ค้นหาบทความ
ราคาน้ำมันวันนี้
จำนวนนับผู้เข้าเยี่ยมชม
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้130
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้905
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้3543
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว2977
mod_vvisit_counterเดือนนี้8505
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว15525
mod_vvisit_counterรวมผู้เข้าชม2256736

ออนไลน์ (20 นาทีที่แล้ว): 6
หมายเลข IP : 3.136.97.64
,
วันที่ : 19 •เม.ย.•, 2024
ล้านนาแพร่ประชาสัมพันธ์
Vinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo Slider
ประเพณีหมู่บ้าน
วันอาสาฬหบูชา ๒๕๕๕ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 02 •สิงหาคม• 2012 เวลา 11:36 น.•

วันอาสาฬหบูชา คือวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้ได้ ๒ เดือน โดยแสดงปฐมเทศนาโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ได้แก่ พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานาม และพระอัสสชิ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นมคธ จน พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้บรรลุธรรมและขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา จึงถือว่าวันนี้มีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์ครั้งแรกในโลก คือ มีทั้งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี ซึ่งในปี ๒๕๕๕ ตรงกับวันที่ ๒ สิงหาคม ศรัทธาชาวบ้านวังฟ่อนร่วมกับทำบุญที่วัดช่วงเช้ามืดมีการ "ตานขันข้าว" อุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้บรรพบุรุษหรือญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว ตอนเช้าทำบุญตักบาตร ณ ศาลาการเปรียญ รับศิล รับพร ช่วงเย็นมีการเวียนเทียนรอบพระอุโบสถ กิจกรรมพิเศษในวันนี้คือการที่ผู้นำหมู่บ้านได้มีจิตใจดีงามในการระดมทุนมอบให้แก่เด็กเรียนดี ความประพฤติ ๒๒ ทุน เป็นครั้งแรกกับแนวคิดที่ช่วยสนับสนุนให้เด็กได้มีกำลังใจในการเรียน การช่วยเหลือครอบครัว และชุมชนต่อไป

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 02 •สิงหาคม• 2012 เวลา 22:04 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
หล่อเทียนพรรษา ๒๕๕๕ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•จันทร์•ที่ 30 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 16:30 น.•

วันจันทร์ที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๕ นายวิชชา จิรภิญญากุล นายอำเภอสอง เป็นประธานเปิดการหล่อเทียนพรรษาซึ่งเป็นประเพณีที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาที่มีมาแต่ครั้งโบราณกาลในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ณ โรงเรียนวังฟ่อนวิทยา ตำบลหัวเมือง อำเภอสอง จังหวัดแพร่ โดยมีผู้นำหมู่บ้าน ครู นักเรียน และประชาชนเข้าร่วมพิธีในครั้งนี้ พิธีหล่อเทียน จัดเป็นพระราชกุศล และเป็นงานบุญทั่วไปของชาวบ้านอีกด้วย โดยกำหนดจัดงานราชพิธีหล่อเทียนขึ้นในเดือน ๘ ของทุกปี ก่อน เข้าพรรษาสมัยนั้นการหล่อเทียนใช้หล่อด้วยขี้ผึ้งทั้งสิ้น ในปีหนึ่ง ๆ จะใช้ขี้ผึ้งเป็นจำนวนมากทั้งนี้เนื่องจากบรรดาวัดต่าง ๆ ที่เป็น วัดหลวงทุกวัด จะได้รับพระราชทานเทียนพรรษาวัดละ ๑ เล่ม หรือมากกว่านั้นทุก ๆ วัด จำนวนเทียนที่หล่อจึงมีมากขึ้น

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•จันทร์•ที่ 30 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 16:48 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
๒,๖๐๐ ปี พุทธชยันตี •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•จันทร์•ที่ 04 •มิถุนายน• 2012 เวลา 12:44 น.•

วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ตรงกับวันจันทร์ที่ ๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๕ หมู่บ้านวังฟ่อนทำบุญเนื่องในวันวิสาขบูชา ซึ่งเป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และร่วมรำลึกพุทธชยันตี  โอกาสครอบรอบ ๒,๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้ ขององค์ตถาคตอีก เมื่อ ๔๕ ปี ก่อนพุทธศักราช (พุทธปรินิพพาน) พุทธชยันตี หรือสัมพุทธชยันตี (Sambuddha jayanthi) เป็นเทศกาลสำคัญทางพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท เกี่ยวเนื่องกับวันวิสาขบูชา คำว่า พุทธชยันตี มาจากศัพท์ พุทธ+ชยันตี (สันสกฤต: जयंती) ที่แปลว่า วันครบรอบ (Anniversary) ในภาษาสันสกฤต พุทธชยันตีจึงแปลว่า การครบรอบวันเกิดของพระพุทธเจ้า หรือวันครบรอบชัยชนะของพระพุทธเจ้าก็ได้ "พุทธชยันตี" ใช้เรียกการจัดกิจกรรมในปีที่ครบรอบวาระสำคัญของพระพุทธเจ้า เช่น ครบรอบ ๒,๕๐๐ ปี แห่งปรินิพพาน หรือ ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ ในแต่ละประเทศ อาจใช้ชื่อต่างกันไปบ้างเช่น ศรีสัมพุทธชันตี สัมพุทธชยันตี แต่ทั้งหมดก็คือการจัดกิจกรรมพุทธชยันตี เพื่อมุ่งหมายการถวายเป็นพุทธบูชาในปีที่ครบรอบวาระสำคัญของพระพุทธเจ้า เวลา ๒๑.๐๐ น. ทางวัดวังฟ่อนได้จัดกิจกรรมเวียนเทียนเพื่อรำลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•จันทร์•ที่ 04 •มิถุนายน• 2012 เวลา 22:39 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
เซ่นไหว้เจ้าป่อดงอาฮัก ๒๕๕๕ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อังคาร•ที่ 29 •พฤษภาคม• 2012 เวลา 20:56 น.•

วันอังคารที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ออก ๙ ค่ำ เดือน ๙ หมู่บ้านวังฟ่อนกลุ่มอนุรักษ์ทำพิธีเซ่นไหว้เจ้าป่อดงอาฮัก เจ้าป่อองค์ทิพย์ เจ้าป่อหลาวเหล็ก เจ้าป่อหลาวทอง นางเตวี ซึ่งเป็นประเพณีประจำหมู่บ้านที่จัดขึ้นทุกปี เป็นเวลายาวนานกว่า ๑๖๐ ปี สมัยป่อใหญ่ราษนำกลุ่มชาวบ้านมาตั้งบ้านแปงเฮือนบริเวณหมู่บ้านแห่งนี้ เนื้อที่ป่ากว่า ๘๔ ไร่ เป็นผืนป่าชุมชนที่ทางหมู่บ้านได้อนุรักษ์ไว้ให้คงอยู่ชั่วลูกชั่วหลาน เจ้าป่อก็เป็นความเชื่อในยุคที่บ้านเมืองขาดความเจริญ ขาดไฟฟ้า โรงพยาบาล โรงเรียน ถนน ประชาชนต่างหาที่พึ่งยึดเหนี่ยวจิตใจและเป็นการทำกิจกรรมที่ทำให้เกิดความสามัคคีไม่เกิดความแตกแยกในชุมชน ระหว่างที่องค์ลง (เจ้าป่อเข้าร่างทรง) ทีมงานได้ขอให้เจ้าป่อพูดไปถึงพี่น้องที่อยู่ต่างบ้านต่างเมืองเจ้าป่อบอกให้ดูแลรักษาสุขภาพให้ดี มีปัญหาเดือดเนื้อร้อนใจมีสิ่งไม่สบายใจก็ให้จุดธูปสามดอกให้ระลึกถึงเจ้าป่อแล้วเจ้าป่อจะได้ช่วยปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายออกไป นอกจากเจ้าป่อจะกล่าวปราศรัยกับชาวบ้าน ผอ.โรงเรียน สอนเด็กนักเรียนให้ทำแต่ความดี แล้ว ทางผู้นำหมู่บ้านก็ถือโอกาสนี้ถมทรายตามทางเข้าศาลเจ้าพ่อเพื่อให้รถผ่านได้สะดวก ถือเป็นการพัฒนาพื้นที่ป่าไปในตัว

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พุธ•ที่ 30 •พฤษภาคม• 2012 เวลา 20:25 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
แห่สงกรานต์บ้านวังฟ่อน ๕๕ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อังคาร•ที่ 17 •เมษายน• 2012 เวลา 17:23 น.•

กว่า ๓๑ ปี ที่นักศึกษาฝึกงานมหาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพ ที่เข้ามาทัศนะศึกษาเชิงพัฒนาสังคมและชุมชน ได้ร่วมกลุ่มกับผู้นำหมู่บ้านวังฟ่อนจัดการประกวดนางสงกรานต์วังฟ่อนขึ้นเป็นครั้งแรก และเป็นประเพณีสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ในปี ๒๕๕๕ การประกวดภายใต้ภาพการอนุรักษ์ประเพณีเมืองแพร่โดยให้นางสงกรานต์แต่งชุดหม้อฮ่อมอันสวยงาม ขบวนรถตกแต่งไปด้วยเครื่องใช้ไม้สอยสำหรับคนสมัยก่อน นำขบวนด้วยแตรวง ล้วนแล้วทำให้นึกถึงการจัดประกวดนางสงกรานต์เมื่อครั้งอดีต SODA & วังฟ่อนดอทคอม  ถ่ายภาพ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พุธ•ที่ 18 •เมษายน• 2012 เวลา 16:23 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วันพญาวัน ๒๕๕๕ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•จันทร์•ที่ 16 •เมษายน• 2012 เวลา 12:03 น.•

วันจันทร์ ที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๕๕ วันพญาวันชาววังฟ่อนถือว่าวันนี้คือวันที่ดีที่สุดของปี ะทำบุญอไรก็ถือฤกษ์เอาวันนี้  เริ่มต้นของเช้าวันที่ 15 ล้านนาก็จะเตรียมขันข้าว  ขนม อาหาร ผลไม้ สำรับชุดใหญ่เต็มที่อย่างดีที่สุด ไปวัดเพื่อตานขันข้าว ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้คนที่ล่วงลับไปแล้วและคนทำก็ได้บุญด้วยเช่นกัน (นำสำรับนี้ไปโรงครัว)   ส่วนในวิหารก็จะมีการใส่ขันแก้วทั้งสาม (บูชาพระรัตนนรัย) มีดอกไม้ ธูปเทียน ขมิ้นส้มป่อย กัณฑ์เทศน์ รับศิลรับพรจากพระสงฆ์ ช่วงบ่ายร่วมกันสรงน้ำพระซึ่งปฏิบัติกันมาเป็นประจำทุกปี ความเป็นมาของการสรงน้ำพระ ในกาลครั้งนั้นองค์สมเด็จพุทธเจ้า เสด็จประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหาร พร้อมภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป พระเจ้าปัสเสนทิโกศล พร้อมด้วยมหาอำมาตย์ทั้งหลาย ได้นำ เครื่องสักการะทั้งหลาย เข้าไปสู่พระเชตะวันมหาวิหาร ถวายอภิวาท แด่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อังคาร•ที่ 17 •เมษายน• 2012 เวลา 11:41 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประเพณีขนทรายเข้าวัด ๕๕ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 14 •เมษายน• 2012 เวลา 22:37 น.•

วันเสาร์ ที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๕๕ วัดวังฟ่อนจัดประเพณีขนทรายเข้าวัด การขนทรายเข้าวัดของประชาชนวังฟ่อนมีมาแต่การก่อตั้งหมู่บ้านแต่โบราณแล้ว สาเหตุแห่งการขนทรายเข้าวัด การขนทรายเข้าวัดมีสาเหตุหลายประการคือ วัด มีการก่อสร้างถาวรวัตถุ เช่น โบสถ์ วิหาร เป็นต้น สมภารจึงขอแรงชาวบ้านที่ยังหนุ่มและสาวช่วยกันขนทรายเข้ามากองไว้ในคราว เทศกาลสงกรานต์ซึ่งเป็นวันที่ชาวบ้านว่างงานการทั้งหลาย และน้ำในแม่น้ำแต่ละสายแห้งขอดเขินเนินทรายสามารถนำทรายขึ้นฝั่งได้ง่าย คนสมัยก่อนไม่นิยมสวมรองเท้าเข้าวัดทิ้งรองเท้าไว้นอกวัด ต้องเดินเท้าเปล่าเข้าวัด ขึ้นไปบนวิหาร วัดที่มีทรายมากย่อมไม่เปื้อนเท้าเพราะทรายมากย่อมไม่เปื้อนเท้าเพราะทราย เป็นเครื่องเช็ดถูเปอะตมได้เป็นอย่างดี ให้ภายในวัดวาอารามไม่เป็นเปอะตมเฉอะแฉะ ประชาชนสามารถเดินเข้าไปมาได้สะดวก ในคราวมาทำบุญ วัดเป็นสถานที่รื่นรมย์ที่เรียกกันว่าอาราม การมีทรายอยู่ในวัดมาก ทำให้วัดสะอาดน่าอยู่ ประชาชนจึงนิยมขนทรายเข้าไปในวัดกันเสมอมา วัดที่มีทรายมากป้องกันไม่ให้หญ้าขึ้น หรือมีหญ้าขึ้นบ้างก็ถอนง่ายกว่าหญ้าที่ขึ้นบนดินล้วน ๆ วัดทุกวัดของล้านนาจึงนิยมนำทรายเข้าวัดเพื่อป้องกันหญ้าขึ้น โซดาถ่ายภาพ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อาทิตย์•ที่ 15 •เมษายน• 2012 เวลา 08:46 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ผ้าป่ารุ่น ๒๕๕๕ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 14 •เมษายน• 2012 เวลา 20:56 น.•

วันเสาร์ ที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๕๕ โรงเรียนบ้านวังฟ่อน (สิทธิราษฎร์บำรุง) จัดงานผ้าป่ารุ่นเพื่อนำรายได้ไปพัฒนาโรงเรียนในส่วนที่งบประมาณยังขาดแคลน ซึ่งปี ๒๕๕๕ โรงเรียนมีแผนการนำเงินที่ได้จากผ้าป่ามาสร้างห้องโสตทัศนูปกรณ์เพื่อใช้ในการเรียนการสอน  การประชุมนำเสนอผลงานของนักเรียนและโรงเรียน ผลการดำเนินงานจะแจ้งให้ทราบต่อไป ยอดรวมของผ้าป่า ๑๐๔,๐๐๐ บาท เป็นกิจกรรมที่ทำให้พวกเราได้พบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันหลังจากที่ไม่ได้เจอกันมา ๑ ปี แต่ยังไงวังฟ่อนดอทคอมขอให้ทางผู้จัดงานได้ตระหนักถึงประเพณีที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ไม่ควรทอดทิ้งคือการขนทรายเข้าวัดเราซึ่งตรงกับวันผ้าป่ารุ่น ขอให้ท่านผู้จัดงานได้ให้ความสำคัญตรงนี้ครับ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 14 •เมษายน• 2012 เวลา 21:25 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วันวัฒนธรรมหมู่บ้านวังฟ่อน •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 14 •เมษายน• 2012 เวลา 11:02 น.•

วันที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๕๕ หมู่บ้านวังฟ่อนร่วมกันจัดพิธีแห่วัฒนธรรมธรรมซึ่งได้จัดมาอย่างต่อเนื่องเป็นประเพณีประจำหมู่บ้าน ปี ๒๕๕๕ ได้รับงบสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลหัวเมือง กิจกรรมมีการแห่ขบวนวัฒนธรรม รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ การละเล่นพื้นบ้าน การประกวดสุขภาพดีกับทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ซอ ร้องเพลงมะเก่า รับพรจากผู้สูงอายุ ทำให้ชุมชนเกิดความรักความสามัคคีกันมากขึ้นลดช่องว่างระหว่างวัย เด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ รัฐบาลในสมัย พล.เอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของผู้สูงอายุ และปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ วันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๒๕ อนุมัติให้วันที่ ๑๓ เมษายน ของทุกปี เป็นวันผู้สูงอายุ และได้เลือก "ดอกลำดวน" เป็นสัญลักษณ์ของผู้สูงอายุ โซดา & วังฟ่อนดอทคอม ถ่ายภาพ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 14 •เมษายน• 2012 เวลา 12:15 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
การอยู่กรรม (วุฏฐานวิธี) •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พุธ•ที่ 11 •เมษายน• 2012 เวลา 23:55 น.•

วันพุธ ที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๕ พระภิกษุ สามเณรใหม่ อยู่กรรมครบกำหนด ได้ออกบิณฑบาตร อวยพรแก่ชาวหมู่บ้านวังฟ่อน “ปริวาส” หมายถึง “การอยู่ใช้” หรือ “การอยู่รอบ” หรือเรียกสามัญว่า “การอยู่กรรม”(วุฏฐานวิธี) คือ อยู่ให้ครบ กระบวนการ สิ้นสุดกรรมวิธีทุกขั้นตอนของการอยู่ปริวาสกรรมทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้อยู่ใช้กรรมหรือความผิดที่ได้ล่วงละเมิดพระวินัย ต้องอาบัติ  “สังฆาทิเสส” ซึ่งอาจจะล่วงละเมิดโดยความตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจ หรืออาจล่วงละเมิดโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ดีนั้น ให้พ้นมลทิน หมดจดบริสุทธิ์ไม่มีเหลือเครื่องเศร้าหมองอันจะเป็นอุปสรรคในการประพฤติปฏิบัติบำเพ็ญในทางจิต ของพระภิกษุสงฆ์ ประโยชน์และวัตถุประสงค์ของ ”ปริวาสกรรม”

•อ่านเพิ่มเติม...•
 
บรรพชาอุปสมบท ปี ๒๕๕๕ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พุธ•ที่ 04 •เมษายน• 2012 เวลา 23:12 น.•

วันพุธ ที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๕ หมู่บ้านวังฟ่อนทำพิธีการ บรรพชาอุปสมบท โดยมีนายนายวิชชา จิรภิญญากุล นายอำเภอสอง เป็นประธานในพิธี ก่อนที่เราจะไปศึกษาในเรื่องของขั้นตอนการบวชพระ จะขอกล่าวถึงพิธีการบวชพระที่ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งมีอยู่ ๒ แบบด้วยกัน  คือ แบบอุกาสะ และแบบเอสาหัง  โดยคำว่า "อุกาสะ"  แปลว่า ขอโอกาส  ส่วนคำว่า "เอสาหัง" แปลว่า ข้าพเจ้านั้น ในประเทศไทยการบวชพระแบบอุ กาสะนั้น จะใช้กันในคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ซึ่งเป็นแบบเดิมที่ใช้กันมาแต่โบราณกาล ส่วนการบวชพระแบบเอสาหัง จะใช้ในคณะสงฆ์ธรรมยุตินิกาย โดยการประยุกต์มาจากแบบอุกาสะเพื่อย่อขั้นตอนให้สั้นขึ้น  มีใช้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ พระบาลสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยยึดรูปแบบมาจากพระสงฆ์ประเทศพม่า ขั้นตอนการบวชพระ ในที่นี้จึงจะขอกล่าวถึงเฉพาะพิธีการบวชพระแบบอุกาสะเท่านั้น เนื่องจากเป็นการบวชแบบเดิมที่มีมาแต่โบราณ แม้ว่าการบวชในประเทศไทยจะมี 2 แบบ แต่ก็ยึดหลักการบวชตามพุทธบัญญัติทุกประการ ต่างกันเพียงข้อปลีกย่อยบางข้อเท่านั้น ขั้นตอนการบวชพระแบบอุกาสะ มีดังนี้

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พุธ•ที่ 04 •เมษายน• 2012 เวลา 23:50 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประเพณีบวชนาค •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อังคาร•ที่ 03 •เมษายน• 2012 เวลา 21:58 น.•

วันอังคาร ที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๕ หมู่้บ้านวังฟ่อนได้มีการจัดงานประเพณีบวชนาค ในสมัยพระพุทธเจ้า มีพญานาคตนหนึ่งนั่งฟังธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าแล้วได้เกิดศรัทธา จึงได้แปลงกายเป็นมนุษย์ขอบวชเป็นพระภิกษุ แต่อยู่มาวันหนึ่งเข้านอนในตอนกลางวัน หลังจากหลับแล้วมนต์ได้เสื่อมกลายเป็นงูใหญ่ จนพระภิกษุรูปอื่นไปเห็นเข้า พระพุทธเจ้าต้องมาเจรจากับนาคว่า ผู้ที่มาบวชในศาสนาของเราสงวนไว้สำหรับมนุษย์เท่านั้น ขอท่านพึงกลับสู่บ้านเกิดเมืองนอนของท่านเถิด นาคตนนั้นผิดหวังมาก จึงขอถวายคำว่า นาค ไว้ใช้เรียกผู้ที่เข้ามาขอบวชในพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นอนุสรณ์ในความศรัทธาของตน พระพุทธองค์เห็นแก่ความศรัทธาของนาคจึงทรงอนุญาต ต่อจากนั้นมาพระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติไม่ให้สัตว์เดรัจฉาน ไม่ว่าจะเป็นนาค ครุฑ หรือสัตว์อื่นๆ บวชอีกเป็นอันขาด เพราะก่อนที่อุปัชฌาย์จะอุปสมบทให้แก่ผู้ขอบวชจะต้องถาม อันตรายิกธรรม หรือข้อขัดข้องที่จะทำให้ผู้นั้นบวชเป็นพระภิกษุไม่ได้ รวม 8 ข้อเสียก่อน ในจำนวน 8 ข้อนั้น มีข้อหนึ่งถามว่า  “ มนุสฺโสสิ ” แปลว่า "ท่านเป็นมนุษย์หรือเปล่า" และผู้บวชต้องรับว่า “ อามะ ภันเต ” ขอรับ เจ้าข้า ...

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 05 •เมษายน• 2012 เวลา 16:50 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ข้าวตอกงานปอย •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 01 •เมษายน• 2012 เวลา 20:36 น.•

หมู่บ้านวังฟ่อนช่วงวันที่ ๑ – ๔ เมษายน ๒๕๕๕ ต้องคิดถึงงาน “ปอยหลวง” ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี กลายเป็นการปฏิบัติที่สืบเนื่องกันมาจากความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาการ ชายที่มีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์จะต้องเข้าพิธีอุปสมบท (บวชพระ) การอุปสมบทเป็นประเพณีที่มีความสำคัญมากอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะชายที่มีอายุครบ ๒๐ ปี เป็นวัยที่เข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ซึ่งจะต้องมีความรับผิดชอบในชีวิตของตนมากยิ่งขึ้น ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจความจริงของชีวิต เพราะพระพุทธศาสนาเป็นหลักคำสอนแห่งความจริงในโลก ที่สอนให้มนุษย์รู้สาเหตุของการเกิด แก่ เจ็บ และตาย  ช่วยให้มนุษย์มีสติสัมปชัญญะที่จะนำไปสู่ในทางที่ดีที่ชอบ การอุปสมบทจึงมีความสำคัญโดยเฉพาะต่อผู้ที่จะเป็นหลักของครอบครัว อีกทั้งผู้บวชยังได้ศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นพระบรมครูของเรา ผู้บวชสามารถนำข้อปฏิบัติที่ได้จากการบวชพระมาใช้ในการดำรงชีวิตสืบต่อไปได้อย่างมีความสุข

•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วันมาฆบูชา ปี ๒๕๕๕ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พุธ•ที่ 07 •มีนาคม• 2012 เวลา 10:56 น.•

พิธีตักบาตรตอนเช้า เนื่องในวันมาฆบูชา เหตุที่พุทธศาสนิกชนถือว่า "วันมาฆบูชา" เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนา เพราะมีเหตุการณ์พิเศษที่มาบรรจบกัน ๔ ประการ หรือที่เรารู้จักกันดีว่า "จาตุรงคสันนิบาต" อันเป็นประดุจการปฐมนิเทศในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างเป็นทางการนั่นเอง ซึ่งถือว่าเป็นปรากฏการณ์มหัศจรรย์ที่โลกต้องจารึก เพราะเป็นการประชุมของผู้บริสุทธิ์ล้วน ๆ และเป็นครั้งแรกที่มีการประชุมเพื่อรับฟังทิศทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จุดโคมมาฆประทีปเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ในวันมาฆบูชา เหตุอัศจรรย์ในวันมาฆบูชา ๔ ประการ คือ ๑. เป็นวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ ดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (วันเพ็ญเดือน ๓ ) , ๒. พระภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมโดยมิได้นัดหมาย, ๓. ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์ ผู้ทรงอภิญญา, ๔. พระภิกษุทั้งหมดเป็นผู้ที่ได้รับการบวชแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทา ซึ่งพระบรมศาสดาทรงประทานการบวชให้

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พุธ•ที่ 07 •มีนาคม• 2012 เวลา 22:04 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
เลี้ยงผีเจ้าบ้าน •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•จันทร์•ที่ 27 •กุมภาพันธ์• 2012 เวลา 14:11 น.•

หมู่บ้านวังฟ่อนได้จัดประเพณีเลี้ยงผีเจ้าบ้านประจำปี ๒๕๕๕ ตรงกับ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๖ เหนือ ปีนี้ตรงกับวันทร์จันทร์ ที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ซึ่งได้จัดกับมาตั้งแต่ป่อใหญ่ราษ ใจกุมได้มาตั้งหมู่บ้าน เป็นประเพณีที่ชาวเหนือสืบทอดกันมาก่อนหน้านั้น สาเหตุที่มีการเลี้ยงผีเจ้าบ้าน เนื่องจากสมัยก่อนชาวเหนือเชื่อกันว่าผีเจ้าบ้านที่ได้อัญเชิญมาแต่ละหมู่บ้านนั้น เชิญให้ท่านมาปกป้องรักษาหมู่บ้านรวมถึงประชากรในหมู่บ้านให้อยู่เย็นเป็นสุข รอดพ้นจากภัยทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นอุทกภัย หรือวาตภัย ภูตผีปีศาจ สิ่งเร้นลับที่มองไม่เห็น ทางจิตวิทยาเป็นการสร้างเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้ชาวบ้านมั่นใจว่าจะไม่มีภัยอันตรายใด ๆ เข้ามา อีกทั้งทำให้คนในชุมชนเกิดความรักษาสามัคคี อยู่กันฉันพี่น้อง เด็กให้เคารพผู้ใหญ่ และเป็นการร่วมมือร่วมใจกันพัฒนาถิ่นที่อยู่ของตัวเองต่อไป

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พุธ•ที่ 07 •มีนาคม• 2012 เวลา 11:03 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
สวัสดีปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๕ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 01 •มกราคม• 2012 เวลา 11:02 น.•

เค้าดาวน์ แบบชาวพุทธสวดมนต์สร้างกุศลข้ามปี เพื่อสิ่งดี ๆ นำมาฝากทุกคน ในวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๔ – ๑ มกราคม ๒๕๕๕ วัดวังฟ่อนจัดกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี ส่งท้ายปีเก่า –  ต้อนรับปีใหม่ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต สร้างความสงบให้แก่จิตใจ เป็นการเริ่มสิ่งใหม่ในปี ๒๕๕๕ อย่างงดงาม จากนั้นก็มีการปล่อยโคมลอยสู่ท้องฟ้ายามเที่ยงคืนกว่ากับบรรยากาศที่เงียบสงบร่มเย็นเหมือนบ่งบอกว่าชีวิตมีแต่ความร่มเย็นจากนี้เป็นต้นไป พร้อมกันนี้เรานำภาพการจัดผ้าป่าเพื่อการทำบุญทุนที่ได้รับนำมอบให้วัดวังฟ่อนเพื่อใช้ในศาสนกุศล ในวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๕ โดยมีนายวิชชา จิรภิญญากุล นายอำเภอสอง ให้เกียรติเป็นประธาน มีนายแพทย์นิยม วิวรรธนดิฐกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดแพร่ นายศฤงคาร นันตา สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด อำเภอสอง ให้เกียรติร่วมงานในครั้งนี้ด้วย ณ โอกาสนี้ Happy new year 2012 สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๕ ขอให้คุณพระศรีรัตนตรัยจงบันดาลให้ทุกท่านใช้ชีวิตอย่างมี สติ นำคำสอนของศาสดาของท่านทั้งหลายมาใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อก่อให้เกิดสติปัญญา ก้าวผ่านอุปสรรคทั้งหลาย สู้ความสำเร็จทุกท่านเทอญ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พุธ•ที่ 02 •มกราคม• 2013 เวลา 08:52 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ถวายพระพรวันพ่อแห่งชาติ ๕๔ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อังคาร•ที่ 06 •ธันวาคม• 2011 เวลา 07:59 น.•

องค์การบริหารส่วนตำบลหัวเมืองจัดพิธีถวายพระพร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิรา บรมนาถบพิตร ณ วัดวังฟ่อน โดย นายเฉลิมวุฒิ รักขติวงศ์ นายอำเภอสอง เป็นประธานในพิธี ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ มีผู้นำฝ่ายบริหารนำโดยนายสาคร จิตชู นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหัวเมือง ฝ่ายปกครองนำโดยนายสมพล พุ่มพวง กำนันตำบลหัวเมือง ข้าราชการ ประชาชน เข้าร่วมพิธีในครั้งนี้ด้วยความจงรักภัคดี

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•ศุกร์•ที่ 09 •ธันวาคม• 2011 เวลา 11:05 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
พิธีส่งแถน •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•จันทร์•ที่ 28 •พฤศจิกายน• 2011 เวลา 15:53 น.•

"แถน" เป็นคำที่ใช้เรียกพ่อเกิดแม่เกิดของมนุษย์ ชาวเหนือเชื่อกันว่าคนที่จะเกิดเป็นมนุษย์ได้ก็เพราะมีผู้กำหนดหรือส่งให้มาเกิด ผู้ที่ส่งให้มาเกิดนี้เรียกว่าปู่แถนย่าแถน (ปู่สังสี ย่าสังไส้) อาศัยอยู่บนสวรรค์ชั้นฟ้า มีอำนาจดลบันดาลให้มนุษย์อยู่ดีมีสุขหรือมีอันเป็นไปต่าง ๆ นานาโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัยเด็ก พอเกิดมาพ่ออม่ก็นำใส่กระโด่งนำไปไว้ที่ชานบ้านหรือหัวบันไดบ้าน แล้วตะโกนบอกว่า “ถ้าเป็นลูกมึงก็ฮื้อรีบมาฮับเอาไปเสีย ถ้าป้นวันนี้ไปแล้วถือเป็นลูกเฮาแล้ว” เมื่อเลี้ยงกันมาแล้วเด็กได้รับเคราะห์ร้ายเจ็บป่วยจะทำพิธีส่งแถน เพราะเชื่อกันว่าปู่แถนย่าแถนโกรธที่ให้เกิดมาแล้วไม่ส่งอะไรมาให้ ดังนั้นชาวเหนือจึงนำเครื่องเซ่นไปสังเวยหรือเป็นการบอกกล่าว ขออภัยปู่แถนย่าแถน แต่ถ้าหากปู่แถนย่าแถนไม่ให้อภัยก็จะเอาตัวกลับคืนไป ผู้ที่เคราะห์ร้ายหรือเจ็บป่วยนั้นอาจถึงตายได้  บ้างครั้งก็เชื่อกันว่า

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•ศุกร์•ที่ 02 •ธันวาคม• 2011 เวลา 16:33 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประเพณีลอยกระทง ๕๔ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 10 •พฤศจิกายน• 2011 เวลา 19:24 น.•

นางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่าพิธีจองเปรียง ที่ลอยเทียนประทีป และนางนพมาศได้นำดอกโคม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป สู่ประเพณีหมู่บ้านวังฟ่อนซึ่งเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาและจัดขึ้นทุกปี เนื่องจากหมู่บ้านติดกับแม่น้ำยม เรามีความเชื่อว่าเป็นการขอบคุณแม่น้ำที่ชุบเลี้ยงชีวิตเรามา ทางหมู่บ้านได้ใช้วัสดุที่สลายง่ายและหาได้จากท้องถิ่นจึงไม่สิ้นเปลือง มีก็แต่การเล่นไฟ ประทัดเพื่อให้งานยี่เป็งบ้านเรามีสีสันมากยิ่งขึ้น และเป็นการแสดงความสมัคคีของคนในชุมชนอีกด้วย

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 12 •พฤศจิกายน• 2011 เวลา 20:46 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประเพณีกิ๋นสลาก •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อังคาร•ที่ 18 •ตุลาคม• 2011 เวลา 16:54 น.•

ประเพณีกินเข้าสลาก  หรือ สลากภัตรจันตา งานทำบุญ  กินเข้าสลาก  ที่เรียกหลากกันว่า กินสลาก หรือ กินกวยสลาก (อ่าน”กิ๋นกวยสลาก”) คืองานประเพณีทำบุญสลากภัตร ซึ่งนิยมทำกันในช่วงกลางพรรษา ในราวปลายเดือนสิงหาคม กันยายน ตุลาคม และจะกินกันถี่มากในเดือนกันยายน  เพราะถือว่าเดือนนี้เป็นเดือนที่อดยากของชาวบ้าน ด้วยเหตุหลายประการ ประการสำคัญคือข้าวเปลือกที่เก็บไว้ในยุ้งฉางใกล้จะหมดหรือหมดไปแล้วคนที่มีข้าวเปลือกก็จะเก็บไว้กินจนกว่าจะเก็บเกี่ยวข้าวใหม่มาใส่ในปีต่อไปซึ่งจะเป็นในราวเดือนมกราคม  คนที่ซื้อกินข้าวสารก็จะหาซื้อยากและมีราคาแพง  ด้วยเหตุนี้จึงถือว่าในระหว่างเดือนเหล่านี้เป็นเดือนที่แร้งแค้นอดอยาก

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อังคาร•ที่ 25 •ตุลาคม• 2011 เวลา 18:01 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ตักบาตรเทโวโรหนะ ๕๔ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 13 •ตุลาคม• 2011 เวลา 09:10 น.•

วันพฤหัสบดี ที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๔ หมู่บ้านวังฟ่อนได้ทำพิธีตักบาตรเทโวโรหนะ ซึ่งเป็นประเพณีที่จัดขึ้นทุกปี เพื่อเป็นการระลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เสด็จลงจากสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์หลังจากเทศนาอภิธรรมปิฎกโปรดพุทธมารดา เทโว ย่อมาจากคำว่า เทโวโรหนะ ซึ่งแปลว่า การหยั่งลงจาก เทวโลก หมายถึง การเสด็จลงจากเทวโลกของพระพุทธเจ้า ตามตำนาน กล่าวว่า เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ทรงเทศนาโปรดประชาชนในแคว้นต่าง ๆ ของอินเดียตอนเหนือ ตั้งแต่ เมืองราชคฤห์ เมืองพาราณสี เมืองสาวัตถี ตลอดถึงเมืองกบิลพัสดุ์

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 13 •ตุลาคม• 2011 เวลา 09:22 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ออกพรรษา ๒๕๕๔ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พุธ•ที่ 12 •ตุลาคม• 2011 เวลา 15:02 น.•

ในวันออกพรรษา ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ เป็นสำคัญวันหนึ่งของพระภิกษุสงฆ์ คือ เป็นวันสิ้นสุดการจำพรรษา หรือออกจากพรรษาที่ได้อธิฐานเข้าจำพรรษาตลอดระยะเวลา ๓ เดือน ในวันออกพรรษาในพระไตรปิฎกกล่าวไว้ว่า เป็นวันที่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มายังโลกมนุษย์ หลังจากที่พระองค์ได้เสด็จไปจำพรรษา และแสดงพระธรรมเทศนาโปรดเทพบุตรพุทธมารดา ซึ่งอยู่สวรรค์ชั้นดุสิต แต่ลงมาฟังพระธรรมเทศนาที่ชั้นดาวดึงส์ ชุมชนหมู่บ้านวังฟ่อนแต่ละครอบครัวก็ช่วย ทำความสะอาดบ้าน  และตานขันข้าวแต่เช้ามืดเพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศล

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 13 •ตุลาคม• 2011 เวลา 09:21 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ผลงานผ้าป่ารุ่น ๕๔ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อังคาร•ที่ 20 •กันยายน• 2011 เวลา 15:46 น.•

ผลจากการจัดผ้าป่ารุ่นเมื่อสงกรานต์ที่ผ่านมา โรงเรียนบ้านวังฟ่อน (สิทธิราษฎร์บำรุง) โดยผู้อำนวยการสมบัติ เสนวิรัช ได้ดำเนินการจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้สำหรับห้องเรียนในแต่ละชั้น ตั้งแต่อนุบาลจนถึงมัธยมศึกษารวมทั้งหมด ๑๒ เครื่อง ราคาเครื่องละ ๑๑,๐๐๐ บาท รวมเป็นเงิน ๑๓๒,๐๐๐ บาท พร้อมรองรับสัญญาณอินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย เพื่อให้ครูและนักเรียนใช้งานง่ายขึ้น

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 01 •ตุลาคม• 2011 เวลา 10:02 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วันอาสาฬหบูชา"วังฟ่อน" ๕๔ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•ศุกร์•ที่ 15 •กรกฏาคม• 2011 เวลา 09:55 น.•

การเรียนสรรพวิชาใด ๆ ก็ตาม ผู้ที่จะแตกฉานลึกซึ้งในความรู้นั้นได้มีความจำเป็นต้องศึกษาแม่บทให้แตกฉานก่อน เช่น ถ้าเป็นวิชาคำนวณในทางโลกต้องใช้สูตรคูณเป็นแม่บท ในทางธรรมก็เช่นเดียวกัน การที่จะศึกษาธรรมะให้แตกฉาน ต้องศึกษาธัมมจักกัปปวัตตนสูตรเป็นแม่บททางธรรมปู่ย่าตายายท่านจับหลักตรงนี้ได้เมื่อถึงวันอาสาฬหบูชา ท่านจึงขวนขวายไปวัดเพื่อฟังพระธรรมเทศนาเรื่องธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เพื่อเป็นการทบทวนแม่บทธรรมะทั้งหมดใน พระพุทธศาสนาให้เข้าใจและซาบซึ้งยิ่งขึ้น

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อาทิตย์•ที่ 24 •กรกฏาคม• 2011 เวลา 11:03 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
เซ่นไหว้เจ้าพ่อดงอาฮัก ๒๕๕๔ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 11 •มิถุนายน• 2011 เวลา 23:33 น.•

ดงอาฮักมีเจ้าป่ออาฮักรักษาอยู่ตามความเชื่อของชาวบ้านวังฟ่อนสมัยยุคก่อตั้งหมู่บ้าน ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นผู้รักษาป่าบริเวณทิศใต้ของหมู่บ้านไม่ให้ใครมาบุกรุกทำลาย จนเป็นป่าชุมชนที่มีต้นไม้ใหญ่อายุมากกว่า ๑๖๐ ปี และช่วยรักษาหมู่บ้านให้อยู่เย็นเป็นสุข ความเชื่อของชาวบ้านสมัยนั้นโดยหลวงราช ใจกุม และทวดเตบ แก้วโมลี ยุคสร้างหมู่บ้านได้ประกอบพิธีเส้นไหว้เจ้าป่ออาฮัก

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พุธ•ที่ 30 •พฤษภาคม• 2012 เวลา 20:27 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประกวดนางสงกรานต์บ้านวังฟ่อน •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 17 •เมษายน• 2011 เวลา 14:40 น.•

ภาพกิจกรรมประกวดนางสงกรานต์หมู่บ้านวังฟ่อน ครั้งที่ ๓๒  ประจำปี ๒๕๕๔ ซึ่งได้จัดขึ้นในวันที่ ๑๖ เมษายน ซึ่งมีการจัดขบวนแห่รอบหมู่บ้านเป็นไปอย่างสนุกสนานของพี่น้องชาววังฟ่อน

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 01 •กันยายน• 2011 เวลา 10:30 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
อุปสมบทบรรพชาปี2554 •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•จันทร์•ที่ 04 •เมษายน• 2011 เวลา 17:03 น.•

ประเพณีอุปสมบทบรรพชาของหมู่บ้านวังฟ่อน ปี 2554 ตามองค์สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสว่า การอุปสมบทบรรพชามีอานิสงส์พิเศษ ซึ่งสมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ตรัสว่า อานิสงส์อย่างอื่น มีการสร้างวิหารก็ดี การถวายสังฆทานก็ดี ทอดกฐินผ้าป่าก็ดี จัดว่าเป็นอานิสงส์สำคัญ แต่อานิสงส์นั้น บุคคลที่จะพึงได้ต้องโมทนาก่อน แต่ว่าการอุปสมบทบรรพชานี้แปลกกว่านั้น องค์สมเด็จพระทรงธรรมบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ว่า

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•จันทร์•ที่ 04 •เมษายน• 2011 เวลา 17:15 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วันมาฆบูชา •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•ศุกร์•ที่ 18 •กุมภาพันธ์• 2011 เวลา 21:00 น.•

มาฆบูชา เป็นวันสำคัญของพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รู้กันว่า เป็นวันเกิดพระธรรม ถือว่าเป็นวันที่ พระพุทธเจ้า ได้ประกาศ หลักธรรม คำสั่งสอนของพระองค์ เพื่อให้พระอรหันต์ทั้งหลาย ที่มาประชุมกันในวันนั้น นำไปเผยแผ่

วั น"มาฆบูชา" เป็นวันบูชาพิเศษที่ต้องทำในวันเพ็ญเดือนมาฆะ หรือในวันที่พระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ ( ซึ่งโดยปกติทำกันในกลางเดือน ๓ แต่ถ้าปีใดมีอธิกมาส

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•ศุกร์•ที่ 18 •กุมภาพันธ์• 2011 เวลา 21:25 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประเพณีลอยกระทง •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 21 •พฤศจิกายน• 2010 เวลา 06:45 น.•

ภาพกิจกรรมการจัดงานลอยกระทงประจำปี 2553 โดยทางหมู่บ้านวังฟ่อนจัดขึ้นในคืนวันที่ 21 พฤศจิกายน 2553 มีการแห่ขบวนกระทงนำไปลอยที่ท่าน้ำทางทิศเหนือของหมู่บ้านในงานมีการจัดประกวดร้องเพลง

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พุธ•ที่ 08 •ธันวาคม• 2010 เวลา 13:32 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
งานรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 28 •ตุลาคม• 2010 เวลา 12:21 น.•

งานรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุบ้านวังฟ่อน

ทางสภาวัฒนธรรมตำบลหัวเมืองซึ่งมีกิจการทางวัฒนธรรมเป็นประจำทุกปีโดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก อบต.หัวเมือง และองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่เป็นประจำทุกปีซึ่งทางบ้านวังฟ่อนของเราจะมีกิจกรรมในวันกตัญญูผู้สูงอายุ วันที่ 14 เมษายน ของทุกปี ซึ่งมีกรรมการสภาวัฒนธรรมตำบลหัวเมืองดำเนินงานซึ่งจัดแบ่งงบประมาณใหกับทุกหมู่บ้านในตำบลหัวเมือง 13 หมู่

กรรมการสภาวัฒนธรรมตำบลหัวเมือง

นายอินจันทร์ วังทิพย์ ประธาน

ร.ต.สิงคาร แนวนัน เลขาฯ

นายวสันต์ ศรีบุญ เหรัญญิก

และผู้นำหมู่บ้านทุกหมู่เป็นกรรมการ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 28 •ตุลาคม• 2010 เวลา 12:26 น.••
 
ประเพณีตักบาตรเทโว •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 24 •ตุลาคม• 2010 เวลา 10:59 น.•

ประเพณีตักบาตรเทโว เป็นคำย่อมาจาก "เทโวโรหณะ" หมายถึง การเสด็จลงจากเทวโลกของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตามตำนานเล่าว่า เมื่อพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว

ได้เสด็จไปประกาศพระศาสนาในแคว้นทั่วชมพูทวีป เริ่มตั้งแต่เมืองราชคฤท์, พาราณสี, เมืองสาวัตถี ตลอดถึงเมืองกบิลพัสดุ์ ซึ่งเป็นราชปิตุภูมิของพระองค์ทรงเทศนาโปรดพระเจ้าสุทโธทนะ, พระพุทธบิดา, พระนางมหาปชาบดีโคตมี, พระนางยโสธราพิมพา และราหุลราชกุมาร ตลอดถึงพระประยูรญาติทั้งหลาย ให้บรรลุมรรคผลตามสมควรแก่อุปนิสัยของตนแล้วพระองค์ทรงรำลึกถึงพระนางสิริมหามายา ซึ่งได้สิ้นพระชนม์หลังจากพระองค์ประสูติได้ 7 วัน ทรงดำริที่จะสนองคุณพระพุทธมารดา ซึ่งมีพระคุณมากมายยิ่งนัก จะหาอะไรเปรียบปานมิได้ทรงวินิจฉัยโดยรอบคอบแล้ว เห็นว่ามีสิ่งเดียวเท่านั้นที่จะสนองคุณพระพุทธมารดา เป็นการใช้หนี้ค่าน้ำนมให้คู่ควรกันได้ นั่นคือ พระอภิธรรม ฉะนั้นในพรรษาที่ 7 นับแต่ปีที่ตรัสรู้ พระพุทธองค์จึงได้เสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อาทิตย์•ที่ 24 •ตุลาคม• 2010 เวลา 11:28 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วันออกพรรษา •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 23 •ตุลาคม• 2010 เวลา 06:55 น.•

วันออกพรรษา คือวันสิ้นสุดระยะการจำพรรษา หรือออกจากการอยู่ประจำที่ในฤดูฝนซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ วันออกพรรษานี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันมหาปวารณา"

คำว่า"ปวารณา"แปลว่า "อนุญาต" หรือ "ยอมให้" คือ เป็นวันที่เปิดโอกาสให้พระภิกษุสงฆ์ด้วยกัน ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ในข้อที่ผิดพลั้งล่วงเกินระหว่างที่จำพรรษาอยู่ด้วยกัน ในวันออกพรรษานี้กิจที่ชาวบ้านมักจะกระทำก็คือ การบำเพ็ญกุศล เช่น ทำบุญตักบาตร จัดดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาพระที่วัด และฟังพระธรรมเทศนา ของที่ชาวพุทธนิยมนำไปใส่บาตรในวันนี้ก็คือ ข้าวต้ม มัดไต้ และข้าวต้มลูกโยน และการร่วมกุศลกรรมการ "ตักบาตรเทโว" คำว่า "เทโว" ย่อมาจาก"เทโวโรหน" แปลว่าการเสด็จจากเทวโลกการตักบาตรเทโว จึงเป็นการระลึกถึงวันที่ พระพุทธองค์เสด็จกลับจากการโปรด พระพุทธมารดาในเทวโลก ประเพณีการทำบุญกุศล เนื่องในวันออกพรรษานี้ ทุกวัดในประเทศไทย ก็มีพิธีเหมือนกันหมด จะผิดกันก็เพียงแต่สถานที่ ที่สมมติว่าเป็นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เท่านั้น

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อาทิตย์•ที่ 24 •ตุลาคม• 2010 เวลา 11:24 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
<< •เริ่มแรก• < •ย้อนกลับ• 1 2 •ถัดไป• > •สุดท้าย• >>

•หน้า 2 จาก 2•