ค้นหาบทความ
ราคาน้ำมันวันนี้
จำนวนนับผู้เข้าเยี่ยมชม
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้873
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้739
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้2917
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว3015
mod_vvisit_counterเดือนนี้8343
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว15525
mod_vvisit_counterรวมผู้เข้าชม2256574

ออนไลน์ (20 นาทีที่แล้ว): 10
หมายเลข IP : 18.218.38.125
,
วันที่ : 18 •เม.ย.•, 2024
ล้านนาแพร่ประชาสัมพันธ์
Vinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo Slider
อำเภอสอง


วัดท่อสมาน อำเภอสอง •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•ศุกร์•ที่ 05 •ตุลาคม• 2012 เวลา 21:12 น.•

เนิ่นนานมาแล้วเกินที่จะจำได้ บ้านเตาปูนและบ้านก้นต้อ อยู่รวมกันที่บ้านปงเก้าผึ้งบริเวณตรงข้ามโรงเรียนบ้านเตาปูนในปัจจุบัน และมีวัด ๆ หนึ่ง ที่ใช้ประกอบศาสนกิจร่วมกันเป็นวัดม่าน (พม่า) สร้างสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐาน มีเจ้าปู่จันฑิมาเป็นเจ้าอาวาส อยู่บริเวณโรงเรียนบ้านเตาปูนในปัจจุบัน เนื่องจากหมู่บ้านบางส่วนไปตั้งรกรากอยู่ทางทิศใต้ คือบ้านเตาปูนปัจจุบัน มีบางส่วนย้ายขึ้นมาอยู่ที่ทางทิศเหนือโดยการนำของพ่อแคว่นวงศ์ คำเกตุ ได้นำพาสมัครพรรคพวก สมัยนั้นมีตระกูลเก่าแก่ของหมู่บ้านประมาณ ๒๐ ครอบครัว คือ ตะกูล ขันฑิมา, คำตั๋น, คำต้น, คำแข่ง, ใจหลัก, ใจอูป, อุ่นใจ, ปินใจ, ใจพรม, ยาวิราช,หมื่นสาม มาตั้งหมู่บ้านบริเวณบ้านปงและรายรอบวัดท่อสมานและบ้านห้วยรังในปัจจุบัน ซึ่งตอนนั้นได้ตั้งชื่อตามสภาพพื้นที่ คือมีท่อไม้ขขนาดใหญ่อยู่ทางทิศเหนือของหมู่บ้านบริเวณท่อลอดห้วยรัง จึงเรียกว่า บ้านก้นต้อ และทำการสร้างวัดขึ้น เรียกว่าวัดก้นต้อ เป็นวัดซึ่งดัดแปลงมาจากศาลาประชาคม โดยมีพระสงฆ์รูปแรก คือ ตุ๊เจ้าจันตาเป็นผู้ก่อตั้งวัดก้นต้อ ต่อมา ตุ๊เจ้าก๋วน คำต้น, ตุ๊เจ้าจี๋ คำแข่ง, ตุ๊เจ้ามา กิติวงศ์, และตุเจ้าน้อย คำเกต ตามลำดับ มีสามเณร ๓ รูป คือเณรแก้ว ใจอูป, เณรแก้ว หมื่นสาม และเณรแก้ว ยาวิราช ต่อมาตุ๊เจ้าน้อยลาสิขาบท ทำให้วัดไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาจึงเป็นวัดร้างตั้งแต่นั้นมา สมัยนั้นใครจะบวชจะเรียนหรือทำศาสนกิจต้องไปทำที่วัดเตาปูนอยู่หลายปี สำหรับชื่อหมู่บ้านหลายปีให้หลังมีการก่อสร้างท่อคอนกรีตทดแทนท่อไม้ชำรุด โดยอาศัยทุนทรัพย์จากชาวบ้าน เกิดความสมัครสมานสามัคคีกันเป็นอย่างดี จึงเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านใหม่เป็น “บ้านท่อสมาน” วัดท่อสมานได้รับการฟื้นฟูบูรณะอีกครั้งโดย ผู้ใหญ่สี ปันดิ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘ เห็นว่าชาวบ้านได้มีการสามัคคีกันมากขึ้นการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นเห็นสมควรนิมนต์พระมาจำพรรษาที่วัดท่อสมานเพื่อทำนุบำรุงศาสนาให้ประชาชนได้เข้าถึงพระธรรมได้สะดวกขึ้น โดยนิมนต์ตุ๊ลุงเหมย สุจิตโต จากวัดดอนมูล จังหวัดลำปาง มาจำพรรษาอยู่ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ได้ร่วมกับชาวบ้านบูรณะวัด สร้างกำแพง สร้างพระประธาน จนถึงสมัย ผู้ใหญ่วิญญู ธราวรรณ สร้างกุฏิ มีการบวชสามเณรขึ้นมาหลายรูป สมัยตุ๊ลุงเหมย สุจิตโต ได้สร้างวัดจนสำเร็จ ได้ผูกพันธสีมา พ.ศ. ๒๕๓๕ ปี ๒๕๓๖ ตุ๊ลุงเหมย สุจิตโต ได้มรณภาพลง จึงได้นิมนต์พระครูวิจารณ์ สันติธรรม จากวัดเตาปูน มาเป็นเจ้าอาวาสเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๖ จนท่านได้มรณภาพเมื่อปี ๒๕๔๗

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 18 •ตุลาคม• 2012 เวลา 20:17 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดเตาปูน อำเภอสอง •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•ศุกร์•ที่ 05 •ตุลาคม• 2012 เวลา 20:35 น.•

ประวัติวัดเตาปูน ก่อนปี พ.ศ. ๒๔๖๔ ประมาณ ๑๐ กว่าปี เดิมมีชื่อว่า “วัดศรีบุญเรือง” สร้างขึ้นมานานแล้ว โดยการบอกเล่าต่อ ๆ กันมา มีครูบาอุด มาจำพรรษาอยู่เพราะว่าเป็นวัดร้างจากการถูกพม่ามาโจมตี ในวัดแห่งนี้มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่อยู่องค์หนึ่งที่พื้นใต้ศาลานั้นมีถ้ำอยู่ลักษณะเป็นวังลึกมาก จากคำบอกเล่าคนโบราณเอาไม้ยาวประมาณ ๑๐ เมตร หยั่งลงไปก็ยังไม่ถึงพื้นดิน หลังจากนั้นมีฝนตกหนักมากติดต่อกันหลายวันทำให้ดินทรุดตัวทั้งศาลาและพระพุทธรูปองค์ใหญ่พังทลายลงไปในถ้ำน้ำลึก ช่วงนั้นมีครูบาจันทิมาอยู่ด้วย เดิมทีวัดศรีบุญเรืองตั้งอยู่ที่โรงเรียนบ้านเตาปูนตั้งอยู่ปัจจุบัน หลังศาลาและพระพุทธรูปจมน้ำ ครูบาจันทิมาจึงย้ายวัดมาตั้งใหม่ชื่อ “วัดเตาปูน” เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๕ จากคำบอกเล่าของพ่อใหญ่ตี้ สุขสาด (ผู้สูงอายุบ้านเตาปูน) เมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๔๙

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 11 •ตุลาคม• 2012 เวลา 19:33 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดแดนชุมพล อำเภอสอง •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 04 •ตุลาคม• 2012 เวลา 16:54 น.•

วัดแดนชุมพล สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๗ ในสมัยนั้นยังเป็นสำนักสงฆ์ และยังใช้ชื่อเป็น วัดสาละวัน และได้มีสามเณรรูปแรกของบ้านแดนชุมพล (จำฮั่ง) คือสามเณร เขียน ปลงใจ ในพ.ศ. ๒๔๙๘ คณะศรัทธาได้สร้างกุฏิไม้ตอนนั้นยังไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ต่อมาได้ไปนิมนต์พระสงฆ์มาจำพรรษาอยู่ ที่วัดแดนชุมพล (สาละวัน) ต่อมาได้สร้างสาลาการเปรียญหนึ่งหลังในปี พ.ศ. ๒๕๐๔ ต่อมาสร้างพระอุโบสถในปีพ.ศ. ๒๕๓๐ และได้ผูกพัธสีมาในปี พ.ศ.๒๕๔๒ และสร้างกุฏิปูนในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ หลักฐานทางวัตถุ พระอุโบสถวัดแดนชุมพลสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๓, หอระฆังวัดแดนชุมพลสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ลำดับเจ้าอาวาสรูปที่ ๑ - ปัจจุบัน ดังนี้

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 04 •ตุลาคม• 2012 เวลา 21:23 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
อ่างเก็บน้ำแม่สอง อำเภอสอง •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อังคาร•ที่ 02 •ตุลาคม• 2012 เวลา 16:17 น.•

ร้อยรัดดวงใจเพื่อเทิดไท้องค์ราชัน ที่พระองค์ทรงฝ่าฟันให้ไทยนั้นได้ร่มเย็น "... เรื่องน้ำนี้ ก็เป็นปัจจัยหลักของมวลมนุษย์ ไม่ใช่มนุษย์เท่านั้น แม้สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ทั้งสัตว์ทั้งพืช ถ้าไม่มีก็อยู่ไม่ได้ เพราะว่าน้ำเป็นสื่อ หรือเป็นปัจจัยสำคัญของสิ่งมีชีวิต แม้สิ่งไม่มีชีวิตก็ต้องการน้ำเหมือนกัน มิฉะนั้นก็จะกลายเป็นอะไรไม่ทราบ เช่น ในวัตุถุต่างๆ ในรูปผลึก ก็ต้อง มีน้ำในนั้นด้วย ถ้าไม่มีน้ำก็จะไม่เป็นผลึก กลายเป็นสิ่งที่ไม่มีรูป ฉะนั้น น้ำนี้ก็เป็นสิ่งสำคัญ ที่กล่าวถึงข้อนี้ก็จะให้ได้ทราบถึงว่า ทำไมการพัฒนา ขั้นแรกหรือสิ่งแรก ที่นึกถึงก็คือโครงการชลประทาน แล้วก็โครงการ สิ่งแวดล้อมทำให้น้ำดี สองอย่างนี้อื่นๆ ก็จะเป็นไปได้ถ้าหากว่า ปัญหา ของน้ำนี้ เราได้สามารถที่จะแก้ไข หรืออย่างน้อยที่สุด ก็ทำให้เรามีน้ำใช้ อย่างเพียงพอ ฉะนั้นการพัฒนานั้นสิ่งสำคัญก็อยู่ตรงนี้ นอกจากนั้น ก็เป็นสิ่งที่ต่อเนื่อง เช่นวิชาการในด้านการเพาะปลูก เป็นต้น ตลอดจนถึง การพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม หรือการค้า หรือการคลัง อะไร พวกนี้ก็ต่อเนื่องต่อไป... " พระราชดำรัส วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๓๒ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน โครงการอ่างเก็บน้ำแม่สอง พระราชดำริเมื่อ วันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๒๕ สถานที่ตั้ง บ้านท่อสมาน ต.เตาปูน อ.สอง จ.แพร่ วัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อเป็นแหล่งกักเก็บน้ำไว้ใช้เสริมการเพาะปลูกในฤดูฝนและการปลูกพืชฤดูแล้ง เพื่อเป็นแหล่งกักเก็บน้ำไว้เพื่ออุปโภค-บริโภค เพื่อเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำให้ราษฎรบริโภคและมีรายได้เสริมจากการทำการประมง เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจของราษฎรในบริเวณใกล้เคียง เพื่อเป็นแหล่งเก็บกักน้ำ บรรเทาการเกิดอุทกภัย สภาพทั่วไป เป็นป่าและภูเขา ประโยชน์ที่ได้รับ ช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกในเขตโครงการ ๒๗,๐๐๐ ไร่ ระยะเวลาก่อสร้าง เริ่ม พ.ศ. ๒๕๓๐ เสร็จ พ.ศ.๒๕๓๙

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อังคาร•ที่ 02 •ตุลาคม• 2012 เวลา 21:14 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดศรีมูลเรือง อำเภอสอง •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•ศุกร์•ที่ 03 •สิงหาคม• 2012 เวลา 22:14 น.•

วัดศรีมูลเรืองนำสร้างโดยพระอธิการวัลลภ(ตุ้ย) ผิวละออ ฉายา เขมงฺกโร ได้รับอนุญาตให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๐ โดยได้รับบริจาคที่ดินจาก จ่าสิบตรี ศรีมูล นางคำแปง คงชนะ (ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า “ศรีมูลเรือง”) วัดศรีมูลเรืองตั้งอยู่เลขที่ ๓๗๑ หมู่ที่ ๔ ตำบลบ้านหนุน อำเภอสอง จังหวัดแพร่ สังกัดสงฆ์คณะมหานิกาย ทิศเหนือติดกับโรงเรียนบ้านศรีมูลเรือง ทิศใต้ติดกับถนนสาธารณะ ทิศตะวันออกติดกับถนนสาธารณะ ทิศตะวันตกติดกับทางหลวงสายวังซ้าย มีพื้นที่ทั้งหมด ๓ ไร่ ๕๕ วา ตามหนังสือ น.ส.๓ก. เลขที่ ๑๓ ที่ธรณีสงฆ์แปลงที่ ๒ เนื้อที่ ๗ ไร่ ๑ งาน ๖๐ วา ตามหนังสือสำคัญ น.ส.๓ก. เลขที่ ๑๙๕๙ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๗

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•ศุกร์•ที่ 03 •สิงหาคม• 2012 เวลา 23:52 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
<< •เริ่มแรก• < •ย้อนกลับ• 1 2 3 4 5 6 •ถัดไป• > •สุดท้าย• >>

•หน้า 2 จาก 6•