พม่า หรือ เมียนมาร์ หรือพวกมารันม่าร์ เผ่าที่เป็นที่จงเกลียดจงชังของเผ่าพันธุ์ที่ได้เคยถูกพวกพม่าย่ำยี กดขี่ ข่มเหงน้ำใจ ทารุณกรรม มาตั้งแต่ประวัติศาสตร์ ทำไมเราต้องกล่าวถึง สองครั้งจากบทความเจ้าเจ็ดตน และบทความสาเหตุที่ก่อการจลาจลล้วนได้กล่าวถึงชาวพม่า เราจึงได้รวบรวมข้อมูลดังนี้ ย้อนหลังไปสู่ศตวรรษที่ ๑๑ (อยู่ระหว่างปี ค.ศ. ๑๐๐๑ ถึง ค.ศ. ๑๑๐๐) หรือ (พ.ศ. ๑๕๔๔ ถึง พ.ศ. ๑๖๔๓) ชนชาติพม่ามาตั้งอาณาจักรได้สำเร็จ ในสมัยของกษัตริย์อโนรธา ราว พ.ศ. ๑๕๘๗ – ๑๕๙๐ ได้สถาปนาเมืองพุกามเป็นเมืองหลวง จากนั้นได้ขยายอาณาจักรไปสู่ลุ่มน้ำอิระวดี พม่าต้องทำสงครามรุกรานและขับไล่พวกมอญซึ่งมีพื้นที่อุดมสมบูรณ์กว่า อาณาจักรพุกามได้แผ่ขยาย

และปกครองอาณาจักรสะเทิมของมอญครอบคลุมถึงแม่น้ำสะโตง (The Sitting Valley) ในเวลาเดียวกันพม่าได้รับเอาศาสนาพุทธนิกายหินยาน มาจากชนชาติมอญ ซึ่งมีศาสนาพุทธรัญนิกาย เจริญอยู่แล้วในขณะนั้น สาเหตุที่พม่าต้องรุกรานชนชาติอื่นเนื่องจากแผ่นดินที่ตนเองอาศัยอยู่เดิมที่เรียกว่า Dry Zone ที่ปรากฏเป็นดินแดนของชนชาติพม่าอย่างแท้จริงนั้น ไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์นักเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้พม่าต้องยกกองทัพไปรุกรานชนชาติเพื่อนบ้านเพื่อปากท้องของพวกเดียวกันเอง อีกทั้งลักษณะนิสัยไม่เหมือนกับชนชาติอื่น ๆ รอบข้าง สังเกตหรือศึกษาได้จากประวัติสาสตร์ที่พม่าต้องทำสงครามอยู่เสมอ

 

เมืองพุกามปรากฏเป็นเมืองที่มีซากปรักหักพังประเภทเจดีย์มากที่สุดในโลก ซึ่งสร้างจากอิทธิพลของศิลปะมอญและพยู ในอดีตเมืองพุกามเป็นเมืองหลวงของพม่า มาจนถึงสมัยศตวรรษที่ ๑๓ พวกมองโกล (มองโกเลียเคยเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิมองโกลในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๓ ซึ่งต่อมาได้ยึดอำนาจเข้าปกครองจีนในนามของราชวงศ์หยวน ที่ประวัติศาสตร์ของโลกได้จารึกแสนยานุภาพของนักรบเอเชียบนหลังม้าที่ครอบครองดินแดนเอเชียและยุโรปเป็นครั้งแรก)  ได้ยึดเมืองพุกามได้เมื่อ พ.ศ. ๑๘๓๐ จริง ๆ แล้วน่าจะเป็นกองทัพของ เจงกิสข่าน วีรบุรุษแห่งมองโกล แต่ปีเกิดของเจงกิสข่าน พ.ศ. ๑๗๐๕ อายุ (๑๒๕ ปี) คงเป็นการคลาดเคลื่อนเรื่องเวลา จากนั้นพม่าก็แตกออกเป็นสองเสี่ยง แบ่งเป็นหลายก๊กหลายเหล่า จวบจนถึง ศตวรรษที่ ๑๖ กษัตริย์พม่าชื่อตะเบงชะเวตี้ (Tabin Shawehti – พ.ศ. ๒๐๗๔ – พ.ศ. ๒๐๙๓) และสมัยพระเจ้ามะยินหน่องหรือพระเจ้าบุเรงนอง (BayinNaung พ.ศ. ๒๐๙๓ – พ.ศ. ๒๑๒๔) ก็ได้เรืองอำนาจขึ้นมาอีก จากนั้นมาพม่าก็มีความยิ่งใหญ่แย่งอำนาจที่เกรียงไกร เหนือชนชาติอื่นจนถึงศตวรรษที่ ๑๘ จึงมาถึงยุคชนชาติมอญ แห่งลุ่มน้ำอิระวดี มอญได้รับชัยชนะเหนือพม่าเนื่องจากปัญหาภายในพม่าเองเรายังไม่กล่าวถึง มอญตั้งตัวเป็นอิสระแผ่ขยายอาณาเขตปกครองพม่าจนถึงแผ่นดินที่พม่าอาศัยอยู่ คือ Dry Zone จนถึงสมัยอองเชยะ หรือพระเจ้าอลองพญา (Alaungpaya) ซึ่งตั้งตัวเป็นใหญ่ในอาณาจักรส่วยโบ (Shwebo Area) ซึ่งอยู่ในมณฑลซาเกียงในปัจจุบัน เป็นความผิดพลาดของมอญเหมือนกันที่ยกกองทัพเล็กมาปราบทำให้ปราบพระเจ้าอลองพญาไม่สำเร็จชาวพม่าที่แตกกระจายกันในช่วงเวลานั้นเห็นถึงผู้นำคนใหม่ที่จะกรีฑาทัพเป็นใหญ่อีกครั้งก็รวมตัวยกให้พระเจ้าอลองพญาเป็นใหญ่กองทัพเล็กจึงกลายเป็นกองทัพใหญ่ที่น่ากลัวอีกครั้ง พระเจ้าอลองพญากีฑาทัพตีมอญได้สำเร็จ พร้อมตั้งตัวเป็นใหญ่ระหว่างปี พ.ศ. ๒๒๙๕ – ๒๓๐๑ พม่าได้รวบนวมเอาชนชาติต่างๆ เข้าเป็นสหอาณาจักร ประวัติศาสตร์ชนชาติมอญ บันทึกไว้ว่าปี พ.ศ. ๒๓๐๐ พม่าได้ปราบปรามมอญและเผาทำลายกรุงหงสาวดี ชนิดที่ไม่ต้องการให้หลงเหลือแม่แต่ซาก มอญส่วนหนึ่งได้อพยพเข้ามาในไทย

ราชวงค์อลองพญา ปกครองพม่าอยู่ร้อยกว่าปี จนถึง พ.ศ. ๒๔๒๘ ได้เปลี่ยนแผ่นดินเปลี่ยนกษัตริย์หลายรัชกาล แผ่นดินตกอยู่ระหว่างกลียุค เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เพราะอิทธิพลตะวันตกได้ย่างกรายเข้ามา โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องทำสงครามกับประเทศล่าอาณานิคม เช่น อังกฤษ กษัตริย์พม่าและขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ขาดความรอบรู้ที่จะติดต่อกับต่างประเทศขาดผู้นำ ในระบบการทูตและการค้าขาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศในยุโรป พม่าจึงต้องทำสงครามรบพุ่งกับอังกฤษถึง ๓ ครั้ง คือสงครามปี พ.ศ. ๒๓๘๕ – ๒๓๙๕ และครั้งสุดท้าย พ.ศ. ๒๔๒๘ สมัยพระเจ้าธีบอ (สีป๊อ หรือ สีป่อ หรือ สีเปาะ)เป็นผลให้พม่าต้องเสียเอกราชให้แก่อังกฤษในที่สุด

ย้อนหลังสมัยพม่าเลิกทำสงครามกับมอญ มองซวยโปเป็นกษัตริย์ครองเมือง มีบุตร ๒ คน พี่ชื่อมังตง น้องชื่อมังตัก เมื่อสิ้นบุญมองซวยโปแล้ว ปูคำได้ครองเมือง บุตรมองซวยโป ๒ คน จับปูคำถอดออกจากราชการ มังตุงขึ้นเป็นกษัตริย์ มังตักเป็นอุปราช ยกเมืองหลวงตั้งที่เมืองมันดาเล เมืองขึ้นทั้งหลายก็นำราชธิดามาถวาย เกิดบุตรชาย ๒ คน พี่ชื่อมินกุน น้องชื่อมินกุนแตง คำว่า “มัง” นั้นแปลว่าเจ้า เป็นประเพณีของกษัตริย์พม่า บรรดาเมืองประเทศราชทั้งหลายต้องนำธิดามาถวายถ้าเกิดบุตรกับธิดาเมืองไหน ก็ให้นามตามเมืองนั้น ๆ เพราะฉะนั้น เมืองมินกุนได้นำธิดามาถวายเกิดบุตรเป็นชาย ๒ คน ให้นามตามเมืองว่ามินกุนและมินกุนแตง เมื่อมินกุนอายุมาขึ้นอุปราช (มังตัก) ได้ยกบุตรสาวให้แล้ว มินกุนเลี้ยงบ่าวที่ไม่ดีไปลักของหลวงมาไว้ที่บ้านอุปราช อุปราชได้บอกกับบุตรสาวซึ่งเป็นภรรยามินกุน ให้ตักเตือนมินกุนว่าอย่าให้บ่าวประพฤติอย่างนั้นอีกต่อไป มินกุนจึงเรียกน้องชายมาปรึกษาว่า เจ้าอุปราชนี้วุ่นวายนัก ของในวังหาย พระราชบิดายังไม่ว่ากระไร เจ้าอุปราชมาค้นคว้าเช่นนี้น่าจะตัดหัวเสีย มินกุนแตงน้องชายจึงห้ามว่า พูดดังนี้ไม่ถูก เป็นคำสำคัญ ถ้ารู้ถึงอุปราชเรามิถึงที่ตายกันหมดหรือ มินกุนจึงเอาดาบฟันเมียตายแล้วจึงไปฆ่าอุปราชเกิดการรบกันกลางเมือง มินกุน ๒ พี่น้องพ่ายแตกหนีไปพึ่งบุญกับอังกฤษทั้ง ๒ คนพี่น้อง อังกฤษได้เลี้ยงดูให้เงินเดือนกิน แลคุมตัวไว้ที่เมืองอินเดีย ต่อมาน้องได้ป่วยตาย เวลานั้นมีเรือรบฝรั่งเศสมา มินกุนได้ปลอมเป็นกุลีหนีจากอังกฤษลงไปในเรือรบฝรั่งเศส ไปอยู่กับฝรั่งเศสที่เมืองไซ่ง่อน มีภรรยาฝรั่งเศส และได้บุตรชาย ฝรั่งเศสให้เงินเดือนแต่ไปไหนไม่ได้ ย้อนมาที่เมืองพม่า เมื่อมินกุน ๒ พี่น้องหนีไปแล้ว เจ้ามังตุงเป็นกษัตริย์ต่อมาจนสิ้นอายุ มีบุตรชาย ๖๐ คน คนหนึ่งชื่อเมงซาสีเปาะไปบวชเป็นพระ ข้าราชการได้เชิญลาสึกออกมาเป็นกษัตริย์แล้วอภิเษกกับนางมีพารา(สุปยาลัต) ซึ่งก็เป็นบุตรของเจ้ามังตุง แลเป็นพี่สาวเมงซาสีเปาะเอง มีพาราเป็นต้นคิดให้จับพี่น้องฆ่าเสียหมด ยังเหลือแต่เมงซามินกุนคนเดียวที่หนีไปอยู่กับฝรั่งเศส เมงซาสีเปาะเป็นกษัตริย์ได้ไม่นานก็รบกับอังกฤษ จับได้มาทั้งผัวเมีย อังกฤษเลยครอบครองเมืองอังวะ เมืองเงี้ยว เมืองเชียงตุงทั้งสิ้น แต่เมงซามินกุนคนพี่หนีไปอยู่ฝรั่งเศส เวลานั้นยังอยู่ที่เมืองของฝรั่งเศสมีอายุ ๖๐ ปีเศษแล้ว แต่เมงซามองโพแซง ซึ่งเป็นบุตรเขยอุปราชชื่อว่าเจ้ามังตัก ซึ่งน้องชายเจ้ามังตุงนั้น เมงซาโพแซงนี้ มาที่แพร่ ๒ – ๓ ครั้ง ภรรยาของเมงซาโพแซงเคยมายังคุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ ภรรยาเมงซามองโพแซงนั้นได้กลับไปอยู่กับขุนโตพูดกันว่าขุนโตเป็นสามีเก่า แล้วขุนโตออกจากเมืองแพร่จะไปเมืองนครลำปาง แต่ได้ถูกต่อต่อยตายที่ท่าข้ามห้วยแม่เมาะ ภรรยาขุนโตก็กลับมาอยู่กับเมงซาอีกครั้ง เมงซาพาภรรยากลับไปจากมณฑลพายัพ แต่ตอนนั้นเป็นคนขัดสนแล้ว ไม่มีโอกาสกลับมาที่เมืองแพร่ตั้งแต่นั้นมา เวลานั้นเมงซาตั้งอยู่เมืองเชียงรุ้ง สิบสองปันนา แต่เมื่องเมงซาได้มาอยู่เมืองแพร่ ฟังกิตติศัพท์เมงซารู้ว่า กิริยาเป็นผู้ดี การประพฤติเรียบร้อย ได้พบกับบัวไหล และเจ้าบัวไหลได้พบปะพูดคุยกับเมงซาผู้นี้ ถือเป็นการสิ้นสุดของเชื้อสายเจ้าของพม่า

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 12 •มกราคม• 2012 เวลา 11:51 น.• )