วัดเวียงตั้ง ตั้งอยู่บ้านเวียงตั้ง หมู่ที่ ๑ ตำบลวังธง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๖ ไร่ ๑ งาน ๗๑ ตารางวา น.ส. ๓ เลขที่ ๗๙๖ วัดเวียงตั้งสร้างเมื่อ ๒๔๕๕ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๘๕ ประกอบพิธีผูกพัทธสีมาเมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน เขตวิสูงคามสีมา กว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๒๖ เมตร ที่ดินมีเนื้อที่ ๑๒ ไร่ ปัจจุบันได้ซื้อที่เพิ่มเติมด้านหลัง เพื่อปฏิบัติกิจกรรมทางพุทธศาสนา ให้ชาวบ้านเข้ามาร่วมทำกิจกรรม เขตติดต่อ ทิศตะวันออก ติดโรงเรียนเวียงตั้ง (คำวรรณชานุกุล) ทิศเหนือ ติดที่นาชาวบ้าน ทิศตะวันตก ติดป่าช้า (ฌาปนสถานบ้านเวียงตั้ง) ทิศใต้ ติดถนนทางหลางชนบท (ป่าเมต – หัวเมือง) แต่เดิมมา สภาพพื้นที่ก่อนสร้างวัดเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ มีต้นไม่นานพันธุ์ขึ้นปกคลุมโดยทั่วไป บรรดาต้นไม้ใหญ่ ๆ เหล่านั้นมีต้นเจ้าป่าต้นหนึ่งต้นผึ้งหรือต้นธง มีลำต้นสูงใหญ่ประมาณ ๘ คนโอบ ยืนต้นสง่าอยู่บนฝั่งน้ำยม ติดกับวังน้ำยมที่กว้างลึก ชาวบ้านจุงเรียกวังน้ำนี้ว่า “วังธง” กลุ่มชนที่เข้าไปตั้งถิ่นฐานกลุ่มแรกเป็นกลุ่มชนที่มาจากในเวียง นำโดยพ่ออินต๊ะ เป็นชาวบ้านเชตวัน อพยพรวมกันมา ๔ ครอบครัวและชาวบ้านหัวข่วงอีก ๔ ครอบครัว  เข้ามาบุกเบิกตั้งบ้านเรือนประมาณ พ.ศ. ๒๔๔๕ ประชาชนเรียกชื่อหมู่บ้านตั้งใหม่นี้ว่า “บ้านเวียงตั้ง”

หมายความว่า เป็นหมู่บ้านที่ชาวในเวียงมาตั้ง เมื่อมีประชาชนเข้ามาอยู่อาศัยรวมกันมากขึ้น หัวหน้าหมู่บ้านจึงนำประชาชนสร้างวัดขึ้นเป็นแห่งแรก ตรงที่ตั้งสถานีอนามัยในปัจจุบัน มีชื่อว่า วัดสุเทพดอนใจ ต่อมาเห็นว่าวัดตั้งอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำเกินไปเกรงอันตรายจากกระแสน้ำกัดเซาะเข้ามาถึง พ่ออินต๊ะจึงนำชาวบ้านย้ายวัดมาสร้างใหม่ ณ สถานที่ตั้งวัดในปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๕ และตั้งชื่อวัดใหม่ตามชื่อหมู่บ้านว่า “วัดเวียงตั้ง” ลุถึง ๒๔๙๘ จึงสร้างวิหารขึ้นเป็นหลังแรกด้วยไม้สักทองหลังคามุงด้วยแป้นเกล็ด แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๗ และทำการฉลองเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๐ ล่วงมาอีก ๒๐ ปี จึงรื้อวิหารหลังแรก เริ่มสร้างวิหารหลังที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ แล้วเสร็จทำการฉลองใน พ.ศ. ๒๕๑๕ ล่วงมาอีก ๒๕ ปี จึงสร้างอุโบสถหลังที่ ๓ (หลังปัจจุบัน) เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๐ จนแล้วเสร็จและทำการฉลองในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ สิ้นงบประมาณในการก่อสร้างทั้งสิ้น ๕,๒๙๗,๑๕๖ บาท

ลำดับเจ้าอาวาส ๑. พระอธิการสุทธ ๒. พระอธิการผัด (แก้วมณีบุตร) ๓. พระอธิการสาวรส ธีรธมโม ๕ พระอธิการนิล (ธงสิบสอง) ๖. พระอธิการโต (ธงสิบสอง) ๗. พระอธิการประดิษฐ ฐิตสจโจ (คำวรรณ)

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 30 •สิงหาคม• 2012 เวลา 21:34 น.• )