ค้นหาบทความ
ราคาน้ำมันวันนี้
จำนวนนับผู้เข้าเยี่ยมชม
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้312
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้731
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้3544
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว4342
mod_vvisit_counterเดือนนี้13312
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว15525
mod_vvisit_counterรวมผู้เข้าชม2261543

ออนไลน์ (20 นาทีที่แล้ว): 10
หมายเลข IP : 18.220.137.164
MOZILLA 5.0,
วันที่ : 27 •เม.ย.•, 2024
ล้านนาแพร่ประชาสัมพันธ์
Vinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo Slider
อำเภอลอง2
ร้อยเรียงร้อยเรื่องเมืองลอง ตอนที่ ๓๐ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•อังคาร•ที่ 24 •มิถุนายน• 2014 เวลา 15:53 น.•

เมืองลองจากจดหมายเหตุ (ต่อ) หลังจากเกิดเหตุการณ์กบฏเงี้ยวขึ้นในปีพ.ศ.๒๔๔๖ ก็ได้ตั้งโรงพักมีตำรวจภูธรมาประจำการที่เมืองลอง(บ้านห้วยอ้อ) และเมืองต้า(บ้านผาลาย) มีบัญชีตำรวจภูธรดังนี้คือ เมืองลอง นายสิบเอก ๑ นาย นายสิบโท ๑ นาย นายสิบตรี ๑ นาย และพลตำรวจ ๘ นาย เมืองต้า นายสิบเอก ๑ นาย นายสิบโท ๑ นาย นายสิบตรี ๑ นาย และพลตำรวจ ๘ นาย ส่วนถัดมาในปีพ.ศ.๒๔๔๗ มีการตั้งโรงพักตำรวจเพิ่มที่แคว้นวังชิ้น และเพิ่มตำรวจที่เมืองลอง และบ้านต้า แคว้นเวียงต้า แขวงเมืองลอง เมืองลอง นายร้อยตรี ๑ นาย จ่านายสิบ ๑ นาย นายสิบเอก ๑ นาย นายสิบโท ๑ นาย นายสิบตรี ๑ นาย และพลตำรวจ ๒๐ นาย บ้านต้า นายสิบเอก ๑ นาย นายสิบโท ๑ นาย นายสิบตรี ๑ นาย และพลตำรวจ ๑๐ นาย แคว้นวังชิ้น นายสิบเอก ๑ นาย นายสิบโท ๑ นาย นายสิบตรี ๑ นาย และพลตำรวจ ๘ นาย

•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ร้อยเรียงร้อยเรื่องเมืองลอง ตอนที่ ๒๙ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•อังคาร•ที่ 17 •มิถุนายน• 2014 เวลา 22:00 น.•

เมืองลองจากจดหมายเหตุ (ต่อ) การลงไปครั้งนี้ก็เพื่อขอให้แต่งตั้งให้แสนหลวงคันธิยะเป็นเจ้าเมืองลองแทน เพราะเจ้าเมืองลองทราบว่าจะมีพระราชพิธีโสกันต์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชในเดือนมกราคม พ.ศ.๒๔๓๓ และก็สันนิษฐานว่าลงไปทูลเรื่องไม่ยอมรับคำตัดสินเดิมในปี พ.ศ.๒๔๓๒ ที่ให้เมืองลองขึ้นเมืองนครลำปางตามเดิม แต่เมื่อแสนหลวงคันธิยะและแสนท้าวเมืองลองไปถึงกรุงเทพฯ วันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ.๒๔๓๓ ประกอบกับมีพระราชพิธีโสกันต์และรับเสด็จพระเจ้าซารวิก รัสเซีย จึงได้รออยู่ที่กรุงเทพฯ ดังนั้นปลายปี พ.ศ.๒๓๓๔ จึงโปรดเกล้าฯ ถึงเจ้าพระยาบดินทร์ ว่า

•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ร้อยเรียงร้อยเรื่องเมืองลอง ตอนที่ ๒๘ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 01 •มิถุนายน• 2014 เวลา 11:12 น.•

เมืองลองจากจดหมายเหตุ (ต่อ)

ในระหว่างเรื่องราวยังไม่ได้ตัดสินเด็ดขาด จึงให้เมืองลองขึ้นตรงต่อข้าหลวงสามหัวเมืองก่อน(อยู่มาจนถึงข้าหลวงห้าหัวเมือง) และห้ามเจ้านครลำปาง เจ้านายบุตรหลาน และพระยาท้าวแสนเมืองนครลำปางเข้าไปเกี่ยวข้องทุกๆ ประการกับเมืองลอง สรุปเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งเมืองลองฟ้องเรื่องนครลำปาง และทางนครลำปางฟ้องเรื่องเมืองลอง

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อาทิตย์•ที่ 01 •มิถุนายน• 2014 เวลา 11:38 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ร้อยเรียงร้อยเรื่องเมืองลอง ตอนที่ ๒๕ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•จันทร์•ที่ 19 •พฤษภาคม• 2014 เวลา 09:40 น.•

เมืองลองจากจดหมายเหตุ เมืองลองได้ผ่านเรื่องราวทั้งดีและร้ายมาหลายยุคหลายสมัย และเศษเสี้ยวของเหตุการณ์เหล่านี้ก็ถูกบันทึกไว้บนแผ่นกระดาษเก่าๆ ที่เรียกในปัจจุบันว่าจดหมายเหตุ ซึ่งถือว่าเป็นเอกสารที่มีคุณค่าต่อประวัติศาสตร์ ทำให้เห็นภาพของการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เนื่องจากเอกสารต่างๆ ของล้านนา คือ พื้นเมือง และตำนานต่างๆ มักจะบันทึกเหตุการณ์จบลงก่อนพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ดังนั้นเหตุการณ์ต่อจากนี้จึงต้องใช้เอกสารจดหมายเหตุมาเติมเต็มให้สมบูรณ์ แม้ว่าเอกสารเหล่านี้จะเต็มไปด้วยคติและความคิดของส่วนกลางก็ตาม แต่ก็ให้ข้อมูลได้ชัดเจนและใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุดจึงถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ยากแก่การละเลยไม่นำมาประกอบการศึกษา

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อาทิตย์•ที่ 01 •มิถุนายน• 2014 เวลา 11:07 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ร้อยเรียงร้อยเรื่องเมืองลอง ตอนที่ ๒๔ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•พุธ•ที่ 07 •พฤษภาคม• 2014 เวลา 15:27 น.•

ลักษณะการตั้งถิ่นฐานของชุมชนในเขตแอ่งลอง – วังชิ้น (ต่อ) จากตำแหน่งการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณในแอ่งลอง – วังชิ้น จะเห็นได้ว่ามีการตั้งถิ่นฐานกระจุกตัวอยู่ตอนกลางของแอ่งลอง – วังชิ้น ด้านฝั่งตะวันตกของแม่น้ำยม เนื่องจากเป็นพื้นที่ราบขนาดกว้างขวางเหมาะแก่การตั้งถิ่นฐาน อีกทั้งมีลำห้วยสาขาใหญ่ของแม่น้ำยมไหลจากตะวันตก – ตะวันออกลงสู่แม่น้ำยมโดยฝั่งตะวันออกของแม่น้ำยมเป็นที่ราบขนาดเล็กและแคบติดเชิงเขา จึงทำให้ไม่มีการตั้งถิ่นฐานแถบนี้ในระยะแรก แต่ชุมชนโบราณที่ปรากฏคูน้ำคันดินนั้น จะตั้งกระจุกตัวอยู่ตั้งแต่บ้านนาหลวง ตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง ลงมาทางใต้จนถึงบ้านแม่บงเหนือ ตำบลแม่ป้าก อำเภอวังชิ้น (ห่างจากชุมชนโบราณเหล่ารัง บ้านแม่รัง ตำบลบ่อเหล็กลอง อำเภอลอง ประมาณ ๓ กิโลเมตร ซึ่งมีแนวคูน้ำคันดินเชื่อมต่อกัน) และจะปรากฏอยู่ตอนเหนือสุดของแอ่งเป็นบริเวณที่ราบขนาดเล็กไกลออกไปเป็นที่ตั้งเวียงต้า ส่วนตอนใต้สุดไกลออกไปเป็นบริเวณตอนกลางของอำเภอวังชิ้นปัจจุบัน คือเมืองตรอกสลอบ เนื่องจากมีแม่น้ำยมไหลผ่านและมีพื้นที่ราบกว้างขวางกว่าส่วนอื่นๆ ในช่วงตอนท้ายแอ่ง และที่น่าสังเกตก็คือเหนือจากเหล่าเวียง(บ้านนาหลวง) จะปรากฏชุมชนโบราณอยู่ซึ่งเป็นแหล่งที่พบพระพุทธรูปทองสำริด พระพุทธรูปหินทราย และพระพุทธรูปแก้วจำนวนมาก คือชุมชนโบราณบ้านบ่อและชุมชนโบราณห้วยแม่สวก กลับไม่พบมีการสร้างคูน้ำคันดิน พบแต่มีการก่อสร้างโบราณสถานกระจายตัวตามลำห้วยหลายแห่ง สันนิษฐานว่าเนื่องจากมีที่ราบแคบและเป็นที่สูงไกลจากแม่น้ำยม หรือลำห้วยสาขาใหญ่ๆ ของแม่น้ำยม ดังนั้นจึงพบว่ามีการสร้างคูน้ำคันดินอีกแห่งหนึ่งตั้งอยู่บริเวณเหนือขึ้นไปจนสุดแอ่งคือเวียงต้า ซึ่งมีห้วยแม่ต้าเป็นลำห้วยสาขาใหญ่ของแม่น้ำยมไหลผ่าน และตอนใต้ของแอ่งก็มีการตั้งชุมชนโบราณถึงเพียงตอนกลางของเขตอำเภอวังชิ้นปัจจุบัน(เมืองตรอกสลอบ)

•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ร้อยเรียงร้อยเรื่องเมืองลอง ตอนที่ ๒๓ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 24 •เมษายน• 2014 เวลา 22:50 น.•

ลักษณะการตั้งถิ่นฐานของชุมชนในเขตแอ่งลอง – วังชิ้น การที่เราจะเข้าใจแนวความคิดและการประพฤติปฏิบัติของคนๆ หนึ่ง เราต้องศึกษาภูมิหลังของคนๆ นั้นให้แจ่มแจ้ง จึงจะสามารถเข้าใจแนวความคิดและการปฏิบัติของคนๆ นั้นได้อย่างถ่องแท้ เช่นเดียวกับการจะศึกษาเรื่องราวประวัติศาสตร์ของสถานที่ใด เราก็ต้องทำความเข้าใจถึงลักษณะพื้นที่และการตั้งถิ่นฐานของผู้คนในที่ที่เราจะศึกษา เพราะว่ามนุษย์เป็นผู้ที่ทำให้เกิดประวัติศาสตร์ ดังรายงานลักษณะการตั้งถิ่นฐานของชุมชนในเขตแอ่งลอง – วังชิ้นฉบับนี้ก็เช่นกัน เป็นการทำความเข้าใจพื้นฐานของลักษณะกายภาพและการตั้งถิ่นฐานของผู้คน เพื่อที่จะเป็นฐานในการเข้าใจเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ต่างๆ ที่จะทำการศึกษาต่อไปในภายภาคหน้าต่อไป

•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ร้อยเรียงร้อยเรื่องเมืองลอง ตอนที่ ๒๒ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•พุธ•ที่ 09 •เมษายน• 2014 เวลา 17:46 น.•

เมืองลองจากจารึก พงศาวดาร และวรรณกรรม (ต่อ) ดาบเหล็กลอง (ที่มา : ภูเดช แสนสา) ๒. เมืองลองจากพระราชพงศาวดาร ส่วนหลักฐานที่เป็นพระราชพงศาวดารในช่วงแรก ไม่มีการกล่าวถึงเมืองลองเลย จนกระทั่งปรากฏในพระราชพงศาวดารอยุธยาว่าในปีศักราช ๑๐๒๒ (พ.ศ.๒๒๐๓) รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ กษัตริย์อาณาจักรอยุธยา ได้ขึ้นมาตีเมืองเชียงใหม่แต่รู้ว่าพญาแสนหลวง เมืองเชียงใหม่ส่งคนมาล่อลวงทัพขึ้นไป จึงได้ตีเมืองลำปางและเมืองเถินก่อนเพราะทั้งสองเมืองขึ้นตรงต่อเมืองเชียงใหม่ ซึ่งส่งเชคกายแลแหงกับชายฉกรรจ์ก็ออกมาสวามิภักดิ์กับอยุธยา ส่วนเจ้าฟ้าหลวงลายข้า เจ้าเมืองลำปาง หนีไปพึ่งเจ้าเมืองเชียงใหม่ พอยึดเมืองลำปางและเมืองเถินได้แล้ว ก็ได้ให้พระยานครราชสีมา พระราชสุภาวดี พระสุพรรณบุรีไปตีเมืองตัง(ต้า) และพระยามหาเทพ ขุนหมื่นข้าหลวง แลพลห้าร้อยคนไปตีเมืองลอง ก็ได้แสนเมืองลองกับชายฉกรรจ์ ส่วนทางเมืองต้าได้สังฆราชาเขมราช หมื่นจิตร กับไพร่ ๖๘ คน มาไว้เมืองพิษณุโลก การที่นำเจ้าเมืองลองและไพร่พลไปเมืองพิษณุโลกนี้ น่าจะให้ลงไปเพื่อให้โอวาทแล้วกลับมาครองเมืองดังเดิมเหมือนเมืองอื่นๆ ไม่น่าจะกวาดต้อนลงไปด้วย เพราะดังจากที่สั่งให้เรียกคนในเมืองลำปางที่กระจัดกระจายหนีหายให้เข้ามาอยู่ในเมืองดังเดิม โดยไม่กวาดต้อนลงไปอยุธยาด้วย

•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ร้อยเรียงร้อยเรื่องเมืองลอง ตอนที่ ๒๑ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 13 •มีนาคม• 2014 เวลา 19:12 น.•

เมืองลองจากจารึก พงศาวดาร และวรรณกรรม (ต่อ) และหลังจากปีที่โอนอำเภอลองจากจังหวัดลำปางมาขึ้นกับจังหวัดแพร่ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๗๔ สำนึกเรื่องนี้ของคนเมืองลองก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง เช่น “...จันทยสรัสสะภิกขุ เขียนปลางเมื่ออยู่ปฏิบัตวัดสรีดอนไชยแม่ลองแก้วกว้าง ทางกลางเมืองลองวันนั้นแล...” ต่างไปจากเมืองขึ้นอื่นๆ ของลำปาง เช่น เมืองแจ้ห่ม จากการสำรวจจารึกท้ายคัมภีร์ใบลานวัดผาแดงหลวง พบว่าคนภายในเมืองจะระบุตำแหน่งของเมืองแจ้ห่มเป็น “หัวเมืองนคร” คือเป็นหัวเมืองของเมืองลำปาง เช่น “...กัญจนภิกขุลิขิตปางเมื่อปฏิบัตสำราญครูบาหลวงอินทะ วัดผาแดงแก้วกว้าง ทางหัวเวียงนคอรไชย...”

•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ร้อยเรียงร้อยเรื่องเมืองลอง ตอนที่ ๒๐ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 06 •มีนาคม• 2014 เวลา 22:00 น.•

เมืองลองจากจารึก พงศาวดาร และวรรณกรรม ๑. เมืองลองจากจารึกต่างๆ เมืองลองก็เป็นเมืองหนึ่งที่อุดมไปด้วยหลักฐานต่างๆ แต่ทว่าหลักฐานเหล่านี้ได้กระจัดกระจายอย่างมาก ดังเช่นจารึกในเมืองลองจารึกที่เป็นอักษรสุโขทัยมีจำนวน ๒ หลัก แต่ชำรุดเสียหายมากอีกทั้งไม่ระบุปีศักราชไว้ พอสันนิษฐานได้เพียงว่าในสมัยสุโขทัยเจ้าเมืองลองมีตำแหน่งเป็นขุนเช่นเดียวกับเจ้าเมืองตรอกสลอบ ดังที่ปรากฏในศิลาจารึกว่า “...ออกขุน (เนี)ยรพาน ก่อน...” นอกจากนั้นจารึกเก่าที่สุดก็เป็นจารึกในพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ที่กล่าวถึงการทำบุญและเหตุการณ์ต่างๆ ไว้ ดังที่มีจารึกฐานพระพุทธรูปไม้ และจารึกท้ายคัมภีร์ใบลาน ที่เป็นการบันทึกเหตุการณ์ร่วมสมัยภายในเมืองลอง

•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ร้อยเรียงร้อยเรื่องเมืองลอง ตอนที่ ๑๘ - ๑๙ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•พุธ•ที่ 26 •กุมภาพันธ์• 2014 เวลา 12:25 น.•

ร้อยเรียงร้อยเรื่องเมืองลอง ตอนที่ ๑๘ การรับรู้เรื่องเมืองลองผ่านตำนานต่างถิ่น ตำนานในล้านนามีจำนวนมากมาย ทั้งที่เป็นตำนานฝ่ายวัดและตำนานฝ่ายเมืองหรือพื้นเมือง แต่ทว่าตำนานฝ่ายเมืองมีจำนวนน้อยกว่าตำนานฝ่ายวัดมาก ตำนานฝ่ายเมืองเช่น พื้นเมืองเชียงแสน, พื้นเมืองเชียงราย เชียงแสน, คำมะเกล่าเมืองเชียงแสน,พื้นเมืองน่าน และพื้นเมืองเชียงราย เป็นต้น โดยจะสังเกตได้ว่าพื้นเมืองเหล่านี้ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับเมืองลองโดยตรง กรอปกับเมืองลองเป็นเมืองเล็ก อีกทั้งศูนย์กลางการเขียนตำนานอยู่ไกลจากเมืองลอง ดังนั้นพื้นเมืองที่กล่าวมาข้างต้นจึงไม่ปรากฏเรื่องราวหรือชื่อของเมืองลองอยู่เลย โดยพื้นเมืองเหล่านี้จะกล่าวรวมว่าเมืองลคอร(ลำปาง) โดยไม่ให้รายละเอียดถึงเมืองเล็กๆ ที่ขึ้นต่อเมืองลคอรเลย หรือแม้แต่พื้นเมืองเชียงใหม่ในส่วนของเรื่องสมัยราชวงศ์มังราย ก็ไม่กล่าวถึงชื่อเมืองลองหรือเมืองต้าไว้เลย มีระบุไว้เพียงแต่พระแม่กุเคยใช้เป็นเส้นทางทรงเดินทางกลับเมืองเชียงใหม่หลังจากรบศึกชวา(หลวงพระบาง)ที่เชียงแสนผ่านเมืองแพร่ และพัก ๑ คืนที่น้ำต้า เมื่อปีพ.ศ.๒๑๐๑ เป็นที่น่าสังเกตว่าช่วงเวลานี้ทำไมตำนานถึงไม่เรียกที่พระแม่กุพักแรมว่าเมืองต้า หรือเวียงต้า เพราะน้ำแม่ต้าก็ไหลผ่านเมืองต้าอยู่แล้ว

•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ร้อยเรียงร้อยเรื่องเมืองลอง ตอนที่ ๑๖ - ๑๗ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•เสาร์•ที่ 04 •มกราคม• 2014 เวลา 19:25 น.•

ร้อยเรียงร้อยเรื่องเมืองลอง ตอนที่ ๑๖ พากษ์ตำนานของเมืองนครลำปาง ๑๐ เรื่อง ที่เกี่ยวเนื่องกับเมืองลอง (ต่อ)

๗. ตำนานม่อนพญาแช่ ตำนานม่อนพญาแช่เริ่มกล่าวนำโดยกล่าวถึงพระพุทธเจ้าเสด็จมาที่นี่ ซึ่งเรียกว่าม่อนพญาแช่ พบกับฤาษี ๕ องค์พระพุทธเจ้าก็เทศนาให้ฟัง และประทานเกศาธาตุให้ ฤาษีจึงก่อพระธาตุบนปราสาทบรรจุเกศาธาตุที่พระอินทร์เนรมิตให้จมอยู่พื้นดิน หลังนั้นก็ได้ตรัสพุทธทำนายว่าจะมีพญามหันตามาสร้างพระธาตุที่นี้อีก แล้วก็เทศนาโปรดยักษ์และประทับรอยพระพุทธบาทไว้ให้สักการะในตอนนี้มีเนื้อหาความคล้ายคลึงกับตำนานเมืองลคร(ตำนานศรีล้อมเมืองนคร) แต่ตำนานม่อนพญาแช่มีการขยายความพรรณนามากและมีบาลีมากว่าตำนานเมืองลคร สันนิษฐานว่าตำนานเมืองลครหยิบยืมเนื้อความจากตำนานม่อนพญาแช่ อีกทั้งตอนกล่าวนำของตำนานเมืองลครก็กล่าวถึงชื่อม่อนพญาแช่อีกด้วย

•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ร้อยเรียงร้อยเรื่องเมืองลอง ตอนที่ ๑๔ - ๑๕ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•เสาร์•ที่ 21 •ธันวาคม• 2013 เวลา 10:03 น.•

ร้อยเรียงร้อยเรื่องเมืองลอง ตอนที่ ๑๔ วิพากษ์ตำนานของเมืองนครลำปาง ๑๐ เรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับเมืองลอง (ต่อ)

๓. ตำนานพระธาตุจุมพิต

ตำนานพระธาตุจุมพิต หรือตำนานพระธาตุจอมพิง หรือ ตำนานพระธาตุจอมปิง (ต่อไปจะใช้พระธาตุจอมปิงเพื่อสะดวกต่อการเข้าใจ) เป็นตำนานที่ไม่มีการดำเนินเรื่องตามแบบจารีตการเขียนตำนานทั่วไป คือไม่มีส่วนที่เป็นการกล่าวถึงการเสด็จมาของพระพุทธเจ้า หรือพระเจ้าอโศกมหาราช แต่เริ่มต้นเรื่องที่เกิดเหตุการณ์ไม่ย้อนเวลาไปไกลเหมือนเป็นนิทานหรือเรื่องเล่าดังปรากฏในตำนานฉบับอื่นๆ คือเริ่มกล่าวถึงนันทประหญา(ออกเสียง “นันต๊ะผญ๋า”)

•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ร้อยเรียงร้อยเรื่องเมืองลอง ตอนที่ ๑๑ - ๑๓ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•พุธ•ที่ 11 •ธันวาคม• 2013 เวลา 22:44 น.•

ร้อยเรียงร้อยเรื่องเมืองลอง ตอนที่ ๑๑ วิพากษ์ตำนานของเมืองนครลำปาง ๑๐ เรื่อง ที่เกี่ยวเนื่องกับเมืองลอง (ต่อ) ตอนต่อจากนี้เป็นเหตุการณ์ตอนเจ้าหาญแต่ท้อง เจ้าเมืองลำปาง เป็นประธานฝ่ายฆราวาส มีพระมหาอัฏฐทัสสีเป็นประธานฝ่ายสงฆ์สร้างพระธาตุลำปางหลวง โดยได้ขออาณาเขตพระธาตุและวัดกับพระเจ้าติโลกราช เมื่อปีกัดไส้ ศักราชได้ ๘๑๑ (พ.ศ.๑๙๙๒) ได้ตัดไม้ขะจาวที่พญาพลราชทรงปลูกพร้อมทั้งขุดกระดูกคนทั้ง ๔ ออก แล้วจึงก่อพระธาตุลำปางหลวงขึ้น ในตอนนี้ตำนานขัดแย้งกันเองกับตอนก่อน คือ ตอนที่พระมหาเทวีเสด็จมาที่พระธาตุลำปางหลวง พร้อมทั้งกัลปนาไว้ที่นากับข้าพระมหาธาตุในปีพ.ศ.๑๙๕๖ แต่ในตอนหลังกลับมีการเขียนว่าเจ้าหาญแต่ท้องพร้อมกับพระมหาอัฏฐทัสสีสร้างพระธาตุลำปางหลวง และได้ตัดไม้ขะจาวที่พญาพลราชทรงปลูกพร้อมทั้งขุดกระดูกคนทั้ง ๔ ออกในปีพ.ศ.๑๙๙๒ ตรงกับสมัยของพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ล้านนาราชวงศ์มังรายพระองค์ที่ ๙ (พ.ศ.๑๙๘๔ - ๒๐๓๐)

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พุธ•ที่ 09 •เมษายน• 2014 เวลา 17:22 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ร้อยเรียงร้อยเรื่องเมืองลอง ตอนที่ ๗ - ๑๐ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 21 •พฤศจิกายน• 2013 เวลา 12:05 น.•

วิพากษ์ตำนานเมืองลอง (ต่อ) ตำนานเมืองลองตอนแรกนี้จัดเป็นกลุ่มตำนานที่ได้รับอิทธิพลจากตำนานพระเจ้าเลียบโลก เพราะในตำนานพระเจ้าเลียบโลก ผูกที่ ๘ กล่าวถึงพระธาตุลำปางหลวง พระธาตุแช่แห้ง และพระธาตุช่อแฮ ตำนานกลุ่มนี้มีรูปแบบและวิธีการเขียนตำนานแบบเดียวกัน โดยการเพิ่มเติมในส่วนของรายละเอียดของตำนานในเรื่องการเสด็จมาของพระพุทธเจ้าพร้อมกับพระอรหันต์สำคัญอีก ๒ – ๔ รูป และวิธีการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุแบบพิสดาร เป็นต้น กลุ่มตำนานนี้คือตำนานในเมืองลำปาง (พระธาตุลำปางหลวงและพระธาตุเสด็จ) เมืองน่าน(พระธาตุแช่แห้ง) เมืองแพร่(พระธาตุช่อแฮ) เมืองพะเยา(พระเจ้าตนหลวง) เมืองฝาง(พระธาตุทุ่งยั้ง) และเมืองลอง(พระธาตุแหลมลี่) มีเค้าโครงการดำเนินเรื่องของตำนานพระธาตุลำปางหลวง ตำนานพระธาตุแช่แห้ง ตำนานพระธาตุช่อแฮ และตำนานพระเจ้าตนหลวง เริ่มกล่าวถึงพระพุทธเจ้าทรงรำพึงว่าพระองค์ใกล้เข้านิพพานแล้วจึงได้เสด็จมาถึงสถานที่นี้พร้อมกับพระอรหันต์และผู้ติดตามดังนี้

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 21 •พฤศจิกายน• 2013 เวลา 12:21 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ร้อยเรียงร้อยเรื่องเมืองลอง ตอนที่ ๖ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•จันทร์•ที่ 30 •กันยายน• 2013 เวลา 20:46 น.•

วิพากษ์ตำนานเมืองลอง  (ต่อ) ส่วนตำนานตอนที่ ๒ ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง  สันนิษฐานว่าเป็นพระภิกษุอยู่ในเมืองลองอีกเช่นกัน  เพราะตำนานนี้เป็นตำนานที่กล่าวถึงมูลเหตุและเหตุการณ์ในการก่อสร้างพระธาตุศรีดอนคำเพียงระยะเวลาสั้นๆ  ๗๓  ปี  คือช่วงพ.ศ.๒๑๔๒ – ๒๒๑๕และผู้แต่งตำนานทราบเหตุการณ์ต่างๆ  ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างดี  อาจมาจากการบอกเล่าหรือจากการจดบันทึกไว้  เพราะตำนานกล่าวว่า “ผู้รู้กล่าวไว้ว่า” และภายหลังจากที่สร้างเสร็จก็นำเอาบันทึกมาเขียนเป็นตำนานขึ้นเพราะมีระบุปีศักราช วันยาม  และข้างขึ้นข้างแรมอย่างละเอียด ส่วนตำนานพระนางจามเทวีนำพระธาตุมาบรรจุไว้ที่ดอนคำพงอ้อ  สันนิษฐานว่าเป็นเรื่องเล่าที่แพร่หลายในเมืองลองอยู่แล้ว  ดังนั้นผู้เขียนตำนานจึงนำเรื่องเล่าและบันทึกมาเขียนขึ้นเป็นตำนาน  และผู้เขียนตำนานอาจเขียนหลังพระธาตุสร้างเสร็จนานหลายปีเพราะไม่เช่นนั้นต้องระบุปีที่สร้างเสร็จไว้ในตำนานด้วย  แต่ที่ปรากฏในตำนานกล่าวถึงเพียงปีที่ก่อสร้างครั้งสุดท้ายเป็นองค์พระธาตุที่ปรากฏดังในปัจจุบัน  และลักษณะของตำนานกล่าวเริ่มด้วยปีศักราชเป็นตอนๆ คล้ายการจดบันทึกหรือปูมโหร  คือ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 03 •ตุลาคม• 2013 เวลา 13:37 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ร้อยเรียงร้อยเรื่องเมืองลอง ตอนที่ ๕ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 22 •กันยายน• 2013 เวลา 14:38 น.•

วิพากษ์ตำนานเมืองลอง เมืองลองเป็นหัวเมืองขนาดเล็กของอาณาจักรล้านนา ไม่มีบทบาทปรากฏเด่นชัดดั่งเมืองอื่นๆ เช่น เมืองเชียงของ เมืองฝาง เมืองเทิง เมืองพาน และเมืองลอ ประกอบกับตำนานพื้นเมืองต่างๆ ทั้งตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่(ในช่วงราชวงศ์มังราย) ตำนานพื้นเมืองเชียงแสน ตำนานพื้นเมืองเชียงราย ตลอดถึงตำนานพื้นเมืองน่าน ตำนานพื้นเมืองเหล่านี้ก็มีศูนย์กลางการแต่งอยู่ห่างไกลจากเมืองลองและไม่มีความสัมพันธ์กับเมืองลองโดยตรง ส่วนเมืองลำปางที่เมืองลองขึ้นอยู่หรือเมืองแพร่ที่มีอาณาเขตติดต่อกันกับเมืองลอง

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อังคาร•ที่ 24 •กันยายน• 2013 เวลา 21:20 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ร้อยเรียงร้อยเรื่องเมืองลอง ตอนที่ ๔ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•ศุกร์•ที่ 13 •กันยายน• 2013 เวลา 16:07 น.•

ตำนานบ่อเหล็กลองและบ้านนาตุ้ม เมืองลอง ตำนานบ่อเหล็กและบ้านนาตุ้ม เป็นตำนานที่มีต้นเค้ามาจากเรื่องเล่าภายในท้องถิ่น ก่อนมีการจดบันทึกเป็นอักษรธรรมล้านนาลงในใบลานก้อมจำนวน ๑๗ ลาน และคัดลอกอีกทอดใส่สมุดโหราโดยหมื่นกลางโฮง(พ่อน้อยแก้ว จาอาบาล เกิดพ.ศ.๒๔๒๘) ตำนานได้กล่าวถึงการเสด็จขึ้นมาของพระนางจามเทวีทางแม่น้ำยม มาขึ้นฝั่งที่วังต๊ะครัวหน้าวัดพระธาตุไฮสร้อย แล้วเสด็จขึ้นไปตามน้ำแม่ลอง และกล่าวถึงความสันพันธ์ในการสร้างเวียงลอง(บริเวณบ้านในสร้อยในปัจจุบัน) ก่อตั้งบ้านนาตุ้ม ที่มาของบ่อเหล็กเมืองลอง ตลอดถึงเชื่อมความสัมพันธ์กับการก่อสร้างพระธาตุศรีดอนคำ(วัดหลวงฮ่องอ้อ) ซึ่งตำนานฉบับนี้คล้ายกับตำนานบอกเล่า ต่างกันเพียงตำนานเรื่องนี้ได้ถูกนำมาเรียบเรียงจารลงในใบลานให้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่กระนั้นก็ยังคงกลิ่นอายของตำนานบอกเล่าอยู่อย่างมาก

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อาทิตย์•ที่ 15 •กันยายน• 2013 เวลา 16:00 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
คัมภีร์ใบลานเอกสารสำคัญ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•จันทร์•ที่ 09 •กันยายน• 2013 เวลา 14:31 น.•

คัมภีร์ใบลานเอกสารสำคัญที่ได้จากการสำรวจวัดสะปุ๋งหลวง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ในระหว่างวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๔ - ๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๕ ผู้เขียนได้ร่วมกับคุณเจษฎา อิ่นคำ เข้าทำการสำรวจคัมภีร์ใบลานของวัดสะปุ๋งหลวง ตำบลม่วงน้อย อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน (การสำรวจบางช่วงเว้นระยะเวลาร่วมเดือนหรือหลายสัปดาห์และแต่ละสัปดาห์ไม่ได้สำรวจทุกวัน) มีคัมภีร์ใบลานทั้งหมดจำนวน ๑,๕๒๔ ผูก(ฉบับ) พบเอกสารที่สำคัญจำนวนหลายฉบับ ที่สำคัญที่สุดฉบับแรก คือ คัมภีร์จรุกกนิบาตชาตกะ จารเมื่อพ.ศ.๒๐๘๐ อายุ ๔๗๕ ปี มีจารึกท้ายลานว่า “ส้างปีเมืองเร้า สักกราช ๘๙๙ ตัว จรุกนิบาตชาดกอันนี้เจ้าแก้วปะขา เจ้าผัวเมียส้างไว้กับวัดพันคล้าวแล ผูก ๑ จรุกนิบาตชาดก เจ้าแก้วปะขา เจ้าผัวเมียส้างไว้กับวัดพันคล้าว ในปีเมืองเร้า สักกราชได้ ๘๙๙ ตัว” คัมภีร์จรุกกนิบาตชาตกะผูกนี้แม้ว่าจะมีอายุเก่าเป็นอันดับที่ ๑๐ ของล้านนาเท่าที่มีการสำรวจในขณะนี้

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•ศุกร์•ที่ 13 •กันยายน• 2013 เวลา 16:15 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
<< •เริ่มแรก• < •ย้อนกลับ• 1 2 •ถัดไป• > •สุดท้าย• >>

•หน้า 1 จาก 2•