“อนาถจิตคิดไปไม่ประจักษ์ ทรลักษณ์ตาทะเล้นไม่เห็นหน เดินก็ได้พูดก็ดังชั่งวิกล มามืดมนนัยน์ตาบ้าบรม” เพชรเม็ดงามของชาวแพร่ ด้วยความเป็นกวีที่มีพรสวรรค์มาตั้งแต่กำเนิด ศรีวิไจย (โข้) มีชื่อเดิมว่า “ศรีไจย” เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๐ ณ บ้านสีลอ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ เป็นบุตรคนที่ ๔ ของเจ้าน้อยเทพ และนางแก้ว เทพยศ ชาวบ้านมักจะเรียกท่านว่า ศรีวิไจยโข้ บางทีก็เรียกว่า “พ่อต๋า” ภรรยาคนแรก ชื่อ นางตุ่น มีบุตร ๒ คน ชีวิตวัยเด็ก ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรอยู่ ๔ – ๕ พรรษา ณ วัดศรีบุญเรือง จังหวัดแพร่หลังจากนั้นลาสิกขาบทออกมา แล้วได้แต่งกาพย์ธรรมะ ซึ่งพรรณนาถึงความทุกข์ของคน ชื่อว่า “กาพย์ฮ่ำตุ๊ก” แต่เดิมท่านประกอบอาชีพค้าจนกระทั้งภรรยาคนแรกเสียชีวิตลง จึงได้นำบุตรชายไปฝากพี่สาวอุปการระ ส่วนตัวเองเดินทางไปค้าขายที่จังหวัดน่าน กระทั่งล้มป่วยด้วยกามโรค จึงกลับมาอยู่จังหวัดแพร่ แล้วต่อมานัยน์ตาท่านก็บอด เมื่ออายุ ๒๕ ปีชีวิตต่อจากนั้น ท่านได้รับจ้างเขียนค่าว – ฮ่ำ อย่างเดียว แต่ปัญหาผู้ว่าจ้างท่าเขียนค่าว – ฮ่ำ ต้องนั่งจดตามคำบอก จึงทำให้ผู้อยากได้บทกวีแต่ไม่มีเวลาต้องเสียโอกาส ท่านศรีวิไจย (โข้) จึงได้ภรรยามาเป็นคู่ชีวิต คู่ทุกข์คู่ยากของท่านคนหนึ่งชื่อ “จันทร์สม” เป็นหญิงสาวที่มีรูปร่างหน้าตาไม่เลวนักและคุณสมบัติอันประเสิรฐยิ่งยากที่จะหาได้ในสตรีสมัยนั้นก็คือ จันทร์สมผู้นี้เป็นคนมีความรู้ในทางเขียนอ่านคล่องแคล่วเป็นพิเศษสามารถถ่ายทอดบทกวีที่กลั่นกรองจากสมองของท่านจอมกวีออกมาเป็นตัวอักษร ทั้งเจ้าหล่อนก็คงจะเป็นคนหนึ่งซึ่งซาบซึ้งในมธุรสพจน์ประพันธ์ของท่านกวีศรีวิไจยโข้

เหมือนอย่างที่ภรรยาของชิต บุรทัต หรือภรรยาของท่านมหากวีสุนทรภู่ได้ซาบซึ้งในผลงานอันล้ำค่าของสามี จันทร์สมได้เป็นทุกสิ่งทุกอย่างของท่านกวีศีวิชัย เป็นหูเป็นตา เป็นเลขานุการ เป็นคนรับใช้พร้อมทุกอย่าง มีอยู่ครั้งหนึ่งเจ้าหลวงเมืองแพร่ที่ชื่อเจ้าหลวงพิริยะเทพวงศ์ ซึ่งเป็นคุณปู่ของ “ยาขอบ” เจ้าหลวงพิริยะองค์นี้ได้สร้างวังหรือคุ้มขึ้นใหม่เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ให้มีการเฉลิมฉลองตามธรรมเนียมอย่างที่เจ้านายท่านฉลองตำหนักใหม่ก็มักจะมีผู้แต่งกลอนหรือโครงเฉลิมเป็นที่ระลึก เจ้าหลวงจึงได้ให้คนมาจูงเอาท่านกวีบอดไปชมคุ้มอันใหญ่โตหรูหราของพระองค์ท่านวิธีที่จะให้ท่านกวีได้ชมความวิจิตรตระการตาของคุ้มเจ้าหลวงก็คือให้คนจูงไปคลำไปอธิบายว่าที่ตรงนั้นมีลักษณะเป็นอย่างไร นัยว่าประตูทั้งหมดมีถึง ๗๒ แห่งท่านกวีก็ตั้งชื่อทั้ง ๗๒ประตูให้เพราะพริ้ง เช่น จัดจัดอ่านนับประตู๋หับสะลอกนอกใจ นับไปหมดเสี้ยง มีเจ็ดสิบสอง เหล็กลองกล๋มเกลี้ยง จดจันเจียงแซ่ไว้ ศรีวิชัยยาตั๋วข้าบาทไท้ จัดใส่วื่อตั้งตั๋วลา ประตู๋หนึ่งนั้น ชื่อชั้นคำขาเข้าแล้วออกมา งานเหลือเก่าหน้อย หมายความว่า ประตูที่หนึ่งมีชื่อว่าคำขา คือว่าประตูคำพนคุณที่บริสุทธิ์ ประตูนี้ใครเข้าไปแล้วกลับออกมาจะสวยกว่าเก่าอีกหน่อยหนึ่ง แล้ว “เหล็กลอง” หมายถึงเหล็กที่ขุดจากอำเภอลองจังหวัดแพร่เป็นเหล็กดีมากเหมือนเหล็กน้ำพี้หรืออรัญญิกของภาคกลาง และ “จดจันเจียง”แปลว่า สลักกลอนหรือลั่นดาน ประตูที่สองชื่อ “ฟองคำสร้อย” ที่สามชื่อ “เมืองชื่น” ใครปิดเปิดเข้าออกก็จะหายโรคา พยาธิ ฯ ท่านได้รางวัลจาเจ้าหลวงมากมาย เพราะเป็นที่ไพเราะถูกอกถูกใจเจ้าหลวงพิริยะอย่างที่สุด มันเป็นวรรณคดีกำลังเฟื่องฟู ท่านกวีศรีวิไจยก็ได้ทำมาหาเลี้ยงชีพด้วยขายบทกวีและรับจ้างประพันธ์กลอนต่าง ๆ ให้แก่ผู้ที่สนใจบทกลอนหรือค่าวที่มีชื่อนอกจากเรื่องชมคุ้มหลวงเมืองแพร่แล้ว ก็มี “ค่าวหงษา” ค่าวดอกเอื้อง” ซึ่งกล่าวถึงดอกไม้และกล้วยไม้ต่าง ๆ ทางเมืองเหนือกล่าวกันว่าเป็นกลอนเมืองเหนือไพเราะมาก ส่วนทายาท ๒ คน หลังจากจันทร์สมถึงแก่กรรม ท่านก็อาศัยอยู่กับลูก ๆ หลาน ๆ ต่อมาจนวาระสุดท้าย ท่านก็ถึงแก่กรรม พ.ศ. ๒๔๗๒ หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ประมาณ ๕ปี ศิริรวมอายุได้ ๘๒ปี

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 22 •เมษายน• 2012 เวลา 10:06 น.• )