เมื่อราวประมาณ พ.ศ.๑๒๕๐ พญาลาวะ จังกะราชแห่งเมืองเงินยางเชียงแสน ได้ส่งบุตรชายชื่อว่าลาวก๋อ ซึ่งเป็นเจ้าเมืองเวียงพางคำ ปกครองถึงแคว้นกวางซึ่งอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำแม่สาย(บ้านกวางช้างมูบ) ต่อมาได้เกิดอุทกภัยแม่น้ำแม่สายได้ท่วมเมืองทั้งหมด ชาวเมืองบางส่วนที่อยู่ลุ่มแม่น้ำได้ถูกน้ำป่าพัด กระจัดกระจายตายและสูญหาย พญาลาวก๋อ จึงแสวงหาชัยภูมิใหม่ที่มีความปลอดภัยและอุดมสมบูรณ์ โดยอาศัยอยู่ตามที่ราบริมฝั่งแม่น้ำยม ตั้งเมืองใหม่ชื่อว่า “เวียงทอง” เพราะบริเวณนี้มีแร่ทองอยู่พอสมควร คำว่าเวียงทอง หมายถึง เวียงที่แข็งแรงอย่างกับทอง และได้สร้างวัดขึ้นคือ วัดหลวงเชียงแสน ปัจจุบันเป็นวัดร้างบริเวณโรงเรียนบ้านเขื่อนสุนทร และวัดหลวงเวียงทอง(บริเวณวัดร้างทองเกศ) ต่อมาพญาลิ้นตองได้มาสร้างวัดเวียงตองฝั่งหมิ่น (วัดทองเกศเก่า) และได้มีการขุดคูเมืองตั้งแต่แม่น้ำยมบริเวณบ้านเขื่อนคำลือ ผ่านหลังวัดน้ำบ่อจรดบ้านไชยามาตย์ ปัจจุบันยังมีร่องรอยคูเมืองอยู่เป็นบางแห่ง ขณะที่กำลังขุดคูสร้างเมืองอยู่นั้น ภรรยาของพญาลิ้นทองได้ไปทำพิธีลอยสังขารตรงหน้าวัดหลวงเวียงทองได้พลัดตกไปในวังน้ำลึกและจมน้ำตาย ชาวบ้านจึงขนานนามวังน้ำลึกดังกล่าวว่า วังแม่เจ้า จนถึงปัจจุบันนี้

ในสมัยของพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ถึงสมัยของพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ของกรุงรัตนโกสินทร์ ได้แบ่งเขตการปกครอง โดยพญาคำเขื่อนปกครองบ้านป่าเป้า (บ้านเขื่อนคำลือ) พญาไชยามาตย์ปกครองบ้านสันป่าแย้ (บ้านไชยามาตย์) ต่อมาพ่อขุนเวียงทองทำนุ (กำนันชัย วุฒิเจริญ) ได้มาปกครองแขวง หลังจากนั้นแขวงเวียงตองได้ยกฐานะเป็นตำบลเวียงทองจนถึงปัจจุบัน ตามที่เอกสารบางฉบับได้กล่าวข้อมูลว่า พญาทั้ง ๓ คือ พญาลิ้นตอง, พญาคำเขื่อน, พญาไชยามาตย์ เป็นพี่น้องร่วมตระกูลเดียวกันนั้น ไม่มีเอกสารหรือหลักฐานที่บ่งบอกชัดเจน แต่มีบันทึกของหลวงปู่ครูบากันธา คันธาโรและพระสยาม สิริปัญโญ ว่าอยู่คนละยุคสมัยกัน จึงพอสันนิษฐานได้ว่าไม่ได้เป็นพี่น้องกัน

ปัจจุบันตำบลเวียงทองแบ่งการปกครองเป็น ๑๒ หมู่บ้าน หมู่ที่ ๑, หมู่ที่ ๑๒ บ้านไชยามาตย์ หมู่ที่ ๒, ๓, ๔ บ้านทองเกศ หมู่ที่ ๕ บ้านโพธิสุนทร หมู่ที่ ๖ บ้านน้ำบ่อ หมู่ที่ ๗, ๑๐ บ้านเขื่อนคำลือ หมูที่ ๘, ๑๑ บ้านผาสุก หมู่ที่ ๙ บ้านเวียงทองใหม่ อาณาเขตติดต่อ ทิศเหนือ ติดต่อ ตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ ทิศใต้ ติดต่อ ตำบลร่องกาศ อำเภอสูงเม่น ทิศตะวันออก ติดต่อ ตำบลนาจักร อำเภอเมืองแพร่ ทิศตะวันตก ติดต่อ ตำบลต้าผามอก อำเภอลอง ด้านการปกครอง เจ้าอาวาสรูปแรกวัดตำบลเวียงทอง วัดไชยามาตย์ พระมหาจัย วัดทองเกศ (เดิม) ครูบาเกศา วัดทองเกศ (ใหม่) พระอธิการทอง อาภาจาโร วันโพธิสุนทร หลวงปู่คูบากาวิน วัดน้ำบ่อ ครูบาธรรมะสละ วัดเขื่อนคำลือ ครูบาอภิยะ วัดผาสุก ครูบาศรีธิ วัดป่าเวียงทอง (ธ.) พระมหาสุนทธินันท์สุทธิญาโณ

กำนันคนแรก นายชัย วุฒิเจริญ (พ่อขุนเวียงทองทำนุ) นายแปง วุฒิเจริญ (กำนันตำบลเวียงทอง) ผู้ใหญ่บ้านคนแรก หมู่ที่ ๑ นายเทพ คนศิลป์ หมู่ที่ ๒ นายวัง เขียวสด หมู่ที่ ๓ นายชุมต๊ะ ชุ่มเชย หมู่ที่ ๔ นายปัญญา เวียงนาค หมู่ที่ ๕ นายสาน เจริญยิ่ง หมู่ที่ ๖ นายรส แก้วพรม หมู่ที่ ๗ นายสอน นาทิพย์ หมูที่ ๘ นายจันทร์ต๊ะแช่มชื่น หมู่ที่ ๙ นายจรูญ สันป่าแก้ว หมู่ที่ ๑๐ นายเหม่ง คำหม่อม หมู่ที่ ๑๑ นายสนั่น นาทิพย์ หมู่ที่ ๑๒ นายจำเริญ จินดาเสน

ครูใหญ่คนแรก โรงเรียนบ้านเวียงทอง นายแสน ปัญญายง โรงเรียนบ้านผาสุก นายรัศมี ทุ่งมีผล โรงเรียนบ้านเขื่อนสุนทร นายคำหมื่น หงส์ทอง โรงเรียนเตรียมปริญญานุสรณ์ นายเพชร เขียนงาม (ปัจจุบันมาเรียนรวมที่โรงเรียนบ้านเวียงทอง)

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน บ้านไชยามาตย์ ตั้งชื่อตามผู้ก่อตั้งหมู่บ้าน คือ พญาไชยามาตย์ แต่เดิมชื่อว่าบ้านสันป่าแย้ เพราะมีแย้ (สัตว์เลื้อยคลาน) อาศัยอยู่มาก บ้านทองเกศ ตั้งชื่อตามผู้ก่อตั้งหมู่บ้าน คือ พญาลิ้นตอง และครูบาเกศา บ้านโพธิสุนทร บริเวณวัดมีต้นโพธิ์ ๔ ต้น ที่สวยงาม บ้านเขื่อนคำลือ ตั้งชื่อตามผู้ก่อตั้งคือ พญาคำเขื่อน บ้านผาสุก ตั้งตามภูมิประเทศ เพราะที่ท่าน้ำหน้าวัดมีลานผาที่สวยงาม บ้านน้ำบ่อ ตั้งชื่อตามบริเวณหน้าวัดมีบ่อน้ำหลวง มีน้ำใสสะอาด

เหตุการณ์สำคัญในอดีต ที่ทำให้ประชาชนในหมู่บ้านประทับใจจนถึงทุกวันนี้ ปี ๒๕๑๘งานพิธีพุทธาภิเษก ปลุกเสกเหรียญหลวงพ่อแก้ว อินทจักโก ปี ๒๕๔๖หม่อมเจ้าจันทรจรัสศรียุคล เสด็จมายกยอดฉัตรทองคำที่วัดไชยามาตย์แล้วเสด็จไปเยี่ยมชมวัดทองเกศและวัดโพธิสุนทร ปี ๒๕๓๙ สมเด็จพระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรชายาทินัดดามาตย์ ประทานถ้วยรางวัลแข่งขันเรือยาวประเพณี

เหตุการณ์สำคัญในอดีต ที่ทำให้ประชาชนในหมู่บ้านจดจำมาถึงทุกวันนี้ ปี ๒๔๙๓ ข้าวยากหมากแพง กินหัวเผือก, มัน แทนข้าว ปี ๒๔๙๕, ๒๕๐๔, ๒๕๑๑, ๒๕๓๘ เกิดอุทกภัยน้ำท่วมอย่างหนัก ปี ๒๕๓๘ เกิดอุทกภัยน้ำท่วม ทำให้ตลิ่งวัดทองเกศ(เก่า)พังจนถึงวิหาร ชาวบ้านจึงย้ายพระพุทธรูปไปประดิษฐานไว้ที่ปลอดภัย

เครื่องมือที่ใช้ในการประกอบอาชีพที่สำคัญของประชาชนในหมู่บ้าน แอก. ไถ, เผือ (คราด), จอบ, เสียม, แห, ยอ, สวิง, ไซ, เลื่อนลันดา, กบ แต่ปัจจุบันใช้เครื่องจักรเป็นส่วนมาก

อาหารพื้นถิ่นในหมู่บ้าน น้ำพริก แกงแค แกงอ่อม แอบบอน ห่อนึ่ง แกงฮังเล ลาบ แคบหมู จิ้นปิ้ง แอบปลา แกงและยำหน่อไม้ ยำไก่ ส้างวม

ประเพณี วัฒนธรรมที่สำคัญในหมู่บ้าน การเทศน์มหาชาติ ต๋านก๋วยสลาก รดน้ำดำหัว แข่งขันเรือยาว นมัสการพระธาตุการแสดงศิลปวัฒนธรรมในหมู่บ้านทั้งอดีตและปัจจุบัน ฟ้อนเจิง ตีกลองสะบัดชัย กลองปู่จา ฟ้อนเล็บ ฟ้อนกลองอืด งานแกะสลักไม้ เครื่องแขวน ตุง

การแต่งกายของประชาชนในหมู่บ้านทั้งอดีตและปัจจุบัน อดีต ชาย เสื้อหม้อห้อม กางเกงขาก๊วย ผ้าขาวม้าคาดเอว หญิง เสื้อหม้อห้อม ซิ่นแหล้ ปัจจุบัน แต่งกายตามสมัยนิยม

แหล่งท่องเที่ยวของหมู่บ้าน ผลิตภัณฑ์บ้านฝ้าย พระธาตุเจดีสะหลีไชยา พระธาตุสรีมหาโพธิ์พระธาตุศรีดอนชัย พระธาตุศิลาทอง

ลักษณะภาษาพูดในหมู่บ้าน ภาษาไทยล้านนา กำเมือง

โบราณสถาน โบราณวัตถุในหมู่บ้าน พระพุทธรูปโบราณ วัดทองเกศเก่า อนุสาวรีย์ ๓ พญา พญาลิ้นทอง (วัดทองเกศ), พญาไชยามาตย์ (วัดไชยามาตย์), พญาคำเขื่อน (วัดเขื่อนคำลือ) บ่อน้ำวัดน้ำบ่อ พระธาตุสรีมหาโพธิ์ วัดโพธิสุนทร พระธาตุเจดีสะหลีไชยา วัดไชยามาตย์ พระธาตุศรีดอนชัย วัดเขื่อนคำลือ พระธาตุศิลาทอง วัดน้ำบ่อ เรือยาวโบราณวัดผาสุก วัดเขื่อนคำลือ วัดโพธิสุนทร วัดทองเกศ หอไตรวัดเขื่อนคำลือ

พิธีกรรม ความเชื่อ ๑. ปูจาท้าวทั้งสี่ ๒. สะเดาะเคราะห์ ๓. คนทรงเจ้า ๔. ต่อกระดูก ๕. สืบชะตา ๖. บายศรีสู่ขวัญ ๗. ถอนพิษ (เป่า)

ปราชญ์ชาวบ้าน ด้านศาสนา สู่ขวัญ บายศรี พิธีกรรม

๑. นายณรงค์ วุฒิเจริญ อายุ ๖๕ ปี บ้านเลขที่ ๒/๕ หมู่ ๑ บ้านไชยามาตย์

๒. นายฟื้น อนามัย อายุ ๗๕ ปี บ้านเลขที่ ๗๓/๑ หมู่ ๒ บ้านทองเกศ

๓. นายประสาน ใจสบาย อายุ ๔๘ ปี บ้านเลขที่ ๙๖/๔ หมู่ ๓ บ้านน้ำบ่อ

๔. นายชาย สารดี อายุ ๗๘ ปี บ้านเลขที่ ๖๐/๑ หมู่ ๔ บ้านโพธิสุนทร

๕. นายทาน ปาละกุล อายุ ๗๓ ปี บ้านเลขที่ ๔๒ หมู่ ๗ บ้านเขื่อนคำลือ

๖. นายประยูร เขื่อนเพชร อายุ ๗๕ ปี บ้านเลขที่ ๑๐๐/๒ หมู่ ๑๐ บ้านเขื่อนคำลือ

๗. นายมา จันตาคำ อายุ ๘๐ ปี บ้านเลขที่ ๑๒/๑ หมู่ ๑๑ บ้านผาสุก

ด้านสมุนไพร

๑. นายถ่วง สุนันทเวียงทอง อายุ ๘๕ ปี บ้านเลขที่ ๙๙/๑ หมู่ ๑๐ บ้านเขื่อนคำลือ

๒. นางบัวผิน ทิพย์สุทธิ์ อายุ ๖๕ ปี บ้านเลขที่ ๕๐/๑ หมู่ ๒ บ้านทองเกศ

ด้านศิลปวัฒนธรรม

พระใบฎีกาศักดา สีลสุทโธ อายุ ๓๕ ปี วัดโพธิสุนทร

นายปอน เวียงนาค อายุ ๖๘ ปี บ้านเลขที่ ๕ หมู่ ๗ บ้านเขื่อนคำลือ

นายเหม่ง คำหม่อม อายุ ๘๑ ปี บ้านเลขที่ ๑๐๕ หมู่ ๑๐ บ้านเขื่อนคำลือ

นายพุทธิคุณ ก่อกอง อายุ ๒๒ ปี บ้านเลขที่ ๑/๘ หมู่ ๑ บ้านไชยามาตย์

ด้านคาถาอาคมเป่าเสก

นายแปลง แก้วยศ อายุ ๗๖ ปี บ้านเลขที่ ๕๒ หมู่ ๘ บ้านผาสุก ต่อกระดูก

นางดี จันกระจ่าง อายุ ๘๖ ปี บ้านเลขที่ ๑๒๑ หมู่ ๑๑ บ้านผาสุก ฮ่วงข้าว

นางเฟื้อง ศิริจำเริญ อายุ ๗๒ ปี บ้านเลขที่ ๒๐/๒ หมู่ ๑๑ บ้านผาสุก คนทรงเจ้า

นางไหล่ เจริญยิ่ง อายุ ๗๘ ปี บ้านเลขที่ ๔๖/๑ หมู่ ๕ บ้านโพธิสุนทร เช็ดยำ

นางป๊ก เชียงมณี อายุ ๗๘ ปี บ้านเลขที่ ๗๗ หมู่ ๕ บ้านโพธิสุนทร หมอดู

บรรณานุกรม

องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่. (๒๕๕๐). ประวัติศาสตร์เมืองแพร่. แพร่ : เมืองแพร่การพิมพ์,หน้า ๑๑๗ กันธาคันธาโร. (๒๔๗๒). ประวัติการก่อสร้างวัดฝั่งหมิ่น (สมุดบันทึก). สยาม สิริปัญโญ. (๒๕๕๐). ตำนานบ้านเวียงทอง. เวียงแพร่ (เอกสารอัดสำเนา). สุจิณธรรมคุณ ผู้สัมภาษณ์ สาธร เทพศิริพันธุ์, เรื่อง ประวัติตำบลเวียงทองและวัดเขื่อนคำลือ. ๕ พ.ค. ๒๕๕๕ นิคม สุธมฺโม. ผู้สัมภาษณ์, พงศ์สวัสดิ์ จินดามณี, เรื่อง ประวัติตำบลเวียงทองและวัดทองเกศ. ๗ พ.ค.๒๕๕๕ ทา คำขาด. ผู้สัมภาษณ์ เรื่อง ประวัติวัดทองเกศ, สุนันทา ดอกสลิด. ๑๕ พ.ค.๒๕๕๕. เรื่อง ประวัติวัดผาสุก และตำบลเวียงทอง. ประสาร ใจสบาย. ผู้สัมภาษณ์. สุเทพ สันป่าเป้า. ๑๐ พ.ค.๒๕๕๕. เรื่อง ประวัติวัดและหมู่บ้านน้ำบ่อ. พุทธิคุณ ก่อกอง ผู้สัมภาษณ์, รจนา กาศลังกา. ๒๐ พ.ษ.๒๕๕๕. เรื่อง ประวัติตำบลเวียงทอง. คณะกรรมการรวบรวมข้อมูล ตำบลเวียงทอง ๑-๒๐ พ.ค.๒๕๕๕

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 25 •ตุลาคม• 2012 เวลา 09:11 น.• )