วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ ๑๖ ถนนเจริญเมือง ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของศาลากลางจังหวัด เป็นวันที่เกิดจากการรวม ๒ วัดคือ วัดพระบาทและวัดมิ่งเมือง เป็นวัดพระบาทมิ่งเมือง ต่อมาได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ยกฐานะจากวัดราษฎ์ ให้เป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดวรวิหาร วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร มีพื้นที่ ๖ ไร่ ๓๒ ตรารางวา (โฉนดที่ดินเลขที่ ๒๑๑๕) มีอาณาเขตทิศเหนือติดถนนเจริญเมือง ความยาว ๑๔๘ เมตร อยู่ตรงข้ามสำนักงานที่ดินจังหวัดแพร่ ที่ทำการไปรษณีย์จังหวัดแพร่ และสำนักงานพาณิชย์จังกวัดแพร่ ทิศใต้ติดกับถนนพระบาทมิ่งเมือง ความยาว ๑๕๖ เมตร อยู่ตรงข้ามกับโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่ ทิศตะวันออก ติดถนนพระร่วงความยาว ๕๒ เมตร อยู่ตรงข้ามกับร้านคาพาณิชย์ ทิศตะวันตก ติดถนนคุ้มเดิม ความยาว ๗๖ เมตร อยู่ตรงข้ามสวนสุขภาพเฉลิมพระเกียรติ ร.๙

การรวมวัดพระบาท กับวัดมิ่งเมือง เป็นวัดพระบาทมิ่งเมือง ช่วงปี ๒๔๙๐ สมัยพระปรยัติวงศาจารย์ (ฟู อตฺตสิโว) เป็นเจ้าอาวาสวัดพระบาท และเป็นเจ้าคณะจังหวัดแพร่ (ต่อมาคือพระครู พระอุบาลีคุณูปจารย์) และพระครูธรรมสารสุจิต (สุจี กตสาโร) เป็นเจ้าอาวาสวัดมิ่งเมือง (ปัจจุบันคือ พระมหาโพธิวงศาจารย์) วัดพระบาทและวัดมิ่งเมืองอยู่ห่างกันเพียงมรตรอกคั่น เจ้าอาวาสทั้ง ๒ วัด ได้ปรึกษากับเจ้าตุ่น วังซ้าย ซึ่งเป็นศรัทธาต้นของวัดมิ่งเมืองว่าจะจัดงานกิ๋นสลากที่วัดมิ่งเมือง แต่วัดมิ่งเมืองคับแคบจึงได้ตกลงที่จะทุบกำแพงรวมทั้งสองวัดเข้าด้วยกัน ซึ่งเป็นพระครูธรรมสารสุจิตได้มีหนังสือถึงอาจารย์ลือ ไชยประวัติ ขอนักเรียนดรงเรียนพิริยาลัยมาช่วยกันทุบกำแพง

ในปี ๒๔๙๑ พระปริยัติวงศาจารย์ ได้ทำหนังสือขออนุญาตสังฆมนตรีให้รวมวัดพระบาทกับวัดมิ่งเมืองเป็นวัดเดียวกันเมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๔๙๒ กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศรวมวัดพระบาทและวัดมิ่งเมืองเข้าด้วยกันเป็น วัดพระบาทมิ่งเมือง มีฐานะเป็นวัดราษฎร์ การยกฐานะวัดราษฎษ์เป็นพระอารามหลวงนั้นเมืองวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๘ กระทรวงวัฒนธรรมได้ประกาศว่า วัดพระบาทมิ่งเมืองได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชนุญาตให้ยกฐานะจากวัดราษฎษ์ให้เป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดวรวิหาร

ประวัติวัดพระบาทตามตำนานกล่าวว่าสมัยครั้งพุทธกาลพระพุทธเจ้าได้เสด็จโปรดเวไนยสัตว์และได้เสด็จลงมายังเมืองพลนครหรือนครพล ได้ประทับพระอิริยาบถ ณ ปากถ้ำพญานาคซึ่งมีลมออกจากปากถ้ำแรงเร็นสบายจากนั้นพระองค์ได้เสด็จประทับรอยพระพุทธบาท ๔ รอยไว้ ณ ปากถ้ำสถานที่ดังกล่าวก็คือวัดพระพุทธบาท ต่อมาเจ้ามหาอุปราชได้สร้างพระวิหารครอบรอยพระพุทธบาท ๔ รอย จากนั้นถ้ำก็ถูกปิดทันทีด้านประวิติศาสตร์ พ.ศ. ๑๘๗๙ เมืองแพล หรือเมืองแพร่เป็นประเทศราชของกรุงสุโขทัย สมเด็จมหาธรรมราชาลิไท เมื่อครั้งเป็นพระมหาอุปราช ได้เสด็จขึ้นมาสร้าง และบูรณะศาสนสถานในอาณาจักรลานนา มีพระธาตุช่อแฮ พระธาตุจอมแจ้ง วัดหลวงไชยวงศ์ วัดพระบาทแสงฟ้า วัดพระนอนจุฑามาศ พ.ศ. ๒๔๓๔ เจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นพระยาพิริยวิไชย เป็นเจ้านครเมืองแพร่ และได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานตรามงกุฎเครื่องราชอิสริยยศ

พรยาพิริยวิไชย ได้ทำบุญตักบาตรถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ พระยาพิริยวิไชย พร้อมทั้งเจ้านาย บุตรหลานได้อัญเชิญพระบรมรูปเข้าไปในพระอุโบสถวัดไชยอารามพระบาทแล้ว ได้รับน้ำพระพิพัฒน์สัจจาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แล้วอัญเชิญพระบรมรูปตั้งประดิษฐานในกอสูง และได้โปรยเงินเป็นทานแก่ราษฎรชาย หญิง ๘๐๐ เฟื้อง (คัดจากบันทึกของเจ้าพิริยเทพวงศ์ เจ้าผู้ครองนครองเมืองแพร่ ที่กล่าวถึงวัดไชยอารามพระบาท) วัดพระบาทในยุคแรกชื่อวัดพระพุทธบาท ต่อมาชื่อวัดพระบาทแสงฟ้า วัดไชยอารามพระบาท และสุดท้ายชื่อ วัดพระบาท

ประวัติวัดมิ่งเมือง ตามตำนานเล่าว่าวัดมิ่งเมืองเป็นวัดที่เจ้าผู้ครองนครแพร่เป็นผู้สร้าง ยุคแรก ๆ เจ้าผู้ครองนครจะมาร่วมทำบุญพร้อมกับราษฎร ต่อมามีราชกิจมากทำให้มาทำบุญตักบาทร่วมกับราษฎรไม่ค่อยทันเวลาจึงได้ปรึกษากับเจ้านายบุตรหลาน ซึ่งมีมติให้สร้างวัดขึ้นใหม่ในสวนอุทยานของเจ้าผู้ครองนครชื่อวัดสวนมิ่งหรือวัดสมมิ่งหรือวัดมิ่งเมืองให้เป็นสัญลักษณ์ว่า เป็นวัดที่อยู่ใจกลางเมือง ต่อมาได้สร้างหอธรรม และพระวิหารหลวงมิ่งเมือง ซึ่งได้บูรณปฏิสังขรพระเจดีย์มิ่งเมือง หอธรรม และพระวิหารหลวงมิ่งเมืองจากเจ้านายบุตรหลานของเชื้อสายเจ้าเมืองแพร่ให้อยู่ในสภาพเดิม ปัจจุบันพระวิหารหลวงมิ่งเมือง ได้ปรับปรุงพิพิธภัณฑ์พระวิหารมิ่งเมือง

ด้านประวิติศาสตร์ พ.ศ. ๒๓๙๒ สมัยครูบามณีวรรณ เป็นเจ้าอาวาสวัดมิ่งเมืองได้สร้างธรรมมหาเวสสันดร ฉบับท่านแป้นหลวง ถวายไว้กับวัดมิ่งเมือง (บันทึกในไม้ปันจั๊กธรรมใบลาน) ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์พระวิหารมิ่งเมือง มีวัตถุสำคัญคือ พระบรมสารีริกธาตุ, หลวงพ่อพุทธโกศัยสิริชัยศากยมุนี พระคู่บ้านคู่เมืองแพร่ พระธานมนพระอุโบสถวัดพระบาท, หลวงพ่อพระพุทธมิ่งขวัญเมือง พระประธานในพระวิหารมิ่งเมือง, พระเจดีย์มิ่งเมือง, มณฑฑปรอยพระพุทธบาท, พุทธสถานวัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร, หอธรรม (หอพระไตรปิฎก), หอคำสูงเฉลิมพระเกียรติ ร.๙, กุฏิรัคศิริอนุสรณ์, กุฏิมิ่งขวัญเมือง, กุฏิสงฆ์ ๕ ชั้น, หอสมุดเฉลิมพระเกียรติ ร.๙, อาคารโรงบเรียนพุทธโกศัยวิทยา, อาคา มจร. วิทยาเขตแพร่, อาคารยาขอบอนุสรณ์, หอระฆังแสงส่องหล้า

การศึกษาของวัดพระบาทมิ่งเมือง วัดพระบาทมิ่งเมืองเป็นวัดหลวงประจำจังหวัดแพร่มาตั้งแต่สมัยประเทศราช มีเจ้าอาวาสเป็นผู้นำที่ดี พระพุทธศาสนาได้รับการทำนุบำรุงจาเจ้าผู้ครองนครแพร่ และเจ้านายบุตรหลานเป็นเวลาช้านนานวัดพระบาทจึงเป็นศูนย์กลางการศึกษาทั้งนักธรรม – บาลี ในสมัยพระครูพุทธวงศาจารย์ (ทองคำ พุทธวํโส) เป็นเจ้าอาวาสและเป็นสังฆปาโมกข์ (เจ้าคณะจังหวัด) หารเรียนการสอนบาลีแบบมูลกัจจายน์ พระภิกษุสามเณรทั่วภาคเหนือมาเรียนที่วัดพระบาททั้งหมด สมัยธรรมราชานุวัตร (ฟู อตฺตสิโว) เป็นเจ้าอาวาส และเจ้าคณะจังหวัดแพร่ ได้สนับสนุนการศึกษาด้านนัดธรรม – บาลี จนปรากฏเป็นเกียรติประวัติว่า เป็นสมัยที่มีพระมหาเปรียญมากที่สุด เพราะท่านได้นิมนต์ครูจากวัดเบญจมบพิตร กรุงเทพมาสอน สมัยพระราชรัตนมุนี (สุจี กตสาโร) เป็นเจ้าอาวาส และเจ้าคณะจังหวัดแพร่ได้พัฒนาการศึกษาทั้งแผนกธรรม – บาลี ธรรมศึกษา สามัญศึกษา และอุดมศึกษา เพื้อให้พระภิกษุสามเณรได้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล และเปิดกว้างให้เรียนรู้ทั้งทางโลก และทางธรรม โดยจัดตั้งองค์กรทางการศึกษาดังนี้

ในปี ๒๕๐๐ ได้ตั้งโรงเรียนธรรมราชวิทยา เปิดสอนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญ (ต่อมาชื่อโรงเรียนศึกษาผู้ใหญ่พุทธโกศัย และโรงเรียนโกศัยวิทยา จังหวัดแพร่ ตามลำดับ)

ในปี ๒๕๐๖ ได้ตั้งโรงเรียนพุทธศานาวันอาทิตย์ (ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์)

ในปี ๒๕๓๐ ได้ตั้งวิทยาเขต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่

เจ้าอาวาสวัดพระบาทเท่าที่สืบได้ มี ๔ รูป คือ

๑. พระครูพุทธวงศาจารย์ (ทองคำ พุทฺธวํโส) เป็นชาวบ้านสีลอ ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ (ชาตกาล พ.ศ.๒๓๘๐ มรณภาพ พ.ศ.๒๔๕๕) เป็นบุตรพญาแขกเมือง นางแว่นแก้ว ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดพระบาท แล้วลาสิกขาเมื่ออายุ ๒๕ ปี ได้กลับเข้ามาอุปสมบท ณ วัดพระบาท ได้ศึกษาบาลีและพระธรรมวินัยในสำนักครูบากาญจนมหาเถร วัดสูงเม่น ซึ่งเล่าลือกันว่าเป็นผู้ปราดเปรื่องในพระไตรปิฎก ถึงกับรู้ภาษานก ต่อมาด้เป็นเจ้าอาวาส และเจ้าคณะใหญ่เมืองแพร่ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูพุทธวงศาจารย์ ที่สังฆปาโมกข์ (เจ้าคณะจังหวัดแพร่) เมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๔๕๕ ท่านเป็นผู้แตกฉานในพระบาลีรูปหนึ่งเป็นอาจารย์สอนบาลี มีศิษยานุศิษย์มากหลาย มีคนนิยมมาก เพราะเป็นผู้มีอัธยาศัยประกอบด้วยเมตตาอารีและชอบในการก่อสร้างมาดก พยายามบำรุงพระพุทธศาสนา ได้ขยายวัดออกไปหลายวัด วัดที่ท่านเป็นหัวหน้าสร้างมี วัดชัยมงคล วัดสวรรคนิเวศน์ อำเภอเมืองแพร่ วัดแม่ยางโพธิ์ อำเภอร้องกวาง เป็นต้น มิใช่แต่ขยายวัดเท่านั้น ยังแบ่งทายกทายิกาของวัดเดิม (วัดพระบาท) ออกไปบำรุงวัดที่สร้างขึ้นใหม่ด้วย และเป็นผู้อำนวยการบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุจอมแจ้ง อำเภอเมืองแพร่ เป็นหลักฐานมาจนทุกวันนี้ ตามปกติออกพรราแล้วท่านมักจะไปประจำที่วัดซึ่งมีการก่อสร้าง เพื่ออำนวยการสร้างด้วยตนเอง

๒. พระปลัดคันธะ คนฺธวิชโย (ชาตกาล พ.ศ.๒๔๐๑ มรณภาพ ๒๔๖๔) เป็นชาวบ้านเขื่อนคำลือ ตำบลเวียงทอง อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ บรรพชาที่วัดเขื่อนคำลือ เมื่ออุปสมบทแล้ว เข้ามาศึกษาบาลีกับพระครูพุทธวงศาจารย์ วัดพระบาท แต่จำพรรษาที่วัดมิ่งเมือง ภายหลังย้ายมาอยู่วัดพระบาท เป็นพระปลัดฐานานุกรมของพระครูพุทธวงศาจารย์ เมื่อพระครูพุทธวงศาจารย์ มรณภาพแล้ว ก็ได้เป็นเจ้าอาวาสแทนและได้รับแต่งตั้งเป็นผู้รั้งตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอร้องกวาง แต่เกิดอธิกรณ์และมีความยุ่งยากทางวัดพระบามจึงลาออกจากจากตำแหน่งเจ้าอาวาสและผู้รั้งตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอร้องกวางกลับไปอยู่วัดเดิม และมรณภาพ ณ วัดนั้น

๓. พระอธิการคำลือ กญฺจโน (ชาตะ พ.ศ.๒๔๓๘ ลาสิกขา พ.ศ.๒๔๗๔) เป็นชาวบ้านสีลอ ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ เป็นบุตรนายธรรมชั ย นางใจ แสงดอก ได้บรรพชาอุปสมบท ณ วัดพระบาท พ.ศ.๒๔๕๗ ได้ศึกษาวิชาภาษาไทย ณ โรงเรียนประจำจังหวัดแพร่ สอบไล่ได้ชั้นมัธยมปีที่๑ และได้เป็นครูโรงเรียนนั้น ๑ ปี ก็ลาสิกขา

๔. พระธรรมราชานุวัตร (ฟู อตฺตสิโว ป.ธ.๖) เป็นชาวบ้านทุ่ง ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ เป็นบุตรของนายแสน นางฟอง บรรเลง เกิดวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๔๔๔ ณ บ้านทุ่ง ได้ศึกษาโรงเรียนประจำจังหวัดแพร่ “พิริยาลัย” สอบไล่ได้ ชั้นมัธยมปีที่๒ เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๐ และเป็นนักเรียนฝึกหัดครูมณฑลด้วย เมื่อพ.ศ.๒๔๖๑ ได้เข้าไปศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดมหาธาตุ กรุงเทพฯ และบรรพชา ณ วัดนั้นเมื่อเดือน กรกฎาคม ๒๔๖๑ สมเด็จพระวันรัต (เขมจารี) เป็นบรรพชาจารย์ สอบนักธรรมชั้นตรี – โทได้ และเรียนบาลีไวยากรณ์จบที่วัดมหาธาตุนั้น แล้วย้ายไปอยู่วัดเบญจมบพิตรและอุปสมบทที่วัดนั้น เมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๔๖๔สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) เป็นพระอุปัชฌายะ สอบไล่ได้ประโยค ป.ธ.๖ เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๖ กิจการพระศาสนา พ.ศ.๒๔๖๙ เป็นครูนักธรรมและบาลี ที่วัดเบญจมบพิตร พ.ศ.๒๔๗๐-๒๔๗๒ เป็นครูสอนปริยัติธรรม และช่วยคณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ ประจำอยู่วัดเชตวัน พ.ศ.๒๔๗๓ ช่วยคณะสงฆ์จังหวัดแพร่และครูปริยัติธรรม พ.ศ.๒๔๗๔ เป็นเจ้าอาวาสวัดพระบาทเป็นคณาจารย์โท และทำหน้าที่เจ้าคณะจังหวัดแพร่ พ.ศ.๒๔๗๕ ได้รับพระราชทานสมศักดิ์เป็นพระปริยัติวงศาจารย์ พ.ศ.๒๔๗๖ เป็นเจ้าคณะจังหสัดแพร่ พ.ศ.๒๔๗๘ เป็นกรรมการตรวจบาลีสนามหลวง พ.ศ.๒๔๘๔ เป็นกรรมการดำเนินการศึกษาผู้ใหญ่จังหวัดแพร่ พ.ศ.๒๔๘๖ ได้รับมอบหมายให้นำพระเถระผู้ใหญ่สหรัฐไทยเดิม (แคว้นเชียงตุง) ไปชมพระนคร พ.ศ๒๔๘๙ เป็นเจ้าคณะตรวจการภาค ๔ และได้รับพระราชทานเลื่อนสมศักดิ์เป็นพระราชาคณะเสมอชั้นราช พ.ศ.๒๔๙๒ เป็นเจ้าคณะตรวจการภาค๔ พ.ศ.๒๔๙๓ เป็นเจ้าอาวาสวัดสิงห์ วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ เป็นที่พระเทพมุนี พ.ศ.๒๔๙๔ เปลี่ยนเป็นเจ้าคณะตรวจการภาค๕ เป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุช่อแฮ เป็นประธานกรรมการวัดพระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ.๒๔๙๕ เป็นที่พระธรรมราชานุวัตร พ.ศ.๒๔๙๘ เป็นสมาชิกสังฆสภา พ.ศ.๒๕๑๔ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระมหาโพธิวงศาจารย์ พ.ศ.๒๕๑๕ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ พ.ศ.๒๕๑๖ มรณภาพ

เจ้าอาวาสวัดมิ่งเมืองเท่าที่สืบได้มี ๔ รูป คือ

๑. ครูบามณีวรรณ เป็นครูบาสายวัดป่าอรัญวาสี มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติกรรมฐานเป็นพระสุปฏิปันโน จึงมีหลักฐานการสร้างคัมภีร์กัมมัฏฐานฉบับวัดมิ่งเมือง ในการแห่งมรณภาพของครูบามณีวรรณ ผู้ที่ดูแลจัดการในงานศพของครูบา คือ ครูบาวงษ์ สังฆปโมกข์ วัดมิ่งเมือง และได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดมิ่งเมือง เป็นลำดับต่อมา

๒. ครูบาวงษ์ เป็นสังฆปโมกข์ วัดมิ่งเมือง เป็นพระมหาเถระที่แตกฉานในคัมภีร์พระปาฏิโมกข์ เป็นผู้ปราชญ์เปรื่องในพระไตรปิฎก อยู่ร่วมในสมัยเจ้าหลวงพิมพิสาร (เจ้าหลวงขาเค) ในราว พ.ศ.๒๓๔๐ ดูแลวัดมิ่งเมือง บูรณปฏิสังขรณ์ ต่อจากครูบามณีวรรณ (จากคำบอกเล่าของพระมหาโพธิวงศาจารย์ อายุ ๙๔ ปี)

๓. พระครูมหาญาณสิทธิ์ (โท้ กญฺจโน) ชาตะ พ.ศ.๒๔๒๕  เป็นชาวบ้านประตูชัย ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ เป็นบุตรนายเทพ นางคำเฟือย อุปสมบทที่วัดพระบาท ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดมิ่งเมืองเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๒ และมรณภาพ พ.ศ.๒๔๖๘

๔. พระมหาสุจี กตสาโร ต่อมาเลื่อนสมศัดิ์เป็น พระมหาโพธิวงศาจารย์ เป็นเจ้าอาวาสวัดมิ่งเมือง พ.ศ.๒๔๙๐

เจ้าอาวาสพระอารามหลวงวัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร มี๒รูป คือ

๑. พระธรรมราชานุวัตร (ฟู อตฺตสิโว) ต่อมาเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ เป็นเจ้าอาวาสวัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิการ พ.ศ.๒๔๘-๒๕๑๘

๒. พระราชรัตนมุนี (สุจี กตสาโร) ต่อมาเลื่อนสมณศักดิ์เป็พระมหาโพธิวงศาจารย์ เป็นเจ้าอาวาสวัดมิ่งเมืองวรวิหาร พ.ศ.๒๕๑๘-ปัจจุบัน

การเสด็จพระราชดำเนินวัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ตลอดถึงพระบรมวงศานุวงศ์ เมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงนมัสการพระพุทธโกศัยสิริชัยมหาศากยมุนี พระคู่บ้านคู่เมืองแพร่, นมัสการรอยพระพุทธบาท ๔ รอย และทรงปิดทองช่อฟ้าพระอุโบสถ วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร โดยมีพระธรรมราชานุวัตร (ฟู  อตฺตสิโว) เจ้าอาวาสเฝ้ารอรับเสด็จ นำเสด็จพระราชดำเนินและทรงเยี่ยมราษฎรประชาชนจังหวัดแพร่

เมื่อวันอังคารที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามกุฎราชกุมาร เสดก็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงช่อฟ้าพระอุโบสถ วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร และเยี่ยมราษฎรประชาชนชาวจังหวัดแพร่

เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๖ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินส่วนพระองค์ ทรงนมัสการพระพุทธโกศัยสิริชัยมหาศากยมุนี พระคู่บ้านคูเมืองแพร่ และพระราชทานถวายสิ่งของแก่พระธรรมรัตนากร เจ้าอาวาสและพระสงฆ์ ณ พระอุโบสถ วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร

เมื่อวันอังคารที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ เวลา ๙.๓๐ น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงงานส่วนพระองค์ ทรงเยี่ยมโรงเรียนพุทธโกศัยวิทยา วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร และทรงวางศิลาฤกษ์อาคารประกอบภัตตาหารเฉลิมพระเกียรติ โดย องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ สร้างทูลถวายโดยมี พระมหาโพธิวงศาจารย์ เจ้าอาวาสวัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร และพรวิมลกิจจาภรณ์ ผู้อำนวยการดรงเรียนพุทธโกศัยวิทยา จังหวัดแพร่ เฝ้ารอรับเสด็จ

ประวัติพระพุทธโกศัยสิริชัยมหาศากยมุนี พระคู่บ้านคู่เมืองแพร่ สมาชิกพุทธสมาคมสาขาแพร่มีนายชุนห์ นกแก้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่แป็นนายกสมาคมและนายทอง กันทาธรรม เป็นอุปนายก ได้นัดประชุมสมาชิกเมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๔๙๗ เพื่อแถลงกิจการและผลงานที่ได้ทำมา และหารือกิจการต่อไป เมือแถลงกิจการณ์เสร็จแล้วนายชุนห์ นกแก้ว นายกสมาคมได้เสนอในที่ประชุมว่า พุทธสมาคมของเราควรจะได้จัดทำอะไรขึ้นเป็นล่ำเป็นสันสักอย่าง เพื่อเป็นอนุสรณ์ของสมาคม ประกอบกับเวลานี้ทางการกำลังขอยกฐานะวัดพระบาทมิ่งเมือง ขึ้นเป็นพระอารามหลวง แต่วัดนี้ยังไม่มีพระพุทธรูปทองหล่อใหญ่ ที่สมควรจะเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองอยู่เลย สมาคมควรจะได้จัดการบอกบุญไปยังพี่น้องชาวแพร่ได้ร่วมจิตร่วมใจสละทรัพย์และเศษทองสร้างพระพุทธรูปทองหล่อ ไว้เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองไว้สักองค์หนึ่ง ที่ประชุมเห็นชอบด้วยแล้วได้นำเอาเรื่องนี้เข้าที่ประชุมใหญ่ ในวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๔๙๗

วันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๔๙๗ ได้ประชุมกันที่วัดพระบาทมิ่งเมือง นกยกสมาคมเป็นประธาน เมื่อเปิดประชุมแล้วได้ชี้แจงเรื่องการหล่อพระให้ที่ประชุมทราบ และเข้าใจเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ได้วางวิธีการหาเงินโดยตั้งกรรมการหาเงินขึ้นคณะหนึ่ง และกำหนดเวลาหล่อ ครั้งแรกกำหนดวันเททองในวันมาฆบูชาปี ๒๔๙๘ แต่ไม่สะดวก เพราะพระผู้ใหญ่ท่านจะร่วมงานไม่ได้ คณะกรรมการจึงได้กำหนดใหม่เป็นวันที่ ๓ – ๕ เมษายน ซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑๑ – ๑๒ – ๑๓ ค่ำ เดือน ๗ เหนือ แต่กรรมการบางท่านเสนอว่าวันทำการหล่อควรจะให้ตรงกับวันสำคัญในทางศาสนาเช่นวันวิสาขบูชาเป็นต้น แต่ที่ประชุมค้านว่าจะไม่สะดวกอีก เพราะพระผู้ใหญ่จะมาในงานไม่ได้ จึงตกลงกำหนดเอาวันที่ ๕ – ๗ เมษายน ตรงกับวันขึ้น ๑๓ – ๑๔ – ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ เหนือ เมื่อตกลงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อยู่มาวันหนึ่งพระครูธรรมสารสุจิต ได้รับอาราธนาจากผู้ว่าราชการจังหวัด ให้ไปแสดงธรรมอบรมแก่คนพาลที่อำเภอร้องกวางในวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ อบรมเสร็จเดินทางกลับ เมื่อกลับมาถึงที่วัดแล้วพบหนังสือใบลานผูกหนึ่งเป็นหนังสือตำราสร้างพระพุทธรูป ถามพระเณรที่กุฎิไม่มีใครทราบ และไม่รู้ว่าใครเอามาให้ “คงไม่ทราบมาจนถึงปัจจุบัน” เมื่ออ่านดูแล้วปรากฏว่า ตามวันกำหนดการหล่อพระไว้นั้นตรงกับวันและฤกษ์ที่ไม่ดีในหนังสือตำรานั้นกล่าวไว้ว่าการก่อสร้างพรุทธรูปขึ้นในเดือน ๗ เหนือ ตามกำนดไว้นั้น ถ้าทำการแล้วจะเกิดเหตุร้ายต่าง ๆ เช่นมีโจรเกิดขึ้นในบ้านเมืองเมื่อหล่อแล้วฟ้าจะผ่า ไฟจะไหม้ ผู้เป็นประธานจะได้พบอันตรายถึงชีวิต หรือ อาจถูพรากจากที่อยู่ ในวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ เวลา ๐๙.๐๐ น. พระครูธรรมสารสุจิต นำหนังสือไปหารือกับผู้ว่าราชการจังหวัด จึงต้องงดกำหนดนั้นแล้วให้นัดประชุมด่วนในวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ที่ประชุมจึงตกลงเลื่อนไป กำหนดเอาวันที่ ๒๒ – ๒๔ เมษายน ตรงกับวันขึ้น ๑ – ๒ – ๓ ค่ำ เดือน ๘ เหนือ (๕ ใต้) ในตำราว่าเป็นอุดมฤกษ์อันประเสริฐ

ในการหล่อนี้ คณะกรรมการได้อาราธนาพระมหาเถรานุเถระ มาเจริญพระพุทธมนต์ จำนวน ๑๐๘ รูป มีเจ้าพระคุณสมเด็จพระคุณสมเด็จพระวันรัต สังฆนายกวัดเบญจมบพิตร มาเป็นประธานในพิธีและนิมนต์วัดเบจบพิตร มาเป็นประธานในพิธีและนิมนต์เจ้าคณะจังหวัดและพระเถระในจังหวัดภาค ๕ มาร่วมพิธีทุกจังหวัด ส่วนพระอาจารย์นั้นมีพระครูศรีปัญญา (แฉ่ง) วัดศรีรัตนาราม (บางพัง) จังหวัดนนทบุรี มาเป็นประธาน และได้อาราธนาพระครูใบฎีกาประหยัด วัดสุทัศน์เทพวราราม จังหวัดพระนครมาเป็นประธานจัดพิธีได้อาราธนาพระครูพรหมวิหาร วัดสุทัศน์เทพวราราม และคณะมาสวดพุทธาภิเศก มีกำหนดการดังนี้ วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๘ พระเถราะมาถึงจังหวัดแพร่

วันที่ ๒๒ เมษายน เวลา ๐๗.๐๐ น. ทำบุญตักบาตร ถวายอาหารแก่พระสงฆ์ เวลา ๐๙.๐๐ น. ไปรับเจ้าพระคุณสมเด็จ ที่สนามบินแพร่ เวลา ๑๓.๐๐ น. มีเทศน์ปุจฉาวิเสชนา ๒ ธรรมมาสน์ แสดงโดย พระอมรเมธาจารย์กับพระพนมเจติยานุรักษ์ เวลา ๑๕.๐๐ น. มีขบวนวัดต่าง ๆ แห่ประกวดเครื่องไทยทานชิงรางวัล เวลา ๑๖.๐๐ น. ทำพิธีเปิดป้ายวัด ซึ่งได้รับพระราชทานยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง เวลา ๑๗.๐๐ น. ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่กล่าวเปิดงาน พราหมณ์ในพิธี บวงสรวงเทวดา อุบาสก อุบาสิการับศิล พระมหาเถระเริ่มจุดเทียนชัยพระสงฆ์ ๑๐๘ รูป มีพระเทพมุนี เจ้าคณะตรวจการภาค ๒ และเจ้าอาวาสวัดสังเวชวิศยาราม จังหวัดพระนคร เป็นประธานนำเจริญพระพุทธมนต์ เวลา ๑๙.๐๐ น. พระสงฆ์เถระจุดเทียนพุทธาภิเษกพระพิธี ๔ รูป เริ่มสวดพุทธาภิเษก พระอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าที่นั่งบริกรรม ปลุกเสก พระเครื่องรางต่าง ๆ

วันที่ ๒๓ เมษายน เวลา ๑๗.๐๐ น.  ทำบุญตักบาตร ถวายอาหารแก่พระสงฆ์ เวลา ๑๙.๐๐ น. มีพระธรรมเทศนาอานิสงส์หล่อพระ ๑ กัณฑ์ เจ้าพระคุณสมเด็จพระวันรัตเป็นองค์แสดง เวลา ๑๕.๐๐ น. มีขบวนแห่วัดต่าง ๆ เช่นวันก่อน เวลา ๑๗.๐๐ น. พระสังฆเถระเจริญพระพุทธมนต์

วันที่ ๒๔ เมษายน เวลา ๐๘.๐๐ น. ได้ฤกษเททอง วันนี้ที่น่าอัศจรรย์มาก ก่อนเททองฝนตกลงมาปรอย ๆ เหมือนกับเทวดาหลั่งพระสุคันโธทกอนุโมทนาด้วยสาธุชนที่มาในงานต่างยกมือฉว่ซ้อง สาธุการ เมื่อได้เวลาอาราธนาเจ้าพระคุณสมเด็จพระวันรัต สังฆนายกประธานในพิธีประพรมน้ำพระพุทธมนต์บริเวณพิธี แล้วนายฟุ้ง อ้นเจริญ นายช่างหล่อ นิมนต์พระครูธรรมสารสุจิต (สุจี) ขึ้นนั่งร้านเททอง คอยโอกาสเอาด้ายสายสิญจน์แตะที่คีมเบ้านทอง และเททองเข้าชนวนพิมพ์พระ และได้โยงด้ายสายสิญจน์ไปทั่วบริเวณงานหมด พุทธศาสนิกชนที่มาในงานนั้นจับถือด้ายทุกคน เพื่อให้ได้ชื่อว่าหล่อพระด้วยมือตนเอง เมื่อเวลาเททองพระสังฆเถระ ๑๐๘ รูป สวดชัยมงคลคาถา พระอาจารย์ ๑๖ รูปนั่งปรกที่กระโจม ๔ ทิศ เมื่อเททองเสร็จเรียบร้อยแล้ว เวลา ๑๗.๐๐ น. ฝนได้ตกลงมาเป็นห่าใหญ่ตลอดคืน

วันที่ ๒๕ เมษายน เวลา ๑๐.๐๐ น. รื้อเบ้าพิมพ์พระออกตรวจดูองค์พระ ปรากฎว่าองค์พระมีสภาพดีเรียบร้อยเกือบทุกส่วน พระพักตร์ดีมากไม่มีริ้วรอย ส่วนอื่นเสียบ้างเป็นส่วนน้อย พระพุทธรูปองค์นี้ท่านเจ้าคุณพระธรรมราชานุวัตร เจ้าคณะตรวจการภาค ๕ และเจ้าคณะจังหวัดแพร่ ได้ถวายนามว่า “พระพุทธโกศัยสิริชัยมหาศากยมุนี” พวกช่างหล่อปรารภกันว่า หลวงพ่อองค์นี้สำคัญมากและวิเศษดีนัก พอลงมือสุมทองฝนลงมา ทำมีจะตกหนัก ๆ แต่ก็เพียงให้เราเย็นสบายเท่านั้นเคยไปหล่อมามากแล้วโดยมากแห้งแล้ง ยังไม่เคยมีที่ไหนเหมือนที่นี่เลย ตลอดถึงผู้คนก็มีจิตใจศรัทธาดี และมีความสมัคคีกันดีมากพระพุทธโกศัยมุนีมีหน้าตักกว้าง ๑ วา ๕ นิ้ว สูงจดพระโมลี ๑ วา ๑ ศอก ฐานสูง ๒ นิ้ว พระองค์วัดรอบ ๙๐ นิ้วปางมารวิชัย (สะดุ้งมาร) แบบสมัยเชียงแสนผสมกับสุโขทัย

ประวัติ พระอุโบสถ วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร จังหวัดแพร่ พระอุโบสถ เนื่องจากอุทกภัย พ.ศ. ๒๔๗๒ ทำให้พระอุโบสถชำรุดจนใช้การไม่ได้ คุณหญิงจันทร์คำ บุรีรัตน์ (แม่เจ้าคำ) เป็นหัวหน้า พระอธิการคำลือ เป็นผู้อำนวยการ จึงรื้อพระอุโบสถแล้วสร้างขึ้นไหม่ แต่พอทำไปได้เล็กน้อย พระอธิการคำลือ ก็ลาสิกขา พระธรรมราชานุวัตร ซึ่งเวลานั้นยังเป็นมหาเปรียญมาเป็นเจ้าอาวาส จึงได้ลงมือก่อสร้างต่ไปจนเสร็จ พระอุโบสถหลังนี้ยาว ๑๔ วา กว้าง ๗ วา ทรวดทรงโบราณตามแนวนวกรรม หลังคาลด ๓ ชาย เสาหล่อคอนกรีตเสริมเหล็ก ฝาผนังก่ออิฐถือปูนหน้าบรรณหล่อลวดลายประดับกระจก และปิดทองช่อฟ้าไม้สักใบระกาหล่อประดับกระจกลงมือสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๔ สำเร็จ พ.ศ. ๒๕๘๓ ทำบุญฉลองเมื่อเดือนเมษายน ๒๔๘๔ สิ้นค่าก่อสร้าง ๓๖,๑๖๑.๒๕ บาท ไม่นับเครื่องอุโบสถหลังเก่า และไม่สักท่อนอีกประมาณ ๑๐๖ ลูกบาศก์เมตร ราคาประมาณ ๕,๐๐๐ บาท รวมราคาก่อสร้าง ๔๒,๑๖๑.๒๕ บาท ในเงินจำนวนนี้คุณหญิงจันทร์คำ บุรีรัตน์ บริจาค ๑๗,๐๐๐ บาท นอกจากนี้ทายาทของคุณหญิงจันทร์คำ บุรีรัตน์ ได้ถวายสิ่งของเนื่องในงานทำบุญฉลองอันเป็นมรดกด้วย ที่สำคัญก็คือ ธรรมาสน์บุษบกลงรักปิดทอง ราคา ๑,๗๐๐ บาท โคมระย้าใหญ่ใหญ่ ๒ โคม ราคา ๗๐๐ บาท พรหมใหญ่ราคา ๖๐๐ บาท แจกันลายครามของเก่าราคา ๗๐๐ บาท รวมราคา ๓,๗๐๐ บาท

พระอุโบสถหลังนี้ประสบอุบัติเหตุเกิดอัคคีภัย เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๔๙๗ เนื่องจากไฟฟ้าบนเพดานช็อต ไฟได้ไหม้ตัวอุโบสถและสิ่งของในนั้นเกือบหมดสิ้น คงเหลือแต่ฝาผนังและพรหมใหญ่ผืนเดียวที่นำออกจากเพลิงได้ ทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงในประวัติการณ์ของจังหวัดแพร่ และเป็นที่เศร้าสลดใจอย่างสุดซึ้งของชาวจังหวัดแพร่และสาธุทั่วไป เมื่อไฟไหม้แล้ว ถ้าปล่อยไว้เช่นนั้นก็น่าสังเวชและไม่สะดวกแก่ การประกอบกุศลบุญ และพระอุโบสถนี้ก็จะเป็นที่สถิตของพระพุทธโกศัย ซึ่งเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองเสมือนดวงใจของชาวแพร่ด้วย ทางวัดร่วมกับคณะสงฆ์และประชาชนชาวจังหวัดแพร่ มีสมชิกพุทธสมาคมแพร่เป็นต้น จึงตกลงกันให้รีบสร้างขึ้น ลงมือยกเครื่องบนเมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๔๙๘ เวลานี้เร่งรีบก่อสร้าง เพื่อให้ทันกับพุทธกาล ๒๕๐๐ ปี ซึ่งคงจะได้รับความเมตตากรุณา และบรรเทาทุกข์ภัยจากสาธุชนช่วยบริจาคทรัพย์สมทบทุนก่อสร้างพระอุโบสถหลังนี้ ได้นำรายการสิ่งที่เสียหายจากอัคคีภัย ซึ่งทางวัดร่วมกับเจ้าหน้าที่ได้สำรวจและตีราคามาลงไว้ที่นี้ด้วยเพื่อเป็นประวัติและให้เกิดความสังเวชแก่สาธุชน

ฎีกาแผ่กุศลสร้างพระอุโบสถ วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร จังหวัดแพร่ เนื้อความ ขอเจริญกุศลมายังท่านสาธุชนผู้ใจบุญทั้งหลาย ด้วยเมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๔๙๗ ไฟได้ไหม้พระอุโบสถวัดพระบาทมิ่งเมือง ทำความเสียหายและเศร้าสลดใจอย่างใหญ่หลวง เพราะพระอุโบสถและสิ่งของมีค่าที่สูญเสียคราวนี้มีราคาไม่ต่ำกว่าล้านบาท ทั้งวัดพระบาทมิ่งเมืองก็เป็นพระอารามหลวง วัดสำคัญประจำจังหวัด และตั้งอยู่ใจกลางเวียง  ถ้าทิ้งไว้ไม่ก่อสร้างขึ้นใหม่ก็จะเป็นที่น่าสังเวช ไม่สะดวกแก่การทำบุญกุศล และเมื่อสร้างแล้วก็จะเชิญพระพุทธโกศัย พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ไปประดิษฐานในพระอุโบสถหลังนี้ ทางวัดจึงได้จัดตั้งกรรมการควบคุมก่อสร้างขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยพระสงฆ์และคฤหัสถ์ ประชุมตกลงกันให้สร้างขึ้นใหม่ บัดนี้ลงมือยกเครื่องบนแล้วแต่เงินก่อสร้างยังขาดอีกมาก จะใช้งบประมาณหกแสนบาท จึงเพียงพอแก่การ เพราะฉะนั้นจึงขอเจริญกุศลมายังท่านและญาติพวกพ้อง ช่วยกันบริจาคทรัพย์สมทบทุนก่อสร้างพระอุโบสถหลังนี้ โดยท่านจะบริจาคเป็นทุนกลาง หรือจะมีศรัทธาสร้างสิ่งสำคัญ ๆ ก็ยิ่งดี ทางวัดจะได้จารึกชื่อของท่านที่สร้างนั้น หวังว่าท่านผู้ใจบุญคงมีความยินดีในการช่วยกันสร้างพระอุโบสถหลังนี้เพื่อให้เป็นศรีสง่าแก่พระศาสนาและบ้านเมือง และเป็นที่สถิตแห่งพระพุทธโกศัยอันเป็นที่เคารพสักการระเสมือนดวงใจชาวจังหวัดแพร่ ให้ท่านสถิตอยู่สถานที่โอ่โถงงดงามต่อไป วันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ โดยพระธรรมราชา เจ้าคณะจังหวัดแพร่ ประธานกรรมการฝ่ายสงฆ์ และนายชุณห์ นกแก้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ประธานกรรมการฝ่ายคฤหัสถ์

ประวัติอาคารขอบอนุสรณ์ วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร จังหวัดแพร่ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ คุณอาคม ทันนิเทศ และคณะวิทยุ ๐๑ ภาคพิเศษ บางซื่อ กทม. ได้ชักชวนพรรคพวกขึ้นมาเที่ยวจังหวัดแพร่ ต้องการทราบบ้านเกิดของนายโชติ แพร่พันธุ์ (ยาขอบ) ได้มาที่วัดพระบาทมิ่งเมือง จึงได้ทราบว่าเป็นคนจังหวัดแพร่ บิดามารดาเป็นศรัทธาของวัดวัดพระบาทมิ่งเมือง จึงได้จัดทำบุญทอดผ้าป่าเป็นจำนวนเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท และรับปากว่าจะหาเงินมาให้อีกจำนวนหนึ่ง เพื่อสร้างโรงเรียนเป็นอนุสรณ์ของยาขอบ แต่สถานที่สร้างยังไม่มี ข้าพเจ้าได้มีโอกาสขึ้นไปที่ชียงใหม่ ไปทำบุญที่วัดทุ่งยูตอนกลับได้เข้ากราบหลวงพ่อพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ได้กราบเรียนว่า กุฏิเบอร์ ๑ (กุฏิบุรีรัตน์) ทรุดโทรมมากประตูปิดเปิดไม่ได้ ใคร่ขออนุญาตรื้อ หลวงพ่อสั่งว่ารื้อเถิด ฉันไม่มีโอกาสได้ไปอีกแล้ว  พออยู่มาได้ ๔ – ๕ เดือน ท่านก็อาพาธเข้ารับรักษาตัวที่โรงพยาบาลจนถึงมรณภาพ ต่อมาเมื่อทำบุญพระราชทานเพลิงศพหลวงพ่อเสร็จ จึงได้รื้อกุฏิเบอร์ ๑ สร้างอาคารเรียนซึ่งพลอากาศตรีศักดิ์ อารีฉัตร เป็นประธานพร้อมด้วยคุณอาคม พันนิเทศ จัดผ้าป่าถวายเป็นจำนวนเงิน ๒๕๐,๐๐๐ บาท รวมกับครั้งก่อน ๕๐,๐๐๐ บาท เป็นเงิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารยาขอบอนุสรณ์ขึ้น ใช้เงินสบทบจากวัดอีก ๖๐,๐๐๐ บาท สร้างเป็นอาคาร ๒ ชั้น แบบครึ่งตึกครึ่งไม้ขนาดกว้าง ๘.๕๐ เมตร ยาว ๒๔ เมตร สิ้นค่าก่อสร้างทั้วสิ้น ๓๖๐,๐๐๐ บาท ใช้เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมยาขอบอนุสรณ์

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 23 •กุมภาพันธ์• 2013 เวลา 08:41 น.• )