ก่อนที่พญามังรายเริ่มสร้างเมืองเชียงใหม่ และสถาปนาอาณาจักรล้านนาขึ้นมาใน พ.ศ. ๑๘๓๙ ดินแดนในภาคเหนือของประเทศไทย(ตอนนั้นยังไม่เกิดอาณาจักรสุโขทัย) มีนครอิสระก่อตั้งขึ้นก่อนแล้ว ได้แก่ เมืองพะเยา เมืองลำพูน เมืองลำปาง เมืองน่าน และเมืองแพร่ บรรดาเมืองโบราณดังกล่าวส่วนใหญ่ต่างมีตำนานเล่าขาน จารึก เอกสารอ้างอิงถึงประวัติความเป็นมาของเมืองเป็นจำนวนมาก ตลอดจนมีหลักฐานโบราณคดีสนับสนุนอย่างชัดเจน ทำให้นักประวัติศาสตร์สรุปเรื่องราวการก่อตั้งเมือง วิวัฒนาการของเมืองในช่วงเวลาต่าง ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง แต่สำหรับเมืองแพร่เป็นชุมชนขนาดใหญ่เมืองหนึ่งกลับขาดข้อมูลหลักฐานที่แสดงถึงประวัติศาสตรความเป็นมาของการตั้งเมืองที่ชัดเจน ประกอบการขาดผู้สนใจศึกษารวบรวมความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของเมืองทำให้ชาวแพร่ส่วนใหญ่ไม่ทราบถึงเรื่องราวบรรพบุรุษของตน

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดแพร่เริ่มขึ้นหลังจากชุมชนเมืองแพร่มีขนาดใหญ่ขึ้นจนก่อตั้งเป็นเมือง มีการสร้างคูเมือง กำแพงเมืองอย่างแน่นหนา สามารถป้องกันศัตรูภายนอก และป้องกันน้ำจากแม่น้ำยมเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มในเมือง ความโดดเดี่ยวจากสภาพภูมิศาสตร์ที่มีภูเขาสลับซับซ้อนรอบทุกทิศทำให้เมืองแพร่ระยะแรกเป็นนครรัฐอิสระที่ยากจะมีเมืองใดในยุคนั้นมารุกราน

นครรัฐแพร่ ชุมชนโบราณเมืองแพร่ได้เริ่มพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ด้วยการเป็นนครรัฐอิสระเช่นเดียวกับเมืองที่กล่าวข้างต้น ผู้มีบทบาทสำคัญในฐานนะผู้นำของเมืองคือ เจ้าเมือง เป็นผู้มีอำนาจศิษย์ขาดในการปกครอง และเป็นที่เคารพนับถือของชาวเมือง ผู้นำของเมืองสืบเชื้อสายปกครองเมืองต่อกันมา ตำนานวัดหลวง ตำบลในเวียง ระบุนามเจ้าเมืองแพร่ในยุคที่เป็นนครรัฐ ได้แก่ พ่อขุนหลวงพล ท้าวพหุสิงห์ ขุนพนมสิงห์ ขุนวังสุพล พญาพรหมวงศ์หรือพญาพรหมวังโส และหญาพีระไชยวงศ์ ระยะช่วงนี้ประมาณ ๓๔๘ ปีจนกระทั่งพวกขอมมีอำนาจในแถบนี้เมืองแพร่จึงตกอยู่ภายใต้อำนาจของขอม ซึ่งภายหลังพวกขอมได้ถูกกองทัพของพ่อขุนบางกลางหาว และพ่อขุนผาเมืองขับไล่ออกไป แล้วตั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี อิทธิพลของขอมจึงหมดไปจากดินแดนแถบนี้

ชื่อบ้านนามเมือง

เมืองพล นครพล หรือพลนคร เป็นชื่อเก่าแก่ที่สุดที่พบในตำนานเมืองเหนือฉบับใบลาน พ.ศ. ๑๘๒๔ กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า เจ้าเมืองลำปางได้ส่งคนมาติดต่อเจ้านครพลให้ไปร่วมงานนมัสการ และฉลองวัดพระธาตุลำปางหลวง และจากตำนานพระธาตุลำปางหลวงตอนหนึ่งได้กล่าวถึงเจ้าเมืองพลยกกำลังผู้คนไปขุดหาพระบรมสารีริกธาตุบรรจุไว้ในพระธาตุ แต่ไม่พบ เมื่อศึกษาตำแหน่งที่ตั้งของนครพลตามตำนานดังกล่าวพบว่าคือเมืองแพร่ ปัจจุบันชื่อพลนครปรากฎในวัดหลวง

เวียงโกศัย หรือโกศัยนคร เป็นชื่อที่ปรากฏในพงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสน ชื่อนี้ใช้เเรียกเมืองแพร่ในสมัยขอมเรืองอำนาจที่ชื่อเมืองในอาณาจักล้านนาเปลี่ยนเป็นภาษาบาลีตามความนิยมในยุคนั้น เช่น นันทบุรี หริภูไชย เขลางค์นคร ชื่อเวียงโกศัย น่าจะมาจากชื่อดอยที่ตั้งองค์พระธาตุช่อแฮ ซึ่งเป็นพระธาตุศักสิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองแพร่ คือดอยโกสิยธบรรพต หมายถึงดอยแห่งผ้าแพร

เมืองแพล เป็นชื่อที่ปรากฎในจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช หลักที่ ๑ ด้านที่ ๔ โดยคำว่าแพล น่าจะมาจากศัทธาชาวเมืองที่มีต่อพระธาตุช่อแพร หรือช่อแฮ ที่สร้างขึ้นภายหลังการสร้างเมืองต่อมาจึงได้เรียกชื่อของตนว่า แพล

เมืองแพร่ เป็นชื่อที่คนไทยในอาณาจักรสุโขทัย และกรุงศรีอยุธยาใช้เรียกเมืองแพลและกลายเสียงเป็นแพร หรือแพร่ สมัยกรุงศรีอยุธยาชื่อเมืองแพร่ปรากฎเป็นประวัติศาสตร์ เมื่อเกิดสงคราอยุธยา และล้านนา กองทัพอยุธยาเดินทัพผ่านช่อเขาพลึงเพื่อไปตีเชียงใหม่

เมืองแป้ เป็นชื่อที่ชาวแพร่ใช้เรียกชื่อเมืองของตนด้วยภาษาคำเมือง คำนี้ผมใช้เรียกจังหวัดตัวเองไปพร้อมกับคำว่าแพร่ แต่คนรุ่นหลังเริ่มจะเรียกเมืองแพร่กันเป็นรส่วนใหญ่แล้วครับ แต่คำว่าแป้ก็ยังถือว่าใช้กันอย่างปกติทุกคน

วัดหลวงตำนานยุคพ่อขุนหลวงพล

เจ้าผู้ครองนครเมืองแพร่ เริ่มตั้งแต่สร้างเมือง พ.ศ. ๑๓๐๗ - ๒๔๔๕ (หลักฐานจากหนังสือ ประวัติการสร้างวัดหลวง หรือวัดหลวงสมเด็จ)

พ.ศ. ๑๓๗๑ พ่อขุนหลวงพลราชนัดดาแห่งกษัตริย์น่านเจ้า ได้อพยพคนไทยลื้อ ไทยเขิน ส่วนหนึ่งจากกเมืองเชียงแสน ไชยบุรี และเวียงพางคำ ลงมาสร้างเมืองบนที่ราบฝั่งแม่น้ำยมขนานนามว่า "เมืองพลนคร"

พ.ศ. ๑๓๘๗ ท้าวพหุสิงห์ ( โอรสพ่อขุนหลวงพล )

พ.ศ. ๑๔๓๕ ขุนพนมสิงห์

พ.ศ. ๑๕๒๕ ขุนวังสุพล

พ.ศ.  ๑๖๑๓  พญาผาวังอินทร์

พ.ศ.  ๑๖๕๔ พญาพรหมวงศ์ หรือ พญาพรหมวังโส

พ.ศ.  ๑๗๑๙  พญาพีระไชยวงศ์

พ.ศ.  ๑๖๕๔ –๑๗๗๓ เมืองแพร่ตกอยู่ในอำนาจการปกครองของขอม ขอมได้เปลี่ยนชี่อเมืองเป็น "นครโกศัย" ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงเรียกว่า "เมืองแพล" ได้เพี้ยนเสียงเป็น "แพร่" ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มาจนทุกวันนี้ ส่วนชาวเมืองแพร่นิยมเรียกตามภาษาพื้นเมืองว่า "เมืองแป้"

พ.ศ. ๑๘๒๕ พญาบอน

พ.ศ. ๑๘๗๘ พญาแสงฟ้าคำวงศ์

พ.ศ. ๑๙๑๘   พญาศรีเมืองมูล

พ.ศ.  ๑๙๔๔ พญาเถร (พญาเถร และพญาอุ่นเมืองจากเมืองแพร่เข้ายึดเมืองน่าน และจับเจ้าพญาสรีจันทะประหารชีวิต ส่วนพญาหุงพระอนุชาของพญาสรีจันทะทรงหนีไปพึ่งพญาเชลียง (ศรีสัชนาลัย) หลังจากพญาเถรครองเมืองน่านได้ ๖ เดือน ก็ประชวนเป็นไข้จนสวรรคต พญาอุ่นเมืองจึงขึ้นครองเมืองแทน ต่อมาพญาหุงขอรี้พลจากพระญาเชลียงมาตีเมืองน่านคืนได้สำเร็จ)

พ.ศ. ๑๙๘๒ พญาศรีมิ่งเมือง

พ.ศ. ๑๙๘๖  นางพญาท้าวแม่คุณ

พ.ศ. ๒๐๒๓ พญาศรีบุญเรือง คำข่าย หรือหมื่นสามล้าน

พ.ศ. ๒๐๕๑ พญาสร้อยสุริยะ หรือเจ้าเมืองแพร่สร้อย

พ.ศ. ๒๐๕๓ เจ้าเมืองแพร่จันทรา

พ.ศ. ๒๐๕๗ เจ้าเมืองแพร่คำยอดฟ้า

พ.ศ. ๒๐๙๓ พญาสามล้าน (เชียงใหม่)

พ.ศ. ๒๑๐๑ – ๒๓๑๐ อาณาจักรล้านนาไทย รวมทั้งเมืองแพร่ตกอยู่ในอำนาจของพม่าในฐานะประเทศราชบ้าง เป็นอิสระบ้างขึ้นอยู่กับกรุงศรีอยุธยาบ้าง

พ.ศ. ๒๓๑๑ – ๒๓๑๓ พระยาศรีสุริยวงศ์ ( มังไชยะ หรือพญาเมืองชัย) เป็นเมืองขึ้นกรุงธนบุรี (เมืองแพร่ตั้งอนุสาวรีย์ พระยาเมืองไชย คู่กับพ่อขุนหลวงพล ตรง(โจ้โก้แม่หล่าย) ตำบลแม่หล่าย อำเภอเมือง จังหวัดแพร่

พ.ศ. ๒๓๑๓ – ๒๓๕๒ เป็นเมืองขึ้นกรุงรัตนโกสินทร์

พ.ศ. ๒๓๖๑ เจ้าหลวงเทพวงศ์ลิ้นตอง (ลิ้นทอง) พ.ศ. ๒๓๖๑ - พ.ศ. ๒๓๗๓ (๑๒ ปี)

พ.ศ. ๒๓๗๓ เจ้าหลวงอินทรวิชัย (อินต๊ะวิชัย) พ.ศ. ๒๓๗๓ - พ.ศ. ๒๔๑๔ (๔๑ ปี)

พ.ศ. ๒๔๑๕ เจ้าหลวงพิมพิสาร หรือพิมสาร (เจ้าหลวงขาเค) พ.ศ. ๒๔๑๕ - พ.ศ. ๒๔๓๒ (๑๖ ปี)

พ.ศ. ๒๔๓๒ เจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์ (พระยาพิริยวิไชย) พ.ศ. ๒๔๓๒ - พ.ศ. ๒๔๔๕ (๑๓ ปี)

 

ลำดับยศเจ้านายฝ่ายเหนือมี ๑๔  อันดับ คือ

๑. เจ้าหลวงผู้ครองเมือง

๒. เจ้าอุปราช

๓. เจ้าราขวงศ์

๔. เจ้าราชบุตร

๕. เจ้าบุรี

๖. เจ้าสุริยะวงศ์

๗. เจ้าภาติวงศ์

๘. เจ้าราชภาคินัย

๙. เจ้าราชดนัย

๑๐. เจ้าราชสัมพันธวงศ์

๑๑. เจ้าประพันธวงศ์

๑๒. เจ้าไชยสงคราม

๑๓. เจ้าราชญาติ

๑๔. เจ้าวรญาติ

 

บรรดาศักดิ์ข้าราชการฝ่ายเหนือมี ๓ ชั้นคือ

๑. ตำแหน่ง พญา

๒. ตำแหน่ง แสน

๓. ตำแหน่งท้าว

 

ตำแหน่ง จตุสดมภ์ คือ

๑. พญาแสนหลวง (ขุนเวียง)

๒. พญาจ่าบ้าน (ขุนวัง)

๓. พญาสามล้าน (ขุนคลัง)

๔. พญาเด็กชา (ขุนนา)

วัดพระนอนก่อนการสร้างเมืองแพร่

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 22 •กุมภาพันธ์• 2014 เวลา 18:30 น.• )