พระบรมฉายาลักษณ์ ของราชกาลที่ ๕ ที่พระราชทานให้ พระวิชัยราชา เจ้าของคุ้มวิชัยราชา และในยุคของเจ้าวงค์ แสนศิริพันธุ์ ยังเห็นแขวนอยู่ที่โถงชั้นสองแต่ไม่ทราบว่าหายไปไหน โชคดีเมื่อพี่พิชิต แวะมาเยี่ยมจึงรู้ว่ารูป พระบรมฉายาลักษณ์ ของราชกาลที่ ๕ อยู่ที่ท่าน จะเป็นรูปถ่ายหรือวาดไม่มีใครทราบได้ แต่มีความสวยงามมาก และเป็นรูปแบบซึ่ง “ไม่เคยพบเห็นที่ไหนมาก่อน” ๒๕๔๘ กระผมได้พบปะกับคุณสุเทพ สมบูรณ์เพชร  อดีตนายอำเภอ สองแคว จังหวัดน่าน ท่านยืนยันว่าเรื่องราชกาลที่ ๕ เสด็จแพร่นี้เป็นไปได้สูง  เพราะพระองค์เคยเสด็จไปน่าน เพราะสมัยก่อนไปน่านต้องผ่านแพร่แน่นอน

๒๕๕๐ อาจารย์ พานิชย์ ผู้จุดรายการวิทยุ สวท.ได้กล่าวในรายการวิทยุของท่านตอนหนึ่งว่า คุณพ่อเคยเล่าให้ฟังในเรื่องราวของ พระพุทธเจ้าหลวง เสด็จมาเยือนเมืองแพร่เหมือนกัน  แต่หาหลักฐานรายระเอียดข้อมูลเพิ่มเติมไม่ได้ ๒๕๕๑ กระผมได้จัดนิทรรศการ เรื่องราวความเป็นมาของวิชัยราชาที่เคยสร้างความฮือฮาให้กันผู้คนใน กทม. มาแล้วเพื่อให้พี่น้องชาวแพร่ได้รับทราบถึงเรื่องราวของ “การเสียสละของทหารผ่านศึก” ผู้มุ่งมั่นเสียสละทุ่มเท และสู้มาร่วม ๑๘ ปี เพื่ออนุรักษ์ คุ้มวิชัยราชาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว แหล่งเรียนรู้สำคัญอีกแห่งของจังหวัดดแพร่ ซึ่งไดรับการตอบรับเป็นอย่างดีในชุมชนศรีบุญเรืองเองบางท่าน เริ่มตระหนักถึงความสำคัญของ “คุ้มวิชัยราชา” ที่วันนี้ ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายว่าเป็นมรดกและเป็นรอยต่อทางประวัติศาสตร์สำคัญของชาติโดยเฉพาะคุณแพรว ผู้มีวาสสถานติดกับคุ้มวิชัยราชา ที่นอกจากให้กำลังใจสนับสนุนอวยพรให้โครงการนี้สำเร็จลุล่วงไปได้แล้วได้ให้ข้อมูลเชิงลึกถึงเรื่องนี้ว่า สมัยเด็ก ๆ คุณยายเล่าให้ฟังว่ารัชกาลที่ ๕ เคยเสด็จมาที่คุ้มวิชัยราชา และเสด็จประทับอยู่หน้ามุข ให้ประชาชนชาวแพร่แห่แหนกันมาเฝ้าชมบารมีกันล้นหลามเนืองแน่ไปหมด และถนนวิชัยราชานี้พระองค์ทรงเป็นผู้พระราชทานชื่อให้ด้วยพระองค์เอง ตัวคุณแพรวเอง ในวัยเด็กวิ่งเล่นเข้านอกออกในอยู่ในคุ้มวิชัยราชาทุกวัน เพราะเป็นเพื่อนสนิทสนมกับบุตรสาวของเจ้าวงศ์ จึงคุ้นเคยกับบ้านหลังนี้เป็นอย่างดี ยังได้กล่าวถึงห้องมุขชั้นบนของคุ้มวิชัยราชา ซึ่งปูพรมตกแต่งไว้เป็นอย่างดี มีโซฟาเบาะหนังสีงาช้างสวยงามมาก และเจ้าวงศ์มักตะเพิดไล่ไม่ยอมให้เด็ก ๆ เข้ามาเล่นซุกซนใกล้ ๆ โดยกล่าวว่า โซฟาตัวนี้เคยเป็นที่ประทับของ “เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน” มาแล้ว ห้ามเข้ามาเล่นวุ่นวาย

 

ต่อมา ทนาย ชาตรี ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ที่เรียกกันว่าแม่คำมีตำหนัก นั้น เพราะเคยมีตำหนักไม้ เป็นที่พักแรมของราชกาลที่ ๕ ระหว่างเสด็จไปน่าน ปัจจุบันรื้อทิ้งไปแล้ว และที่น่าแปลกใจคือ เมื่อญาติฝ่ายภรรยากระผม ได้นำรูปของบ้านหลังนี้ไปให้ร่างทรงระดับเกจิในภาคตะวันออกดู ท่านถึงกับอึ้ง เมื่อเห็นรูปบ้านหลังนี้เป็นครั้งแรก และทั้งที่ไม่รู้ประวัติ และไม่รุว่าบ้านหลังนี้อยู่แห่งหนตำบลใด ท่านกล่าวออกมาทันทีว่า บ้านในรูปนี้เคยมีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งแผ่นดินสยาม เคยเสด็จประทับ! มาแล้ว “ไม่เชื่อหย่าลบหลู่”

เรื่องนี้สำคัญยิ่งสำหรับจังหวัดแพร่ ควรที่ทุกฝ่าจักต่อยอดตรวจสอบค้นคว้าหาข้อมูลที่แท้จริงกันต่อไป สำหรับท่านที่มีข้อมูล หรือทราบเบาะแสกรุณาติดต่อ

วีระ สตาร์ โทรศัพท์ ๐๘ - ๑๕๖๒ - ๔๔๒๕

“ชนชาติไม่ใส่ใจประวัติศาสตร์ ยากที่ชาตินั้นจักเจริญรุ่งเรืองมั่นคงได้”

เซอร์ วินสตัน เชอร์ชิล

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 01 •พฤศจิกายน• 2011 เวลา 18:42 น.• )