ค้นหาบทความ
ราคาน้ำมันวันนี้
จำนวนนับผู้เข้าเยี่ยมชม
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้258
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้731
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้3490
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว4342
mod_vvisit_counterเดือนนี้13258
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว15525
mod_vvisit_counterรวมผู้เข้าชม2261489

ออนไลน์ (20 นาทีที่แล้ว): 8
หมายเลข IP : 3.141.31.240
MOZILLA 5.0,
วันที่ : 27 •เม.ย.•, 2024
ล้านนาแพร่ประชาสัมพันธ์
Vinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo Slider
อำเภอหนองม่วงไข่
พระธาตุตุงคำ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พุธ•ที่ 30 •กันยายน• 2015 เวลา 00:00 น.•

พระธาตุตุงคำ ตั้งอยู่บนเนินเขา ซึ่งชาวบ้านเรียกกันว่า ดอยด้วน  เดิมบริเวณดอยด้วนเป็นป่าไม้ใหญ่ดงดิบ  อุดมสมบูรณ์ร่มเย็น  ซึ่งแต่ก่อนเมื่อยังเป็นป่าอุดมสมบูรณ์มักมีพระภิกษุชาวม่าน  หรือภิกษุชาวเงี้ยวเข้ามาพักจำพรรษาอยู่บนดอยแห่งนี้เป็นประจำมิได้ขาด  มีผู้เฒ่าผู้แก่ในบ้านทุ่งแค้วในสมัยนั้น  ยังได้ไปถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุเหล่านั้นอยู่เสมอ ๆต่อมาในสมัยเงี้ยวปล้นคลังจังหวัดแพร่  ได้นำเงินที่ปล้นมาแจกหรือหว่านให้ชาวบ้านแถบนั้นเก็บเอา แล้วบอกว่า “ให้สูเจ้าเอาเงินสี่บาทเจ้าคืนไป” ผู้ที่ไม่กลัวก็เข้าไปเก็บเอาเงินที่โจรเงี้ยวหว่าน ส่วนเงินที่เหลือเงี้ยวก็แบ่งกันไปซ่อนคนละทิศละทาง

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 22 •ตุลาคม• 2015 เวลา 11:04 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประวัติบ้านทุ่งแค้ว •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 20 •กันยายน• 2012 เวลา 18:36 น.•

ประวัติบ้านทุ่งแค้ว ๑. ความเป็นมาของชื่อบ้าน คำว่า “ทุ่งแค้ว” แปลว่า “แคบ” เรียกตามลักษณะและภูมิประเทศ ซึ่งเป็นที่ราบแคบ ๆ และยาวตามลำน้ำยม อยู่ระหว่างแม่น้ำยมกับเนินเขาเตี้ย ๆ ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำยม การตั้งหลักฐานของหมู่บ้านตามที่ได้ค้นคว้าและสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ในท้องถิ่น พอที่จะรวบรวมได้ดังนี้ เดิมทีเดียว(ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน) มีครอบครัวหนึ่งมาจากบ้านประตูม้า(บ้านหัวข่วง อ. เมืองในปัจจุบัน) ได้พาครอบครัวมาทำไร่ทำสวนเพื่อหาเลี้ยงชีวิต บุคคลผู้นั้นคือ “เจ้าน้อย ธรรมลังกา” ภรรยาท่านชื่อ “แม่เฒ่าบัวคำ” (บ้านเดิมอยู่บ้านสองแคว) ได้มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านทุ่งต้อม (บริเวณซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของป่าช้าบ้านทุ่งแค้วในปัจจุบัน) โดยอาศัยลำน้ำห้วยแม่แฮด ช่วยในการเพาะปลูก การทำไร่ทำสวนของครอบครัวนี้ก็เพื่อพืชผลไปขายที่ในเมือง โดยอาศัยการเดินเท้าบ้างและบรรทุกเรือแจวล่องลงไปตามลำน้ำยมบ้าง เป็นประจำทุกปี ต่อมาก็มีญาติ พี่น้องจากทางบ้านประตูม้าในต้นตระกูลธรรมลังกาอีกหลายครอบครัว ได้อพยพมาอยู่ร่วมด้วย อยู่ได้ประมาณ ๑๔ - ๑๕ ปี จึงได้ย้ายถิ่นฐานจากบ้าน”ทุ่งต้อม” ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้าน”วังไฮ” (ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของบ้านทุ่งแค้วในปัจจุบัน) อยู่ที่นั่นได้ประมาณ ๕ - ๖ ปีและได้มองเห็นว่าบริเวณดังกล่าวเป็นที่คับแคบไม่อาจจะขยายเป็นบ้านเมืองที่ใหญ่โตได้ จึงได้เคลื่อนย้ายมาตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มของแม่น้ำยม

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พุธ•ที่ 03 •เมษายน• 2013 เวลา 07:29 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดและบ้านแม่คำมีตำหนักธรรม •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•ศุกร์•ที่ 25 •พฤษภาคม• 2012 เวลา 16:10 น.•

บ้านตำหนักธรรมหรือบ้านแม่คำมีตำหนักธรรมเดิมชื่อบ้านไฮ่...บ้านไร่ เหตุที่ชื่อว่าบ้านไร่ เพราะราษฎรที่มาตั้งถิ่นฐานครั้งแรกอพยพมาจากบ้านเหมืองค่า  บ้านสบู   อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ และบ้านตอนิมิต อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ราษฎรเหล่านั้นได้มาทำไร่ทำสวนปลูกฝ้าย ปลูกอ้อย ปลูกข้าว ฯลฯ ซึ่งติดกับบริเวณลำห้วยแม่คำมีประมาณ ๒๐ หลังคาเรือน แล้วเรียกชื่อหมู่บ้านตัวเองว่าบ้านไร่  ประมาณปี  พ.ศ.  ๒๕๒๐  ต่อมามีชาวบ้านคนหนึ่งชื่อนายเต๋ ได้นำแพะมาเลี้ยงที่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้าน และมีร่องน้ำเล็กๆ อยู่ข้างบ้านจึงเรียกว่าร้อง(ร่อง) ปู่เต๋ ต่อมามีราษฎรมาอาศัยมากขึ้น แล้วพร้อมใจกันตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านแม่คำมีแพะ” ทั้งนี้เพราะมีการเลี้ยงแพะกันมากนั่นเอง เมื่อตั้งหมู่บ้านขึ้นแล้ว ก็ได้ตั้งวัดขึ้นเป็นครั้งแรกในบริเวณท่าร้างซึ่งอยู่ในซอย ๓  ตรงกันข้ามโรงเรียนแม่คำมีตำหนักธรรม  (ตำหนักธรรมวิทยาคาร)

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•ศุกร์•ที่ 14 •กุมภาพันธ์• 2014 เวลา 20:10 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัีดแม่คำมีรัตนปัญญา •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•จันทร์•ที่ 07 •พฤษภาคม• 2012 เวลา 11:00 น.•

ประวัติการสร้างวัดแม่คำมี วัดแม่คำมีเป็นวัดที่เก่าแก่วัดหนึ่งของอำเภอร้องกวาง ซึ้งตั้งอยู่เลขที่ ๑ หมู่ที่ ๓ ตำบลแม่คำมี อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ (ปัจจุบันเป็นอำเภอหนองม่วงไข่) โดยเริ่มสร้างขึ้นก่อน พ.ศ. ๒๔๐๕ ประมาณ ๖๐ ปี ได้มีการพัฒนาโดยลำดับ ในสมัยนั้นชาวบ้านแม่คำมีเรียกกันว่า “บ้านอ้องพ้อง” โดยมีชาวบ้านอพยพมาจากในตัวจังหวัดแพร่ อยู่กันเป็นหย่อม ๆ จึงมีชื่อเรียกกันอย่างนั้น ชาวบ้านเริ่มจับจองพื้นที่ถางป่าเพื่อใช้ทำการเกษตรเลี้ยงชีพ เมื่อมีประชากรมาอยู่รวมกันมากขึ้น ชาวบ้านจึงพากันสร้างวัดขึ้นเพื่อทำนุบำรุงศาสนา และใช้ในการประกอบศาสนพิธีตามวิถีแห่งพุทธ ต่อมาภายหลังบ้านอ้องพ้องก็เปลี่ยนชื่อเป็น “บ้านแม่คำมี” ตั้งตามชื่อของลำน้ำแม่คำมี โดยที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ อดีตเจ้าคณะจังหวัดแพร่ เป็นผู้ตั้งให้ ต่อมาวัดแม่คำมีได้ขึ้นทะเบียนเป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๔๐๕ โดยมีพระมโนธรรมเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•ศุกร์•ที่ 14 •กุมภาพันธ์• 2014 เวลา 20:10 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดหนองม่วงไข่ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•จันทร์•ที่ 30 •เมษายน• 2012 เวลา 13:03 น.•

วัดหนองม่วงไข่ ตามประวัติได้เริ่มสร้างเมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๑๘ สถานที่ก่อตั้งวัดในอดีต ตั้งอยู่บริเวณข้างหนองน้ำซึ่งเคยเป็นร่องน้ำยมมาก่อน ปัจจุบันนี้แม่น้ำยมได้ไหลเปลี่ยนทิศทางไป บริเวณนี้ในอดีตมีต้นมะม่วงอยู่ตามฝั่งหนองน้ำมากมาย แล้วมีไก่ป่ามาอาศัยอยู่และวางไข่ตามใต้ต้นมะม่วง จึงเป็นเหตุให้ชาวบ้านถือเอาเป็นชื่อของวัดและชื่อของหมู่บ้านว่า “วัดหนองม่วงไข่” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา วัดหนองม่วงไข่ในปัจจุบัน ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๑ เทศบาลตำบลหนองม่วงไข่ อำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ เป็นวัดที่อยู่ในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ ๖ ไร่ ๓ งาน ๕๖ ตารางวา มีอาณาเขต กว้าง ๒ เส้น ยาว ๒ เส้น วัดหนองม่วงไข่สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๘ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๖ ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๒ ใต้ เดือนยี่เหนือ ได้รับพระทานกฐินต้น จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ตามเสด็จด้วย

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•จันทร์•ที่ 14 •พฤษภาคม• 2012 เวลา 23:31 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดย่านยาว •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 09 •เมษายน• 2011 เวลา 22:55 น.•

ประวัติวัดย่านยาวและบ้านย่านยาว                   
เมื่อประมาณปีพุทธศักราช ๒๔๔๕ มีพ่อค้าชาวบ้านพระนอน บ้านศรีชุม และบ้านวัดหลวง อำเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ได้นำสินค้าจำพวก พริก เกลือ กระเทียม ฯลฯ ลงเรือแจวขึ้นไปขายแถวอำเภอสอง โดยอาศัยแม่น้ำยมเป็นเส้นทางในการขนส่งและค้าขาย เมื่อค้าขายเสร็จก็กลับแลเห็นที่ราบริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำยม ซึ่งยังไม่มีใครเป็นเจ้าของ และเป็นที่อุดมสมบูรณ์ จึงชวนเพื่อพ่อค้าด้วยกันร่วมกับชาวบ้านพระนอน บ้านวัดหลวง

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อังคาร•ที่ 26 •เมษายน• 2011 เวลา 20:13 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดรัตนสุนทร •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•ศุกร์•ที่ 18 •กุมภาพันธ์• 2011 เวลา 07:57 น.•

วัดของหมู่บ้านน้ำรัดแต่ดั่งเดิม ตั้งอยู่ในเขตของ      หมู่ที่ 4 ของตำบลน้ำรัด ฟากตะวันออก ของถนนสายบ้านสุพรรณ –หัวเมืองชื่อว่า  “วัดหนองน้ำรัด” มีเนื้อที่ 6ไร่ 3 งาน 98 ตารางวา น.ส.3 ครุฑเขียว( 7ไร่ 2 งาน 69 ตารางวา) บริเวณที่ตั้งวัดมีอาณาเขตติดกับลำแม่น้ำยม สร้างขึ้นเมื่อใด และมีเจ้าอาวาส ปกครองดูแลมาจำนวนเท่าใด ไม่ปรากฏประวัติที่แน่ชัดมาก่อน เท่าที่ทราบและเป็นที่ยืนยันได้แน่นอนและจากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ที่เล่าสืบต่อกันมาที่พอเชื่อถือได้เช่น จากการสัมภาษณ์ พ่อเฒ่าตุ้ย  มหาวัน อายุ 94ปี และ แม่เฒ่า ไฮ  วังแก้ว อายุ 89 ปี (ขณะที่ได้บันทึกคือ วันที่ 10 สิงหาคม 2538 ) ปัจจุบันนี้บุคคลทั้งสองนี้ได้เสียชีวิตแล้ว ทำให้ทราบว่าในช่วงหนึ่ง วัดหนองน้ำลัดมีเจ้าอาวาสและสามเณร จำพรรษาอยู่ต่อมา มีดังนี้

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•ศุกร์•ที่ 14 •กุมภาพันธ์• 2014 เวลา 20:09 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดวังหลวง •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 28 •พฤศจิกายน• 2010 เวลา 22:39 น.•

ประวัติหมู่บ้าน(จากการสอบถามผู้เฒ่า ผู้แก่ บางท่าน กล่าวว่า) การก่อตั้งชุมชนบ้านวังหลวงเริ่มแรกมีชาวบ้านหัวข่วง จังหวัดแพร่ ได้มาอาศัยพื้นที่ป่าบริเวณนี้ เพราะอุดมสมบูรณ์ ประจวบกับใกล้ภูเขา (ดอยม่อนนาบ่อ) และแพะเปียง  สภาพพื้นที่ป่าเป็นป่าไม้สักทอง เต็ง รัง เป็นที่อาศัยของสัตว์ป่า ชาวบ้านจึงล่าสัตว์เพื่อการยังชีพ และบริเวณใกล้ฝั่งแม่น้ำยมมีดินอุดมสมบูรณ์ น้ำเป็นทรัพยากรพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์  ในอดีตแม่น้ำยมเป็นแม่น้ำ ที่สะอาด และมีสัตว์น้ำนานาชนิดโดยเฉพาะบริเวณบ้านวังหลวงที่มีแม่น้ำยมไหลผ่าน บริเวณไหนที่มีน้ำลึก จะเรียกว่า “วัง” เช่น วังเครือบ้า  วังอีตุ  วังเคียน  วังพระเจ้า (ที่วัดร้างตลาดสด) สันนิษฐานว่าเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน “วังหลวง”

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อังคาร•ที่ 06 •กันยายน• 2011 เวลา 21:23 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•