตอบว่า “ไหว้สาพระยาเจ้า อันว่าของเล็กใช้เครื่องมือเล็กนั้นอาจทำสำเร็จได้ ไม่เรียกว่าฝีมือแท้ ข้าบาทจะขอสำแดงวิชาอีกอย่างหนึ่ง คือการใช้ขวานโกนผมต่างมีดโกน” แล้วกาดโถมก็เรียกให้ชายคนหนึ่งเข้ามาใกล้แล้วตัวเองหันไปลับขวานให้คมเสร็จแล้วก็ลงมือโกนผาคนๆนั้นด้วยขวานคู่มือสำเร็จเรียบร้อยไม่มีที่ติ แขกเมืองเห็นดังนั้นก็สรรเสริญว่าชาวเมืองนี้ฉลาดสามารถนักแล้วก็ทูลลาพระเจ้าเมงรายกลับเมืองใต้ ครั้งนี้นนายช่างกาดโถมได้รับแต่งตั้งให้เป็นหมื่นเจตรามีรับสั่งให้ไปครองเมืองรอย(คือเมืองเชียงแสน)หมื่นเจตรา หรือช่างกาดโถมก็เดินทางไปรับตำแหน่งเป็นเจ้าเมืองรอยหรือเมืองเชียงรอย ณ เมืองเชียงรอยหรือเชียงแสนอันอยู่จรดกับลำน้ำโขงนั้นนายช่างกาดโถมก็มิได้อยู่เปล่า ได้จัดแจงหาไม้มาจัดทำเครื่องวิหารคือทำเป็นชิ้นเป็นส่วนจนครบเครื่องปรุงสำเร็จบริบูรณ์แล้วก็ขนส่งมายังเมืองกุมกาม(ติดกับเชียงใหม่ปัจจุบันรวมอยู่กับเมืองเชียงใหม่)และยกเสาสร้างให้สำเร็จรูป แล้วสร้างเสนาสนารามครบบริบูรณ์ถวายแก่มหากัสปเถระเจ้าการสร้างอารามนั้นยังขาดแต่เจดีย์ พอดีมีเหตุที่พระเจ้าเมงรายมหาราชจะยกกองทัพไปยังภุกามประเทศพระองค์จึงทรงตั้งสัตยาธิษฐานปณิธานปรารถนาว่า “เดชะฯ ขอให้พระเจ้าอังวะยอมอ่อนน้อมต่อข้าพเจ้าดุจดังพระเจ้าหงสาวดีเคยอ่อนน้อมมาก่อน จะได้สร้างถวายให้เป็นศาสนสมบัติ” แล้วพระเจ้าเมงรายก็ยกกองทัพไปยังประเทศภุกาม ตั้งทัพอยู่หนอาคเนย์ทิศาภาคย์อังวะ พระเย้าอังวะทราบความก็ให้ราชบุรุษของพระองค์นำเครื่องราชบรรณาการมาต้อนรับถวายพระเจ้าเมงรายมหาราช ขอเป็นทางพระราชไมตรีพระเจ้าเมงรายก็รับไว้เมื่อทรงพบปะสังสรรค์กับพระเจ้ากรุงอังวะโดยพระราชไมตรีแล้วก็ทรงขอช่างต่างๆจากเมืองภุกามคือช่างทอง ช่องหล่อ ช่างเหล็ก และช่างอื่นๆอีก เพื่อนำไปฝึกสอนชาวลานนาไทย พระเจ้าอังวะก็โปรดประทานช่างฆ้องผู้มีฝีมือดี ๒ นาย กับช่างทอง ช่างเหล็ก และช่างอื่นๆตามที่ขอ พระเจ้าเมงรายก็เลิกทัพกลับคืนเมืองกุมกาม ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาลานนาไทยจึงเต็มไปด้วยช่วงฝีมือต่างๆมีทั้งช่างทอง ช่างตีเหล็ก ช่างหล่อ และช่างอื่นๆอีกมากมายสืบต่อมาถึงปัจจุบัน แล้วพระองค์ก็ได้ทรงสร้างเจดีย์ที่วัดกาดโถมตามที่ได้อธิฐานไว้ เจดีย์นั้นมีฐานกว้าง ๖ วา สูง ๙ วา ทำซุ้มคูหาสี่ทิศไว้พระพุทธรูปซ้อนเป็นสองชั้นชั้นล่างไว้พระพุทธรูปนั่งสี่องค์ ชั้นบนไว้พระพุทธรูปยืนหนึ่งองค์มีรูปอัครสาวกโมคคัลลาน์สารีบุตรและรูปพระอินทร์ รูปนางธรณีไว้สำหรับพระพุทธรูปด้วย พอดีในปีนั้นมีพระมหาเถระเจ้ารูปหนึ่งนำพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้ามาแต่เมืองสิงห์ถวายแก่พระเจ้าเมงรายมีพระพุทธสรีรธาตุสององค์ พระเจ้าเมงรายก้ให้บรรจุไว้ในพระเจดีย์กาดโถมองค์หนึ่งอีกองค์หนึ่งบรรจุไว้ในเมาลีพระพุทธรูปใหญ่ แล้วพระเจ้าเมงรายก็ถวายทองคำห้าร้อยแท่งฝากพระมหาเถระเจ้าไปบูชาพระศรีมหาโพธิเมืองลังกา

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•จันทร์•ที่ 05 •มีนาคม• 2012 เวลา 11:55 น.• )