วัดน้ำชำ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๒ โดยครูบาสุวรรณ วัดเหมืองหม้อร่วมกับครูบากันทา พ่อหลักคำ คำวงจันทร์ ผู้ใหญ่บ้าน ร่วมกับพ่อหนานกาวีคำปันปู่ และคณะศรัทธาบ้านน้ำชำได้ช่วยกันสร้างวัดเป็นอารามโครงไม้มุงด้วยหญ้าคา จนต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๓๘ จึงได้สร้างอุโบสถด้วยอิฐผสมปูนหลังคามุงด้วยกระเบื้องไม้ (แป้นเกล็ด) พ.ศ. ๒๔๘๑ ได้สร้างกุฏิเพิ่มประกอบด้วยเสาก่ออิฐผสมปูนพื้นและฝาไม้กระดานหลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา ต่อมามีผู้บูรณะและพัฒนาวัดขึ้นเป็นลำดับคือ ครูบาธรรมา พ่อขุนระบือ คำยวง กำนัน พ่อหลักวงค์ สกุลเอ๋ ผู้ใหญ่บ้าน พ่อหยัน ภัคดี และคณะศรัทธาชาวบ้านได้รื้ออุโอสถหลังเก่าและได้สร้างหลังใหม่ในวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๗ จากนั้นจึงมีบูรณะอุโบสถเปลี่ยนหลังคา ช่อฟ้าใบระกาและทาสีจนถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๒ – ปัจจุบัน พระประธานในวัดได้สร้างขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ ๙ กุมภาพันธ์ เดือน ๕ เหนือ ขึ้น ๑๕ ค่ำ พ.ศ. ๒๔๑๒ โดยครูบาสุวรรณ ปู่เงิน ปู่สม ปู่หนานไชยสาน และปู่หนานตั๋นสุคนธ์และมีการบูรณะอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันอังคารที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๑๗ วัดน้ำชำตั้งอยู่เลขที่ ๕๔ หมู่ที่ ๒ ตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๑ เขตสีมากว้าง ๑๗ เมตร ยาว ๒๐.๕๐ เมตร ประกอบพิธีผูกพัทธสีมาในปีเดียวกัน ที่ดินวัดเนื้อที่ ๓ ไร่ ๓ งาน ๕ ตารางวา

 

ลำดับเจ้าอาวาส ๑. ครูบาปัญญา (สุขกันต์) ๒. ครูบาธรรมสอน (เหมืองหม้อ) ๓. ครูธรรมมา (เหมืองหม้อ) ๔. ครูบาเปียง (เหมืองหม้อ) ๕. พระเติง (เหมืองหม้อ) ๖. พระเหรียญ อุตโม ๗. พระอธิการกรองแก้ว เขมธมฺโม ๘. พระมานิต (เหมืองหม้อ) ๙. พระชุมพล (กันทาท้าว) ๑๐. พระสุข (สุวรรณรัตน์) ๑๑. พระคำผ่อง (แก้วกันทะ) (๒๕๒๓ – ๒๕๒๕) ๑๒. พระสิงคาร (วุฒิ) (๒๕๒๗ – ๒๕๒๙) ๑๓. พระสนอง (คำปันปู่) (๒๕๒๙ – ๒๕๓๐) ๑๔. พระวิชอบ (วุฒิ) (๒๕๓๐ – ๒๕๓๔) ๑๕. พระอธิการนิมิตร ธมฺมธโร (๒๕๓๔ – ๒๕๔๑) ๑๖. พระอธิการจักร สิริธมฺโม (๒๕๔๑) ๑๗. พระอธิการสุพันธ์ พุทฺธวิริโย (๒๕๔๒ – ๒๕๔๗) ๑๘. พระวิสุทธิ์ ฐานวโร ปัจจุบัน

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 29 •ธันวาคม• 2012 เวลา 22:24 น.• )