ด้วยชมรมพ่อค้า – แม่ค้า อำเภอวังชิ้น     ได้รับมอบหมายจากนายกสุพจน์  ยานะผูก นายกเทศบาลตำบลวังชิ้น ให้ไปสืบค้นประวัติศาสตร์เกี่ยวกับอำเภอวังชิ้น ว่าประวัติความเป็นมาเช่นไรในอดีตที่ผ่านมาทางชมรมฯคือ คุณนพดล  ฟองกันทา ประธานชมรม พร้อมด้วยครูเชษฐ์  วังใน  จึงเริ่มศึกษาสืบค้นหาข้อมูลจากตำราและผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ตลอดถึงผู้สูงอายุในอำเภอวังชิ้น  โดยเฉพาะผู้สูงอายุในหมู่บ้านนาเวียง,บ้านใหม่ บ้านใหม่กลางและบ้านนาใหม่ ซึ่งอยู่ในเทศบาลฯ  ใช้เวลาสืบค้นหาข้อมูลนานพอสมควรจึงแน่ใจและมั่นใจพร้อมที่จะพาท่านทั้งหลายที่สนใจอดีตของ “วังชิ้น”  ย้อนรอยสู่รากเหง้า......ดังต่อไปนี้  อำเภอวังชิ้นในอดีต เมื่อ ๗๐๐ปีที่ผ่านมา เคยเป็นเมืองร่วมสมัยกับเมืองศรีสัชนาลัยซึ่งห่างกันเพียง ๕๖ กิโลเมตรเท่านั้นและกรุงสุโขทัยอดีตเมืองหลวงของไทยในยุคเริ่มต้น  ทั้งสองเมืองดังกล่าวตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำยมสายเดียวกัน โดยในตอนนั้นอำเภอวังชิ้นมีชื่อว่า “เมืองตรอกสลอบ” ปกครองโดยเจ้าเมืองในตำแหน่ง  “ท่านขุน” ตามหลักศิลาจารึกหลักที่ ๑๐๗ หรือหลักที่ พร.๑ จังหวัดแพร่ เมืองตรอกสลอบจะเป็นเมืองที่ปกครองตนเองโดยอิสระหรือว่าเป็นเมืองหน้าด่านของเมืองศรีสัชนาลัยไม่ทราบได้เพราะไม่มีปรากฏไว้ในศิลาจารึกวัดบางสนุก  เรื่องราวที่จารึกลงบนแผ่นศิลาซึ่งทำมาจากหินดานสีดำรูปใบเสมา  แต่ได้ชำรุดขาดหายไปเป็นบางส่วน  ข้อความที่จารึกลงบนแผ่นหินดินดานสีดำนี้มีทั้งหมดด้วยกันจำนวน ๒๙ บรรทัด  ปัจจุบันจารึกวัดบางสนุกได้เป็นสมบัติของชาติตามทะเบียนจารึกวัตถุ พร.๑ อักษรไทยสุโขทัย วัตถุที่จารึกคือหินดินดานลักษณะวัตถุเป็นแผ่นรูปใบเสมา  กว้าง ๒๘ เซนติเมตร  สูง ๕๒ เซนติเมตร หนา ๖ เซนติเมตร ค้นพบเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๔ ผู้ค้นพบคือ ท่านพระครูอดุลย์  รัตนญาณ เจ้าอาวาสวัดบางสนุก จังหวัดแพร่  สถานที่พบไม่ปรากฏหลักฐาน  ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ ณ อาคารหอพระสมุดวชิรญาณ หอสมุดแห่งชาติกรุงเทพมหานคร  ศิลาจารึกนี้ท่านพระครูอดุลย์ รัตนญาณ เจ้าอาวาสวัดบางสนุกและเจ้าคณะอำเภอวังชิ้น(ขณะนั้นยังเป็นกิ่งอำเภอ) จังหวัดแพร่  นำไปมอบให้กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๔ ศิลาจารึกวัดบางสนุกนับว่าเป็นเอกสารชิ้นสำคัญที่บ่งบอกหลักฐานเกี่ยวกับอักษรไทยสุโขทัย รูปลักษณะอักษรที่ปรากฏในศิลาจารึกส่วนใหญ่มีรูปแบบลักษณะแบบเดียวกับรูปอักษรในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง

ข้อความที่จารึก คำขึ้นต้นของจารึกคำขึ้นต้นของจารึกเป็นภาษาบาลีและภาษาไทยเป็นคำกล่าวนมัสการพระรัตนตรัย  ต่อจากนั้นได้กล่าวถึง เจ้าเมืองตรอกสลอบได้ชักชวนบรรดาลูกขุนมูลนายไพร่ไทย  ตลอดทั้งชาวแม่ชาวเจ้าทั้งหลายสร้างพระพุทธรูปด้วยเหียก(ดีบุก) ด้วยดิน และยังได้กล่าวถึงการบำเพ็ญกุศลอื่นๆอีก  ฉะนั้นจึงมั่นใจและแน่ใจว่า “อำเภอวังชิ้น” คือ “เมืองตรอกสลอบ” เมื่อ ๗๐๐ ปีที่ผ่านมา ยิ่งมีหลักฐานอื่นๆยังคงปรากฏให้เห็นเป็นประจักษ์พยาน  อาทิ เช่น พระธาตุ พระพิมพ์ ,คูเมือง,กำแพงเมือง(ปัจจุบันถูกทำลายไปเสียแล้ว),หม้อไหที่ขุดพบรอบๆบริเวณวัดบางสนุก,ศิลาแลงที่เคยนำมาสร้างพระธาตุ พระพิมพ์องค์เดิมในบริเวณวัดบางสนุกและหลักฐานชิ้นสำคัญอีกชิ้นหนึ่งที่เก็บรักษาไว้ที่วัดนั่นคือ “ศิลาจารึก” ชิ้นที่๒ กล่าวถึงพันสุริยนทำบอกไฟดอก เพื่อนำไปเฉลิมฉลองงานบุญที่กล่าวไว้ในศิลาจารึกวัดบางสนุกหลักที่ พร.๑ พร้อมกับพูดถึงเรื่องสร้างพระโดยมีข้อความว่า “พระทั้งนั้น”จารึกที่หักบิ่นไปข้อความไม่สมบูรณ์คงเหลือไว้แค่ขนาดใหญ่กว่าฝ่ามือเล็กน้อยซึ่งจารึกที่ทำด้วยหินดินเช่นเดียวกัน  แต่ท่านพระครูอดุลย์  รัตนญาณ ไม่ได้นำไปมอบให้ทางการคาดว่าพระคุณท่านเห็นว่าข้อความไม่มาและเป็นจารึกที่หักบิ่นมีตัวจารึกไม่กี่คำจึงเก็บรักษาไว้ที่วัดจนถึงปัจจุบันเอกสารหลักฐานต่างๆที่ทางชมรมพ่อค้าได้ค้นพบนี้ คุณนพดล ได้ทำรายงานเสนอให้ทางเทศบาลตำบลวังชิ้นรับทราบ  ท่านนายกสุพจน์  ยานะผูกได้มองเห็นความสำคัญจึงมีบัญชาให้คุณนพดลทำหนังสือไปทางกรมศิลปากรเพื่อขออนุญาตจำลองหลักศิลาจารึกวัดบางสนุกในนามของเทศบาลตำบลวังชิ้นเพื่อนำมาติดตั้งไว้ที่หลักเมืองซึ่งโครงการสร้างขึ้น ณ บริเวณหน้าวัดบางสนุก  เพื่อเป็นประจักษ์พยานว่า “อำเภอวังชิ้น คือ เมืองเก่าที่ชื่อว่า เมืองตรอกสลอบ”

ทางกรมศิลปากรมีหนังสือแล้วอนุญาตให้จำลองหลักศิลาจารึกได้ตามที่ร้องขอไปพร้อมอบหมายให้ชมรมพ่อค้า-แม่ค้า อำเภอวังชิ้นไปดำเนินการหาแหล่งหล่อแบบจำลองต่อไปแล้วคณะผู้ดำเนินการทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน  หวังใจว่าคงได้รับแรงสนับสนุนส่งเสริมเพื่อความเจริญของอำเภอวังชิ้นในฐานะเมืองเก่าแก่และประกาศให้คนทั่วไปได้รับรู้รับทราบว่า “อำเภอวังชิ้น” มิใช่เมืองกันดารหากแต่เป็นเมืองเก่าในประวัติศาสตร์ชาติไทยที่น่าภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง

...ย้อนรอยสู่รากเหง้าอำเภอวังชิ้น ... โดย..ครูเชษฐ์

“อำเภอวังชิ้น”... เป็น ๑ ในจำนวน ๘ อำเภอที่อยู่ภายใต้การปกครองของจังหวัดแพร่ มีระยะทางห่างจากศาลากลางจังหวัดแพร่ ประมาณ ๗๖ – ๗๗ กิโลเมตร ตามเส้นทางวังชิ้น – แพร่ โดยผ่านอำเภอลองเข้าสู่ตัวเมืองแพร่ ปัจจุบัน นายชัชพงศ์ เอมะสุวรรณ  ดำรงตำแหน่งนายอำเภอวังชิ้น เมื่อวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๕๐ ซึ่งมีคติพจน์ในการทำงานว่า “ใฝ่รู้สู้งาน ประสานร่วมมือ ซื่อสัตย์ ประหยัด อดทน”

อำเภอวังชิ้น เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๔๘๑ ทางราชการประกาศตั้งให้วังชิ้นเป็น “กิ่งอำเภอวังชิ้น” ขึ้นอยู่ภายใต้การปกครองของอำเภอลองจังหวัดแพร่ โดยขุนอำนวย อนุธรรม ปลัดอำเภอได้รับการพิจารณาแต่งตั้งให้ ดำรงตำแหน่ง เป็นหัวหน้ากิ่งอำเภอวังชิ้น เป็นท่านแรก ต่อมา...  เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๐๑ ได้มีพระราชกฤษฎีกาประกาศยกฐานะจากกิ่งอำเภอขึ้นเป็น “อำเภอวังชิ้น” โดยมีนายดุสิต ทรงประศาสน์ ดำรงตำแหน่งนายอำเภอวังชิ้น เป็นท่านแรกของอำเภอวังชิ้น

ย้อนรอยสู่รากเหง้า “อำเภอวังชิ้น” เดิมอำเภอวังชิ้นเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ตั้งอยู่บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำยม ขึ้นอยู่กับอำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ตามประวัติเล่าสืบต่อกันมาว่า ...บริเวณที่มีแม่น้ำยมไหลผ่านหมู่บ้านนั้นมีแอ่งน้ำและน้ำลึกมากชาวบ้านเรียกว่า “วัง” โดยใกล้ ๆ บริเวณวังน้ำนี้มีดินหินผาที่มีรสเค็ม ซึ่งชาวบ้านเรียกบริเวณนี้ว่า “ดินโป่ง” เป็นที่ชื่นชอบของบรรดาสัตว์ป่านานาชนิด ในฤดูแล้งน้ำในแม่น้ำยมจะแห้งขอด แต่ที่วังแห่งนี้ยังคงมีน้ำอยู่ตลอดปี บรรดาสัตว์ป่านานาชนิด อีเห็นกระรอก ฯลฯ ต่างมาชุมนุมกันเต็มบริเวณวังน้ำแห่งนี้ โดยเฉพาะเนินผาวัวป่า ชอบมาเลียผากินโป่งที่มีรสเค็มกันมาก ผาแห่งนี้จึงได้ชื่อว่า “ผาวัวเลีย” ชาวบ้านเลยเรียกชื่อหมู่บ้านบริเวณนี้ว่า “บ้านผาวัวเลีย”  และดังได้กล่าวมาแต่ต้นแล้วว่าบริเวณนี้มีสัตว์ชุกชุมนานาชนิดจึงทำให้นายพรานนักล่าสัตว์ทั้งหลายเดินทางมาล่าสัตว์ในบริเวณนี้ เมื่อยิงสัตว์ หรือดักสัตว์ได้มาแล้ว ก็จะทำการแล่เนื้อสัตว์ ณ บริเวณ “วังน้ำ” แห่งนี้ เป็นประจำ ซึ่งคำว่า “เนื้อ” นั้น ภาษาพื้นเมืองเรียกว่า “จิ้น” ดังนั้น ชาวบ้านเรียก  บริเวณนี้ว่า “วังจิ้น” หรือ “วังชิ้น” ต่อมามีผู้คน อพยพมาตั้งบ้านเรือนหนาแน่นขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นชุมชนใหญ่ ทางราชการจึงได้ตั้งขึ้นเป็นหมู่บ้าน และยกฐานะขึ้นเป็นตำบลในเวลาต่อมา โดยมีชื่อว่า “ตำบลวังชิ้น” ขึ้นตรงต่อ อ.แม่ทะจังหวัดลำปาง จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ได้โอนมาขึ้น กับอำเภอลองจังหวัดแพร่ เพราะเหตุว่ามีสภาพภูมิศาสตร์ใกล้เคียงกัน ติดต่อไปมาหาสู่กันได้สะดวกและง่าย จนกระทั่ง ถึงปี พ.ศ. ๒๔๘๑  ได้ยกฐานะจากตำบลวังชิ้นเป็น “กิ่งอำเภอวังชิ้น” ขึ้นตรงต่ออำเภอลองจังหวัดแพร่ และเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๑  ได้ยกฐานะจากกิ่งอำเภอมาเป็น “อำเภอวังชิ้น” จนกระทั่งทุกวันนี้ “หมู่บ้านผาวัวเลีย” จึงเปลี่ยนชื่อเป็น “หมู่บ้านวังชิ้น” ไปตามชื่อของอำเภอที่ทางราชการประกาศ เป็น “กิ่งอำเภอ” และเลื่อนฐานะเป็น “อำเภอ” ที่เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปในปัจจุบันนี้ ตอนที่ได้รับการประกาศให้มีฐานะเป็นกิ่งอำเภอนั้นได้มีการปลูกสร้างสถานที่ทำงานขึ้นที่บ้านวังชิ้น หมู่ ๒ ต. วังชิ้น โดยสร้างที่ทำการในบริเวณโรงเรียน บ้านวังชิ้น จนได้เลื่อนขึ้นเป็นอำเภอวังชิ้น จึงได้ย้ายสถานที่ทำงานมาสร้างขึ้นใหม่ ณ บริเวณที่เป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอวังชิ้นในปัจจุบันนี้ นั่นเอง ซึ่งอยู่ติดกับลำน้ำยมฝั่งขวา (อยู่ในเขตหมู่บ้านนาเวียง หมู่ที่ ๗ ต.วังชิ้น)

พบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญ

ก่อนที่เราจะทราบว่าวังชิ้น ณ ปัจจุบันนี้ในอดีตนั้นมีรากเหง้าที่ลึกซึ้ง และสำคัญยิ่งต่อพี่น้องชาววังชิ้น ทำให้พวกเราชาววังชิ้น หรือผาวัวเลีย ในอดีต ทั้งหลายเกิดความภาคภูมิใจในถิ่นกำเนิดของตนเองนั้น เพราะว่าลูกชาย ของครูเชษฐ์ คือ “ดร.ชินพงศ์ วังใน” ได้รับทุนไปศึกษาต่อปริญญาเอก   ณ   มหาวิทยาลัยควีนแลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ได้พบบทความเกี่ยวกับการประชุมวิชาการเรื่อง “องค์ความรู้ด้านล้านนาคดี” สถาบันวิจัยสังคมมหาวิทยาลัย เชียงใหม่ จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๔๐ โดย ดร.ฮันส์ เพนท์ บรรยายเรื่อง “จารึกวัดบางสนุก” ประกอบบทความในเอกสาร” เดอะเดทออฟเดอะวัดบางสนุกอินสตัคชั่น” มีข้อความพร้อมภาพศิลาจารึกวัดบางสนุก ส่งมาให้ครูเชษฐ์ เมื่อผมอ่านและดูภาพศิลาจารึก แล้ว เห็นว่าเป็นเรื่องที่ควรประกาศให้ชาววังชิ้นได้รับทราบโดยทั่วกัน จึงเล็งไปที่อาจารย์สุวิทย์ ตันตื้อ เพราะท่านได้เป็น คณะกรรมการวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ และเป็นประธานวัฒนธรรมตำบลวังชิ้นด้วย น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้โดยตรง จึงถ่ายเอกสารทั้งหมดมอบให้ท่านอาจารย์สุวิทย์  จากนั้นเรื่องก็เงียบหายไป จนกระทั่งสงกรานต์ ปี ๒๕๔๙ ชมรมพ่อค้า – แม่ค้าอำเภอวังชิ้น ได้รับมอบหมายให้จัดขบวนแห่นางสงกรานต์ โดยมุ่งเน้นไปทางประเพณีโบราณ คุณนพดล ฟองกันทา ประธานชมรมพ่อค้า – แม่ค้า อำเภอวังชิ้นได้มอบความรับผิดชอบในการจัดขบวนแห่ให้ครูเชษฐ์ไปดำเนินการ ครูเชษฐ์จึงรับมอบหมายงานมาดำเนินการตอนแรกก็หนักใจว่า จะจัดในรูปแบบใด ถึงจะแสดงให้เห็นวัฒนธรรมประเพณีที่แท้จริงของชาววังชิ้นเพื่อจะได้ตรงประเด็น แล้วก็คิดได้คือคิดถึงศิลาจารึกวัดบางสนุก ที่กล่าวถึงประเพณีทำบุญ สร้างพระ บรรจุลงในพระเจดีย์พร้อมทั้งมอบช้างม้าวัวควาย ตลอดถึงข้าพระ (คนรับใช้พระ) ให้กับวัด ตลอดถึงการจัดขบวนแห่เครื่องไทยทาน อันประกอบไปด้วยพานพุ่ม, ขันข้าวตอกดอกไม้,ขันหมาก, ขันพลู, ขบวนตุง, จ้อง (ร่ม) ธงทิว และขบวนมโหรี ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งกล่าวไว้ในจารึกของท่านขุน เจ้าเมืองตรอกสลอบ (วังชิ้นเมื่อ ๗๕๐ ปีที่ผ่านมา) ครูเชษฐ์ จึงตัดสินใจจัดรูปแบบการจัดริ้วขบวน เสนอให้ประธานนพดล พร้อมอธิบายที่ไปที่มาให้ทราบ ท่านประธานรับข้อเสนอทันที ดำเนินการตามแผนจนถึงวันสงกรานต์ ทางชมรมพ่อค้า ฯ ร่วมขบวนกับของเทศบาลตำบลวังชิ้น ปรากฏว่าเป็นที่สนใจของพี่น้องประชาชน และท่านผู้ใหญ่ในอำเภอวังชิ้นมาก หลังจากสงกรานต์ ปี ๔๙ ผ่านไป ท่านนายกสุพจน์ ยานะผูก นายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลวังชิ้น  ท่านได้มีโครงการจัดกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น สืบค้นหาข้อมูลประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ ท้องถิ่นขึ้น โดยมอบหมายให้ทางชมรมพ่อค้า – แม่ค้าอำเภอวังชิ้น เป็นผู้สืบค้นหารากเหง้าอันแท้จริงของอำเภอวังชิ้นทางคุณนพดลประธานชมรมฯ ได้มาปรึกษากับครูเชษฐ์ ว่าจะดำเนินการในเรื่องนี้อย่างไร เราได้หารือกันนานพอสมควรในที่สุดก็ได้ข้อยุติคือ ตามลำพังเอกสารบรรยาย เรื่อง “จารึกบางสนุก” ของ ดร.ฮันส์ เพนส์ ไม่เพียงพอที่จะย้อนรอยสู่รากเหง้าอำเภอวังชิ้นได้อย่างแน่นอน จำเป็นต้องเสาะแสวงหาทั้งข้อมูลและขอคำปรึกษาจากท่านผู้รู้ ทั้งจากผู้อาวุโสในท้องถิ่น และจากนักประวัติศาสตร์ในสถาบันที่เกี่ยว ความเป็นมาของประวัติศาสตร์ชาติไทยและท้องถิ่น เพื่อนำมาประกอบกันให้เกิดหลักฐานอันชัดเจน เพื่อยืนยันว่ารากเหง้าของท้องถิ่นมีความเป็นมาอย่างไร มีหลักฐานใดเป็นสิ่งยืนยันและอ้างอิงได้ เช่นสิ่งก่อสร้างที่ทิ้งร่อยไว้ หรือมีบันทึกเรื่องราวในอดีต อาทิเช่น แผ่นจารึกจากไม้ โลหะ หรือหินซึ่งเรารู้จักกันในนามของ “ศิลาจาลึก” สมัยสุโขทัยเป็นราชธานี ก็มีศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงเป็นต้น เราได้ร่วมกันวางแผนค้นคว้าเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของอำเภอวังชิ้น เป็นขั้นตอนและแบ่งหน้าที่รับผิดชอบในการค้นหาทั้งเอกสารหลักฐาน และวัตถุโบราณที่มีผู้ครอบครองอยู่เป็นสมบัติตกทอดมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย และสอบถามผู้อาวุโสที่มีอายุมากที่สุดทั้ง ๔ หมู่บ้านที่อยู่ในเขตเทศบาลตำบลวังชิ้นพอจะได้เค้าลางทำให้เรามีกำลังใจพร้อม เดินหน้าค้นหาหลักฐานที่ได้รับฟังจากคำบอกเล่าของผู้อาวุโสประจำหมู่บ้านดังกล่าวมาคือสิ่งที่ปรากฏหลักฐานพอที่จะเชื่อถือได้ก็คือ กำแพงเมืองที่เป็นเนินดิน, คูเมือง, เจดีย์ (พระธาตุพระพิมพ์), หม้อไหโบราณ, ศิลาจารึกอีกชิ้นหนึ่ง (หักบิ่นไม่สมบูรณ์แปลข้อความได้เป็นบางส่วน), จารึกตำรายาบนแผ่นใบลาน, ศิลาแลง (ซากของเจดีย์ที่สร้างในสมัย ๗๕๐ ปีที่ผ่านมา) ฯลฯ เป็นต้น และได้พบหลักฐานตามที่กล่าวมาของผู้เฒ่าผู้แก่ทั้งหลาย จากนั้นก็ทำหนังสือไปปรึกษาหารือกับท่านอาจารย์พรรณเพ็ญ เครือไทย ฝ่ายคลังข้อมูลจารึกล้านนาสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ท่านได้กรุณาให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์มากมายโดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่อง “จารึกวัดบางสนุก” ศิลาจารึกหลักที่ พร.๑ จังหวัดแพร่ ซึ่งปัจจุบันได้เก็บรักษาไว้ที่อาคารหอพระสมุดวชิรญาณ หอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร เป็นสมบัติของชาติในความดูแลรับผิดชอบของกรมศิลปากร ด้วยความโชคดีของพวกเราเพราะเผอิญว่าช่วงที่เรากำลังต้องการข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับจารึกวัดบางสนุกซึ่งอยู่ที่กรุงเทพฯ” แต่ไม่สามารถเดินทางไปได้ ก็ด้วยโชคช่วยดังกล่าวมา อาจารย์สุวิทย์ ตันตื้อ ประธานสภาวัฒนธรรม ตำบลวังชิ้น มีธุระเข้ากรุงเทพฯในช่วงนี้พอดี จึงได้ขอความกรุณาจากท่านให้ไปแวะสอบถามและขอข้อมูลจากเจ้าหน้าที่หอสมุดแห่งชาติเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของ “จารึกวัดบางสนุก” โดยละเอียดเพื่อจะได้นำมาเป็นข้อมูลประกอบการรายงานประวัติศาสตร์ท้องถิ่นต่อไป หลังจากอาจารย์สุวิทย์ เดินทางกลับพร้อมเอกสารหลักฐานที่ เราต้องการสมใจปรารถนา ส่วนทางคุณนพดล ประธานชมรมพ่อค้า แม่ค้า ฯ ก็ได้หนังสือประชุมจารึก ภาคที่ ๘ จารึกสุโขทัย (โดยคณะกรรมการอำนวยการาจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในโอกาสที่วันพระบรมราชสมภพครบ ๒๐๐ ปี วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ) ซึ่งมีรูปภาพและเรื่องราวของศิลาจารึกวัดบางสนุกร่วมอยู่ในหนังสือดังกล่าวนี้ด้วย เอกสารหลักฐานทั้งของอาจารย์สุวิทย์ และคุณนพดล พอเพียงที่จะนำมาเป็นเอกสารอ้างอิงได้เพราะเป็นส่วนของทางราชการ สังกัดกรมศิลปากร ซึ่งรับผิดชอบโดยตรงอยู่แล้ว ครูเชษฐ์ มีความมั่นใจและแน่ใจว่าวังชิ้นในอดีตจะต้องไม่ธรรมดา จะต้องเป็นบ้านเป็นเมืองมาก่อนเพราะในเอกสารที่ได้รับมานั้นก็คือรูปภาพจารึกวัดบางสนุก พร้อมคำแปล จารึกซึ่งเป็นอักษรจารึกสมัยสุโขทัย ยุคพ่อขุนรามคำแหงมหาราชปกครองเมืองสุโขทัย โดยกรมศิลปากรได้บันทึกแหล่งที่มาของจารึกวัดบางสนุกดังนี้ :-“จารึกวัดบางสนุก ประมาณพุทธศักราช ๑๘๘๒ ทะเบียนจารึก อักษร ไทยสุโขทัย ภาษาบาลีและไทย จารึกอักษร จำนวน ๑ ด้านมี ๒๙ บรรทัดวัตถุจารึก หินดินดาน ลักษณะวัตถุ แผ่นรูปใบเสมา (บางส่วนชำรุดหักหายไป) ขนาดวัตถุ กว้าง ๒๘ ซ.ม. สูง ๕๒ หนา ๖ ซ.ม. บัญชี / ทะเบียนวัตถุ พร. ๑ พบเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๔ สถานที่พบไม่ปรากฏหลักฐาน ผู้พบ พระครูอดุลย์รัตนญาณ เจ้าอาวาสวัดบางสนุกจังหวัดแพร่ ปัจจุบันอยู่ที่ อาคารหอพระสมุดวชิรญาณ หอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร (พิมพ์เผยแพร่ นิตยสารศิลปากร ปีที่ ๑๐ เล่มที่ ๒ ( กรกฎาคม ๒๕๐๙), ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๑๓ และจารึกสมัยสุโขทัย พ.ศ. ๒๕๑๓, จารึกสมัยสุโขทัย พ.ศ.๒๕๒๗) ประวัติ ศิลาจารึกหลักนี้ พระครูอดุลย์รัตนญาณ เจ้าอาวาสวัดบางสนุก และเจ้าคณะอำเภอวังชิ้น (ขณะนั้นเป็นกิ่งอำเภอ) จังหวัดแพร่นำมามอบให้กองหอสมุดแห่งชาติกรมศิลปากร เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ ศิลาจารึกวัดบางสนุกนับว่าเป็นเอกสารอันสำคัญที่บ่งบอกหลักฐาน เกี่ยวกับอักษรไทยสุโขทัย รูปลักษณะอักษรที่ปรากฏในศิลาจารึกส่วนใหญ่มีรูปลักษณะแบบเดียวกันกับรูปอักษรในศิลาจารึก พ่อขุนรามคำแหง  ข้อความที่จารึกคำขึ้นต้นของจารึกเป็นภาษาบาลีและภาษาไทยเป็นคำกล่าวนมัสการพระรัตนตรัย ต่อจากนั้นได้กล่าวถึงเจ้าเมืองตรอกสลอบได้ชักชวนบรรดาลูกเจ้าลูกขุนมูลนาย  ไพร่ไทย ตลอดทั้งชาวแม่ชาวเจ้าทั้งหลายสร้างพระพุทธรูปด้วยดีบุกด้วยดิน และได้กล่าวถึงการบำเพ็ญกุศลอื่นๆ อีก อาทิ เช่น มอบข้าพระ วัว ควาย ช้าง ม้า สำหรับช้างมีชื่อว่า “พร”  ให้เป็นสมบัติของวัดจัดขบวนพานพุ่มเงิน-ทอง  จ้อง (ร่ม)หมอน ธงทิว  พานพุ่มหมากพลู ดนตรีมโหรีอึกทึกครึกโครมโดยมีพันสุริยนควบคุมดูแลการทำดอกไฟ (ดอกไม้ไฟ) เสร็จแล้วบรรจุพระเหียกพระดินพระบรมสารีริกธาตุองค์หนึ่ง พระแกะสลักด้วยงาช้าง พร้อมด้วยแก้วแหวนเงินทองบรรจุในองค์พระเจดีย์ ยามดีวันเมิงเป้า เดือน ๗ ออกสิบห้าค่ำปีกัดเม้าและโถะ (จากการคำนวณและเทียบปฏิทินแบบดั้งเดิมโดย ศาสตร์ตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นครถือเกณฑ์จุลศักราช ๘๘๑จะตรงกับวันพฤหัสบดี ๑๘๘๒รวมเวลาผ่านมากกว่า ๗๐๐ปี)

จากข้อความในจารึกวัดบางสนุกหลักที่ พร.๑ จังหวัดแพร่ที่ได้นำข้อความจากจารึกไว้ในสมัยพ่อขุนเมืองตรอกสลอบ ทำให้พวกเราแน่ใจ มั่นใจเต็มใจ ๑๐๐เปอร์เซ็นต์  คุณนพดล จึงทำเรื่องเสนอไปถึงท่านนายก สุพจน์ ยานะผูก เพื่อทำหนังสือไปขออนุญาตหล่อแบบจำลองศิลาจารึกวัดบางสนุกเพื่อนำมาตั้งโชว์ไว้ในศาลหลักเมืองที่มีโครงการจะสร้างขึ้นเร็วๆ นี้  โดยมอบหมายให้ คุณ เก่งกาจ  เกษมวัฒกิจ (หนานเพลิน) เป็นตัวแทนและผู้ประสานงานนำหนังสือไปยื่นต่อ เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร อนุญาตให้หล่อแบบจำลองศิลาจารึกวัดบางสนุกได้ ตามที่มีหนังสือไปขออนุญาต  ซึ่งตรงนี้ คือ ตรงที่“กรมศิลปากร” อนุญาตนั้นแสดงว่าศิลาจารึกนี้เป็นของวังชิ้นจริง  เมื่อเป็นจริงก็หมายความว่า เมื่อ  ๗๕๐ ปี ที่ผ่านมาในอดีตวังชิ้นในปัจจุบันนี้  ก็คือ “เมืองตรอกสลอบ”   อย่างสิ้นสงสัยภารกิจการสืบและย้อนรอยสู่รากเหง้าอำเภอวังชิ้น ของชมรมพ่อค้า – แม่ค้าอำเภอวังชิ้นยังไม่หมดสิ้นขั้นตอนต่อไปของพวกเรา คือ ตามไปดู คูเมืองตามคำบอกเล่าของผู้สูงอายุได้แนะนำให้ไปดูในบริเวณที่ว่าการอำเภอวังชิ้น  ด้านหลังอาคารที่ทำการของที่ดินอำเภอ วังชิ้น และสาธารณะสุขอำเภอวังชิ้น  เมื่อไปถึงตรงสถานที่ดังกล่าวก็พบคูเมืองจริงซึ่งมีขอบคูด้านหนึ่งติดกับรั้วโรงเรียน บ้านใหม่ฯ แต่มีต้นไม้ต้นหญ้าปกคลุมรกทึบ หากไม่สังเกตหรือทราบประวัติมาก่อนจะไม่สามารถมองเห็นหรือทราบว่า นี่คือ คูเมืองตรอกสลอบในอดีต  จากคูเมืองเราตามไปพิสูจน์ว่ากำแพงเมือง ซึ่งอยู่บริเวณรั้วด้านเหนือของสถานีตำรวจภูธรอำเภอวังชิ้น  ซึ่งเป็นน่าเสียดายยิ่งเพราะกำแพงเมืองซึ่งเป็นกำแพงดินตามคำบอกเล่านั้นได้ถูกทลายลงไปจนหมดสิ้น จนไม่เหลือร่องรอยให้เห็นเลย  หลังจากใช้กำแพงดินแห่งนี้เป็น  หลักประหารชีวิตนักโทษในคดีข่มขืน กระทำชำเราและฆ่าเด็กนักเรียน เมื่อ ปีพ.ศ.๒๕๑๓ ผ่านมา ๓๗ ปีแล้ว  ซึ่งคนวังชิ้นที่มีอายุในปี ๒๕๕๐ ในตอนนี้ได้เห็นกำแพงดินนี้และสามารถยืนยันได้  เพราะเป็นกำแพงดินที่ทอดตัวยาวจากบริเวณรั้วสถานีตำรวจดังกล่าวข้ามถนนไปทางบ้านท่านสมชัย จำปี รองนายก อบจ.แพร่ คนปัจจุบันนี้ และคาดว่า“ศิลาจารึกวัดบางสนุก”น่าจะค้นพบบริเวณนี้  เพราะมีหม้อไหถ้วยชามแตกและสมบูรณ์มากมายที่ใช้ได้นำไปมอบให้วัดส่วนที่ใช้ไม่ได้คงถูกกลบถมลงไปในร่องน้ำ  ซึ่งก็คือคูเมืองนั้นเอง  คูเมืองบริเวณนี้แทบจะไม่มีคนรู้จักเพราะปัจจุบันเป็นบ้านเรือนไปจนหมดสิ้น  ซึ่งเราจำเป็นต้องฟื้นฟูกำแพงเมืองขึ้นใหม่  เพื่อให้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นให้อนุชนรุ่นหลังได้ทราบรากเหง้าของบรรพบุรุษวังชิ้นต่อไป  และบังเกิดความภาคภูมิใจ  สามารถยืนอยู่ได้อย่างสง่าผ่าเผย  ไม่ต้องคอยหลบหน้า เพราะผู้คนดูแควนว่าเป็นคน “กิ่งวังชิ้น”  แสนกันดาร บ้านนอกไกลปืนเที่ยงอีกตลอดกาล  อีกจุดหนึ่งนั้นคือ วัดและ เจดีย์ ที่กล่าวไว้ในจารึกว่าพ่อขุนเมืองตรอกสลอบชักชวนลูกเจ้าขุนมูลนายไพร่ฟ้าหน้าใส สร้างพระพุทธรูปบรรจุลงไปในเจดีย์  สร้างศาลาใช้เวลา ๑ เดือน จึงแล้วเสร็จทำบุญถวายทานและสมโภช  เฉลิมฉลองเป็นที่ครึกครื้นได้รับบุญกุศลกันทั่วหน้า  เราเดินทางไปวัดบางสนุกพบเจดีย์ดังกล่าวจริงแต่อยู่ในสภาพที่ได้รับการบูรณะซ่อมแซมมาแล้ว ๒ ครั้ง  เนื่องจากมีอายุก่อสร้างไว้นานถึง  ๗๕๐ ปีมาแล้ว  ย่อมชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา  คงเหลือหลักฐาน คือ  ศิลาแลงจำนวนหนึ่งเท่านั้น    แต่ก็นับว่านี่ คือ  หลักฐานสำคัญยิ่งใหญ่ของพี่น้องชาววังชิ้นทุกผู้ทุกนาม  เพราะเป็นหลักฐานปรากฏชัดว่า “วังชิ้นในอดีต คือ เมืองตรอกสลอบ”  ครูเชษฐ์ และ คุณนพดล  ฟองกันทา ได้พาท่านเดิน ย้อนรอยสู่รากเหง้าอำเภอวังชิ้นเป็นระยะทางยาวนานจนรู้สึกเมื่อยล้า เห็นทีต้องขออนุญาตท่านทั้งหลาย หยุดพักการย้อนรอยไว้เพียงแค่นี้ก่อนจนกว่าจะมีข้อมูล และศิลาจารึกวัดบางสนุก

ศิลา  หมายถึง  หิน......... จารึก หรือ จาร หมายถึง การเขียน หรือการบันทึกเรื่องราว เหตุการณ์ต่างๆ “ศิลาจารึก” จึงหมายถึงแผ่นหินที่แกะสลักหรือเจาะตัวอักษรลงไปของคนหรือบรรพบุรุษในยุคสมัยก่อนเมื่อ ๗๐๐ ปีที่ผ่านมา เพื่อที่จะบันทึกเรื่องงราวต่างๆในอดีตให้คนรุ่นต่อๆมาได้รับรู้รับทราบ  เรื่องราวในอดีตว่าเป็นเช่นไร ?3

“ศิลาจารึกวัดบางสนุก” หลักที่ ๑๐๗ หรือ หลักที่ พร.๑ จังหวัดแพร่ ก็คือบันทึกเรื่องราวต่างๆของเมืองตรอกสลอบ เมื่อ ๗๐๐ ปีที่ผ่านมาโดยท่านเจ้าเมืองซึ่งมีตำแหน่งเป็น “ท่านขุน” พร้อมด้วยแซงุน ได้ชวนบรรดาลูกเจ้า ลูกขุนมูลนาย ตลอดถึงไพร่ไทยชาวแม่ชาวเจ้าทั้งหลายช่วยกันพิมพ์พระด้วยเหียก ด้วยดินได้หมื่นร้อยแปดอัน แกะสลักพระด้วยงาช้างอีก ๒ องค์และพระธาตุอันหนึ่ง (พระบรมสารีริกธาตุ) ครั้นถึงยามดีได้ฤกษ์วันเมิงเป้า เดือน ๗ ออก ๑๕ ค่ำ ปีกัดเม้า และเถาะ(โถะ)  ก็จัดแต่งเครื่องบูชาอันมีทั้งขันหมากและขันข้าวตอกดอกไม้ธูปเทียน จันทร์มันหอม พร้อมทั้งพระที่พิมพ์ขึ้นตลอดถึงพระบรมสารีริกธาตุใส่ลงไปในไห  พร้อมกันย่อตนนบบาทเบญจางคประดิษฐ์พร้อมกันทุกคน  เวนทานให้เป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา แล้วนำสิ่งของทั้งหลายที่กล่าวมาลงบรรจุในพระเจดีย์ที่ก่อสร้างด้วยศิลาแลง สทายปูนเป็นเวลาหนึ่งเดือนจึงแล้วเสร็จพร้อมทั้งศาลา๑หลัง  จากนั้นก็ได้มอบคนจำนวนหนึ่งให้เป็นข้าพระ(ผู้ดูแลพระสงฆ์) ช้าง ม้า วัว ควาย อย่างละตัว สำหรับช้างนั้นมีชื่อว่า “พร” ให้เป็นสมบัติของทางวัด  นอกจากนั้นก็มีสิ่งของอื่นๆอีกมากมาย เช่น หมอน ผ้าห่ม หมากพร้าว หมากลาง เป็นต้น นี่คือข้อความในศิลาจารึกวัดบางสนุก  ซึ่งมีด้วยกัน ๒๙ บรรทัด  แต่ละบรรทัดบางคำหลุดหายไปจึงมีข้อความที่ไม่ชัดเจน อาทิเช่น ชื่อของเจ้าเมืองตรอกสลอบซึ่งหลุดหายไปน่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง  ทำให้ไม่ทราบชื่อของท่านว่าท่านชื่อขุนอะไร? การทำบุญสร้างเจดีย์ก็เช่นเดียวกัน ข้อความได้ระบุไว้วัน เดือน ปี มีดังกล่าวไว้ข้างต้น  แต่ไม่มีปีจุลศักราชทำให้การคำนวณได้ไม่แน่นอน? แต่จากการคำนวณและเทียบปฏิทินแบบดั้งเดิมโดยศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ถือเกณฑ์จุลศักราช ๘๘๑ ซึ่งตรงกับวันพฤหัสบดี ๑๘๘๒ รวมเวลาแล้วผ่านมา ๗๐๐ ปีกว่า แต่ดร.ฮันส์ เพนท์ ได้คำนวณแล้ว ปรากฏว่าวันเวลาต่างออกไปคือวันเมิงเป้า เดือน๗ ออก ๑๕ ค่ำ ปีกัดเม้าและเถาะ จะอยู่ในจุลศักราช ๕๘๑ ซึ่งเทียบปฏิทินแล้วปีเดียวกันนี้จะตรงกัน ๒ ครั้ง คือวันที่ ๒๘ มีนาคม ๑๗๖๒ และวันจันทร์ที่ ๒๗ พฤษภาคม ๑๗๖๒ ในจุลศักราช ๕๘๑ รวมเวลาแล้วจะ็คือ บันทกเรองรวตงๆของเมองตรอกสลอบ เมอ ๗๐๐ ปทผนมโดยทนเจเมองซงมตแหนงเปน “ทนขน” พรอมดวยแซงน ไดชวนบรรดลกเจ  ลกขนมลนย  ตลอดถงไพรไทยทงชวแมชวเจทงหลผ่านมาถึง ๘๒๐ ปี ต่างจากการคำนวณของศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ไปถึง ๑๒๐ ปี คือเกิดเป็นบ้านเมืองก่อนสุโขทัยซึ่งอายุแค่ ๗๐๐ ปี

จารึกวัดบางสนุกนี้ ปัจจุบันเป็นสมบัติของชาติตามทะเบียนจารึกวัตถุที่ พร.๑ อักษรไทยสุโขทัย วัตถุที่จารึกคือ หินดินดาน ลักษณะวัตถุเป็นแผ่นรูปเสมา กว้าง ๒๔ เซนติเมตร สูง ๕๒ เซนติเมตร หนา ๖ เซนติเมตร ค้นพบเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๔  ผู้พบคือ ท่านพระครูอดุลย์  รัตนญาณ เจ้าอาวาสวัดบางสนุก จังหวัดแพร่ สถานที่พบไม่ปรากฏหลักฐาน  ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ ณ อาคารพระสมุดวชิรญาณ หอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร  ศิลาจารึกหลักนี้พระครูอดุลย์รัตนญาณเจ้าอาวาสวัดบางสนุกและเจ้าคณะอำเภอวังชิ้น(ขณะนั้นเป็นกิ่งอำเภอ) จังหวัดแพร่ นำไปมอบให้กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๔๘๔  จารึกวัดบางสนุก นับว่าเป็นเอกสารอันสำคัญที่บ่งบอกหลักฐานเกี่ยวกับอักษรไทยรูปลักษณะอักษรที่ปรากฏในศิลาจารึกส่วนใหญ่มีรูปลักษณะแบบเดียวกันกับรูปอักษรในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง สำหรับศิลาจารึกอีกชิ้นหนึ่ง วัตถุที่จารึกก็เป็นหินดินดานแบบเดียวกันกับจารึกวัดบางสนุกแต่ชำรุดหักหายไปอย่างน่าเสียดายไม่สามารถถอดข้อความได้สมบูรณ์  มีขนาดที่เหลือไว้แค่ขนาดฝ่ามือกว่าๆเท่านั้น  ข้อความที่จารึกไว้สามารถถอดมาได้คือ กล่าวถึง  พันสุริยน ทำบอกไฟดอก(ดอกไม้เพลิง)เพื่อนำไปเฉลิมฉลองงานทำบุญดังที่กล่าวไว้ในจารึกวัดบางสนุกหลักที่ พร.๑ จังหวัดแพร่ พร้อมกับพูดถึงเรื่องการสร้างพระโดยมีข้อความว่า “พระทั้งนั้น” ปัจจุบันศิลาจารึกชิ้นนี้เก็บรักษาไว้ที่วัดบางสนุก พร้อมด้วยจารึกใบลานและหม้อ ไห โบราณอีกจำนวนหนึ่ง  แต่วัตถุโบราณเหล่านี้บุคคลภายนอกจะไม่สามารถขอเยี่ยมชมได้หากไม่มีบุคคล ๒ ท่านนี้นำไป คือ อาจารย์พรหมมาแสน คำเมืองฤทธิ์  มัคทายกวัดบางสนุก และอาจารย์สุวิทย์ ตันตื้อ ประธานวัฒนธรรม ตำบลวังชิ้น จะได้รับคำปฏิเสธจากเจ้าอาวาสทันที ?!

นายประสาน  บุญประคอง เป็นผู้อ่านข้อความในศิลาจารึกวัดบางสนุกและอธิบายคำ ท่านศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ  ณ นคร ให้คำปรึกษาโดยใกล้ชิดซึ่งเป็นการยืนยันว่า  “เมืองตรอกสลอบ” คือ วังชิ้นปัจจุบันนี้ เพราะทางกรมศิลปากรมีหนังสืออนุญาตให้ทางเทศบาลตำบลวังชิ้น จำลองหลักศิลาจารึกวัดบางสนุกได้ตามที่มีหนังสือร้องขอไปและทางท่านนายกสุพจน์ ยานะผูก นายกเทศบาลตำบลวังชิ้นได้มอบหมายให้ทางชมรมพ่อค้า-แม่ค้าอำเภอวังชิ้น รับไปดำเนินการหาแหล่งการหล่อแบบจำลองหลักศิลาจารึกวัดบางสนุก เพื่อนำมาติดตั้งไว้ในศาลหลักเมือง เพื่อให้ชาวอำเภอวังชิ้นและคนทั่วไปได้ชื่นชมและภาคภูมิใจในโอกาสอันใกล้นี้ ซึ่งตอนนี้ทางชมรมฯได้ติดต่อประสานงานไปทาง อาจารย์พรรณเพ็ญ  เครือไทย ฝ่ายคลังข้อมูลจารึกล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งท่านรับไปติดต่อประสานงานกับคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ไปคำนวณค่าใช่จ่ายและศึกษารูปแบบการทำศิลาจารึกจำลองตามข้อกำหนดของกรมศิลปากร ที่ระบุไว้ในหนังสือแจ้งอนุญาตดังกล่าวมา  อีกไม่นานเกินรอพวกเราคงจะได้เห็นศิลาจารึกจำลองของวัดบางสนุก คณะผู้ดำเนินการคือ เทศบาลตำบลวังชิ้นและชมรมพ่อค้า-แม่ค้า อำเภอวังชิ้น หวังใจว่าคงได้รับแรงกายแรงใจ ตลอดถึงกำลังทรัพย์สนับสนุน เพื่อความสำเร็จและเพื่อประกาศให้คนทั่วไปรับรู้รับทราบว่า “อำเภอวังชิ้น” มิใช่เมืองกันดาร หากแต่เป็นเมืองเก่าแก่ในประวัติศาตร์ของชาติไทย ที่น่าภาคภูมิใจเป็นที่ยิ่ง

 

ประวัติบ้านนาเวียง

แต่เดิมนั้นหมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลวังชิ้นยังเป็นหมู่บ้านเดียวกัน  คือบ้านใหม่ผาวัวเลีย ซึ่งก่อตั้งขึ้นมาเมื่อ พ.ศ. 2392  ประชาชนที่มาตั้งครัวเรือนครั้งแรกสันนิฐานว่ามาจากบ้านหนองแหวน จังหวัดลำปาง จากนั้นก็มีประชาชนที่อพยพมาจากอำเภอลอง และจากจังหวัดแพร่ที่เรียกชื่อบ้านผาวัวเลีย เนื่องจากในอดีตที่แม่น้ำยมฝั่งตรงข้ามกับหมู่บ้านมีหินผาตั้งเป็นกลุ่มใหญ่หินบางก้อนโผล่ขึ้นสูงกว่าพื้นระดับสูงกว่าหลังช้าง  และที่ดินบริเวณนั้นเป็นดินโป่งสัตว์ป่าต่างๆ เช่นวัวป่า กระทิง กวาง เก้ง (ฟาน) มักออกมากินน้ำ  และเลียก้อนดินและหินผาจนดินบริเวณนั้นเป็นหลุมเป็นบ่อจำนวนมาก  และเต็มไปด้วยรอยเท้าสัตว์ต่างๆ รอยเท้าวัวป่าบางรอยยังปรากฏอยู่บนก้อนดินและหินผา  จนก้อนดินที่แบนราบติดกับพื้นดิน สันนิฐานว่าผาบางก้อนยังไม่แข็งมากจึงเกิดรอยจากวัวเลียเป็นรอยเว้าและบุ๋มเข้าไป  จึงเรียกว่า  “ผาวัวเลีย” พรานป่ามักซ่อนตัวอยู่บนซอกหินผาเหล่านี้เพื่อคอยดักยิงสัตว์ป่าที่มากินดินโป่งและเลียผา  และแล่เนื้อที่ล่าได้  ณ  บริเวณแห่งนี้เป็นประจำ  ซึ่งคำว่า “เนื้อ” นั้นภาษาเมืองเรียกว่า “จิ้น” ดังนั้น ชาวบ้านจึงเรียกบริเวณนั้นว่า  “บ้านวังชิ้น” จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ ปัจจุบันบริเวณดังกล่าว อยู่ฝั่งยมด้านตรงข้ามกับแฟรตตำรวจที่ หมู่ 10 บ้านใหม่กลาง  ซึ่งถูกแม่น้ำยมพัดเอาดินโคลนมาทับถมจนหินผาวัวเลียจมลง เหลือให้เห็นผาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ  จึงมีประชาชนที่อพยพมาอาศัยอยู่มากขึ้น ผู้ที่อาศัยอยู่ก่อนก็มีลูกหลานเพิ่มขึ้น  บ้านเรือนละจำนวนประชากรก็เพิ่มมากขึ้น จึงมีการสร้างวัดบ้านใหม่  และโรงเรียนบ้านใหม่  ซึงแต่เดิมนั้นตำบลวังชิ้นขึ้นกับอำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง  เมื่อ พ.ศ. 2475  ทางราชการได้โอนมาขึ้นกับอำเภอลอง  จังหวัดแพร่  ต่อมาเมื่อวันที่  1 มีนาคม พ.ศ. 2481 จึงได้รับการยกฐานะจกตำบลวังชิ้น เป็นกิ่งอำเภอวังชิ้น  และเมื่อวันที่  22 กรกฎาคม 2501 ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะจากกิ่งอำเภอวังชิ้นเป็นอำเภอวังชิ้น

ให้เป็นองค์เจดีย์เมื่อปี พ.ศ. 2474 และกลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่กับอำเภอวังชิ้นสืบต่อจนทุกวันนี้   หลังจากผู้ใหญ่รัตน์  ชัยวุฒิ  ดำรงตำแหน่งกำนัลตำบลวังชิ้น   ได้มีการแยกหมู่บ้านนาเวียง   ขณะนั้น นาย  ลือ ขันคำ   เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านและมีภูมิลำเนาอยู่ในบ้านนาเวียง    จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ใหญ่บ้านนาเวียงคนแรก  และดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. 2515-2526  ประมาณ พ.ศ. 2485 ได้มีการแบ่งส่วนของหมู่บ้านเป็น บ้านใหม่เหนือ  บ้านใหม่กลางและบ้านใหม่ใต้   บ้านนาเวียงแยกมาจากบ้านใหม่เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2515  สาเหตุที่เรียกว่าบ้านนาเวียง  เนื่องจากที่ตั้งหมู่บ้านเคยเป็นแนวของคูเมืองและขอบคันดินกั้นเมืองเก่า  ซึ่งเชื่อว่าเยเป็นเมือง หน้าด่านของกรุงสุโขทัย  โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์คือพระธาตุพระพิมพ์ที่ทหารเอกของกรุงสุโขทัย ชื่อพลายสลอบสร้างขึ้นเพื่อไถ่บาปให้แก่มารดาของตนทั้งนี้ได้มีการบูรณะพระธาตุที่หักพังเหลือแต่ฐาน

ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 2 ได้แก่ นายสิงห์ทอง วรรณสิทธิ์ ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. 2526 - 2546 อยู่จนครบวาระ

ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 3 ได้แก่ นายทะนง   ขันแก้ว ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. 2546 -  ปัจจุบัน

ลักษณะทางกายภาพในปี  2546 มีการแยกพื้นที่ หมู่บ้านนาเวียงส่วนที่อยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำยมถัดจากสะพานบ้านวังชิ้น  ไปเป็นพื้นที่ของหมู่ 2 ตำบลวังชิ้น  ปัจจุบันพื้นที่ของหมู่บ้านนาเวียงอยู่ในเขตการปกครองของ 2 เขตได้แก่เขต เทศบาลตำบลวังชิ้น และเขต  องค์การบริหารส่วนตำบลวังชิ้น

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 02 •ธันวาคม• 2011 เวลา 11:47 น.• )