วัดหลวงเป็นวัดที่ชาวแพร่รู้จักกันดีในฐานเป็นวัดเก่าแก่ที่มีประวัติการก่อสร้างคู่กับเมืองแพร่ กรมศิลปากร ได้ขึ้นทะเบียนเป็นวัดโบราณสถานของชาติที่มีอายุนับพันปี และเป็นที่ตั้งหอวัฒนธรรมเมืองแพร่ซึ่งรวบรวมศิลปวัตถุในท้องถิ่นซึ่งมีมาแต่อดีต วัดหลวงเป็นวัดเก่าแก่ของแพร่ ประวัติความเป็นมาของวัดกล่าวไว้ว่าวัดหลวงสร้างมานานนับพันปี โดยในระยะเริ่มแรกของการสร้างเมืองในบริเวณที่ราบฝั่งแม่นำยมซึ่งมีชื่อว่าเมืองพลนคร โดยพ่อขุนหลวงพล มีการสร้างวัดขึ้นในบริเวณทิศตะวันตกของคุ้มเจ้าหลวง เมื่อปี พ . ศ . ๑๓๗๒ คือมีการสร้างวิหารหลวงพลนคร เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าแสนหลวงพระประธานของเมืองพลนคร

ต่อมาในปี พ . ศ . ๑๖๐๐ ชนชาติขอมได้ยกทัพเข้ารุกรานเมืองพลนคร แม้เจ้าเมืองจะเข้าต่อสู้อย่างเต็มกำลังแต่ก็ไม่สามารถด้านทานทัพใหญ่ของขอมได้ ในครั้งนั้นเข้าศึกได้เผาทำลายเมืองรวมทั้งวัดวาอารามต่างๆ ได้เผาลอกเอาทองหุ้มพระเจ้าแสนหลวงไปด้วย ผู้คนจึงอพยพออกนอกเมืองจากนั้น ขอมได้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็น “ เมืองโกศัย ” จนถึง พ . ศ . ๑๗๑๙ เมื่อพม่าขยายอิทธิพลมาสู่ดินแดนนล้านนาและขับไล่ขอมออกไปจากเมืองโกศัยแล้ว พม่าได้เรียกเมืองพลว่า ” เมืองแพล ” ต่อมา พญาพีระไชยวงศ์ เจ้าเมืองแพลได้ทำไมตรีกับพม่าและได้ร่วมกับส่างมังการะเจ้าเมืองพม่า ทำการบูรณะวัดหลวง รวมทั้งการทำทุงกระด้าง ( อ่าน “ ตุงกะด้าง ”) และเสาหงส์ซึ่งทำด้วยไม้แกะสลักเพื่อถวายเป็นพุทธบูชานอกจากนั้น เจ้าเมืองแพลและชาวเมืองแพลยังได้ร่วมสร้างพระธาตุหลวงไชยช้างค้ำ โดยการก่อเจดีย์ ด้วยอิฐปูนรูปทรง ๘ เหลี่ยม บนฐานสูง ๑ เมตร รูปสี่เหลียมจัตุรัส พร้อมกันนั้น ได้หุ้มทองพระเจ้าแสนหลวงและขนานนามวัดเสียใหม่ว่า “ วัด หลวงไชยวงศ์ ”

ในปี พ.ศ. ๑๘๗๙ เมืองแพลตกเป็นประเทศราชของกรุงสุโขทัย สมเด็จพระมหาธรรมราชลิไทได้เสด็จขึ้นมาสร้างและบูรณะวัดหลายแห่

 

ซุ้มประตูโขง

 

ในอาณาจักรล้านนา สำหรับวัดหลวงโปรดฯ ให้บูรณ์ะพระธาตุหลวงไชยช้างค้ำด้วยการสร้างเจดีย์ใหม่ครอบองค์เดิมแล้วพระราชทานแก่วัดว่า “ วัดหลวงสมเด็จ ” ในปี พ.ศ. ๒๐๕๙ พระสร้อยสุริยะ เจ้าเมืองแพร่ ได้บูรณะวัดหลวงโดยมรพระเมืองแก้ว กษัตริย์เมืองเชียงใหม่เป็นผู้อุปถัมภ์ ต่อมา มีการบูรณะศาสนสถานในวัดหลวงโดยเจ้าเมืองแพร่องค์ต่อๆ มา ด้วยการสร้างปูชนีวัตถุต่างๆ ได้แก่พระพุทธมิงเมืองและพระเจ้าแสนทอง ซึ่งสร้างโดยเจ้าเมืองแพร่จันทราเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๕ จากนั้น เจ้าหลวงพิมพิสาร ได้ทรงสร้างพระอุโบสถหลังใหม่แทนหลังเดิมที่ถูกไฟไหม้ อนึ่งในปี พ.ศ. ๒๔๔๕ พระธาตุหลวงงไชยช้างค้ำชำรุดพลังด้านหนึ่งครูบาเจ้าธรรมชัยจึงทำการบูรณะขึ้นใหม่

 

พระเจ้าแสนหลวง

 

พระบรมสารีริกธาตุ

 

 

 

จากนั้นเป็นต้นมา มีการบูรณะศาสนสถานต่างๆ ภายในวัดเพิ่มโดยลำดับ ได้แก่ พระวิหารหลวงพลนคร พระอุโบสถพระธาตุไชยช้างค้ำ ซุ้มประตูวัด หอพระธรรม รวมทั้งพระพุทธรูปอีกหลายองค์ จนวัดหลวงมีสภาพที่สมบูรณ์อย่างที่เห็นในปัจจุบัน นอกจากนี้เมื่อประมาณ ๒ - ๓ ปีที่ผ่าน ทางกรมศิลปากรได้ทำการสำรวจ และศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับวัดหลวงแล้วได้ประกาศขึ้นทะเบียนให้วัดหลวงเป็นโบราณสถานของชาติที่มีอายุเก่าแก่นับพันปี แต่ถึงแม้ว่าวัดหลวงจะเป็นวัดที่มีประวัติการก่อสร้างมานาน ทว่าสภาพปัจจุบันของวัดยังสมบูรณ์มาก ไม่ว่าจะเป็นพระวิหารหลวงพลนครซึ่งเป็นวิหารหลังเดียวในจังหวัดแพร่ที่มีช่อฟ้าเป็นรูปตัวหงส์ และมีใบระกาแบบล้านนา ( ปัจจุบันหลุดหายไป ) ตัววิหารก่อด้วยอิฐถือปูน หน้าบันสร้างด้วยไม้สัก แกะสลักลวดลายต่างๆ งดงามมาก ภายหลังมีการก่อนผนังของวิหารเพิ่มเติมจากหน้าบันลงมาจรดพื้นวิหาร รวมทั้งฝาผนัง ๒ ข้าง ซ้ายขาว อนึ่ง มีประตูวิหาร ๑ ช่อง ตรงบันไดทางขึ้น สำหรับซุ้มประตูวิหารเดิมที่อยู่ด้านในซุ้ม กลาง มีแท่นประดิษฐานพระเจ้าแสนทอง ซึ่งสร้างโดยเจ้าเมืองแพร่จันทราโดยมีจารึกอักษรฝักขามใต้ฐานด้านหน้าพระพุทธรูป นอกจากนี้ทั้ง ๒ ข้าง ของซุ้มพระเจ้าแสนทอง จะเป็นประตูเข้าสู่วิหารด้านในซึงพระเจ้าแสนหลวง พระพุทธรูปขนาดใหญ่ประทับนั่งปางสมาธิ สร้างโดยศิลปะล้านนาผสมกับสุโขทัย ประดิษฐานอยู่ แต่เนื่องจากมีการบูรณะวิหารหลังนี้มาเป็นจำนวนหลายครั้งมาแล้ว ภายในวิหารจึงเป็นที่เก็บแผ่นไม้สัก ขนาดความยาวประมาณ ๓ เมตร แกะสลักลวดลายที่ชัดเจนเป็นรูปพญานาค ๔ คู่ ซึ่งเรียกว่า “ ทุ่งกระด้าง ” โดยดกอกติดกับบเสาไม้มียอดเสาสภาพปัจจุบันของวิหารหลวงพลนนครอยู่ในสภาพสมบูรณื เนื่องจากได้รักการบูรณปฎิสังขรณ์มาโดยตลอด

 

อนึ่ง ด้านหน้าบันไดทางขึ้นของวิหารประมาณ ๒๐ เมตร จะมีประตูวัดมี่เก่าแก่ตั้งอยู่เรียกว่า “ ประตูโขง ” ซึ่งเป็นทางเข้าออกวัด แต่เดิมมีลักษณะคลบ้ายเจดีย์ย่อมุม ก่อด้วยอิฐโบราณถือปูนและอยู่ในสภาพที่ทรุดโทรม ปัจจุบันได้รับการบูรณะแล้ว โดยภายในตกแต่งใหม่ฉาบด้วยปูน ด้านหน้าก่ออิฐถือปูนปิดทางเข้าออก และใช้เป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นของเจ้าเมืองแพร่ นอกจากนี้มีการสร้างกำแพงวัดด้านหน้าเพิ่มเดิม รวมทั้งสร้างประตูวัดขึ้นใหม่ เยื้องประตูโขงไปทางตะวันออกสำหรับโบสถ์ของวัดหลวงมีชื่อว่า ” โบสถ์เจ้าผู้ครองนคร ” สร้างด้วยอิฐถือปูน มีขนาดย่อมกว่าวิหารมาก มีบันไดทางขึ้นด้านหน้าตรงประตู ๑ ช่อง ซึ่งตัวบันไดมีความกว้างประมาณ ๑ เมตร ภายในโบสถ์เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูป ๑ องค์ เป็นที่น่าเสียดายว่าปัจจุบันของโบสถ์ทรุดดโทรมมาก ทว่ายังสามารถใช้เป็นที่ประกอบพิธีอุปสมบทได้

 

อนึ่ง ด้านหลังของวิหารเป็นที่ตั้งของพระธาตุหลวงไชยช้างค้ำ ซึ่งสร้างด้วยอิฐถือปูนทาสีขาวและเป็นที่ประดิษฐานพระธาตุที่นำมาจากเมืองหงสาวดี รูปแบบการก่อสร้าง เป็นศิลปะล้านนารูปทรง ๘ เหลี่ยม ตั้งอยู่บนฐานรูปเหลี่ยมจัตุรัส มีความกว้างงด้านละประมาณ ๕ เมตร ฐานสูงจากพื้นดินประมาณ ๑ เมตร รอบๆ องค์พระธาตุ จะมีซุ้ม ๔ ทิศ ประดิษฐานพระพุทธรูปโดยช่องกบางระหว่างซุ้มทั้ง ๔ ทิศ จะมีรูปปั้นช้างสีขาวครึ่งตัวโผล่ออกมาจากตัวพระธาตุ ส่วนยอดของพระธาตุประดับด้วยช่อดอกไม้สีทอง ขณะนี้ ส่วนของพระธาตุด้านตะวันตกเกิดความชำรุดเสียหาย

 

นอกจากโบราณสถานวัตถุอันเก่าแก่ดังกล่วงมาแล้วภายในวัดหลวงด้านตะวันตก ยังมีพิพิธภัณฑ์เมืองแพร่ซึ่งเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น โดยการก่อสร้างได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานราชการและเอกชน ตลอดจนประชาชนในจังหวัดแพร่ เพื่อใช้เป็นที่รวบรวมศิลปวัตถุภายในท้องถิ่น อันจะเป็นประโยชน์แก่การศึกษาหาความรู้เกี่ยงกับประวัติศาสตร์โบราณคดีและศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น สำหรับโบราณวัตถุที่น่าสนใจของวัดหลวง ได้แก่ กลุ่มพระพุทธรูปซึ่งมีจำนวนหลายองค์ จารึกอายุ ๕๐๐ ปี ศิลาจารึกเจ้าผู้ครองนคร คัมภีร์ศาสนา วรรณคดี กฎหมาย สมุนไพรโบราณ ตลอดจนเครื่องมือและกะโหลกศีรษะของมนุษย์สมัยหิน นอกจากนี้ ยังมีการก่อสร้างอาคารไม้สักหลังหนึ่งชื่อว่า “ หอวัฒนธรรมเมืองแพร่ ” ซึ่งได้งบประมาณการก่อสร้างมาจากการบริจาค โดยภายในอาคาร จะเป็นที่รวบรวมศิลปะพื้นบ้านทั่วๆ ไป เช่น หีบสมบัติโบราณ โลงไม้แกะ เป็นต้น สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งในวัดหลวง คือคุ้มพระลอซึ่งเป็นบ้านไม้หลังกะทัดรัด ตั้งอยู่ใกล้ๆ กับหอวัฒนธรรมเมืองแพร่ ด้านหน้าคุ้มมีป้ายกล่าวว่าเป็นอนุสรณ์สถานเมื่อครั้งที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จทัศนศึกษา ณ จังหวัดแพร่ เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน พ . ศ . ๒๕๓๓ ด้านล่างของคุ้ม มีเครื่องทอผ้า และล้อเกวียนเก่าจำนวนมากชั้นบนเป็นที่เก็บของโบราณมากมาย เช่น เตารีดถ่าน เครื่องทอฝ้าย ร่มโบราณ ไม้แกะสลัก ตู้เก็บของ นอกจากนี้ มีรูปถ่ายของแม่เจ้าบัวถา ชายาของเจ้าเมืองแพร่องค์หนึ่ง รวมทั้งรูปถ่ายของบ้านเจ้าเมืองแพร่ซึ่งเป็นต้นตระกูลเจ้าอาวาสวัดหลวงองค์หนึ่ง ตลอดจนปิ่นโต และหม้อน้ำ

 

คุ้มพระลอ

 

พิพิธภัณฑ์เมืองแพร่

 

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 28 •มกราคม• 2012 เวลา 09:24 น.• )