ประวัติของบ้านวังหงส์นั้นไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดเป็นลายลักษณ์อักษรของการตั้งหมู่บ้านเป็นตำนานสืบสานเล่าต่อกันมาว่า บ้านวังหงส์ตั้งขึ้นมาก่อน พ.ศ.๒๔๔๐มีอายุถึงปัจจุบัน ๒๐๐กว่าปี ราษฎรที่อาศัย      ที่ตั้งหลักฐานดั้งเดิม ซึ่งเป็บรรพบุรุษของชาวตำบลวังหงษ์ ตามประวัติอพยพมาจากบ้านน้ำคือ บ้านเชตะวัน บ้านประตูมาร ตำบลในเวียงอำเภอเมือง จังหวัดแพร่ โดยมาประกอบอาชีพทำไร่ข้าวโพด ปลูกข้าวและพืชไร่อื่น ๆ ในพื้นที่ใกล้กับหนองน้ำซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ มีน้ำใสสะอาด และลึกมาก เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วังน้ำลึก หนองน้ำดังกล่าวเกิดจากการเปลี่ยนทิศทางของแม่น้ำยม ในหนองน้ำมีสัตว์นานาชนิดอาศัยอยู่มากมาย บริเวณรอบ ๆ หนองน้ำมีป่าไม้ขนาดใหญ่นานาชนิดขึ้นหนาแน่นเขียวชะอุ่มอยู่ตลอดปี ในสมัยก่อนหมู่บ้านแห่งนี้ยังไม่มีนามบ้าน และยังไม่ได้จัดตั้งเป็นหมู่บ้านและตำบลเช่นทุกวันนี้ อยู่มาวันหนึ่งมีหงษ์ขาวบริสุทธิ์รูปร่างสวยงามมาก จำนวนสองตัว ตัวผู้กับตัวเมีย พากันบินลงมาเล่นน้ำอย่างสนุกสนาน แล้วจึงบินลับไป ซึ่งเป็นภาพที่มหัศจรรย์ที่ชาวบ้านไม่เคยพบเห็นมาก่อน จึงปรึกษากันว่าจะตั้งชื่อหนองน้ำนี้ว่า "หนองหงษ์" และตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านหนองหงษ์"

ชื่อหมู่บ้านจึงปรากฏตั้งแต่นั้นมา จนต่อมา พ.ศ. ๒๔๔๐พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ได้โปรดเกล้าให้ตราพระราชบัญญัติการปกครองท้องที่ออกเป็นหมู่บ้าน ตำบล และจังหวัด เป็นผู้รับผิดชอบในเขตปกครองของตน จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น "บ้านวังหงษ์" มาจนทุกวันนี้

เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๙ แม่น้ำยมได้เปลี่ยนทิศทางเดินกลับมายังหนองน้ำแห่งนี้อีก ทำให้หนองน้ำกลายเป็นลำน้ำยม จนมา พ.ศ. ๒๕๑๘แม่น้ำยมได้เปลี่ยนทิศทางเดินกลับไปยังที่เดิมอีกครั้งหนึ่ง จึงทำให้หนองหงษ์กลับเป็นหนองน้ำอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งต่อมาเกิดการตื้นเขิน และประชาชนได้จับจองเป็นที่ทำกิน ปลูกไร่ข้าวโพด และถั่วลิสง ต่อมากรมการพัฒนาที่ดิน ได้จัดสรรงบประมาณพัฒนาแหล่งน้ำบริเวณหนองหงษ์ ให้กลับมาเป็นหนองหงษ์คู่กับบ้านวังหงษ์อีกครั้งหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๓จึงทำให้มีบริเวณหนองหงษ์สวยงามร่มรื่น คู่บ้านวังหงษ์สืบไป  บริเวณหนองหงษ์ในปัจจุบันได้รับการพัฒนาเป็นแหล่งน้ำ แต่ยังมีต้นไมยราพยักษ์ปกคลุมอยู่ ณ บริเวณบนฝั่งใกล้ ๆ กับหนองหงษ์มีอนุสาวรีย์หงษ์คู่ประดิษฐานอยู่ในศาลาอันสวยงาม เดิมมีผู้สร้างอนุสาวรีย์หงษ์ขึ้นโดยไม่ทราบ

ผู้สร้าง และปีที่สร้าง เป็นรูปปูนปั้นหงษ์สองตัว มีลักษณะคล้าย ๆ อานม้า ประดิษฐานอยู่บนเสาคอนกรีตเสาละ ๑ ตัว ต่อมาชำรุดตามกาลเวลา และมีสล่านนท์ จันต๊ะสงคราม ได้ปั้นรูปหงษ์คู่ใหม่โดยติดตั้งไว้คู่กับของเดิม หันหน้าไปทางทิศตะวันออกทำท่าจ้องมองไปยังหนองหงษ์

ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๒๕ประชาชนชาววังหงษ์ได้เห็นความสำคัญอนุสารีย์หงษ์ ซึ่งเป็นสัญญลักษณ์ของหมู่บ้าน จึงได้จัดสร้างศาลาอนุสาวรีย์หงษ์ และได้ปั้นรูปหงษ์คู่ขึ้นมาใหม่อีก ๑คู่ ประดิษฐานไว้ในศาลา และนำของเดิมประดิษฐานไว้คู่กับหงษ์ที่สร้างขึ้นมาใหม่ เกี่ยวกับอนุสาวรีย์หงษ์คู่นี้ ผู้เฒ่าผู้แก่เคยเล่าว่า เมื่อก่อนยังไม่มีพิธีบวงสรวงหงษ์คู่นั้น ชาวบ้านจะอยู่ไม่เป็นสุข และมักมีเหตุเภทภัยต่าง ๆ เกิดขึ้นเสมอ พอได้สร้างหงษ์คู่นี้แล้ว และมีพิธีบวงสรวงในวันปากปีของทุกปี (วันที่ ๑๖เมษายน ของทุกปี) ชาวบ้านจึงอยู่ร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา ชาววังหงษ์จึงถือเป็นประเพณีทุกปี โดยจัดให้มีประเพณีดำหัวหงษ์ ในวันที่ ๑๖เมษายน ของทุกปีจนถึงปัจจุบัน เพื่อความผาสุกของชาววังหงส์สืบไป

การใช้นามสกุล “หงส์ และ “หงส์” การใช้นามสกุลของราษฎรส่วนมากของตำบลวังหงส์  อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่จะมีการใช้นามสกุล “หงส์” หรือ “หงษ์” นำหน้าและต่อท้ายหรือใช้ผสมคำอื่นๆ   นามสกุลที่มีมากมาจากคำว่า “หงส์” และ “หงส์” ในตำบลวังหงส์ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ รวบรวมทั้งหมดคงเหลือจำนวน ๔๘ ตระกูลหงส์ นามสกุลที่ขึ้นต้นด้วยหงส์และลงท้ายด้วย (ส,ษ) นับมีจำนวน ๒๐ ตระกูลหงส์ หงส์หนึ่ง , หงส์สอง , หงษ์สอง , หงส์สาม , หงส์สี่ , หงษ์สี่ , หงส์ห้า , หงษ์ห้า , หงส์เจ็ด , หงส์แปด ,หงษ์แปด ,หงส์สิบสอง , หงส์สิบสาม , หงษ์สิบสาม , หงส์สิบเจ็ด , หงส์สิบแปด , หงษ์สิบแปด , หงส์สิบเก้า , หงษ์สิบเก้า,หงส์ยี่สิบ , หงส์ยี่สิบเอ็ด , หงส์ยี่สิบสี่ , หงษ์ยี่สิบสี่ , หงส์ยี่สิบเจ็ด , หงษ์ยี่สิบเจ็ด , หงส์สามสิบห้า , หงษ์สามสิบห้า , หงส์สามสิบหก , หงษ์สามสิบหก , หงส์สามสิบเจ็ด , หงษ์สามสิบเจ็ด , หงส์สามสิบเก้า , หงษ์สามสิบเก้า

แต่เดิมมีนามสกุล ๓๙ หงส์  ปัจจุบันได้สูญหายไปเพราะไม่มีใครสืบสกุลและย้ายไปอยู่ที่อื่น  นามสกุล ที่ขี้นต้นด้วยหงส์และลงท้ายคำอื่นมี ๑๘ ตระกูล เช่น หงส์อ้าย , หงษ์อ้าย , หงส์แก้ว , หงษ์แก้ว ,  หงส์เจริญ ,         หงส์จำเริญ , หงษ์ใจ , หงษ์สุ่ม , หงส์ทอง , หงษ์บินโบก , หงษ์ยศ , หงษ์รัตนะ , หงษ์ลออ , หงษ์วงค์ , หงส์สิริชาติ ,   หงษ์สินสี , หงส์แสง ,   หงษ์แสง , หงษ์หิริญ , หงษ์หิน , หงษ์เหา เป็นต้น นามสกุลที่ขึ้นด้วยคำอื่นและลงท้ายด้วย “หงส์” มี ๙ ตระกูล เช่น โยหงส์ , โยหงษ์ , ระหงส์ , ระหงษ์ ,ละหงส์ , มวลวรรณหงส์ , เรียนละหงษ์ , เรือนละหงษ์ , เรียนหงส์ , สืบหงส์ , สุวรรณหงส์ , สุวรรณหงษ์ , กันทะหงษ์ ,กันทะหงษ์ , คันทะหงส์ , ปราบหงส์ , ปราบหงษ์

นามสกุลที่ขึ้นต้นและลงท้ายด้วยคำอื่นที่ผสมด้วยคำว่าหงส์มี ๑ ตระกูล คือ วงศ์หงส์เงิน  ผู้ที่อาศัยอยู่ต่างถิ่นที่มีนามสกุลหงส์ , หงษ์ ซึ่งเป็นเชื้อสายของบ้านวังหงส์ยังมีอีกมาก   แต่ในตำบลวังหงส์ไม่มี เช่น หงส์หก ,      หงส์เก้า , หงส์สิบเอ็ด , หงส์สิบหก , หงษ์ต่ำเตี้ย , หงส์พิทักษ์ชน ราษฎรมักจะเรียกตระกูลที่ใหญ่ที่สุด คือ “ปราบหงส์” เพราะนามสกุลนี้ราษฎรจะมีมากในหมู่บ้านนี้

ตำนานหงส์ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดเป็นลายลักษณ์อักษรของการตั้งหมู่บ้าน  ซึ่งเป็นตำนานเล่าขานสืบต่อกันมาว่า “บ้านวังหงส์”  ตั้งขึ้นมาก่อน พ.ศ.๒๔๔๐ มีอายุนับถึงปัจจุบันกว่า ๒๐๐ ปี บรรพบุรุษของชาววังหงส์ตามประวัติการเล่าขานเป็นผู้อพยพมาจาก บ้านน้ำคือ บ้านเชตะวัน และบ้านประตูมาร ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่  จังหวัดแพร่ โดยมาทำมาหากินทำไร่ข้าวโพด ปลูกข้าวและพืชไร่อื่นๆในพื้นที่ใกล้หนองน้ำ  ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านโดยเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่  น้ำใสสะอาดและลึกมาทำให้ชาวบ้านจึงเรียกหนองน้ำนี้ว่า “วังน้ำลึก” หนองแห่งนี้เกิดจาการเปลี่ยนทางเดินของลำน้ำแม่ยม   บริเวณรอบหนองมีป่าขนาดใหญ่นานาชนิดขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นทำให้เขียวชอุ่มตลอดปี   ทำให้มีสัตว์นานาชนิดอาศัยอยู่  อยู่มาวันหนึ่งได้เกิดสิ่งมหัศจรรย์ คือ มีหงส์สีขาวบริสุทธิ์รูปร่างสวยงามจำนวนสองตัวเป็นตัวผู้และตัวเมียบินลงมาเล่นน้ำอย่างสนุกสนุนแล้วบินกลับไป   ซึ่งเป็นภาพมหัศจรรย์ที่ชาวบ้านไม่เคยพบเห็นมาก่อนจึงได้ปรึกษาหารือกันว่าจะตั้งชื่อหนองน้ำนี้ว่า “หนองหงส์” และตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านหนองหงส์”  ชื่อหมู่บ้านจึงปรากฏตั้งแต่นั้นมา  ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๐

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ ๕ ได้โปรดเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัติการปกครองท้องที่ออกเป็นหมู่บ้าน ตำบล และจังหวัด ผู้ที่รับผิดชอบในเขตการปกครองของตนจึงได้มีการเปลี่ยนชื่อ       บ้านหนองหงส์มาเป็น “บ้านวังหงส์” มาจนทุกวันนี้ (สันนิษฐานว่าเกิดจากการนำคำว่า “วังน้ำลึก”และ “หนองหงส์”มารวมกัน) ต่อมาประมาณ พ.ศ.๒๒๔๗๙ ลำน้ำแม่ยมได้เปลี่ยนทางเดินกลับมาที่หนองน้ำแห่งนี้อีกครั้งทำให้หนองน้ำกลายเป็นลำน้ำแม่ยม   จนกระทั่ง พ.ศ.๒๕๑๘  ลำน้ำแม่ยมได้เปลี่ยนไปทิศทางเดิมอีกครั้ง  ต่อมากรมการพัฒนาที่ดินได้จัดสรรงบประมาณพัฒนาแหล่งน้ำบริเวณหนองหงส์ขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ.๒๕๔๓  ทำให้บริเวณนี้เป็นที่ร่มรื่นและเป็น  แหล่งธรรมชาติแต่ก่อนบริเวณบนฝั่งมีรูปปั้นหงส์สองตัวตั้งอยู่บนเสาคอนกรีตซึ่งมีรูปร่างสวยงาม  มีพ่อสล่านนท์      จันต๊ะสงคราม  เป็นผู้ปั้น  ต่อมาเกิดการชำรุดตามกาลเวลา  โดยมีพ่อกี  ตื้อยศ และครูวรเดช ตื้อยศ เป็นผู้ปั้น  เพื่อเป็นสัญญลักษณ์และสิ่งศักดิ์ที่เคารพบูชาของชาววังหงส์และในทุกวันที่ ๑๖ เมษายน ของทุกปีมีพิธีบรวงสรวงและดำหัวหงส์เพื่อให้ราษฎรอยู่เย็นเป็นสุขและเป็นประเพณีสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน

ที่ตั้งและอาณาเขต ตำบลวังหงษ์ตั้งอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำยม ห่างจากตัวจังหวัดแพร่ ประมาณ ๑๕ กิโลเมตร

ทิศเหนือ ติดต่อกับบ้านย่านยาว ตำบลน้ำรัด อำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่

ทิศใต้ ติดต่อกับบ้านไผ่ล้อม ตำบลท่าขวัญ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

ทิศตะวันออก ติดต่อกับแม่น้ำยม และบ้านสันป่าสัก ตำบลแม่คำมี อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลเวียงต้า อำเภอลอง จังหวัดแพร่

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 22 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 16:01 น.• )