ค้นหาบทความ
ราคาน้ำมันวันนี้
จำนวนนับผู้เข้าเยี่ยมชม
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้317
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้731
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้3549
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว4342
mod_vvisit_counterเดือนนี้13317
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว15525
mod_vvisit_counterรวมผู้เข้าชม2261548

ออนไลน์ (20 นาทีที่แล้ว): 10
หมายเลข IP : 3.129.211.87
MOZILLA 5.0,
วันที่ : 27 •เม.ย.•, 2024
ล้านนาแพร่ประชาสัมพันธ์
Vinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo Slider
อำเภอลอง
ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๔๕ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•อังคาร•ที่ 11 •มิถุนายน• 2013 เวลา 22:19 น.•

กลุ่มทายาทเจ้าเมืองลองกับการรื้อฟื้นความเป็น “เจ้า” และความเป็นเมืองลอง กลุ่มเชื้อสายเจ้าเมืองลองได้เป็นกลุ่มแรกเริ่ม ที่แสดงออกของสำนึกท้องถิ่นอย่างชัดเจนในอำเภอลอง ดังปรากฏมีการสร้างและรื้อฟื้นความเป็นเมืองลองมาตั้งแต่ทศวรรษ ๒๔๙๐ ผ่านการนำตำนานพระธาตุศรีดอนคำและเขียนประวัติเมืองลองจัดพิมพ์เป็นหนังสือ แต่ทว่าก็ไม่ได้ปรากฏว่ามีกลุ่มทายาทได้พยายามรื้อฟื้นหรือแสดงความเป็น “เจ้า” ในช่วงระยะเวลานี้ มีเพียงนำเรื่องราวของเจ้าเมืองลองผู้เป็นต้นตระกูลมาเขียนแสดงถึงวีรประวัติ เพื่อแสดงให้เห็นถึงคุณูปการอันยิ่งยวดต่อเมืองลองและชาวเมืองลองในอดีตที่ผ่านมา จนกระทั่งในทศวรรษ ๒๕๔๐ จึงเกิดกระแสรื้อฟื้นความเป็น “เจ้า” ขึ้นทั่วทุกหนแห่ง โดยเฉพาะทายาทเจ้าผู้ครองนครและเจ้าเมืองในภาคเหนือ(ล้านนา)ด้วยมีปัจจัยการเกิดกระแสที่หลากหลายประการ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พุธ•ที่ 19 •มิถุนายน• 2013 เวลา 09:32 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๔๔ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•อังคาร•ที่ 11 •มิถุนายน• 2013 เวลา 19:35 น.•

การรื้อฟื้นเมืองลองผ่าน “ผ้าจกเมืองลอง” : มรดกทุนทางวัฒนธรรม “เจ้า” ทุนวัฒนธรรมความเป็นเจ้าของเมืองลองที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นอันดับแรกคือ “ซิ่นตีนจกเมืองลอง” ที่เริ่มปรากฏนำมาผูกติดกับเศรษฐกิจเป็นสินค้ามาตั้งแต่ช่วงทศวรรษ ๒๔๘๐ แต่ซื้อขายระหว่างกันเฉพาะคนภายในอำเภอลองเท่านั้นและราคาไม่สูงมากเพียงผืนละ ๑ บาทจนกระทั่งทศวรรษ ๒๕๒๐ จึงเริ่มแพร่หลายสู่ภายนอกด้วยการส่งเสริมของสมเด็จพระนางเจ้าบรมราชินีนาถ และค่อยตื่นตัวอย่างมากในช่วงทศวรรษ ๒๕๔๐ เมื่อมีหลายหน่วยงานต่างเข้ามาให้การผลักดันทั้งศูนย์ศิลปาชีพบางไทร มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ ที่เนื่องจากเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศไทยที่แต่ละพื้นที่ได้รับผลกระทบไปทั่ว จึงมีการโหยหาย้อนกลับไปอดีตรวมถึงการนำเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสร้างเป็นสินค้าขึ้น “ซิ่นตีนจกเมืองลอง” เกิดจากการผสมผสานระหว่างตีนจกของท้องถิ่นเมืองลองกับตีนจก เมืองลำปาง และภายหลังผสมผสานกับตีนจกเมืองเชียงแสนมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๒๔ ดังชื่อลวดลายตีนจกเมืองลองปรากฏชื่อเมืองลำปางและเชียงแสน เช่น ลายขันละกอน ลายขันเชียงแสน ฯลฯ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 13 •มิถุนายน• 2013 เวลา 14:42 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๔๓ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•จันทร์•ที่ 03 •มิถุนายน• 2013 เวลา 10:26 น.•

พญาขัณฑสีมาโลหะกิจ : วีรบุรุษเมืองลองผู้ภักดีต่อชาติไทย พญาขัณฑสีมาโลหะกิจ(เจ้าหนานคันธิยะ โลหะ) เป็นเจ้าเมืองลองคนสุดท้าย ที่ถือว่าเป็นสัญลักษณ์สำคัญประการหนึ่งของความเมืองลอง ขณะเดียวกันด้วยโลกทัศน์ของคนรุ่นปัจจุบันแทบทั้งหมดมองว่าเมืองลองคืออำเภอลอง เป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย และมีพระมหากษัตริย์ไทยในราชวงศ์จักรีเป็นประมุข ดังนั้นวิธีการรื้อฟื้นให้เจ้าเมืองลองมีบทบาทมีสถานะความสำคัญได้อย่างมีอิทธิพลที่สุด คือเชื่อมโยงให้เข้ากับพระมหากษัตริย์ผู้เป็นสัญลักษณ์หนึ่งของประเทศไทย ซึ่งเมื่อเจ้าเมืองลองเป็นผู้มีความสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ของชาติไทย จึงเท่ากับยกสถานะของ “เมืองลอง” ตลอดจนทายาทให้มีความสำคัญขึ้นตามไปด้วย การสร้างรูปปั้นของพญาขัณฑสีมาโลหะกิจ ที่มีขนาดใหญ่เกือบสองเท่าคนจริงขึ้นในพ.ศ.๒๕๔๑ พร้อมกับแผ่นป้ายแสดงประวัติ ต้นสกุลวงศ์ และผลงานต่างๆ ที่พญาขัณฑสีมาโลหะกิจได้กระทำไว้ โดยเฉพาะเรื่องรัชกาลที่ ๔ ทรงแต่งตั้งพญาขัณฑสีมาโลหะกิจ ขึ้นเป็นเจ้าเมืองลอง การส่งเหล็กลองและไม้สักซาวก๋ำซาววา(๒๐ กำ ๒๐ วา)จำนวน ๒ ต้นลงไปถวายรัชกาลที่ ๔ ให้สร้างเสาชิงช้าที่กรุงเทพฯ ที่มีการบอกเล่าและผลิตซ้ำอยู่เสมอภายในอำเภอลอง ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วพญาขัณฑสีมาโลหะกิจได้รับการรับรองแต่งตั้งขึ้นเป็นเจ้าเมืองลอง จากเจ้าหลวงนรนันทไชยชวลิต เจ้าผู้ครองนครลำปางองค์ที่ ๑๑ (พ.ศ.๒๔๓๕ - ๒๔๔๐) ในราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน ซึ่งตรงกับรัชกาลที่ ๕ ราชวงศ์จักรีของสยาม และพญาขัณฑสีมาโลหะกิจก็นำเอาเหล็กลองและไม้สักลงไปถวายรัชกาลที่ ๕ ที่กรุงเทพฯ จริงด้วยเหตุผลทางการเมือง(ดังกล่าวแล้วในบทที่ ๒) แต่ไปถวายเมื่อยังไม่ได้ขึ้นเป็นเจ้าเมืองลองและนำไม้สักขนาดใหญ่ ๒๒ กำ ๘ วาลงไปถวายเพียงต้นเดียว ซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการนำเอาไม้ท่อนนี้ไปทำเสาชิงช้า

•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๔๒ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•อังคาร•ที่ 28 •พฤษภาคม• 2013 เวลา 22:37 น.•

การสร้างตัวตนของเมืองลองผ่าน “อนุสาวรีย์” ผีเมืองและเจ้าเมืองลอง “อนุสาวรีย์” ตามความหมายของภาครัฐ คือ เน้นให้เป็นสื่อของ “ความเป็นชาติไทย” เพื่อระลึกถึงคุณความดีของบุคคลผู้ทำประโยชน์ต่อประเทศชาติ ด้วยการสละกำลังกาย กำลังความคิด หรือแม้ชีวิตเพื่อปกป้องชาติไทย และต้องเป็นอนุสาวรีย์บุคคลที่รัฐบาลเห็นว่ามีความ สำคัญอย่างแท้จริง แต่ทว่า “อนุสาวรีย์” ในตามแบบของคนท้องถิ่นเมืองลองนั้น อาจหมายถึง “รูปเคารพ” บุคคลสำคัญของท้องถิ่นที่ถูกสร้างขึ้น ซึ่งสามารถสื่อสารเรื่องราวให้ผู้ที่ได้สัมผัส โดยเฉพาะเกียรติประวัติคุณงามความดีของผู้เป็นเจ้าของให้เห็นเป็นรูปธรรม ดังนั้นรูปเคารพที่ถูกสร้างขึ้นภายในอำเภอลอง โดยคนในพื้นที่และสื่อ “ความเป็นเมืองลอง” ให้แก่คนในท้องที่หรือผู้พบเห็น “รูปเคารพบุคคล” จึงจัดว่าเป็น “อนุสาวรีย์” ประเภทหนึ่งในแง่ของความหมายนี้

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พุธ•ที่ 29 •พฤษภาคม• 2013 เวลา 18:20 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๔๑ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•อังคาร•ที่ 21 •พฤษภาคม• 2013 เวลา 21:36 น.•

ก้อนแร่เหล็กลอง “ตับเหล็กลอง” และก้อนหินรูปลักษณะเหมือนขมิ้น “ขมิ้นหิน” : ทุนวัฒนธรรมความเชื่อเรื่องผีเมืองสู่สัญลักษณ์ของเมืองลอง วัตถุมงคลและเครื่องลางของขลังได้กลายเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ โดยเฉพาะของคนในพื้นที่ เป็นทุนมรดกทางวัฒนธรรมอีกสิ่งหนึ่งของเมืองลองที่ถูกนำมาผูกติดกับเศรษฐกิจ ขณะ เดียวกันก็ประทับตรา “เมืองลอง” ให้เป็นที่รับรู้ติดไปด้วยทุกหนแห่ง ช่วงก่อนหน้านี้นิยมขุดหาพระเครื่องจากกรุวัดร้างภายในอำเภอลองและวังชิ้น แต่เมื่อเริ่มหายากและมีราคาสูงจึงจัดสร้างพระใหม่ขึ้นแทนโดยใช้พระจากกรุเก่าของเมืองลองเป็นต้นแบบ การสร้างพระเครื่อง วัตถุมงคล และเครื่องรางของขลังเหล่านี้ จึงมีส่วนในการสร้างและรื้อฟื้นความเป็นเมืองลองด้วย เพราะสามารถเป็นตัวที่บ่งชี้ถึงความสำคัญของสถานที่ ตลอดจนเจ้าพิธี และผู้จัดทำ ซึ่งในอำเภอลองมีการสร้างเหรียญพระเครื่องขึ้นครั้งแรกในพ.ศ.๒๕๐๐ หลังจากนั้นก็มีประปราย เช่น สร้างเหรียญครูบาสมจิตรุ่น ๑ พ.ศ.๒๕๑๔ ซึ่งเป็นครั้งแรกในอำเภอลองที่สร้างเหรียญพระเถระที่ยังมีชีวิตอยู่ และรุ่น ๒ พ.ศ.๒๕๑๘ หรือสร้างเหรียญครูบาอินทจักร วัดต้าเวียง บ้านม่อน ตำบลเวียงต้า พ.ศ.๒๕๑๗ แต่มาในช่วงทศวรรษ ๒๕๔๐ เป็นต้นมาประเทศไทยเกิดเศรษฐกิจตกต่ำ ส่งผลทำเกิดวิกฤตทางความเชื่อมั่นในการประกอบธุรกิจหน้าที่การงาน ผู้คนจึงนิยมแสวงหาพระเครื่องเครื่องรางของขลังเพื่อเพิ่มความมั่นใจ วงการพระเครื่อง วัตถุมงคล และเครื่องรางของขลังจึงมีความตื่นตัว ส่งผลถึงในอำเภอลองก็เกิดการตื่นตัวขึ้นด้วย ดังนั้นช่วงนี้ภายในอำเภอลองจึงมีการสร้างวัตถุมงคลที่หลากหลายมากกว่าช่วงก่อนที่ผ่านมา ที่จำกัดอยู่เฉพาะสร้างเหรียญพระพุทธรูป พระมหาครูบาเถระ แต่ช่วงนี้ได้มีการนำผีบ้านผีเมือง ผีเจ้าเมืองนำมาสร้างเป็นวัตถุมงคล หรือแม้แต่วัตถุของขลังภายในท้องถิ่นก็ถูกนำขึ้นมาทำให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางมากขึ้น

•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๔๐ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•จันทร์•ที่ 06 •พฤษภาคม• 2013 เวลา 12:07 น.•

“พุทธศาสนา” “ผีบ้านผีเมือง” และ”เจ้าเมือง” หัวใจความเป็นเมืองลองในยุคจารีต กับการสร้างและรื้อฟื้นความเป็นเมืองลองอย่างเข้มข้น ช่วงพ.ศ.๒๕๓๘ - พ.ศ.๒๕๕๔ การสร้างและรื้อฟื้นของเมืองลองในช่วงก่อนหน้านี้ ได้นำเอาเฉพาะทุนวัฒนธรรมทางพุทธศาสนาหรือที่เกี่ยวพันมาสร้างและรื้อฟื้น ด้วยเป็นความเชื่อสากลและเป็นที่ยอมรับนับถือของคนกลุ่มใหญ่ในสังคมไทย และมีพลังในการประสานคนท้องถิ่นกลุ่มต่างๆ ได้กว้างขวางมากกว่าทุนวัฒนธรรมส่วนอื่น พอมาถึงในช่วงนี้ส่วนกลางได้เปิดพื้นที่ให้กับท้องถิ่นได้แสดงความมีอยู่ของท้องถิ่นมากขึ้น เนื่องด้วยสังคมโลกที่นำโดยองค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้ปีพ.ศ.๒๕๓๑ เป็นปีเริ่มต้นทศวรรษโลกในการพัฒนาวัฒนธรรม เพื่อสร้างสันติภาพ สันติสุข และอิสรภาพแก่มวลมนุษย์ ดังนั้นสังคมไทยที่ผูกติดอยู่กับสังคมโลก รัฐบาลไทยจึงมีนโยบายให้จัดตั้งสภาวัฒนธรรมจังหวัด สภาวัฒนธรรมอำเภอ และสภาวัฒนธรรมตำบลขึ้นในพ.ศ.๒๕๓๘ ตามประกาศของคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อกระจายอำนาจการดำเนินงานวัฒนธรรมให้ภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย และรัฐธรรมนูญฉบับปีพ.ศ.๒๕๔๐ หลายมาตราได้เปิดโอกาสและให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมของท้องถิ่น เช่น มาตราที่ ๔๖ “บุคคลที่รวมตัวกันเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ย่อมมีสิทธิอนุรักษ์ฟื้นฟูจารีตประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะหรือวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นและชาติ...” หรือมาตราที่ ๕๖ “สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการบำรุงรักษา และการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ และในการคุ้มครองส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้อยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่อง...”

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อาทิตย์•ที่ 12 •พฤษภาคม• 2013 เวลา 17:48 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๓๙ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 05 •พฤษภาคม• 2013 เวลา 21:48 น.•

ชื่อบ้านนามเมืองกับความมีตัวตนของเมืองลอง ชื่อเป็นสัญลักษณ์อันดับแรกให้คนรู้จักและจดจำตัวตน ดังนั้นชื่อจึงมีความหมายและความสำคัญต่อการสร้างและรื้อฟื้นให้คนรู้จักและจดจำตัวตนของเมืองลอง ด้วยเมืองลองเป็นเมืองโบราณมีผู้คนอาศัยสืบเนื่องมายาวนานจึงมีชื่อบ้านนามเมืองหลากหลายชื่อ  ในที่นี้จะกล่าวถึงชื่อต่างๆ ของเมืองลอง  เพื่อจะได้เข้าใจถึงการ “เลือกสรร” และ “ละเว้น” ชื่อของเมืองลอง  ที่คนเมืองลองแต่ละกลุ่ม  โดยเฉพาะกลุ่มพระสงฆ์  กลุ่มข้าราชการ  กลุ่มนักการเมืองท้องถิ่น  และกลุ่มพ่อค้าแม่ค้า  นำมาสร้างและรื้อฟื้นความเป็นเมืองลองได้ชัดเจนขึ้น

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อาทิตย์•ที่ 05 •พฤษภาคม• 2013 เวลา 22:11 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๓๘ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•พุธ•ที่ 03 •เมษายน• 2013 เวลา 14:52 น.•

เมืองลองผ่านสัญลักษณ์พระพุทธรูปประจำเมือง พระเครื่อง และวัตถุมงคล จากคติความเชื่อของพุทธศาสนิกชนเรื่องอายุพุทธศาสนา ๕,๐๐๐ ปี ที่หากสิ้นช่วงอายุพระศาสนานี้ไปก็จะเป็นกลียุคไม่มีพุทธศาสนาให้ผู้คนได้พึ่งพิงอีกต่อไป จนกว่าพระศรีอริยเมตตรัย พระพุทธเจ้าองค์ต่อไปจะตรัสรู้และประกาศพุทธศาสนาครั้งใหม่ ซึ่งต้องรอระยะเวลาที่ยาวนานมากจนยากคณานับได้ อาศัยความเชื่อนี้รัฐบาลจึงจัดเตรียมงานฉลองพระพุทธศาสนาอายุครบ ๒๕ พุทธศตวรรษในพ.ศ.๒๕๐๐ จึงทำให้พระสงฆ์แต่ละจังหวัดแต่ละอำเภอในท้องที่ประเทศไทยเกิดตื่นตัว มีการจัดเตรียมการต่างๆ เพื่อจะได้เป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองปีสำคัญทางพุทธศาสนาครั้งนี้ ทางส่วนกลางรัฐบาลได้จัดหล่อพระพุทธลีลาขนาดใหญ่สูง ๒,๕๐๐ นิ้วขึ้นที่พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม พร้อมจัดสร้างเหรียญ ๒๕ พุทธศตวรรษ ขณะที่ทางจังหวัดแพร่ก็ได้หล่อพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองแพร่ในพ.ศ.๒๔๙๘ ตั้งพระนามว่า “พระพุทธโกศัยฯ” พร้อมจัดสร้างเหรียญพระพุทธโกศัยด้วยเช่นกัน มีการจัดพิธีอย่างใหญ่โตโดยมีสมเด็จพระสังราช(ปลด กิตฺติโสภณ) วัดเบญจมบพิตรฯ กรุงเทพฯ มาเป็นประธานในพิธี การเตรียมงานฉลองกึ่งพุทธกาลกับการจัดสร้างพระพุทธรูปประจำเมืองแพร่ จึงเป็น ๒ กระแสหลักในช่วงนี้ที่เข้ามาสู่อำเภอลอง

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•จันทร์•ที่ 29 •เมษายน• 2013 เวลา 08:43 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๓๗ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•พุธ•ที่ 03 •เมษายน• 2013 เวลา 07:41 น.•

เน้นย้ำความเก่าแก่ของเมืองลองผ่านการสร้างอนุสาวรีย์พระนางจามเทวีพ.ศ.๒๕๒๘ ทุนวัฒนธรรมทางพุทธศาสนาของเมืองลอง ที่ถูกคนหลายกลุ่มนำมาสร้างและรื้อฟื้นความเป็นเมืองลองมาระยะเวลากว่า ๓๐ ปี ทั้งนำมาสร้างผ่านตำนานพระธาตุศรีดอนคำ หรือในช่วงพ.ศ.๒๕๒๕ ทางวัดพระธาตุแหลมลี่ก็ได้มีการแปลตำนานพระธาตุแหลมลี่(ตำนานจะกล่าวรวมถึงพระธาตุขวยปู พระธาตุปูตั้บ พระธาตุไฮสร้อย)และจัดพิมพ์เป็นหนังสือแจก ซึ่งตำนานเหล่านี้จะมีการพิมพ์แจกซ้ำอยู่เป็นระยะ แต่ทว่ามาถึงช่วงนี้ในพ.ศ.๒๕๒๘ เกิดพัฒนาการของการสร้างและรื้อฟื้นตัวตนของเมืองลองอีกระลอกหนึ่ง คือมีการสร้างอนุสาวรีย์ของพระนางจามเทวีขึ้นที่ลานวัดพระธาตุศรีดอนคำ บ้านห้วยอ้อ ที่เป็น “ใจ” กลางเมืองลองในยุคจารีต และสืบเนื่องต่อมาเป็นศูนย์กลางของอำเภอลองถึงยุคปัจจุบัน ปรากฏการณ์การของการก่อสร้างอนุสาวรีย์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรืออุบัติขึ้นอย่างทันทีทันใด แต่เป็นผลสืบเนื่องมาจากกระแสการสร้างอนุสาวรีย์พระนางจามเทวี ที่ประดิษฐานไว้ ณ สวนสาธารณะหนองดอก

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พุธ•ที่ 24 •เมษายน• 2013 เวลา 19:35 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๓๖ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•จันทร์•ที่ 01 •เมษายน• 2013 เวลา 20:56 น.•

๒. “พุทธศาสนา” ส่วนหนึ่งในความเป็นเมืองลองยุคจารีต กับการสร้างและรื้อฟื้นความเป็นเมืองลองระยะเริ่มต้น ช่วงพ.ศ.๒๔๙๕ - พ.ศ.๒๕๓๘ การสร้างและรื้อฟื้นของเมืองลองในช่วงแรก เป็นการนำเอาเฉพาะทุนวัฒนธรรมทางพุทธศาสนาหรือที่เกี่ยวพันมาสร้างและรื้อฟื้น โดยมีประเพณี พิธีกรรม และความเชื่อ เป็นเครื่องมือรักษาทุนวัฒนธรรมเหล่านี้ส่งผ่านจากยุคจารีตมาจนถึงปัจจุบัน และกำลังจะส่งต่อไปในอนาคต จึงทำให้คนเมืองลองที่ปรากฏเป็นกลุ่มชัดเจนในยุคแรกของสร้างและรื้อฟื้นนี้ ทั้ง (๑) กลุ่มพระสงฆ์ (๒) กลุ่มข้าราชการ (๓) กลุ่มนักการเมืองท้องถิ่น (๔) ปราชญ์ท้องถิ่น (๕) กลุ่มพ่อค้าแม่ค้า และ(๖) ประชาชนทั่วไป มีพระสงฆ์เป็นผู้นำหลักในการหยิบยกทุนวัฒนธรรมทางพุทธศาสนาขึ้นมาสร้างและรื้อฟื้นความเป็นเมืองลอง เข้าแอบอิงกับประเพณี พิธีกรรม และความเชื่อที่มีการผลิตซ้ำอยู่เสมอ ซึ่งทุนวัฒนธรรมทางพุทธศาสนาของเมืองลองที่ถูกหยิบยกขึ้นมาในช่วงแรกนี้ คือ พระธาตุศรีดอนคำ ตำนานพระธาตุศรีดอนคำ พระพุทธรูป และครูบามหาเถระ ฯลฯ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•จันทร์•ที่ 08 •เมษายน• 2013 เวลา 06:43 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๓๕ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•จันทร์•ที่ 01 •เมษายน• 2013 เวลา 20:48 น.•

การเริ่มก่อตัวมี “สำนึกท้องถิ่น” “สำนึกรักบ้านเกิด” ที่มีผลทำให้เกิดการสร้างและรื้อฟื้นตัวตนของเมืองลอง มีปัจจัยสำคัญทั้งภายในและภายนอก ๓ ประการ คือ (๑) ประเพณี พิธีกรรม และคติความเชื่อ เป็น “เครื่องมือ” และ “กลไก” ทางวัฒนธรรมที่สามารถยึดโยงสายสัมพันธ์ของกลุ่มคนเมืองลองเข้าไว้ด้วยกัน โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับพระธาตุทั้งห้าองค์(พุทธ)และผีบ้านผีเมืองที่มาจากบุคคลสำคัญและเจ้าเมือง(ผี) ที่ยังสืบทอดไว้อย่างมั่นคงโดยการนำของกลุ่มพระสงฆ์ กลุ่มเชื้อสายเจ้านายขุนนาง และกลุ่มปราชญ์ท้องถิ่น(เค้าผี, เจ้าเหมืองเจ้าฝาย, ผู้นำประกอบพิธีกรรม ฯลฯ) เช่น ในพิธีกรรมล่องวัดเดือนหก(ไหว้พระธาตุแหลมลี่) ยังคงรักษาให้หัววัดบ้านนาหลวงผู้เป็นข้าวัดนำขบวนก่อน หรือโครงสร้างตำแหน่งหน้าที่ผู้ประกอบพิธีเลี้ยงผีเมืองลอง(บ่อเหล็ก) ทั้งตำแหน่งผู้นำเลี้ยงผีเมืองที่มีเจ้าน้อยศรีสองเมือง ณ ลำปาง เป็นองค์ประธานแทนเจ้าผู้ครองนครลำปางในช่วงพ.ศ.๒๔๔๙ – ๒๔๙๗ ปัจจุบันหลานเขยก็ยังทำหน้าที่เป็น “พ่อเมือง” นำพลีกรรมเลี้ยงผีเมืองลองและนำเลี้ยงผีขุนน้ำแม่ลอง (หากไปไม่ได้ก็ให้หลานสาวเป็น “แม่เมือง” นำเลี้ยงผีเมืองแทน) รวมถึงตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ ก็ยังคงอยู่ เช่น หมื่นกลางโฮง แสนบ่อ หมอง่อน ช่างม่วน กวาน และข้าผีเมือง ฯลฯ ซึ่งพิธีกรรมความเชื่อเหล่านี้ได้มีการผลิตซ้ำอยู่อย่างสม่ำเสมอในรูปประเพณี ๑๒ เดือนของเมืองลอง ประกอบกับก่อนช่วงทศวรรษ ๒๕๑๐ แอ่งลองมีลักษณะเป็นเมืองปิดติดต่อกับภายนอกได้ยากลำบาก จึงยังคงไว้ซึ่งพลังเครือข่ายของท้องถิ่นที่เหมือนหรือคล้ายคลึงแบบจารีต เช่น ศรัทธาหมวดหัววัด หมวดอุโบสถ กลุ่มเหมืองฝาย ระบบเครือญาติ ระบบกลุ่มลูกหลานผีปู่ย่า และกลุ่มหมวดเอามื้อเอาแรง ฯลฯ หรือแม้แต่ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในรูปตำนานของเมืองลองที่ผูกติดกับ คติการทานธรรม ก็ยังปรากฏมีการจารในคัมภีร์ใบลานหรือเขียนลงพับสาด้วยอักษรธรรมล้านนาจนกระทั่งถึงในช่วงของทศวรรษนี้

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อังคาร•ที่ 02 •เมษายน• 2013 เวลา 06:48 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๓๔ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•จันทร์•ที่ 18 •มีนาคม• 2013 เวลา 22:57 น.•

การสร้างและรื้อฟื้นความเป็นเมืองลอง ผ่านมรดกทุนวัฒนธรรม : ประเพณี พิธีกรรม และความเชื่อ พ.ศ.๒๔๙๕ - ๒๕๕๔ “เมืองลอง” ในอดีตไม่สามารถหวนกลับคืนมาได้อีกแล้ว แต่สำนึกในความเป็นเมืองลอง ที่ถูกหล่อเลี้ยงด้วยการผลิตซ้ำทางประเพณี พิธีกรรม และคติความเชื่อ ทำให้คนรุ่นต่อมายังคงเหลือความทรงจำบางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับบ้านเมืองของตน จึงมีการสร้างและรื้อฟื้นตัวตนของความเป็นเมืองลองภายใต้รูปหน่วยอำเภอลอง อันเป็นการปกครองหน่วยหนึ่งแบบราชการไทยที่อยู่ชายขอบของจังหวัดแพร่และสังคมไทยขึ้นมา โดยใช้ทุนหรือทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่เคยจรรโลงความเป็นเมืองลองในยุคจารีตกลับมาสร้างและรื้อฟื้นความเป็นตัวตนของเมืองลองขึ้นอีกครั้ง ที่เชื่อมโยงกับการนิยามความเป็น  “คนเมืองลอง”  อีกชั้นหนึ่ง

ลักษณะวิธีของการนำเอาทุนมรดกทางวัฒนธรรม กลับมาสร้างและรื้อฟื้นความเป็นเมืองลองใช่ว่าจะถูกนำมาใช้ทั้งหมด  แต่ได้ผ่านการเลือกสรรบางเศษเสี้ยว  บางแง่มุม  ของความเป็นเมืองลองที่เคยธำรงอยู่ในยุคจารีต  และสิ่งนั้นสามารถสนองตอบต่อการดำรงชีวิตของคนเมืองลองในยุคปัจจุบัน จึงถูกหยิบยกกลับขึ้นมาสร้างและรื้อฟื้นเพื่อแสดงถึงความมีตัวตนของท้องถิ่น “เมืองลอง” ในสังคมไทย  อีกทั้งเป็นการให้ความหมายแก่ตัวตนของคนในพื้นที่ เพื่อคนที่ได้นิยามตนว่าเป็น “คนเมืองลอง” จะสามารถมีส่วนเข้าใช้ทรัพยากรของเมืองลอง  ไปพร้อมกับทำให้เกิดความภาคภูมิใจในตนเองและท้องถิ่น  รู้สึกมี “ความหมาย” และมี “คุณค่า”  ในสังคม  แต่ขณะเดียวกันบางสิ่งบางอย่างที่ไม่สามารถตอบสนองหรือมีประโยชน์ต่อผู้คนในยุคปัจจุบัน  สิ่งเหล่านั้นก็ไม่ได้รับการหยิบยกขึ้นมาสร้างและรื้อฟื้นในความเป็นเมืองลอง  แต่กลับจะถูกปล่อยให้ลับเลือนลางจางหายจากความทรงจำของท้องถิ่นเมืองลองไปตามกาลเวลา

•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๓๓ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•จันทร์•ที่ 11 •มีนาคม• 2013 เวลา 20:23 น.•

๒. ช่วงที่ ๒ พ.ศ.๒๕๓๐ – ๒๕๔๙ เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตอย่างเข้มข้น ผลจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับก่อนหน้าที่ผ่านมาจึงเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างเข้มข้นต่อวิถีชีวิตของคนอำเภอลองในหลายๆ ด้าน ทั้งวิถีการผลิต การดำเนินชีวิต จารีตประเพณีและพิธีกรรม ฯลฯ เมื่อเริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ ๖ (พ.ศ.๒๕๓๐ – ๒๕๓๔) จึงมีการสานต่อและพัฒนาอย่างรวดเร็วจนเป็นแบบ “ก้าวกระโดด”

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อังคาร•ที่ 12 •มีนาคม• 2013 เวลา 18:20 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๓๒ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•จันทร์•ที่ 04 •มีนาคม• 2013 เวลา 16:52 น.•

ชาวบ้านเปลี่ยนวิถีการผลิตแบบยังชีพสู่ระบบทุนนิยมเพิ่มขึ้น เดิมการปลูกพืชภายในเมืองลองต้องอาศัยน้ำจากลำห้วยและน้ำฝนเป็นหลัก เหมืองฝายก็เป็นฝายไม้ขนาดเล็กเจ้าฝายต้องเกณฑ์ซ่อมทุกปี ในหน้าแล้งน้ำในลำห้วยก็แห้งขอดจึงมีการเพาะปลูกได้เฉพาะบางช่วง เมื่อเริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ การชลประทานมีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ เพื่อให้ชาวบ้านสามารถเพาะปลูกได้ตลอดปี จึงมีโครงการจัดสร้างฝายคอนกรีตแทนฝายไม้ ขุดเจาะอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กตามหมู่บ้านต่างๆ ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนให้ปลูกพืชเพื่อการค้าแทนการผลิตเพื่อพอยังชีพ ส่งเสริมการใช้ปุ๋ย การใช้เทคนิคใหม่ ตลอดจนแนะนำการปลูกพืชไร่เชิงพาณิชย์ควบคู่กับการทำนา จึงเกิดการขยายตัวของการผลิตพืชผลทางการเกษตรเพิ่มมากขึ้น มีการบุกเบิกลำห้วยขนาดสายเล็กเปลี่ยนเป็นที่นา เวียงเก่าถูกรื้อเป็นที่นา

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อังคาร•ที่ 05 •มีนาคม• 2013 เวลา 16:54 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ขอบคุณอาจารย์ภูเดช แสนสา •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อังคาร•ที่ 19 •กุมภาพันธ์• 2013 เวลา 20:23 น.•

ขอบคุณอาจารย์ผูเดช แสนสา ที่ส่งหนังสือ “ร้อยเรียงร้อยเรื่องเมืองลอง” ให้กับทางเว็บไซต์ ซึ่งอาจารย์ได้เป็นเจ้าของบทความเมืองลองที่ได้นำเสนอให้ผู้ชมได้รับความรู้เกี่ยวกับเมืองลองในด้านประวัติศาสตรเมืองลอง หัวเมืองบริวารในล้านนาประเทศอีกด้วย อาจารย์ได้กล่าวบทนำในหนังสือ “ร้อยเรียงร้อยเรื่องเมืองลอง” ไว้ว่าหนังสือเล่มนี้ ได้เกิดขึ้นจากข้อมูลที่ผู้เขียนได้เก็บรวบรวมไว้หลายปีมีจำนวนหลากหลายเรื่องเกี่ยวกับเมืองลองที่นำมาร้อยเรื่องราวเข้าไว้ด้วยกัน โดยได้แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๓ ภาค ภาคแรกชื่อ “ร้อยเรียงหลากเรื่องเมืองลอง” กล่าวถึงเรื่องราวต่าง ๆ ของเมืองลองตั้งแต่ตำนานของเมืองลองยุคโบราณมาจนถึงเรื่องราวยุคช่วงร่วมร้อยปีที่ผ่านมา ภาค ๒ ชื่อ “ร้อยเรียงเรื่องเชื้อเครือเมืองลอง” สืบเนื้อจากหนังสือ “ประวัติศาสตร์เมืองลอง หัวเมืองบริวารล้านาประเทศ” ซึ่งได้เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์อยู่ ณ ปัจจุบัน ซึาฃ่งเล่มนี้ได้จัดทำประวัติต้นตระกูลสำคัญต่าง ๆ ของเมืองลองจำนวน ๓๐ ตระกูลพร้อมทายาท ภาค ๓ ชื่อ “ร้อยเรียงเรื่องศิลป์เมืองลอง” อาจารย์ภูเดช แสนสาได้เลือกนำเอาผลงานวิจัยเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๗ เรื่อง “ลวดลายสลักไม้คันทวยประดับโบสถ์วิหาร ในเขตอำเภอลอง จังหวัดแพร่” อันเป็นฝีมือทางเชิงช่างของผู้ชายชาวเมืองลองมาสรุปนำเสนอประกอบไว้ภายในเล่ม พร้อมเรื่องราวและลวดลายของผ้าซิ่นตีนจกเมืองลอง อันเป็นฝีมือทางเชิงช่างของผู้หญิงชาวเมืองลอง

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อังคาร•ที่ 19 •กุมภาพันธ์• 2013 เวลา 22:28 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๓๑ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อังคาร•ที่ 19 •กุมภาพันธ์• 2013 เวลา 13:25 น.•

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ : การขยายตัวของรัฐไทยอย่างเข้มข้น อำเภอลองเริ่มเข้าสู่ยุคการพัฒนาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งเริ่มต้นใช้ฉบับแรกเมื่อพ.ศ.๒๕๐๔ เป็นต้นมา ช่วงนี้จึงมีการการจัดตั้งหน่วยงานราชการขึ้นจำนวนมาก เช่น สำนักงานศึกษาธิการอำเภอลอง, สำนักงานประถมศึกษาอำเภอลอง, สำนักงานสรรพสามิตอำเภอลอง, สำนักงานปศุสัตว์อำเภอลอง, สำนักงานพัฒนาอำเภอลอง, สำนักงานสัสดีอำเภอลอง, สำนักงานที่ดินอำเภอลอง, สำนักงานป่าไม้อำเภอลอง, สำนักงานสหกรณ์อำเภอลอง, สำนักงานเกษตรอำเภอลอง, สำนักงานสาธารณสุขอำเภอลอง, สำนักงานสรรพากรอำเภอลอง, สำนักงานไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอลอง, ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขอำเภอลอง, ประมงอำเภอลอง และหมวดการทางอำเภอลอง ฯลฯ นำมาสู่การพัฒนาด้านต่างๆ ภายในอำเภอลองให้เป็นสัดส่วน มีระบบระเบียบแบบแผนทางราชการมากกว่ายุคสมัยที่ผ่านมา ที่พิจารณาจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ เนื่องจากการปกครองรูปแบบใหม่ของอำเภอลองนั้นเน้นนโยบายที่ป้อนเข้ามาจากส่วนกลางหรือภายนอก ต่างจากระบบเมืองแบบจารีตที่สามารถจัดการหล่อเลี้ยงตนเอง ประกอบกับอำเภอลองอยู่ห่างไกลจากศูนย์กลางพัฒนา(กรุงเทพฯ,เชียงใหม่,แพร่) ดังนั้นลำพังเฉพาะชาวบ้านเองหากไม่ได้รับแรงกระตุ้นจากภาครัฐก็จะยังคงมีวิถีชีวิตแบบดังเดิมแบบค่อยเป็นค่อยไป แม้ว่าการพัฒนาในอำเภอลองจะได้ผลช้าไม่เป็นไปตามช่วงปีแผนพัฒนา แต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ก็เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิดการพัฒนารูปแบบใหม่ในยุคนี้ ซึ่งจะพิจารณาตามผลของการพัฒนาภายในอำเภอลองเป็นหลัก สามารถแบ่งออกเป็น ๒ ช่วง คือ (๑) สมัยพัฒนาช่วงที่ ๑ พ.ศ.๒๕๐๔ – ๒๕๒๙ เริ่มเข้าสู่ความเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คน และ(๒)สมัยพัฒนาช่วงที่ ๒ พ.ศ.๒๕๓๐ – ๒๕๔๙ เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตอย่างเข้มข้น

•อ่านเพิ่มเติม...•
 
เมืองแพร่แห่ระเบิด จริงหรือตลก •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 27 •ธันวาคม• 2012 เวลา 18:52 น.•

“เมืองแพร่แห่ระเบิด” เหตุเกิดขึ้นจริงหรืออิงตลก คำล้อเลียน “เมืองแป้แห่ระเบิด” หรือ “เมืองแพร่แห่ระเบิด” เป็นสำนวนที่คนจังหวัดแพร่เมื่อออกไปพบปะกับผู้คนต่างจังหวัดมักได้รับการทักทายเมื่อพบหน้าด้วยสำนวนนี้ รวมไปจนถึงในวงเหล้าที่มีเพื่อนฝูงมาจากต่างจังหวัดกันก็นิยมยกขึ้นมาแซวกันสนุกปาก อย่างน้อยช่วงพ.ศ.๒๕๐๐ ก็พบว่าได้เกิดคำล้อเลียนนี้ขึ้นแล้ว โดยเฉพาะคนจังหวัดที่อยู่ใกล้เคียงกับจังหวัดแพร่ เช่น จังหวัดน่านก็นิยมล้อเลียนในช่วงนี้ คนเมืองแพร่ที่ถูกทักทายด้วยสำนวนนี้ บางคนก็รู้สึกงง บางคนก็รู้สึกเฉยๆ บางคนก็รู้สึกตลกขบขัน บางคนก็รู้สึกอาย หรือบางคนก็รู้สึกโกรธ แล้วแต่บุคคลและสถานการณ์ ส่วนที่รุนแรงก็คือเคยมีการนำเอาสำนวนนี้ไปกล่าวกระทบกระทั่งกันในที่ประชุมผู้บริหารระดับประเทศในวันที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๕ และเกิดกรณีพิพาทออกสื่อดังไปทั่วประเทศอยู่หลายวัน ซึ่งก็ยังไม่มีใครอธิบายได้ชัดเจนว่าสำนวนนี้จริงๆ แล้วจากไหน จนกระทั่งช่วงพ.ศ.๒๕๕๓ จึงเกิดการค้นคว้าที่มาทำการอธิบายใหม่เพื่อตอบโจทย์และตอบโต้กับคำล้อเลียนนี้ว่า “ระเบิดที่แห่มีจริง ไม่ได้แห่เพราะการไม่รู้จักระเบิดจนแตกตายไปครึ่งเมือง แต่ระเบิดที่กล่าวถึงคือระเบิดสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ (พ.ศ.๒๔๘๔ – ๒๔๘๘) นำแห่ไปถวายวัดเพื่อทำระฆังที่อำเภอลอง จังหวัดแพร่” และกลายเป็นคำอธิบายกระแสหลักที่คนทั้งประเทศรับรู้ เพราะมีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ผลิตซ้ำอยู่อย่างสม่ำเสมอทั้งทางโทรทัศน์ นิตยสาร วารสาร หนังสือพิมพ์ เอกสาร แผ่นพับ เว็บไซต์ต่างๆ ตลอดจนถึงการเดินทางมาเที่ยวชมในสถานที่จริง แต่ในมุมมองของผู้เขียนกลับไม่เห็นด้วยกับคำอธิบายนี้ เพราะอะไร แล้วคำล้อเลียนนี้มาจากไหน เป็นเรื่องที่เกิดจากการแห่ระเบิดไปทำระฆังจริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงคำล้อเลียนเพื่ออิงความตลกขบขัน ท่านผู้อ่านลองพิจารณาไปทีละประเด็นได้ตามที่ผู้เขียนนำมาเสนอในบทความฉบับนี้ ประเด็นพิจารณาเรื่องเมืองแพร่แห่ระเบิดเหตุเกิดจริงหรืออิงตลก

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•ศุกร์•ที่ 28 •ธันวาคม• 2012 เวลา 23:10 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๓๐ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 15 •ธันวาคม• 2012 เวลา 15:41 น.•

สร้างความเป็นไทยให้คนเมืองลอง(เมืองต้า) ผ่านการศึกษา รัฐพิธี และสื่อต่าง ๆ การศึกษาในระบบจารีตของเมืองลองจะสัมพันธ์กับพุทธศาสนา เป็นกระบวนการถ่าย ทอดความรู้ตามธรรมเนียมจารีตท้องถิ่นที่สืบมาแต่โบราณจากรุ่นสู่รุ่น โดยใช้วัดเป็นสถานศึกษาและมีพระภิกษุเป็นครูผู้ถ่ายทอดวิชาความรู้ที่เรียน เช่น อักษรธรรมล้านนา พระธรรมตำนาน จารคัมภีร์ใบลาน เขียนพับสา โหราศาสตร์ หมอยา และงานช่างแขนงต่างๆ ฯลฯ เมื่อชายใดผ่านการบวชแล้วถือว่าเป็น “คนสุก” ก็จะได้รับการยกย่องทางสังคม มีโอกาสสูงที่จะได้เลื่อนสถานะทางสังคมเป็นไพร่ชั้นดีหรือรับตำแหน่งขุนนางเมือง เนื่องจากผู้ที่ได้ผ่านการบวชเรียนในอดีตมีจำนวนน้อยเพราะทำให้ครอบครัวขาดแรงงาน จึงนิยมให้เด็กบรรพชาเป็นสามเณรมากกว่าให้ชายหนุ่มฉกรรจ์บวชเป็นพระภิกษุ หากเคยบรรพชาเป็นสามเณร(บวชพระ)จะมีคำนำหน้านามบ่งบอกสถานะหรือระดับทางการศึกษาว่า “น้อย” บวชเป็นภิกษุ(เป็กข์ตุ๊)จะมีคำว่า “หนาน(ขนาน)” และหากเคยเป็นเจ้าอาวาส(ตุ๊หลวง)หรือครูบาจะได้รับการนับถือมากเรียกว่า “หนานหลวง”(ขนานหลวง)

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•จันทร์•ที่ 26 •สิงหาคม• 2013 เวลา 21:47 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๒๙ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 15 •ธันวาคม• 2012 เวลา 15:37 น.•

การสร้างสำนึกใหม่ในหน่วยอำเภอลองของรัฐไทย เมืองลองแม้ว่าไม่สามารถพัฒนาขึ้นเป็น “อาณาจักร” ได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดหลายประการ ทั้งตั้งอยู่แอ่งที่ราบขนาดเล็กมีพื้นเพาะปลูกน้อยตลอดถึงมีไพร่พลเบาบาง จึงไม่สามารถสั่งสมอำนาจได้เหนือกว่าเมืองอื่นที่ตั้งอยู่ในแอ่งที่ราบขนาดใหญ่กว่า เช่น เมืองเชียงใหม่ เมืองลำปาง เมืองแพร่ ฯลฯ แต่ทว่าเมืองลองก็เป็นเสมือน “รัฐ” ขนาดเล็กที่สามารถสถาปนาความเป็นเมืองศูนย์กลางขึ้นเหนือกว่าเมืองตรอกสลอบ เมืองต้า และเมืองช้างสารที่ตั้งอยู่ภายในแอ่งเดียวกัน ด้วยเมืองลองมีชัยภูมิตั้งอยู่กึ่งกลางแอ่ง มีที่ราบในการเพาะปลูก กำลังไพร่พล และทรัพยากรต่างๆ มากกว่า เมืองลองและเมืองบริวารเหล่านี้แต่ละเมืองจะมีอิสระจัดการปกครองภายใน ตลอดถึงมีประวัติศาสตร์และความทรงจำของตนเอง ซึ่งเมืองลองสามารถคงความเป็นเมืองอยู่ได้ตลอด ส่วนเมืองต้าก็ฟื้นฟูขึ้นเป็นระยะๆ และฟื้นฟูครั้งหลังสุดก็คงความเป็นเมืองมาได้ร่วมศตวรรษเศษ เมื่อจัดปฏิรูปการปกครองพ.ศ.๒๔๔๒ มีการนำระบบราชการไทยเข้ามา เมืองลอง เมืองต้าถูกจัดวางตำแหน่งแห่งที่ขึ้นใหม่ ในรูปของการปกครองระบบจังหวัด(เปลี่ยนคำว่าเมืองเป็นจังหวัดพ.ศ.๒๔๕๖) ความเป็น “เมืองลอง” “เมืองต้า” ถูกทำลายลงกลายเป็นเพียงอำเภอและตำบลหนึ่งของสยาม

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อังคาร•ที่ 05 •กุมภาพันธ์• 2013 เวลา 16:33 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๒๘ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 15 •ธันวาคม• 2012 เวลา 15:30 น.•

การขยายตัวของชุมชนใหม่กับความผันแปรของสำนึกความเป็นเมืองลอง เมืองลองก่อนที่ระบบราชการไทยจะเข้ามา เป็นสำนึกร่วมของชาวเมืองที่มีความหมายมากกว่าหน่วยทางการเมืองการปกครอง แต่เป็นหน่วยที่มีชีวิต ตัวตน และจิตวิญญาณ (ดังกล่าวแล้วในบทที่ ๒) มีอิสระจัดการปกครองภายใน มีความทรงจำ มีตำนานทั้งลายลักษณ์อักษรและมุขปาฐะอธิบายประวัติศาสตร์ความเป็นมาของบ้านเมือง ผู้คนจะผูกโยงพื้นที่ที่อาศัยร่วมกันกับความเชื่อเพื่อเป็นตัวกำหนดการใช้สอยพื้นที่ในส่วนต่างๆ ของเมือง และมีความทรงจำผูกพันกับพื้นที่โดยมีตำนานเป็นตัวกำหนดขอบเขตปริมณฑลของเมือง เมืองตามสำนึกของคนเมืองลองยุคจารีตจึงมีการจัดวางตำแหน่งแห่งที่ของตนว่าอยู่จุดไหนของเมืองลอง ที่เป็นเสมือนจักรวาลหรือโลกใบหนึ่ง โดยเฉพาะมโนทัศน์เรื่องจักรวาลที่คลี่คลายสืบเนื่องมาจากคติพราหมณ์และพุทธ ซึ่งปราชญ์ล้านนาอธิบายในคัมภีร์อรุณวดีสูตรว่า “...ชื่ออันว่าโลกธาตุอันหนึ่งนั้นมีทวีปใหญ่ ๔ อัน มีเขาสิเนรุราชตั้งอยู่ท่ามกลาง..ทวีปน้อย ๒ พันอันเปนบริวาร มีดอยขอบจักรวาลเปนที่สุดรอดทุกกล้ำ ได้ชื่อว่าจักวาลอันหนึ่งแล...” ดังนั้นจักรวาลทัศน์ของคนล้านนาจึงมีหลายจักรวาล เมื่อสร้างบ้านแปลงเมืองหรืออาณาจักรขึ้นตามหุบเขาใหญ่น้อยทั้งหลาย จึงจำลองจักรวาลน้อยใหญ่ให้เกิดขึ้นภายในเมืองหรือชุมชนนั้นๆ โดยสร้างศูนย์กลางชุมชนให้เป็นรูปธรรม ซึ่งเมืองลองใช้พระธาตุศรีดอนคำเป็นศูนย์กลางจักรวาลของเมืองมีการแบ่งพื้นที่ออกเป็นหัวเมือง กลางเมือง และหางเมืองอย่างชัดเจน และมีเขาที่ล้อมรอบทั้ง ๔ ทิศเป็นกำแพงจักรวาล ซึ่งจักรวาลทัศน์นี้ไม่ใช่มีเฉพาะในหน่วยเมืองแต่ยังซ้อนในระดับเล็กลงไปตั้งแต่หมู่บ้าน(หัวบ้าน กลางบ้าน หางบ้าน) เรือน(หัวเรือน กลางเรือน หางเรือน) จนถึงตัวคนที่อาศัยที่มีการแบ่งศักดิ์ของร่างกาย ดังเมืองลองสะท้อนถึงความคิดเรื่องตัวตนคนที่สัมพันธ์กับบ้านเมืองว่า “...ข้าน้อยรัสสะภิกขุกาวิไชยยนต์หงส์ ..เทวดารักสานอกตนในตนขนหัวปลายตีนแห่งข้า ..แลเทวดารักสาขอบขัณฑสีมาบ้านเมืองเหมืองฝายชู่ตนชู่องค์...”

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พุธ•ที่ 30 •มกราคม• 2013 เวลา 10:30 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๒๗ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 15 •ธันวาคม• 2012 เวลา 15:01 น.•

เหล็กจากต่างประเทศเข้ามาแทนที่เหล็กลอง เหล็กมีความสำคัญมากในยุคจารีตเพราะใช้ผลิตทั้งอาวุธ เครื่องมือเครื่องใช้ และสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆ เหล็กจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้ชุมชนหมู่บ้านพัฒนาขึ้นเป็นเมืองหรืออาณาจักร และผู้ผูกขาดก็ได้รับการยอมรับเป็นผู้นำ ดังกรณีปู่เจ้าลาวจก บนดอยปู่เจ้า(ดอยตุง) ผู้ครอบครองเครื่องมือเหล็กจำนวนมากภายหลังได้เป็น “ลวจักราช” ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ลาว แคว้นโยนก ที่สร้างฐานอำนาจมาถึงพญามังราย (พ.ศ.๑๘๐๔ - ๑๘๕๔) กษัตริย์ราชวงศ์ลาวลำดับ ๒๕ ที่ต่อมาได้เป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์มังรายผู้รวบรวมเมืองน้อยใหญ่ขึ้นเป็นอาณาจักรล้านนา ด้วยความสำคัญดังนี้ปราชญ์ล้านนาโบราณจึงบัญญัติไว้ว่าเครื่องมือตีเหล็กเป็นของสร้างโลก ถ้าผู้ใดทำลายเรียกว่า “ม้างตีอก” จะเป็นมหาโลกาวินาศใหญ่หนึ่งใน ๗ ประการ  “...ผิแลได้กะทำ.. ในเวียงอันใด เวียงอันนั้น เมืองอันนั้น ก็จิ่งกิ่วเถียวหลิ่งคล้อยหม่นหมองไปบ่ก้านกุ่งรุ่งเรืองงามได้แล ผิว่าบ้านนอกขอกสีมาที่ใดก็จักฉิบหายไปบ่สงไสยชะแล...”

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อังคาร•ที่ 22 •มกราคม• 2013 เวลา 10:07 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๒๖ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 15 •ธันวาคม• 2012 เวลา 14:30 น.•

การขยายตัวของเศรษฐกิจและเริ่มเปลี่ยนวิถีการผลิต : เมื่อทางรถไฟตัดผ่าน พ.ศ.๒๔๕๗ การสร้างรถไฟสายเหนือ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างมากในเมืองลอง ที่นำมาสู่การขยายตัวของเมือง ความหลากหลายของอาชีพ และวิถีการผลิตที่เริ่มเปลี่ยนจากผลิตเพื่ออุปโภคบริโภคเป็นหลักมาเป็นผลิตเพื่อขายมากขึ้น ทางรถไฟเริ่มสร้างหลังจากเกิดการต่อต้านสยามของล้านนา(กบฏเงี้ยว)และสร้างถึงแขวงเมืองลองในพ.ศ.๒๔๕๗ มีทั้งหมด ๖ สถานี คือ สถานีรถไฟบ้านปิน เป็นสถานีหลัก สถานีรถไฟแก่งหลวงและสถานีรถไฟผาคอ เป็นสถานีรอง สถานีรถไฟห้วยแม่ต้า สถานีรถไฟห้วยแม่ลาน และสถานีรถไฟผาคัน เป็นสถานีย่อย ซึ่งสถานีรถไฟบ้านปินเปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๕๗ มีการสร้างทางล้อเกวียนเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟต่างๆ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อังคาร•ที่ 15 •มกราคม• 2013 เวลา 09:19 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๒๕ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 15 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 23:12 น.•

ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๒๕ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ.๒๔๕๗ – ๒๕๐๓ เมื่อมีการสร้างเส้นทางรถไฟตัดผ่านแขวงเมืองลอง ได้ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงหลายด้าน โดยเฉพาะระบบเศรษฐกิจที่เริ่มเปลี่ยนไปเป็นระบบทุนนิยม การขยายตัวของเมืองและเริ่มเปลี่ยนวิถีการผลิต : เมื่อทางรถไฟตัดผ่านพ.ศ.๒๔๕๗ สภาพเศรษฐกิจเมืองลองก่อนเส้นทางรถไฟตัดผ่าน(ช่วงก่อน พ.ศ.๒๔๕๗) สภาพเศรษฐกิจเมืองลองเดิมอยู่ในระบบเศรษฐกิจแบบพอยังชีพ ผลิตเพื่อไว้อุปโภคบริโภคภายในครัวเรือน เมื่อเหลือจากนั้นจึงนำไปแลกเปลี่ยนกับผลผลิตที่ตนขาดแคลนหรือไม่สามารถผลิตเองได้ เพราะสภาพภูมิประเทศแอ่งลองเป็นป่าไม้และภูเขามีที่ราบในการเพาะปลูกเพียงประมาณ ๑๖๖,๗๒๖ ไร่ หรือประมาณ ๑๐.๒๓% ของพื้นที่ทั้งหมด ด้วยเหตุนี้จึงใช้วิธีเพาะปลูกพืชอื่นแทนข้าวหรือใช้วิธีทำข้าวไร่ โดยแต่ละชุมชนจะมีผลผลิตต่างกัน เช่น กลุ่มกะเหรี่ยงถนัดปลูกข้าวไร่จึงนำมาแลกกับชุมชนคนไต(คนเมือง)ที่ผลิตเครื่องปั้นดินเผาหรือเครื่องมือเหล็ก ฯลฯ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•จันทร์•ที่ 24 •ธันวาคม• 2012 เวลา 21:38 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๒๔ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 15 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 23:10 น.•

ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๒๔ ผลกระทบของการจัดการปกครอง : “กบฏเงี้ยว” การต่อต้าน “ฟื้นสยาม” ของเมืองลอง เมืองต้า พ.ศ.๒๔๔๕(ต่อ) การต่อต้านสยามครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมทั้ง “เงี้ยว” (ไทใหญ่ ไทเขิน ไทลื้อ(ไทยอง) ไทเหนือ) ไท ยวน(คนเมือง) พม่า ขมุ ต่องสู้ กะเหรี่ยง ลาว รวมถึงพระสงฆ์สามเณร หรือแม้แต่คนสยามเองก็เข้าร่วมด้วย เช่น พระไชยสงคราม(นายจอน) ซึ่งได้เป็นราชบุตรเขยของเจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์ ก็ได้เกณฑ์ข้าวทุกหลังคาเรือนให้เงี้ยวไว้เป็นเสบียง แต่ภายหลังด้วยการขาดความร่วมมือระหว่างหัวเมืองต่างๆ ของล้านนาอย่างจริงจังจึงกระทำการไม่สำเร็จ สยามจึงได้ทำการปราบปรามและลงโทษผู้ต่อต้านที่นครแพร่อันเป็นเมืองเกิดเหตุการณ์ชัดเจนกว่าเมืองนครประเทศราชอื่นอย่างรุนแรงดังนี้คือ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อังคาร•ที่ 18 •ธันวาคม• 2012 เวลา 09:23 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๒๓ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 15 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 23:05 น.•

ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๒๓ ผลกระทบของการจัดการปกครอง : “กบฏเงี้ยว” การต่อต้าน “ฟื้นสยาม” ของเมืองลอง เมืองต้า พ.ศ.๒๔๔๕ ที่ผ่านมาเรื่องราว “กบฏเงี้ยว” ส่วนใหญ่มีการรับรู้รายละเอียดเฉพาะของเมืองแพร่ ทั้งที่เมืองลองเป็นจุดเริ่มต้น เป็นแหล่งเตรียมการ เป็นปมเงื่อนไขสำคัญของเรื่องราว และได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ครั้งนี้ไม่น้อยไปกว่าเมืองแพร่ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น มีเหตุผลสำคัญอะไรถึงต้องหลีกเลี่ยงจะกล่าวโทษ “กบฏ” ที่เมืองลอง ดังนั้นผู้เขียนจึงพยายามหาคำตอบโดยการวิเคราะห์เชื่อมโยงหลักฐานต่างๆ ตามมิติเวลาและบริบทของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ด้วยการสถาปนาโครงสร้างการปกครองรูปแบบใหม่ในพ.ศ.๒๔๔๒ เพื่อรวบอำนาจไว้แห่งเดียวที่กษัตริย์สยาม หรือที่เรียกว่าการปกครองระบอบ “สมบูรณาญาสิทธิราชย์” เนื่องจากสยามถูกบีบจากสถานการณ์การล่าอาณานิคมของชาวตะวันตก ไปพร้อมกับความต้องการปฏิรูปโครงสร้างการปกครองของสยามเองให้รัดกุมมากยิ่งขึ้น จึงส่งผลโดยตรงต่อการเบียดขับกลุ่มผู้ปกครองล้านนาที่เคยมีอิสระปกครองตนเองที่ถือว่าเป็นอีกประเทศหนึ่งเหมือนกับ “ล้านช้าง(ลาว)” “กัมพูชา” “มลายู” เพียงแต่อยู่ในฐานะ “เมืองประเทศราช” คือยอมรับอำนาจที่เหนือกว่าของสยามในระบบจารีตออกไป

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อังคาร•ที่ 11 •ธันวาคม• 2012 เวลา 09:08 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๒๒ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 15 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 22:16 น.•

ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๒๒ ด้านสังคม สังคมเมืองลองได้เปลี่ยนเป็นยุคใหม่ มีเงื่อนไขสำคัญคือการสถาปนาระบบราชการแบบใหม่โดยรวมศูนย์อำนาจไว้ที่กษัตริย์สยาม พร้อมกับยกเลิกเจ้านาย ขุนนาง ไพร่ และทาส ที่เป็นโครงสร้างเดิมของเมืองลองยุคจารีต ในเมืองนครประเทศราชทั้ง ๕ สยามได้ลิดรอนอำนาจอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่กรณีหัวเมืองขึ้นอย่างเมืองลองเป็นลักษณะ “ริบอำนาจ” แทนการ “ลิดรอนอำนาจ” กลุ่มผู้ปกครองเมืองลองโดยเฉพาะเค้าสนามได้ถูกกันออกจากระบบราชการของสยาม จึงเท่ากับเป็นการถอดออกจากตำแหน่งทั้งโครงสร้าง แล้วให้มีกลุ่มข้าราชการสยามทำหน้าที่ปกครองบ้านเมืองแทน กลุ่มผู้ปกครองเมืองลองจึงถูกลดสถานะลงอย่างฉับพลัน ประกอบกับ “ไพร่” หรือ “ชาวเมือง” กลายเป็นพสกนิกรของกษัตริย์สยามไม่ได้เป็นไพร่ของเจ้าเมืองลองอีกต่อไป ซึ่งก็แสดงถึงสถานะ การเป็น “เจ้าชีวิต” ความมีอำนาจราชศักดิ์ของเจ้าเมืองลองได้ล่มสลายลงไปในชั่วพริบตาอีกด้วย

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อังคาร•ที่ 04 •ธันวาคม• 2012 เวลา 10:33 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๒๑ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พุธ•ที่ 14 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 00:00 น.•

ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๒๑ ด้านการคลังและภาษีอากร การปกครองแบบใหม่ มีลักษณะรวบอำนาจและดึงดูดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเข้าสู่สยาม มีการแทรกซึมวางโครงสร้างไว้อย่างมั่นคงจนทำให้ทั้ง “นครประเทศราช” “เมืองขึ้น” รวมถึงเมืองลองที่เป็นเมืองขนาดเล็กไร้อำนาจการต่อรองต้องตกอยู่ในภาวะจำยอม ผลประโยชน์ทั้งหลายที่เจ้าเมืองและกลุ่มผู้ปกครองเมืองลองเคยได้รับในอดีตต้องหมดไปโดยปริยาย เช่น ค่าไม้ขอนสัก เก็บค่าขุดเหล็ก เก็บค่าตอไม้ เก็บค่าล่องสินค้าผ่านเมือง และผลประโยชน์บางอย่างจากเมืองต้า ฯลฯ อีกทั้งไม่ได้รับเงินเดือนเหมือนเจ้าผู้ครองนครลำปางและเจ้านายบุตรหลาน เพราะเจ้าเมืองลองและขุนนางเค้าสนามถูกกันออกจากระบบราชการ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อังคาร•ที่ 27 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 07:47 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๒๐ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พุธ•ที่ 17 •ตุลาคม• 2012 เวลา 20:15 น.•

ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๒๐ การตั้งถิ่นฐานและพัฒนาการของเมืองลองในยุคจารีต การปฏิรูปการปกครองสงฆ์เมืองลอง เดิมพระสงฆ์ในเมืองลองมีอำนาจปกครองเป็นการภายใน โดยมี “พระสังฆราชา” หรือ “มหาครูบาหลวง” มีสมณศักดิ์สูงสุดภายในเมือง ที่ได้รับการสถาปนาจากเจ้าเมืองลอง ขุนนางและชาวเมือง มีโครงสร้างการปกครอง คือ ตุ๊เจ้า(พระสงฆ์)และพระ(สามเณร)ภายในวัดอยู่ในความปกครองของตุ๊หลวงหรือครูบาเจ้าวัด(เจ้าอาวาส)และตุ๊บาละก๋า(รองเจ้าอาวาส) ครูบาเจ้าวัดขึ้นอยู่กับครูบาเจ้าหมวดอุโบสถ และครูบาเจ้าหมวดอุโบสถขึ้นกับมหาครูบาหลวงเมือง พระสงฆ์จะมีแนวทางปฏิบัติที่หลากหลายตามที่ได้รับมาจากครูบาอาจารย์ เช่น วัดพระธาตุไฮสร้อย วัดบ้านบ่อแก้ว วัดต้าม่อน วัดน้ำริน มีพระสงฆ์และศรัทธาส่วนใหญ่มาจากเชียงตุงจึงมีจารีตปฏิบัติแบบ “เงี้ยว” หรือหัววัดที่มีครูบาเจ้าอินทวิไชยอรัญวาสี วัดดอนมูล เป็นพระอุปัชฌาย์ก็รับแนวปฏิบัติสายครูบามหาป่าเกสรปัญโญอรัญวาสี วัดไหล่หิน เมืองลำปาง ฯลฯ ซึ่งขณะนั้นเฉพาะเมืองนครเชียงใหม่ก็มีแนวปฏิบัติกลุ่มใหญ่แบ่งออกเป็นถึง ๑๘ นิกาย เช่น นิกายเชียงใหม่, นิกายเชียงแสน, นิกายน่าน, นิกายลัวะ, นิกายเม็ง(มอญ), นิกายม่าน(พม่า), นิกายเงี้ยว, นิกายเขิน(เชียงตุง), นิกายเลน, นิกายคง และนิกายงัวลาย เป็นต้น แต่พระสงฆ์ทั้งหมดก็ไม่ได้มีความขัดแย้งกันสามารถร่วมทำสังฆกรรมกันได้ คง และนิกายงัวลาย เป็นต้น แต่พระสงฆ์ทั้งหมดก็ไม่ได้มีความขัดแย้งกันสามารถร่วมทำสังฆกรรมกันได้ เมื่อสยามทำการปฏิรูปการปกครอง ได้ขยายอิทธิพลเข้ามาปฏิรูปการปกครองฝ่ายสงฆ์ด้วย สยามมองว่าพระสงฆ์สามเณรในล้านนาไม่เคร่งครัดและมีแนวการปฏิบัติที่แตกต่างกัน จึงจะจัดให้มีรูปแบบเดียวกันกับส่วนกลาง เพื่อให้คณะสงฆ์อำนวยต่อการจัดการศึกษาที่กำลังปฏิรูป เพราะขณะนั้นวัดยังเป็นศูนย์กลางถ่ายทอดความรู้ในสังคม และเป็นกลุ่มที่เข้าถึงราษฎรได้มากที่สุด

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•จันทร์•ที่ 19 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 22:48 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๑๙ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พุธ•ที่ 17 •ตุลาคม• 2012 เวลา 20:11 น.•

ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๑๙ การตั้งถิ่นฐานและพัฒนาการของเมืองลองในยุคจารีต การปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล ทำให้กลุ่มเจ้าเมืองขึ้นและขุนนางจำนวนมากมายได้ถูกลดบทบาทลง มีเพียงเจ้าเมืองหัวเมืองขึ้นชั้นที่ ๑ ที่ยังพอรักษาสถานภาพไว้ได้บ้าง เนื่องจากมีตำแหน่ง “พระยา” ของทางสยาม เป็นเครือญาติกับเจ้าผู้ครองนคร เป็นหัวเมืองขึ้นขนาดใหญ่ อีกทั้งข้าราชการชาวสยามยังขาดแคลน และเพื่อถนอมน้ำใจเจ้านายหัวเมืองขึ้น จึงแต่งตั้งเจ้าเมืองเป็นนายแขวง คือ เจ้าเมืองพะเยา เจ้าเมืองฝาง เจ้าเมืองเชียงของ เจ้าเมืองเชียงราย และเจ้าเมืองเชียงแสน ซึ่งเจ้านายบุตรหลานในบางเมืองก็ได้รับราชการเป็นรองนายแขวง สมุห์บัญชี ตลอดจนนายแคว้น แก่บ้าน เช่น รองอำมาตย์เอก พระยาราชวงศ์(เจ้าน้อยคำตั๋น) น้องชาย และรองอำมาตย์เอก พระยาราชบุตร(เจ้าน้อยแก้วมุงเมือง บุญทาวงศา) บุตรชายเจ้าเมืองฝาง ได้เป็นรองนายแขวงเมืองฝาง บุตรชายพระยาราชวงศ์ได้เป็นนายแคว้น หรือเจ้าหนานบุษรศ จิตตางกูร บุตรเขยเจ้าเมืองเชียงของ เป็นสมุห์บัญชี แขวงเมืองเชียงของ ส่วนขุนนางบางคนก็ได้เป็นนายแคว้นและแก่บ้าน

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อังคาร•ที่ 06 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 19:43 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๑๘ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พุธ•ที่ 17 •ตุลาคม• 2012 เวลา 20:05 น.•

ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๑๘ การตั้งถิ่นฐานและพัฒนาการของเมืองลองในยุคจารีต การขยายอำนาจของสยาม สู่การล่มสลายระบบจารีตของเมืองลอง พ.ศ.๒๔๔๒ - ๒๕๕๔ เมืองลองในระบบการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลของสยาม เป็นยุคที่เมืองลองมีความเปลี่ยนแปลงทั้งการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม จากยุคประเทศราชมี “เจ้าเมืองลอง” ในสกุลวงศ์เจ้าช้างปานมีอิสระปกครองภายในและขึ้นตรงต่อ “กษัตริย์นครลำปาง” ในราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน ครั้นพ.ศ.๒๔๔๒ เป็นต้นมาเมืองลองได้กลายเป็นเพียง “อำเภอ” หน่วยการปกครองหนึ่งและเป็นส่วนหนึ่งของสยาม มีการสร้างระบบราชการเพื่อดึงอำนาจของ “เจ้า” ในราชวงศ์เจ้าเจ็ดตนและ “เจ้า” ในสกุลวงศ์เจ้าช้างปานเข้าไว้ที่ส่วนกลาง และกลืนไพร่บ้านพลเมืองทั้งหมดให้กลายเป็นพสกนิกรของ “กษัตริย์สยาม” จึงเป็นจุดเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของ “เมืองลอง” ที่รัฐบาลสยามเข้ามาเป็นผู้กำหนดทิศทางการปกครองของบ้านเมือง และกลายเป็นรากฐานของการพัฒนารูปแบบสมัยใหม่ที่สืบเนื่องมาเป็นอำเภอลองในปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงของเมืองลองในส่วนระบบการปกครอง ที่มีผลกระทบต่อโครงสร้างของเมืองแบบจารีต พ.ศ.๒๔๔๒ – ๒๔๕๖ เมื่อเกิดการปฏิรูปประเทศราชล้านนาในช่วงแรก สยามเน้นปฏิรูปด้านการเมืองการปกครองและจัดเก็บภาษีเป็นหลัก

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พุธ•ที่ 31 •ตุลาคม• 2012 เวลา 08:42 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๑๗ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พุธ•ที่ 17 •ตุลาคม• 2012 เวลา 19:37 น.•

ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๑๗ การตั้งถิ่นฐานและพัฒนาการของเมืองลองในยุคจารีต การรักษาเสถียรภาพของเมืองลองเมื่อรัฐไทยขยายตัวเข้ามา พ.ศ.๒๔๒๕ - ๒๔๔๒ ยุคจารีตเมืองศูนย์กลางอำนาจกับเมืองบริวารจะมีความสัมพันธ์กันแบบหลวมๆ มีความยืดหยุ่นและเปราะบางสูง อาจเปลี่ยนแปลงไปตามเวลาและเหตุการณ์ที่เมืองนั้นๆ กำลังเผชิญอยู่ ที่เกิดจากการขยายอิทธิพลเข้ามาของเมืองที่มีอำนาจมากกว่าหรือเมืองศูนย์กลางเดิมอ่อนแอลง ซึ่งเมืองลองภายหลังสยามเข้าแทรกแซงการปกครองของ “กษัตริย์” หรือ เจ้าผู้ครองนครประเทศราชทั้ง ๕ ในล้านนา คือ นครเชียงใหม่ นครลำปาง นครลำพูน นครน่าน และนครแพร่ จึงพยายามแยกตนเป็นอิสระจากเมืองนครลำปางเพื่อเลื่อนสถานะ ที่เดิมเมืองลองมีสถานะเป็นหัวเมืองชั้นรองมีอิสระภายในสูง แต่ในยุคราชวงศ์เจ้าเจ็ดตนที่อาศัยความสัมพันธ์เชิงเครือญาติระหว่าง “กษัตริย์(เจ้าผู้ครองนคร)” กับ “เจ้าเมือง” หัวเมืองขึ้นต่างๆ เป็นสำคัญ ทำให้เมืองลองที่มีเจ้าเมืองเป็นสกุลวงศ์ท้องถิ่นถูกลดสถานะลงเป็นหัวเมืองขึ้นระดับชั้นต่ำสุด กอปรกับในช่วงนี้เมืองลองมีจารีตพุทธศาสนาที่สั่งสม จนมีครูบามหาเถระที่แตกฉานในพระธรรมเป็นศูนย์กลางการเข้ามาศึกษาของพระสงฆ์สามเณรต่างเมือง รวมถึงผลประโยชน์ป่าไม้ที่กลุ่มผู้ปกครองเมืองลองควบคุมอยู่กลายเป็นสินค้ามีราคาในช่วงนี้ และการค้าระหว่างกลุ่มผู้ปกครองเมืองลองกับพ่อค้า “เงี้ยว” โดยเฉพาะนครเชียงตุงกำลังเฟื่องฟู มีผลต่อการอุปถัมภ์พระศาสนาทั้งสร้างศาสนสถานและการศึกษาของพระสงฆ์ ซึ่งการเป็นทั้งศูนย์กลางทางศาสนาหรือศูนย์กลางการศึกษาของพระสงฆ์สามเณรและระบบเศรษฐกิจของเมืองลองที่ขยายตัว ควบคู่กับมีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ทั้งแร่เหล็ก ทองคำ และเงิน เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้เจ้าเมืองลองมีความมั่นใจจะยกสถานภาพของตนเองขึ้นเป็นเจ้าประเทศราช ดังนั้นเมื่อมีมหาอำนาจสยามเข้ามาแทรกแซงอำนาจเจ้าผู้ครองนครประเทศราชล้านนามากขึ้น กลุ่มผู้ปกครองเมืองลองจึงขอเป็นเมืองประเทศราชขึ้นตรงกับสยาม ที่กำลังทวีอำนาจเหนือเจ้าผู้ครองนครประเทศราชทั้ง ๕ ขึ้นทุกขณะ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อังคาร•ที่ 23 •ตุลาคม• 2012 เวลา 07:41 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๑๖ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 14 •ตุลาคม• 2012 เวลา 10:52 น.•

ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๑๖ การตั้งถิ่นฐานและพัฒนาการของเมืองลองในยุคจารีต โครงสร้างการปกครองสงฆ์ของเมืองลอง พุทธศาสนาในเมืองลองสันนิษฐานว่ามีการผสมผสานทั้งนิกายดั้งเดิมสมัยหริภุญไชย ที่เข้ามาพร้อมกับการขยายตัวของกลุ่มคนลุ่มน้ำปิงลุ่มน้ำวังราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ (พ.ศ.๑๖๐๑ – ๑๗๐๐) นิกายรามัญวงศ์ผ่านเมืองศรีสัชนาลัย นิกายรามัญวงศ์(พระสุมนเถระ วัดสวนดอก) และนิกายลังกาวงศ์(พระมหาญาณคัมภีร์ วัดป่าแดง)เมืองเชียงใหม่ผ่านเมืองลำปางราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ (พ.ศ.๑๙๐๑ – ๒๐๐๐) ขณะที่พระสงฆ์เมืองลองก็ออกไปศึกษาตามหัวเมืองใหญ่อยู่เสมอ เช่น พระมหาพุทธคุณเถระ วัดพระธาตุแหลมลี่ เคยศึกษาในสำนักพระมหาโพธิสมภารเมธังกร เมืองเชียงใหม่ พระสงฆ์วัดนาตุ้มศึกษาที่สำนักราชครูหลวงป่าซาง เมืองลำพูน เรียนในสำนักครูบามหาป่าเกสรปัญโญอรัญวาสี(ช่วงพ.ศ.๒๒๒๐) วัดไหล่หิน เมืองลำปาง หรือภายหลังพระเจ้ากาวิละทรงฟื้นฟูตั้งเมืองนครเชียงใหม่(พ.ศ.๒๓๓๙) ได้ ๘ ปีก็มีพระสงฆ์เมืองลองไปเรียนถึงเมืองนครเชียงใหม่ เช่น พระกาวิละ วัดนาตุ้ม เมืองลองไปเรียนในสำนักครูบาอรินทะ วัดเกตการาม เมืองนครเชียงใหม่ เมื่อพ.ศ.๒๓๔๗ จึงทำให้ภายหลังราวพุทธศตวรรษที่ ๒๔ (พ.ศ.๒๓๐๑ – ๒๔๐๐) เป็นต้นมา

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พุธ•ที่ 17 •ตุลาคม• 2012 เวลา 15:43 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๑๕ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อังคาร•ที่ 11 •กันยายน• 2012 เวลา 20:30 น.•

การตั้งถิ่นฐานและพัฒนาการของเมืองลองในยุคจารีต ระบบการเกณฑ์ไพร่พลในเมืองลอง (๑) เกณฑ์ทำศึกสงคราม หัวศึกเมืองลอง(แม่ทัพ) มีสิทธิ์ขาดในการเกณฑ์ชายฉกรรจ์และเสบียงจากหมู่บ้านต่างๆ ส่วนแสนบ่อจะเกณฑ์ช่างแต่ละหมู่บ้านทำอาวุธ ซึ่งเอกสารมักบันทึกภาพรวมว่าเป็นกองทัพเมืองลำปาง แต่แท้จริงแล้วเป็นลักษณะกองทัพผสมที่มาจากหัวเมืองขึ้น รวมถึงกองทัพเมืองลองและกองทัพเมืองต้าด้วย เช่น พ.ศ.๒๓๐๘ ร่วมกับกองทัพเมืองนครลำปางของเจ้าชายคำสม (ภายหลังเป็นเจ้าผู้ครองนครลำปางองค์ที่ ๔) เจ้าน้อยธรรมลังกา (ภายหลังเป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๒) และกองทัพไทใหญ่ พม่า เข้าตีกรุงศรีอยุธยาจนแตกได้รับชัยชนะในพ.ศ.๒๓๑๐ เกณฑ์รบพม่าที่เมืองเชียงแสนช่วงพ.ศ.๒๓๔๕ - ๒๓๔๗ หรือ พ.ศ.๒๓๖๙ เกณฑ์กำลังปราบเจ้าอนุวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเวียงจันทน์ ที่ทำการ “ฟื้นสยาม” หรือประกาศอิสรภาพจากสยาม เป็นต้น

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อาทิตย์•ที่ 07 •ตุลาคม• 2012 เวลา 18:02 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๑๔ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อังคาร•ที่ 11 •กันยายน• 2012 เวลา 19:56 น.•

การตั้งถิ่นฐานและพัฒนาการของเมืองลองในยุคจารีต ระบบการแต่งตั้ง ที่มาของอำนาจ และการรักษาสถานภาพของกลุ่มผู้ปกครองเมืองลอง เมืองลองมีอิสระเป็นการภายในในการคัดเลือกผู้ที่จะได้เป็นเจ้าเมือง หลังจากนั้นจึงเข้ารับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการจากเจ้าผู้ครองนครลำปาง เมื่อกลับมาถึงเมืองก็จะมีพิธีบอกกล่าวเลี้ยงผีอารักษ์บ้านเมือง พิธีรดสรง และทูลขวัญเจ้าเมืองลองคนใหม่อีกครั้งหนึ่ง การขึ้นเป็นเจ้าเมืองลองประการสำคัญคือ อ้างสิทธิธรรมการสืบเชื้อสายมาจากเจ้าช้างปาน ปฐมบรรพบุรุษของเจ้าเมืองลอง และต้องเป็น “เจ้า” ชั้นใกล้ชิดกับเจ้าเมืองคนก่อน โดยเฉพาะบุตรชายที่ถือกำเนิดจากเจ้าเมืองลองกับชายาเอกจะได้รับการพิจารณาเป็นลำดับแรก เมื่อรับการแต่งตั้งแล้วจะได้รับเครื่องเทียมยศหรือเครื่องสูงประทานจากเจ้านครลำปางเพื่อแสดงความชอบธรรม เช่น กุบละแอจิกคำ จ้องคำ ง้าวคอเงิน หอกคอเงิน ดาบหลูบเงินบั้งคำด้ามงาแกะ มีดหลูบเงินด้ามงา เสื้อกระดุมทองคำ หมอนผา(หมอนสามเหลี่ยม)ปักไหมเงินไหมคำ ขันหมากทารักติดคำพร้อมชุดตลับเงิน น้ำต้น(คนโท)หลูบเงิน สลอบเงิน สลุงเงิน บูยา(กล้องยาสูบ)หลูบเงิน ขันข้าวตอกเงิน ขันข้าวตอกทารักติดคำ ขันโตกทารักติดคำพร้อมชุดสำรับเครื่องเคลือบ และกระโถนทองเหลือง เป็นต้น นอกจากนี้เจ้าเมืองยังต้องสร้างสิทธิธรรมต่างๆ คือ เป็นผู้นำประกอบพิธีกรรมของบ้านเมือง สร้างวัด สร้างถาวรวัตถุถวายแก่บวรพุทธศาสนา เช่น พญาขัณฑสีมาโลหะกิจ(เจ้าหนานคันธิยะ โลหะ) สร้างวัดคันธารส(วัดแม่ลานเหนือ) หรือได้ครอบครองของวิเศษที่เกิดมาคู่บารมี เช่น พญาไชยชนะชุมพูได้ดอกต้นโพธิ์จากครูบาชุมพู(พ.ศ.๒๔๐๐ - ๒๔๑๑) วัดบ้านปิน, หรือได้ครอบครองของวิเศษที่เกิดมาคู่บารมี เช่น พญาขัณฑสีมาโลหะกิจ มีแหวนเป็กมะขูดมหานิลดำ (ครูบาหลวงจันทร์ วัดแม่ลานใต้นำมามอบให้) เล่าสืบมาว่าถ้าสวมแหวนวงนี้เอาหัวแหวนขึ้นจะอยู่ยงคงกระพัน หากเอาหัวแหวนลงจะล่องหนหายตัว ซึ่งมีเรื่องเล่าว่าพญาขัณฑสีมาโลหะกิจ เมื่อออกตรวจตราบ้านเมืองชาวเมืองมักได้ยินแต่เสียงฝีเท้าม้ากระทบพื้นแต่มองไม่เห็นตัวเพราะสวมแหวนวงนี้แล้วเอาหัวลง และยังเชื่ออีกว่าหากสวมแหวนวงนี้เมื่อคนข้าวในครกมอง(ครกกระเดื่อง)สากครกก็จะไม่ตำถูกมือ หรือ ไก่ปู้แก้ว (แสนมิ่งเมืองมูล บ้านนาตุ้มนำมามอบให้) เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นจะขันทั้ง ๔ ทิศๆ ละหนึ่งครั้ง เป็นต้น

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•จันทร์•ที่ 01 •ตุลาคม• 2012 เวลา 11:07 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๑๓ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อังคาร•ที่ 11 •กันยายน• 2012 เวลา 10:52 น.•

การตั้งถิ่นฐานและพัฒนาการของเมืองลองในยุคจารีต ระบบโครงสร้างการปกครองภายในเมืองลอง ยุคนี้ตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก เพราะยังอยู่ในสายสกุลวงศ์เจ้าช้างปาน แต่ยศเจ้าเมืองลองเลื่อนขึ้นเป็น “แสนหลวง” หรือ “พญา” เจ้าเมืองต้าเมืองขึ้นเป็น “แสน” นำมาสู่ยศตำแหน่งของขุนนางภายในเมืองหากมีความดีความชอบก็จะเลื่อนสูงขึ้นตามลำดับ คือ หมื่น, หมื่นหลวง, หาญ, ท้าว, แสน, แสนหลวง และพญา โดย “พญาเจ้าเมืองลอง” มีอำนาจราชศักดิ์สูงสุดภายในเมือง เป็น “เจ้าชีวิต” มีอำนาจสั่งประหารชีวิตได้ ตามฐานันดรศักดิ์ชาวเมืองถือว่าเจ้าเมืองเป็น “เจ้า” จึงเรียกว่า “เจ้าพญา” หรือ “พ่อเฒ่าเจ้า” เรียกชายาเอกของเจ้าเมืองว่า “แม่เจ้า” ส่วนเจ้าผู้ครองนครลำปางชาวเมืองลองจะเรียกว่า “เจ้าหอคำ” ความเป็น “เจ้า” ในเมืองลองสืบทอดตามความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเจ้าเมืองเป็นสำคัญและจะสิ้นสุดลงในชั้นหลาน เป็นการจำกัดจำนวน “เจ้า” และผู้ที่มีสิทธิ์ขึ้นเป็นเจ้าเมือง ขณะเดียวกันก็มีการจัดลำดับความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างกัน ของเจ้าผู้ครองนครในราชวงศ์เจ้าเจ็ดตนกับเจ้าเมืองลองในสกุลวงศ์เจ้าช้างปาน ดังเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่มีพระราชอาชญาประหารชีวิตโดยใช้ดาบตัดศีรษะ เจ้าผู้ครองนครลำปางใช้หอกเสียบอก เจ้าผู้ครองนครลำพูนใช้หอกเสียบเอว เจ้าเมืองลองใช้หลาวแทง จัดขบวนพิธีการภายในเมืองเจ้าเมืองลองสามารถนั่งม้ากางจ้องคำแต่ไม่สามารถนั่งช้างเลียบเมืองกางสัปทนได้อย่างเจ้าผู้ครองนคร หรือขุนนางเค้าสนามหลวงในนครประเทศราชจะมียศสูงกว่า “พญา” คือ “เจ้าพญา” ในขุนนางชั้นผู้ใหญ่ระดับรอง “เจ้าพญาหลวง”(พญาหลวง) ระดับพญาพื้นหรือพ่อเมืองทั้ง ๔ (ปฐมอรรคมหาเสนาธิบดี ๑ คน และอรรคมหาเสนา ๓ คน) การปกครองส่วนกลางของเมืองลองมีเค้าสนามอยู่บ้านดอนทราย (อดีตเรียกรวมว่าบ้านฮ่อง อ้อ) มีพญาแสนท้าวนั่งการเมือง ๑๒ ขุนเหนือเค้าสนาม แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม คือ พ่อเมืองทั้ง ๔ และขุนเมืองทั้ง ๘ พ่อเมืองทั้ง ๔ มีอำนาจรองลงมาจากเจ้าเมือง เป็นผู้ช่วยเจ้าเมือง และหัวหน้าขุนนางเค้าสนาม พญาพื้นหรือพ่อเมืองลองทั้ง ๔ กลุ่มสุดท้าย คือ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อาทิตย์•ที่ 23 •กันยายน• 2012 เวลา 19:49 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๑๒ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อังคาร•ที่ 11 •กันยายน• 2012 เวลา 10:35 น.•

ต่อจากตอน (๑๑) ๓ เมืองลองยุคสกุลวงศ์เจ้าช้างแดงถึงเจ้าช้างปานตอนกลาง(พ.ศ.๒๐๖๐ – พ.ศ.๒๒๗๐) ยุคนี้คาบเกี่ยวกัน ๒ ช่วง คือ สกุลวงศ์เจ้าช้างแดงและสกุลวงศ์เจ้าช้างปาน หลังจากเจ้าเมืองลองในสกุลวงศ์เจ้าช้างแดงสิ้นสุดลง ได้ตั้งสกุลวงศ์เจ้าช้างปานขึ้นใหม่เมื่อประมาณพ.ศ.๒๑๔๒ โดย “พญาช้างปาน” ซึ่งตั้งแต่สกุลวงศ์เจ้าช้างแดงถึงตอนกลางของสกุลวงศ์เจ้าช้างปาน ก่อนที่จะมีการสถาปนาราชวงศ์เจ้าเจ็ดตนขึ้นปกครองล้านนาเป็นช่วงที่เมืองลองมีอิสระสูงมาก จึงแบ่งยุคนี้ตั้งแต่พญาช้างแดงถึงพญาขุนท่า(พ.ศ.๒๐๖๐ - พ.ศ.๒๒๗๐) เป็นเจ้าเมืองลอง สาเหตุที่เมืองลองมีความเป็นอิสระสูงเนื่องจาก ตั้งแต่พญาเกสเชษฐราช (กษัตริย์ล้านนา พ.ศ.๒๐๖๙ - ๒๐๘๑) ถึงสมัยพญาเมกุ (กษัตริย์ล้านนา พ.ศ.๒๐๙๔ - ๒๑๐๗) กษัตริย์มีอำนาจไม่มั่นคง ขุนนางสามารถปลดหรือปลงพระชนม์กษัตริย์ได้หรือบางเวลาก็ไม่มีกษัตริย์ปกครอง และเจ้าเมืองลำปางก็ไม่ได้เป็นเชื้อพระวงศ์หรือสืบเชื้อสายเหมือนยุคก่อน แต่ปรากฏมีการโยกย้ายตำแหน่งไปครองเมืองต่างๆ อยู่เสมอ ด้วยความอ่อนแอของศูนย์กลางและ เจ้าเมืองลำปางขาดการสร้างฐานอำนาจภายในเมือง เมืองลองจึงมีความเป็นอิสระระดับหนึ่ง และเพิ่มมากขึ้นหลังจากล้านนาเป็นเมืองขึ้นของพม่าในพ.ศ.๒๑๐๑ เป็นต้นมา พม่าได้ส่งคนพม่าหรือเจ้าฟ้าในรัฐฉานมาเป็นเจ้าเมืองลำปาง ส่วนเมืองลองแม้ว่าจัดให้เป็นหนึ่งใน ๕๗ หัวเมืองของล้านนาที่ขึ้นกับพม่า แสดงถึงเมืองลองเป็นเมืองสำคัญใน สายตาของพม่าระดับหนึ่ง สันนิษฐานว่าเพราะมีแร่เหล็กที่ปรากฏหลักฐานกษัตริย์พม่ามีรับสั่งให้บางหัวเมืองในล้านนาส่งส่วยเหล็กให้ราชสำนักพม่า แต่ด้วยเมืองลองมีขนาดเล็กและได้เป็นเมืองขึ้นของเมืองลำปางอยู่แล้ว พม่าจึงปล่อยให้มีเจ้าเมืองสืบทอดเชื้อสายตามเดิม ขณะที่เจ้าเมืองลำปางก็ไม่ได้เข้ามายุ่งเกี่ยวภายในเมืองลอง แม้การกัลปนาก็ให้มีตัวแทนเข้ามาจัดการ เช่น พญาศรีสองเมือง เจ้าเมืองลำปางกัลปนาพื้นที่ให้สร้างวัดพระธาตุศรีดอนคำพ.ศ.๒๑๖๙ หรือเจ้าฟ้าหลวงลายข้า เจ้าเมืองลำปางกัลปนาเขตพระอุโบสถวัดพระธาตุศรีดอนคำพ.ศ.๒๒๐๑ “รวมอุโบสถทังมวลมี ๕๒๘๒๘ รอมยามทังมวลมี ๖๓๓๙๔๙๖ รอมนาทีทังมวลมี ๔๗๕๔๖๒๒๐ นาที เมื่อเช่นเจ้าฟ้าหลวงเมืองลายข้า ตนเปนลูกเจ้าฟ้าหลวงเสือก่อนฟ้า เปนหลานเจ้าฟ้าหลวงเสือจ้อได้มากินเมืองนคร บังเกิดพระราชสัทธายินดีในแก้วทังสาม จิ่งหื้อข้าในตนชื่อชั้นใน เปนอุปทูต หมื่นหละจิตรสาร เปนอนุทูต จำทูลอาชญามาเวนที่หื้อเปนทานแก่สังฆเจ้าในเมืองลอง ลวงกว้างมี ๒๗ วา ลวงยาวมี ๓๕ วา ได้ตั้งเสาเขตสี่เสาในแจ่งวัดทังสี่ พระสังฆเจ้าทังมวลมีแปดพระองค์ ก็ได้หื้อทานแล้วบอระมวลวันนั้นแล”

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อังคาร•ที่ 18 •กันยายน• 2012 เวลา 11:26 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๑๑ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อังคาร•ที่ 11 •กันยายน• 2012 เวลา 09:59 น.•

การตั้งถิ่นฐานและพัฒนาการของเมืองลองในยุคจารีต ระบบโครงสร้างของเมืองลองแบบจารีต (ก่อนล้านนา – พ.ศ.๒๔๔๒) ระบบโครงสร้างของเมืองลองแบบจารีตสามารถแบ่งออกได้เป็น ๔ ยุค คือ (๑) ยุคสกุลวงศ์เจ้าศรีกุกกุฏฏะ(ก่อนล้านนา - พ.ศ.๒๐๒๐) เป็นช่วงก่อตั้งสร้างความมั่นคง (๒) ยุคสกุลวงศ์เจ้าหัวเมืองแก้ว(ประมาณพ.ศ.๒๐๒๐ - พ.ศ.๒๐๖๐) เป็นช่วงเริ่มถูกดึงอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางเมืองหลวงเชียงใหม่และจัดการปกครองรัดกุมมากขึ้น (๓) ยุคสกุลวงศ์เจ้าช้างแดงถึงสกุลวงศ์เจ้าช้างปานตอนกลาง(พ.ศ.๒๐๖๐ - พ.ศ.๒๒๗๐) เป็นช่วงมีอิสระสูง และ(๔) ยุคสกุลวงศ์เจ้าช้างปานตอนกลางถึงตอนปลาย(พ.ศ.๒๒๗๐ - พ.ศ.๒๔๔๒) เป็นช่วงเจ้านครลำปางเข้าควบคุมอย่างใกล้ชิด (๑) เมืองลองยุคสกุลวงศ์เจ้าศรีกุกกุฏฏะ (ก่อนล้านนา - พ.ศ.๒๐๒๐) เมืองลองเริ่มก่อกำเนิดขึ้นโดยการขยายตัวของกลุ่มผู้ปกครองเมืองเขลางค์นคร นำโดยผู้ที่ตำนานเรียกชื่อว่า “เจ้าศรีกุกกุฏฏะ” โอรสเจ้าเมืองเขลางค์นคร สันนิษฐานว่าเมืองลองระยะแรกอยู่ในลักษณะเป็นบ้านพี่เมืองน้องกับเมืองเขลางค์นคร สะท้อนจากมีชื่อเรียกเมืองลำปางว่า “เมืองกุกกุฏนครไก่เผือก” เรียกเมืองลองว่า “เมืองศิริกุกกุฏไก่เอิ้ก” และเป็นเมืองปลายอาณาเขตของแคว้นหริภุญไชย เมื่อพญามังรายตีได้เมืองหริภุญไชยและเมืองเขลางค์นคร เมืองลองจึงถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนาด้วย แต่เมืองลองก็มีอิสระมากพอสมควรจนกระทั่งหลังจากพญาเป็กขะจา เจ้าเมืองลองสิ้นชีวิต พระเจ้าติโลกราชได้ส่งพญาหัวเมืองแก้วจากเมืองเชียงใหม่มาเป็นเจ้าเมืองลองแทน จึงเป็นครั้งแรกที่ถูกแทรกแซงอำนาจทางการปกครองของเมืองลอง

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อังคาร•ที่ 11 •กันยายน• 2012 เวลา 19:55 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประวัติศาสตร์เมืองลอง ๑๐ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อังคาร•ที่ 07 •สิงหาคม• 2012 เวลา 00:22 น.•

ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๑๐ การตั้งถิ่นฐานและพัฒนาการของเมืองลองในยุคจารีต การใช้ระบบผี(ผีปู่ย่า ผีเรือน ผีบ้าน และผีเมือง)ควบคุมสังคม ความเชื่อเรื่องผีมีมานานในคน “ไท” กลุ่มต่างๆ ผีเป็นศาสนาเก่าแก่ของคนในแถบนี้ก่อนจะนับถือพุทธศาสนา ลักษณะของพุทธศาสนาชาวล้านนาให้ความเคารพและศรัทธา แต่ผีนอกจากเคารพศรัทธาแล้วยังมีความกลัวและยำเกรงอีกด้วย ผีจึงทรงอิทธิพลและใกล้ชิดกับผู้คนมากดังบันทึกของชาวตะวันตกผู้เข้ามาเผยแผ่คริสตศาสนาได้กล่าวถึงความเชื่อเรื่องผีของคนล้านนาว่า “...การนับถือผีไม่จำเป็นต้องมีวัด แต่อยู่ในใจของคนทุกคน...” เมื่อผีมีความผูกพันแนบแน่นกับโลกทัศน์และวิถีชีวิตของผู้คน ที่แม้แต่ตำนานพระธาตุแหลมลี่ก็ใช้ผีเป็นเครื่องมือรักษาศาสนสถาน

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•จันทร์•ที่ 03 •กันยายน• 2012 เวลา 22:27 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประวัติศาสตร์เมืองลอง ๙ ตำนาน •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•จันทร์•ที่ 06 •สิงหาคม• 2012 เวลา 22:54 น.•

ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๙ การตั้งถิ่นฐานและพัฒนาการของเมืองลองในยุคจารีต การใช้ระบบพระธาตุและตำนาน(พุทธศาสนา)ควบคุมสังคมเมืองลอง คติการสร้างพระธาตุเพื่อเป็นพุทธบูชาปรากฏทั่วไปในล้านนา และความเชื่อเกี่ยวกับพระธาตุก็ถูกกลุ่มผู้ปกครองนำมาใช้เป็นกลไกในการควบคุมคนในสังคม มีการเขียนตำนานเพื่อเป็นคู่มืออธิบายสิ่งต่างๆ ซึ่ง “ตำนาน” เป็นการเขียนประวัติศาสตร์โบราณในล้านนา ที่ครั้งหนึ่งเป็นเรื่องเล่าสืบต่อกันมาและภายหลังได้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เรื่องราวที่ตำนานกล่าวเชื่อกันว่าเกิดขึ้นจริงทั้งเหตุการณ์ที่ล่วงมาแล้วและกำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตเมื่อถึงกาลเวลา ดังนั้นตำนานจึงมีอิทธิพลต่อความเชื่อและกำหนดพฤติกรรมร่วมของคนเมืองลอง โดยเฉพาะในยุคจารีตเป็นอย่างมาก ในเมืองลองมีพระธาตุสำคัญห้าองค์ แต่ละองค์ล้วนมีตำนานอธิบายประวัติความเป็นมา แต่ทว่านอกจากเป็นการเขียนขึ้นดังจุดประสงค์ข้างต้นแล้ว กลุ่มผู้ปกครอง(เจ้าเมืองลอง,พระสงฆ์, ขุนนาง,ปราชญ์)ยังใช้ความเชื่อเรื่องพระธาตุเพื่อควบคุมสังคม และความเป็นเอกภาพของคนเมืองลองด้วย เนื่องจากพุทธศาสนาเป็นสิ่งที่ผูกพันแนบแน่นกับวิถีชีวิตความเชื่อของผู้คน จึงมีพลังยึดเชื่อมคนให้มีสำนึกร่วมกัน ดังพระเจ้าติโลกราชทรงมีนโยบายดึงอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางที่เมืองเชียงใหม่ นอกจากใช้วิธีทางการเมืองการสงครามแล้วยังสร้างเครือข่ายบูชาพระธาตุประจำปีเกิด โดยสถาปนาพระมหาธาตุหลักประจำแต่ละเมืองที่มีมาแต่เดิมให้อยู่ในระเบียบเดียวกัน

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•จันทร์•ที่ 27 •สิงหาคม• 2012 เวลา 10:05 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประวัติศาสตร์เมืองลอง ๘ สร้างเอกภาพ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•จันทร์•ที่ 06 •สิงหาคม• 2012 เวลา 21:22 น.•

ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๘ การตั้งถิ่นฐานและพัฒนาการของเมืองลองในยุคจารีต การสร้างเอกภาพในระบบโลกจักรวาลทัศน์ของเมืองลอง ระบบจักรวาลทัศน์ของล้านนา คลี่คลายสืบเนื่องมาจากคติพราหมณ์และพุทธเรื่องชมพูทวีปเป็นศูนย์กลางจักรวาลของอินเดีย อันมีเขาพระสุเมรุเป็นแกนกลาง มีทวีปใหญ่ทั้ง ๔ และทวีปน้อย ๒,๐๐๐ ทวีปเป็นบริวาร เมื่อสร้างบ้านแปลงเมืองหรืออาณาจักรจึงจำลองจักรวาลน้อยใหญ่ให้เกิดขึ้นภายในชุมชนนั้นๆ โดยสร้างศูนย์กลางชุมชนให้เป็นรูปธรรม เพื่อให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นปริมณฑลอันศักดิ์สิทธิ์และเป็นศูนย์รวมความเชื่อของคนภายในชุมชน เมืองลองก็ปรากฏการสร้างจักรวาลทัศน์ขึ้นเช่นกัน ซึ่งไม่เพียงแต่ปรากฏจักรวาลทัศน์ทางพุทธเท่านั้น ยังปรากฏจักรวาลทัศน์ผีซ้อนครอบอีกชั้นหนึ่ง

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อังคาร•ที่ 21 •สิงหาคม• 2012 เวลา 11:44 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประวัติศาสตร์เมืองลอง ๗ การตั้งถิ่นฐาน •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•จันทร์•ที่ 06 •สิงหาคม• 2012 เวลา 20:33 น.•

ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๗ การตั้งถิ่นฐานและพัฒนาการของเมืองลองในยุคจารีต ส่วนเมืองบริวารทั้ง ๓ ของเมืองลอง คือ เมืองตรอกสลอบ เมืองต้า และเมืองช้างสาร มีลักษณะการตั้งถิ่นฐานและพัฒนาการดังนี้ คือ เมืองตรอกสลอบ แรกตั้งเมืองตรอกสลอบในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ (พ.ศ.๑๘๐๑ – ๑๙๐๐) สันนิษฐานว่ามีไพร่พลจำนวนไม่มาก ชาวเมืองส่วนใหญ่ตั้งชุมชนภายในเวียงและรายรอบไม่ไกล ดังปรากฏโบราณสถานเพียงแห่งเดียวก่อด้วยศิลาแลงอยู่กลางเวียง ภายหลังแคว้นสุโขทัยถูกผนวกเข้ากับอาณาจักรอยุธยาในปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ (พ.ศ.๑๙๐๑ – ๒๐๐๐) การค้าเส้นทางน้ำยมระหว่างเมืองสุโขทัยกับเมืองลองและเมืองทางตอนบนจึงซบเซาลง ส่งผลให้เมืองตรอกสลอบที่หล่อเลี้ยงเมืองด้วยการค้าต้องชะงักและค่อยเสื่อมลง

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•จันทร์•ที่ 13 •สิงหาคม• 2012 เวลา 23:31 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประวัติศาสตร์เมืองลอง ๖ ยุคจารีต ต่อ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อังคาร•ที่ 24 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 14:42 น.•

ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๖ การตั้งถิ่นฐานและพัฒนาการของเมืองลองในยุคจารีต (ต่อ) การตั้งถิ่นฐานและพัฒนาการของเมืองลองและเมืองบริวาร การตั้งถิ่นฐานชุมชนในแอ่งลอง ระยะแรกตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำยมทั้งหมด เนื่องจากเป็นที่ราบกว้างขวาง มีลำห้วยสาขาต่างๆ ไหลลงสู่แม่น้ำยม ส่วนฝั่งตะวันออกมีพื้นที่ราบเล็กน้อยติดเชิงเขาและแม่น้ำยมลึกเชี่ยวการสัญจรไม่สะดวกในฤดูน้ำหลาก จึงเป็นที่ทำไร่ไม่มีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนในอดีต เพิ่งปรากฏมีการตั้งถิ่นฐานหลังพ.ศ.๒๔๐๐ เป็นต้นมา จากการขยายตัวของประชากรและการอพยพจากภายนอกเข้ามาตั้งถิ่นฐานเพิ่มมากขึ้น

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อังคาร•ที่ 07 •สิงหาคม• 2012 เวลา 09:16 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประวัติศาสตร์เมืองลอง ๕ ยุคจารีต ต่อ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อังคาร•ที่ 24 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 13:35 น.•

ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๕ การตั้งถิ่นฐานและพัฒนาการของเมืองลองในยุคจารีต เมืองลองมีเมืองบริวารที่สร้างบ้านแปลงเมืองขึ้นในตอนใต้และตอนเหนือแอ่งลองในเวลาต่อมา ๓ เมือง คือ เมืองตรอกสลอบ เมืองต้า และเมืองช้างสาร เมืองตรอกสลอบ ตั้งอยู่บริเวณแอ่งลอง - วังชิ้นตอนใต้ มีลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบแคบๆ ลุ่มน้ำ มีแม่น้ำยมไหลผ่าน สร้างขึ้นด้วยปัจจัยมีทรัพยากรสำคัญคือของป่าต่างๆ ด้วยบริเวณนี้มีดินโป่งจึงเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด ดังภายหลังยังปรากฏเรียกบริเวณนี้ว่า “ผางัวเลีย” “วังกวาง” หรือ “วังชิ้น” เป็นพื้นที่ชื้นลุ่มน้ำจึงมีพืชตระกูลเครื่องเทศจำพวกผลเร่ว(มะแหน่ง)ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น และมีแร่ทองคำตามห้วยสาขาของแม่น้ำยม โดยเฉพาะบริเวณห้วยแม่ปอย ห้วยหมาก ห้วยผาที ห้วยนาพูน ห้วยแม่เกิ๋ง ห้วยคำอ่อน(อำเภอวังชิ้น) ซึ่งของป่าและแร่ธาตุเหล่านี้เป็นสินค้าที่ต้องการของตลาดระดับภูมิภาค อีกทั้งเป็นชุมทางที่พักและรวบรวมสินค้า เพราะเส้นทางน้ำยมช่วงผ่านแอ่งลองน้ำไหลแรงมีแก่งขนาดใหญ่อยู่ถึง ๑๒ แก่ง คือจากด่านผาขวาง เข้าสู่เมืองลอง – แก่งหาดรั่ว(ใต้บ้านหาดรั่ว) – แก่งปูหมาง – แก่งเบียน – แก่งแม่แปง – แก่งเดื่อ – แก่งบ้านปง – แก่งหาดคอก – แก่งสลก – แก่งวังหม้อ – แก่งผาคัน – แก่งผาหมู(ใต้วัดพระธาตุแหลมลี่) – แก่งหลวง – ด่านวังเงิน เข้าสู่เมืองแพร่ จึงต้องหยุดพักสร้าง “ปางยั้ง” ค้างแรมตรงจุดนี้ที่อยู่กึ่งกลางระหว่างเมืองลองกับเมืองศรีสัชนาลัย

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อังคาร•ที่ 31 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 09:28 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประวัติศาสตร์เมืองลอง ๔ ยุคจารีต •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อังคาร•ที่ 24 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 08:12 น.•

ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๔ การตั้งถิ่นฐานและพัฒนาการของเมืองลองในยุคจารีต การสร้างบ้านแปลงเมืองลองและเมืองบริวารในแอ่งลอง - วังชิ้น “เมือง” คือ หลายชุมชนหรือหลายหมู่บ้านรวมตัวกันอยู่ภายใต้การปกครองของผู้นำที่เรียกว่า “เจ้าฟ้า” หรือ “เจ้าเมือง” อาณาเขตของเมืองไม่มีความแน่นอนขึ้นอยู่กับอำนาจที่เข้มแข็งของเจ้าผู้ปกครองในแต่ละช่วงเวลาจะแผ่ครอบคลุมถึง  ตลอดจนได้รับความ “เชื่อศรัทธา” และการยอมรับอำนาจจาก “ไพร่ฟ้าข้าเมือง” ผู้อยู่ใต้การปกครองเป็นสำคัญ  เมื่อชุมชนได้พัฒนาขึ้นเป็นเมืองมีโครงสร้างสลับซับซ้อนอันประกอบด้วยเป็นศูนย์กลางการปกครอง  การค้า  และจิตวิญญาณ  ที่เชื่อมสัมพันธ์เกาะเกี่ยวกันอยู่ในรูปของเครือญาติ  เจ้านาย  ไพร่ข้า  ความเป็น “เมือง” จึงซ้อนทับกันอยู่ระหว่าง  “เมืองทางกายภาพ”  กับ  “เมืองทางจิตวิญญาณ”

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อังคาร•ที่ 24 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 14:15 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประวัติศาสตร์เมืองลอง ๓ การตั้งถิ่นฐาน •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พุธ•ที่ 04 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 14:15 น.•

การตั้งถิ่นฐานและพัฒนาการของเมืองลองในยุคจารีต บทความฉบับนี้ผู้เขียนจะกล่าวถึงการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชุมชนในแอ่งลอง และพัฒนาขึ้นเป็นเมืองที่มีความเป็นลักษณะเฉพาะของเมืองลอง คือ มีเจ้าสืบสกุลวงศ์ปกครองของตนเอง ใช้พุทธและผีสร้างเป็นจักรวาลหรือโลกของเมืองลอง รวมถึงการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเมืองลองกับเมืองภายในแอ่งลองและเมืองภายนอก ก่อนระบบความเป็นเมืองลองแบบจารีตล่มสลายลงเมื่อสยามขยายตัวเข้ามาจัดปฏิรูปการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อังคาร•ที่ 17 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 08:57 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๒ บทนำ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พุธ•ที่ 04 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 07:30 น.•

การศึกษาที่ผ่านมาเกี่ยวกับเมืองลอง งานการศึกษาที่เขียนเกี่ยวกับเมืองลองและเมืองต้าโดยตรงนั้นมีจำนวนน้อยมาก แต่เพื่อเป็นการปูพื้นฐานทั้งการนำมาใช้เป็นหลักฐานและกรอบแนวความคิด  จึงได้สำรวจงานการศึกษาทุกแขนงวิชาที่เกี่ยวข้องกับเมืองลองและเมืองต้า  เพื่อสำรวจสถานภาพงานการศึกษาที่ผ่านมาของเมืองลอง งานการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์เมืองลองจัดจำแนกออกได้เป็น ๔ กลุ่มหลักตามประเด็นที่ศึกษา โดยผู้ศึกษาได้เชื่อมโยงและวิพากษ์วิจารณ์งานกลุ่มต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษา  และทำให้เห็นภาพการศึกษาเกี่ยวกับเมืองลองที่ผ่านมา

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อังคาร•ที่ 10 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 07:23 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
อาจารย์ ภูเดช แสนสา •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•จันทร์•ที่ 02 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 20:32 น.•

บทความประวัติศาสตร์เมืองลองที่ท่านผู้อ่านกำลังจะได้อ่านต่อไปนี้ เป็นงานเขียนที่ผู้เขียนได้ทำการปรับปรุงเพิ่มเติมจากหนังสือของผู้เขียนเรื่อง “ประวัติศาสตร์เมืองลอง หัวเมืองบริวารในล้านนาประเทศ” ที่ตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๔ จำนวน ๑,๐๐๐ เล่ม แต่ก็ยังไม่เพียงพอสำหรับผู้สนใจ ดังนั้นเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจในวงกว้าง สะดวกในการเข้าถึงข้อมูลและการสืบค้น  ตลอดจนง่ายต่อการทำความเข้าใจในเนื้อหา ผู้เขียนจึงได้นำมาจัดแบ่งออกเป็นตอนย่อยๆ ได้จำนวน  ๕๐ ตอน เพื่อเผยแพร่บนเว็บไซต์ของ www.lannaphrae.com ซึ่งบทความประวัติศาสตร์เมืองลองทั้ง  ๕๐ ตอนนี้  จะนำเสนอภาพความเป็นเมืองลอง ฐานะหัวเมืองบริวารขนาดเล็กของล้านนาประเทศในยุคจารีต  จนกระทั่งความเป็นเมืองลองแบบจารีตได้ล่มสลายลงเมื่อรวมเข้ากับสยาม  และเกิดการสร้างและรื้อฟื้นตัวตนความเป็นเมืองลองกลับขึ้นใหม่

•อ่านเพิ่มเติม...•
 
เข้าสู่ประวัติศาสตร์เมืองลอง •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 30 •มิถุนายน• 2012 เวลา 11:35 น.•

พบกับประวัติศาสตร์เมืองลองกับอาจาีรย์ภูเดช แสนสา ทุกวันอังคารในเว็บแห่งนี้ ท่านผู้อ่านจะได้สัมผัสเมืองในแบบจารีตคือหน่วยทางการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมอย่างสมบูรณ์ เป็นการจัดพื้นที่ผ่านแบบแผนของผู้ที่อาศัยอยู่ ประกอบกันขึ้นจากหน่วยปกครองพื้นที่เล็กๆ ลงไปเข้าไว้ด้วยกัน อันเกิดจากการประสานระบบทางกายภาพของพื้นที่เข้ากับระบบความเชื่อ เพื่อเป็นสายใยเชื่อมโยงให้เกิดความเป็นกลุ่มก้อนของผู้คนภายในเมือง ดังนั้น “เมือง” ของคนกลุ่ม “ไท” จึงอาจหมายถึงอาณาจักรขนาดใหญ่ที่มีอำนาจเข้มแข็ง เมืองหลวง หรือเมืองเล็กเมืองน้อยที่อยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของแคว้นหรืออาณาจักรอีกชั้นหนึ่ง  ซึ่งเมืองเหล่านี้จะมีความสัมพันธ์กันในรูปของเมืองเล็กเมืองน้อยขึ้นต่อเมืองใหญ่เป็นลำดับชั้นขึ้นไป เป็นรูปแบบการปกครองที่มีลักษณะร่วมกันของรัฐในหุบเขาดังเช่น ล้านนา สิบสองพันนา สิบสองจุไท และฉานของไทใหญ่ ไทเขิน ไทเหนือ  ซึ่งสิบสองจุไทของไทดำ ไทขาว ไทแดง  ก็มีการแบ่งเมืองออกเป็น ๔ ระดับจากเมืองใหญ่ถึงเมืองเล็ก

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 30 •มิถุนายน• 2012 เวลา 13:36 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๑ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 30 •มิถุนายน• 2012 เวลา 09:13 น.•

ความสำคัญของเมืองลองที่ต้องศึกษา สภาพภูมิศาสตร์ของดินแดนตั้งแต่ภาคเหนือตอนบนขึ้นไป มีลักษณะเป็นแอ่งที่ราบทั้งขนาดใหญ่และเล็ก ที่ถูกล้อมรอบด้วยเทือกเขาสูงเป็นแอ่งที่ราบระหว่างภูเขา(Intermontane Basins) อันเกิดจากรอยเลื่อนของแผ่นธรณี จากการสำรวจของนักวิชาการทางโบราณคดีที่ผ่านมา พบร่องรอยมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์เข้ามาอาศัยกระจายอยู่ทั่วไป ต่อมาเมื่อผู้คนรวมกลุ่มกันขึ้นภายในแต่ละแอ่งเหล่านี้จึงพัฒนาก่อรูปขึ้นเป็นชุมชนเป็นบ้านและเมือง โดยขนาดของแอ่งและที่ราบจะมีความสัมพันธ์กับขนาดของเมืองด้วย ดังนั้นบางเมืองที่ตั้งอยู่แอ่งที่ราบขนาดใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์จึงเป็นเมืองใหญ่ และพัฒนาขึ้นเป็นเมืองศูนย์กลางของแคว้นหรืออาณาจักร แต่บางเมืองที่ตั้งอยู่แอ่งที่ราบขนาดเล็กก็ยังคงมีสถานภาพเป็นเมืองเล็กเมืองน้อยที่เป็นเมืองบริวารของเมืองขนาดใหญ่

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อังคาร•ที่ 03 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 07:07 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดนาบุญ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•ศุกร์•ที่ 15 •มิถุนายน• 2012 เวลา 08:55 น.•

วัดนาบุญ ตำบลหัวทุ่ง อำเภอลอง จังหวัดแพร่ เดิมทีนั้นเป็นวัดที่มีความเก่าแก่ มีตำนานเล่าขานกันว่า สมัยพุทธกาลแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาเพื่อเผื่อแผ่พระพุทธศาสนาพร้อมพระอรหันตสาวก ได้เดินทางมาถึงสถานที่ตั้งของวัดนาบุญ เนื่องจากภูมิประเทศที่เป็นป่าเขา  และมีลำห้วยที่ไหลผ่านใช้ในการบริโภคได้มาเสด็จมาถึง ก็เกิดอาการเมื่อยล้าพระวรกาย จึงได้เสด็จประทับอยู่ ณ บริเวณของวัดนาบุญ  เมื่อชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณนั้นทราบข่าวว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับ ประจวบกับฤดูหนาวที่มีอากาศหนาวเย็น ชาวบ้านจึงพากันหาฟืนมาจุดไฟเป็นพุทธบูชา และเพื่อเป็นการคลายความหนาวเย็น พระองค์ทรงยื่นพระบาทมาผิงไฟ ใช้ผ้าลนกันเปลวไฟและนำมาประกบบริเวณน่องของพระองค์ หมู่บ้านเล็กแห่งนี้จึงเป็นที่เรียกขานกันว่า “บ้านนาอุ่มน่อง” (คำว่าอุ่ม เป็นภาษาพื้นเมืองของทางภาคเหนือหมายความว่า  กิริยาอาการที่ใช้มือประกบสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง) ต่อมาก็เรียกกันเพี้ยนไปเป็น นาอุ่นน่อง หมู่บ้านบริเวณนี้ในปัจจุบันจึงมีชื่อว่า “บ้านนาอุ่นน่อง” หลังจากนั้นพระองค์ทรงได้มีพุทธทำนายไว้ว่า “ต่อนี้ไปในภายภาคหน้าสถานที่แห่งนี้จะเป็นที่เจริญรุ่งเรืองในบวรพระพุทธศาสนา เปรียญดังนาบุญของบริษัททั้งหลาย” ต่อมาในพระพุทธศักราช ๒๔๒๑ ชาวบ้านได้พบซากโบราณสถานแห่งหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของห้วยแม่ลอง ห่างจากวัดนาบุญประมาณ ๑ กิโลเมตร ชาวบ้านจึงได้ปรึกษากันสร้างที่พำนักสงฆ์ขึ้นมาเพื่อเป็นสถานจำพรรษาของพระภิกษุ - สามเณร  โดยการนำของ นายบุญมา สมภาร โดยได้นิมนต์ พระประสาน เอ้ยวัน มาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•ศุกร์•ที่ 29 •มิถุนายน• 2012 เวลา 21:29 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•