ค้นหาบทความ
ราคาน้ำมันวันนี้
จำนวนนับผู้เข้าเยี่ยมชม
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้331
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้731
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้3563
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว4342
mod_vvisit_counterเดือนนี้13331
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว15525
mod_vvisit_counterรวมผู้เข้าชม2261562

ออนไลน์ (20 นาทีที่แล้ว): 12
หมายเลข IP : 18.118.126.241
MOZILLA 5.0,
วันที่ : 27 •เม.ย.•, 2024
ล้านนาแพร่ประชาสัมพันธ์
Vinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo Slider
อำเภอสูงเม่น
อำเภอสูงเม่น •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•จันทร์•ที่ 31 •สิงหาคม• 2020 เวลา 00:00 น.•

อัตลักษณ์ท้องถื่นสูงเม่น ดาวโหลดไฟล์เอกสาร

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 06 •กันยายน• 2012 เวลา 18:02 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ตำบลบ้านกาศ อำเภอสูงเม่น •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 01 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 10:17 น.•

ชุมชนบ้านกาศ เกิดขึ้นจากหลักฐานดังกล่าวข้างต้น เริ่มจากลักษณะทำเลแห่งนี้มีความอุดมสมบูรณ์เป็นที่ราบลุ่ม เหมาะในการทำการเกษตร ประมาณปีพุทธศักราช ๑๙๕๐ จึงเป็นแหล่งที่มีผู้คนจากที่อื่นอพยพมาตั้งถิ่นฐานทำมาหากิน โดยเริ่มจากมีกระท่อมเพื่อทำการเพาะปลูก ลักษณะที่ตั้งเป็นที่ราบลุ่มทอดยาวจากทิศตะวันออก ลงไปทางทิศตะวันตก ซึ่งมีแม่น้ำ ๓ สายไหลผ่าน ประกอบด้วย ๑. แม่น้ำแม่สาย ไหลผ่านทางด้านทิศใต้ ๒. แม่น้ำร่องแวง ที่แยกจากแม่น้ำเหมืองบ้าน ไหลผ่านทางด้านทิศเหนือ ๓. แม่น้ำเหมืองกาด ไหลผ่านกลางหมู่บ้าน ประชาชนได้ตั้งหลักแหล่งทั้งสองข้างลำเหมืองกาดจากทางทิศตะวันออก(คือบ้านกาศเหนือปัจจุบัน) ลงไปทางทิศตะวันตก(คือบ้านม่วงในปัจจุบัน) โดยเริ่มตั้งรกรากที่บ้านกาศใต้ (หมู่ที่ ๓ ปัจจุบัน) จากประวัติการสร้างวัดดังกล่าวข้างต้น ผู้ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานนี้เชื่อว่า มาจากเชียงแสนเป็นส่วนใหญ่ (จากหลักฐานประวัติการสร้างวัด,ประวัติตระกูลในตำบล) โดยบริเวณหน้าวัดกาศเหนือ เดิมมีต้นโพธิ์ขึ้นหนาแน่น (ต้นศรี) ปัจจุบันเป็นตลาดสด เป็นแหล่งนัดพบและค้าขาย จึงมีพ่อค้ามาแลกเปลี่ยนสินค้า จึงเรียกว่า “ กาด” เป็นภาษาเหนือที่มาจากคำว่า “ตลาด” ต่อมาคำว่า “กาด” เปลี่ยนเป็น “กาศ” ท่านมหาวิชิต ศรีจันทร์กาศ เปรียญ ๖ น.ธ.เอก ผู้เรียบเรียงประวัติวัดกาศเหนืออธิบายไว้ว่า “วัดกาศเหนือ ประชาชนทั่วไปเรียกว่า วัดกาดหลวง เพราะวัดนี้มีศรัทธาทนุบำรุงมากมาย หรือเป็นวัดที่เจ้าหลวงนครแพร่บำรุง เป็นวัดที่เจริญรุ่งเรืองในอดีตกาล นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกอีกว่า “วัดกาดศรีคง” เพราะสมัยก่อนมีต้นศรี (ต้นโพธิ์ ) ขึ้นหนาแน่นมาก  ส่วนคำว่า “กาด” เปลี่ยนมาเป็น “กาศ”

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 08 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 19:20 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ตำบลบ้านปง อำเภอสูงเม่น •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•จันทร์•ที่ 29 •ตุลาคม• 2012 เวลา 17:08 น.•

ตำบลบ้านปง อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอสูงเม่นไปทางทิศตะวันตก ประมาณ ๖ กิโลเมตร และอยู่ห่างจากจังหวัดไปทางทิศใต้ ประมาณ ๑๖ กิโลเมตร อาณาเขต ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลสบสาย อำเภอสูงเม่น ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลปงป่าหวาย อำเภอเด่นชัย ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลสูงเม่น และตำบลน้าชา อำเภอสูงเม่น ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลต้าผามอก อำเภอลอง มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๓๖,๖๖๓ ไร่ แบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๖ หมู่บ้าน ดังนี้ หมู่ที่ ๑ บ้านปงท่าข้าม หมู่ที่ ๒ บ้านปงท่าข้าม หมู่ที่ ๓ บ้านปงหัวหาด หมู่ที่ 4 บ้านหาดเจริญ หมู่ที่ ๕ บ้านปงท่าข้าม หมู่ที่ ๖ บ้านปงหาดเจริญ สภาพภูมิประเทศ ตำบลบ้านปง มีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มติดแม่น้ำยมซึ่งแบ่งเขตระหว่างตำบลบ้านปงกับตำบลสูงเม่น ทางทิศตะวันออกของตำบล เป็นแหล่งที่ตั้งของชุมชน และหมู่บ้านตลอดลำน้ำยม ส่วนพื้นที่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้าน ไปจนถึงคลองส่งน้ำชลประทานมีลักษณะเป็นที่ราบโดยติดกับพื้นที่ทำการเกษตรของเกษตรกร และทิศตะวันตกของตำบลตั้งแต่คลองส่งน้ำชลประทานจนถึงเขตติดต่อระหว่างตำบลต้าผามอก อำเภอลอง เป็นที่ลาดเชิงเขาเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่แย้ – แม่สาง มีป่าไม้ธรรมชาติ ปกคลุม เช่น ป่าเบญจพรรณ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำลำธารที่สำคัญของตำบล คือ ห้วยแม่สาง

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 01 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 09:07 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ตำบลเวียงทอง อำเภอสูงเม่น •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พุธ•ที่ 24 •ตุลาคม• 2012 เวลา 21:35 น.•

เมื่อราวประมาณ พ.ศ.๑๒๕๐ พญาลาวะ จังกะราชแห่งเมืองเงินยางเชียงแสน ได้ส่งบุตรชายชื่อว่าลาวก๋อ ซึ่งเป็นเจ้าเมืองเวียงพางคำ ปกครองถึงแคว้นกวางซึ่งอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำแม่สาย(บ้านกวางช้างมูบ) ต่อมาได้เกิดอุทกภัยแม่น้ำแม่สายได้ท่วมเมืองทั้งหมด ชาวเมืองบางส่วนที่อยู่ลุ่มแม่น้ำได้ถูกน้ำป่าพัด กระจัดกระจายตายและสูญหาย พญาลาวก๋อ จึงแสวงหาชัยภูมิใหม่ที่มีความปลอดภัยและอุดมสมบูรณ์ โดยอาศัยอยู่ตามที่ราบริมฝั่งแม่น้ำยม ตั้งเมืองใหม่ชื่อว่า “เวียงทอง” เพราะบริเวณนี้มีแร่ทองอยู่พอสมควร คำว่าเวียงทอง หมายถึง เวียงที่แข็งแรงอย่างกับทอง และได้สร้างวัดขึ้นคือ วัดหลวงเชียงแสน ปัจจุบันเป็นวัดร้างบริเวณโรงเรียนบ้านเขื่อนสุนทร และวัดหลวงเวียงทอง(บริเวณวัดร้างทองเกศ) ต่อมาพญาลิ้นตองได้มาสร้างวัดเวียงตองฝั่งหมิ่น (วัดทองเกศเก่า) และได้มีการขุดคูเมืองตั้งแต่แม่น้ำยมบริเวณบ้านเขื่อนคำลือ ผ่านหลังวัดน้ำบ่อจรดบ้านไชยามาตย์ ปัจจุบันยังมีร่องรอยคูเมืองอยู่เป็นบางแห่ง ขณะที่กำลังขุดคูสร้างเมืองอยู่นั้น ภรรยาของพญาลิ้นทองได้ไปทำพิธีลอยสังขารตรงหน้าวัดหลวงเวียงทองได้พลัดตกไปในวังน้ำลึกและจมน้ำตาย ชาวบ้านจึงขนานนามวังน้ำลึกดังกล่าวว่า วังแม่เจ้า จนถึงปัจจุบันนี้

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 25 •ตุลาคม• 2012 เวลา 09:11 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ตำบลพระหลวง อำเภอสูงเม่น •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อังคาร•ที่ 16 •ตุลาคม• 2012 เวลา 14:28 น.•

ตำนานวัดพระหลวง ได้ถูกเรียบเรียงขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙ โดยพระครูปัญญาพิชัย เจ้าอาวาสรูปที่ ๑๓ ได้กล่าวว่า แต่เดิมบริเวณชุมชนและวัดพระหลวงเคยเป็นป่าใหญ่ดงหลวงมาก่อน มีต้นไม้น้อยใหญ่ขึ้นหนาทึบ มีสัตว์ป่าชุกชุม ซึ่งในจำนวนนั้นก็มีงูใหญ่อยู่ตัวหนึ่งที่มีความดุร้ายจะคอยจับสัตว์ต่างๆกินเป็นอาหารแม้แต่สัตว์เลี้ยงของชาวบ้านหากพลัดหลงเข้าไปในป่านั้นก็จะถูกงูกัดกินเป็นอาหารทุกคราวไป ครั้งหนึ่งมีพ่อค้าชาวฮ่อ (จีนฮ่อ) นำสินค้าบรรทุกหลังม้ามาขายและพากันพักแรมที่บ้านสูงเม่น แล้วปล่อยให้ม้าหากินเองบริเวณใกล้เคียง ม้าบางตัวที่ล่วงล้ำเข้าไปในดงหลวงก็จะถูกงูใหญ่กัดกินเป็นอาหาร เมื่อเหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นหลายครั้งก็ทำความเสียหายและสร้างความโกรธแค้นให้กับพ่อค้าชาวฮ่อเป็นอย่างมาก จึงช่วยกันหาวิธีกำจัดงูใหญ่นั้นเสีย โดยช่วยกันตัดไม้ไผ่มาผ่าแล้วเหลาเอาผิวไม้มาสานขัดแตะเป็นตาแสง ๖ เหลี่ยม ซึ่งชาวเหนือเรียกว่า “ ตาแหลว ” กะให้รูบ่วงตาแหลวมีขนาดกว้างพอๆกับขนาดของงู แล้วนำไปปิดปากรูที่งูอาศัยอยู่ ตอกหลักยึดเงื่อนตาแหลวไว้ให้ตรึงแน่นหนา ครั้นรุ่งขึ้นก็พากันมาดูแล้วพบว่า งูใหญ่ติดอยู่ที่บ่วงตาแหลว จึงช่วยกันฆ่างูนั้นเสีย แล้วตัดซากงูออกเป็นท่อนๆกองไว้ใกล้รูงูนั้น หลังจากนั้นพ่อค้าชาวฮ่อก็นำสินค้าไปขายตามปกติ ครั้นเมื่อขายสินค้าหมดก็เดินทางกลับแล้วพากันไปดูซากงูที่กองไว้ ก็ปรากฏเป็นที่อัศจรรย์ยิ่งเพราะซากงูนั้นกลายเป็นท่อนเงินท่อนทอง จึงตกลงแบ่งท่อนเงินท่อนทองนั้นออกเป็น ๓ ส่วน

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พุธ•ที่ 17 •ตุลาคม• 2012 เวลา 15:39 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ตำบลบ้านกวาง อำเภอสูงเม่น •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 07 •ตุลาคม• 2012 เวลา 17:02 น.•

ความเป็นมา พื้นที่ตำบลบ้านกวางเป็นพื้นที่ซึ่งเป็นป่าเขาลำเนาไพรและมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากเช่น ลิง ค้าง เสือ และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยเฉพาะกวาง เป็นสัตว์ที่มีมากในตำบลบ้านกวาง ซึ่งอดีตตอนนั้นตรงกับสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ประมาณปีพุทธศักราช ๑๙๐๐ พญาลิไททรงเป็นกษัตริย์ปกครองพระนคร พระองค์ทรงเลื่อมในและศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ทรงทราบว่าวัดวาอารามในภาคเหนือ ชำรุดทรุดโทรมเป็นอย่างมาก พระองค์จึงมีพระราชดำริทีจะบูรณปฏิสังขรณ์ ให้ดีขึ้น เหมือนเดิม โดยเฉพาะพระเจดีย์ที่บรรจะพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้บูชา พระองค์ทรงยกลี้พลข้าราชบริพารโดยใช้ช้างเป็นพาหนะ ใกนารบรรทุกสิ่งของและเงินทองจำนวนมาก เพื่อนำไปบูรณพระเจดีย์ที่ชำรุดเหล่านั้น พระองค์ทรงเสด็จจากกรุงสุโขทัยขึ้นไปทางเหนือจนกระทั่งเสด็จมาถึงบ้านกวางในเวลาพลบค่ำ จึงทรงหยุดประทับแรมอยู่ ณ ที่นี้ และในคืนนั้นได้เกิดเหตุการณ์เศร้าสลดขึ้น คือมีช้างพังเชือกหนึ่ง ชื่อ ช้างพังหราสีหนุศรีกุญชร ซึ่งเป็นช้างที่พญาลิไท ได้ทรงโปรดปรานมาก เพราะรับใช้พระองค์มานานหลายปี ได้ล้มตายลง ในลักษณะหมอบ (มูบ) กับพื้น อันเนื่องมาจากสาเหตุการบรรทุกของหนักและเดินทางมาไกลประกอบกับมีอายุมากแล้ว พระองค์ทรงให้ข้าราชบริพารทำการปลงซากช้างไว้ก่อน รุ่งขึ้นจึงเสด็จไปยังดอยลูกหนึ่งซึ่งอยู่ใกล้กับบ้านกวาง ชื่อว่า ดอยจวนแจ้ง อันเป็นที่ตั้งของพระธาตุจอมแจ้ง ในปัจจุบันพระองค์ทรงทำการบูรณปฏิสังขรณ์จนเสร็จสมบูรณ์ ก่อนที่พระองค์จะเสด็จขึ้นไปทางภาคเหนือ พระองค์ทรงระลึกถึงบุญคุณของช้างพังเชือกนั้น จึงได้เสด็จมาสร้างวิหารแล้วปั้นรูปช้างพังเชือกนั้น ในลักษณะหมอบกับพื้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งคุณความดีนับตั้งแต่นั้นมา บ้านกวางจึงได้ชื่อว่า “ บ้านกวาง - ช้างมูบ ” และต่อมาจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้น จึงได้ทำการแยกหมู่บ้านจากหมู่ที่ ๑ เป็นหมู่ที่ ๒ และ๓, ๔, ๕, ๖ ตามลำดับ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อังคาร•ที่ 09 •ตุลาคม• 2012 เวลา 22:44 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ตำบลหัวฝาย อำเภอสูงเม่น •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 22 •กันยายน• 2012 เวลา 21:01 น.•

เดิมเกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้านที่ได้สร้างทำนบกั้นน้ำในสมัยนั้นการลงตีฝาย และบริเวณริมฝั่งลำน้ำที่กั้นฝายได้มีชาวบ้านไปอาศัยอยู่เรียกว่า “หัวฝาย” ก่อนปี พ.ศ.๒๔๒๑ “หัวฝาย” เป็นชื่อหมู่บ้านที่ขึ้นตรงต่ออำเภอเมืองแพร่ ต่อมาได้ยกระดับเป็นตำบล เมื่อพ.ศ.๒๔๓๖ และในปีพ.ศ.๒๔๔๖ ตำบลหัวฝายขึ้นกับอำเภอแม่พวกภายหลังเปลี่ยนชื่ออำเภอแม่พวกเป็นอำเภอสูงเม่น หรือสูงเม่นตั้งแต่พ.ศ.๒๔๖๐ จนถึงปัจจุบัน ในด้านประชากรแต่เดิมเป็นที่อาศัยของคนพื้นเมืองกับชนเผ่าต่างๆหลายชนเผ่า เช่น เผ่าหล๊ะ เผ่าแจ๊ะ ขมุ เงี้ยว ไทใหญ่ (ดังปรากฏในหนังสือประวัติศาสตร์เมืองแพร่) เช่น ชาวไทใหญ่เข้ามาอาศัยอยู่บ้านป่าผึ้ง ต.หัวฝาย อ.สูงเม่น จ.แพร่ ก่อนพ.ศ.๒๔๓๖ เข้ามาครอบครองที่ดินที่อาศัยทำมาหากินและถือเป็นพลเมืองแพร่และคนที่มีสถานะเป็น “เฮดแมน” หรือ หัวหน้าชาวไทใหญ่ ชื่อพะก่าหม่อง นับตามรายงานของรัฐบาลในเวลานั้น กล่าวว่า ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านป่าผึ่ง อ.สูงเม่น มีครอบครัวลูกหลานและที่ดินที่นาจนถึงปัจจุบันนี้ก็ยังมีหลักฐานอยู่ สภาพทั่วไปของตำบลหัวฝาย ตำบลหัวฝายอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอสูงเม่นประมาณ ๑ กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดแพร่ประมาณ ๑๕ กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลสูงเม่น ตำบลดอนมูล ตำบลบ้านเหล่า อำเภอสูงเม่น ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลแม่จั๊วะ อำเภอเด่นชัย ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลบ้านกวาง อำเภอสูงเม่น อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลน้ำชำ อำเภอสูงเม่น

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พุธ•ที่ 03 •ตุลาคม• 2012 เวลา 21:57 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ตำบลสบสาย อำเภอสูงเม่น •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 22 •กันยายน• 2012 เวลา 19:40 น.•

ตำบลสบสายมีทั้งหมด ๖ หมู่บ้าน คือ บ้านสบสาย ได้แก่ หมู่ที่ ๑ , ๒ , ๕ และ ๖ บ้านวังวน หมู่ที่ ๓ และบ้านหาดลี่ หมู่ที่ ๔ สภาพทั่วไปของตำบล ตำบลสบสายตั้งอยู่ในเขตอำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ อยู่ทางทิศเหนือของอำเภอสูงเม่น อยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดแพร่ ห่างจากอำเภอสูงเม่น ประมาณ ๕ กิโลเมตร ห่างจากอำเภอเมือง ประมาณ ๘ กิโลเมตร อาณาเขตตำบล ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลร่องกาศ ตำบลเวียงทอง อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ทิศใต้ ติดกับ ตำบลดอนมูล ตำบลบ้านปง อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลดอนมูล อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลเวียงทอง อำเภอสูงเม่น และ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ จำนวนประชากรของตำบล จำนวนประชากรในเขต อบต. ประมาณ ๓,๗๗๔ คน ประชากรชายประมาณ ๑,๘๑๒ คน ประชากรหญิงประมาณ ๑,๙๖๒ คน จำนวนหลังคาเรือน ๑,๑๘๐ หลังคาเรือน ข้อมูลประวัติศาสตร์ตำบลสบสาย ประกอบด้วยชุมชนต่างๆ ดังต่อไปนี้

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 27 •กันยายน• 2012 เวลา 10:32 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ตำบลร่องกาศ อำเภอสูงเม่น •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 16 •กันยายน• 2012 เวลา 22:17 น.•

ประวัติความเป็นมาของบ้านร่องกาศ บ้านร่องกาศ ตำบลร่องกาศ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ เป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่หมู่บ้านหนึ่ง อยู่ห่างจากตัวเมืองแพร่ไปทางทิศใต้ ระยะห่างจากตัวเมืองประมาณ ๔ กิโลเมตร ชาวบ้านร่องกาศ ตั้งบ้านเรือนอยู่ใน ๓ หมู่บ้านคือ หมู่ที่ ๒, หมู่ที่ ๓ และหมู่ที่ ๔ โดยหมู่ที่ ๒ และหมู่ที่ ๓ ตั้งอยู่ทางฟากตะวันออกของถนนยันตรกิจโกศล ส่วนหมู่ที่ ๔ ตั้งอยู่ทางฟากตะวันตกของถนน จากที่ตั้งดังกล่าวบ้านร่องกาศจึงเป็นหมู่บ้านที่เป็นศูนย์กลางของตำบลร่องกาศ ปัจจุบันจึงได้รับเลือกให้เป็นที่ตั้งของสำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลร่องกาศ จากการศึกษาประวัติหมู่บ้านร่องกาศ ไม่พบหลักฐานเก่าแก่ที่บันทึกเรื่องราว การตั้งถิ่นฐานของชาวบ้านร่องกาศ แต่จากคำบอกเล่าของคนแก่คนเฒ่าในหมู่บ้านและเอกสารพงศาวดารปราบเงี้ยวของกรมศิลปากร ทำให้เชื่อได้ว่าหมู่บ้านนี้ตั้งมานานมากกว่าร้อยปีมาแล้วและบ้านร่องกาศ เป็นหมู่บ้านที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์เมืองแพร่ คือ เหตุการณ์กบฏเงี้ยวเมืองแพร่ ชื่อบ้านร่องกาศ เป็นชื่อที่เขียนและเรียกตามสำเนียงภาษาไทยกลาง แต่ในภาษาคำเมืองซึ่งเป็นภาษาถิ่นที่ชาวบ้านใช้ในชีวิตประจำวัน เรียกชื่อหมู่บ้านของตนว่า “ บ้านฮ่องกาด” ชื่อนี้ได้มาจากการรวมคำ ๒ คำ เข้าด้วยกันคือคำว่า “ ฮ่อง ” และคำว่า “ กาด ” คำว่า “ฮ่อง” ในที่นี้มีความหมายถึง ร่องน้ำที่ไหลเซาะไปตามพื้นดิน คือ ร่องน้ำ ที่แยกลำน้ำสาขาเล็กๆ จากลำห้วยแม่สายซึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้าน จุดแยกของร่องน้ำที่ภายหลังเรียกว่า “ น้ำฮ่องกาด ”

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 22 •กันยายน• 2012 เวลา 19:32 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ตำบลบ้านเหล่า อำเภอสูงเม่น •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 08 •กันยายน• 2012 เวลา 16:05 น.•

บ้านเหล่าแต่เดิมพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์มีป่าดงดิบและป่าเบญจพรรณ ด้วยความเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ จึงมีความหนาแน่นของไม้ และเถาวัลย์จึงเป็นเหตุให้เกิดความทึบความรกเป็นป่าเป็นเหล่า จึงเป็นที่มาของคำว่า “เหล่า” (เหล่าเป็น ภาษาถิ่นเหนือ) เนื่องด้วยการทำมาหากิน จึงได้มีกลุ่มคนได้นำสัตว์มาเลี้ยงและมีการทำไร่ทำนาและมีจำนวนมากขึ้นมีการจับจองที่ทำกินมีการสร้างห้างนาห้างไร่นานวันขึ้นก็ปลูกเป็นบ้านออย่างถาวร สันนิษฐานว่าการเข้ามาจับจองและอาศัยอยู่คงจะก่อนสมัยรัชกาลที่ ๖ สังเกตได้จากนามสกุลจะมีคำว่า เหล่าใหญ่,เหล่ากว้าง,เหล่าสูง,เหล่ากอเหล่ายาวและเหล่ากาวี ซึ่งพระราชบัญญัตินามสกุลได้ตราขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่ ๖ การเข้ามาจับจองมีอยู่ ๓ กลุ่ม คือ กลุ่มเหล่าเหนือ กลุ่มเหล่าใต้ กลุ่มน้ำฮอก โดยกลุ่มเหล่าเหนือมีชื่อเรียกว่า เหล่าขามเครือ สาเหตุที่เรียกเพราะมีต้นมะขามขนาดใหญ่เป็นจำนวนมากแต่ละต้นต้นมีกิ่งก้านยาวเลื้อยคล้ายเถาวัลย์พาดไปตามพื้นดิน กลุ่มเหล่าใต้ มีชื่อเรียกว่า เหล่าไฟไหม้

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อาทิตย์•ที่ 16 •กันยายน• 2012 เวลา 09:37 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ตำบลดอนมูล อำเภอสูงเม่น •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พุธ•ที่ 05 •กันยายน• 2012 เวลา 17:52 น.•

ประวัติบ้านดอนมูล ( ตำบลดอนมูล ) ในอดีตกาลที่ผ่านมาประมาณ ๒๐๐ กว่าปี พวกเราชาวบ้านดอนมูลไม่สามารถทราบว่าบ้านดอนมูลหรือตำบลดอนมูลที่เราอาศัยอยู่ทุกวันนี้มีกำเนิดความเป็นมาอย่างไร กำเนิดชุมชนหรือรากเหง้าบรรพบุรุษมาจากแห่งไหน ที่ใด จากการค้นคว้าศึกษาจากเอกสารต่าง ๆ เช่น หนังสือประวัติศาสตร์เมืองแพร่ ( ฉบับ พ.ศ.๒๕๕๐ ) และ จากคำบอกเล่าของผู้อาวุโสในหมู่บ้านที่พอจะทราบเรื่องราวในอดีตอยู่บ้าง ผู้ค้นคว้าจึงนำมาเรียบเรียงเป็นสาระน่ารู้พอสังเขปดังนี้ เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๒๕ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินธุ์ ได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ และสถาปนากรุงเทพมหานคร เป็นราชธานี เมืองแพร่เป็นเมืองหนึ่งที่อยู่ในอาณาจักรล้านนาเป็นเมืองที่อยู่ในความปกครองของพระองค์ เช่นเดียวกัน เมื่อพระเจ้าปดุง แม่ทัพของพม่าได้ยกกำลังทหารเข้ามาทำสงครามกับกรุงเทพ ฯ โดยแบ่งกองทัพออกเป็น ๕ เส้นทาง ในจำนวนกองทัพที่จัดแบ่งออกนี้ ส่วนหนึ่งได้มอบหมายให้กับทัพเนเมียวสีหบดี และพญายอง ยกทัพออกจากเมืองเชียงแสนมุ่งหน้าผ่านเข้าเมืองเทิง – เมืองเชียงคำ เมืองปง (อำเภอปง) ลัดเลาะลงมาตามลำแม่น้ำยม ผ่านเมืองสอง และเมืองแพร่ เมื่อกองทัพผ่านมาถึงเมืองแพร่ เจ้าหลวงเมืองแพร่คือ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อาทิตย์•ที่ 09 •กันยายน• 2012 เวลา 16:36 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
อัตลักษณ์ท้องถิ่นอำเภอสูงเม่น •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•ศุกร์•ที่ 31 •สิงหาคม• 2012 เวลา 22:48 น.•

“ สูงเม่น ”  เดิมเรียกว่าบ้าน “ สุ่งเม้น ”  โดยมีเรื่องเล่าสืบๆกันมาว่า  แต่เดิมสถานที่ตั้งบ้านสูงเม่นเป็นป่าไผ่และทุ่งหญ้า  รวมถึงป่าไม้เบญจพรรณ  มี “ เม่น ” อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ประกอบกับเป็นสถานที่ทำเลดีมีแม่น้ำไหลผ่าน  พวกพ่อค้าวาณิชย์และคนเดินทางในสมัยอดีตจึงมักจะแวะมาพักแรมบริเวณดังกล่าว  จนเรียกพื้นที่นี้ว่า “ ป๋างสุ่งเม้น ( คำว่า สุ่ง ไม่ปรากฏในพจนานุกรมฉบับ -ราชบัณฑิตยสถาน  ซึ่งถ้าเขียนตามหลักการอ่านการเขียนและความหมายทางภาษาล้านนาแล้ว จะต้องสะกดเป็น “สุ่งเหม่น ” โดยคำว่า “ สุ่ง ”แปลว่ารู และ “ เหม่น ” แปลว่าตัวเม่น ) ต่อมาบ้านเมืองได้เจริญขึ้น ป่าแห่งนี้ได้ถูกแผ้วถาง ราษฎรได้ใช้เป็นสถานที่อยู่อาศัยรวมกันเกิดเป็นหมู่บ้านหลายหมู่บ้าน เรียกขานตามประวัติการก่อเกิดของหมู่บ้าน   เช่น “ บ้านโตน , ท่ามด ,  ท่าม้า,  ท่าล้อ และ  ท่าช้าง ” เป็นต้น พร้อมกับได้สร้างวัดวาอารามขึ้น ในปี พ.ศ. ๒๔๖๐ ทางราชการได้เปลี่ยนชื่อจากอำเภอ “แม่พวก ”เป็นอำเภอ “ สูงเม่น ” จึงได้มีการเรียกชื่อบ้าน “ สุ่งเม่น ” เป็นบ้าน “ สูงเม่น ” อย่างเป็นทางการ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อาทิตย์•ที่ 09 •กันยายน• 2012 เวลา 10:42 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดพระหลวง •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 11 •กุมภาพันธ์• 2012 เวลา 22:54 น.•

จากตำนานวัดพระหลวง ซึ่งเรียบเรียงขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙ โดยพระครูปัญญาภิชัย เจ้าอาวาสรูปที่ ๑๓ ได้กล่าวว่า แต่เดิมหมู่บ้านและวัดพระหลวงแห่งนี้ เคยเป็นป่าใหญ่ดงหลวงมาก่อน มีต้นไม้น้อยใหญ่ขึ้นหนาทึบ มีสัตว์ป่าชุกชุม ในจำนวนนั้นก็มีงูใหญ่อยู่ตัวหนึ่ง จะคอยจับสัตว์ต่าง ๆ กินเป็นอาหาร แม้แต่สัตว์เลี้ยงของชาวบ้าน หากพลัดหลงเข้าไปก็จะถูกงูกัดกินทุกคราวไป ครั้งหนึ่งมีพวกพ่อค้าชาวฮ่อ (จีนฮ่อ) นำสินค้าบรรทุกหลังม้ามาขายและพากันพักแรมที่บ้านสูงเม่น โดยปล่อยม้าให้เที่ยวหากินบริเวณใกล้เคียง ม้าบางตัวที่ล่วงล้ำเข้าไปในดงหลวงก็จะถูกงูใหญ่รัดกินเป็นอาหาร เมื่อเหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นหลาย ๆ ครั้ง ก็ทำความโกรธแค้นให้แก่พ่อค้าชาวจีนฮ่อเป็นอย่างมาก จึงช่วยกันหาวิธีกำจัดงูนั้นเสีย โดยช่วยกันตัดไม้ไผ่มาผ่า แล้วเหลาเอาผิวไม้มาสานขัดแตะเป็นตาแสง ๖ เหลี่ยม ซึ่งชาวเมืองเหนือเรียกว่า “ตาแหลว” กะให้รูบ่วงตาแหลวมีขนาดกว้างพอ ๆ กับขนาดขนาดตัวงู แล้วนำไปปิดปากรู ตอกหลักยึดเงื่อนตาแหลวไว้ให้ตรึงแน่นหนา รุ่งขึ้นอีกวันก็พากันมาดูพบว่างูใหญ่ติดบ่วงตาแหลวงอยู่ จึงช่วยกันฆ่างูนั้นเสีย แล้วตัดซากงูออกเป็นท่อน ๆ กองไว้ใกล้ ๆ รูงูนั้น หลังจากวันนั้นพ่อค้าชาวจีนฮ่อก็นำสินค้าไปขายตามปกติ ครั้นเมื่อขายสินค้าหมดก็เดินทางกลับ และพากันไปดูซากงูที่กองไว้ ปรากฏว่าเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง เพราะซากงูกลายเป็นท่อนเงินท่อนทอง จึงแบ่งท่อนเงินท่อนทองนั้นออกเป็น ๓ ส่วน พวกพ่อค้าเอาไป ๑ ส่วน นำไปถวายเจ้าฟ้า (เจ้าเมือง) ๑ ส่วน และฝังไว้บริเวณรูงูนั้น ๑ ส่วน

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อาทิตย์•ที่ 12 •กุมภาพันธ์• 2012 เวลา 08:57 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดสูงเม่น •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 05 •กุมภาพันธ์• 2012 เวลา 12:11 น.•

วัดสูงเม่น สันนิฐานว่าเป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงธนบุรีต่อเนื่องสมัยกรุงรัตน โกสินทร์ตอนต้น ถึงแม้ว่าจะไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด แต่ก็ถือว่าอยู่ในช่วงรอยต่อระหว่างสมัยที่พม่าปกครองล้านนาและในช่วงที่ชาว ล้านนาร่วมกับสมเด็จพระเจ้าตากสินขับไล่พม่า ซึ่งเป็นช่วงเริ่มมีการพลิกฟื้นอารยธรรมล้านนาให้กลับมามีบทบาทในการพัฒนา บ้านเมือง และการค้ำชูพระพุทธศาสนา ซึ่งจากหลักฐานตามประวัติของครูบากัญจนอรัญญวาสีมหาเถรซึ่งท่านเป็นเจ้า อาวาสระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๓๒-๒๔๐๙ ก็พบว่า มีวัดสูงเม่นมาก่อนหน้านั้นนานแล้ว

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อังคาร•ที่ 07 •กุมภาพันธ์• 2012 เวลา 13:44 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•