ค้นหาบทความ
ราคาน้ำมันวันนี้
จำนวนนับผู้เข้าเยี่ยมชม
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้114
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้509
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้2243
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว4095
mod_vvisit_counterเดือนนี้11300
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว15525
mod_vvisit_counterรวมผู้เข้าชม2259531

ออนไลน์ (20 นาทีที่แล้ว): 10
หมายเลข IP : 13.59.236.219
MOZILLA 5.0,
วันที่ : 24 •เม.ย.•, 2024
ล้านนาแพร่ประชาสัมพันธ์
Vinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo Slider
จังหวัดแพร่


"ยาขอบ" คำนึงถึงเมืองแพร่ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 17 •กรกฏาคม• 2011 เวลา 00:00 น.•

“เขาเป็นบุคคลที่สวรรค์ให้ลงมาเกิดเป็นจาวแพร่ หากวาสนาหายอมให้เขาเป็นเช่นนั้นไม่ ทั้ง ๆ ที่เมื่อลำดับศักดิ์ในสกุลวงศ์แล้วเขาก็คือทายาทโดยชอบธรรมของผู้เจ้าครองนครแพร่ แต่เมือเขาไม่ได้เป็นจ้าวในราชวงษ์ครองนคร เขากลับเป็นได้ยิ่งใหญ่กว่า คือเป็นราชาแห่งวงการประพันธ์ภายใต้นามปากกา “ยาขอบ” คนผู้นั้นคือ “โชติ แพร่พันธุ์” ปัจจุบันดำรงตำแหน่งนายกสมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ในหนังสือ “นครแพร่” ยาขอบได้เปิดเผยและประกาศตนเป็นลูกหลานเมืองแพร่โดยสมบูรณ์ เขามีความรู้สึกอย่างไรต่อปิตุภูมินั้น จากข้อเขียนสั้น ๆ ของ “ยาขอบ” ชิ้นนี้คงจะได้ทิ้งความสะเทือนอย่างรุนแรงไว้ด้วยถ้อยคำจากน้ำใจจริง” ต่อหน้ากองทัพข้าศึกซึ่งกำลังจะเข้าประจัญบานกันนั้น มาควิสแห่งชานปิงให้ชักธงประจำตัวขึ้น จารึกว่า จูล่ง ชาวเมืองเสียงสาน เขามิได้สนใจแก่ตำแหน่งยศแต่เขาหยิ่งต่อกำพืชเดิม และอยากให้ขึ้นชื่อลือชาปรากฏไปว่าเป็นฝีมือของชาวเมืองใด หากมาควิสแห่งชานปิงกระทำเช่นนั้นในสนามรบเป็นการถูกต้อง ในสนามหนังสือข้าพเจ้าก็ควรที่จะชักธงขึ้นว่า โชติชาวเมืองแพร่ แทนที่จะบอกว่า โชติ แพร่พันธุ์

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 28 •มกราคม• 2012 เวลา 09:53 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
เจ้าหลวงเทพวงศ์ลิ้นตอง (ลิ้นทอง) •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 17 •กรกฏาคม• 2011 เวลา 00:00 น.•

เจ้าหลวงเทพวงศ์ หรือเจ้าหลวงเทพวงศ์ลิ้นตอง (ลิ้นทอง) ตระกูลเจ้าหลวงเมืองแพร่ ๔ องค์สุดท้าย เป็นตระกูลใหญ่สืบเชื้อสายมาจากเชื้อเจ้าเจ็ดตน ที่ปกครองหัวเมืองต่าง ๆ ในภาคเหนือ หรือล้านนา เจ้าหลวงเทพวงศ์ หรือเจ้าหลวงเทพวงศ์ลิ้นตอง (ลิ้นทอง) (พ.ศ. ๒๓๖๑ – ๒๓๗๓) เป็นโอรสเจ้าฟ้าชายสามแห่งนครเชียงตุง (ไทยเขิน) เจ้ากาวิละ เจ้าหลวงนครลำปาง (ภายหลังได้ไปปกครองเมืองเชียงใหม่) ได้ไปรับมาไว้ที่ลำปางเนื่องจากเป็นญาติกันแล้วส่งมาปกครองที่เมืองแพร่เมื่อ พ.ศ.๒๓๖๑ (จากหนังสือฉลองเมืองแพร่ ๗๐๕ ปี) ต่อไปนี้เป็นคำบอกเล่าของเจ้าน้อยหนู รสเข้ม มหาเสวกเอกพระยาบุรุษรัตน์ราชวัลลภเป็นผู้บันทึก (ได้แก้ไขเพิ่มเติมตามที่ค้นพบบ้าง)

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อังคาร•ที่ 09 •ตุลาคม• 2012 เวลา 22:46 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ถึงคุณโชติ แพร่พันธุ์ (ยาขอบ) •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 16 •กรกฏาคม• 2011 เวลา 00:00 น.•

“ทุกคนต้องอดทนต้องรับผิดชอบตัวของตัวเอง การที่หนังสือพิมพ์ทุกวันนี้มีเสรีภาพอย่างเต็มที่ และได้ประโคมข่าวกันอย่างครึกโครมตลอดเวลา ข้าพเจ้าไม่เห็นจะรู้สึกผิดระบอบการปกครองแต่อย่างใด ตรงกันข้ามเห็นเป็นการกันมิให้ใคร ๆ ทำอะไรผิดตามใจตัวเอง แต่ต้องตามใจประชาชนในทางเป็นธรรม” ตามที่คุณโชติ แพร่พันธุ์จะได้พิมพ์หนังสือ “นครแพร่” ขึ้น และได้ให้เกียรติยศอย่างสูงแก่ข้าพเจ้าได้มีส่วนร่วมในการเขียนด้วย ข้าพเจ้าขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง แต่การเขียนอะไรให้มากไป ก็มีความสงสัยอยู่มาก เพราะท่านยาขอบซึ่งได้ประพันธ์เรื่อง ผู้ชนะสิบทิศนั้น ถ้าเป็นจริงดังที่ในวงสังคมกล่าวว่าคือคุณ โชติ แพร่พันธุ์ และหากเป็นจริงดังที่กล่าวนี้แล้ว การเขียนของข้าพเจ้าก็ยังห่างไกลกับท่านผู้เขียนผู้ชนะสิบทิศนั้นมาก ข้าพเจ้าได้ยินการชมเชยท่านยาขอบในเรื่องผู้ชนะสิบทิศอยู่ทั่วไป แม้ภรรยาข้าพเจ้ายังชมเชยในถ้อยคำหลายตอนอยู่จนกระทั้งบัดนี้

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อาทิตย์•ที่ 21 •สิงหาคม• 2011 เวลา 14:57 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ศาลหลักเมืองแพร่ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พุธ•ที่ 13 •กรกฏาคม• 2011 เวลา 00:00 น.•

หลักเมืองแพร่ พื้นที่ภายในเขตกำแพงเมืองแพร่มีบริเวณหนึ่งติดกับโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่ ใกล้กับศาลากลางจังหวัด ในอดีตบริเวณนี้เรียกว่า สะดือเมือง เดิมมีสภาพเป็นพื้นที่ร่มรื่นมีต้นไม้ใหญ่ขึ้นอยู่เป็นที่ตั้งของศาลเล็ก ๆ ที่ชาวบ้านเรียกว่า ตูบผี ต่อมาพื้นที่นี้ได้ถูกถางตัดต้นไม้ใหญ่ออกและนำเอาหลักศิลาจารึกหลักหนึ่งที่พบในวัดร้างศรีบุญเริงบริเวณเรือนจำจังหวัดแพร่มาไว้ แล้วยึดถือเป็นหลักเมืองแพร่ภายหลังจึงได้มีการสร้างศาลหลักเมืองเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขึ้น พ.ศ. ๒๕๓๕ กระทรวงมหาดไทยได้สั่งการให้จังหวัดที่ไม่มีหลักเมืองให้จัดหาและสร้างหลักเมือง ตลอดจนปรับปรุงศาลหลักเมืองที่มีอยู่ให้เด่นสง่า จังหวัดแพร่จึงได้จัดสร้างเสาหลักเมืองด้วยไม้ยมหินซึ่งเป็นต้นไม้ประจำจังหวัด ตลอดจนรื้อศาลหลักเมืองเดิมแล้วจัดสร้างใหม่เป็นแบบจัตุรมุข

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อาทิตย์•ที่ 06 •พฤศจิกายน• 2011 เวลา 12:54 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
เจ้าเมืองแพร่ ยุคปู่พญาพล •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พุธ•ที่ 01 •มิถุนายน• 2011 เวลา 17:23 น.•

ย้อนอดีตก่อนก่อตั้งเมืองแพร่ เป็นชุมชนเมืองเก่าอยู่ในลักษณะเมืองทางผ่านเหมือนปัจจุบัน โดยเชื่อมต่อเมืองต่าง ๆ ซึ่งแต่ละเมืองปกครองอิสระมีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครอง ไม่ขึ้นต่อเมืองใด แนวคิดนี้เห็นได้จากวันพระนอนซึ่งมีอายุมากกว่าเมืองแพร่ แน่นอนต้องมีชมชนที่ตั้งอยู่ก่อนแล้ว อาจจะเป็นเพราะการประสบกับภัยธรรมชาติ โรคระบาด รวมถึงสงคราม ซึ่งยุคนั้นมีจีนแผ่นดินใหญ่เทียบได้ว่าเป็นผู้ครองโลกอยู่ก็ว่าได้ ดังนั้นสภาพของชุมชนเมืองแพร่คงไม่ใช่ชนเผ่าอย่างแน่นอนเห็นได้จากวัดพระ นอน(สร้างขึ้น พ.ศ. ๑๑๘๑) กำแพงเมืองเก่าซึ่งหลวงพลได้มีการบูรณะขึ้นมาใหม่จากยุคหลวงพลจนถึงลูกใน ช่วงเวลานั้นปรากฎหลักฐานกำแพงเมืองที่สูง ๗ เมตร กว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๔,๐๐๐ เมตร

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 28 •มกราคม• 2012 เวลา 09:11 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
<< •เริ่มแรก• < •ย้อนกลับ• 1 2 3 4 5 6 7 •ถัดไป• > •สุดท้าย• >>

•หน้า 4 จาก 7•