ค้นหาบทความ
ราคาน้ำมันวันนี้
จำนวนนับผู้เข้าเยี่ยมชม
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้369
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้731
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้3601
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว4342
mod_vvisit_counterเดือนนี้13369
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว15525
mod_vvisit_counterรวมผู้เข้าชม2261600

ออนไลน์ (20 นาทีที่แล้ว): 9
หมายเลข IP : 3.141.8.247
MOZILLA 5.0,
วันที่ : 27 •เม.ย.•, 2024
ล้านนาแพร่ประชาสัมพันธ์
Vinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo Slider
ศาสนาพุทธ
โอกาสในการเกิดเป็นมนุษย์นั้นแสนยาก., •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•ศุกร์•ที่ 25 •กรกฏาคม• 2014 เวลา 21:51 น.•

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าสมมติว่า มหาปฐพีอันใหญ่หลวงนี้ มีน้ำท่วมถึงเป็นอันเดียวกันทั้งหมด; บุรุษคนหนึ่ง ทิ้งแอก (ไม้ไผ่ ?) ซึ่งมีรูเจาะได้เพียงรูเดียว ลงไปในน้ำนั้น; ลมตะวันออกพัดให้ลอยไปทางทิศตะวันตก, ลมตะวันตกพัดให้ลอยไปทางทิศตะวันออก, ลมทิศเหนือพัดให้ลอยไปทางทิศใต้, ลมทิศใต้พัดให้ลอยไปทางทิศเหนือ, อยู่ดังนี้ ในน้ำนั้น มีเต่าตัวหนึ่ง ตาบอด ล่วงไปร้อย ๆ ปี มันจะผุดขึ้นมาครั้งหนึ่ง ๆ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•จันทร์•ที่ 06 •เมษายน• 2015 เวลา 18:28 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วิธีปฏิบัติทางจิต เมื่อถูกติเตียนหรือถูกทำร้ายร่างกาย •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•เสาร์•ที่ 19 •กรกฏาคม• 2014 เวลา 08:21 น.•

ผัดคุนะ ! ถ้ามีใครกล่าวติเตียนเธอต่อหน้า;

ผัดคุนะ ! ในกรณีเช่นนั้นเธอพึงละฉันทะและวิตกชนิดที่เป็นวิสัยแห่งชาวบ้านเสีย.

ผัดคุนะ ! ในกรณีเช่นนั้นเธอพึงทำความสำเหนียกอย่างนี้ว่า “จิตของเราจักไม่แปรปรวน เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะในภายใน” ดังนี้.

ผัดคุนะ ! เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้.

•อ่านเพิ่มเติม...•
 
สุข ทุกข์ที่เราได้ประสบมาแล้วทุก ๆ รูปแบบ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 10 •กรกฏาคม• 2014 เวลา 13:29 น.•

ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุด เบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้นมีตัณหาเป็นเครื่องผูกพัน ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ เธอทั้งหลายเห็นทุคตบุรุษ ผู้มีมือและเท้าไม่สมประกอบ หรือ เห็นบุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยความสุข มีบริวารคอยรับใช้ พึงลงสันนิษฐานในบุคคลนี้ว่า เราทั้งหลายก็เคยเสวยทุกข์หรือเสวยสุข เห็นปานนี้มาแล้วโดยกาลนานนี้.

•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ทานที่ให้แล้วในสงฆ์แบบใด จึงมีผลมาก •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•เสาร์•ที่ 28 •มิถุนายน• 2014 เวลา 12:59 น.•

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๘ จำพวกเหล่านี้ เป็นผู้ควรแก่ของบูชา ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า. ๘ จำพวกอะไรบ้างเล่า ? ๘ จำพวก คือ :-

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 03 •กรกฏาคม• 2014 เวลา 21:54 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
น้ำตาที่เราได้ร้องไห้มาแล้วทั้งหมด •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 26 •มิถุนายน• 2014 เวลา 16:22 น.•

ภิกษุทั้งหลาย ถูกละ ๆ พวกเธอทราบธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ ถูกแล้ว น้ำตาที่หลั่งไหลออกของพวกเธอ ผู้ท่องเที่ยวไปมา คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจโดยกาลนาน นี้แหละ มากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย.

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 26 •มิถุนายน• 2014 เวลา 17:40 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
การดำรงชีพชอบโดยทิศ ๖ ของฆราวาส •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•ศุกร์•ที่ 20 •มิถุนายน• 2014 เวลา 11:44 น.•

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ในอริยวินัย มีการนอบน้อมทิศทั้งหกอย่างไร พระเจ้าข้า ! พระองค์จงทรงแสดงธรรมที่เป็นการนอบน้อมทิศทั้งหกในอริยวินัยเถิด”

คหบดีบุตร ! เมื่อใด อริยสาวกละเสียได้ซึ่งกรรมกิเลส ๔ ประการ ไม่กระทำกรรมอันเป็นบาปโดยฐานะทั้งสี่ และไม่เสพทางเสื่อม (อบายมุข) แห่งโภคะ ๖ ทาง, เมื่อนั้น เขาชื่อว่า เป็นผู้ปราศจากกรรมอันเป็นบาป รวม ๑๔ อย่าง เป็นผู้ปิดกั้นทิศทั้งหกโดยเฉพาะแล้ว;

ด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่า เขาปฏิบัติแล้วเพื่อชนะโลกทั้งสอง, ทั้งโลกนี้และโลกอื่น เป็นอันเขาปรารภกระทำครบถ้วนแล้ว(อารทฺโธ), เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ภายหลังแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย, ดังนี้.

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•ศุกร์•ที่ 20 •มิถุนายน• 2014 เวลา 11:49 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
สังสารวัฏ ไม่ปรากฏที่สุดแก่สัตว์ผู้มีอวิชชา •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 12 •มิถุนายน• 2014 เวลา 14:18 น.•

ภิกษุทั้งหลาย กัปหนึ่งนานแล มิใช่ง่ายที่จะนับกัปนั้นว่า เท่านี้ปี เท่านี้ร้อยปี เท่านี้พันปี หรือว่าเท่านี้แสนปี ฯ ภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า ภูเขาหินลูกใหญ่ ยาวโยชน์หนึ่ง กว้างโยชน์หนึ่ง สูงโยชน์หนึ่ง ไม่มีช่องไม่มีโพรง เป็นแท่งทึบ บุรุษพึงเอาผ้าแคว้นกาสีมาแล้วปัดภูเขานั้น ๑๐๐ ปีต่อครั้ง ภูเขาหินลูกใหญ่นั้น พึงถึงการหมดไปสิ้นไป เพราะความพยายามนี้ ยังเร็วกว่าแล ส่วนกัปหนึ่งยังไม่ถึงการหมดไปสิ้นไป กัปนานอย่างนี้ แล.

•อ่านเพิ่มเติม...•
 
กัลยณมิตร คือ อริยมรรค •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 05 •มิถุนายน• 2014 เวลา 17:32 น.•

อานนท์ ! ภิกษุผู้ชื่อว่า มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ย่อมเจริญทำให้มาก ซึ่งอริยมรรคมีองค์แปด โดยอาการอย่างไรเล่า ?

อานนท์ ! ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเจริญทำให้มาก ซึ่งสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ชนิดที่วิเวกอาศัยแล้ว ชนิดที่วิราคะอาศัยแล้ว ชนิดที่นิโรธอาศัยแล้ว ชนิดที่น้อมไปรอบเพื่อการสลัดคืน.

•อ่านเพิ่มเติม...•
 
รู้จักเลือก : "สังฆทานดีกว่า !" •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•พุธ•ที่ 28 •พฤษภาคม• 2014 เวลา 08:58 น.•

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ทานประจำสกุลวงศ์ข้าพระองค์ยังให้อยู่ แต่ว่าทานนั้นข้าพระองค์ให้เฉพาะหมู่ภิกษุผู้เป็นอรหันต์ หรือปฏิบัติอรหันตมรรค ที่อยู่ป่า ที่ถือบิณฑบาต ที่ถือผ้าสุกุล เป็นวัตร."

•อ่านเพิ่มเติม...•
 
หลักดำรงชีพเพื่อประโยชน์สุข ในเวลาถัดต่อมา •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•พุธ•ที่ 21 •พฤษภาคม• 2014 เวลา 08:00 น.•

พ๎ยัคฆปัชชะ ! ธรรม ๔ ประการเหล่านี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขของกุลบุตรในสัมปรายะ (ในเวลาถัดต่อมา) ๔ ประการ อย่างไรเล่า ?

๔ ประการคือ :-

สัทธาสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยศรัทธา)

สีลสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยศีล)

จาคสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยการบริจาค)

ปัญญาสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยปัญญา)

•อ่านเพิ่มเติม...•
 
เหตุเสื่อมและเหตุเจริญแห่งทรัพย์ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•อังคาร•ที่ 06 •พฤษภาคม• 2014 เวลา 16:13 น.•

พ๎ยัคฆปัชชะ ! ปากทางแห่งความเสื่อม ๔ ประการ ของโภคทรัพย์ที่เกิดขึ้นพร้อมแล้วอย่างนี้มีอยู่ คือ :-

ย่อมมีทางเสื่อม ๔ ประการ คือ :-

(๑) ความเป็นนักเลงหญิง

(๒) ความเป็นนักเลงสุรา

(๓) ความเป็นนักเลงการพนัน

(๔) ความมีมิตรสหายเพื่อนฝูงเลวทราม

•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วาจาที่ไม่มีโทษ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•จันทร์•ที่ 28 •เมษายน• 2014 เวลา 10:12 น.•

 

 

วาจาที่ไม่มีโทษ

ภิกษุทั้งหลาย วาจาอันประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ เป็นวาจาสุภาษิต ไม่เป็นวาจาทุพภาษิต เป็นวาจาไม่มีโทษ และวิญญูชนไม่ติเตียน. องค์ ๕ ประการอย่างไรเล่า ? ๕ ประการ คือ :-

•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ความอยากเป็นเหตุแห่งความทุกข์ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•จันทร์•ที่ 21 •เมษายน• 2014 เวลา 22:47 น.•

 

ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรม (สิ่ง) ที่มีตัณหาเป็นมูล ๙ อย่าง. ๙ อย่าง อย่างไรเล่า ? ๙ อย่าง คือ :-

เพราะอาศัยตัณหา จึงมี การแสวงหา (ปริเยสนา);

เพราะอาศัยการแสวงหา จึงมี การได้ (ลาโภ);

•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ทาน ที่จัดว่าเป็น มหาทาน •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 13 •เมษายน• 2014 เวลา 21:19 น.•

 

ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกในกรณีนี้ ละปาณาติบาต เว้นขาดจากปาณาติบาต.

ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกเว้นขาดจากปาณาติบาตแล้ว ย่อมชื่อว่าให้อภัยทาน อเวรทาน อัพยาปัชฌทานแก่สัตว์ทั้งหลาย มากไม่มีประมาณ; ครั้นให้อภัยทาน อเวรทาน อัพยาปัชฌทานแก่สัตว์ทั้งหลาย มากไม่มีประมาณแล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน อันไม่มีประมาณ.

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อาทิตย์•ที่ 13 •เมษายน• 2014 เวลา 21:23 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วาจาของอสัตบุรุษ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 06 •เมษายน• 2014 เวลา 21:38 น.•

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นที่รู้กันว่าเป็น

อสัตบุรุษ. ๔ ประการ อย่างไรเล่า ? ๔ ประการ คือ :-

ภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษในกรณีนี้ แม้ไม่มีใครถามถึงความไม่ดีของบุคคลอื่น ก็นำมาเปิดเผยให้ปรากฏ ไม่ต้องกล่าวถึงเมื่อถูกใครถาม; ก็เมื่อถูกใครถามถึงความไม่ดีของบุคคลอื่น ก็นำเอาปัญหาไปทำให้ไม่มีทางหลีกเลี้ยวลดหย่อน แล้วกล่าวความไม่ดีของผู้อื่นอย่างเต็มที่โดยพิสดาร. ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้เป็น อสัตบุรุษ.

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อาทิตย์•ที่ 06 •เมษายน• 2014 เวลา 21:41 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วาจาของสัตบุรุษ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 30 •มีนาคม• 2014 เวลา 11:10 น.•

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นที่รู้กันว่าเป็น สัตบุรุษ. ๔ ประการ อย่างไรเล่า ? ๔ ประการ คือ :-

ภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษในกรณีนี้ แม้มีใครถามถึงความไม่ดีของบุคคลอื่น ก็ไม่เปิดเผยให้ปรากฏ จะกล่าวทำไมถึงเมื่อไม่ถูกใครถาม; ก็เมื่อถูกใครถามถึงความไม่ดีของบุคคลอื่น ก็นำเอาปัญหาไปทำให้หลีกเลี้ยวลดหย่อนลง กล่าวความไม่ดีของผู้อื่นอย่างไม่พิสดารเต็มที่.

•อ่านเพิ่มเติม...•
 
การบวชที่ไร้ประโยชน์ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•เสาร์•ที่ 22 •มีนาคม• 2014 เวลา 19:24 น.•

ภิกษุทั้งหลาย อาชีพต่ำที่สุด ในบรรดาอาชีพทั้งหลายคือการขอทาน.

ภิกษุทั้งหลาย คำสาปแช่งอย่างยิ่ง ในโลกนี้ คือคำสาปแช่งว่า “แกถือกระเบื้องในมือเที่ยวขอทานเถอะ” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรทั้งหลาย เข้าถึงอาชีพนี้เป็นผู้เป็นไปในอำนาจแห่งประโยชน์ เพราะอาศัยอำนาจแห่งประโยชน์, ไม่ใช่เป็นคนหนีราชทัณฑ์ ไม่ใช่ เป็นคนขอให้โจรปล่อยตัวไปบวช ไม่ใช่เป็นคนหนีหนี้ ไม่ใช่เป็นคนหนีภัย ไม่ใช่เป็นคนไร้อาชีพ, จึงบวช อีกอย่างหนึ่ง กุลบุตรนี้บวชแล้ว โดยที่คิดเช่นนี้ว่าเราทั้งหลายเป็นผู้ถูกหยั่งเอาแล้ว โดยชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสทั้งหลาย เป็นผู้อันความทุกข์หยั่งเอาแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้าแล้วทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จะพึงปรากฏแก่เรา ดังนี้.

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 22 •มีนาคม• 2014 เวลา 19:26 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
สิ่งที่ทุกคนปรารถนาจะได้ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•เสาร์•ที่ 15 •มีนาคม• 2014 เวลา 14:15 น.•

คหบดี ! ธรรม ๔ ประการนี้ น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก. ธรรม ๔ ประการ เป็นอย่างไรเล่า ? คือ :-

ขอโภคะจงเกิดขึ้นแก่เราโดยทางธรรม นี้เป็นธรรม ประการที่ ๑ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก. เราได้โภคะทั้งหลายโดยทางธรรมแล้ว

ขอยศจงเฟื่องฟูแก่เราพร้อมด้วยญาติและมิตรสหาย นี้เป็นธรรม ประการที่ ๒ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจหาได้ยากในโลก. เราได้โภคะทั้งหลายโดยทางธรรมแล้ว ได้ยศพร้อมด้วยญาติและมิตรสหายแล้ว

ขอเราจงเป็นอยู่นาน จงรักษาอายุให้ยั่งยืน นี้เป็นธรรม ประการที่ ๓ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก. เราได้โภคะทั้งหลายโดยทางธรรมแล้ว ได้ยศพร้อมด้วยญาติและมิตรสหายแล้ว เป็นอยู่นานรักษา อายุให้ยั่งยืนแล้ว เมื่อตายแล้ว

ขอเราจงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ นี้เป็นธรรม ประการที่ ๔ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก.

•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ฆราวาสชั้นเลิศ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•เสาร์•ที่ 08 •มีนาคม• 2014 เวลา 13:01 น.•

คหบดี ! ในบรรดากามโภคีเหล่านั้น กามโภคีผู้ใดแสวงหาโภคทรัพย์โดยธรรม โดยไม่เครียดครัดด้วย, ครั้นแสวงหาโภคทรัพย์โดยธรรม โดยไม่เครียดครัดแล้วทำตนให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำด้วย, แบ่งปันโภคทรัพย์บำเพ็ญบุญด้วย, ไม่กำหนัด ไม่มัวเมา ไม่ลุ่มหลง มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก บริโภคโภคทรัพย์เหล่านั้นอยู่ด้วย;

•อ่านเพิ่มเติม...•
 
มนุษย์ผี •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•เสาร์•ที่ 01 •มีนาคม• 2014 เวลา 08:46 น.•

คหบดีและคหปตานีทั้งหลาย การอยู่ร่วม ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นอย่างไรเล่า ? คือ :-

(๑) ชายผีอยู่ร่วมกับหญิงผี  (๒) ชายผีอยู่ร่วมกับหญิงเทวดา (๓) ชายเทวดาอยู่ร่วมกับหญิงผี (๔) ชายเทวดา อยู่ร่วมกับหญิงเทวดา

คหบดีและคหปตานีทั้งหลาย ! ก็ชายผีอยู่ร่วมกับหญิงผีอย่างไร ?

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 08 •มีนาคม• 2014 เวลา 13:01 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ที่รักที่เจริญใจในโลก •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 13 •กุมภาพันธ์• 2014 เวลา 18:41 น.•

 

ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก. ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ในที่นี่. ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี่. รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ สิ่งที่ทำหน้าที่รู้ (วิญญาณ) ทางตา สิ่งที่ทำหน้าที่รู้ทางหู...ทางจมูก...ทางลิ้น...ทางกาย...ทางใจ.

•อ่านเพิ่มเติม...•
 
คู่บุพเพสันนิวาส และภรรยา ๗ จำพวก •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•พุธ•ที่ 29 •มกราคม• 2014 เวลา 13:07 น.•

คู่บุพเพสันนิวาส ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภรรยาและสามีทั้งสองพึงหวังพบกันและกันทั้งในปัจจุบัน และในสัมปรายภพ ทั้งสองเทียวพึงเป็นผู้มีศรัทธาเสมอกัน มีศีลเสมอกัน มีจาคะเสมอกัน มีปัญญาเสมอกัน ภรรยาและสามีทั้งสองนั้น ย่อมได้พบกันและกันทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายภพ.

ภรรยาและสามีทั้งสอง เป็นผู้มีศรัทธา รู้ความประสงค์ของผู้ขอ มีความสำรวม เป็นอยู่โดยธรรมเจรจาคำที่น่ารักแก่กันและกัน ย่อมมีความเจริญรุ่งเรืองมาก มีความผาสุกทั้งสองฝ่าย มีศีลเสมอกัน รักใคร่กันมากไม่มีใจร้ายต่อกัน ประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว ทั้งสองเป็นผู้มีศีลและวัตรเสมอกัน ย่อมเป็นผู้เสวยกามารมณ์เพลิดเพลินบันเทิงใจอยู่ในเทวโลก.

จตุกฺก. อํ. ๒๑/๘๑/๕๖

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 30 •มกราคม• 2014 เวลา 20:29 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ห้ามผู้อื่นให้ทาน ชื่อว่าไม่ใช่มิตร •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•อังคาร•ที่ 14 •มกราคม• 2014 เวลา 21:10 น.•

วัจฉะ ! ผู้ใดห้ามผู้อื่นซึ่งให้ทาน ผู้นั้นชื่อว่า เป็นอมิตร ผู้ทำอันตรายสิ่ง ๓ สิ่ง คือ :- ทำอันตรายต่อบุญของทายก (ผู้ให้ทาน), ทำอันตรายต่อลาภของปฏิคาหก (ผู้รับทาน), และตัวเองก็ขุดรากตัวเองกำจัดตัวเองเสียตั้งแต่แรกแล้ว. วัจฉะ ! ผู้ที่ห้ามผู้อื่นซึ่งให้ทาน ชื่อว่าเป็นอมิตร ผู้ทำอันตรายสิ่ง ๓ สิ่ง ดังนี้แล.

•อ่านเพิ่มเติม...•
 
นรกที่ร้ายกาจของมนุษย์ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•อังคาร•ที่ 31 •ธันวาคม• 2013 เวลา 00:15 น.•

ภิกษุ ทั้งหลาย นรกชื่อว่ามหาปริฬาหะ มีอยู่. ในนรกนั้น, บุคคลยังเห็นรูปอย่างใดอย่างหนึ่งได้ด้วยจักษุ (ตา) แต่ได้เห็นรูปที่ไม่น่าปรารถนาอย่างเดียว ไม่เห็นรูปที่น่าปรารถนาเลย; เห็นรูปที่ไม่น่าใคร่อย่างเดียว ไม่เห็นรูปที่น่าใคร่เลย; เห็นรูปที่ไม่น่าพอใจอย่างเดียว ไม่เห็นรูปที่น่าพอใจเลย.

•อ่านเพิ่มเติม...•
 
หลักดำรงชีพเพื่อประโยชน์สุขในวันนี้ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•อังคาร•ที่ 17 •ธันวาคม• 2013 เวลา 09:45 น.•

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พวกข้าพระองค์เป็นคฤหัสถ์ บริโภคกาม แออัดอยู่ด้วยบุตร ครองเรือน ใช้สอยกระแจะจันทน์จากแคว้นกาสี ทัดทรงพวงดอกไม้ของหอมเครื่องลูบไล้ ยินดีทอง และเงินอยู่. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ทั้งในทิฏฐธรรม (ในปัจจุบัน) และในสัมปรายะ (ในเวลาถัดต่อมา) แก่พวกข้าพระองค์ผู้อยู่ในสถานะเช่นนี้ เถิด พระเจ้าข้า !”

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อังคาร•ที่ 17 •ธันวาคม• 2013 เวลา 11:36 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
การตอบแทนคุณมารดาบิดาอย่างสูงสุด •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 24 •พฤศจิกายน• 2013 เวลา 15:17 น.•

ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการกระทำตอบแทนไม่ได้ง่าย แก่ท่านทั้งสอง. ท่านทั้งสอง คือใคร ? คือ มารดา ๑ บิดา ๑

ภิกษุทั้งหลาย บุตรพึงประคับประคองมารดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง พึงประคับประคองบิดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง เขามีอายุ มีชีวิตอยู่ตลอดร้อยปี และเขาพึงปฏิบัติท่านทั้งสองนั้นด้วยการอบกลิ่น การนวด การให้อาบน้ำ และการดัด และท่านทั้งสองนั้น พึงถ่ายอุจจาระปัสสาวะบนบ่าทั้งสองของเขานั่นแหละ. ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนั้นยังไม่ชื่อว่าอันบุตรทำแล้วหรือทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดาเลย.

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อาทิตย์•ที่ 24 •พฤศจิกายน• 2013 เวลา 15:23 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 03 •ตุลาคม• 2013 เวลา 13:47 น.•

ภิกษุ ท. ! ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึกไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบาน แล้วจำแนกธรรมออกสั่งสอนสัตว์.

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 05 •ตุลาคม• 2013 เวลา 22:22 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วิบากกรรมอย่างเบาของหมู่สัตว์ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•เสาร์•ที่ 14 •กันยายน• 2013 เวลา 22:56 น.•

ภิกษุ ทั้งหลาย ปาณาติบาต (ฆ่าสัตว์) ที่เสพทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อนรก เป็นไปเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย.

วิบากแห่งปาณาติบาตของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่า วิบากทั้งปวง คือวิบากที่เป็นไปเพื่อ มีอายุสั้น.

ภิกษุ ทั้งหลาย อทินนาทาน (ลักทรัพย์) ที่เสพทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อนรก เป็นไปเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย.

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•ศุกร์•ที่ 20 •กันยายน• 2013 เวลา 20:35 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ผลแห่งทาน •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•เสาร์•ที่ 31 •สิงหาคม• 2013 เวลา 09:52 น.•

คหบดี ! คน ให้ทานอันเศร้าหมองหรือประณีต ก็ตาม แต่ ให้ทานนั้นโดยไม่เคารพ ไม่ทำความนอบน้อมให้ ไม่ให้ด้วยมือตนเอง ให้ของที่เหลือ ไม่เชื่อกรรม และผลของกรรม ให้ทานทานนั้นๆ ย่อมบังเกิดผลในตระกูลใดๆ ในตระกูลนั้นๆ จิตของผู้ให้ทานย่อมไม่น้อมไปเพื่อบริโภคอาหารอย่างดี ย่อมไม่น้อมไปพื่อบริโภคผ้าอย่างดี ย่อมไม่น้อมไปเพื่อบริโภคยานอย่างดี ย่อมไม่น้อมไปเพื่อบริโภคกามคุณ ๕ อย่างดี แม้บริวารชนของผู้ให้ทานนั้น คือ บุตร ภรรยา ทาส คนใช้ คนทำงาน ก็ไม่เชื่อฟังไม่เงี่ยหูฟัง ส่งจิตไปที่อื่นเสีย ข้อนั้นเพราะเหตุไร ทั้งนี้เป็นเพราะ ผลแห่งกรรมที่ตนกระทำโดยไม่เคารพ ฯ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 07 •กันยายน• 2013 เวลา 16:50 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
พุทธวจนคืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•อังคาร•ที่ 13 •สิงหาคม• 2013 เวลา 15:44 น.•

ทรงกำชับให้ศึกษาปฏิบัติเฉพาะจากคำของพระองค์เท่านั้น อย่าฟังคนอื่น

"ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุบริษัทในกรณีนี้, สุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน"

"ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนสุตตันตะเหล่าใดที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญาตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่; เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน จึงพากันเล่าเรียนไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า "ข้อนี้เป็นอย่างไร? มีความหมายกี่นัย?" ดังนี้. ด้วยการทำดังนี้ เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้. ธรรมที่ยังไม่ปรากฎเธอก็ทำให้ปรากฎได้, ความสงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัยเธอก็บรรเทาลงได้"

ทุก. อํ. ๒๐/๖๘/๒๙๒

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พุธ•ที่ 28 •สิงหาคม• 2013 เวลา 19:01 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ภัยที่แม่ลูกก็ช่่วยกันไม่ได้ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•อังคาร•ที่ 16 •กรกฏาคม• 2013 เวลา 07:31 น.•

ภิกษุทั้งหลาย บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ย่อมกล่าวภัยที่มารดาและบุตรช่วยกันไม่ได้ (อมาตาปุตฺติกภย) ว่ามีอยู่ ๓ อย่าง. สามอย่างคือ

มีสมัยที่ไฟไหม้ใหญ่ตั้งขึ้น ไหม้หมู่บ้าน ไหม้นิคม ไหม้นคร. ในสมัยนั้น มารดาไม่ได้บุตร (เป็นผู้ช่วยเหลืออะไรได้), บุตรก็ไม่ได้มารดา (เป็นผู้ช่วยเหลืออะไรได้).

ภิกษุทั้งหลาย บุถุชนไม่มีการสดับ ย่อมเรียกภัยนี้ว่าเป็นอมาตาปุตติก-ภัย อย่างที่หนึ่ง.

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•จันทร์•ที่ 22 •กรกฏาคม• 2013 เวลา 11:27 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
การวางจิตเมื่อถูกกล่าวหา •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•เสาร์•ที่ 22 •มิถุนายน• 2013 เวลา 21:04 น.•

ภิกษุทั้งหลาย ทางแห่งถ้อยคำที่บุคคลอื่นจะพึง กล่าวหาเธอ ๕ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่ คือ:-

๑. กล่าวโดยกาลหรือโดยมิใช่กาล ๒. กล่าวโดยเรื่องจริงหรือโดยเรื่องไม่จริง ๓. กล่าวโดยอ่อนหวานหรือโดยหยาบคาย ๔. กล่าวด้วยเรื่องมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ ๕. กล่าวด้วยมีจิตเมตตาหรือมีโทสะในภายใน

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขากล่าวอยู่อย่างนั้น ในกรณีนั้น ๆ เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้ว่า “จิตของเรา จักไม่แปรปรวน เราจักไม่กล่าว วาจาอันเป็นบาป เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะในภายใน อยู่, จักมีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปยังบุคคลนั้น อยู่ และจักมีจิตสหรคตด้วยเมตตา อันเป็นจิตไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุกทิศทาง มีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์ แล้วแลอยู่” ดังนี้.

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 08 •สิงหาคม• 2013 เวลา 10:25 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
นำบทสวดนี้ไปสวดนะครับ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•เสาร์•ที่ 11 •พฤษภาคม• 2013 เวลา 15:13 น.•

กฏอิทัปปัจจยตา : หัวใจปฏิจจสมุปบาท.

อิมัสสะมิง สะติ อิทัง โหติ           เมื่อมีสิ่งนี้"มี" สิ่งนี้ ย่อมมี

อิมัสสุปปาทา อิทัง อุปปัชชะติ    เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น

อิมัสสะมิง อะสะติ อิทัง นะโหติ    เมื่อสิ่งนี้"ไม่มี" สิ่งนี้ ย่อมไม่มี

อิมัสสะ นิโรธา อิทัง นิรุชฌะติ     เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป

มม. ๑๓๓๕๕๓๗๑, นิทาน. สํ. ๑๖๘๔๑๕๔

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•จันทร์•ที่ 08 •กรกฏาคม• 2013 เวลา 10:52 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
กาลามสูตร •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 05 •พฤษภาคม• 2013 เวลา 20:02 น.•

สมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปที่เกสปุตตนิคม ซึ่งอยู่ในโกศลชนบท สมัยนั้นพระเกียรติคุณของพระพุทธเจ้าขจรไปไกลแล้วว่าพระองค์ทรงเป็นสัพพัญญู เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เมื่อชาวนิคมรู้ว่าพระพุทธองค์เสด็จมาจึงพากันมาเฝ้า ช่วงหนึ่งชาวกาลามะกราบทูลว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ในเกสปุตตนิคมนี้ มีสมณพราหมณ์คือนักบวชในศาสนาต่าง ๆ เดินทางเข้ามาเผยแพร่คำสอนศาสนาของตนอยู่เสมอ ๆ และสมณพราหมณ์ นักสอนศาสนาเหล่านั้นได้กล่าวยกย่อง คำสอนแห่งศาสนาของตน แต่ได้ติเตียนดูหมิ่น เหยียดหยาม คัดค้านศาสนาของคนอื่นแล้วสมณพราหมณ์นักสอน ศาสนาเหล่านี้ก็จากเกสปุตตนิคมไป ต่อมาไม่นาน ก็มีสมณพราหมณ์ นักสอนศาสนาพวกอื่นได้เข้ามายังนิคมนี้ แล้วก็กล่าวยกย่อง เชิดชูศาสนาของตนแต่ดูหมิ่น เหยียดหยาม ติเตียน คัดค้านศาสนาของคนอื่น เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกข้าพระองค์ก็มีความสงสัยเกิดขึ้นว่าบรรดาศาสดาหรือนักสอนศาสนาเหล่านั้น ใครเป็นคนพูดจริงใครเป็นคนพูดเท็จ ใครถูกใครผิดกันแน่"

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อังคาร•ที่ 25 •มิถุนายน• 2013 เวลา 21:50 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
โลภะ ความโลภ โทสะ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•พุธ•ที่ 01 •พฤษภาคม• 2013 เวลา 21:54 น.•

ศัตรูภายใน "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มลทินภายใน อมิตรภายใน ศัตรูภายใน ผู้ฆ่าภายใน ข้าศึกภายใน ๓ ประการ ได้แก่ โลภะ ความโลภ โทสะ ความคิดประทุษร้าย โมหะ ความหลง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มลทินภายใน อมิตรภายใน ศัตรูภายใน ผู้ฆ่าภายใน ข้าศึกภายใน ๓ ประการเหล่านี้แล." อิติวุตตก ๒๕/๒๙

มูลรากแห่งอกุศล ๓ อย่าง "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มูลรากแห่งอกุศล ๓ อย่างเหล่านี้ คือ ๑. โลภะ ความอยากได้ เป็นมูลรากแห่งอกุศล ๒. โทสะ ความคิดประทุกษร้าย เป็นมูลรากแห่งอกุศล ๓. โมหะ ความหลง เป็นมูลรากแห่งอกุศล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มูลรากแห่งอกุศล ๓ อย่างเหล่านี้แล." อิติวุตตก ๒๕/๒๖๔

อะไรเป็นหัวหน้าอกุศลธรรมและกุศลธรรม "ดุก่อนภิกษุทั้งหลาย อวิชชา (ความไม่รู้) เป็นหัวหน้าแห่งความพรั่งพร้อมด้วยอกุศลธรรมทั้งหลาย ความไม่ละอายใจ ความไม่เกรงกลัวต่อบาป ย่อมตามหลังมา วิชชา(ความรู้) เป็นหัวหน้าแห่งความพรั่งพร้อมด้วยกุศลธรรมทั้งหลาย ความละอายใจ ความเกรงกลัวต่อบาป ย่อมตามหลังมา." อิติวุตตก ๒๕/๒๕๕

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•จันทร์•ที่ 10 •มิถุนายน• 2013 เวลา 12:52 น.••
 
เรื่องของพราหมณ์ผู้กระด้างเพราะถือตัว •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พุธ•ที่ 13 •มีนาคม• 2013 เวลา 16:53 น.•

สมัยนั้น พราหมณ์ผู้กระด้างเพราะถือตัว อาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี พราหมณ์นั้นไม่ไหว้มารดา ไม่ไหว้บิดา ไม่ไหว้อาจารย์ ไม่ไหว้พี่ชาย. สมัยนั้น พระผู้มีพระภาค อันบริษัทใหญ่แวดล้อมทรง แสดงธรรมอยู่. ขณะนั้นพราหมณ์ผู้กระด้างเพราะถือตัว คิดว่า พระสมณโคดมนี้ อันบริษัทใหญ่แวดล้อม ทรงแสดงธรรมอยู่ ถ้าอย่างไรเราพึงเข้าไปหาพระสมณโคดม ถ้าพระสมณโคดมจักพูดกับเรา เราก็จักพูดด้วย ถ้าพระสมณโคดมจักไม่พูดกับเรา เราก็จักไม่พูดด้วย.

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 25 •พฤษภาคม• 2013 เวลา 15:49 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
อย่าโกรธเมื่อใครติเตียนพระพุทธเจ้า •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พุธ•ที่ 13 •มีนาคม• 2013 เวลา 16:48 น.•

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนเหล่าอื่นอาจกล่าวติเตียนเรา ติเตียนพระธรรม หรือติเตียนพระสงฆ์. ท่านทั้งหลายไม่พึงผูกอาฆาต ขุ่นเคือง ไม่พอใจในบุคคลเหล่านั้น. เพราะถ้าท่านทั้งหลายโกรธเคือง หรือไม่พอใจในบุคคลที่กล่าวติเตียนเรา ติเตียนพระธรรม หรือติเตียนพระสงฆ์นั้น, อันตรายเพราะความโกรธเคืองนั้น ก็จะพึงเป็นของท่านทั้งหลายเอง.

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•ศุกร์•ที่ 10 •พฤษภาคม• 2013 เวลา 11:28 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ความจนเป็นทุกข์ในโลก •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พุธ•ที่ 13 •มีนาคม• 2013 เวลา 14:36 น.•

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความจนเป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม." ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า "เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า"  จึงตรัสต่อไปว่า "ดูก่อนภิกษุทังหลาย คนจนไม่มีทรัพย์ของตนเอง ไม่มั่งคั่ง ย่อมกู้หนี้. แม้การกู้หนี้ก็เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม."

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•จันทร์•ที่ 29 •เมษายน• 2013 เวลา 08:44 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
สิ่งที่ขอร้องหรือปรารถนาให้เป็นไปอย่างใจไม่ได้ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อังคาร•ที่ 12 •มีนาคม• 2013 เวลา 19:48 น.•

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ อย่างเหล่านี้ อันสมณะ หรือพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลกไม่พึงได้ คือ ๑. ขอสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา อย่าได้แก่เลย ๒. ขอสิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา อย่าได้เจ็บไข้เลย ๓. ขอสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา อย่าได้ตายเลย ๔. ขอสิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา อย่าได้สิ้นไปเลย ๕. ขอสิ่งที่มีความพินาศไปเป็นธรรมดา อย่าได้พินาศไปเลย

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 11 •เมษายน• 2013 เวลา 21:48 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
สัปปุริสทาน ๕ พร้อมทั้งอานิสงส์ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อังคาร•ที่ 12 •มีนาคม• 2013 เวลา 18:40 น.•

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน (การให้ของคนดี) ๕ อย่างเหล่านี้ คือ ๑. ให้ทานด้วยศรัทธา (ความเชื่อศรัทธาอย่างมีเหตุผล) ๒. ให้ทานด้วยความเคารพ ๓. ให้ทานตามกาล ๔. ให้ทานมีจิตอนุเคราะห์ ๕. ให้ทานไม่กระทบตน ไม่กระทบผู้อื่น"

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พุธ•ที่ 27 •มีนาคม• 2013 เวลา 18:38 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
เหตุที่ทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่นาน •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 27 •มกราคม• 2013 เวลา 16:15 น.•

เหตุที่ทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่นาน

"สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ป่าไผ่ ใกล้เมืองมิถิลา ลำดับนั้น ท่านพระกิมพิละ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคม นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่งแล้ว กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่ทำให้พระสัทธรรมไม่ตั้งอยู่ยืนในเมื่อพระตถาคตเจ้าปรินิพพานแล้ว." "ดูก่อนกิมพิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในพระธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพ ไม่ยำเกรง ในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในการศึกษา ไม่เคารพยำเกรงกันและกัน. นี้แล กิมพิละ เป็นเหตุปัจจัยที่ทำให้พระสัทธรรมไม่ตั้งอยู่ได้นานในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว."

ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๒๗๕

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พุธ•ที่ 27 •กุมภาพันธ์• 2013 เวลา 13:32 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
สกุลที่มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำอยู่ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 20 •มกราคม• 2013 เวลา 16:21 น.•

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภายในเรือนแห่งตระกูลใด บุตรๆ บูชามารดาบิดา ตระกูลนั้นชื่อว่ามีพระพรหม ภายในเรือนแห่งตระกูลใด บุตรๆ บูชามารดาบิดา ตระกูลนั้นชื่อว่ามีเทวดาตนแรก ภายในเรือนแห่งตระกูลใด บุตรๆ บูชามารดาบิดา ตระกูลนั้นชื่อว่ามีอาจารย์คนแรก ภายในเรือนแห่งตระกูลใด บุตรๆ บูชามารดาบิดา ตระกูลนั้นชื่อว่ามีบุคคลผู้ควรนำของมาบูชา คำว่า พระพรหม เทวดา บูรพาอาจารย์ และ ผู้ควรนำของมาบูชา เป็นชื่อของมารดาบิดา เพราะมารดาบิดาเป็นผู้อุปการะมาก เป็นผู้คุ้มครองเลี้ยงดูบุตร แสดงโลกนี้แก่บุตร"

อิติวุตตก ๒๕/๓๐๓

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อาทิตย์•ที่ 05 •พฤษภาคม• 2013 เวลา 20:57 น.••
 
ความเสื่อม ความเจริญ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 06 •มกราคม• 2013 เวลา 15:03 น.•

ความเสื่อมที่เลวร้าย ความเจริญที่เป็นยอด " ความเสื่อมจากญาติ ยังนับว่าเป็นความเสื่อมเพียงเล็กน้อยดอก ภิกษุทั้งหลาย ความเสื่อมที่นับว่าเลวร้ายยิ่งกว่าความเสื่อมทั้งหลาย ก็คือ ความเสื่อมจาก ปัญญา"

" ความเจริญด้วยญาติ ยังนับว่าเป็นความเจริญเพียงเล็กน้อยดอก ภิกษุทั้งหลาย ความเจริญที่เรากล่าวว่าเป็นยอด คือความเจริญด้วยปัญญา. เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้เจริญด้วย ปัญญาวุฑฒิ(ความเจริญด้วยปัญญา) ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล"

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อาทิตย์•ที่ 10 •กุมภาพันธ์• 2013 เวลา 20:15 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
เกาะชายสังฆาฏิพระพุทธเจ้า •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 05 •มกราคม• 2013 เวลา 21:46 น.•

เกาะชายสังฆาฏิพระพุทธเจ้ายังไม่ชื่อว่าอยู่ใกล้

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้ว่าภิกษุจับชายสังฆาฏิตามหลัง ย่างเท้าตามทุกก้าว แต่เธอมีความละโมภ มีความติดใจแรงกล้าในกามทั้งหลาย มีจิตพยาบาท มีความดำริแห่งใจอันเป็นโทษ ลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิด ไม่สำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ภิกษุนั้น ก็ยังอยู่ไกลเราโดยแท้ และเราก็อยู่ไกลภิกษุนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะภิกษุนั้นไม่เห็นธรรม ผู้ไม่เห็นธรรม ย่อมไม่เห็นเรา"

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้ว่าภิกษุนั้น อยู่ไกลตั้งร้อยโยชน์ แต่เธอไม่มีความละโมภ ไม่มีความติดใจแรงกล้าในกามทั้งหลาย มีจิตไม่พยาบาท มีความดำริแห่งใจอันไม่เป็นโทษ มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว สำรวมอินทรีย์ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าอยู่ใกล้เราโดยแท้ และเราก็อยู่ใกล้ภิกษุนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะภิกษุนั้นเห็นธรรม ผู้เห็นธรรม ย่อมเห็นเรา"

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อาทิตย์•ที่ 03 •กุมภาพันธ์• 2013 เวลา 22:38 น.••
 
ศาสดา , หลักธรรม , สาวก •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พุธ•ที่ 02 •มกราคม• 2013 เวลา 10:55 น.•

พระผู้มีพระภาคจึงตรัสถึงศาสดา , หลักธรรมคำสอนและสาวก แบ่งออกเป็นประเภทดังนี้

๑. ศาสดาไม่ดี , หลักธรรมไม่ดี , สาวกไม่ดี , ก็เป็นที่ติเตียนทั้งสามฝ่าย ใครปฏิบัติตาม ก็ประสบสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมาก.

๒. ศาสดาไม่ดี , หลักธรรมไม่ดี แม้สาวกจะดี คือปฏิบัติตาม ก็เป็นที่ติเตียนทั้งสามฝ่าย ใครทำความเพียรตาม ก็ประสบสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมาก.

๓. ศาสดาดี , หลักธรรมดี , สาวกไม่ดี ศาสดาและหลักธรรมย่อมได้รับสรรเสริญ แต่สาวกถูกติเตียน. ใครปฏิบัติตาม ก็ได้ประสบบุญเป็นอันมาก.

๔. ศาสดาดี , หลักธรรมดี , สาวกดี ย่อมได้รับสรรเสริญทั้งสามฝ่าย ใครทำความเพียรตาม ก็ได้ประสบบุญเป็นอันมาก.

๕. ศาสดาดี , หลักธรรมดี , สาวกไม่เข้าใจเนื้อความ ( แห่งธรรม ) แจ่มแจ้ง. เมื่อศาสดาตายแล้ว สาวกก็เดือดร้อนภายหลัง.

๖. ศาสดาดี , หลักธรรมดี , สาวกเข้าใจเนื้อความ ( แห่งธรรม ) แจ่มแจ้ง . เมื่อศาสดาตายแล้ว สาวกก็ไม่เดือดร้อนภายหลัง.

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 19 •มกราคม• 2013 เวลา 21:27 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
จะไปนรกหรือสวรรค์กันดี •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•ศุกร์•ที่ 14 •ธันวาคม• 2012 เวลา 15:51 น.•

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่าง ย่อมตกนรกเหมือนถูกนำตัวไปวางไว้ ธรรม ๕ อย่างคือ :- ๑. เป็นผู้มักฆ่าสัตว์ ๒. เป็นผู้มักลักทรัพย์ ๓. เป็นผู้มักประพฤติผิดในกาม ๔. เป็นผู้มักพูดปด ๕. เป็นผู้มักตั้งอยู่ในความประมาท ด้วยการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่างเหล่านี้แล ย่อมตกนรกเหมือนถูกนำตัวไปวางไว้." ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๑๙๑

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•ศุกร์•ที่ 28 •ธันวาคม• 2012 เวลา 23:11 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
แก่นสารในพระพุทธศาสนา •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 06 •ธันวาคม• 2012 เวลา 21:35 น.•

" บุคคลบางคนอออกบวช มีลาภสักการะชื่อเสียงเกิดขึ้น ก็ไม่อิ่มใจ ไม่เต็มปรารถนาด้วยลาภสักการะชื่อเสียงนั้น ได้ความสมบูรณ์ด้วยศีล ก็อิ่มใจ แต่ไม่เต็มปรารถนาด้วยสีลสัมปทา (ความสมบูรณ์ด้วยศีล) นั้น ได้ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ ก็อิ่มใจแต่ไม่เต็มปรารถนาด้วยสมาธิสัมปทา (ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ) นั้น ได้ญาณทัสสนะ (หรือปัญญา) ก็อิ่มใจ แต่ไม่เต็มปราถรนาด้วยญาณทัสสนะนั้น ไม่ยกตน ข่มผู้อื่นเพราะญาณทัสสะนั้น คุณธรรมอื่น ๆ ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าญาณทัสสนะ ก็ปลูกความพอใจ พยายามเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งคุณธรรมนั้น ๆ ไม่มีความประพฤติย่อหย่อนหละหลวม ดูก่อนพราหมณ์ ธรรมอะไรบ้าง ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าญาณทัสสนะ ดูก่อนพราหมณ์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เข้าปฐมฌาน๔ (ฌานที่ ๑) เข้าทุติยฌาน (ฌานที่ ๒) เข้าตติยฌาน (ฌานที่ ๓) เข้าจตุตถฌาน (ฌานที่ ๔) เข้าอากาสานัญจายตนะ (อรูปฌาน กำหนดอากาศไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์) เข้าวิญญาณัญจายตนะ (อรูปฌาน กำหนดวิญญาณไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์) เข้าอากิญจัญญายตนะ (อรูปฌาน กำหนดว่าไม่มีอะไรแม้แต่นิดหน่อย) เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ (อรูปฌาน ที่มีสัญญาความจำได้หมายรู้ ก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญา ก็ไม่ใช่) เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ (สมาบัติชั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา ซึ่งเมื่อเข้าแล้วทำให้ดับสัญญาความจำได้หมายรู้ และเวทนาความเสวยอารมณ์สุขทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุขได้) อาสวะของภิกษุนั้นสิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา คุณธรรมเหล่านี้แล ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าญาณทัสสนะ ดูก่อนพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลนี้ ว่าเปรียบเหมือนผู้ต้องการแก่นไม้ ก็ตัดเอาแต่แก่นไม้ไปฉะนั้น"

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•ศุกร์•ที่ 14 •ธันวาคม• 2012 เวลา 14:46 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
อนัตตลักขณสูตร •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พุธ•ที่ 28 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 11:38 น.•

"ภิกษุทั้งหลาย ขันธ์ ๕ มีดังนี้ ๑. รูป คือ ร่างกาย ๒. เวทนา คือ ความรู้สึกสุข ความทุกข์ ๓. สัญญา คือ ความจำมั่นหมาย ๔. สังขาร คือ ความคิดปรุงแต่ง ๕. วิญญาณ คือ ความรู้อารมณ์ต่างๆ ภิกษุทั้งหลาย สิ่งเหล่านี้ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ของเขา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเขา สิ่งเหล่านี้มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปเป็นธรรมดา" ในวันแรม ๕ ค่ำ เดือน ๘ พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาอนัตตลักขณ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•ศุกร์•ที่ 30 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 09:51 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
<< •เริ่มแรก• < •ย้อนกลับ• 1 2 •ถัดไป• > •สุดท้าย• >>

•หน้า 1 จาก 2•