วังฟ่อนดอทคอมขอบคุณ นายเอกชัย วงศ์วรกุล ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดแพร่และเจ้าหน้าที่ ที่ให้เกียรติแก่หมู่บ้านวังฟ่อนของเราครับ

ความคิดพื้นฐาน

๑. วัฒนธรรมเป็นวิถีชีวิตและวิถีการคิด และวิถีชีวิตของชุมชนประชาชนในชุมชน ท้องถิ่นแต่ละแห่งเป็นเจ้าของวัฒนธรรมของตนเอง หน่วยงานของรัฐในส่วนกลาง และ กลไกในระดับท้องถิ่นเป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนในท้องถิ่นสามารถประพฤติ ปฏิบัติตามวัฒนธรรมของตัวเองได้อย่างมีศักดิ์ศรี

๒. สภาพการดำเนินกิจกรรมทางวัฒนธรรมในท้องถิ่นแต่ละแห่งที่ผ่านมาอยู่ในสภาพ ต่างคนต่างทำตามลำพังตัวเอง ขาดการประสานงาน การร่วมมือ ตลอดขาดการรวมพลัง อย่างเป็นระบบเป็นเหตุให้ศักยภาพในการดำเนินงานวัฒนธรรมในภาพรวมไม่เข้มแข็ง เท่าที่ควรจำเป็นต้องส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการรวมตัวทางวัฒนธรรม

๓. สังคมในยุคโลกาภิวัฒน์เช่นปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างกว้างขวางและรวดเร็วมาก อิทธิพลของเทคโนโลยีการคมนาคมที่ก้าวหน้า ทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นอย่างไร้พรมแดน วัฒนธรรมจากโลกภายนอกหลั่งไหลเข้าสู่สังคมไทยอย่างรวดเร็ว และรุนแรงยิ่งขึ้นทุกวัน ประชาชนส่วนใหญ่ ตกอยู่ในภาวะสับสนการเลือกสรรกลั่นกรอง และการปรับปรนทาง วัฒนธรรมไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๔. วัฒนธรรมประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่สังคมโลกยอมรับได้มากที่สุด รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทยมีเจตนารมณ์ในการส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตรยิ์เป็นประมุขแนวคิดเรื่องการกระจายอำนาจให้ประชาชนในส่วนภูมิภาค มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และการรับผิดชอบต่อวิถีชีวิตของตัวเองเป็นภารกิจเร่งด่วน ในการบริหารราชการแผ่นดิน

๕. ทุกภูมิภาคของประเทศไทยอุดมสมบูรณ์มั่งคั่งไปด้วนทรัพยากรทางวัฒนธรรม อันล้ำค่าเป็นมรดกตกทอดสั่งสมมาจากบรรพบุรุษหลายยุคหลายสมัย เป็นสิ่งที่สร้างความ ภาคภูมิใจให้กับสังคมไทย และชาวโลกจำเป็นต้องสร้างเสริมจิตสำนึกให้ประชาชน เยาวชนคนไทยทั้งประเทศ ตระหนักในคุณค่าและร่วมมือกันบำรุงรักษามรดกทางวัฒนธรรม อันล้ำค่าไว้เป็นสมบัติประจำชาติและเป็นมรดกโลกสืบไป

๖. ท้องถิ่นแต่ละจังหวัดควรมีอิสระในการคิด และการปฏิบัติภารกิจทางวัฒนธรรม ตามความเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นของตน รัฐพึงสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดการระดม สรรพกำลังในการดำเนินงานทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น โดยท้องถิ่นและเพื่อท้องถิ่น

๗. องค์กรทางวัฒนธรรมสามารถทำหน้าที่เป็นองค์กรกลาง สำหรับคนทุกสาขาอาชีพได้ดีที่สุด เพราะวัฒนธรรมเป็นกิจกรรมร่วมกันของทุกคนในสังคมและเป็นสายใยเชื่อมโยงให้สมาชิกสังคม ทุกหมู่เหล่าเข้าเป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน

วัตถุประสงค์

๑. เพื่อให้เกิดการรวมตัวจัดตั้งองค์กรชุมชนของประชาชนในท้องถิ่น ทั้งในระดับหมู่บ้าน ตำบลอำเภอและจังหวัดเพื่อดำเนินกิจกรรมทางวัฒนธรรมให้นำไปสู่การแก้ไขปัญหา และการ พัฒนาท้องถิ่นของตัวเอง.

๒. เพื่อให้เกิดการรวมพลังระหว่างองค์กรชุมชนในท้องถิ่นต่างๆ เข้าด้วยกันในลักษณะ ของเครือข่ายเครือญาติทางวัฒนธรรมที่มีการติดต่อสื่อสารพบปะแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลตลอดจน แลกเปลี่ยนทรัพยากรต่างๆ ซึ่งกันและกันระหว่างเครือข่ายอย่างกว้างขวาง

๓. เพื่อให้เกิดการระดมสรรพกำลังในระดับจังหวัดขับเคลื่อนผลักดันการดำเนินงานวัฒนธรรม ในจังหวัดให้สามารถดำเนินงานวัฒนธรรมของท้องถิ่นได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนสืบไป

๔. เพื่อให้เกิดวัฒนธรรมประชาธิปไตยในระดับท้องถิ่นและระดับชาติให้ชุมชนท้องถิ่น เข้มแข็งและจะนำไปสู่ความมั่นคงของประเทศชาติในที่สุด

๕. เพื่อให้เกิดหน่วยงานด้านวัฒนธรรมของประชาชนในท้องถิ่นที่เชื่อมประสาน หน่วยงานภาครัฐได้อย่างใกล้ชิดและมีประสิทธิภาพ

องค์ประกอบ

สมาชิกสภาวัฒนธรรมจังหวัดมาจากตัวแทนขององค์กรดำเนินงานด้านวัฒนธรรม ที่มีอยู่ในท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งเป็นการรวมตัวขององค์กรเครื่อข่ายเครือญาติทางวัฒนธรรมในท้องถิ่น ซึ่งสรุปได้เป็น ๕ กลุ่ม เรียกว่า "เบญจภาคี" ดังต่อไปนี้

๑. องค์กรภาครัฐ ได้แก่ เทศบาล องค์กรบริหารท้องถิ่น หน่วยงานของทางราชการ และรัฐวิสาหกิจต่างๆ

๒. องค์กรเอกชน หรืออาจเรียกว่า องค์กรสาธารณประโยชน์ ได้แก่ สมาคม มูลนิธิ องค์กร สาธารณประโยชน์ องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรการกุศล สื่อมวลชน สโมสร ชมรม และ กลุ่มต่างๆ

๓. องค์กรชุมชน ได้แก่องค์กรอาชีพ องค์กรศาสนา กลุ่มอาสาสมัคร คณะกรรมการหมู่บ้าน กลุ่มสาธารณสุขมูลฐานองค์กรประชาชนในตำบลและหมู่บ้าน กลุ่มอนุรักษ์ กลุ่มพัฒนา กลุ่มพิทักษ์สิทธิประโยชน์ และการรวมตัวตามธรรมชาติในรูประบบอื่นๆ

๔. องค์กรธุรกิจ ได้แก่ บริษัท ห้างร้าน โรงแรม ศูนย์การค้า หอการค้า ธนาคาร ชมรมนักธุรกิจ สหกรณ์ และองค์กรธุรกิจรูปอื่นๆ

คุณสมบัติขององค์กรสมาชิกตลอดทั้งสัดส่วนและจำนวนสมาชิก ให้เป็นไปตามธรรมนูญ หรือระเบียบ หรือข้อบังคับของสภาวัฒนธรรมจังหวัดนั้น๕. องค์กรวิชาการ ได้แก่ สถาบันการศึกษา พิพิธภัณฑ์ ศูนย์วัฒนธรรม หอวัฒนธรรมนิทัศน์ ศิลปิน หอศิลปินแห่งชาติ ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม คนดีศรีสังคม ปราชญ์ ชาวบ้านผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการ ตลอดทั้งชาวบ้านและผู้นำกลุ่มอาชีพต่างๆ

บทบาทหน้าที่

๑. เป็นเวทีกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และแนวคิดในการดำเนินงาน วัฒนธรรมทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ

๒. ส่งเสริมและพัฒนาองค์กรดำเนินงานวัฒนธรรมท้องถิ่นให้เข้มแข็งและให้เป็นสมาชิก ของสภาที่กว้างขวางยิ่งขึ้น

๓. เป็นศูนย์กลางเครือข่ายการดำเนินงานวัฒนธรรมขององค์กรชุมชนในท้องถิ่น

๔. ระดมทรัพยากรทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน และภาคประชาชนในการดำเนินงาน วัฒนธรรมท้องถิ่น รวมทั้งสนับสนุนการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมวัฒนธรรมจังหวัด

๕. เสนอข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อคณะอนุกรรมการวัฒนธรรมจังหวัดในเรื่องโครงการ งบประมาณการจัดตั้งสมาคม - มูลนิธิ และกิจกรรมต่างๆ เพื่อดำเนินงานวัฒนธรรมของท้องถิ่น

๖. สืบสานวัฒนธรรมไทยและเจตนารมณ์ของทศวรรษโลกเพื่การพัฒนาวัฒนธรรม ของสหประชาชาติ

๗. พัฒนาวัฒนธรรมให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตในการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่ถูกต้อง และเหมาะสมต่อสภาวการณ์และต่อท้องถิ่น

๘. ดำเนินการจัดกิจกรรมด้านการอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่และพัฒนาวัฒนธรรมของท้องถิ่น

๙. ดำเนินการอื่นๆ ตามที่จังหวัด หรือคณะอนุกรรมการวัฒนธรรมจังหวัด หรือสำนักงาน คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติขอความร่วมมือ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 31 •มกราคม• 2012 เวลา 14:04 น.• )