ประวัติวัดท่าขวัญ พบหลักฐานจาลึกเป็นตัวเขียนภาษาลานนาที่ฐานพระพุทธรูปไม้ทั้ง ๔ องค์ที่อยู่คู่กับวัด เขียนว่าจุลศักราชได้ ๑๑๒๖ พ.ศ. ๒๓๗๗ ตุ๊ลุงอินต๊ะ พยาอาจหนานมหาวัน น้อยมโนอ้าย อ้ายเตียม เป็นผู้สร้างพระพุทธรูปไม้และสร้างวัดท่าข้ามนาปัง เดิมชื่อวัดข้ามนาปัง หมู่ที่ ๑ ตำบลท่าข้าม พ.ศ. ๒๔๘๑ เปลี่ยนชื่อเป็นวัดท่าขวัญที่ตั้งวัดเดิมมีเนื้อที่ตามหลักฐาน ส.ค. ๑๖ ไร่ ๓ งาน แบ่งสร้างโรงเรียน ๓ ไร่ คำเรียกขานว่าท่าข้ามคำเล่าสืบมา ๆ ว่าเป็นเส้นทางเจ้าหลวงเมืองแพร่ ใช้ติดต่อระหว่าง เมืองแพร่ เมืองสอง เมืองงาว เมืองน่าน โดยข้ามบ้านท่าข้ามยวน ส่วนคำเรียกขานที่ว่าท่าข้ามนาปังมีคำบอกเล่าว่ามีผู้คน ๒ กลุ่ม กลุ่มที่ ๑ เป็นชาวยวน กลุ่มที่ ๒ บ้านน้ำคือ บ้านศรีบุญเรือง ตำบลในเวียง ได้มาจับจองที่ดินทำนา ทำสวน ทำไร่ ทางฝั่งตะวันตกแม่น้ำยม ตรงข้ากับบ้านท่าขวัญปัจจุบันทุกปีพอถึงฤดูน้ำหลาก น้ำในแม่น้ำยมจะเอ่อท่วมที่สวนไร่นาเป็นประจำส่วนที่ติดน้ำยมตลิ่งจะพังทลายจำนวนมากทุกปี จนเกิดเป็นแอ่งน้ำซึ่งชาวบ้านเรียกว่าหนองน้ำนาปัง หรือลุ่มในปัจจุบัน ด้วยเหตุการณ์ตลิ่งพังกัดเซาะไปถึงไร่นา สวน ของชาวบ้านจำนวนมากขึ้นทุกปี จึงมีคนขานกันว่า ท่าข้ามนาปัง ปัง เป็นคำพื้นเมืองหมายถึงพัง วัตถุมงคลภายในวัด พระพุทธรูปไม้สักของเก่าคู่วัด ๔ องค์ องค์ที่ ๑ และ ๒ สร้างเมื่อจุลศักราช ๑๑๒๖ เค้าสันปี พ.ศ. ๒๓๐๗ พระปูนปั้น ๑ องค์ สร้าง พ.ศ. ๒๔๖๓ ชื่อหลวงพ่อขวัญชนะมาร พงสิงห์ ๑ องค์ อัญเชิญมาจากเมืองเชียงแสน พ.ศ. ๒๔๘๕

ลำดับเจ้าอาวาส ๑.ตุ๊หลวงอินต๊ะ ๒. ตุหลวงคำป้อ ๓. ตุหลวงเทพ ๔. ตุ๊หลวงบุญก๋า ๕.ตุหลวงฟองคำ ๖.ตุ๊หลวงสุปัด ๗.ตุ๊หลวงก๋องแก้ว ๘.พระอธิการหมื่นคัดวารี พ.ศ. ๒๔๕๐ – ๒๔๗๕ ๙. พระมูล สุมโน พ.ศ. ๒๔๗๕ – ๒๔๘๗ ๑๐. พระอธิการเขมปญฺโญ พ.ศ. ๒๔๗๘ – ๒๔๘๐ ๑๑.พระอธิการพรหม เขมจารี พ.ศ. ๒๔๘๐ – ๒๕๓๖ ๑๒. พระอธิการไกรวิทย์ ฐิตสีโล พ.ศ. ๒๕๓๖ – ปัจจุบัน

ตั้งอยู่เลขที่ ๒๙ บ้านท่าขวัญหมู่ที่ ๕ ตำบลท่าข้าม อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสูงคามสีมาเมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๔๘๑ เขตวิสูงคามสีมา กว้าง ๙ เมตร ยาว ๑๓ เมตร ประกอบพิธีผูกพัทธสีมาเมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๔๘๑ ที่ตั้งวัดเนื้อที่ ๒ ไร่ ๓ งาน ๑๕ ตารางวา มีเอกสารสิทธิ์เป็น น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๑๙๗๔ มีที่ธรณีสงฆ์ ๓ แปลง แปลงที่ ๑ ติดกับวัดตะวันตก ที่สร้างโรงเรียน ปัจจุบันมีเนื้อที่ ๒ ไร่ ๔๐ ตารางวา ไม่ได้ออกเอกสารสิทธิ์ แปลงที่ ๒ ทางทิศตะวันออกถนน มีเนื้อที่ ๓ ไร่ ๓ งาน ๘๕ ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ ๗.๙๘๘๖ เล่มที่ ๗๙๙ หน้า ๘๖ แปลงที่ ๓ ติดกับแปลงที่ ๒ เนื้อที่ ๑ ไร่ ๓ งาน ๕๙ ตารางวาโฉนดที่ดินที่ ๘๐๒๕๘ เล่มที่ ๘๐๓ หน้า ๕๘ แปลงที่ ๒ – ๓ ซื้อเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๑ เขตติดต่อของวัด ทิศตะวันออก ติดถนนสาธารณะ ทิศเหนือติดถนนสาธารณะ ทิศตะวันตะติดที่ธรณีสงฆ์ – โรงเรียน ทิศใต้ติดถนนสาธารณะ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 07 •กันยายน• 2012 เวลา 23:00 น.• )