หลังจากพม่าครองเมืองเชียงใหม่และหัวเมืองในอาณาจักรล้านนาเป็นระยะเวลากว่า ๒๑๖ ปี (พ.ศ. ๒๑๐๑ – ๒๓๑๗) ล้านนาได้หมดสภาพเป็นอาณาจักร แต่ละเมืองปกครองกันโดยอิสระขึ้นต่อพม่า จนถึงช่วงปลายอาณาจักรพม่าอ่อนแอลง มีการต่อต้านอำนาจพม่าของชาวล้านนานั้นก็คือเมืองเชียงใหม่ เป็นการก่อการกบฏต่อพม่า และต่อสู้อย่างโดดเดี่ยวสาเหตุเนื่องจากโดนกดขี่ข่มแหงจากข้าหลวงพม่า ส่วนเมืองลำพูนนั้น ท้าวมหายศซึ่งเป็นเจ้าเมืองได้เรียกเก็บภาษีจากชาวบ้านอย่างน่าเลือดใครบ้านไหนไม่ให้ก็ทำร้าย ส่วนกลุ่มผู้นำเมืองลำปางได้อ้างอิงอำนาจพม่า พ่อเจ้าทิพย์ช้างต้นราชวงศ์เจ้าเจ็ดตนเดิมเป็นพรานป่าได้อาสาชาวเมืองลำปางต่อสู้กับกองทัพท้าวมหายศแห่งเมืองลำพูนจนได้รับชัยชนะชาวเมืองลำปางจึงยกพ่อเจ้าทิพย์ช้างเป็นเจ้าเมืองลำปาง โดยครองเมือง ๒๗ ปี (พ.ศ. ๒๒๗๕ – ๒๓๐๒) พ่อเจ้าทิพย์ช้างยังอิงอำนาจพม่าเพราะกลุ่มอำนาจเก่า “ท้าวลิ้นก่าน” ซึ่งเป็นบุตรเจ้าเมืองลำปางเดิม พยายามกลับสู่อำนาจ เพื่อความชอบธรรมในการปกครอง และตัดปัญหากับกลุ่มอำนาจเก่า พ่อเจ้าทิพย์ช้าง หรือพยาสุลวะลือไชยจึงส่งบรรณาธิการไปถวายกษัตริย์พม่า ความชอบครั้งนี้กษัตริย์พม่าพระราชทานชื่อว่า “พระยาไชยสงคราม” เจ้าชายแก้วบุตรพ่อเจ้าทิพย์ช้างครองเมืองสืบมาได้อาศัยอำนาจพม่าช่วยกำจัดท้าวลิ้นก่านลง พม่าแต่งตั้งเจ้าชายแก้วเป็น “เจ้าฟ้าสิหราชธานี” ครองเมืองลำปาง

ในสมัยสิ้นโป่อภัยคามินีเจ้าเมืองเชียงใหม่ถึงแก่กรรมใน พ.ศ. ๒๓๑๒ พม่าแต่งตั้งโป่มะยุง่วน หรือโป่หัวขาวขึ้นเป็นเจ้า แต่การปกครองของพม่านั้นมีลักษณะกดขี่ข่มเหงชาวล้านนาเพิ่มมากขึ้นมีการเกณฑ์ราษฎรไม่ว่างเว้น ขุนนางก็ถูกลิดรอนอำนาจลง สร้างความไม่พอใจต่อพระยาจ่าบ้าน (บุญมา) และพระเจ้ากาวิละ พระยาจ่าบ้านขัดแย้งกับโป่หัวขาวถึงกับสู้รบกันที่กลางเมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๔ พระยาจ่าบ้านแพ้ น้องชายเสียชีวิตในสนามรบ เหตุที่แพ้เพราะกำลังและอาวุธที่ด้อยกว่า เพียง ๓๐๐ คน ให้อาวุธส่วนใหญ่เป็นอุปกรณ์การเกษตร หลังจากพ่ายแพ้ครอบครัวของพระยาจ่าบ้านถูกส่งไปยังเมืองอังวะ ทำให้เกิดความแค้นใจถึงขนาดจึงได้ตัดสินใจเข้ากับฝ่ายสยาม ขอสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าตากสินแห่งกรุงธนบุรี

พระยาจ่าบ้านชักชวนพระเจ้ากาวิละต่อต้านอำนาจพม่า พระเจ้ากาวิละเห็นดีด้วยจึงร่วมกันวางแผนอย่างรอบคอบ เมื่อได้โอกาสพระยาจ่าบ้านลงไปกราบทูลพระเจ้าตากสินที่กรุงธนบุรีให้ส่งกองทัพมาปราบพม่า นับเป็นโอกาสดี พระเจ้าตากสินทรงเร่งนำกองทัพหลวงขึ้นมาโดยเร็วเพียง ๑๗ วันก็มาถึงเถินที่เถินท้าวชมภูได้สังหารข้าหลวงพม่าผู้กำกับเมืองเถินเพราะได้รับการนัดหมายจากพระเจ้ากาวิละ ส่วนพระเจ้ากาวิละก็สังหารพม่าแล้วเข้าสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าตากสิน ในการทำสงครามเชียงใหม่ พระเจ้ากาวิละอาสาพระเจ้าตากสินเป็นกองทัพหน้า การตีเมืองเชียงใหม่สำเร็จ พ.ศ.๒๓๑๗ โดยการร่วมมือระหว่างไทยกับผู้นำชาวล้านนา

ครั้งเสร็จสงครามเชียงใหม่ พ.ศ.๒๓๑๗ พระเจ้าตากสินทรงตอบแทนความดีความชอบโดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระยาจ่าบ้านเป็นพระยาหลวงวิชิรปราการกำแพงเพชร ครองเมืองเชียงใหม่พระเจ้ากาวิละครองเมืองลำปาง ส่วนน้องของพระเจ้ากาวิละอีก ๖ คน ให้ช่วยราชการที่เมืองลำปางโดยมีเจ้าน้อยธรรมลังการเป็นอุปราช เจ้าบุญมาเป็นราชวงค์ เจ้าเจ็ดตนพี่น้องได้ร่วมกันป้องกันเมืองลำปางให้พ้นจากการรุกรานของพม่า ขณะที่เชียงใหม่ถูกพม่ายึดครองสำเร็จเมืองลำปางจึงเป็นแหล่งที่มั่นของฝ่ายไทย

หลังจากพระเจ้ากรุงธนบุรียึดเชียงใหม่ได้แล้วได้มอบอาญาสิทธิ์ให้พระยาจ่าบ้านเป็น “เจ้าแผ่นดินเชียงใหม่” โดยทำพิธีที่วัดพระธาตุหิริภูญชัยพระเจ้ากรุงธนบุรีให้เจ้าเมืองเชียงใหม่มีอำนาจปกครองตนเอง ในฐานะเมืองประเทศราชอยู่ภายใต้ราชอาณาจักรสยาม

สภาพเมืองเชียงใหม่สมัยพระยาวชิรปราการมีกำลังพล ๑,๙๐๐ คน ไม่อาจรักษาเมืองได้เพราะเมื่อโป่หัวขาวฝ่ายแพ้ก็กลับมายกกำลังล้อมเชียงใหม่เพียงสองเดือนหลังจากนั้นเชียงใหม่ถูกล้อมเป็นระยะเวลา ๘ เดือนกองทัพทางใต้ก็ยกกำลังมาช่วยจนพม่าแตกพ่ายไป พระยาวชิรปราการทิ้งเมืองเชียงใหม่พาลูกเมียไปพึ่งพระยาเจ้ากาวิละที่เมืองลำปางแต่อย่างไรก็ตามพระยาวชิรปราการ มีความพยายามที่จะฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่โดยตั้งกำลังมาที่ท่าวังพร้าวในปี พ.ศ.๒๐๓๐ ต่อมาตั้งมั่นที่เวียงหนองล่องจากนั้นย้ายไปวังสะแกงสบลี้ ซึ่งเป็นแหล่งสุดท้างเพราะระหว่างที่อยู่ ในราวพ.ศ.๒๓๒๒ พระยาวชิรปราการถูกพระเจ้ากรุงธนบุรีลงโทษจำคุกที่กรุงธนบุรีในข้อหาฆ่าอุปราชก้อนแก้ว ซึ่งในที่สุดพระยาวชิรปราการก็เสียชีวิตที่กรุงธนบุรีความหวัง ที่จะฟื้นฟูเชียงใหม่จึงสิ้นสุดลง เมืองเชียงใหม่ถูกปล่อยล้างไว้ประมาณ ๒๐ ปี (พ.ศ.๒๓๑๙ – ๒๓๓๙) พระเจ้ากาวิละได้ฟื้นฟูเชียงใหม่ให้คืนกลับเป็นบ้านเมืองอีกครั้ง เมื่อเชียงใหม่มีอายุครบ ๕๐๐ ปี (พ.ศ.๑๘๓๙ – ๒๓๓๙ )

พระเจ้ากาวิละได้รับตำแหน่งเจ้าเมืองเชียงใหม่ใน พ.ศ. ๒๓๒๕ แต่เมืองเชียงใหม่เป็นเมืองร้าง การฟื้นฟูเชียงใหม่เป็นปัญหาอย่างมากอย่างมาก เนื่องจากกำลังคนขาดแคลนอย่างหนัก และพม่ายังยึดครองเมืองต่าง ๆ ในล้านนาไว้เกือบหมด พระเจ้ากาวิละจำเป็นต้องค่อย ๆ รวบรวมผู้คนให้มั่นคงก่อน พระเจ้ากาวิละเริ่มต้นด้วยวิธีขอกำลังไพร่พลจากเมืองลำปาง ๓๐๐ คน แล้วมารวบรวมไพร่พลเดิมของพระยาวชิรปราการจ่าบ้านบริเวณวังสะแกงอีก ๗๐๐ คน เป็นพันคนเข้าไปตั้งมั่นที่ป่าซาง พระเจ้ากาวิละสร้างเวียงป่าซางใน พ.ศ. ๒๓๒๕ ให้เป็นเมืองชั่วคราวสาเหตุที่เลือกป่าซางนั้นเพราะอยู่ระหว่างเชียงใหม่กับลำปางรุกได้ ถอยง่าย และที่ป่าซางเป็นอู่ข้าว อู่น้ำ ที่อุดมสมบูรณ์ มีลำน้ำแม่ปิง แม่ทา แม่กวง บริเวณนี้จึงเป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญ ลักษณะตัวเวียงความยาว ๑,๐๐๐ เมตร ลักษณะเป็นป้อมปาการแข็งแรง โดยใช้เวลารวบรวมไพร่พลนานถึง ๑๔ ปี (พ.ศ. ๒๓๒๕ – ๒๓๓๙) จึงเข้าไปฟื้นฟูตั้งเมืองเชียงใหม่ได้ หลังจากตั้งเมืองเชียงใหม่แล้ว พระเจ้ากาวิละมีนโยบายกำจัดพม่าให้หมดสิ้น และสร้างความเข้มแขงแก่ล้านนาจนถึงแก่พิราลัย ใน พ.ศ. ๒๓๕๖

เจ้าเจ็ดตนเป็นกลุ่มอำนาจใหม่ (เมื่อเทียบกับราชวงศ์มังราย) ที่สืบทอดอำนาจสู่คนในวงศ์สกุลเดียวกัน และเป็นการรวบกลุ่มอำนาจเครือญาติซึ่งสามารถจัดตั้ง "รัฐบาลท้องถิ่น" ที่เข้มแข็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมัยพี่น้อง ๗ องค์ปกครอง จะเป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลกลางแทรกอำนาจเข้ามาได้ยาก ประกอบกับรัฐบาลกลางช่วงก่อนการปฏิรูปการปกครองมีนโยบายให้เจ้าเมืองประเทศราชมีอิสระในการปกครองตนเองอยู่มาก อย่างไรก็ตามรัฐบาลกลางก็ไม่ปล่อยให้อิสระเสียทีเดียว กล่าวคือ รัฐบาลกลางมีวิธีการควบคุมที่หัวเมืองประเทศราชต้องตระหนักถึงอำนาจของรัฐบาลที่เหนือกว่าอยู่เสมอ

ตำแหน่งเจ้าเมืองเชียงใหม่สมัยพระเจ้ากาวิละ พระยาธรรมลังกา และพระยาคำฝั้นจะผ่านทางน้องชายซึ่งเป็นเจ้า ๗ องค์พี่น้อง การก้าวสู่อำนาจจะต้องได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มญาติวงศ์และขุนนางระดับสูง เป็นลักษณะที่พิจารณากันเองตามความเหมาะสม (สิ่งที่คงมีส่วนของการพิจารณาคือความเป็นผู้อาวุโส ทั้งนี้เห็นได้จากการขึ้นสู่อำนาจของเจ้าเมืองเชียงใหม่ ๓ องค์แรก)  จากนั้นก็จะ “น้อมบ้านเมืองเวณหื้อ” แด่เจ้าเมืองเชียงใหม่ ซึ่งจะมีการประกอบพิธีราชาภิเศกขึ้นครองเมืองตามประเพณีดั่งเดิม แล้วจึงส่งข่างลงกรุงเทพฯ หรือเจ้าเมืององค์ใหม่จะลงไปกรุงเทพฯ เพื่อขอรับพระราชทานสัญญาบัตรและเครื่องยศ พระมหากษัตริย์จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง้ตามที่ท้องถิ่นเสนอมา ซึ่งเท่ากับว่าพระมหากษัตริย์ของไทยได้รับรองสิทธิธรรมของเจ้าเมืองและเป็นการยอมรับความเหนือกว่าของกรุงเทพฯ ที่มีต่อเชียงใหม่

หลังจากเจ้าเมืองลงไปรับพระราชทานสัญญาบัตรและเครื่องยศจะกลับมายังบ้านเมืองและประกอบพิธีราชาภิเษกเป็นครั้งที่ ๒ ลักษณะการขึ้นครองอำนาจดังกล่าวจะอยู่ในสมัยพระยาธรรมลังกา (พ.ศ.๒๓๕๘ – ๒๓๖๔) พระยาคำฝั้น(พ.ศ.๒๓๖๖-๒๓๖๘) และพระยาพุทธวงศ์(พ.ศ.๒๓๖๙-๒๓๘๙) เมือพิจารณาการประกอบพิธีราชาภิเษกก่อนที่ทางกรุงเทพฯ จะแต่งตั้งแสดงให้เห็นถึงความมีอิสระทางการเมืองภายในสูงมาก
ในระหว่างที่พระเจ้ากาวิละผู้เป็นต้นวงค์สกุลเจ้าเจ็ดตนยังมีอำนาจอยู่ในเมืองเชียงใหม่นั้น ไม่ปรากฏหลักฐานว่า มีการทะเลาะวิวาท หรือความพยายามที่จะแข่งขันอำนาจกันในระหว่างเจ้านายพี่น้องทั้ง ๗ คน แต่อย่างไรในด้านการศึกสงครามต่างๆก็มีความช่วยเหลือร่วมมือกันอย่างดีในระหว่างเมืองเชียงใหม่ ลำปาง และลำพูน เข้าใจว่าเหตุผลหนึ่งคือ สภาพความจำเป็นของบ้านเมืองที่แวดล้อมไปด้วยข้าศึกศัตรู ซึ่งความต้องการความร่วมมือร่วมใจกันเป็นอย่างมาก จึงจะสามารถเอาตัวรอดจากภัยอันตรายดังกล่าวได้ และพระเจ้ากาวิละซึ่งเป็นพี่คนโตมีชีวิตยืนยาวจนถึง พ.ศ.๒๓๕๖ (ต้นราชการที่ ๒) เป็นผู้มีบุคลิกเข้มแข็งจึงสามารถควบคุมหรือขอความร่วมมือจากพี่น้องรองๆลงมา หรือญาติพี่น้องผู้อื่นได้โดยสะดวก
จุดเริ่มต้นของการแข่งขันอำนาจเกิดขึ้นในสมัยพระยาคำฝั้น(พ.ศ.๒๓๖๖-๒๓๖๘) ระหว่างพระยาคำฝั้นกับพระยาราชวงศ์สุวรรณ์คำมูล บุตรของพ่อเรือน ซึ่งมีความเกี่ยวพันเป็นลูกพี่ลูกน้องกัน หลักฐานของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นพบในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ในลักษณะแข่งขันกันสร้างบารมีในทางพุทธศาสนา โดยพระยาคำฝั้นเมื่อได้รับการแต่งตั้งเป็นพระยาเชียงใหม่แล้วก็ทำบุญให้ทานทำนุบำรุงพระพุทธศาสนามากมายหลายประการ ขณะเดียวกันพระยาราชวงค์สุวรรณ์คำมูล ก็ทำบุญให้ทานเป็นอันมากเช่นกัน ซึ่งไม่เคยมีผู้ใดทำบุญมากมายเท่าเทียมกับเจ้าเมืองความขัดแย้งนี้ถึงขั้นเกือบจะรบพุ่งกันการเมือง “จะเกิดวิวาทยุกรรมกันด้วยกัน” แต่การวิวาทดังกล่าวไม่ได้ลุกลามใหญ่โตถึงขั้นสู้รบกันเพราะพระเจ้าลำปางวังทิพย์ยกพลมา ๒,๐๐๐ คน พระเจ้าลำพูนบุญมายกพลมา ๑,๐๐๐ คน ช่วยกันห้ามปรามเหตุการณ์ต่างๆจึงสงบลง และพระยาคำฝั้นได้ออกบวชที่วัดบุปผาราม(วัดสวนดอก)อยู่ระยะหนึ่งก็ลาสิขาบทมาครองเมืองตามเดิมจนอาสัญกรรม
พระยาคำฝั้นครองเมืองได้ ๓ ปีก็อสัญกรรม ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวถึงสภาพเมืองเชียงใหม่สมัยพระยาคำฝั้นว่า “บ้านเมืองเป็นกลียุคเหตุว่าเจ้าทั้งสองพระองค์บ่แม่นกัน” ในทันทีที่พระยาคำฝั้นเสียชีวิต พระเจ้าลำปางดวงทิพย์ยกพลมาเกือบพันคน พระเจ้าลำพูนบุญมา “น้องหล้า” มีพล ๖๐๐ คน “ก็มาเร่งรัดจัดเอาข้าวของเงินคำ ครอบครัวสมบัติแห่งพระเป็นเจ้าอันเข้าสู่สวรรคตเป็นอันมาก เจ้าพิมพิสารราชบุตรต้านทานบ่ได้ ก็ลวดละบรมศพพระราชบิดาเสีย พาเอาเจ้าธรรมกิตติสุริยเมฆขนรินทร์ตนเป็นน้อง หนีลงเรือล่องไปพึ่งพระบรมพุทธิสมภารเป็นข้าเฝ้าใต้ละอองธุลีพระบาทพระมหากษัตรเจ้า เจ้าพิมพิสารลี้ภัยไปกรุงเทพ สมัยราชกาลที่ ๓ อยู่ที่กรุงเทพ ฯ ระยะหนึ่ง แล้วกลับเชียงใหม่ซึ่งไม่พบหลักฐานแน่ชัดว่ากลับปีใด แต่ก่อน พ.ศ. ๒๓๘๕
เมื่อสิ้นสมัยพระเจ้าคำฝั้นแล้ว พระยาอุปราชพุทธวงศ์ผู้มีอำนาจในขณะนั้นก็ขึ้นครองเมืองเชียงใหม่สืบต่อมาเป็นสมัยที่สายนายพ่อเรือนมีอำนาจสูงสุด แต่ก็เป็นเพียงช่วงสั้น ๆ พระหลังจากสิ้นสมัยพระยาพุทธวงศ์สายนายพ่อเรือนก็หมดอำนาจไปเลย อำนาจจะกลับมาสู่ลูกหลานเจ้าเจ็ดตน ในช่วงที่พระยาพุทธวงศ์ครองเมือง สายพ่อเรื่อนที่มีอิทธิพลสูงสุดก็ถึงอนิจกรรมไปก่อน ไม่มีโอกาสก้าวสู่อำนาจโดยพระยาราชวงศ์สุวรรณคำมูลถึงอนิจกรรม พ.ศ. ๒๓๗๐ ชาวเมืองให้สมญาพะยาพุทธวงศ์ว่า “เจ้าหลวงแผ่นดินเย็น”    
เมื่อสิ้นสมัยพระยาพุทธวงศ์ใน พ.ศ. ๒๓๘๙ แล้วตำแหน่งเจ้าเมืองเชียงใหม่ก็อยู่ในกลุ่มชั้นลูกหลานเจ้าเจ็ดตน กระจายตามสาย

ตารางการครองเมืองเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน ของเจ้าเจ็ดตน


เจ้าเมืองเชียงใหม่

เจ้าเมืองลำปาง

เจ้าเมืองลำพูน

๑. พระเจ้ากาวิละ พ.ศ. ๒๓๒๕ - ๒๓๕๖ พ.ศ. ๒๓๑๗ - ๒๓๒๕
๒. พระยาคำสม
พ.ศ. ๒๓๒๕ - ๒๓๓๗
๓. พระยาธรรมลังกา พ.ศ. ๒๓๕๘ - ๒๓๖๔

๔. พระเจ้าดวงทิพย์
พ.ศ. ๒๓๓๗ - ๒๓๖๘
๕. พระยาอุปราชหมูหล้า


๖. พระยาคำฝั้น พ.ศ. ๒๓๖๖ - ๒๓๖๘
พ.ศ. ๒๓๔๘
๗. พระเจ้าบุญมา

พ.ศ. ๒๓๕๘ - ๒๓๗๐

 

เจ้ากาวิละ หรือ พระญากาวิละ หรือ พระเจ้ากาวิละ เป็นบุตรคนแรกในจำนวน ๑๐ คน ของเจ้าฟ้าชายแก้ว ซึ่งขณะนั้นเป็น เจ้าเมืองลำปาง กับนางจันทาเทวี สมภพเมื่อ จ.ศ.๑๑๐๔ (พ.ศ.๒๒๘๕) เมื่อบวชอยู่นั้นอาจารย์ให้ชื่อว่า "เจ้าขนาน   กาวิละ" ในครั้งนั้น พระเจ้าตากสินย้ายเมืองหลวงจากกรุงศรีอยุธยาไปตั้งที่กรุงธนบุรี โป่เจียกหรือแม่ทัพใหญ่ของพม่าผู้ชื่อว่าโป่ พสุลา ซึ่งมีตำแหน่งเป็นเนเมียวสีหบดีที่เพิ่งกลับจากการศึกที่ลาวกลับมาถึง เชียงใหม่ ก็เตรียมเรือจำนวนหนึ่งเพื่อจะยกพล ไปตีกรุงธนบุรี พระญาจ่าบ้านได้ให้คนถือหนังสือลอบไปบอกข่าวแก่เจ้ากาวิละที่ลำปางว่าตนจะ "ฟื้นม่าน" หรือเป็นขบถต่อ พม่า เจ้ากาวิละได้เข้าร่วมเป็นพวกด้วยและบอกว่าจะคิดการณ์อยู่ทางลำปาง และทางเชียงใหม่ เพียงแต่ให้พระญาจ่าบ้าน ลงไปนำกองทัพของกรุงธนบุรีขึ้นมาเท่านั้น พระญาจ่าบ้านจึงไปอาสากับโป่เจียกหรือโป่สุพลาดังกล่าวเพื่อพาคนไป ชำระเส้นทางตามลำน้ำปิง เพื่อให้ทัพที่จะยกไปตีอยุธยานั้นเดินทางด้วยเรือได้สะดวก โป่เจียกก็เกณฑ์ชาวพม่า ไทใหญ่ ไท-ยวน ให้พระญาจ่าบ้านไปทำการ ครั้นเมื่อถึงเมืองฮอด (อ.ฮอดในปัจจุบัน) แล้วเมื่อถึงเวลาดึก พระญาจ่าบ้านก็พาพวก เข้าทำร้ายชาวพม่าและไทใหญ่เหล่านั้นจนแตกกระจัดกระจายไปแล้วก็รีบไปขอกอง ทัพของกรุงธนบุรีซึ่งขณะนั้นพักอยู่ที่ กำแพงเพชร เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงทราบแล้ว จึงทรงจัดกองทัพโดยพระเจ้าตากสินเองคุมทัพหลวงและ เจ้าพระยาจักรีกับเจ้าพระยาสุรสีห์ฯคุมทัพหน้ายกขึ้นมาอย่างรวดเร็วใช้เวลา เพียง ๒๑ วันก็ถึงเมืองเถิน ขณะที่ทัพหน้าของเจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ฯยกพลขึ้นมาทางเมือง ลำปางนั้น เจ้ากาวิละและน้องชายทั้งหก ก็หารือกันว่า หากเข้ากับทางกรุงธนบุรี พระบิดาคือเจ้าฟ้าชายแก้วก็ยังคงอยู่กับพม่าที่เชียงใหม่ แต่หากจะอยู่กับฝ่าย พม่าต่อไปก็คงจะทนต่อไปไม่ได้อีกแล้ว เจ้าพี่น้องทั้งเจ็ดก็ตัดใจว่าให้ถือเอาบุญของพ่อและลูกเป็นเครื่องกำหนด จากนั้น จึงให้เจ้าคำสมเป็นแม่ทัพคุมไพร่พลชาวพม่า ไทใหญ่และไท-ยวน ไปต้านทานกองทัพกรุงธนบุรี โดยให้เหลือไพร่พล ชาวพม่า ไทใหญ่ในเมืองลำปางแต่น้อย เจ้าคำสมก็เข้ารบกับกองทัพกรุงธนบุรีแล้วถอยคืนพอให้พม่าไว้ใจ ฝ่ายเจ้ากาวิละก็ฟื้นม่าน คือเข้าโจมดีเช็กคายอสิริจอสูและฆ่าพม่ากับไทใหญ่ที่อยู่ในเมืองลำปางตายไป หลายคน ไพร่พล ชาวพม่าและไทใหญ่ก็พากันหนีไปบอกพรรคพวกที่อยู่ในกองทัพของเจ้าคำสมว่า เจ้ากาวิละเป็นขบถเจ้าคำสมก็ว่า เจ้ากาวิละไม่น่าจะตั้งใจฟื้นม่าน เพราะเจ้ากาวิละบางครั้งก็เกิดคลุ้มคลั่งทำลายสิ่งของและทำร้ายผู้คน และหากเจ้ากาวิละ ฟื้นม่านจริงแล้ว พวกน้องทั้งหมดก็ไม่เข้าสมทบด้วย พวกพม่าก็ฟังแต่เชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง พอตกกลางคืนพวกพม่า ก็พากันหนีกลับไปเชียงใหม่และบอกพฤติกรรมของเจ้ากาวิละให้โป่มะยุง่วนซึ่ง เป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ในขณะนั้น โป่มะยุง่วนที่ชาวเมืองเรียกว่าโป่หัวขาวจึงนำเอาเจ้าฟ้าชายแก้วไปคุมขังใน คุกไว้ก่อน เพราะหากจะประหารแล้ว ก็เกรงว่าจะเสียใจภายหลัง เมื่อเจ้าคำสมยกทัพกลับคืนสู่นครลำปางแล้ว ก็เกรงว่าบิดาคือเจ้าฟ้าชายแก้วจะถูกพม่าทำร้าย จึงได้จัดเครื่องบรรณาการ และมีหนังสือถึงโป่มะยุง่วนที่เชียงใหม่ว่า ที่เจ้ากาวิละทำร้ายเช็กคายสิริจอสูและทหารพม่าไปนั้นเพราะความคลุ้มคลั่ง ที่พี่น้องทั้ง ๖ คนไม่มีผู้ใดรู้เห็นด้วยและขออย่าทำร้ายบิดาของพวกตน โป่มะยุง่วนได้รับหนังสือแล้วก็งดรอไว้ไม่ฆ่า เจ้าฟ้าชายแก้ว เพียงแต่ให้ขังไว้ต่อไปฝ่ายเจ้ากาวิละเห็นว่าพม่าทางเชียงใหม่มิได้ดำเนิน เรื่องประการใดกับตนแล้ว จึงได้ให้เจ้าดวงทิพผู้น้องนำบรรณาการและ หนังสือไปต้อนรับกองทัพจากธนบุรี และขอเข้าพึ่งร่มโพธิสมภารของพระเจ้ากรุงธนบุรี เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ฯ ก็ได้ยกทัพมาถึงลำปาง ซึ่งเจ้ากาวิละได้นำเอาเสบียงอาหารไปต้อนรับกองทัพแล้ว จึงนำทัพกรุงธนบุรีขึ้นมาเชียงใหม่ โป่มะยุง่วนเกณฑ์คนออกต้านทานกองทัพของเจ้ากาวิละและกรุงธนบุรีแต่ก็พ่ายแพ้ เจ้ากาวิละจึงยกพลไล่ติดตามทหาร พม่าที่แตกทัพไปยังเมืองเชียงใหม่ โป่มะยุง่วนเห็นเหตุการณ์โกลาหลเช่นนั้นจึงพาพวกหนีจากเชียงใหม่ โดยออกไปทาง ประตูช้างเผือก เมื่อเจ้ากาวิละเข้ายึดเมืองเชียงใหม่ได้แล้ว จึงไปเชิญเจ้าฟ้าชายแก้วจากคุกไปสู่ทัพหลวง เมื่อยึดเมืองเชียงใหม่ได้แล้ว พระเจ้าตากสินทรงตั้งพระญาจ่าบ้านเป็นพระยาวชิรปราการเจ้าเมืองเชียงใหม่ โดยมี เจ้าน้อยก้อนแก้วผู้หลานเป็นอุปราชา ตั้งเช็กคายแดงเป็นเจ้าเมืองลำพูน ตั้งเจ้าน้อยตอนต้อผู้น้องเป็นอุปราชาเมืองลำพูน แล้วจึงยกทัพกลับไปทางลำปางและแวะพักนมัสการพระธาตุลำปางหลวงระยะหนึ่ง ฝ่ายเจ้ากาวิละเมื่อนำบิดาออกจากคุกเชียงใหม่กลับไปยังลำปางแล้ว ก็พาน้องทั้ง ๖ เข้าเฝ้าพระเจ้ากรุงธนบุรี ซึ่งพระเจ้าตากสินก็ทรงตั้งเจ้ากาวิละเป็นเจ้าเมืองลำปาง โดยมีเจ้าธัมมลังกาผู้น้องลำดับที่ ๓ เป็นอุปราชา จากนั้น พระเจ้าตากสินก็ยกทัพ กลับไปทางเมืองเถินแล้วเดินทางกลับโดยทางเรือ ฝ่ายเจ้าพระยาสุรสีห์ฯ เมื่อพบนางสรีอโนชา ผู้น้องของเจ้ากาวิละแล้วก็มีความพึงพอใจจึงได้ให้ขุนนางมาขอ ซึ่งเจ้าพี่น้อง ทั้ง ๗ คนโดยมีเจ้าฟ้าชายแก้วเป็นประธาน ก็ได้ยกนางสรีอโนชาให้แก่เจ้าพระยาสุรสีห์ฯตามที่ขอนั้น หลังจากนั้น เจ้าพระยาสุรสีห์ฯ ก็ยกทัพกลับไปทางเมืองสวรรคโลก ในจุลศักราช ๑๑๔๔ (พ.ศ.๒๓๒๕) นั้นมีการผลัดแผ่นดิน คือ เจ้าพระยาจักรีได้ปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่ง ราชวงศ์จักรี และมีเจ้าพระยาสุรสีห์ฯ เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล เมื่อเจ้ากาวิละนำข้าวของและเชลยไปถวาย เช่นนั้น พระเจ้าอยู่หัวก็ถือเป็นความชอบ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้แต่งตั้งเจ้ากาวิละ ซึ่งขณะนั้นอายุ ๔๐ ปีเป็น พระยามังราวชิรปราการกำแพงแก้ว ครองเมืองเชียงใหม่ พระยากาวิละ (ยศในขณะนั้น) ได้รวบรวมผู้คนได้ประมาณพันคนยกไปตั้งเวียงป่าซาง และระหว่างนั้นได้สะสมพลเมือง และสู้รบกับพม่า จน พ.ศ.๒๓๓๙ พระยากาวิละจึงไปตั้งเมืองเชียงใหม่ได้สำเร็จ หลังจากที่เมืองเชียงใหม่เป็นเมืองร้าง ไปประมาณ ๒๐ ปี พระยากาวิละได้ฟื้นฟู้เมืองเชียงใหม่ให้มีสภาพเจริญรุ่งเรืองเป็นศูนย์กลาง ของล้านนาเช่นเดียวกับ ในสมัยราชวงศ์มังราย พระยากาวิละขยายอาณาเขตเมืองเชียงใหม่ออกไปถึงเชียงตุง เชียงรุ่ง สิบสองปันนา และยังได้ ทำนุบำรุงด้านศาสนา โดยปฏิสังขรณ์วัดสำคัญ ๆ และตั้งสมณศักดิ์พระภิกษุโดยกระทำตามขนบธรรมเนียมประเพณีเดิม ใน พ.ศ.๒๓๔๕ พระยากาวิละได้เลื่อนยศเป็นพระเจ้ากาวิละ หลังจากนั้นพระเจ้ากาวิละได้ขับไล่พม่าออกไปจาก เชียงแสนสำเร็จใน พ.ศ. ๒๓๔๗ นับแต่นั้นมาพระเจ้ากาวิละได้สร้างความเข้มแข็งแก่เชียงใหม่จนเป็นปึกแผ่น มั่นคง จนกระทั่งถึงแก่พิราลัย ยามแตรบอกเวลาเข้าสู่เที่ยงคืน วันพุธ แรม ๔ ค่ำ เดือน ๔ เหนือ จุลศักราช ๑๑๗๗ (พ.ศ.๒๓๕๘) สิริรวมพระชนม์ชันษาได้ ๗๔ ปี

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 01 •กันยายน• 2011 เวลา 21:30 น.• )