ค้นหาบทความ
ราคาน้ำมันวันนี้
จำนวนนับผู้เข้าเยี่ยมชม
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้255
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้905
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้3204
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว3015
mod_vvisit_counterเดือนนี้8630
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว15525
mod_vvisit_counterรวมผู้เข้าชม2256861

ออนไลน์ (20 นาทีที่แล้ว): 13
หมายเลข IP : 3.140.198.173
MOZILLA 5.0,
วันที่ : 19 •เม.ย.•, 2024
ล้านนาแพร่ประชาสัมพันธ์
Vinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo Slider
อำเภอเมืองแพร่
วัดทุ่งโห้งเหนือ อำเภอเมือง •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 05 •สิงหาคม• 2012 เวลา 14:37 น.•

"วัดเหนือ" หรือ "วัดทุ่งโห้งเหนือ" ที่ชาวพวนบ้านทุ่งโฮ้งเรียกขานกันมานาน ด้วยภาษาและวัฒนธรรมอันเรียบง่าย บทความนี้จะพาผู้อ่านท่องเที่ยวบ้านทุ่งโฮ้งไปยังวัดทุ่งโฮ้งเหนือกัน พระพุทธรูปปูนปั้น ที่สร้างขึ้นโดยศรัทธาของชาวพวนบ้านทุ่งโฮ้ง ร้อยกว่าปีมาแล้ว เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย อิริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาวางบนพระชานุ (เข่า) นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงพื้นธรณี พระพักตร์ยิ้ม ใบหน้าอิ่มเอิบไปด้วยบารมี เดิมพระประธานมีเพียง ๑ องค์ ภายหลังมีผู้ศรัทธาสร้างถวายอีก ๓ องค์รวมเป็น ๔ องค์ ในฐานเดียวกันซึ่งหมายถึง พระพุทธเจ้าที่อุบัตในภัทรกัลป์นี้ จำนวน ๔ องค์ เรื่องราวความศักดิ์สิทธิ์และอภินิหารมีเล่าลือกันมามากมาย เช่น ในวันพระที่พระจันทร์เพ็ญ มักจะได้ยินเสียงสวดมนต์หรือไม่ก็เห็นลูกแก้วลอยออกจากพระอุโบสถ ลอยไปยังพระอุโบสถหลังเดิม (โรงเรียนทุ่งโฮ้งฯเดิม) บ้างก็เล่าว่ามีผู้พบเห็นชายชรารูปร่างสง่างามมีรัศมีเปล่งปลั่งนุ่งขาวห่ม ขาวเข้ามาหาหลวงพ่อแล้วก็หายไปตรงพระพักตร์ของพระพุทธรูปองค์นี้ และที่สำคัญชาวบ้านทั่วไปที่มากราบไหว้บูชาต่างประสบลาภผลในการทำมาหากิน และด้าน โชคลาภ และในยามที่จะต้องไปเผชิญโชค หรือมีปัญหาก็จะตั้งจิตอธิษฐานให้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดีซึ่งก็มักเป็นผล ชาวบ้านบางคนไปกราบขอพรมาได้ไม่ถึงสัปดาห์ก็มีโชค แบบลาภลอย บ้างก็เชื่อกันว่า ผู้ใดได้กราบสักการบูชา ในภพนี้ นอกจากได้ในสมปรารถนาแล้ว แรงอธิฐานยังส่งผลเมื่อเกิดในภพหน้า จะเป็นผู้ที่เปี่ยมไปด้วยความสุข มีใบหน้าที่งดงาม ผิวพรรณผ่องใส มีคนรักคนหลง ด้วยเพราะบารมีจากการกราบสักการะขอพรจากพระพุทธรูปนั่นเอง

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 10 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 22:43 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดสันป่าสัก อำเภอเมือง •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•ศุกร์•ที่ 15 •มิถุนายน• 2012 เวลา 19:47 น.•

วัดสันป่าสัก เลขที่ ๑๒๘ หมู่ที่ ๘ ตำบลแม่คำมี อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ๕๔๐๐๐ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ได้รับพระราชทาน วิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๒๕ เขตวิสุงสีมากว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร ประกอบพิธีผูกพัทธศรีมา ฝังลูกนิมิต เมื่อวันที่ ๒๓-๒๖  เมษายน ๒๕๒๖ มีเนื้อที่ ๔ ไร่ ๒ งาน ๒๖ ตารางวา มีเอกสารสิทธิ์  เป็นโฉนดเลขที่ ๑๖๘ ถ่ายทางอากาศหมายเลข ๕๐๔๐ แผ่นที่ ๔๐ พ่อเปียง วิใจคำ อายุได้ ๘๐ ปี เกิดที่บ้านสันป่าสักหมู่ที่ ๑ ตำบล แม่คำมี อำเภอ เมือง จังหวัด แพร่ ได้เล่าประวัติบ้านสันป่าสัก ได้รับฟังมาจากคนเฒ่าคนแก่ว่าเดิมทีย้ายมาจากไหนก็ไม่รู้มาตั้งอยู่บริเวณฝั่งขวาตอนหนึ่งของแม่น้ำคำมี บริเวณเป็นป่าสักใหญ่เท่าที่ตอมันปรากฏอยู่ไม้สักแต่ละต้นอายุประมาณ ๑๐๐ ปี เลยตั้งชื่อว่า บ้านสันป่าสัก อยู่ได้นานกี่ปีก็ไม่รู้ พอสร้างวัดแล้วตอนหลัง ๆ อยู่ไม่ได้เพราะว่าน้ำท่วมเลยย้ายมาอีกฝากหนึ่งคือบ้านปัจจุบันนี้ ตอนนี้พอจะสืบได้ว่าประมาณ ๑๐๕ ปี เพราะตอนนี้ย้ายมาจากฝากโน้นมานี้ก็มาสร้างวัดปีนั้นเลย ดูจากทะเบียนวัดจากเจ้าคณะอำเภอว่า วัดสันป่าสัก นี้สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑ เมื่อย้ายมาตั้งบ้านใหม่ก็ยังใส่ชื่อว่าบ้านสันป่าสักอย่างเดิมทั้งที่มีต้นสักเลยตอนย้ายมา ใหม่ยังเอาต้นสักมาปลูก ๒ - ๓ ต้น ตอนนั้นบ้านสันป่าสักมี ๒๑๒ หลังคาเรือน มีประชากร ๑๐๐๐ กว่าคนประกอบอาชีพทำไร่ทำนา ปลูกข้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง ปลูกยาสูบและเลี้ยงสัตว์

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 10 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 22:43 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดต้นม่วง อำเภอเมือง •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พุธ•ที่ 13 •มิถุนายน• 2012 เวลา 18:04 น.•

วัดต้นม่วง ตั้งอยู่ตำบลแม่คำมี อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ อยู่ทิศเหนือสุดเขตอำเภอเมือง เหตุที่ชื่อต้นม่วงเพาะในที่ใกล้จะสร้างวัดได้มีต้นม่วงกล้วยต้นหนึ่งใหญ่ประมาณ ๒๐ กำสูงประมาณ ๒๐ วาเศษ มีกิ่งก้านสาขา เป็นที่ร่มเย็นมาก ชาวบ้านถือเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ จึงขนานนามว่าวัดต้นม่วง อีกในหนึ่งคือตั้งอยู่ใกล้น้ำแม่คำมี ได้เริ่มสร้างขึ้นเมื่อเดือน ๑๐ เหนือ ปีจอ ตรงกับ ร.ศ. ๑๐๕ จ.ศ. ๑๒๔๘ พ.ศ. ๒๔๒๙ หลักฐานเหล่านี้ปรากฏตามศิลาจารึก อันพญาคำลือได้จารึกไว้ที่ฐานพระประธาน ว่าจุลศักราช ๑๒๔๘ ตัวปีวาย (เสร็จปีจอ) เดือนยี่เป็ง (สิบสองเป็งวัน ๔  พุธ) ไตยกาบสี มูลศรัทธาเจ้าคำลือเป็นเก้า พร้อมด้วยลูกเต๋า (บุตรธิดา) ทุกคน หนปายนอกมายมี ปู่หนานปั๋นติ ปู่แฮด หนานอุต หนานยาวิไชย หนานทิ หนานธัมมะลังกา นางสา นางเกี้ยว สร้างยังพระพุทธรูปเจ้าขึ้น องค์หนึ่งไว้หื้อเป็นตี่ไหว้ เมื่อเดือน ๑๐ เหนือ ขึ้น ๑๔ ค่ำ วันอังคาร พ.ศ. ๒๔๒๙ พญาคำลือ เป็นหัวหน้าได้ไปนิมนต์ พระเตชะ เตชปญฺโญ อันเป็นพระหลานชายของตน ได้อุปสมบทอยู่ที่วัดสันป่าสัก ตำบลเดียวกัน มาเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดต้นม่วง วัดต้นม่วงสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๘๑ เขตวิสุงคามสีมากว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร ประกอบพิธีผูกพัทธเมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๓ ที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ประมาณ ๓ ไร่ ๑ งาน ๐.๓ ตารางวา ตามเอกสารสิทธิ์โฉนดเลขที่ ๑๑๓๐ มีสิ่งปลูกสร้างคือ อุโบสถ กุฏิเจ้าอาวาส กุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ หอฉัน โรงเก็บเก้าอี้ หอกลอง บ่อน้ำ ประปา เวจกุฏิ (สุขา) แท้งน้ำ ห้องวัสดุ รายนามเจ้าอาวาส

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 10 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 22:44 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
บ้านและวัดวังช้าง อำเภอเมือง •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พุธ•ที่ 13 •มิถุนายน• 2012 เวลา 16:43 น.•

ประวัติบ้านวังช้าง ตำบลแม่คำมี อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ จากคำบอกเล่าของอดีตพ่อกำนันเครือ กันยะมี ได้บอกเล่าลงในหนังสือ ประวัติของจังหวัดแพร่ดังนี้ บ้านวังช้างสร้างทีหลังบ้านสันป่าสักและต้นม่วงสองสามปี แต่เดิมมีต้นต่ออยู่บ้านสันป่าสักตำบลหนองม่วงไข่ แต่ไม่สะดวกหลายด้านเกี่ยวกับน้ำท่วมบ้างและช้างบ้างซึ่งเป็นช้างของเจ้าหลวงที่มีจำนวนมากมารบกวนพืชผลที่ปลูกไว้ ไม่รู้จะทำยังไงก็เลยย้ายมาฝั่งปัจจุบันนี้ โดยการย้ายที่ทำไร่ทำสวนตามริมน้ำพอนานเข้ากลายเป็นชุมชนหมู่บ้านโดยตั้งชื่อว่าบ้านวังช้างมีแม่น้ำแม่คำมีซึ่งบริเวณน้ำมีวังลึกเป็นดงช้างเผือกมาอาศัยดื่มน้ำที่วังแห่งนี้ (เป็นคำบอกเล่าข้องผู้เฒ่าผู้แก่สืบกันมา) ผู้ใหญ่บ้านคนแรกคือนายวิชิน สุขทั่วญาติเป็นผู้ใหญ่คนแรก คนที่สองคือ นายวิชา เสนาสุทธิพรรณ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 10 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 22:44 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
อนุสรณ์และวัดวังหงส์ อำเภอเมือง •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 17 •พฤษภาคม• 2012 เวลา 09:58 น.•

ประวัติของบ้านวังหงส์นั้นไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดเป็นลายลักษณ์อักษรของการตั้งหมู่บ้านเป็นตำนานสืบสานเล่าต่อกันมาว่า บ้านวังหงส์ตั้งขึ้นมาก่อน พ.ศ.๒๔๔๐มีอายุถึงปัจจุบัน ๒๐๐กว่าปี ราษฎรที่อาศัย      ที่ตั้งหลักฐานดั้งเดิม ซึ่งเป็บรรพบุรุษของชาวตำบลวังหงษ์ ตามประวัติอพยพมาจากบ้านน้ำคือ บ้านเชตะวัน บ้านประตูมาร ตำบลในเวียงอำเภอเมือง จังหวัดแพร่ โดยมาประกอบอาชีพทำไร่ข้าวโพด ปลูกข้าวและพืชไร่อื่น ๆ ในพื้นที่ใกล้กับหนองน้ำซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ มีน้ำใสสะอาด และลึกมาก เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วังน้ำลึก หนองน้ำดังกล่าวเกิดจากการเปลี่ยนทิศทางของแม่น้ำยม ในหนองน้ำมีสัตว์นานาชนิดอาศัยอยู่มากมาย บริเวณรอบ ๆ หนองน้ำมีป่าไม้ขนาดใหญ่นานาชนิดขึ้นหนาแน่นเขียวชะอุ่มอยู่ตลอดปี ในสมัยก่อนหมู่บ้านแห่งนี้ยังไม่มีนามบ้าน และยังไม่ได้จัดตั้งเป็นหมู่บ้านและตำบลเช่นทุกวันนี้ อยู่มาวันหนึ่งมีหงษ์ขาวบริสุทธิ์รูปร่างสวยงามมาก จำนวนสองตัว ตัวผู้กับตัวเมีย พากันบินลงมาเล่นน้ำอย่างสนุกสนาน แล้วจึงบินลับไป ซึ่งเป็นภาพที่มหัศจรรย์ที่ชาวบ้านไม่เคยพบเห็นมาก่อน จึงปรึกษากันว่าจะตั้งชื่อหนองน้ำนี้ว่า "หนองหงษ์" และตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านหนองหงษ์"

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 22 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 16:01 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดสระบ่อแก้ว •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 23 •ตุลาคม• 2011 เวลา 00:00 น.•

ตั้งอยู่เลขที่ ๑๓๘ ถนนน้ำคือ ตำบลในเวียง อำเมืองแพร่ จังหวัดแพร่  เป็นวัดที่มีศิลปะการก่อสร้างเป็นแบบพม่าและเป็นวัดที่ชาวพม่าสร้างขึ้นเพื่อปฏิบัติกิจทางศาสนา ประวัติความเป็นมา มีชนชาวพม่า ๓ เผ่าคือเผ่าพม่า เผ่าต่อสู้ และเผ่าไทยใหญ่หรือเงี้ยวที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารเพื่อค้าขาย ทำงานในบริษัทที่ได้รับการสัมปทานการทำไม้และขุดพลอยที่ตำบลบ่อแก้ว ต่อมาได้ภรรยาเป็นคนไทย ต่างก็นับถือพุทธศาสนาเช่นเดียวกับคนไทยในจังหวัดแพร่ แต่มีพิธีกรรมต่างๆ ที่แตกต่างจากชาวไทยทำให้มีอุปสรรคทั้งการใช้ภาษา ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมในการบำเพ็ญกุศลตลอดจนถึงทำนองในการสวดมนต์ไหว้พระแม้แต่ภาษาบาลีก็ไม่เหมือนกับพระสงฆ์ไทยชาวพม่าจึงได้ร่วมใจกันสร้างวัดของแต่ละกลุ่มชนขึ้นเพื่อเป็นที่ทำบุญบำเพ็ญกุศลของตนขึ้นดังนี้

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อังคาร•ที่ 05 •มีนาคม• 2013 เวลา 19:31 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
<< •เริ่มแรก• < •ย้อนกลับ• 1 2 •ถัดไป• > •สุดท้าย• >>

•หน้า 2 จาก 2•