ค้นหาบทความ
ราคาน้ำมันวันนี้
จำนวนนับผู้เข้าเยี่ยมชม
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้630
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้905
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้3579
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว3015
mod_vvisit_counterเดือนนี้9005
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว15525
mod_vvisit_counterรวมผู้เข้าชม2257236

ออนไลน์ (20 นาทีที่แล้ว): 12
หมายเลข IP : 3.138.101.95
MOZILLA 5.0,
วันที่ : 19 •เม.ย.•, 2024
ล้านนาแพร่ประชาสัมพันธ์
Vinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo Slider
จังหวัดแพร่


เจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์ (ทายาท) •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•ศุกร์•ที่ 30 •กันยายน• 2011 เวลา 00:00 น.•

เจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์ (พระยาพิริยวิไชย)  เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของเมืองแพร่ (พ.ศ. ๒๔๓๒ – ๒๔๔๕) เจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์ เป็นโอรสเจ้าหลวงพิมพิสาร (พิมสาร) กับแม่เจ้าธิดา มีนามเดิมว่า เจ้าน้อยเทพวงศ์ เมื่อได้รับการสถาปนาขึ้นครองเมืองแพร่ พ.ศ. ๒๔๓๒ ในฐานะหัวเมืองประเทศราชของสยาม มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาพิริยวิไชย จนกระทั่งเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๙ ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น “เจ้าพิริยเทพวงศ์” เจ้าผู้ครองนครแพร่ เจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์ มีชายาคนแรกนาม “แม่เจ้าบัวถา” มหายศปัญญา (ธิดา เจ้าบุรีเฒ่า กับแม่เจ้าเฮือนแก้ว) ไม่มีบุตรธิดาด้วยกัน ได้รับเจ้าสุนันตา วงศ์บุรี (ธิดา เจ้าบุรีรัตน์ กับแม่เจ้าคำ มาเป็นบุตรบุญธรรม)  เจ้าเทพวงศ์กับชายาคนที่สองมีนามว่า “แม่เจ้าบัวไหล” หรือแม่เจ้าหลวง เป็นธิดาเจ้าไชยสงครามกับแม่เจ้าอิ่น  มีโอรสธิดาด้วยกัน ๗ คน คือ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 06 •ตุลาคม• 2011 เวลา 16:23 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
เจ้าหลวงพิมพิสาร (พิมสาร หรือขาเค) •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 18 •สิงหาคม• 2011 เวลา 00:00 น.•

เจ้าหลวงพิมพิสาร เป็นโอรสของเจ้าวังขวาเฒ่า กับแม่เจ้าปิ่นแก้ว ซึ่งเป็นน้องสาวของเจ้าอินทวิชัย ได้ประสูติและเจริญวัยในเมืองแพร่อย่างเต็มตัว ปกครองเมืองแพร่ต่อจากเจ้าหลวงอินทวิชัยผู้เป็นลุง ระหว่าง พ.ศ.๒๔๑๕ – ๒๔๓๑ เจ้าหลวงพิมพิสาร เป็นเจ้าเมืองที่ปลูกฝังนิสัยเรื่องการประหยัด และการรู้จักประมาณตนแก่ชาวเมืองแพร่เป็นอย่างดี ดังมีเรื่องเล่ากันว่า หม้อน้ำที่ท่านตั้งไว้ข้างถนนสำหรับผู้สัญจรนั้น จะมีกระบวยใหญ่และกระบวยเล็กอย่างละ ๑ หากใครใช้กระบวยใหญ่ตักดื่มน้ำแล้ว

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อังคาร•ที่ 20 •กันยายน• 2011 เวลา 14:52 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
เจ้าหลวงอินทวิชัย (อินต๊ะวิชัย) •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•ศุกร์•ที่ 22 •กรกฏาคม• 2011 เวลา 00:00 น.•

เจ้าหลวงอินทวิชัย (อินต๊ะวิชัย) มีชื่อและตำแหน่งเดิมว่า หลวงวิชัย หรือหลวงวิชัยราชา เป็นโอรสของเจ้าทพวงศ์และแม่เจ้าสุชาดา เกิดที่ลำปางแล้วมาช่วยเจ้าเทพวงศ์ทำงานในเมืองแพร่ได้ปกครองเมืองแพร่ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๗๓ – ๒๔๑๔ ในยุคที่พวกยุโรปกำลังล่างเมืองขึ้นและต้องการเมืองไทยเป็นอาณานิคมอังกฤษพยายามอย่างยิ่งที่จะยึดเมืองแพร่ เพราะมีป่าไม้สักกที่อุดมสมบูรณ์จำนวนมหาศาล จึงขอเข้าทำกิจการป่าไม้ในเมืองแพร่คือบริษัท อิสต์ เอเชียติก เจ้าหลวงอินทวิชัย ดำเนินวิทโยบายอย่างสุขมรอบคอบ พยายามมิให้เกิดปัญหาขัดแย้งกับชนต่างชาติ อันเป็นชนวนให้เกิดสงคราม เมืองแพร่จึงอยู่รอดปลอดภัยตลอดมา

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 17 •กันยายน• 2011 เวลา 17:38 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
เจ้าเจ็ดตน •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พุธ•ที่ 20 •กรกฏาคม• 2011 เวลา 00:00 น.•

หลังจากพม่าครองเมืองเชียงใหม่และหัวเมืองในอาณาจักรล้านนาเป็นระยะเวลากว่า ๒๑๖ ปี (พ.ศ. ๒๑๐๑ – ๒๓๑๗) ล้านนาได้หมดสภาพเป็นอาณาจักร แต่ละเมืองปกครองกันโดยอิสระขึ้นต่อพม่า จนถึงช่วงปลายอาณาจักรพม่าอ่อนแอลง มีการต่อต้านอำนาจพม่าของชาวล้านนานั้นก็คือเมืองเชียงใหม่ เป็นการก่อการกบฏต่อพม่า และต่อสู้อย่างโดดเดี่ยวสาเหตุเนื่องจากโดนกดขี่ข่มแหงจากข้าหลวงพม่า ส่วนเมืองลำพูนนั้น ท้าวมหายศซึ่งเป็นเจ้าเมืองได้เรียกเก็บภาษีจากชาวบ้านอย่างน่าเลือดใครบ้านไหนไม่ให้ก็ทำร้าย ส่วนกลุ่มผู้นำเมืองลำปางได้อ้างอิงอำนาจพม่า พ่อเจ้าทิพย์ช้างต้นราชวงศ์เจ้าเจ็ดตนเดิมเป็นพรานป่าได้อาสาชาวเมืองลำปางต่อสู้กับกองทัพท้าวมหายศแห่งเมืองลำพูนจนได้รับชัยชนะชาวเมืองลำปางจึงยกพ่อเจ้าทิพย์ช้างเป็นเจ้าเมืองลำปาง โดยครองเมือง ๒๗ ปี (พ.ศ. ๒๒๗๕ – ๒๓๐๒) พ่อเจ้าทิพย์ช้างยังอิงอำนาจพม่าเพราะกลุ่มอำนาจเก่า “ท้าวลิ้นก่าน” ซึ่งเป็นบุตรเจ้าเมืองลำปางเดิม พยายามกลับสู่อำนาจ เพื่อความชอบธรรมในการปกครอง

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 01 •กันยายน• 2011 เวลา 21:30 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
เจ้าเมืองแพร่ตอนที่ ๑ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 17 •กรกฏาคม• 2011 เวลา 00:00 น.•

ก่อนที่พญามังรายเริ่มสร้างเมืองเชียงใหม่ และสถาปนาอาณาจักรล้านนาขึ้นมาใน พ.ศ. ๑๘๓๙ ดินแดนในภาคเหนือของประเทศไทย(ตอนนั้นยังไม่เกิดอาณาจักรสุโขทัย) มีนครอิสระก่อตั้งขึ้นก่อนแล้ว ได้แก่ เมืองพะเยา เมืองลำพูน เมืองลำปาง เมืองน่าน และเมืองแพร่ บรรดาเมืองโบราณดังกล่าวส่วนใหญ่ต่างมีตำนานเล่าขาน จารึก เอกสารอ้างอิงถึงประวัติความเป็นมาของเมืองเป็นจำนวนมาก ตลอดจนมีหลักฐานโบราณคดีสนับสนุนอย่างชัดเจน ทำให้นักประวัติศาสตร์สรุปเรื่องราวการก่อตั้งเมือง วิวัฒนาการของเมืองในช่วงเวลาต่าง ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง แต่สำหรับเมืองแพร่เป็นชุมชนขนาดใหญ่เมืองหนึ่งกลับขาดข้อมูลหลักฐานที่แสดงถึงประวัติศาสตรความเป็นมาของการตั้งเมืองที่ชัดเจน ประกอบการขาดผู้สนใจศึกษารวบรวมความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของเมืองทำให้ชาวแพร่ส่วนใหญ่ไม่ทราบถึงเรื่องราวบรรพบุรุษของตน

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 22 •กุมภาพันธ์• 2014 เวลา 18:30 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
<< •เริ่มแรก• < •ย้อนกลับ• 1 2 3 4 5 6 7 •ถัดไป• > •สุดท้าย• >>

•หน้า 3 จาก 7•