ดงอาฮักมีเจ้าป่ออาฮักรักษาอยู่ตามความเชื่อของชาวบ้านวังฟ่อนสมัยยุคก่อตั้งหมู่บ้าน ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นผู้รักษาป่าบริเวณทิศใต้ของหมู่บ้านไม่ให้ใครมาบุกรุกทำลาย จนเป็นป่าชุมชนที่มีต้นไม้ใหญ่อายุมากกว่า ๑๖๐ ปี และช่วยรักษาหมู่บ้านให้อยู่เย็นเป็นสุข ความเชื่อของชาวบ้านสมัยนั้นโดยหลวงราช ใจกุม และทวดเตบ แก้วโมลี ยุคสร้างหมู่บ้านได้ประกอบพิธีเส้นไหว้เจ้าป่ออาฮัก

ได้ถือเอา ออก ๙ ค่ำ เดือน ๙ เหนือ มาตั้งแต่นั้น จนถึงยุคผู้ใหญ่ศรีใจ อินทวิชัย  ,ทวดหมู วังพิราบ ,ทวดปั๋นโอ่ง ,(ทวดปั๋น แม่ใหญ่ปั๋น อุดม สามี ภรรยา) ,ทวดมุ๊ คำเผือ ,ทวดมุ้ง จิตพยัค (ก่อนปี ๒๕๐๘) เป็นผู้สืบสานประเพณีตอนนั้น ช่วงเวลานั้นยังไม่มีร่างทรงจึงมีเพียงการจัดพิธี และวาไม้เพื่อให้ทราบว่าเจ้าป่อพอใจหรือยัง จนถึงปี ๒๕๑๙ จึงมีร่างทรงนั้นก็คือแม่ใหญ่ไฮ ใจเอิบ ตอนนั้นอายุได้ ๒๗ ปีได้ทำพิธีบวชเป็นร่างทรงเจ้าป่อ หลาวทอง จึงได้รู้ตอนนั้นว่าเจ้าป่ออาฮักมีลูกอยู่ ๔ ตน คือ เจ้าป่อ องค์ทิพย์ ,เจ้าป่อ หลาวเหล็ก ,เจ้าป่อ หลาวทอง ,นางเตวี แต่ที่ออกฤทธิ์เดชในช่วงนั้นก็คือเจ้าป่อ หลาวทอง ตอนเวลากลางคืนมืดสนิทในหมู่บ้านเจ้าป่อ ขี่ม้าสีดำตามถนนในหมู่บ้านเป็นประจำ และมีนิสัยดุแต่มีความเมตตา ไม่ทำร้ายผู้คน แม่ใหญ่ไฮ ใจเอิบ ร่างทรงของท่านซึ่งมีอายุเท่ากันกล่าวถึงรูปพรรณท่านว่ามีรูปร่างขาว สดใส หล่อ ชอบของหวาน น้ำผลไม้เท่านั้น ไม่ดื่มเหล้า แต่เป็นเจ้าพ่อที่ค่อนข้างดุ เจ้าพ่อหลาวทองได้เข้าพิธีบวชพร้อมกับร่างทรงของท่าน (แม่ใหญ่ไฮ ใจเอิบ) ตอนอายุ ๒๗ ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ตรงกับเดือน ออก ๔  ออก ๖ ค่ำ สิ่งที่น่าอัศจรรย์ที่ยังปรากฎอยู่ก็คือวันประกอบพิธีไม่มียุงแม้แต่ตัวเดียวซึ่งผู้เขียนเคยเข้าไปถ่ายรูปก่อนหน้านี้ประมาณปีที่แล้ว (๒๕๕๓) ยุงเยอะมากจึงทำให้เชื่อ และสามารถพิสูทน์ได้

กำนันเปรียบเทียบคนกับต้นไม้ในดงอาฮัก ซึงถือว่าเป็นป่าชุมชนที่สมบูรณ์

ครูมิ้มเป็นอีกหนึ่งคนที่เพิ่งเคยเข้ามาร่วมพิธีเป็นครั้งแรก และผมเชื่อว่าอีกหลายคนในชุมชนที่ยังไม่เคยเข้ามาร่วม

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พุธ•ที่ 30 •พฤษภาคม• 2012 เวลา 20:27 น.• )