มีบ้างไหมที่เจ้านครได้สดับข่าวศึกประชิดชายแดนแล้วกลับตั้งพระทัยอยู่ในความสงบ ดำริที่จะต่อรบด้วยธรรมยุทธและแล้วก็ได้ชัยชนะด้วยธรรมยุทธนั้น นามของท่านคือ “พ่อขุนงำเมือง” หรือ “พ่อขุนงำเมือง ธรรมิกราช” แห่งอาณาจักรพะเยา อันที่จริง วีรบุรุษแห่งการสงครามนั้นมีมาก แต่วีรบุรุษผู้พยายามรักษาไว้ซึ่งแสนยานุภาพนั้น เรามักไม่ค่อยเห็นหรือไม่ค่อยได้ยินเท่าไหร่นัก ยุคนั้นเป็นยุคของการแสวงหาอำนาจ ชาวไทยแตกเป็นก๊ก ล้านนาไทยเราแบ่งออกเป็น ๓ ก๊ก หรือ ๓ รัฐ มีรัฐหิรัญนครเงินยาง ปกครองโดยพระเจ้าเม็งรายมหาราช รัฐพะเยา มีพ่อขุนงำเมืองปกครอง รัฐหริภุญไชย ปกครองโดย พญายี่บา แห่หริภุญไชยตอนหลังถูกพระเจ้าเม็งรายยาตราทัพมาบุกตะลุยและยึดครองเสียเอง จึงเหลือเพียง ๒ รัฐ

พ่อขุนงำเมืองเป็นโอรสของพ่อขุนมิ่งเมือง พ่อขุนมิ่งเมืองเป็นโอรสกษัตริย์ผู้สืบสายโลหิตมาจากขุนเจื๋องมหาราช ต้นตระกูลเดียวกับพระเจ้าเม็งรายมหาราช ทั้งสองพระองค์ประสูติปีเดียวกันตอนพระเจ้าเม็งรายขึ้นครองราชย์ ณ เมืองหิรัญนครเงินยางพ่อขุนงำเมืองก็ได้ขึ้นครองเมืองพะเยาขณะที่มีพระชนม์ได้ ๒๐ พรรษา นับว่าเป็นกษัตริย์ที่หนุ่มมากเลยทีเดียว “คำว่างำแปลว่าปกครอง เหมือนๆกับแม่ไก่ที่แผ่ปีกป้องลูกน้องไม่ให้ศัตรูมาประทุษร้าย คล้ายกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทำนองนั้นแหละแต่พ่อขุนงำเมืององค์นี้ท่านมีประวัติ” ในตำนานบอกไว้ว่าราชบุตรพ่อขุนมิ่งเมืองพระองค์นี้มีบุญญาธิการทรงความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนักกล่าวกันตามตำนานว่า “พระยางำเมืองเป็นเจ้าท่านเสด็จไปแห่งหนใด แดดก็บ่ร้อนและฝนก็บ่ฮำ ท่านจักใคร่หื้อบดก็บด จักใคร่ให้แดดก็แดด ดังนี้” เกือบจะเหมือนพระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย ท่านทรงเป็นพระสหายสนิทกัน ตอนที่พระองค์ท่านเจริญชนมายุได้ ๑๔ พรรษา ได้เสด็จไปศึกษาศาสตร์เพทกับเทพอิสีตนหนึ่งบนภูเขาดอยด้วน ครั้นชนมายุได้ ๑๖ พรรษา จึงได้เสด็จไปศึกษาฤศิลปในสำนักพระสุกทันตฤาษีอาจารย์เดียวกับสมเด็จพระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย จึงได้เป็นพระสหายกันตั่งแต่นั้นมา ที่ว่าพ่อขุนงำเมืองทรงรบข้าศึกด้วยธรรมยุทธนั้นคืออย่างไรผมอยากทราบตอนนี้แหละ เรื่องมีอยู่ว่าตอนนี้นพระเจ้าเม็งรายมหาราชมีพระราชประสงค์ที่จะรวบรวมหัวเมืองทั้งหมดเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเป็นราชอาณาจักรเดียวกัน เมืองพะเยาก็เป็นจุดหนึ่งซึ่งพระองค์มุ่งหวังได้ทรงกรีธาทัพจะตีเอานครพะเยา พ่อขุนงำเมืองทรงทราบข่าวศึกก็มิได้มีพระอาการตื่นสะดุ้งหรือรีบตระเตรียมรี้พลโยธาออกต่อรบด้วย ด้วยน้ำพระทัยอันเยือกเย็นและความดำริตริตรองอันสุขุมคัมภีรภาพ พระองค์ทรงตรองเห็นแล้วว่าขณะนั้นเม็งรายมหาราชกำลังเกรียงไกรด้วยพระราชอำนาจดุจดังพระยาราชสีห์การจะต่อรบด้วยกำลังอาวุธและกำลังไพร่พลก็จะเป็นที่เดือดร้อนเปล่าเปลืองและยังทรงคำนึงถึงว่าเม็งรายมหาราชก็หาใช่ใครอื่นไม่หากเป็นไทยเผ่าเดียวกันและยังร่วมบรรพบุรุษเดียวกันคือขุนเจื๋อง มหาราชผู้ต้นตระกูล จำกูจักอ่อนน้อมยอมทำให้ไมตรีด้วย เห็นทีจะดีว่าเป็นแน่ทีเดียว “เหมือนกับที่ท่านกวีสุนทรพูกว่าไว้ ---จะปรารถนาสารพัดในปฐพี เอาไมตรีแลกได้ดังใจจง--- ดำริเช่นนั้นแล้ว พ่อขุนงำเมืองกษัตริย์แห่งพะเยาก็มีพระราชดำรัส สั่งให้ไพร่พลออกไปจัดเตรียมปลูกสร้างพลับพลาที่ประทับไว้คอยรับเม็งรายมหาราช ตรงตำบลชายแดนที่พระเจ้าเม็งรายจะเสด็จผ่าน พอเสเด็จแล้วพระองค์ก็เสร็จประทับคอยรับรออาคันตุกะผู้ห้าวหาญในเชิงยุทธอยู่ ณ ที่นั้น “ตอนนี้เหมือนตอนขงเบ้งทำอุบาย---ขึ้นไปนั่งบนกำพงแสร้งตีขิม พยักยิ้มให้ข้าศึกฉงน-- แต่กรณีนี้ไม่ใช่อุบาย เป็นความตั้งพระทัยอย่างแน่วแน่ที่จะเอาชนะข้าศึกโดยธรรมอันจะเป็นได้ว่าพ่อขุนงำเมืองมีพระทัยหนักแน่นและทรงเชื่อมั่นในพระองค์เหลือเกินว่า ทุกสิ่งจะต้องตกลงกันได้ ผมคิดว่าพระองค์จะทรงมีวิธีการพูดอย่างดีที่สุดชนิดที่พ่อขุนเม็งรายต้องหงายหลัง ต้องยอมจนต่อเหตุผลทีเดียว ในตำนานไม่ได้กล่าวไว้ว่าพระองค์ท่านได้ทรงเจรจากับจอมทัพแห่งนครไชยนารายณ์อย่างไรปรากฏแต่ว่าพอกองทัพพระเจ้าเม็งรายยกมาถึงชายแดนเมืองพะเยา ก็พบเข้ากับกองทหารของพ่อขุนงำเมืองคอยรับอยู่ด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม พลางก็ยกน้ำยกท่า หมากเมี่ยง บุหรี่ ออกไปรับรองและร้องทักทายอย่างไมตรีจิต เชื้อเชิญให้พักผ่อนเสพสุราอาหารกันเป็นที่สำราญพวกนั้นกำลังเหนื่อยมา ก็ตรงเข้าสวาปาม กิตติศัพท์ในความใจบุญของกษัตริย์เมืองพะเยาเป็นอย่างดี พระเจ้าเม็งรายพอเห็นเมืองพะเยาทรงยิ้มเข้ามาหาด้วยท่าทางอ่อนน้อมถ่อมตัวเช่นนั้นก็เลยล้มความคิดที่จุรุกรานเมืองพะเยา ได้ทรงสนทนาปราศรัยผูกไมตรีไว้ต่อกันกระทั่งกระทำสัจจะสาบานเป็นมิตรต่อกันตลอดอายุขัย แต่คงจะมีความเจรจากันและพ่อขุนงำเมืองคงจะมีวาทะศิลป์เป็นยอดเยี่ยมที่จะเป็นฝ่ายที่จะใช้สมองมากกว่าการใช้กำลัง แต่พะองค์ก็ทรงยอมเสียเปรียบโดยยกหมู่บ้านซึ่งมีพลเมืองอยู่ห้าร้อยครัวเรือนให้ขึ้นอยู่กับแผ่นดินพระเจ้าเม็งราย ซึ่งก็ไม่แปลกอะไรเพราะเป็นบานนาไทยเหมือนกัน พระองค์ทางมองการณ์ไกลได้ไปกระทำสัจจาสาบานต่อพระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัยกับพระเจ้าเม็งรายรวมสามพระองค์นะ มีคนพูดถึงเรื่องนี้กันบ่อยๆ ตอนภายหลังที่ไทยได้รวมกำลังได้เป็นกลุ่มก้อน แยกปกครองเป็นสองอาณาจักรที่เข้มแข็งเกรียงไกรยิ่ง ก็คืออาณาจักรเหนือของพระเจ้าเม็งราย ซึ่งทำการแผ่อานุภาพอย่างกว้างขวางถึงเชียงตุง เมืองลอ เมืองเทิง กระทั่งหงสาวดี และเมืองอังวะ ทางฝ่ายอาณาจักรสุโขทัยอันพระร่วงเจ้าเป็นประมุขก็ทำการปราบปรามขับไล่พวกขอม รวบรวมไทยตั้งมั่นอยู่ในภาคกลาง ไทยสามอาณาจักในสมัยนั้น ต่างก็เป็นมิตรสนิทซึ่งกันและกัน มีอยู่ครั้งหนึ่งพระร่วงเจ้าได้เสด็จไปเยือนพ่อขุนงำเมือง ได้ทอดพระเนตรเห็นพระนางอั้วเชียงแสนมีสิริโฉมพิลาสพิไลก็เกอดความปฏิพันธ์รักใคร่ตามวิสัยชาย พระร่วงเจ้าคงจะประพฤติล่วงละเมิดประเพณีอยู่บ้าง เป็นการเสื่อมเสียพระเกียรติยศของพ่อขุนงำเมือง พ่อขุนองค์นี้อย่างที่ทราบพระองค์ทรงสุขุมคัมภีรภาพแต่หนักแน่นพอที่จะไม่ตัดสินพระทัยอย่างหุนหันพลันแล่น ทรงรำพึงในพระทัยว่า “กูจักฆ่าพระยาร่วงกับเมียกูเสียก็ได้แล แต่ว่าเมืองใต้กับเมืองกู ก็จักเป็นเวรแก่กันสืบไปชะละบ่ควรฆ่า อนึ่งเมียกูก็หากร้ายก็ได้ผูกพระยาร่วงไว้ จักตัดสินไหมเองก็บ่ควร ส่วนตนก็เป็นพระจาใหญ่ ควรกูไปไหว้สหายแห่งก็คือเจ้าเม็งรายตนมีบุญสมภาร และทรงปัญญาเฉลียวฉลาดอาจตัดแต่งถ้อยคำชอบด้วยสุคติ ควรไหว้ท่านหื้อมาพิจารณาตัดแต่งความนี้ต่อเผือและพระยาร่วง” แล้วพ่อขุนผู้ทรงธรรมก็ให้อัญเชิญพระเจ้าเม็งรายเสด็จมาชำระความ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•จันทร์•ที่ 30 •มกราคม• 2012 เวลา 16:35 น.• )