ตำนานพระธาตุจอมแจ้ง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ พุทโธ ภะคะวา อะหัง วันทามิ สิระสา เทฺว(เทวะ) เกสาธาตุ ปะติฏฐิตา เสสะ ปัพพะตัง อะหัง วันทามิ ธาตุโย อะหัง วันทามิ สัพพะทา อะหัง วันทามิ สัพพะโส สะทาโสตถิ ภะวันตุเม “ว่า ๓ หน” พระธาตุจอมแจ้งมีประวัติการณ์เป็นมาดังนี้ กล่าวคือ ในสมัยปัจฉิมโพธิกาลก่อนที่พระสัพพัญญูตญาณเจ้าจะเสด็จดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพาน พระองค์ทรงพิจารณาใคร่ครวญจินตนาการพึงหมู่สัตว์ที่ตกค้างอยู่ในวัฏฏะสงสารแห่งห้องอันกันดารกล่าวคือ การเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏฏะสงสารให้เขาได้ไปสู่สถานที่อันเกษมจากโยคะ กล่าวคือ พระนิพพานอันเป็นสถานอันปราศจากเสียซึ่งความเวียนว่ายตายเกิดต่อไป ล้วนเต็มไปด้วยความสุขไม่มีทุกข์เจือปนเป็นยอดปราถนาของปวงขนผู้ใฝ่สันติสุขทั้งหลายเมื่อพระองค์ประทับอยู่ในเขตมหาวิหารของนายอนาถบิณฑิกะมหาเศรษฐีสร้างถวายในกรุง

สาวัตถีมหานครในเวลารัตติกาลปัจฉิมยามใกล้รุ่งวันหนึ่งพระองค์มาพิจารณาใคร่ครวญถึงหมู่สัตว์ที่สมควรเสด็จไปเทศนาโปรดให้เขาได้ดื่มซึ่งอมตรสของพระธรรมอันประเสริฐโดยพระมหากรุณาธิคุณและพระปราชาญาณอันล้ำเลิศยิ่งกว่าสรรพสัตว์ในไตรภพ ก็มาปรารภถึงสองตายายผู้ซึ่งยากจนซึ่งอุตสาหะทำไร่สวนปลูกเผือกมันเลี้ยงชีวิตของตนอยู่บนภูเขาลูกหนึ่งอันอยู่แคว้นสุวรรณภูมิแก่งโกศัยบุรีเป็นผู้มีปสาทะศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาสามาถจะได้ดวงตาเห็นธรรมของตถาคตได้โดยฉับพลันเมื่อได้เวลาสายอรุณรุ่งสว่างดีงามพระองค์บาตรและจีวรเสร็จเรียบร้อยตามพุทธวิสัย จึงได้เสด็จจาริกโปรดเวไนยสัตว์ไปโดยลำดับ ตามนิคมน้อยใหญ่พร้อมด้วยสาวกบริษัทมีท้าวโกสีย์เทวราชและพระอานนท์ผู้เป็นพุทธอุปฐากเป็นอาทิจึงเสด็จมาถึงภูเขาลูกหนึ่งอันตั้งอยู่ทางทิศใต้แน่งโกศัยบุรีมีสันฐานอันสดใสงดงามเป็นที่พอพระหฤทัยมากพระพุทธองค์จึงได้ทรงวางบาตรของพระองค์ลงตั้งไว้บนยอดเขาลูกนั้นซึ่งมีศิลาอันเกลี้ยงเกลาและงดงามจึงเห็นปรากฏเป็นรอยก้นบาตรมาตราบเท่าทุกวันนี้ปัจจุบันนี้เรียกว่า “ดอยปูกวาง” เมื่อพระพุทธองค์ทรงพักอยู่บนภูเขาอีกลูกหนึ่งอันประเสริฐสดใสงดงามยิ่งนักตั้งอยู่โดดเดี่ยวไม่ติดเนื่องด้วยภูเขาอีกลูกหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือแห่งภูเขาลูกที่พระองค์ทรงบาตรไว้นั้นและเป็นที่น่ารื่นรมย์ยินดียิ่งนักเพราะจะทอดพระเนตรไปทางไหนก็เป็นที่สว่างไสวดีงามสมควรเป็นที่ตั้งแห่งพระศาสนาต่อไปเวลานั้นเป็นเวลาจวนสว่างแจ้งพอดีพระพุทธองค์ทอดพระเนตรไปดูน้ำทางไหนก็ไม่มีเพื่อจะเอามาล้างพระพักตร์(หน้า)พระพุทธองค์จึงได้ทรงอธิษฐานเอาน้ำได้ใช้พระหัตถ์เบื้องขวาเจาะบ่อลงไปยอดภูเขาลูกนี้ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธองค์อธิษฐานน้ำใสสะอาดบริสุทธิ์จึงได้อุบัติขึ้นมาในบ่อนั้นเพื่อให้พระพุทธองค์ได้ใช้ต่อไปบ่อน้ำนั้นยังปรากฎอยู่อยู่ตราบเท่าทุกวันนี้(ปัจจุบันเรียกว่าบ่อน้ำทิพย์)ในขณะนั้นยังมีสองตายายผู้เฒ่าแก่ยากจนพากันทำไร่ปลูกเผือกมันเลี้ยงชีวิตของตนอยู่ที่นั้นพระพุทธองค์จึงได้ถามสองตายายว่าสถานที่นี้คงขะมีถ้ำเป็นแน่สองตายายจึงตอบว่ามีถ้ำอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของภูเขาลูกนี้เมื่อสองตายายได้เห็นพระพุทธองค์เสด็จมา ณ ที่นั้นก็มีความยินดีปิติปราโมทย์เต็มตนมีความเคารพนบน้อมซึ่งพระบรมศาสดาเป็นอย่างยิ่งจึงมีศรัทธาเลื่อมใสอยากจะถวายอาหารบิณฑบาตรแต่พระพุทธองค์เป็นกำลังแต่มีสามารถที่จะทำได้เพราะตนเป็นคนยากจนไม่มีข้าวที่จะมาถวายบิณฑบาตรแด่พระพุทธองค์ได้เมื่อเป็นเช่นนั้นส่วนชายผู้เป็นผัวจึงบอกให้นางผู้เป็นเมียได้เอาหัวมันในไร่ของตนมาถวายแด่พระองค์นางก็ไปหาหัวมันก็ได้สามหัวดีงามก็เอามาจัดการขัดสีให้สะอาดแล้วสองตายายจึงเอามาใส่บาตรถวายแด่พระพุทธองค์เมื่อพระพุทธองค์รับและฉันหัวมันของตายายเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ทรงอนุโมทนาและเทศนาธรรมอนุปูพพีกถาให้สองตายายฟัง เมื่อสองตายายได้ฟังธรรมโดยเคารพแล้วจึงได้ตั้งอยู่ในไตรสรณคมน์ปฏิญาณตนเป็นอุบาสกอุบาสิกายึดเอาพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้าเป็นสรณะที่พึ่งแก่ตนแล้วสองตายายก็ไหว้พระพุทธเจ้าว่า “ภันเต ภะคะวา” ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าส่วนว่าบ้านเมืองที่นี้เป็นอันอดอยากข้าวยากหมากแพง ฟ้าฝนก็ไม่ค่อยจะตกต้องตามฤดูเป็นอันเดือดร้อนพืชพันธุ์ธัญญาหารก็เหี่ยวแห้งตายไปแทบจะไม่มีเหลือ พระพุทธองค์จึงถามว่า “บัดนี้เป็นเดือนอะไร” สองตายายจึงตอบว่าเป็นเดือน ๖ ขึ้น ๑๕ ค่ำปีจอ(ปีเส็ด) ในขณะนั้นก็อยู่บนภูเขาที่นี้พระองค์ทอดพระเนตรไปทางไหนก็สว่างไสวสามควรจะตั้งเป็นศาสาไว้พระองค์จึงแย้มพระโอษฐ์เจรจากับพระอานนท์ผู้เป็นพุทธอุปฐากว่า “ดูก่อนอานนท์สถานที่นี้เป็นที่รื่นรมย์ยินดีมาก สมควรเป็นที่ตั้งแห่งพระศาสนาของตถาคตต่ดไปอีกแห่งหนึ่ง” เมื่อพระอานนท์เถระผู้เป็นพุทธอุปฐากได้ยินพุทธดำรัสเช่นนี้นแล้วก็กราบทูลขอพระเกศาธาตุกับพระองค์ว่า “ภันเตภะคะวา” ข้าแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เห็นกาลไกลตามพุทธวิสัยในอนาคตเบื้องหน้าขอพระพุทธองค์จงได้ทรงพระมหากรุณาประทานพระเกศาธาตุสถาปนาไว้ในที่นี้เพื่อเป็นที่กราบไหว้สักการะบูชาแก่เทวาดและมนุษย์ทั้งหลายต่อไปพระพุทธองค์ทรงยกพระหัตถ์เบื้องขวาขึ้นลูบบนพระเศียรก็ได้พระเกศาสองเส้น เอายื่นให้พระอานนท์ผู้เป็นพุทธอุปฐากพระอานนท์ก็น้อมรับเอาด้วยกระบอกไม้รวกแล้วก็ส่งให้ท้าวโกสีย์เทวราช(คือพระอินทร์)ท้าวโกสีย์เทวราชก็เนรมิตรกระอูปทองคำใบหนึ่งใหญ่ประมาณ ๗ กำมือใส่พระเกศาธาตุแล้วก็เนรมิตปราสาทหลังหนึ่งสูง ๒ วา ๒ ศอกแล้วขุดอุโมงลงลึก ๗ วา ก่อด้วยดินและอิฐแล้วก็เอากระอูปทองคำที่บรรจุพระเกศาธาตุและปราสาทลงไว้ที่นั้นภายหลังก็ทำการก่อพระเจดีย์ครอบไว้สูง ๑๔ วา ๒ ศอก เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วพระพุทธองค์จึงตรัสแก่พรอานนท์ว่าผู้ใดมีจิตศรัทธามาสร้างพระเจดีย์ กุฏิ วิหาร ศาลา บันไดนาค ได้มาทำให้บุญให้ทานนมัสการยังสถานที่แห่งนี้บุคคลนั้นจะได้ผลอานิสงส์อันยิ่งใหญ่ไพศาลทั้งในชาตินี้และชาติหน้าจะพลันได้บรรลุถึงมรรคผลนิพพานในกาลอันใกล้นี้แลผู้ที่จะมาสร้างให้เจริญรุ่งเรืองให้บูชาท้าวจตุมหาราชทั้ง ๔ พระอุปคุตมหาเถระและพญานาคแม่ธรณีให้ทำหอ ๒ หลังให้มีเครื่องท้าว ๕ ประการและของกินให้ครบบริบูรณ์มีข้าวต้ม,ขนม ,น้ำอ้อย ,น้ำตาล, ช่อร้อยผืน, ตุง(ธง) ๑๐๐ ตัว,ฉันตรใหญ่ ๔ ใบ,มีคันยาว ๔ ศอก, ให้บูชาเทวดารักษาต้นเกลืออยู่ทิศใต้และต้นค่าอย่าได้ขาด จะรุ่งเรืองต่อไปฟ้าฝนจะตกต้องตามฤดูกาลพืชพันธุ์ธัญญาหารก็จะงอกงามคนทั้งหลายจะอยู่สุขสบายปราศจากโรคภัยไข้เจ็บทั้งปวง

ท้าวโกสีย์เทวราชพร้อมด้วยพระอานนท์ก็พากันกราบทูลอาราธนานิมนต์ให้เสด็จจาริกไปเทศนาโปรดเวไนยสัตว์ทั้งหลายสถานที่อื่นๆ อีกต่อไปเมื่อพระพุทธองค์จะเสด็จจากที่นี่ไปมีพุทธดำรัสพยากรณ์กับพระอานนท์ว่าดูกรอานนท์สถานที่นี้ต่อไปภายหน้าเมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้วสาวกของตถาคตองค์หนึ่งจะนำอัฐิกระดูกหัวแม่มือเบื้องซ้ายของตถาคตมาบรรจุไว้ในสถานที่นี้ให้เป็นที่สักการะบูชาไหว้สาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายให้เขาได้บรรลุถึงมรรคผลนิพพานต่อไปภายภาคหน้าจะมีพระยาองค์หนึ่งซึ่งศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาจะได้สถาปนาบูรณะซ่อมแซมให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป(ทราบภายหลังว่าพญาองค์นี้คือ พญาลิไท) มีพุทธฏีกาว่าภายภาคหน้ามหาชนผู้มีศรัทธาจักพากันมากราบไหว้สักการะบูชายังพระเจดีย์ที่บรรจุพระเกศาธาตุแห่งตถาคต ณ สถานที่นี้แล้วจักมีอายุยืนยาวเจริญรุ่งเรื่องยิ่งขึ้นไป สถานที่นี้จักได้ชื่อว่าพระธาตุจอมแจ้ง แลฯ ในบริเวณวัดนี้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้มีถ้ำอยู่ถ้ำหนึ่งและมีวัวใหญ่ตัวหนึ่งชื่ออุศุภราช ได้อาศัยอยู่ในถ้ำนั้นและมีวิญญาณเจ้าที่ได้รักษาสมบัติอยู่ในถ้ำนั้นด้วย วัวตัวนั้นมักจะออกไปเที่ยวกัดกินต้นข้าวของชาวบ้านตามบ้านต้นไคร้ธรรมเมือง พันเชิง บ้านมุ้ง ป่าแดงหนองแขม หนองไร่บ่อยๆ มีครั้งหนึ่งชาวบ้านหนองไร่ได้ไปดูนาของตนได้พบเข้ากับวัวตัวหนึ่งกำลังกัดกินต้นข้าว ชาวนาผู้นั้นก็ได้ไล่ติดตามวัวไปจนถึงถ้ำนั้นพบเข้ากับวิญญาณเจ้าที่(ผี) ที่สิงสถิตอยู่ในถ้ำนั้นแปลงกายเป็นคนห้ามไม่ให้ชาวนาเข้าไปเพราะกลัวจะเป็นอันตรายจึงบอกให้ชาวนารออยู่ข้างนอกปากถ้ำแล้วก็เอาขมิ้นใส่ถุงให้เพื่อตอบแทนค่าเสียหายจึงสั่งให้ชาวนารีบกลับไปเสียโดยเร็ว ชาวนาถือถุงขมิ้นมาไกลพอสมควรและคำว่าขมิ้นบ้านของตนนั้นก็มีมากมายจึงเอาขมิ้นทิ้งเสียเหลือนิดหน่อยติดถุงพอถึงบ้านจับขมิ้นดูปรากฏว่าขมิ้นที่เหลือกลายเป็นทองคำหมดเมื่อเป็นเช่นนี้ตนจึงรีบกลับไปดูขมิ้นที่ตนทิ้งไว้ก็ไม่พบอะไรเลยบ้านของชาวนาที่ไล่วัวมาถึงถ้ำจึงได้ชื่อว่า บ้านหนองไร่มาจนถึงทุกวันนี้ เพราะเหตุได้ไล่วัวอุศุภราชตัวนั้นแลถ้ำนั้นภายหลังจ้าวนายและชาวบ้านได้พร้อมใจกันสร้างเจดีย์ปิดปากถ้ำไว้ เพื่อไม่ให้วิญญาณเจ้าที่และวัวอุศุภราชมารบกวนชาวบ้านต่อไปฯ กาลเวลาได้ล่วงเลยมานานหลายร้อยปีองค์พระเจดีย์ก็ได้ชำรุดทรุดโทรมลงมาเนื่องจากภัยธรรมชาติและยุทธสงคราม

ในกาลต่อมาเมื่อสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีประมาณ พ.ศ.๑๙๐๐ ปีเศษมีพระยาองค์หนึ่งชื่อว่า พญาลิไท เป็นผู้ปกครองราชอาณาจักรลานนาไทยพระองค์เป็นผู้มีพระราชหฤทัยเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างแรงกล้าทรางทราบว่าวัดวาอารามซึ่งตั้งอยู่ภาคเหนือได้มีการชำรุดทรุดโทรมเสียหายมากเนื่องจากถูกยุทธสงครามจึงได้มีความดำริในพระหฤทัยไว้ว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องไปบูรณะซ่อมแซมให้ดีขึ้น เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้เคารพบุชาสืบต่อไปดังนั้นพระองค์จึงได้ยกรี้พลช้างม้า และข้าราชบริพารทั้งชายหญิงพร้อมทั้งทรัพย์สิ่งของเป็นจำนวนมากเสด็จจากที่ประทับ ณ เมืองศรีสัชชนาลัยเป็นราชธานีแห่งอาณาจักรลานนาไทยมายังเมืองพลนครเพื่อปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ที่บรรจะพระบรมธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้มั่นคงถาวรพระองค์ได้เสด็จมาหลายวันตามประวัติไม่ได้บอกไว้ชัดว่ามากี่วันบอกเพียงแต่ว่าพาข้าราชบริพารมาถึงบ้านกวางก็มาพักรอนแรมอยู่ที่บ้านนั้น ๑ คืนแล้วจึงเสด็จไปถึงจุดมุ่งหมายแต่คืนนั้นเป็นเหตุบังเอิญอย่างไรก็ไม่ทราบมีการล้มเสียช้างเชือกหนึ่งที่บรรทุกสิ่งของมาลักษณะหมอบหรือมูบ ณ ที่บ้านกวางนั้นจึงได้นามบ้านนั้นว่าบ้านกวางช้างมูบจนถึงทุกวันนี้ พระองค์จึงมีพระบัญชาเฉลี่ยสิ่งของไปบรรจุช้างเชือกอื่นต่อไปเพื่อเสด็จยังพระบรมธาตุที่ควรบูรณะที่ตั้งพระหฤทัยไว้นั้นเป็นเวลาใกล้รุ่งแจ้งอยุ่แล้วจึงเคลื่อนขบวนรี้พลช้าง ม้า ข้าราชบริพารเสด็จมาจวนสว่างเอายังที่ดอยลูกนี้อยู่ทางทิศตะวันออกของบ้านกวางจึงเรียกดอยนี้ว่า “ดอยจวนแจ้ง” หรือปัจจุบันนี้เรียกว่า พระธาตุจอมแจ้ง พระองค์จึงรับสั่งให้ข้าราชบริพารและสนมเอกและสนมทั้งหลายจัดที่ประทับของพระองค์บนดอยนี้ท่านทั้งหลายจะเห็นจากซากกำแพง ห้องพัก และบ่อน้ำ ปัจจุบันนี้ชาวบ้านเรียกว่า “ศาลานางแก๋ว นางแมน และบ่อน้ำนางแก๋ว นางแมน” ตราบเท่าทุกวันนี้เมื่อพระองค์และข้าราชบริพารพักอยู่ที่นี้พอสมควรแล้วจึงได้เสร็ดไปที่พระธาตุช่อแฮเพื่อทำการก่อสร้างบูรณปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมธาตุและสร้างโบสถ์ วิหาร สำเร็จเรียบร้อยแล้วจึงได้เสด็จกลับมาบูรณะปฏิสังขรณ์พระธาตุจอมแจ้ง อุโบสถ วิหาร สำเร็จเรียบร้อยแล้วจึงได้เสด็จกลับไปสร้างอารามขึ้นแห่งหนึ่งตรงที่ช้างล้มเสียชีวิตเชือกหนึ่งมีชื่อว่า ดอยช้างมูบ ปัจจุบันนี้เรียกว่าวัดกุญชรนิมาตร ทางวัดจึงได้สร้างรูปช้างมูบไว้ที่นั้นเป็นสัญลักษณ์ของวัดสืบมาจนถึงทุกวันนี้ หลังจากนั้นพญาลิไท พระองค์ก็ได้เสด็จกลับยังเมืองศรีสัชชนาลัยแล้วพระองค์จึงได้ทรงเสด็จออกผนวช

ประวัติตอนหลังจากพญาลิไทได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ซ่อมแซมองค์พระธาตุ อุโบสถ วิหารเรียบร้อยแล้วนางสนมของพระองค์ก็ได้เสียชีวิตลง ๒ คนมีชื่อว่า นางสายฟองแก้ว กับนางสายบัวแมน ส่วนวิญญาณของนางทั้งสองก็ได้ไปสถิตอยู่ที่เจดีย์ปิดปากถ้ำทางตะวันตกเฉียงใต้ขององค์พระธาตุ บางครั้งนางสายฟองแก้ว นางสายบัวแมน จะไปยืมฟืมของชาวบ้านแถบนั้นมาทอผ้า ถ้าไปยืมตอนเช้าตอนเย็นนางก็เอามาคืนเจ้าของทุกครั้งไม่ให้ล่วงราตรี(ข้ามคืน)เวลาเอาฟืมมาคืนเจ้าของนางสายฟองแก้ว นางสายบัวแมนกลับแล้วเจ้าของฟืมไปดูขมิ้นที่ทิ้งไว้ในตะกร้าปรากฎว่าขมิ้นได้เปลี่ยนเป็นทองคำไปเขตกำแพงรอบพระธาตุจอมแจ้งมีตำนานกล่าวว่าวัวอุศุภราชตัวที่อาศัยอยู่ในถ้ำนั้นออกมาเยี่ยวรดเป็นแนวเขตไว้ คนโบราณจึงได้ก่อกำแพงตามรอยเยี่ยวของวัวนั้น กำแพงจึงมีลักษณะคดโค้งไปมาเหมือนวัวเยี่ยวตราบเท่าทุกวันนี้

นางสายฟองแก้ว นางสายบัวแมน เมื่อยังมีชีวิตอยู่ได้สร้างบ่อน้ำไว้บ่อหนึ่งตั้งอยู่บริเวณวัดทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ขององค์พระธาตุมีชื่อว่า บ่อน้ำนางสายฟองแก้วนางสายบัวแมน มีประวัติกล่าวไว้ว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมารุ่งแจ้งที่นี้หาน้ำมาล้างพระพักตร์(หน้า)ไม่ได้เพราะปีนั้นบานเมืองแห้งแล้งและอีกอย่างหนึ่งสถานที่ก็สูง พระองค์ได้อธิษฐานให้น้ำขึ้นมาพระองค์ได้ใช้พระหัตถ์(มือ)เจาะลงไปเป็นบ่อแล้วน้ำก็ไหลออกมาตามพุทธประสงค์น้ำนั้นมีลักษณะใสงามพระองค์จึงได้ใช้น้ำ บ่อน้ำนั้นมีลักษณะ ๕ เหลี่ยมเท่ากับมือ ๕ นิ้วของพระองค์ต่อมาภายหลังพระยาดับภัยมาชุดลึกลงไปอีกมีรูปร่างลักษณะอย่างเดิมแล้วก็ก่อด้วยอิฐและปูนบ่อน้ำนั้นมีชื่อว่า บ่อน้ำทิพย์ ตราบเท่าทุกวันนี้

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•จันทร์•ที่ 05 •มีนาคม• 2012 เวลา 11:50 น.• )