วัดหัวเมืองถือได้ว่าเป็นวัดที่อายุเก่าแก่ของจังหวัดแพร่วัดหนึ่งตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านสันนิษฐานว่าเริ่มก่อสร้างเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๐๐ โดยมีกลุ่มชาวบ้านซึ่งไม่ทราบที่มาชัดเจนว่าได้ย้ายถิ่นฐานมาจากที่ใด ที่เข้ามาปักหลักทำมาหากินอยู่ในเขตพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำยมในสมัยนั้น ประวัติวัดหัวเมือง เดิมวัดหัวเมืองตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยม ห่างจากที่ตั้งปัจจุบันไปทางทิศใต้ประมาณ ๓๐๐ เมตร แต่เนื้องจากสภาพการไหลของแม่น้ำยมนั้นได้เปลี่ยนทิศทางอยู่เสมอจนได้กัดเซาะตลิ่งซึ่งติดบริเวณวัดหัวเมืองเดิมทำให้พื้นที่วัดได้รับความเสียหาย ทางเจ้าอาวาสคือพระอธิการพรมจักร แก่นเรณู และผู้นำหมู่บ้านโดยแกนนำของขุนเสนา ไข่คำ จึงได้พร้อมใจกันย้ายวัดมาอยู่ ณ ที่ตั้งปัจจุบันเมื่อวันจันทร์ที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๖ ตรงกับวันขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๑๐ เหนือ เดือน ๘ ใต้ นับตั้งแต่ย้ายวัดเป็นต้นมา ชาวบ้านต่างก็พร้อมใจกันสร้าวัดขึ้นใหม่ โดยเริ่มจากการใช้ไม้ไผ่ในการสร้างกุฏิและวิหาร เพราะในสมัยนั้นวัสดุก่อสร้างล้วนแล้วแต่เป็นของราคาแพงและค่อนข้างหายากสำหรับแถบชนบท ต่อมาในสมัยของพระอธิการพรหมจักร พรหมจกฺโก เจ้าอาวาสวัดหัวเมือง และคณะศรัทธาก็ได้พร้อมใจกันสร้างพระประธานเพื่อสักการบูชาในวิหารไม่ไผ่ ซึ่งเดิมทีทางวัดมีเพียงพุทธรูปองค์เล็ก ๆ ไม่กี่องค์เท่านั้น โดยได้ฤกษ์ก่อสร้าง เมื่อวันพุธ ที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๘ มีพ่อาล่าอุ๊ เวียงโกศัย ช่างผู้ก่อสร้าง โดยมีลักษณ์เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน ใช้ไม้ขนุนเป็นแกนโครงสร้างด้านใน ศิลปะล้านนาแบบเมืองแพร่โบราณ

วันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๐  โดยการนำของพระทวี  โชติวโร  พร้อมด้วยคณะศรัทธาวัดหัวเมืองได้จัดสร้างอุโบสถ มีความกว้าง๑๒ เมตร ยาว ๒๕ เมตร สิ้นค่าก่อสร้าง ๑,๓๖๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านสามแสนหกหมื่นบาทถ้วน) และได้ฤกษ์อัญเชิญองค์พระประธานขึ้นประดิษฐานในอุโบสถ เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๘ เมื่อการก่อสร้างอุโบสถแล้วเสร็จสมบูรณ์จึงได้กำหนดให้มีพิธีผูกพัทธสีมาและฉลองสมโภชขึ้นในระหว่างวันที่ ๒๕-๒๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๔ ในสมัยพระครูทวี  โชติวโร (ทวี  โชติสาดก) และพ่อกำนันสุนทร  วิลาวัณย์

พ.ศ. ๒๕๒๒ ก่อสร้างกุฏิครึ่งไม้ครึ่งปูนขึ้น ๑ หลัง ขนาดกว้าง ๗ เมตร ยาว ๑๒ เมตร และสร้างกำแพงวัดด้านทิศตะวันออกและทิศเหนือ รวมสิ้นค่าก่อสร้างทั้งสิ้น ๓๘๖,๐๐๐ บาท (สามแสนแแปดหมื่นหกพันบาทถ้วน)

พ.ศ.๒๕๒๕ สร้างศาลาการเปรีญ (ศาลาเอนกประสงค์) ขึ้น ๑ หลัง  ขนาดกว้าง ๑๐ เตร ยาว ๑๕ เมตร สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน) โดยได้รับปัจจัยจากการบริจาคสมทบของผู้มีจิตศรัทาทั่วไป

พ.ศ. ๒๕๔๓ สร้างกุฏิหลังใหม่ ๑ หลัง จัดพิธีฉลองสมโภชเมื่อวันที่ ๖-๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗

พ.ศ. ๒๕๔๗ ทำการรื้อหลังคาอุโบสถยกโครงสร้างหลังคาใหม่ทั้งหมดเพื่อทำการบูรณะซ่อมแซมใหม่หมดทั้งหลัง ในสมัยพระอธิการวิโรจน์  สุวณฺโณ และแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ในสมัยของพระใบฎีกาอภิวัฒน์  ธมฺมวฑฺฒโน สิ้นค่าบูรณะทั้งสิ้นประมาณ ๒,๐๐๘,๙๘๙ บาท (สองล้านแปดพันเก้าร้อยแปดสิบเก้าบาทถ้วน)

พ.ศ. ๒๕๕๐ ก่อสร้างมณฑปขึ้น ๑ หลัง ขนาดกว้าง ๔ เมตร ยาว ๔ เมตร สูงจากฐานถึงยอดฉัตร ๑๕ เมตร ลักษณะทรงไทย สิ้นค่าก่อสร้างทั้งสิ้นประมาณ ๑๘๐,๐๐๐ (หนึ่งแสนแปดหมื่นบาทถ้วน)

วันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ พิธีมหาพุทธาภิเษกเหรีญขุนพลเมตตาและเหรีญหลวงพ่อทวี  โชติวโร และวัตถุมงคลอื่นๆ

วันที่ ๑-๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ทำบุญฉลองสมโภชอุโบสถที่ได้ทำการบูรณะ

รายนามเจ้าอาวาส

๑.พระอธิการพรหมจักร พรหมจกฺโก (ถา แก่นเรณู) (ไม่ปรากฏปี พ.ศ. ที่แน่ชัด)

๒.พระอธิการมา สิกฺขากโร (มา ร่องฉาย)

๓.พระสมหมาย ยุตฺตธมฺโม (สมหมาย จุมพิต)

๔.พระบุญเรือง ธมฺมวํโส (บุญเรือง  ทองประไพ)

๕.พระขาว  อินฺทวํโว (ขาว รักพงษ์)

๖.พระครูประโชติธรรมาภินันท์ (ทวี  โชติวโร นามสกุล โชติสาดก) พ.ศ. ๒๕๐๙-๒๕๓๒

๗.พระอธิการพุฒ  พุฒิสาโร (พุฒิ  เวียงสา) พ.ศ. ๒๕๓๒-๒๕๓๔

๘.พระอธิการจำนงค์  สุจิตฺโต  (จำนงค์  สุตาต๊ะ) พ.ศ. ๒๕๓๔-๒๕๔๕

๙.พระอธิการวิโรจน์  สุวิณฺโน (วิโรจน์  หงส์หิน) พ.ศ. ๒๕๔๕-๒๕๔๙

๑๐.พระใบฏีกาอภิวัฒน์  ธมฺมวฑฒฺโน (อภิวัฒน์  ลักษ์วิลัย) พ.ศ. ๒๕๔๙-พ.ศ. ๒๕๕๓

๑๑.พระอาจารย์กฤษ  วชิรญาโน พ.ศ.๒๕๕๓-ปัจจุบัน

สถานที่ตั้งและอาณาเขต

เลขที่ ๑๒๐ หมู่ที่ ๑ ตำบลหัวเมือง  อำเภอสอง  จังหวัดแพร่  มีเนื้อที่ทั้งหมด ๑๐ ไร่  ๙๔ ตารางวา  มีกำแพงล้อมรอบทั้ง ๔ ทิศ  มีที่ธรณีสงฆ์ติดแม่น้ำยม  มีเนื้อที่ ๘ ไร่ ๒ งาน

ฐานะวัด

วัดหัวเมืองมีฐานะเป็นวัดราษฎรชั้นเอกรับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๑๖ มกราคม ๒๕๑๘

ความสำคัญ

๑.เคยเป็นที่จำพรรษาของพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบล รูปแรกของตำบลหัวเมือง คือหลวงพ่อ พระครูประโชติธรรมาภินันท์ อดีตเจ้าอาวาสวัดหัวเมือง เจ้าคณะตำบลวังหลวง น้ำรัด

๒.ได้รับประกาศเกียรติคุณจากคณะสงฆ์จังหวัดแพร่ ให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างโครงการ ๑ วัด ๑ ตำบล เมื่อ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗

๓.เป็นวัดที่เข้าร่วมโครงการวัดปลอดเหล้า  และได้รับประกาศให้เป็นวัดปลอดเหล้าถาวร

๔.มีห้องสมุดธรรมวัฒน์ ซึ่งเป็นแหล่งศึกษาข้อมูลความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม สำหรับพระภิกษุสามเณรและผู้สนใจทั่วไป

๕.มีสวนหย่อมตลอดถึงร่มไม้ใหญ่ที่เหมาะแก่การปฏิบัติธรรทและผ่อนคลายอริยาบถ

เสนาสนะและถาวรวัตถุที่สำคัญ

๑.อุโบสถ เป็นที่ประดิษฐ์สถานพระพุทธเมตตาคุณากร หรือ หลวงพ่อเมตตาพระประธาน

๒.ศาลาการเปรีญ (ศาลาเอนกประสงค์)

๓.หอระฆัง

๔.มณฑป ซึ่งบรรจุอัฐิหลวงพ่อพระครูประโชติธรรมาภินันท์และรูปแกะสลักรูปเหมือนจากไม้ต้นศรีมหาโพธิ์ ซึ่งปลูกและเจริญเติบโตในวัดหัวเมือง

๕.กุฏิสงฆ์

๖.ห้องสมุดธรรมวัฒน์ (ศาลาจิตชู  บูรณะโดยกลุ่มบ่าวสาวบ้านหัวเมือง)

๗.ศูนย์ออกกำลังกายวัดหัวเมือง  (โดยกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มบ่าวสาวบ้านหัวเมือง)

ชีวประวัติ

พระครูปรระโชติธรรมาภินันท์  (ทวี  โชติวโร)

อายุ ๖๙ พรรษา ๒๕

อดีตเจ้าอาวาสวัดหัวเมือง ตำบลหัวเมือง  อำเภอสอง  จังหวัดแพร่

เจ้าคณะตำบลวังหลวง-น้ำรัด  อำเภอร้องกวาง  จังหวัดแพร่

ชาติ

พระครูปรระโชติธรรมาภินันท์  (ทวี  โชติวโร) เดิมชื่อ นายทวี  โชติสาดก ชาตะวันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๔ ณ บ้านเกาะไม้ลาย  ตำบลพิกุลออก  จังหวัดนครนายก เป็นบุตรของ นายพร้อม - นา

จ้อย โชติสาดก  มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๘ คน เป็นชาย ๓ คน หญิง ๕ คน โดยลำดับดังนี้

๑.พระครูปรระโชติธรรมาภินันท์ (นายทวี  โชติสาดก)

๒.นางวา  ฉลาดถ้อย

๓.นางสง่า  แก้ววิลัย

๔.นายวิเชียร  โชติสาดก (ถึงแก่กรรม

๕.นายประจวบ  โชติสาดก

๖.น.ส.ฉลวย  โชติสาดก

๗.นางจำนงค์  ศรีสุวรรณ

๘.นางเฉลียว  โชติสาดก

การศึกษา  บรรพชา  อุปสมบท

พ.ศ. ๒๔๗๕ จบชั้นประถมปีที่ ๔ จากโรงเรียนวัดสะพาน  ตำบลอาสา  อำเบ้านนา  จังหวัดนครนายก

พ.ศ. ๒๔๗๘ จบชั้นมัธยมปีที่ ๓ จากโรงเรียนอุทัยเทวีเวทย์  อำเภอเมือง  จังหวัดอุทัยธานี

พ.ศ. ๒๔๘๙ อุปสมบทที่วัดสะพาน  ตำบลอาสา  อำเภอบ้านนา  จังหวัดนครนายก จำพรรษาอยู่ ๓ พรรษา และสอบได้นักธรรมชั้นตรี  และนักธรรมชั้นโท

พ.ศ. ๒๔๙๑ ลาสิกขาบทออกมาช่วยพ่อแม่ทำงาน

พ.ศ. ๒๕๐๐ อุปสมบทที่วัดทุ่งแค้ว  ตำบลวังหลวง  อำเภอร้องกวาง  จังหวัดแพร่

พ.ศ. ๒๕๐๔ ลาสิกขาบทไปจัดการมรดกที่จังหวัดนครนายก เพราะท่านเป็นพี่ชายคนโต

พ.ศ. ๒๕๐๙ อุปสมบทอีกครั้งที่วัดทุ่งแค้ว  ตำบลวังหลวง  อำเภอร้องกวาง  จังหวัดแพร่

หน้าที่การงาน

พ.ศ. ๒๔๘๔ ถูกเกณฑ์เข้ารับราชการทหารที่ค่ายจักรพงษ์มณฑาทหารบกที่ ๒ จังหวัดปราจีนบุรี

พ.ศ. ๒๔๙๕ มาทำงานอยู่ทางภาคเหนือโดยมาทำงานอยู่กับคุณสมบูรณ์  วงศ์ชมภู  บริษัททำไม่ในภาคเหนือพอบริษัทหมดสัญญาทำไม้ได้เลิกกิจการ จึงได้ติดตามคุณสมบูรณ์  วงศ์ชมภู ไปอยู่ที่บ้านทุ่งแคว  ตำบลวังหลวง  อำเภอร้องกวาง  จังหวัดแพร่ โดยช่วยทำสวนและเลี้ยงไก่  ท่านเป็นผู้สนใจทางด้านปริยัตธรรมเป็นพิเศษท่านจึงได้สมัครเป็นครูสอนนักธรรมชั้นตรี  และชั้นโท  โดยแยกสาขาจากสำนักเรียนวัดวังหลวง  ตำบลวังหลวง  อำเภอร้องกวาง  จังหวัดแพร่  มาสอนเป็นสาขา ณ วัดทุ่งแค้ว  ปรากฏว่าการสอนของท่านผลคือนักเรียนสอบได้ยกชั้นในปีนั้นและต่อมาท่านก็ได้อุ)สมบท

พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นครูสอนนักธรรมชั้นตรี ณ สำนักเรียนวัดวังหลวง   ตำบลวังหลวง  อำเภอร้องกวาง  จังหวัดแพร่

พ.ศ. ๒๕๐๑ เป็นครูสอนนักธรรมชั้นโท ณ สำนักเรียนวังหลวง

พ.ศ. ๒๕๐๙ ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดหัวเมือง  ตำบลหัวเมือง  อำเภอสอง  จังหวัดแพร่

พ.ศ. ๒๕๑๒ เป็นรองเจ้าคณะตำบลหัวเมือง  อำเภอสอง  จังหวัดแพร่

พ.ศ. ๒๕๒๑ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลวังหลวง - น้ำรัด  อำเภอร้องกวาง  จังหวัดแพร่ ในขณะนั้นตำบลวังหลวง - น้ำรัด  ยังอยู่สังกัดอำเภอสอง

สมณศักดิ์

พ.ศ. ๒๕๒๓ เป็นพระครูชั้นประทวน  พระครูทวี  โชติวโร

พ.ศ. ๒๕๒ถ เป็นพระธรรมทูต

พ.ศ. ๒๕๒๙ เป็นพระครูชั้นสัญญบัตร  พระครูประโชติธรรมาภินันท์

งานสาธารณูปกร

พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้ร่วมมือกับเจ้าอาวาสวัดทุ่งแค้ว  ตำบลวังหลวง  อำเภอร้องกวาง  จังหวัดแพร่  สร้างกุฏิขึ้น ๑ หลัง กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๒๐ เมตร สิ้นค่าก่อสร้าง ๑๓๐,๐๐๐ (หนึ่งแสนสามหมื่นบาทถ้วน)

พ.ศ. ๒๕๐๑ ได้ร่วมมือกับเจ้าอาวาสวัดกับเจ้าหน้าวัดทุ่งแค้ว  สร้างกำแพงวัดและได้ร่วมกับคณะกรรมการการศึกษาและประชาชนสร้างอาคารเรียนชั้นเดียว  ตามแบบของทางราชการขึ้น ๑ หลัง ๑๓ ห้องเรียน  และได้ร่วมกับชาวบ้านทุ่งแค้วพัฒนาฌาปนสถานบ้านทุ่งแค้วโดยตัดถนนเข้าสู่ฌาปนสถาน  และสร้างศาลา ๑ หลัง

พ.ศ. ๒๕๑๐ สร้างอุโบสถขึ้นที่วัดหัวเมือง  ตำบลหัวเมือง  อำเภอสอง  จังหวัดแพร่  ๑ หลัง ขนาดกว้าง ๑๒ เมตรครึ่ง  ยาว ๒๕ เมตร  สิ้นค่าก่อสร้างทั้งสิ้น ๑,๓๖๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านสามแสนหกหมื่นบาท)

พ.ศ. ๒๕๑๘ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา  ณ  วัดหัวเมือง  ตำบลหัวเมือง  อำเภอสอง  จังหวัดแพร่

พ.ศ. ๒๕๒๒ ไดก่อสร้างกุฏิวัดหัวเมืองขึ้น ๑ หลัง ขนาดกว้าง ๗ เมตร  ยาว ๑๒ เมตร สิ้นค่าก่อสร้างทั้งสิ้น ๓๘๖,๐๐๐ (สามแสนแปดหมื่นหกพันบาท) และได้สร้างกำแพงวัดหัวเมือง ๒ ด้าน คือ ทิศตะวันออก  และ ดานทิศเหนือ

พ.ศ. ๒๕๒๔ ทำหารฉลองอุโบสถ และฝังลูกนิมิต

พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้สร้างศาลาการเปรีญ (ศาลาเอนกประสงค์) วัดหัวเมือง ขึ้น ๑ หลัง ขนาดกว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๑๕ เมตร สิ้นค่าก่อสร้างทั้งสิ้น ๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน)

พ.ศ. ๒๕๓๑ ได้ร่วมกับชาวบ้านหัวเมืองสร้างศาลาฌาปนสถานบ้านหัวเมืองขึ้น ๑ หลัง ขนาดกว้าง ๘ เตรครึ่ง ยาว ๒๔ เมตร สิ้นค่าก่อสร้างทั้งสิ้น ๘๖,๙๓๓ บาท (แปดหมื่นนหกพันเก้าร้อยสามสิบสามบาทถ้วน)

มรณะภาพ

พระครูประโชติธรรมาภินันท์ ตามปกติท่านมีสุขภาพแข็งแรง จะอาพาธบ้างก็เพียงเล็กๆน้อยๆ มีครั้งหนึ่งท่านเข้าผ่าตัดถุงน้ำดีที่โรงพยาบาลแพร่คริสเตียน จังหวัดแพร่ โรคที่คุกคามท่านตอนหลังนี้คือโรคความดันโลหิตสูง มีครั้งหนึ่งคณะศรัทธาได้รวบรวมเงินให้ท่านไปรักษาที่โรงพยาบาลเชียงใหม่ ท่านก็ไปรักษาและหายกลับมา และต่อมาอีกไม่นานท่านก็เป็นอีก คราวนี้ท่านขอไปรักษาที่กรุงเทพฯ จะได้อยู่ใกล้ๆ พี่ๆ น้องๆ ของท่าน คณะศรัทธาก็อนุญาติให้ไป พออถึงวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ ท่านก็มรณภาพ ณ โรงพยาบาลมิตรภาพจังหวัดสระบุรี ด้วยเลือดอกในสมอง รวมสิริอายุได้ ๖๙ พรรษา ๒๕ คณะศรัทธาวัดหัวเมืองได้นำศพของท่านตั้งบำเพ็ญกุศล ณ วัดหัวเมือง ตำบลหัวเมือง อำเภอสอง จังหวัดแพร่ และทำการพระราชทานเพลิงศพในวันเสาร์ที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๓ เวลา ๑๖.๓๐น. ณ เมรุชั่วคราววัดหัวเมือง

พระประธานอุโบสถ "พระพุทธเมตตาุคุณากร" หรือพระพุทธรุปอันเป็นบ่อเกิดแห่งความเมตตา

มณฑป "หลวงพ่อพระครูประโชติธรรมาภินันท์" อดีตเจ้าคณะตำบลหัวเมือง เจ้าอาวาสวัดหัวเืมือง

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•จันทร์•ที่ 10 •กันยายน• 2012 เวลา 21:18 น.• )