ค้นหาบทความ
ราคาน้ำมันวันนี้
จำนวนนับผู้เข้าเยี่ยมชม
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้422
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้731
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้3654
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว4342
mod_vvisit_counterเดือนนี้13422
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว15525
mod_vvisit_counterรวมผู้เข้าชม2261653

ออนไลน์ (20 นาทีที่แล้ว): 9
หมายเลข IP : 3.142.12.240
MOZILLA 5.0,
วันที่ : 27 •เม.ย.•, 2024
ล้านนาแพร่ประชาสัมพันธ์
Vinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo Slider
ประวัติบุคคลสำคัญ
ราชบุตรจามเทวี •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 26 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 14:04 น.•

พระนางจามเทวีซึ่งเสด็จจากกรุงละโว้มาครองนครลำพูนโดยต้องตัดสินพระทัยสละพระราชสวามีเพื่อกรณียกิจอันยิ่งใหญ่ในขณะที่ทรงครรภ์อ่อนๆ และก็ได้มาประสูติที่เมืองลำพูนอันเป็นถิ่นกำเนิดของสาวงามในสมัยปัจจุบัน พระนางมีพระชนมายุยืนนานถึง ๙๒ พรรษา พระนางมีราชบุตรแฝดทรงพระนามว่ามหันตยศและอนันตยศ ราชกุมารทั้งสองพระองค์เคยมีชัยชนะในการรบ คือรบกับขุนลัวะ พระนางก็มองราชสมบัติแก่พระราชบุตรทั้งสองให้ครองร่วมกัน แต่เจ้าชายอนันตยศไม่พอพระทัยที่จะครองราชย์สมบัติร่วมกับเชษฐา เมื่อเป็นเช่นนั้นก็เป็นหน้าที่ของพระนางที่จะต้องแก้ปัญหา ดังนั้นพระนางจึงได้เสด็จไปเฝ้าพระฤาษีทั้งสองคือวาสุเทพกับสุกทันตฤาษี แจ้งความที่เป็นมาให้ทราบ พระฤาษีทั้งสองก็แนะนำให้ไปหาพระสุพรหมฤาษีที่เขาสามง่าม พระนางกับราชบุตรก็เสด็จไปตามคำแนะนำนั้น ให้พรานนำทางไป พอไปถึงแจ้งสารคดีให้ทราบแล้วพระสุพรหมฤาษีก็พาพระนางกับพระราชบุตรไปยังดอยเขลางค์ พระสุพรหมฤาษีก็ให้พระนางกับพระอนันตยศกุมารยับยั้งอยู่ ณ สถานที่แห่งหนึ่งเรียกกันว่าบ้าน “ข่วงเมง แล้วพระสุพรหมฤาษีก็ขึ้นไปเขาข่วงเมง เล็งแลไปทางด้านตะวันตกแห่งแม่น้ำวังนที ทัศนาการเห็นว่ามีสถานที่เป็นชัยภูมิพอสร้างเมืองได้ ก็เลยเนรมิตรเมืองขึ้นและวางศิลาก้อนหนึ่งไว้ ณ กลางใจเมือง ที่ตรงนั้นก็ได้ชื่อว่าบ้าน “ผาบ่อง” มาจนทุกวันนี้” เป็นอันว่าพระเจ้าอนัตยศก็ได้ครองเมืองเขลางค์ คือเมืองลำปางเดี๋ยวนี้

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 18 •สิงหาคม• 2012 เวลา 22:51 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
จิตวิทยาของเจ้าพ่อชีวิต "อ้าว" •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 22 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 17:44 น.•

พ่อเจ้าชีวิตอ้าว ท่านเป็นกษัตริย์องค์หนึ่งของเชียงใหม่ กล่าวกันว่ามีพระสุรเสียงห้าวหาญน่าสะพรึงกลัวที่สุด เวลาพระองค์ท่านไม่พอพระทัยอะไรขึ้นมาเพียงแต่เปล่งสุรเสียงออกมาว่า “อ้าว” คำเดียวเท่านั้นก็มีอำนาจพอที่จะทำให้คนที่ได้ยินถึงแก่ขวัญบินเอาง่าย ๆ  ทรงมีน้ำพระทัยเด็จขาดและค่อนข้างจะดุร้าย แต่สมัยโน้นใครบ้างที่จะไม่โหดร้าย ใครบ้างที่จะไม่ทรงพระราชอำนาจเหนือเศียรเกล้าประชาชนพลเมือง ยุคนั้นไม่ว่านอกหรือในประเทศล้วนแต่ทรงอำนาจราชศักดิ์เต็มอัตราด้วยกันทั้งนั้น พ่อเจ้าชีวิตอ้าวองค์นี้ความจริงมีพระนามเป็นทางการอีกพระนามหนึ่ง แต่ประชาชนพลเมืองนิยมเรียกคือ “พ่อเจ้าชีวิตอ้าว” พ่อเจ้าชีวิตองค์นี้ท่านผู้เฒ่าผู้แก่ทางเหนือเล่าสืบต่อกันมาว่า เป็นยักษ์มาเกิดเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่เพราะฉะนั้นจึงมีพระทัยโหดร้าย พ่อเจ้าชีวิตอ้าวอาจมีพระทัยดุร้ายเฉียบขาดแต่พระองค์ท่านก็รักความซื่อสัตย์สุจริตเกลียดความทรยศคดโกงต่างๆว่ากันว่าพระองค์ทรงเป็นตุลาการตัดสินความด้วยพระองค์เอง

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อาทิตย์•ที่ 05 •สิงหาคม• 2012 เวลา 10:22 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประกาศิตพระแม่เจ้า •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 22 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 17:35 น.•

เพียงประโยคเดียวที่รับสั่งด้วยอารมณ์หญิงเท่านั้น มันมีผลให้ชีวิตของชายหนุ่มพระองค์หนึ่งต้องสิ้นชีวิตไปด้วยคมดาบของนายเพชฌฆาต พร้อมกับสูญเสียโอรสของเจ้าผู้ครองนครหริภุญชัย และหญิงสาวแสนซื่อนางหนึ่งต้องสูญเสียยอดดวงใจของเธอไป สตรีสูงศักดิ์ผู้มีน้ำพระทัยเหี้ยมเกินหญิงผู้นั้นจะเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก “เจ้าทิพยเกษร” แห่งนครพิงค์เชียงใหม่ผู้เป็นพระราชธิดาพ่อเจ้าชีวิต  “อ้าว”  ซึ่งมีราชอำนาจดุจดังพยัคฆ์ร้าย จนเป็นที่เล่าลือกันสืบต่อมาว่า ถ้าคราใดพ่อเจ้าชีวิตทรงแผดพระสุรเสียง “อ้าว” ออกมาแล้ว บรรดาข้าราชการบริพารก็มีอันเป็นเหงื่อกาฬไหลตัวสั่นเทิ้มไปด้วยความเกรงกลัว ที่ใจอ่อนมากก็ถึงทรุดนั่งลงอย่างสิ้นเรี่ยวแรงเอาทีเดียว ราชธิดาผู้ทรงพระนามว่า “เจ้าแม่ทิพยเกษร” ผู้นี้ได้อภิเษกสมรสกับบุรุษเชื้อพระวงศ์ ซึ่งทรงพระนามในสมัยขึ้นนั่งเมืองว่า “พ่อเจ้าชีวิตอิทรวิชยานนท์” องค์เดียวกับที่ถวายพระราชธิดาแก่องค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแผ่นดินสยาม และพระราชธิดาพระองค์นั้นได้รับพระราชทานตำแหน่งพระราชชายาเจ้าดารารัศมี

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อาทิตย์•ที่ 29 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 08:49 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ช้างเจ้าหลวงลำปาง •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อังคาร•ที่ 10 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 16:37 น.•

ช้างเจ้าหลวงเมืองลำปาง พลายกุนะเป็นช้างที่ได้ชื่อว่ารู้ภาษาคน แรกที่สุดเป็นช้างของเจ้าหลวงลำปางแล้วทีนี้เจ้าหลวงลำพูนมีไก่ชนตัวหนึ่ง เป็นไก่ชนที่มีชื่อเสียงมาก ชนชนะมาไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้ง ทีนี้เจ้าหลวงเมืองลำปางเกิดอยากได้ไก่ชนตัวนี้ แต่ขอซื้อจากเจ้าหลวงลำพูนทานไม่ยอมขายนอกจากจะขอแลกกับช้างกุนะ ด้วยความที่อยากได้ไก่ของเจ้าเมืองลำพูนมากเลยตอบตกลงยอมแลกช้างกุนะกับไก่ชนตัวนั้น พอเจ้าหลวงลำพูนได้ช้างกุนะมาเป็นของตนแล้วจึงหาควาญช้างมาประจำจะให้เลี้ยงดูเจ้าพลายกุนะ แต่เลือกคนมากี่คน ๆ ก็เลี้ยงเจ้ากุนะไม่ได้ เพราะมันไม่ชอบใจ ในที่สุดก็มีสองผัวเมียบ้านนอคู่หนึ่งขันอาสาเข้ามารับจ้างเลี้ยงดูเจ้าพลายกุนะปรากฏว่าเจ้าพลายกุนะยินยอมเชื่อฟังเป็นอันดี เจ้าหลวงลำพูนจึงได้มอบเจ้าพลายกุนะไปอยู่กับสองผัวเมียที่บ้านนอก โดยให้ค่าจ้างเลี้ยงพอสมควร สองผัวเมียตั้งอกตั้งใจเลี้ยงเจ้าพลายกุนะด้วยความรัก แกรักมันเหมือนลูก เช้าขึ้นเจ้ากุนะเดินโทง ๆ มาที่เรือนของสองผัวเมียยื่นงวงยาวของมันขึ้นไปที่นอกชาน เป็นอันรู้ว่ามันมาขอข้าวกิน นางล่าซึ่งกำลังนึ่งข้าวเหนียวอยู่บนเรือนก็จะร้องบอกกับเจ้ากุนะว่า “ลูกเอ๋ย แม่นึ่งข้าวยังไม่สุกเลย เอาไว้สักครู่หนึ่งถึงค่อยมานะลูกนะ” เจ้ากุนะก็ถอยไปอย่างกับมันรู้ภาษา พอข้าวสุกแล้ว เขาก็เรียกมันมากิน  มันกินข้าวทีละมาก ๆ และชอบกินข้าวเหนียวเหมือนคนด้วย

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อาทิตย์•ที่ 22 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 15:39 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
หาญยอดใจเพชร นายทหารเอก •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•จันทร์•ที่ 09 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 14:38 น.•

ปี พ.ศ.๒๕๐๓ ได้มีโรงเรียนสอนฟันดาบทางฝั่งธนบุรี จัดละครโทรทัศน์ประวัติศาสตร์ขึ้นโรงเรียนหนึ่ง มีนายทหารชาวนครพิงค์คนหนึ่งมีนามว่า "หาญยอดใจเพชร"อยู่ในรัชสมัยพระเจ้าสามฝั่งแกนเป็นนายทหารดาบเขนซึ่งมีฝีมือเป็นเยี่ยม และเหตุที่จะทไให้หาญยอดใจเพชรได้มีชื่อปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์ก็เพราะในสมัยพระเจ้าสามฝั่งแกนเกิดมีกรณีแตกแยกระหว่างพี่น้องขึ้น อันทำให้เกี่ยวเนื่องไปถึงพระเจ้าไสยลือไทยแห่งกรุงสุโขทัยจนเรื่องเล็กกลายเป็นเรื่องใหญ่ดังนี้  ครั้งนั้นเมื่อสิ้นพระเจ้าแสนเมืองมาพระชาบิดาแล้ว ราชบุตรสองพระองค์ต่างมารดากันองค์พี่มีนามว่า "เจ้าชายยี่กุมกาม" พระบิดาให้ไปครองเมืองเชียงรายแต่ครั้งมีประชนมายุได้ ๑๕ พรรษา ส่วนองค์น้องนั้นมีนามว่า "เจ้าชายสามฝั่งแกน" เหตุที่ได้ชื่อเช่นนี้ก็เพราะเมื่อพระราชมารดาทรงครรภ์ได้ ๓ เดือน พระราชบิดาได้พาเสด็จประพาสตามหัวเมืองต่างๆจนถึงเมืองสิบสองพันนาลื้อ จนเวลาล่วงไปได้เจ็ดเดือน กลับมายังพันนาฝั่งแกนจึงได้ประสูติพระกุมาร ณ ที่นั้น ส่วนเจ้าชายยี่กุมกามนั้น ประสูติที่เวียงกุมกามจึงได้ชื่อว่า "ยี่กุมกาม" พอพระเจ้าแสนเมืองมาถึงพิราลัย

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อาทิตย์•ที่ 15 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 08:06 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
แมคกิลวารีสู่เมืองแพร่ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•ศุกร์•ที่ 29 •มิถุนายน• 2012 เวลา 16:24 น.•

บ้านร้อยปีเป็นอาคารเก่าสร้างด้วยไม้สัก ตั้งอยู่ในบริเวณโรงพยาบาลแพร่คริสเตียน อ. เมือง จ. แพร่ สร้างโดยคณะมิชชั่นลาวในสังกัดคริสตจักรเพรสไบทีเรียนที่สหรัฐอเมริกา (the Laos Mission of the Presbyterian Church in the United States of America) ที่เข้ามาตั้งศูนย์เผยแผ่ศาสนาที่จังหวัดแพร่ตั้งแต่พ.ศ. ๒๔๓๖ (ค.ศ. ๑๘๙๓) เพื่อเป็นที่พักและสำนักงานของครอบครัวมิชชันนารีที่เข้ามาดูแลงานด้านการเผยแผ่ศาสนา การศึกษา และการพยาบาล ในจังหวัดแพร่ บ้านเก่าในโรงพยาบาลแพร่คริสเตียนและบ้านเก่าในบริเวณศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยถูกย้ายจากศูนย์มิชชั่นเดิมที่บ้านเชตวันมาปลูกในที่ตั้งปัจจุบัน บ้านทั้งสองหลังจึงมีอายุร้อยสิบเก้าปีแล้วใน พ.ศ. ๒๕๕๕ นี้

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 30 •มิถุนายน• 2012 เวลา 23:28 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
เจ้าหญิงดารารัศมี •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•จันทร์•ที่ 11 •มิถุนายน• 2012 เวลา 14:21 น.•

“เจ้าในวัง” คำพูดติดปากของคนที่อยู่ในสมัยพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ท่านเป็นราชบุตรีของพ่อเจ้าชีวิตอินทวิชยานนท์ มารดาคือเจ้าหญิงทิพย์เกสรผู้เป็นพระธิดาของพระเจ้าวิโลรศสุริยวงศ์นับเป็นผู้สืบสายโลหิตจากพระเจ้าเชียงใหม่โดยตรง เมื่อเล็ก ๆ ทรงมีชื่อรวมกันในพระญาติวงศ์ว่า “เจ้าหญิงอึ่ง” ครั้นเจริญพระชันษาก็ได้รับพระนามจากพ่อเจ้าชีวิตว่า “เจ้าดารารัศมี” พระองค์มีพี่ร่วมอุทรด้วยอีกสององค์แต่สิ้นพระชนม์ไปเสียก่อน เจ้าหญิงจึงเป็นที่สนิทเสน่หาของพ่อเจ้าและแม่เจ้าเป็นอย่างยิ่ง เจ้าหญิงดารารัศมีประสูติเมื่อวันอังคารขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๑๐ เหนือ ปีระกา ตอนที่เจ้าหญิงดารารัศมีตามเสด็จเจ้าชีวิตอินทวิชยานนท์ผู้บิดาลงไปกรุงเทพฯ ก่อนหน้านั้นเมื่อปี ๒๔๒๖ พ่อเจ้าชีวิตโปรดให้มีงานพระราชทานพระนามและต้องเข้าพิธีโสกันต์ พระบาทสมเด็จพระจุลเจ้าเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าให้พระเจ้าน้องยาเธอฯ เสด็จไปช่วยในงานนี้พร้อมกับนำเอาตุ้มพระกรร ณ กับพระธำมรงค์เพชร มอบให้เป็นของขวัญแก่เจ้าหญิงดารารัศมีในโอกาสนั้นด้วย คงจะเป็นการมั่นหมายไว้ในพระทัยเพราะหลังจากนั้นมาอีกสามปี เจ้าชีวิตอินทวิชัยนนท์ก็เสด็จไปราชการที่กรุงเทพฯ และได้โปรดให้พระราชธิดาเจ้าหญิงดารารัศมีได้เสด็จไปด้วย พระบาทสมเด็จพระจุลเจ้าเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสู่ขอต่อพ่อเจ้าชีวิตตอนนั้นโปรดให้ประทับที่พระที่นั่งจักรีในพระบรมมหาราชวัง เจ้าหญิงดารารัศมีจึงได้ถวายตัวตั้งแต่ครั้งนั้น

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อาทิตย์•ที่ 08 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 07:29 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
หนังสือเดินทางของพ่อเจ้าชีวิต •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 10 •มิถุนายน• 2012 เวลา 14:27 น.•

ทำไมทางทางรถไฟถึงแค่เชียงใหม่ ทำไมไม่สร้างต่อไปให้ไกลจนถึงแม่ฮ้องสอนหรือไปถึงไทยใหญ่กันเลย คำตอบคือไม่รู้ครับเพราะไม่ใช่ผู้บัญชาการรถไฟและไม่ได้เป็นรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม เรื่องที่จะเล่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับนโยบายการเมืองในสมัยโน้นแสดงให้เห็นถึงวิธีการของพวกล่าเมืองขึ้น ซึ่งล้วนแต่มีกลวิธีต่าง ๆ กัน อันที่จริงสมัยนั้นแต่ละประเทศก็มุ่งแสวงหาหาอาณานิคมของตนเองทั้งนั้น เชียงใหม่เผอิญเป็นประเทศราชแห่งหนึ่งซึ่งมีความสำคัญไม่น้อย คือภายหลังจากที่ได้เข้าปกครองพม่าแล้วราวสิบปี ทางรัฐบาลอังกฤษก็ดำริที่จะเปิดการค้าระหว่างพม่ากับเชียงใหม่และเชียงรุ้งซึ่งเป็นหัวเมืองฝ่ายใต้ของจีนขึ้น จึงได้จัดส่งคนให้ไปสำรวจเส้นทางดังกล่าวโดยคาดว่าจะได้รับประโยชน์ทางการค้าอย่างมหาศาลถ้าสร้างทางได้สำเร็จ แต่ครั้นแล้วเรื่องก็เงียบไป คงจะมีอุปสรรคอะไรสักอย่างกาลเวลาล่วงไปเนิ่นนานจนกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๔๒๒ ฝรั่งเศสได้แผ่อิทธิพลเข้ามาในเอเชียตะวันออก ได้พยายามทุกวิถีทางที่จะทำลายอิทธิพลของอังกฤษ ในแหลมอินโดจีนสมัยนั้น พ่อค้าวาณิชของอังกฤษในพม่าจึงมีความกระตือรือร้นที่จะให้รัฐบาลอินเดียของอังกฤษเปิดเส้นทางบกระหว่างพม่ากับเชียงใหม่ขึ้น ที่คิดกันคือเพื่อป้องกันมิให้สินค้าของท้องถิ่นหลังไหลผ่าไปออกทางเมืองท่าของฝรั่งเศสในแคว้นตังเกี๋ย ซึ่งอาจมีผลกระทบกรเทือนต่อการค้าของอังกฤษได้ ด้วยเหตุนี้คณะพ่อค้าจึงได้ติดต่อขอให้ มร.ฮอลต์ เอส.ฮอลแลตต์ ซึ่งเป็นข้าราชการเก่าเป็นหัวหน้านำคณะเดินทางขึ้นไปสำรวจภูมิประเทศทางลานนาไทยอีกครั้งหนึ่ง จึงเป็นเป็นที่มาของเรื่องหนังสือเดินทางของพ่อเจ้าชีวิต ที่ทรงออกให้แก่ฝรั่งนักสำรวจคณะนั้น เพราะว่านายฮอลแลตต์แกต้องไปอาศัยครูแมคกิลวารีให้ช่วยทูลขออนุญาตพ่อเจ้าชีวิต ซึ่งท่านและเจ้านายทางฝ่ายเหนือ ก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี สำหรับพ่อเจ้าชีวิตนั้นไม่ยอมเชื่อว่า

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 16 •มิถุนายน• 2012 เวลา 21:05 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
เมื่อเจ้าเชียงใหม่ต้อนรับฝรั่ง •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 20 •พฤษภาคม• 2012 เวลา 22:39 น.•

ตอนที่ดร.แดเนียล แมคกิลวารี มิชชั่นนารีคนแรกเดินทางไปถึงเชียงใหม่ เจ้าหลวงเผอิญไม่อยู่ เจ้าหลานชายที่มีหน้าที่รับผิดชอบแทนไม่ทราบจะตัดสินใจอย่างไรก็เลยหลบไปบ้านนอก แต่ในที่สุดเมื่อเจ้าหลวงกลับมาก็ได้จัดการต้อนรับตามสมควรจนกระทั่งเดินทางกลับ การเดินทางครั้งนั้นถือว่าไปสำรวจเพื่อเตรียมไปทำงานเผยแพร่ต่อไป ต่อมาอีกสามปีจึงได้พากันเดินทางขึ้นไปเป็นคณะ ทั้งนี้โดยทางกงสุลอเมริกันได้ติดต่อขอความช่วยเหลือจากเสนาบดีกระทรวงต่างประเทศ ช่วยนำหนังสือขึ้นทูลเกล้าถวายในหลวง ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเปิดสำนักขึ้นที่เชียงใหม่ ในหลวงทรงให้คำตอบว่า อำนาจใจเรื่องนี้มิได้อยู่ที่พระองค์ท่าน เพราะพระองค์ท่านยังไม่สามารถจะบังคับประชาชนชาวเชียงใหม่ในเรื่องงของมิชชั่นได้ ขณะนั้นเจ้าหลวงก็ยังพักอยู่ในกรุงเทพฯ ถ้าเจ้าหลวงยินยอมรัฐบาลไทยก็ไม่ขัดข้อง เพราะฉะนั้น ขอให้ไปเฝ้าพระเจ้าเชียงใหม่ ซึ่งในหลวงโปรดเกล้าให้พนักงานไปด้วยคนหนึ่ง เพื่อจะได้กลับไปรายงานกราบบังคมทูลให้ทรงทราบ ดังนั้นหมอแดเนียลกับคณะจึงพากันไปที่ท่าน้ำซึ่งกระบวนเรือของเจ้าเชียงใหม่จอดอยู่ ในเช้าวันเสาร์ พระเจ้ากาวิโลรศพระเจ้าเชียงใหม่ ก็แต่งกายแบบพื้นเมืองตามสบายของท่าน คือนุ่งผ้าแต่ไม่สวมเสื้อ มีผ้ายี่โป้พาดบ่า มีไม้ถืออันเล็ก ๆ ออกมาต้อนรับนายแพทย์ชาวอเมริกันที่ท่าน้ำ...

•อ่านเพิ่มเติม...•
 
เจ้าหญิงเชียงใหม่กับกุลวาขาว •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 20 •พฤษภาคม• 2012 เวลา 14:07 น.•

พระเจ้ากาวิโลรศพระเจ้าเชียงใหม่มีราชบุตรีสององค์ทรงนามว่า เจ้าหญิงทิพเกสร กับเจ้าหญิงอุบลวรรณา เจ้าหญิงทั้งสองทรงคุ้นเคยกับดร.แดเนียล แมคกิลวารี เป็นอย่างดีดังได้เคยเล่าให้ฟังบทความก่อนหน้า ดังนั้น ตอนที่หมอแดเนียลขึ้นไปเชียงใหม่ ก็หวังพึงเจ้าหญิงว่าคงช่วยเพ็ดทูลเจ้าพ่อของเธอ เพื่อเป็นแนวทางแก่การก่อสร้างสถานีเผยแพร่ศาสนาแต่ไป แต่มีผลไม่มากเพราะเจ้าหญิงก็ไม่ได้ทรงอำนาจเด็ดขาด เพียงแต่รับปากว่าผู้ถือศาสนาคริสเตียนจะไม่ถูกข่มเหงเบียดเบียนแต่อย่างใด แต่เรื่องหนานชัยกับหนานน้อยสัญญาเป็นเรื่องเหลือวิสัยที่เจ้าหญิงจะทรงช่วยได้ เพราะสองคนนั่นละเมิดคำสั่งของเจ้าชีวิต

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 02 •มิถุนายน• 2012 เวลา 23:27 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ชัยชนะของแมคกิลวารี •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 20 •พฤษภาคม• 2012 เวลา 14:02 น.•

สุภาพบุรุษผิวขาวผู้สูงอายุนั้น เป็นสิ่งแปลกประหลาดมหัศจรรย์สำหรับชาวนครพิงค์ยิ่งนักเขามีรูปร่างอันสูงใหญ่ มีเครายาวสีทอง มีดวงตาสีน้ำเงินแกมเทาอ่อนๆเต็มไปด้วยแววความปราณี ศีรษะล้านเถิกเข้าไป แต่สวนหลังยังมีปอยผมสีทองปกคลุมอยู่มากและมีผิวเนื้อเป็นสีชมพูเรื่อไปทั้งตัว จมูกโด่งแหมเป็นของุ้ม ไม่มีส่วนใดที่จะคล้ายคลึงกับ “คนเมือง” ทั่วไปแม้แต่น้อย มันเป็นวันหนึ่งในฤดูร้อนขณะที่เรือใหญ่สองลำบรรทุกบุคคลแปลกหน้ารวมทั้งสัมภาระถูกบังคับให้ลอยทวนน้ำมาขึ้นบกที่เกาะน้อยทางทิศใต้ของนครพิงค์เชียงใหม่สองบุรุษสตรีผู้มาจากถิ่นไกลได้ก้าวขึ้นจากเรือเหยียบลงแผ่นดินซึ่งไม่เคยรู้จักมาก่อนด้วยปณิธานอันแน่วแน่และพลังใจอันแข็งแกร่งที่จะต่อสู้กับทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อศาสนกิจของ “พระผู้เป็นเจ้า”

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อาทิตย์•ที่ 20 •พฤษภาคม• 2012 เวลา 14:15 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
อเมริกันคนแรกที่ไปเชียงใหม่ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•ศุกร์•ที่ 18 •พฤษภาคม• 2012 เวลา 17:02 น.•

สมัยก่อนระยะทางกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ต้องใช้เวลาเดินทางถึงสามเดือน อเมริกันถึงกรุงเทพฯ ใช้เวลาเพียง ๑๐๐ วันก็ถือว่าเก่งที่สุดแล้วท่านเขียนเล่าไว้ในหนังสือเล่มหนึ่งว่า “ข้าพเจ้ามาอยู่ในกรุงเทพฯแล้ว  ดูราวข้าพเจ้าหลับไป แล้วตื่นขึ้นมาอยู่ในโลกใหม่ ... ในกรุงเทพฯ ที่ซึ่งข้าพเจ้าหวังจะยึดเป็นภูมลำเนาของข้าพเจ้าต่อไป”  ดร.แดเนียล แมคกิลวารี สุภาพบุรุษนักบุญอเมริกันคนแรกที่ไปเชียงใหม่ผู้กล่าว หรือที่ชาวเมืองชอบเรียกกันว่าพ่อครูเฒ่าและเป็นผู้ที่มีส่วนเปลี่ยนแปลงโฉมหน้านครเชียงใหม่อยู่ไม่น้อย นอกเหนือจากงานเผยแพร่ศาสนาแล้วยังมีอย่างอื่นที่น่าสนใจอีกเป็นอันมาก  หมอแมคกิลวารีและภรรยาได้มีโอกาสเข้าเฝ้าเจ้านายเชียงใหม่สมัยโน้นแล้วเขียนไว้ในบันทึก ทำให้เราได้ทราบถึงจริยาวัตรของเจ้านายเชียงใหม่บางพระองค์สมัยโน้น ใครโง่ ใครฉลาด ใครมีแนวคิดเห็นเป็นอย่างไรต่อความเจริญแผนใหม่ ก็จะได้รู้จากบันทึกของท่าน ในปี ค.ศ. ๑๘๕๘ ซึ่งตรงกับปีพุทธศักราช ๒๔๐๑ ที่นายแพทย์หนุ่มโสดชาวอเมริกันเดินทางมาถึงสยามประเทศ วันที่ ๒๐ มิถุนายน ซึ่งขณะนั้น หมอบลัดเลย์ได้เข้ามาอยู่ในกรุงเทพก่อนแล้ว หมอบลัดเลย์มีที่พักอยู่ใกล้ ๆ กับวัดอรุณราชวราราม และก็ที่ลานวัดอรุณชาวบ้านทั่วไปแรกว่าวัดแจ้ง ก็เป็นที่พักจอดเรือของเจ้านายทางเชียงใหม่พร้อมทั้งบ่าวไพร่บริวารที่เดินทางมาเยือนพระนครหลวง จากความพยายามของหมอบลัดเลย์พวกเจ้าจึงได้เข้าไปรู้จักสนิทสนมกับเจ้านายฝ่ายเหนือได้ไม่ยากนัก พยายามเป็นเพื่อนที่ดี เชื้อเชิญให้ไปเที่ยวโรงพิมพ์และที่บ้าน ปลูกฝีให้เมื่อท่านเหล่านั้นต้องการจะปลูก และแล้วก็เลยเล่าถึงกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ ตอนนั้นตรงกับการปกครองของพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยุคที่เริ่มคบหากับฝรั่ง

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 19 •พฤษภาคม• 2012 เวลา 08:57 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
พญาจ่าบ้าน ขุนศึกใจสิงห์ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•ศุกร์•ที่ 11 •พฤษภาคม• 2012 เวลา 20:40 น.•

พญาจ่าบ้านคนนี้มีศักดิ์เป็นน้าชายเจ้ากาวิละ และเป็นผู้ต้นคิดชักชวนให้เจ้ากาวิละกระทำการกอบกู้อิสรภาพจากการปกครองของพม่า เพราะความเจ็บช้ำน้ำใจที่ถูกพม่ากดขี่ข่มเหงประชาชนตามวิสัย “ใครมาเป็นเจ้าปกครอง คงจะต้องบังคับขับไส” ขณะที่ทางกรุงศรีอยุธยาก็ถูกกองทัพอันเกรียงไกรของอะแซหวุ่นกี้รุกเข้าตีแตก เผาผลาญบ้านเมือง กวาดต้อนเอาครอบครัวและทรัพย์สมบัติไปเป็นอันมาก ทางเชียงใหม่ก็หวานอมขมกลืนอยู่ใต้อำนาจของพม่าอย่างน้ำตาตกใน เมื่ออภัยคามินีที่ครองเมืองเชียงใหม่ถึงแก่กรรม โป่มะยุง่วนที่เรียกกันง่าย ๆ ว่า “โป่หัวขาว” เพราะชอบโพกศีรษะด้วยผ้าขาว ได้มาครองเมืองเชียงใหม่แทน โป่หัวขาวผู้นี้โหดร้ายใจอำมหิตชอบกดขี่ทำทารุณกรรมต่อชาวเมืองอยู่เสมอจึงเกิดปะทะกันขึ้นบ่อย ๆ ระหว่างชาวเมืองเชียงใหม่ผู้รักษาเกียรติศักดิ์เสรี ดังเช่นครั้งแรกก็มีจักกายน้อยพรม ซึ่งหาญเข้าปะทะกับพม่ากลางเมืองกระทั่งตัวเองต้องถึงแก่ชีวิตในการต่อสู้ ครั้งที่สองก็คือพญาจ่าบ้านปะทะกับโป่มะยุง่วนในขณะที่ตัวเองอยู่ในสภาพเปรียบเหมือนลูกแกะน้อยที่อยู่ในอำนาจของราชสีห์ การต่อสู้กันอย่างดุเดือดกลางเมืองครั้งนั้น พญาจ่าบ้านเป็นฝ่ายแพ้และนีไปหาโป่สุพลาที่เมืองล้างช้างพร้อมกับทหารคู่ใจจำนวนหนึ่ง “ตอนนั้นกองทัพไทยก็ตั้งอยู่ที่กำแพงเพชรแต่การจะหนีไปแค่กำแพงเพชร พญาจ่าบ้านท่านก็คงคิดแล้วว่าโป่มะยุง่วนคงไปตามจับตัวได้แน่ๆจึงตัดสินใจหนีไปหาโป่สุพลา ซึ่งโป่มะยุง่วนยำเกรงมากพอไปอยู่กับโป่สุพลาไม่นานพระเจ้าตากสินก็ยกกองทัพเข้าไปประชิดเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ.๒๓๑๔ ทรงตั้งค่ายล้อมอยู่ได้ ๙ วันก็ถอยทัพกลับไป

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อังคาร•ที่ 15 •พฤษภาคม• 2012 เวลา 10:05 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วีรบุรุษกาวิละ (ตอนกู้อิสรภาพ) •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 28 •เมษายน• 2012 เวลา 14:35 น.•

ฝ่ายเจ้าคำโสมและพี่น้อง พอทราบข่าวว่าพม่าจับตัวบิดาไปจำคุกไว้ก็ตกใจเกรงว่าพม่าจะฆ่าเจ้ากาวิละให้คิดอ่านแก้ไขแต่เจ้ากาวิละกลับบอกว่า ข้าศึกก็เป็นมนุษย์เดินดินเหมือนกัน เราจะยกทัพไปรบกับมันส่วนบิดาเรานั้นหากว่าบุญเรามีก็คงได้พบกันหากว่าบุญไม่มี ก็แล้วแต่บุญแต่กรรมเถิด นับว่าเจ้ากาวิละเห็นแก่ประโยชน์ของชาติบ้านเมืองยิ่งกว่าเรื่องส่วนตัว แล้วเจ้ากาวิละก็เร่งเตรียมทัพไปต้อนรับทัพกรุศรีอยุธยาแต่เจ้าคำโสมผู้น้องเป็นห่วงบิดาอยู่ ก็จัดสิ่งของเครื่องบรรณาการแต่งผู้คนที่ฉลาดในการเจรจาไปยังเมืองเชียงใหม่ พร้อมกับจดหมายถึงโป่มะยุง่วนฉบับหนึ่งมีใจความว่า เจ้ากาวิละเกิดทะเลาะกับจักกายศิริจอสูถึงกับฆ่าฟันกันนั้น ก็เพราะเจ้ากาวิละวิกลจริต พวกข้าพี่น้องทั้งหกหารู้เห็นเป็นใจด้วยไม่ ขออย่าทำโทษฆ่าบิดาของข้าพเจ้าทั้งหกเลย โป่มะยุง่วนก็ให้งดลงอาญาเจ้าฟ้าชายแก้วแต่ให้เอาตัวจำคุกไว้ก่อน ขณะนั้นกองทัพไทยยกมาถึงลำปางแล้ว เจ้ากาวิละจึงแต่งให้เจ้าดวงทิพย์ผู้น้องออกไปรับทัพไทยก่อน ส่วนตัวเจ้ากาวิละนำเสบียงอาหารออกไปต้อนรับทัพหลวงแล้วนำกองทัพหลวงแล้วนำกองทัพหลวงมายังเชียงใหม่ โดยเดินทัพมาทางดอยดินแดงและดอยบา เพื่อสมทบกับกองทัพของพระยากำแพงเพชรและพระสุระที่พญาจ่าบ้านนำขึ้นมา

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•ศุกร์•ที่ 04 •พฤษภาคม• 2012 เวลา 19:05 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วีรบุรุษกาวิละ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 26 •เมษายน• 2012 เวลา 16:35 น.•

“กาวิละ” ผู้ซึ่งเป็นต้นตระกูล ณ เชียงใหม่ผู้มีบทบาทมากที่สุดในการต่อสู้ดิ้นรนเพื่อพ้นจากการปกครองของพม่า วีรกรรมของ “พญากาวิละ” ที่ได้กอบกู้อิสรภาพของล้านนาไทยไว้ได้ กระทั่งได้มารวมกับไทยกลางจนทุกวันนี้ นับตั้งแต่พระยาสุละวะนาไชยสงคราม (ทิพช้าง) ได้ทำการขับไล่ข้าศึกคือท้าวมหายศแตกกระเจิงไปแล้ว ก็ได้ครองเมืองลำปางแทนพ่อเมืองคนเก่า พระยาสุละวะ ฯ มีบุธิดารวมหกคนกับเจ้าแม่พิมมะลาผู้ภริยา บุตรชายคนหนึ่งชื่อ “ชายแก้ว” หรือ “ฟ้าชายแก้ว” เจ้าชายแก้วผู้นี้คือบิดาของเจ้ากาวิละ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•ศุกร์•ที่ 11 •พฤษภาคม• 2012 เวลา 20:45 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ศรีวิไจยโข้ ผู้มีมโนภาพอันบรรเจิด •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 21 •เมษายน• 2012 เวลา 19:30 น.•

“อนาถจิตคิดไปไม่ประจักษ์ ทรลักษณ์ตาทะเล้นไม่เห็นหน เดินก็ได้พูดก็ดังชั่งวิกล มามืดมนนัยน์ตาบ้าบรม” เพชรเม็ดงามของชาวแพร่ ด้วยความเป็นกวีที่มีพรสวรรค์มาตั้งแต่กำเนิด ศรีวิไจย (โข้) มีชื่อเดิมว่า “ศรีไจย” เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๐ ณ บ้านสีลอ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ เป็นบุตรคนที่ ๔ ของเจ้าน้อยเทพ และนางแก้ว เทพยศ ชาวบ้านมักจะเรียกท่านว่า ศรีวิไจยโข้ บางทีก็เรียกว่า “พ่อต๋า” ภรรยาคนแรก ชื่อ นางตุ่น มีบุตร ๒ คน ชีวิตวัยเด็ก ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรอยู่ ๔ – ๕ พรรษา ณ วัดศรีบุญเรือง จังหวัดแพร่หลังจากนั้นลาสิกขาบทออกมา แล้วได้แต่งกาพย์ธรรมะ ซึ่งพรรณนาถึงความทุกข์ของคน ชื่อว่า “กาพย์ฮ่ำตุ๊ก” แต่เดิมท่านประกอบอาชีพค้าจนกระทั้งภรรยาคนแรกเสียชีวิตลง จึงได้นำบุตรชายไปฝากพี่สาวอุปการระ ส่วนตัวเองเดินทางไปค้าขายที่จังหวัดน่าน กระทั่งล้มป่วยด้วยกามโรค จึงกลับมาอยู่จังหวัดแพร่ แล้วต่อมานัยน์ตาท่านก็บอด เมื่ออายุ ๒๕ ปีชีวิตต่อจากนั้น ท่านได้รับจ้างเขียนค่าว – ฮ่ำ อย่างเดียว แต่ปัญหาผู้ว่าจ้างท่าเขียนค่าว – ฮ่ำ ต้องนั่งจดตามคำบอก จึงทำให้ผู้อยากได้บทกวีแต่ไม่มีเวลาต้องเสียโอกาส ท่านศรีวิไจย (โข้) จึงได้ภรรยามาเป็นคู่ชีวิต คู่ทุกข์คู่ยากของท่านคนหนึ่งชื่อ “จันทร์สม” เป็นหญิงสาวที่มีรูปร่างหน้าตาไม่เลวนักและคุณสมบัติอันประเสิรฐยิ่งยากที่จะหาได้ในสตรีสมัยนั้นก็คือ จันทร์สมผู้นี้เป็นคนมีความรู้ในทางเขียนอ่านคล่องแคล่วเป็นพิเศษสามารถถ่ายทอดบทกวีที่กลั่นกรองจากสมองของท่านจอมกวีออกมาเป็นตัวอักษร ทั้งเจ้าหล่อนก็คงจะเป็นคนหนึ่งซึ่งซาบซึ้งในมธุรสพจน์ประพันธ์ของท่านกวีศรีวิไจยโข้

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อาทิตย์•ที่ 22 •เมษายน• 2012 เวลา 10:06 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
มหากวีผู้กล่อมล้านนาไทย •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 07 •เมษายน• 2012 เวลา 09:52 น.•

เขาเป็นยอดกวีที่มีประวัติชีวิตพิสดารยิ่งกว่าทุกคนในล้านนาประเทศ คล้ายกับมหาหวีศรีปราชญ์ในบางเรื่อง ละม้ายกับท่านสุนทรภู่ในบางตอนและบางทีก็ทำท่าว่าจะใกล้เคียงกับเจ้าฟ้าธรรมมาธิเบศร์ (กุ้ง) แห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา ผู้นั้นคือ “พรหมมินทร์” จินตกวีเอกแห่งล้านนาไทย หรือ “พญาพรหมโวหาร” แห่งราชสำนักเชียงใหม่ ราชสำนักลำปางและราชสำนักแพร่ผู้มีชีวิตอยู่ในระหว่างปีพุทธศักราช ๒๓๔๕ – ๒๔๒๖ ผู้ซึ่งเสียงกวีของเขาแผ่คลุมไปตลอดลุ่มน้ำแม่ระมิงค์ แม่น้ำวัง แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน แม้ในปัจจุบันนี้ ชื่อเสียงของเขา ก็ยังก้องกังวานเช่นเดียวกับชื่อเสียงของมหากวีแห่งกรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์ที่ได้ออกนามและพระนามมาแล้ว

•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ศึกท้าวซ้อย •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•ศุกร์•ที่ 23 •มีนาคม• 2012 เวลา 13:14 น.•

“ในการศึกสงคราม ไม่มีคำว่ายุติธรรม” เรื่องนี้ก็เกิดขึ้นในสมัยรัชสมัยเจ้าติโลกราชพอขึ้นครองราษฐ์ไม่นานก็เกิดเรื่องไม่หยุดครั้งแรกแสนขานเป็นกบฏต่อมาก็ท้าวซ้อย ท้าวซ้อยหรือท้าวสิบนี่เป็นน้องสุดท้องของพระเจ้าติโลกราชเอง พระเจ้าติโลกราชหรือท้าวลกคิดปฏิวัติรัฐประหาร แย่งราชสมบัติมาจากพระเจ้าสามฝั่งแกนผู้บิดา แล้วเนรเทศไปไว้ที่เมืองสาด “ทีนี้ความรู้ถึงหูท้าวซ้อยที่ครองเมืองฝางอยู่ได้ทราบว่าท้าวลกผู้พี่กระทำการแย่งชิงราชสมบัติก็แค้นเคืองเป็นยิ่งนักรับสั่งการให้เสนาอาตย์เดินทางไปรับเสด็จพระเจ้าสามฝั่งแกนมาจากเมืองสาดพามาประทับที่เวียงเมืองฝางและก็ตระเตรียมไพร่พลไว้รับมือกับพี่ชายคงจะมีการท้าทายกัยอยู่ในทีด้วยพร้อมกับตั้งแข็งเมืองไม่ยอมอ่อนน้อมต่อพระเจ้านครพิงค์องค์ใหม่ ทีนี้ทางฝ่ายเจ้าติโลกราชเจ้านครพิงค์พอรู้ว่าเจ้าท้าวซ้อยแข็งเมืองมิหนำซ้ำยังไปรับพระบิดาเข้าไว้ในเวียงฝางเป็นการท้าทายเข้าไปอีกก็กริ้วนักจึงรีบสั่งให้หมื่นหาญต่อท้องผู้ครองนครเขลางค์ ถือพลหนึ่งหมื่นหาญแต่ท้องผู้ครองนครเขลางค์ถือพลหนึ่งหมื่นยกไปตีเมืองฝาง

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 24 •มีนาคม• 2012 เวลา 09:01 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
พระเจ้าไชยศิริ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 17 •มีนาคม• 2012 เวลา 15:09 น.•

สืบเนื่องมาจากพระเจ้าพรหมมหาราชที่เคยลงเว็บไซต์ พระเจ้าพรหมมหาราชยับยั้งพักพลอยู่เพียงนั้นชั่วคราว ต่อมาพระเจ้าพรหมก็เลิกทัพกลับไปยังโยนกมหานคร อัญเชิญพระองค์พังคราชพระราชบิดาขึ้นครองราชย์ตามเดิม แล้วทรงตั้งเจ้าชายทุกขิตกุมารผู้พี่ขึ้นเป็นมหาอุปราช ขนานนามพระนครว่า นครไชยบุรี ส่วนพระองค์เสด็จไปสร้างเมืองขึ้นอีกเมืองหนึ่ง เพราะไม่ไว้ใจข้าศึก เกรงจะยกทัพมารุกรานอีก เมืองที่พระเจ้าพรหมทรงสร้างครั้งนี้ เป็นทำเลริมน้ำ แม่น้ำนั้นมีรูปร่างคล้ายฝักฝาง ไหลติดต่อกับแม่น้ำกก เป็นทางที่พวกข้าศึกอาจยกมา เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็ขนานนามพระนครใหม่กว่านี้ เมืองไชยปราการ ปัจจุบันนี้กลายเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่เรียกสั้น ๆ ว่าอำเภอฝาง พระเจ้าพรหมก็เสด็จมาครองราชย์ อยู่ที่นครไชยปราการตอนนั้น แว่นแคว้นโยนกมีสี่มหานครด้วยกัน คือ ไชยบุรีโยนกนครหลวง ๑ เวียไชยนารายน์แคว้นขวา ๑ เวียงไชยปราการแคว้นซ้าย ๑ และเวียงพางคำอีก ๑ พระเจ้าพรหมมหาราช ครั้นได้อภิเษกกับพระนางแก้วสุภา แล้สก็ได้พระราชโอรส ทรงพระนามว่าพระเจ้าไชยศิริกุมาร

•อ่านเพิ่มเติม...•
 
เจ้าเมืองล้านช้างครองเมืองล้านนา •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•ศุกร์•ที่ 16 •มีนาคม• 2012 เวลา 16:03 น.•

เวียงจันทร์จะมีความสัมพันธ์กับเชียงใหม่ในทางใดทางหนึ่งเพราะมีหลายสิ่งหลายอย่างที่คล้ายกันมาก ผิวพรรณ รูปร่างหน้าตา ตลอดจนภาษาพูดและตัวหนังสือ “หนังสือเมือง” ของภาคเหนือ ของภาคเหนือนั้นมีข้อแม้อยู่นิดหนึ่งต้องอธิบาย เพราะตัวอักษรพื้นเมืองปัจจุบันที่มีรูปร่างคล้ายคลึงกับตัวหนังสือพม่าแต่ตัวหนังสือเวียงจันทน์มีส่วนคล้ายกับ “ตัวหนังสือฝักขาม” อันเป็นตัวอักษรพื้นเมืองแบบเก่ามีผู้รู้ท่านหนึ่งสันนิษฐานว่าตัวหนังสือแบบฝักนั้นมีมาก่อนที่เชียงใหม่จะตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า “ความสัมพันธ์” ในรัชสมัยของพระเมืองเกษเกล้าเจ้านครเชียงใหม่มีพระธิดาทรงพระนามว่าเจ้าหญิงยอดคำทิพหรืออีกชื่อหนึ่งเรียกกันว่า “พระนางหอสูง” พระบิดาจัดการให้อภิเษกสมรสกับพระโพธิสาราช ผู้เป็นราชโอรสของพระเจ้ากรุงศรีรัตนาคนหุตล้านช้าง พระนางได้ให้กำเนิดโอรสธิดาหลายพระองค์กับเจ้าชายพระองค์นั้นและองค์ที่มีความสำคัญมีชื่อเสียงมากก็เจ้าชายเชษฐวงศ์ ซึ่งเป็นโอรสองค์แรกในจำนวนโอรสและธิดาทั้งหมดรวมห้าองค์

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 29 •มีนาคม• 2012 เวลา 16:05 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
“ขุนฟ้า” จารบุรุษของพระเจ้าเม็งราย •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 10 •มีนาคม• 2012 เวลา 14:58 น.•

“ขุนฟ้า” จารบุรุษของพระเจ้าเม็งราย ครั้งหนึ่ง พระเจ้าเม็งรายผู้ครองนครเงินยาง ทรงพระราชดำริว่า ราชอาณาจักรล้านนาไทยประเทศนี้ มีท้าวพระยาหัวเมืองซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ดำรงราชครองนครอยู่เป็นสัดส่วนย่อมมีการวิวาทแย่งชิงดินแดน และส่วยไร่ ตลอดจนไพร่พลต่อกันมิได้ขาด หาทางสามัคคีปรองดองกันมิได้ พระเจ้าเม็งรายทรงรำพึงต่อไปอีกว่า ประเทศราชธานีใดถ้ามากเจ้าหลายนาย ไพร่บ้านพลเมืองก็เป็นทุกข์ เนื่องจากมีความระแวงสงสัยซึ่งกันและกันระหว่างผู้เป็นใหญ่ จำตูจะประปรามพระยามหานครทั้งหลายเหล่านี้เข้ารวมกันเข้าเป็นอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวกัน จะได้เป็นความผาสุกแก่ราษฎรภายหน้า ด้วยฉะนี้ พระเจ้าเม็งรายก็ส่งคนไปยังเมืองต่าง ๆ เพื่อขอความร่วมมือในการรวมอาณาจักร ที่เมืองใดไม่เห็นด้วยก็จะแต่งกองทัพไปปราบปราม ถอดเจ้าเมืองออกเสียจากตำแหน่งและตั้งขุนนางของตนขึ้นรั้งตำแหน่งแทน แต่นั้นมาหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งหลายต่างอ่อนน้อมยอมเป็นเมืองขึ้นแต่พระเจ้าเม็งราย ครั้นแล้วผู้ครองนครเงินยางก็คิดจะปราบปรามหัวเมืองฝ่ายใต้ต่อไป ได้ยกกองทัพไปที่ตำบลเต่าร้อย และได้ไปสร้างเมืองเชียงราย ประทับอยู่เมืองใหม่นี้ได้สามปีก็ยกจากมืองเชียงรายไปประทับอยู่ที่เมืองฝางเนื่องด้วยเมืองฝางอยู่ติดกับเมืองหริภุญไชย

•อ่านเพิ่มเติม...•
 
“กาดโถม” นายช่างพระเจ้าเม็งราย •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•จันทร์•ที่ 27 •กุมภาพันธ์• 2012 เวลา 15:28 น.•

“อันชาติใดไร้ช่างชำนาญศิลป์ เหมือนนารินไร้โฉมประโลมสง่า” ผู้เอ่ยคำนั้นออกมาเป็นชายหนุ่ม ซึ่งศึกษาอยู่ในวิทยาลัยเทคนิคแผนกอุตสาหกรรมศิลป และจากคำว่า “ช่าง” นี้เองทำให้นึกไปถึง “ช่างเอก” ในรัชสมัยพระเจ้าเมงรายมหาราช ซึ่งเป็นยุคที่ราชสำนักพระเจ้าเมงรายกำลังรุ่งเรืองด้วยเดชานุภาพอันเกรียงไกรของกษัตริย์แห่งล้านนาประเทศ พระองค์ทรงสร้างความเจริญให้แก่ล้านนาไทยเป็นอันมาก แม้จะทรงเป็นนักรบผู้แกร่งกล้า ก็มิได้ทรงหลงลืมที่จะสร้างความเจริญในด้านศิลปวิทยา ด้านศาสนา และในด้านสร้างสรรค์บ้านเมือง รวมทั้งการแสวงหาผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาการต่าง ๆ เข้ามาในบ้านเมืองเป็นจำนวนมาก

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•จันทร์•ที่ 05 •มีนาคม• 2012 เวลา 11:55 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
เจ้าแสนภู – ผู้รักสันติ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•ศุกร์•ที่ 24 •กุมภาพันธ์• 2012 เวลา 22:27 น.•

ครั้นนั้นพระยาไชยสงครามหรือขุนคราม ราชบุตรพระเจ้าเมงรายได้ขึ้นครองเมืองนครพิงค์เพียงสี่เดือน ทรงจัดการทุกสิ่งทุกอย่างเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็มอบราชสมบัติให้แก่เจ้าแสนภูราชโอรสปกครองแล้วจัดให้พ่อท้าวน้ำท่วมราชบุตรองค์กลางให้ไปครองเมืองฝางส่วนเจ้าท้าวงั่วราชบุตรองค์น้องโปรดให้ไปครองเมืองเชียงของส่วนพระองค์ก็เสด็จไปครองเมืองเชียงรายอย่างเก่า กาลก็ล่วงไปได้ปีหนึ่งไม่มีอะไรเกิดขึ้นต่างทางฝ่ายเจ้าขุนเครื่องซึ่งเป็นอนุชาของพระยาไชยสงครามครองเมืองนายอยู่ครั้งยกเมืองเชียงใหม่ให้ราชนัดดาคือเจ้าแสนภูขึ้งครอบครองดังนั้นก็ไม่พอพระทัยจึงจัดแต่งรี้พลไทยใหญ่ของพระองค์เตรียมพร้อมจะยกมาชิงราชสมบัติ เข้าขุนเครือยกพลมาถึงเวียงกุมกามพักพลอยู่ ณ ทุ่งข้าวสาร ทำเป็นเครื่องบรรณาการของฝากส่งไปถึงเจ้าแสนภูและสั่งบอกไปว่า “อาแต่งเครื่องสักการะมาสำหรับพระบรมศพเสด็จพ่อคือเจ้าเมงรายมหาราชเจ้าอย่าได้สงสัยในตัวอาเลยขอจงให้คนเปิดประตูเวียงเพื่อจักได้ไปบูชาพระบรมศพดังกล่าวแล้วขอให้เจ้าหลานแสนภูจงอยู่เป็นสุขเถิด”

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•ศุกร์•ที่ 24 •กุมภาพันธ์• 2012 เวลา 22:39 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
หมื่นโลกสามล้าน – ยอดขุนศึก •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 19 •กุมภาพันธ์• 2012 เวลา 12:41 น.•

วีรกรรมอันโดดเด่นเต็มไปด้วยความจงรักภักดีของหมื่นโลกสามล้านที่มีต่อราชบัลลังก์ของพระเจ้าติโลกราช ถ้าพระเจ้าติโลกราชไม่ได้ยอดขุนศึกอย่างหมื่นโลกสามล้านคงรักษาราชสมบัติไว้ได้โดยยาก หมื่นโลกสามล้านได้รับพระราชทานอำนาจอาชญาสิทธิ์ดั่งขงเบ้งได้รับจากพระเจ้าเล่าปี่ จึงสามารถบัญชาการรบอย่างเด็ดขาดสามารถรบกับท้าวซ้อยพระอนุชาของพระเจ้าติโลกราชในการแย่งชิงอำนาจการปกครอง จนกระทั่งท้าวซ้อยสิ้นพระชนม์ในสนามรบ  หมื่นเทิงสามขนานเป็นคนชักศึกเข้าบ้านซึ่งนับเป็นมหันตโทษร้ายแรง หมื่นโลกสามล้านก็ได้พิจารณาโทษด้วยตนเอง พอเจ้าหมื่นโลกสามล้านเลิกทัพกลับถึงนครพิงค์ พอดีถึงย่ำค่ำยังไม่ทันจะได้พักผ่อนให้หายเหนื่อย พระเจ้าเหนือหัวมีรับสั่งให้เข้าเฝ้าปรึกษาราชการเรื่องศึกกรุงศรีอยุธยาที่กำละงจะยกทัพมาทันที พระเจ้าติโลกราชทรงปรารภว่า พระองค์ก็เพิ่งจะปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ใหม่ บ้านเมืองก็ยังไม่เรียบร้อย เมื่อมีศึกติดพระนครดังนี้ จะทำประการใดดี หมื่นโลกสามล้านซึ่งเป็นพระเจ้าอาของเจ้าเหนือหัวติโลกราชก็กราบทูลว่า “ขอเจ้าเหนือหัวอย่าได้ร้อนพระทัยไปเลย ข้าพระพุทธเจ้าจะขออาสายกกองทัพออกไปตั้งรบกองทัพอโยธยาไว้แต่ไกล มิทันให้ล่วงล้ำถึงนครพิงค์ได้ เบื้องว่าเจ้าอยู่หัวได้ขึ้นครองราชย์ใหม่ ผู้ใดจะรักบ้างชังบ้างมิรู้ทีจึงขอให้รักษาพระองค์อยู่ในเวียง และแต่งการป้องกันศัตรูภายในไว้ให้จงมั่น และขอจงโปรดพระราชทานบำเหน็จรางวัลให้แก่ผู้ไปราชการทัพ ในเมืองฝางให้ทั่วถึง จะได้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจทหารหาญให้มีใจภักดียิ่งขึ้น พระเจ้าติโลกราชก็ปฏิบัติตามคำแนะนำทุกประการ”

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 17 •มีนาคม• 2012 เวลา 17:58 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
พระชนนีออกศึก •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 18 •กุมภาพันธ์• 2012 เวลา 09:40 น.•

ครั้งนั้นเจ้าท้าวลกได้ขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ ทรงพระนามว่าพระเจ้าติโลกราช เป็นบุตรองค์ที่หกของพระเจ้าสามฝั่งแกนในราชวงศ์เมงราย เป็นเจ้าเหนือหัวเมืองเชียงใหม่ที่ทรงพระปรีชาสามารถและมีบุญญาธิการยิ่งนัก ในรัชสมัยของพระองค์เต็มไปด้วยเหตุการณ์อันน่าสนใจหลายสิ่งหลายอย่าง ทั้งในด้านการเมืองและการศาสนา และการศึกสงครามซึ่งยุคนั้นไทยยังไม่ได้รวมกันเป็นกลุ่มก้อน โดยเฉพาะในแว่นแคว้นแดนล้านนาไทยเองก็ยังแยกกันครอบครองนครเป็นเอกเทศไม่ขึ้นต่อกันที่ตำหนักของพระมหาเทวีซึ่งดำรงตำแหน่งพระราชชนนีรัชกาลพระเจ้าติโลกราชคงร่ำตลบอบอวลไปด้วยกลิ่นน้ำอบน้ำปรุงและกลิ่นสุคนธรสเฟื่องฟุ้งขจรขจายนางข้าหลวงปะรจำพระองค์ต่างก็สาละวนกับการปักสะดึงตรึงไหมบ้างก็ปั่นด้ายบ้างก็ทอผ้าบ้างก็ปักลวดลายลงพื้นไหมปนกำมะหยี่เป็นลวดลายอันบรรเจิดตระการตา

•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วีรสตรีแห่งลุ่มน้ำระมิงค์ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 11 •กุมภาพันธ์• 2012 เวลา 16:44 น.•

เชียงใหม่คือถิ่นไทยงามคือแดนดอกเอื้องเมืองแหน่งวัฒนธรรมเชียงใหม่ที่สันกำแพงและลำพูนมีเครื่องเงินเครืองเขินและช่างไม้ มีร่ม มีกุหลาบ มีลำไย ประวัติศาสตร์ก็มีวีรสตรีชาวเชียงใหม่ชื่อนางเมือง นางเมืองคนนี้เป็นภรรยาของเจ้าหมื่นโลกนครแม่ทัพคนสำคัญของพรเจ้าแสนเมืองมากษัตริย์แห่งนครพิงค์ พระเจ้าแสนเมืองมามีพระชนมายุเพียงสิบสี่พรรษาก็ได้ขึ้นเถลิงราชสมบัติสืนสนองพระราชบิดาคือท้าวกือนาซึ่งเสด็จทิวงคตที่นครพิงค์เชียงใหม่ มีเจ้าทาวมหาพรหมผู้ครองเมืองเชียงรายซึ่งเป็นพระอนุชาของพ่อท้าวกือนาได้ทราบข่าวพระเชษฐาทิวงคตและพระราชบุตรได้สืบราชสมบัติก็ไม่พอพระทัยจักแจงยกรี้พลมาเป็นอันมากเพื่อจะแย่งราชสมบัติจากเจ้าแสนเมืองมา เจ้าท้าวมหาพรหมยกโยธาไปตั่งอยูที่หนองพะชีแล้วให้ใช้คนไปบอกแก่อัครมหาเสนาที่ชื่อแสนผานอง ว่าจะขอเข้าไปถวายบังคมพระบรมศพพระเจ้ากือนา แสนผานองนั้นทราบระแคะระคายมาแล้วก็ตอบไปว่า จะได้จัดพิธีรับรองให้สมพระเกียติยศแล้วท่านอัครมหาเสนาแสนผานองก็จัดกำลังพลหมื่นหนึ่งขึ้นประจำรักษาพระนครและจัดอีกกองหนึ่งตั้งไว้นอกเมืองให้ตีฆ้องกลองโห่ร้องเอิกเกริกไปเป็นโกลาหลเจ้าท้าวมหาพรหมรู้ทันเหมือนกันว่าเขาเตรียมรับมือก็เลยถอยทัพไปลงไปทางใต้กวาเอาครัวชาวเวียงกุมกามไปด้วยมีผู้หญิงเด็กแล้วก็ข้าวของเงินทองอีกบ้างยกเลยไปตั้งที่ริมน้ำแม่ขานเดี๋ยวนี้อยู่เขตอำเภอจอมทองแสนผานองก็ให้หมื่นนครคุมทหารอยู่รักษาเมืองตัวเองคุมพลเจ็ดพันยกตามไปต่อตีกับเจ้าท้าวมหาพรหมไปทันกันเวลาเที่ยงคืนต่อสู้กัน

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•จันทร์•ที่ 13 •กุมภาพันธ์• 2012 เวลา 16:15 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
กำเนิดติโลกราช •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 05 •กุมภาพันธ์• 2012 เวลา 22:45 น.•

ในสมัยโบราณราชบัลลังก์ก็มักจะเปรอะเปื้อนด้วยความโลหิตและบ่อยครั้งทีเดียวที่พี่แย่งสมบัติของน้อง อาแย่งสมบัติหลานมหาอำมาตย์ผู้ใหญ่คิดคดทรยศต่อเจ้าเหนือหัว แต่นครพิงค์มีกษัตริย์องค์หนึ่งแย่งราชสมบัติจากพระราชบิดาของพระองค์เองผู้นั้นคือ เจ้าท้าวลก (เป็นชื่อภาษาไทยแท้ๆบริสุทธิ์ไม่มีภาษาแขก ภาษาเขมรมาเจือปน) พระเจ้าสามฝั่งแกนกษัตริย์นครพิงค์พระองค์นี้มีราชบุตรถึงสิบพระองค์ องค์แรกชื่อท้าวอ้าย แล้วก็ท้าวยี่ ท้าวสาม ท้าวไส ท้าวงั่ว ท้าวลก ท้าวเจ็ด ท้าวแปด ท้าวเก้า และท้าวสิบหรือท้าวซ้อยเป็นองค์สุดท้าย แรกก็ทรงตั้งท้าวอ้ายผู้พี่เป็นอุปราชเป็นรัชทายาทผู้จะสืบสันติวงศ์ ส่วนท้าวอ้ายบุญน้อยดำรงตำแหน่งอุปราชอยู่มาได้สองปีก็สิ้นพระชนม์

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•จันทร์•ที่ 06 •กุมภาพันธ์• 2012 เวลา 00:13 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
พ่อขุนงำเมืองผู้ครองแผ่นดินโดยธรรม •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•จันทร์•ที่ 30 •มกราคม• 2012 เวลา 13:28 น.•

มีบ้างไหมที่เจ้านครได้สดับข่าวศึกประชิดชายแดนแล้วกลับตั้งพระทัยอยู่ในความสงบ ดำริที่จะต่อรบด้วยธรรมยุทธและแล้วก็ได้ชัยชนะด้วยธรรมยุทธนั้น นามของท่านคือ “พ่อขุนงำเมือง” หรือ “พ่อขุนงำเมือง ธรรมิกราช” แห่งอาณาจักรพะเยา อันที่จริง วีรบุรุษแห่งการสงครามนั้นมีมาก แต่วีรบุรุษผู้พยายามรักษาไว้ซึ่งแสนยานุภาพนั้น เรามักไม่ค่อยเห็นหรือไม่ค่อยได้ยินเท่าไหร่นัก ยุคนั้นเป็นยุคของการแสวงหาอำนาจ ชาวไทยแตกเป็นก๊ก ล้านนาไทยเราแบ่งออกเป็น ๓ ก๊ก หรือ ๓ รัฐ มีรัฐหิรัญนครเงินยาง ปกครองโดยพระเจ้าเม็งรายมหาราช รัฐพะเยา มีพ่อขุนงำเมืองปกครอง รัฐหริภุญไชย ปกครองโดย พญายี่บา แห่หริภุญไชยตอนหลังถูกพระเจ้าเม็งรายยาตราทัพมาบุกตะลุยและยึดครองเสียเอง จึงเหลือเพียง ๒ รัฐ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•จันทร์•ที่ 30 •มกราคม• 2012 เวลา 16:35 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
พระเจ้าอาทิตยราชกับพญากาเผือก •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 21 •มกราคม• 2012 เวลา 23:06 น.•

เรื่องนี้สืบเนื่องมาจากเมื่อครั้งที่เมืองลำพูนมีไก่ขาววิเศษภายหลังจากที่พระเจ้าอาทิตยราชทรงมีชัยชนะต่อกรุงละโว้ แล้วต่อมาทรงมีรับสั่งให้พวกช่างเนาวกรรมทำปราสาทขึ้นใหม่หลังหนึ่งแล้วปลูกหอจัณฑาคารที่ลงพระบังคนไว้ ณ ที่ใกล้ปราสาทนั้น ครั้นสำเร็จเสร็จเรียบร้อยและเสด็จขึ้นประทับบนปราสาทหลังใหม่ พระเจ้าอาทิตยราชก็ได้ประสบกับสิ่งแปลกประหลาดเป็นที่ยิ่งเนื่องจากมีกาตัวหนึ่ง คอยตามรบกวนเวลาที่พระองค์เสด็จไปลงพระบังคนที่หอนั้น ทุกครั้งที่พระเจ้าอาทิตยราชเสด็จไปเพื่อกิจดังกล่าว การเจ้ากรรมตัวนั้นก็จะบินโฉบไปโฉบมาเหนือพระเศียรเป็นที่น่ารำคาญยิ่งนัก ทิวากาลวันหนึ่ง พระเจ้าอาทิตยราช เสด็จไปลงพระบังคนตามปกติ กานั้นก็โผโฉบเฉียดพระเศียรไปมาดุจแกล้ง ซ้ำยังสลัดสิ่งสกปรกตกต้องพระเศียรเสียอีก พระเจ้าอาทิตยราชทรงพิโรธถึงขีดสุด จึงมีรับสั่งให้อำมาตย์ราชบุรุษเข้ามาเฝ้ายังที่ประทับ ณ ปราสาทแห่งใหม่นั้น

•อ่านเพิ่มเติม...•
 
พระเจ้าเม็งรายกำเนิด •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พุธ•ที่ 18 •มกราคม• 2012 เวลา 22:33 น.•

ครั้นนั้น เมืองหิรัญนครเงินยางมีพวกราชวงศ์สืบต่อมาจากขุนเจื๋องได้ครองสมบัตินับตั้งแต่ลาวเงินเรือง ราชบุตรขุนเจื๋องครองราชย์สมบัติได้ ๒๖ ปีก็ทิวงคตไป สืบต่อมาก็มีโอรสนัดดาสืบราชสมบัติขัตติวงศากันต่อ ๆ มาจนถึงสี่ชั่วราชวงศ์ จนมาถึงรัชสมัยของพระยาลาวเมืองได้ครองราชย์สมบัติ ครองเมืองหิรัญนครเงินยางเชียงราวอันยิ่งใหญ่ ประกอบไปด้วยเดชานุภาพบุญญาบารมี ด้วยราชวงส์ขุนเจื๋องนั้นเป็นที่เลื่องลือมาตั้งแต่บรรพบุรุษคือขุนเจื๋องซึ่งเคยปราบข้าศึกศัตรูมาตลอดรัชสมัยของพระองค์กระทั่งต้องอาวุธสูญเสียพระชนม์ชีพในที่รบเมื่อพระชนมายุได้ ๗๗ พรรษา พระยาลาวเมืองและพระมเหสี

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 21 •มกราคม• 2012 เวลา 23:17 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
มหาราชองค์แรกผู้พิชิตขอม •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 12 •มกราคม• 2012 เวลา 22:33 น.•

พุทธศาสนากาลล่วงแล้วได้ ๑๔๖๑ พรรษา มหานครโยนกภายใต้การปกครองของพระองค์พังคราช หย่อนอำนาจลง พวกขอมเมืองเสลากลับกำเริบตั้งแข็งเมืองขึ้น เจ้านครโยนกไม่สามารถจะปราบปรามเอาชนะได้ พวกขอมซึ่งมีกำลังรีพลกล้าแข็งก็ยกเข้าตีป้อม เอานครโยนกไว้ได้ พระยาขอมขับพระองค์พังคราชกับราชเทวีออกไปอยู่ที่เวียงสีทวงริมน้ำแม่สายทิศตะวันตกเฉียงเหนือแห่งโยนกแล้วขอมก็เข้าเมืองเป็นใหญ่อยู่ในเวียงโยนกตั้งแต่บัดนั้นหนึ่งปีที่เมืองเวียงสีทวง ราชเทวีแห่งองค์พังคราชก็ประสูติราชกุมารองค์หนึ่ง พระบิดาผู้นิราศจากวังเวียงออกมาอยู่ ณ เวียงน้อยทรงปรารภกับชายาว่า “ลูกเราเกิดมาในยามที่เราได้รับทุกขเวทนาต้องพลัดที่นาคลาที่อยู่ จำจะให้ชื่อว่า เจ้าชายทุกขิตกุมาร” องค์พังคราชทรงเอ็นดูพระโอรสองค์นี้มาก เพราะทรงรู้สึกผิดที่ทำให้พระราชเทวีและพระโอรสต้องลำบากเพราะความ ไม่เข้มแข็งของพระองค์ พระเจ้าพังคราช ทรงรวบรวมไพร่พลและชาวบ้านที่จงรักภักดี สถาปนาเมืองใหม่ ตั้งอยู่ ณ ที่ เวียงสีทวง นี้ โดยเป็นเมืองขึ้น ที่ต้องส่งส่วยแก่ขอม และขอมจะไม่ยกทัพมารุกรานอีกหากเวียงสีทวงยังคงส่งส่วยไปให้ตามกำหนด

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อาทิตย์•ที่ 19 •กุมภาพันธ์• 2012 เวลา 13:48 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ขุนเจื๋อง วีรบุรุษแห่งการสงคราม •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•จันทร์•ที่ 09 •มกราคม• 2012 เวลา 22:07 น.•

ขุนเจื๋องราชบุตรผู้เกิดมาในราศีอันประเสริฐของขุนจอมธรรมแห่งเมืองภูกามยาวหรือพะเยา ผู้เกิดมามีเทพยาดานำเอาแส้ทิพ ดาบทิพ และคณฑีทิพ มาวางไว้ข้างพระวรกาย และผู้เป็นที่โหรทำนายว่าจะได้เป็นจักรพรรดิราชปราบชมพูทวีป “ขุนเจื๋องเป็นวีรบุรุษแห่งการสงคราม” เมื่อพระองค์มีพระชนมายุได้สามขวบปี พระมารดาก็ประสูติราชบุตรอีกองค์หนึ่งพระบิดาพระราชทานนามว่า “ขุนชอง” พระกุมารทั้งสองครั้นเจริญวัยขึ้นมาก็ได้ศึกษาศิลปศาสตร์เชิงช้างเชิงม้าและเพลงอาวุธต่าง ๆ จนเชี่ยวชาญชำนาญ พอพระชนมายุได้สิบหกพรรษา ขุนเจื๋อง ได้ออกไปคล้องช้างที่เมืองน่าน พระยาน่านชื่อว่า “พละเทวะ” เกิดชอบพอพระทัยจึงยกราชธิดาทรงนามว่า “จันทรเทวี” ให้เป็นชายาของขุนเจื๋อง ต่อมาขุนเจื๋องเสด็จคล้องช้างที่เมืองแพร่ พระยาแพร่ก็ยกธิดาชื่อว่า “นางแก้ว” กษัตรีให้เป็นชายาอีก ขณะนั้นพระองค์ยังมีอายุเพียงสิบกว่าปีถือว่ายังเยาว์วัยมาก (คนโบราณเขาว่าสูงใหญ่กว่าคนปัจจุบันมาก)

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พุธ•ที่ 11 •มกราคม• 2012 เวลา 21:17 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•