บริเวณที่ตั้งวัดศรีชุม แต่เดิมนั้นคงเป็นไม้สักที่มีความร่มเย็น และอุดมสมบูรณ์ มีฤๅษีจำนวน ๕ ตน บำเพ็ญตบะ อยู่ที่แห่งนี้ ฤๅษีได้ใช้ความรู้ด้านยาสมุนไพรช่วยรักษาชาวบ้านที่เจ็บป่วยโดยไม่หวังผลตอบแทน ต่อมาบ้านเมืองเจริญขึ้นประชาชนชาวเมืองได้ตั้งบ้านเรือนเยอะขึ้นทำให้บริเวณแห่งนี้ไม่เหมาะกับการบำเพ็ญสมาธิภาวนา จึงได้ย้ายที่บำเพ็ญในสถานที่แห่งใหม่ ในสมัยขุนหลวงพล เจ้าผู้ครองนครแพร่ได้สร้างวัดและเจดีย์ขึ้น ณ ที่แห่งนี้ทรงโปรดให้ชื่อว่า “วัดฤๅษีชุม” กล่าวว่าเป็นวัดที่มีความงดงามมาก เจดีย์ห่มด้วยทองคำและมีความยิ่งใหญ่ประชากรอยู่เย็นเป็นสุข กาลเวลาต่อมากองทัพพม่ายึดอาณาจักรล้านนาแล้วยกทัพบุกเมืองแพร่ซึ่งเป็นเมืองประเทศราชได้ทำลายวัดและได้ลอกเอาทองคำกลับไปทำให้วัดศรีชุมกลายเป็นวัดร้างจากการบันทึกหลักฐานทางประวัติศาสตร์

ทราบว่าวัดศรีชุมสร้างเมื่อ พ.ศ.๑๓๒๒ (จุลศักราช ๖๘๗) โดยอุปราชเมืองสุโขทัย ซึ่งเสด็จมาสร้างเจดีย์ช่อแพร(พระธาตุช่อแฮ) ตอนที่ทรงมาพำนักที่คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่(สมัยเจ้าเทพวงศ์หรือเจ้าหลวงลื้นทอง) และทรงเห็นทำเลทิศตะวันตกของคุ้มมีซากเจดีย์เก่า สถานที่ร่มรื่นเหมาะที่ที่จะสร้างพุทธสถาน ให้คณะสงฆ์บำเพ็ญวิปัสสนาจึงพร้อมใจกันกับเจ้าเมืองแพร่บูรณะวัดขึ้นตามลักษณะวัดสมัยสุโขทัย ในครั้งนั้นได้บูรณะเจดีย์สร้างพระวิหาร พระยืน กำแพงวัดด้านหน้าซึ่งเป็นรูปปั้นรูปเทพนมสลับกับแจกันดอกไม้ปั้นรูปฤาษีบำเพ็ญตบะไว้ด้านหน้าประตูทางเข้าและบนจั่วหน้าวิหาร โดยใช้ช่างฝีมือดีจากเมืองพางคำหรือเมืองเชียงแสนและขนานนามว่า “วัดศรีชุม” มีงานฉลองสมโภชวัด ๗ วัน ๗ คืน พร้อมทั้งโรงทาน ไว้สี่มุมเมือง และมีเจ้าผู้ครองนครสุโขทัยและเมืองเชียงแสนนำพระพุทธรูปสำริดมาถวายซึ่งได้แก่พระพุทธรูปทองสำริด สมัยสุโขทัยผสมล้านนาปางมารวิชัย และพระพุทธรุปทองสำริดสมัยเชียงแสน ปางมารวิชัย

ในอดีตวัดศรีชุมเป็นวัดที่มีชื่อเสียงมากในด้านการศึกษาวิปัสสนาธุระและคันถธุระ เนื่องมากจากครูบาอุตมา อตีดเจ้าอาวาสก็เป็นผู้ที่เคร่งครัดด้านธรรมวินัยและมีความสามารถด้านการศึกษาทั่วไปอย่างยิ่ง จะเห็นได้ว่าจากพระอัจฉริยะแห่งล้านนา คือ ครูบากัญจนาอรัญวาสีมหาเถระ หรือครูมามหาเถร ยังมาอุปสมบทและศึกษาเล่าเรียนที่วัดแห่งนี้
วัดศรีชุมนับว่าเป็นวัดที่มีความสำคัญทางศาสนาและสังคมเพราะแต่เดิมการถวายสลากภัตร ถือว่าเป็นธรรมเนียมว่าวัดในเมืองแพร่ต้องให้วัดศรีชุมเป็นวัดที่ถวายก่อนการกระทำที่นี่ และชาวบ้านจะนิยมนำบุตรหลานมาบวชเรียนด้วยถือว่าเป็นวัดแห่งแรกในเขตอำเภอเมืองที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา

พระเจดีย์ เป็นศิลปะแบบล้านนา สร้างประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๒๐ มีลักษณะทรงปราสาท ยอดทรงระฆัง มีฐานย่อมุม ๒๘ มุม กล้างด้านละ ๔ วา ด้านบนมีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปปางประทับยืนซึ่งปัจจุบันชำรุด พระเจดีย์นี้กรมศิลปากรได้จดทะเบียนเป็นโบราณวัตถุของกรมศิลปากรตามประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๙๓ ตอนที่ ๑๕๙ ลงวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๒๒

พระพุทธรูปางประทับยืน ที่ใหญ่ที่สุดในเมืองแพร่

พระประธานเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นสมัยเชียงแสนปางมารวิชัย

หอไตร สร้างด้วยไม้สัก เป็นที่เก็บคำภีร์โบราณ มีตูธรรม

พระพุทธรูปทองสำริด สมัยสุโขทัยผสมล้านนา ปรางมารวิชัย

พระพุทธรูปทองสำริด สมัยเชียงแสน ปรางมารวิชัย

ลำดับเจ้าอาวาส
๑. ครูบามหาเถรธรรมลังกา พ.ศ. ๒๒๓๔ - ๒๒๖๐
๒. ครูบามหาเถรวงศ์อิน พ.ศ. ๒๒๖๑ - ๒๓๑๐
๓. ครูบาหมาเถรชัยลังกา พ.ศ. ๒๓๑๑ - ๒๓๔๒
๔. ครูบาเจ้าอัจฉเทพวงศ์ (พระเจ้าฉะ) พ.ศ. ๒๓๔๓ - ๒๓๖๗
๕. พระครูปลัดนวล พ.ศ. ๒๓๖๘ - ๒๔๒_
๖. พระใบฎีกาอุทธิยะ (อุท) พ.ศ. ๒๔๒๓ - ๒๔๙๖
๗. พระอธิการศิริ สิริโย พ.ศ. ๒๔๙๗ - ๒๕๒๘
๘. พระครูอาทรธรรมรักษ์ พ.ศ. ๒๕๒๙ - ๒๕๔๘
๙. พระใบฎีกาอภิภูเมศ ธมฺมจารี พ.ศ. ๒๔๔๘ - ปัจจุบัน
หมายเหตุ ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๓๒๒ - ๒๒๓๔ ไม่ปรากฎหลักฐานว่าใครเป็นเจ้าอาวาส และคำบอกกล่าวของผู้เฒ่าผู้แก่บอกว่า เคยมีหลวงพ่อบุญตัน เป็นเจ้าอาวาสด้วย และบ้างก็ว่าพระใบฎีกาอุทธิยะ (อุท) เป็นเจ้าอาวาสถึง พ.ศ. ๒๔๖๑ ต่อมาหลวงพ่อบุญตัน เป็นเจ้าอาวาส และพระครูปลัดนวลตามลำดับ

วัดศรีชุมตั้งอยู่เลขที่ ๒ ถนนเจริญเมือง ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมือ พ.ศ. ๒๓๐๖ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๙ เมตร ยาว ๑๗ เมตร ประกอบพิธีผูกพัทธสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๓๐๖ ที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๕ ไร่ ๔๔ (๙/๑๐) ตารางวา มีเอกสารสิทธิ์ เป็นโฉนดที่ดินเลขที่ ๒๒๐๑๒

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 28 •มกราคม• 2012 เวลา 09:40 น.• )