ค้นหาบทความ
ราคาน้ำมันวันนี้
จำนวนนับผู้เข้าเยี่ยมชม
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้33
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้731
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้33
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว3943
mod_vvisit_counterเดือนนี้13033
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว15525
mod_vvisit_counterรวมผู้เข้าชม2261264

ออนไลน์ (20 นาทีที่แล้ว): 8
หมายเลข IP : 3.15.218.254
MOZILLA 5.0,
วันที่ : 27 •เม.ย.•, 2024
ล้านนาแพร่ประชาสัมพันธ์
Vinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo Slider
อำเภอลอง2
ค้นพบพระเจ้าไม้มีจารึกเก่าแก่ที่สุด •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 01 •กันยายน• 2013 เวลา 22:35 น.•

ค้นพบพระเจ้าไม้มีจารึกเก่าแก่ที่สุดของล้านนาในขณะนี้ อายุ ๓๐๐ กว่าปีที่วัดคัวะ เมืองน่าน ภูเดช แสนสา อาจารย์สาขาประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พระเจ้าไม้ ๒ องค์ที่สร้างเมื่อพ.ศ.๒๒๔๗ ปัจจุบันมีอายุ ๓๐๗ ปี องค์ภาพซ้ายแกะสลักจากไม้ท่อนเดียวสร้างโดย “อ้ายชุ่ม”  องค์ภาพขวาแกะสลักประกอบจาก ๒ ส่วน คือ ส่วนองค์พระกับส่วนฐาน ใต้องค์พระมีช่องสันนิษฐานว่าเจาะไว้บรรจุแผ่นดวงชะตาของผู้สร้าง คือ “แสนอินทร์” คำว่า “พระเจ้าไม้” เป็นภาษาล้านนา

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•จันทร์•ที่ 02 •กันยายน• 2013 เวลา 23:23 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
คำสบถล้านนาที่มาจากเครื่องใช้ในพิธีกรรมศพ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•ศุกร์•ที่ 30 •สิงหาคม• 2013 เวลา 22:12 น.•

งานศพในมโนทัศน์ของชาวบ้านล้านนาในอดีต ด้วยสภาพแวดล้อมที่เป็นป่าเขาและความมืดมิดยามค่ำคืนจึงถือเป็นสิ่งที่น่ากลัว เป็นสิ่งที่เป็นอัปมงคล สามารถนำมาสู่ความตายหรือความหายนะให้กับทั้งตนเอง คนในครอบครัว หรือคนภายในหมู่บ้าน และบางอย่างก็ส่งผลไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน ดังคัมภีร์มูลโลกหลวงได้กล่าวถึงการทำไม่ถูกต้องเกี่ยวกับศพว่า “...เปนเหตุว่าอวมงคลแล ผิว่าเอาหัวตำนั้น พ่อแม่ทังหลายจักฉิบหาย จักขึดแก่บ้าน พยาธิมักฅ่ำรามแล...” หรือคัมภีร์พิษณุถามแม่นางธรณีกล่าวว่า “...ฅนอันขึ้นกองหลัวนั้นเรียกเอาขอนผีก็บ่ควรแล มักฉิบหายต่อเท้าเช่นลูกเช่นหลานแล...”

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อาทิตย์•ที่ 01 •กันยายน• 2013 เวลา 22:40 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ตำนานเมืองลองฉบับตรวจสอบ ๓ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 28 •กรกฏาคม• 2013 เวลา 21:16 น.•

ตำนานเมืองลอง ฉบับตรวจสอบปีพุทธศักราช ๒๕๕๐ (ต่อ) (ตำนานพระธาตุศรีดอนคำ) (พระมหาสังฆราชา วัดฟ่อนสร้อย ถามที่ตั้งพระธาตุศรีดอนคำกับหมื่นจ่าลอง พ.ศ.๒๑๔๒) สรีสุพฺภมํคล อุรุคงฺกจวนฺทนากถา ทีนี้จักกล่าวให้รู้ข่าวตำนานวรชินอุรุคธาตุเจ้าดอนฅำพงอ้อดั่งนี้แล ในเมื่อพระพุทธเจ้าเรานิพพานแล้วพุทธสกราชได้ ๒๘๒ ตัว จุลสกราชได้ ๖๑๘ ตัว ล่ำดับมาเถิงปีเปิกเส็ดหั้นพ่ายลาวหลวงแล เมื่อสกราชได้ ๔๖๐ ตัว พุทธสาสนาได้ ๒๑๔๒ พระวัสสา ยังมีพระมหาสังฆราชาตน ๑ อยู่วัดฟ่อนส้อย เชียงใหม่พ่ายลาวเข้าแพงนัก จระเดินหากินเข้ามารอดแช่ฟ้า ท่าอ้อน ได้ฉันเข้าอิ่มเตมใจได้แรงดีแล้ว ไหว้มหาธาตุเจ้าขวยปู พูทับ แหลมลี่ ล่ำดับขึ้นมารอดจอดวัดม่วงเลียงหั้นแล เมื่อนั้นยังมีขุนเถ้าผู้ ๑ ชื่อว่าหมื่นจ่าลอง อยู่บ้านนา มันมาไหว้พระมหาสังฆราชาหั้นแล มหาสังฆราชากล่าวแก่หมื่นจ่าว่าธาตุพระเจ้ายังมีเมืองลองนี้ บ่เท่ามีแต่ ๓ แห่งนั้นเด่ ยังมีแห่ง ๑ ชื่อว่าดอนฅำพงอ้อว่าอั้นนายามเมื่อเรายังหนุ่มวันนั้น

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•ศุกร์•ที่ 02 •สิงหาคม• 2013 เวลา 15:04 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ตำนานเมืองลองฉบับตรวจสอบ ๒ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 14 •กรกฏาคม• 2013 เวลา 15:49 น.•

ตำนานเมืองลอง ฉบับตรวจสอบปีพุทธศักราช ๒๕๕๐ (ต่อ) (พระธาตุเสด็จ) ในดอนลี่เหลี้ยมอันนี้ เป็นที่ไว้เข้าของเงินฅำรอมกับกันทังมวลได้ ๓๘ โกฏแล เมื่อนั้น สรีธัมมโสกราชกับท้าวพระญาทังหลาย เอาเงินฅำมาส้างที่ประจุธาตุพระเจ้าทัง ๓ แห่งนี้ คณนาสังขยาเข้าของทังมวลได้ ๗ ตื้อปลาย ๕ ล้านโกฏดีหลีแล เมื่อดั่งอั้นพระญาอโสกราชกับอรหันตาทังหลาย ยังอทิฏฐานว่าดั่งนี้เล่า เมื่อใดธาตุพระเจ้ารุ่งเรืองแล้วกะทำปฏิหารย์แต่ดอนอันนี้ ไปตกดอยพูทับแลมีเมื่อใด ธาตุลูกนั้นอันยังดอยพูทับหื้อสระเด็จมาดอนลี่เหลี้ยม พระธาตุลูกอันยังดอยอุปปยานิกะขวยปูนั้น หื้อสระเด็จไพเถิงเมืองท่งย้างแล้วสระเด็จมารอมกันที่เดียวในดอนที่นี้เล่าเทอะ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อาทิตย์•ที่ 28 •กรกฏาคม• 2013 เวลา 21:21 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ตำนานเมืองลองฉบับตรวจสอบ ๑ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•ศุกร์•ที่ 05 •กรกฏาคม• 2013 เวลา 22:15 น.•

ตำนานหลักภายในเมืองลองมีอยู่ ๒ ฉบับ คือ ตำนานพระธาตุแหลมลี่ และตำนานพระธาตุศรีดอนคำ ซึ่งมีการนำตำนานทั้งสองฉบับมาจารรวมกันในใบลานหรือเขียนลงพับสาด้วยอักษรธรรมล้านนา ใช้ชื่อต่างกันออกไปเช่น ตำนานเมืองลอง ตำนานพระธาตุห้าหลังในเมืองลอง ตำนานมหาธาตุขวยปู ตำนานธาตุสี่หลัง ตำนานแหลมลี่ ร่องอ้อ และตำนานเสลธาตุ เป็นต้น แม้ว่าชื่อตำนานที่ปรากฏเหล่านี้แตกต่างกันแต่เนื้อความที่จารนั้นเหมือนกันทุกฉบับ มีต่างกันบ้างเนื่องจากการคัดลอกตกหล่นหรือเพิ่มเติมเข้าไป ตำนานฉบับแรก คือ ตำนานพระธาตุแหลมลี่ แต่งขึ้นช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๒

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พุธ•ที่ 10 •กรกฏาคม• 2013 เวลา 17:17 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
<< •เริ่มแรก• < •ย้อนกลับ• 1 2 •ถัดไป• > •สุดท้าย• >>

•หน้า 2 จาก 2•